บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ทักษิณ ยันผลประโยชน์พลังงานภายใต้การเยือนพม่าของยิ่งลักษณ์


ทักษิณ ยันผลประโยชน์พลังงานภายใต้การเยือนพม่าของยิ่งลักษณ์

The Irrawaddy รายงาน อดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ยืนยันการเยือนพม่าเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อปูทางให้กับน้องสาวของเขาในการเยือนพม่า เพื่อกระชับสัมพันธ์ระหว่าง 2 ชาติอีกครั้ง

การเยือนของยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในฐานะนายกรัฐมนตรีไทยในนามการร่วมเข้าประชุมภายใต้กรอบเศรษฐกิจอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) โดยระหว่างการเยือนได้พบปะกับ นางออง ซาน ซูจี สัญลักษณ์สำคัญทางประชาธิปไตยของพม่า ทักษิณ ชินวัตรได้ให้สัมภาษณ์ผ่านทางโทรศัพท์กับหนังสือพิมพ์ Bangkok Post ระบุว่า ทักษิณได้เดินทางเยือนพม่าเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา เพื่อพบปะกับประธานาธิบดีเตียน เส่ง เขากล่าวว่าน้องสาวของเขาจะเยือนพม่า ดังนั้นน่าจะได้หารือประเด็นเรื่องพลังงานที่น่าจะส่งผลประโยชน์ให้กับไทยด้วย


การเยือนพม่าของยิ่งลักษณ์ กับ นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน ทำให้ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากว่าเป็นการสานประโยชน์ให้แก่ทักษิณ ขณะที่ กวี จงกิจถาวร คอลัมนิสต์แห่งหนังสือพิมพ์ The Nation ระบุว่า การเจรจาด้านพลังงานครั้งนี้ ถือเป็นเรื่องสำคัญอันดับต้นๆ ของทริปยิ่งลักษณ์ และสำคัญยิ่งกว่าการเยือนพม่าเพื่อพบปะอองซาน ซูจีนในการส่งเสริมความเป็นธรรมทางการเมืองเสียอีก

ขณะที่นายไกรศักดิ์ ชุณหะวัณ ผู้จับตาดูความสัมพันธ์ไทย-พม่าอย่างใกล้ชิด ระบุว่า ทักษิณมักจะกล่าวว่าไม่ได้เกี่ยวพันกับการบริหารของยิ่งลักษณ์อยู่เสมอ แต่การที่เขาเข้าไปมีบทบาทในการเจรจากับพม่าครั้งนี้ เขาก็ควรจะพิสูจน์ให้เห็นด้วยเช่นกัน “เราคิดว่าเธอ (ยิ่งลักษณ์) มีผลประโยชน์ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานที่น่าสงสัย เพราะเธอคือผู้นำของเรา แต่การกระทำเช่นนี้เป็นเรื่องเปราะบางที่ส่งผลกระทบต่อรัฐบาลของเธอ”

การลงทุนในพม่าว่าด้วยเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษในทวายนี้ สหรัฐฯ ได้เข้าไปลงทุนถึง 6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐในโครงการท่าเรือน้ำลึก และทำเป็นเขตอุตสาหกรรมขนาดใหญ่แล้ว และกำลังจะเชื่อมโยงกับไทยในเรื่องของทางหลวงเส้นใหม่ ทางรถไฟ และท่อก๊าซและน้ำมันที่จะส่งผ่านถึงกัน

ขณะที่ MIZZIMA รายงานว่า ทักษิณกล่าวว่าพม่าไม่เคยอนุญาตให้มีการพบปะระหว่างผู้นำระดับสูงเช่นนี้มาก่อน การเดินทางไปยังพม่าของทักษิณมีขึ้นเมื่อวันที่ 15 ธันวาคมที่ผ่านมา ขณะที่แหล่งข้อมูลจากเมืองเนปิดอว์ระบุว่า ทักษิณยังได้เดินทางไปยังโครงการท่าเรือน้ำลึกที่ทวายอีกด้วย และพักอยู่ที่นั่น 1 คืน การมาพม่าของทักษิณนั้น เขาใช้สายการบินพิเศษที่บินมาจากกัมพูชา

แหล่งข่าวระบุว่า “ประธานบริษัทอิตาเลียน-ไทย และรัฐมนตรีในรัฐบาลไทยได้ออกมาให้การต้อนรับทักษิณ และใช้เวลาอยู่ที่นั่นทั้งคืน”

นอกจากนี้ การเยือนทวายที่จะมีขึ้นในช่วงต้นเดือนหน้าของรัฐมนตรีต่างประเทศ สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ที่ระบุว่าจะเยือนพม่าพร้อมรัฐมนตรีอีกหลายท่าน (ดูรายละเอียด ที่นี่) เพื่อเป็นการเร่งประมูลเพื่อทำโครงการต่างๆ ภายใต้บริษัทก่อสร้างของไทย โครงการนี้มีการวางแผนให้เตรียมสร้างเส้นทางส่งก๊าซธรรมชาติมายังไทย ซึ่งมีมูลค่า 5.8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

อย่างไรก็ตาม ในปี 2004 บริษัทชินวัตรแซทเทลไลท์ของตระกูลชินวัตรเคยอนุมัติเงินกู้ให้กับพม่าถึง 4 พันล้านบาท หรือ 128 ล้านเหรียญสหรัฐ

Irrawaddy, Mizzima

Categories: News Monitor
ยิ่งลักษณ์ฯ เยือนพม่าดันโครงการเมกะโปรเจ็กต์ เขตเศรษฐกิจทวาย
Tue, 12/20/2011 - 18:31
นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร เยือนพม่าอย่างเป็นทางการอีกครั้ง เพื่อร่วมประชุมสุดยอดผู้นำภายใต้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) ครั้งที่ 4 ณ เมืองเนปิดอว์ อันมีสมาชิกประกอบด้วยจีน กัมพูชา ลาว พม่า ไทย และเวียดนาม ภายใต้ธีม หุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาทางยุทธศาสตร์แห่งอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงในทศวรรษหน้า (Beyond 2012: Towards a New Decade of GMS Strategic Development Partnership)

การประชุมสุดยอดผู้นำ GMS ครั้งที่ 4 นี้มีเป้าหมายเพื่อแสวงหาวิถีทางในการพัฒนาและขับเคลื่อน GMS ตลอดจนกำหนดแผนการความร่วมมือในอนาคตร่วมกันเชิงยุทธศาสตร์ของ GMS เป็นฉบับที่ 2 ระหว่างปี 2012-2022 ที่มุ่งเป้าไปในส่วนข้อริเริ่มความร่วมมือในประเด็นที่เป็นความเสี่ยงภัยร่วมกันมากขึ้น ทั้งประเด็นของภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง การใช้พลังงานอย่างพอเพียง ความมั่นคงทางอาหาร การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ด้านโลจิสติกส์ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ร่วมกัน เป็นต้น

ภาพจาก MCOT

นอกจากนี้ การประชุมสุดยอดผู้นำ GMS ยังได้ลงนามร่วมกันในบันทึกความเข้าใจ (MoU: Memorandum of Understanding) หลายเรื่องด้วยกัน ดังนี้

บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการร่วมปฏิบัติการเพื่อลดความเสี่ยงของประชากรจากการติดเชื้อ HIV (MoU for Joint Action to Reduce HIV Vulnerability Related to Population movement)
บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือร่วมกันเพื่อเร่งสร้างโครงข่ายทางด่วนสารสนเทศในกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (MoU on the joint Cooperation in Further Accelerating the Construction of the Information Superhighway and Application in the GMS)
บันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งสมาคมเพื่อการขนส่งแห่งอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (MoU on Articles of Association of the GMS Freight Transporters Association)
ในส่วนของไทยนั้น มีแนวโน้มที่จะส่งเสริมเส้นทางเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจร่วมกัน โดยปรับเส้นทางจากเหนือสู่ใต้ซึ่งเป็นเส้นทางจากจีนสู่ไทย และเส้นทางจากตะวันออกสู่ตะวันตกคือเส้นทางที่วิ่งจากพม่าไปยังเวียดนาม ซึ่งเป็นเส้นทางเศรษฐกิจที่จะช่วยส่งเสริมความร่วมมือด้านเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงแบบบูรณาการ

ดร.ธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นประธานสภาธุรกิจแห่งอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ระบุว่า “ภาคธุรกิจของไทยต้องการเห็นโมเดลในด้านเศรษฐกิจชายแดนแบบใหม่ที่สามารถเชื่อมโยงพรมแดนไทยไปยังประเทศเพื่อนบ้านได้” เช่น การจับคู่ระหว่างเศรษฐกิจชายแดน ที่เชื่อมโยงถึงกัน เช่น เชียงของ-ห้วยทราย นครพนม-คำม่วน มุกดาหาร-สะหวันนะเขต กาญจนบุรี-ทวาย และแม่สอด-เมียวดี ซึ่งน่าจะทำให้เป็นเขตเศรษฐกิจที่มีเอกลักษณ์พิเศษ เช่น ควรมีโมเดลสำหรับเมืองที่อยู่ตามชายแดน อย่างอุตสาหกรรมซีฟู้ด การปลูกสวนยางพารา โลจิสติกส์เพื่อการขนส่งทางทะเลระหว่างประเทศ เป็นต้น”


ทางด้านนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ได้กล่าวว่า “ในการประชุมสุดยอดผู้นำ GMS จะมีการพูดถึงความร่วมมือที่ไทยพร้อมจะให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนทางด้านการเงินและความช่วยเหลือทางเทคนิคต่างๆ โดยประเทศไทยนั้นถือว่ามีที่ตั้งเป็นจุดยุทธศาสตร์เนื่องจากอยู่ตรงกลางที่เชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านทั้งหมด จึงอาจทำให้เป็นโอกาสสำหรับการเชื่อมโยงความร่วมมือที่สะดวกยิ่งขึ้นและสามารถพัฒนากลายเป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงเส้นทางรถไฟได้”

ยิ่งลักษณ์ เน้นว่า “โครงการเมกะโปรเจกต์หรือ เขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย (Dawei special economic zone) นั้นอยู่ภายใต้กรอบความร่วมมือทวิภาคีของทั้ง 2 ประเทศนั้น ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง”

ขณะที่รัฐมนตรีต่างประเทศสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล กล่าวว่า ทวายอาจจะเป็นความร่วมมือที่เป็นโครงการหลักระหว่างไทยกับพม่าเพื่อขยายการพัฒนาทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ และมีแผนการเยือนทวายในต้นเดือนหน้าร่วมกับรัฐมนตรีกระทรวงการคลัง รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรม รัฐมนตรีกระทรวงพลังงาน และกระทรวงคมนาคม เพื่อประมูลและเร่งพัฒนาโครงการภายใต้บริษัทอิตาเลียนไทย

ในที่ประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ได้กล่าวว่า ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (the East West Economic corridor) จะมีการขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจร่วมกันในการเชื่อมโยงเส้นทางจากพม่าสู่ไทย ลาว และเวียดนาม ยิ่งลักษณ์กล่าวว่าจะให้การลงทุนตามโครงการนี้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมท่ามกลางบริบทสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงและส่งผลกระทบต่อไทยและประเทศอื่นในภูมิภาคด้วย

หมายเหตุ*

ประชุมสุดยอดผู้นำ GMS ครั้งแรกจัดขึ้นที่กรุงพนมเปญ กัมพูชา ปี 2002 มีการทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อความร่วมมือใน GMS ระหว่างปี 2002-2012
ประชุมสุดยอดผู้นำ GMS ครั้งที่ 2 จัดขึ้นที่นครคุนหมิง จีน ปี 2005
ประชุมสุดยอดผู้นำ GMS ครั้งที่ 3 จัดขึ้นที่นครเวียงจันทน์ ลาว ปี 2008
Chinese Government’s Official Web Portal, The Nation
http://www.prachatai.com/monitor/aggregator/sources/15



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง