บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เปิดรายงานการตรวจสอบคดีความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้

ที่มา ประชาไท

มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม
ธันวาคม 2554

มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมเปิดเผยผลการศึกษาความชอบด้วยกฎหมายของคดี ความมั่นคงในภาคใต้จำนวน 100 คดี พบข้อเท็จจริงว่ามีคดีที่ศาลยกฟ้องกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่รายละเอียดของการศึกษาชี้ให้เห็นว่า มีผู้ต้องหาถูกทำร้ายทุกขั้นตอนของการสอบสวนที่เริ่มตั้งแต่การเชิญหรือจับ กุมตัวไปจนถึงการควบคุมตัวและซักถาม ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินการภายใต้กฎหมายพิเศษหรือกฎหมายธรรมดาก็ตาม


ข้อสรุปดังกล่าวมาจากการศึกษา ข้อมูลสถิติคดีและและประมวลผลคดีความมั่นคง ภายใต้โครงการการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของคดีความมั่นคงในจังหวัดชายแดน ภาคใต้ ซึ่งเป็นการศึกษาข้อมูลคดีความมั่นคงที่ผ่านการพิพากษาของศาลชั้นต้นระหว่าง ปี 2553 ถึงต้นปี 2554 จำนวน 100 คดี ข้อสรุปที่สำคัญคือในจำนวนคดีที่ศึกษาทั้งหมดนั้น มีถึง 72 คดีที่ศาลสั่งยกฟ้องด้วยเหตุเพราะพยานหลักฐานไม่เพียงพอ มีเพียง 28 คดีที่ถูกพิพากษาลงโทษ

“ส่วนใหญ่แล้วพยานหลักฐานที่ศาลไม่รับฟัง แต่ปรากฏมากในสำนวนฟ้องของเจ้าหน้าที่มักจะเป็นเรื่องของการอาศัยคำรับ สารภาพที่ได้มาจากในชั้นการซักถามภายใต้กฎหมายพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นกฎอัยการศึกหรือพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน” อนุกูล อาแวปูเตะ ประธานมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมประจำจังหวัดปัตตานีระบุ “ที่ศาลไม่รับฟังนั้นส่วนหนึ่งเพราะถือว่า การได้มาซึ่งคำสารภาพหรือหลักฐานเช่นนี้อยู่นอกเหนือวิธีการได้มาซึ่งพยาน หลักฐานที่ถูกต้องตามกฎหมายที่ใช้ในการพิจารณาคดี นั่นคือตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา”

นักกฎหมายของมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมชี้ด้วยว่า ยังมีเหตุผลอื่นๆ อีกหลายประการที่มีส่วนทำให้พยานหลักฐานที่เจ้าหน้าที่นำเสนอในชั้นศาลขาด น้ำหนัก ส่งผลให้ตัวเลขการยกฟ้องอันเนื่องมาจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอมีสัดส่วนสูง หากเทียบแล้วถือได้ว่าอัตราส่วนของคดีที่ยกฟ้องด้วยเหตุผลเพราะพยานหลักฐาน ไม่เพียงพอเท่ากับ 100 เปอร์เซ็นต์เต็ม

ผลการศึกษายังพบด้วยว่า ในการปฏิบัติต่อบุคคลที่เป็นผู้ต้องสงสัยและเป็นผู้ต้องหาของเจ้าหน้าที่ ด้านความมั่นคง แม้ในหลายกรณีเจ้าหน้าที่จะให้ความเคารพในเรื่องความแตกต่างทางเชื้อชาติ ศาสนา แต่กลับพบว่ามีการข่มขู่ทำร้ายทั้งทางร่างกายและวาจา ด้วยการใช้ถ้อยคำที่ไม่สุภาพและขู่เข็ญตั้งแต่ในขั้นตอนการจับกุม การกักหรือคุมตัวไปจนถึงการซักถามหรือสอบสวนไม่ว่าตามกฎหมายพิเศษหรือภายใต้ กฎหมายธรรมดาก็ตาม ข้อมูลระบุชัดว่า ในการนำตัวบุคคลเข้าสู่กระบวนการซักถาม เช่นในการเชิญตัวภายใต้อำนาจที่เจ้าหน้าที่ได้รับตามกฎอัยการศึก ใน 100 คดี มีผู้ถูกทำร้ายร่างกาย 33 คดี มีการใช้วาจาที่ไม่สุภาพด้วย 35 คดี ถูกข่มขู่ 25 คดี ในการจับกุมภายใต้อำนาจที่ได้รับตามพระราชกำหนดบริหารราชการภายใต้สถานการณ์ ฉุกเฉินหรือพ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ปรากฏว่ามีผู้ถูกทำร้าย และใช้ถ้อยคำไม่สุภาพด้วยในจำนวนพอๆ กันคือกรณีละ 16 คดี ถูกขู่เข็ญ 12 คดี ในการจับกุมในชั้นของการใช้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาก็ปรากฏว่ามี บุคคลถูกทำร้ายร่างกายถึง 23 คดี มีการใช้วาจาไม่สุภาพด้วย 12 คดีและถูกขู่เข็ญ 13 คดี

เมื่อตรวจสอบพฤติการณ์เจ้าหน้าที่ที่เกิดขึ้นในชั้นการถูกกักตัวและซัก ถามหรือสอบปากคำจะพบว่า สถิติการทำร้ายและขู่เข็ญมีสูงที่สุดในกระบวนการภายใต้กฎอัยการศึก รองลงมาคือการดำเนินการภายใต้พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ แต่สิ่งที่ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายตั้งข้อสังเกตไว้ว่าเป็นเหตุน่ากังวลใจ อย่างมาก ก็คือการทำร้ายในระหว่างการสอบปากคำภายใต้ขั้นตอนตามประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญาซึ่งสถิติระบุว่า ใน 100 คดีมีผู้ถูกขู่เข็ญใน 24 คดี ถูกทำร้ายทางร่างกาย 18 คดี และมีการใช้วาจาไม่สุภาพกับผู้ถูกสอบในอีก 17 คดี

ข้อสรุปอีกบางประการที่น่าสนใจจากผลการศึกษา

ผู้ต้องหาเกือบทั้งหมดใน 100 คดี เป็นเพศชาย คือมีจำนวน 98 คน ในส่วนของคดีที่ศาลตัดสินลงโทษแล้วนั้น จำเลยเป็นชายล้วน และผู้ต้องหาส่วนใหญ่เป็นประชาชนทั่วไป
ในการตั้งข้อกล่าวหาพบว่า มีการตั้งข้อกล่าวหาที่เป็นความผิดในลักษณะของกลุ่มอาชญากรค่อนข้างสูง ข้อกล่าวหาที่พบมากที่สุดในจำนวนคดีที่หยิบยกมาศึกษา 100 คดี คือข้อหาการก่อการร้าย กล่าวคือมีทั้งสิ้นจำนวน 76 คดี ทั้งในจำนวนคดีที่ยกฟ้องก็มีถึง 57 คดีที่ถูกกล่าวหาตามข้อหานี้ รวมทั้งในกลุ่มที่ถูกตัดสินลงโทษก็มีผู้ที่ถูกลงโทษด้วยข้อหาก่อการร้ายใน จำนวนสูงสุดเช่นกันคือ 19 คดี ส่วนข้อหาที่รองลงมาคืออั้งยี่ซ่องโจร และความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิดดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน หรือพ.ร.บ.อาวุธปืนฯ
ระยะเวลาในการควบคุมตัวตามกฎหมายพิเศษ แม้ว่าโดยทั่วไปสถิติระบุชัดว่ามีผู้ต้องหาไม่กี่คดีที่ถูกคุมตัวเกินกว่า ที่กำหนดไว้ตามกฎหมายพิเศษ โดยเฉพาะในกรณีการควบคุมตัวภายใต้กฎอัยการศึก แต่เมื่อมีการคิดค่าเฉลี่ยออกมาแล้วจากจำนวนผู้ที่ถูกกักตัวทั้งหมดกลับพบ ว่า การกักตัวภายใต้กฎอัยการศึกโดยรวมกระทำเกินกว่าที่กฎหมายให้อำนาจไว้
ระยะเวลาของการถูกดำเนินคดี แม้สถิติระบุว่า การพิจารณาคดีส่วนใหญ่ใน 100 คดีนั้นใช้เวลาอยู่ในระดับที่ถือได้ว่าไม่นานเกินไป กล่าวคือมี 59 คดีที่ใช้เวลา 1-2 ปี ส่วนที่ใช้เวลาเกินสามปีมีเพียง 3 คดี แต่เมื่อพิจารณารวมไปถึงข้อเท็จจริงจากสถิติอีกบางอย่าง เช่นในบรรดาคดีทั้งหมดนั้น มีการผลัดฟ้องนาน 7 ครั้งรวมแล้วถึง 82 คดี และในจำนวนนี้เป็นคดีที่ในภายหลังศาลยกฟ้องถึง 59 คดี ทั้งยังมีการเลื่อนพิจารณาคดีอีกรวมแล้ว 73 คดี เมื่อรวมกับการที่บุคคลที่ถูกดำเนินคดีถูกกักตัวในช่วงของการซักถามและสอบ ปากคำรวมทั้งในระหว่างการอุทธรณ์ก็จะพบว่าผู้ต้องหาต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่า จะผ่านพ้นการดำเนินคดี
นอกจากนี้ในระหว่างการถูกกักตัวและดำเนินคดี มีผู้ต้องหาจำนวนไม่มากที่ได้รับการประกันตัวหรือปล่อยตัวชั่วคราว
ยังมีตัวเลขผลจากการศึกษาอีกหลายจุดที่ผู้ศึกษาพบว่าบ่งชี้ถึงลักษณะอีก บางประการที่น่ากังวลเกี่ยวกับการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ที่แสดงออกถึงการ ประกันสิทธิตามกฎหมายของผู้ต้องหาโดยทั่วไปหลายประการ เช่นการไม่แจ้งข้อกล่าวหา การจับกุมหรือตรวจค้นเคหะสถานโดยปราศจากหมายจับ การไม่อำนวยให้ผู้ต้องหามีทนายหรือญาติเข้าร่วมรับฟังการซักถามหรือสอบปากคำ การที่ไม่มีการตรวจร่างกายก่อนเข้ารับการซักถามหรือสอบปากคำ ทั้งหมดนี้ไม่เพียงเปิดโอกาสให้มีการละเมิดต่อผู้ต้องหาเท่านั้น แต่ยังอาจส่งผลให้เกิดข้อครหาต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ได้ด้วย

การศึกษา

การตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายของคดีหรือในภาษาอังกฤษเรียกว่า case audit นี้ ถือเป็นวิธีการศึกษาที่บางประเทศเช่นสหรัฐอเมริกาใช้ในการตรวจสอบกระบวนการ ยุติธรรม ทั้งนี้โดยมีจุดประสงค์ที่จะปรับปรุงระบบการทำงานของหลายภาคส่วนที่เกี่ยว ข้องกับระบบยุติธรรม การศึกษาหนนี้อาจถือได้ว่าเป็นครั้งแรกของประเทศไทย เนื้อหาที่ได้กล่าวมาแล้วเป็นข้อสรุปโดยคร่าวของผลการศึกษาซึ่งมูลนิธิศูนย์ ทนายความมุสลิมจะนำมาเรียบเรียงเป็นรายงานผลการตรวจสอบความชอบด้วยกฎหมายคดีความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และจะนำเสนอผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วยเป้าหมายเพื่อให้เกิดการถกเถียงและ หารือถึงจุดอ่อนของการทำงานในกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับคดีความมั่นคงในพื้นที่สี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการลดความขัดแย้งอันจะนำไปสู่การแก้ปัญหาความไม่สงบ ที่ยั่งยืนในอนาคต

โครงการศึกษาดังกล่าวนี้ผู้ศึกษาคือมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมได้ใช้ เวลาประมาณปีครึ่งในการดำเนินการ กล่าวคือนับตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2553 จนถึงปลายปี 2554 ในขั้นตอนของการศึกษามีการคัดสรรและศึกษาข้อมูลจากสำนวนคดีความมั่นคงใน จังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวน 100 คดีที่ศาลชั้นต้นได้พิพากษาแล้วในช่วงปี 2553 ถึงต้นปี 2554 อันเป็นช่วงเวลาที่มูลนิธิศูนย์ทนายฯมีคดีความมั่นคงในพื้นที่ที่เจ้า หน้าที่ของมูลนิธิช่วยรับหน้าที่ดำเนินการอยู่ประมาณ 600 คดี แม้ว่าคดีจำนวนที่ว่านี้จะมิใช่คดีความมั่นคงทั้งหมดที่มีการฟ้องร้องกันใน พื้นที่แต่ก็ถือได้ว่าเป็นส่วนมาก การศึกษาคดีในจำนวนนี้จึงอาจถือได้ว่าน่าจะทำให้สาธารณะได้เห็นภาพของการทำ งานของกระบวนการยุติธรรมในคดีความมั่นคงในภาคใต้ได้ในระดับหนึ่ง

การศึกษาดังกล่าวนี้ มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมได้รับการสนับสนุนจาก American Bar Association Rule of Law Initiative (ABA) หรือเนติบัณฑิตสภาแห่งอเมริกา เมื่อเริ่มจัดทำโครงการนี้คือในกลางปี 2553 นั้น คดีความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ส่วนใหญ่ยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาใน ชั้นศาล แม้ว่าหลายคดีจะเข้าสู่กระบวนการแล้วตั้งแต่ปี 2547 แต่จำนวนคดีที่ผ่านการตัดสินของศาลชั้นต้นยังมีไม่มาก ผู้ศึกษาจึงตัดสินใจใช้ตัวเลขที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดในเวลานั้นคือ 100 คดีเป็นเป้าหมายของการศึกษา สำหรับกระบวนการนั้นเริ่มต้นจากการมีองค์คณะร่วมกันพิจารณากำหนดกรอบและหลัก การในการแยกประเภทข้อมูล มีการจัดทำกรอบในการจัดทำรายการ (check list) โดยขั้นตอนนี้ดำเนินการภายใต้การสนับสนุนของนักวิชาการด้านกฎหมายคือ ดร.ปกป้อง ศรีสนิท จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต่อมาคณะผู้ศึกษาซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ของมูลนิธิกว่า 17 คนภายใต้การสนับสนุนของทนายความจำนวน 14 คนทำหน้าที่รวบรวมสำนวนคดีที่สอดคล้องกับองค์ประกอบของหลักการที่กำหนด นำข้อมูลจากทั้ง 100 คดีไปทำเป็นฐานข้อมูลก่อนที่จะนำข้อมูลจากทั้งสองส่วนไปสังเคราะห์และสกัด เป็นสถิติแล้ววิเคราะห์ในขั้นตอนสุดท้ายซึ่งมีอาจารย์รณกรณ์ บุญมี นักวิชาการด้านกฎหมายจากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ช่วยสนับสนุนในเชิงวิชาการ


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง