บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันศุกร์ที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2554

นโยบาย 66/23

"นายวัฒนา เมืองสุข ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.)วิสามัญพิจารณาศึกษาสร้างความปรองดองแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎร เผยว่า ในการประชุม กมธ.ปรองดองวันที่ 20 ธ.ค.นี้ กมธ.จะมีการเชิญกฤษฎีกามาให้ความเห็น ถึงสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นในอดีต เพื่อดูในข้อกฎหมายว่าจะใช้เป็นทางออกของความขัดแย้งนี้อย่างไร โดยจะใช้คำสั่งคณะรัฐมนตรีที่ 66/23 สมัย พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี มาเป็นแบบในการศึกษา

 เนื้อข่าว
ปู" ตั้งใจอยู่แล้วปรองดองเพื่อพี่ เรียกร้องขอความร่วมมือจากทุกฝ่าย "วัฒนา เมืองสุข” คนสนิทแม้ว-สวมหมวก กมธ.ปรองดอง แบไต๋ใช้โมเดล 66/23 ชงปลดล็อกความขัดแย้ง เปิดทางเหลือง-แดงร่วมเสนอความคิดเห็น "มาร์ค” ขวางธงนิรโทษกรรม แนะนายกฯ ทำงานเพื่อส่วนร่วมมากกว่าเพื่อคนคนเดียว ขณะที่ "กี้” นอนคุกต่อ ศาลยกคำร้องขอปล่อยชั่วคราว ย้ำต้องคดีร้ายแรงและหวั่นหลบหนี
    น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวเมื่อวันจันทร์ถึงแนวทางสร้างความปรองดองว่า วันนี้ตั้งใจอย่างนั้นอยู่แล้ว ตั้งแต่วันแรกที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา อยากขอความร่วมมือให้มาช่วยกันทุกส่วน เพราะที่ผ่านมาคงจะเห็นคำตอบแล้ว ประเทศชาติของเราไม่ได้ไปไหน ดังนั้นมาร่วมมือให้เกิดความสงบดีกว่า ยังมีอะไรที่ต้องพัฒนาและต้องคุยกันอีกเยอะ และวันนี้ความเจริญมาสู่อาเซียนเยอะ เราต้องมีการเตรียมตัวและช่วยกัน
    ผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีการเคลื่อนไหวต่อต้านพรรคเพื่อไทย ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 309 น.ส.ยิ่งลักษณ์กล่าวว่า ยังไม่ได้คุยกันในรายละเอียด ยังไม่ได้มีการคุยกันในเรื่องนี้
    นายวัฒนา เมืองสุข ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ในฐานะรองประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.)วิสามัญพิจารณาศึกษาสร้างความปรองดองแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎร เผยว่า ในการประชุม กมธ.ปรองดองวันที่ 20 ธ.ค.นี้ กมธ.จะมีการเชิญกฤษฎีกามาให้ความเห็น ถึงสถานการณ์ความขัดแย้งทางการเมืองที่เกิดขึ้นในอดีต เพื่อดูในข้อกฎหมายว่าจะใช้เป็นทางออกของความขัดแย้งนี้อย่างไร โดยจะใช้คำสั่งคณะรัฐมนตรีที่ 66/23 สมัย พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี มาเป็นแบบในการศึกษา
     "จะใช้นโยบาย 66/23 เป็นโมเดลแก้ปัญหาความขัดแย้งเลยก็ว่าได้ เพราะเป็นปัญหาที่เกิดจากการเมืองก็ต้องแก้ด้วยการเมือง กมธ.จะไม่ได้สรุปเอง แต่จะให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเสนอความเห็น โดยหลังจากนี้จะต้องเชิญทั้งเสื้อเหลือง เสื้อแดง ผู้ประกอบการทุกภาคส่วน ให้เข้ามาร่วมเสนอทางออกร่วมกัน” นายวัฒนากล่าว
    สำหรับนโยบาย 66/23 ได้ประกาศใช้เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.2523 เพื่อเป็นแนวทางในการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ สาระสำคัญของคำสั่งนี้คือ การใช้หลัก "การเมืองนำการทหาร” ในการต่อสู้กับการก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ซึ่งสาเหตุการก่อการร้ายของคอมมิวนิสต์ จะเป็นเรื่องของความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม
    ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม และมีสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) เข้ามายกร่างแก้ไขเพิ่มเติมก็เป็นเรื่องดี แต่ยังไม่มีการพูดอย่างชัดเจนว่าเป้าหมายที่แท้จริงคืออะไร เพราะหากยังวนเวียนอยู่กับเรื่องนิรโทษกรรมก็ไม่มีประโยชน์ เพราะมีแต่ขัดแย้งเพิ่มขึ้น ยิ่งมีธงในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 309 ตนก็ไม่คิดว่าจะแก้ปัญหาให้กับใครได้ เพราะจะมีการถกเถียงตามมาว่าผลทางกฎหมายคืออะไร
    "ผมจึงคิดว่าควรเลิกตั้งธงในเรื่องนิรโทษกรรม หากอยากปรับปรุงรัฐธรรมนูญให้ดีขึ้นไม่มีใครว่า แต่ถ้ายังตั้งธงว่าไม่ว่าจะเป็นรัฐธรรมนูญ กฎหมายหรือพระราชกฤษฎีกา หรือมาตรการอะไรก็ตาม เป็นการหวังผลเรื่องนิรโทษกรรมก็จะเกิดปัญหา เรื่องเหล่านี้ควรให้ คอป.ดำเนินการดีกว่า”
    นายอภิสิทธิ์กล่าวด้วยว่า วันนี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกฯ พยายามหลบที่จะตอบคำถามกับสังคม แต่ท่านปฏิเสธไม่ได้ว่าพรรคเพื่อไทยเดินหน้าเต็มที่ คนรอบข้างเดินหน้าอย่างเต็มที่ และในที่สุดความรับผิดชอบก็ไม่พ้นไปจากนายกฯ จึงควรเผชิญกับปัญหานี้    
    "สำหรับผมอยากให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์มีความกล้าหาญ ที่จะบอกว่าเมื่อมาเป็นนายกฯ ก็จะทำงานเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของคนทั้งประเทศ และเรื่องของพี่ชายจะขอให้ผู้สนับสนุนพักเอาไว้ก่อนเพื่อมุ่งแก้ปัญหาประเทศ ซึ่งจะทำได้หรือไม่ก็ต้องพิสูจน์ตัวเอง” นายอภิสิทธิ์กล่าว
        นายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงตอบโต้นายนพดล ปัทมะ ทนายความส่วนตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่อ้างว่า พ.ต.ท.ทักษิณไม่รับทราบกรณีกระทรวงการต่างประเทศออกหนังสือเดินทางให้ ว่าเรื่องนี้โฆษกกระทรวงการต่างประเทศแถลงชัดเจนว่า พ.ต.ท.ทักษิณได้ยื่นคำร้องขอให้กระทรวงการต่างประเทศออกหนังสือเดินทางให้ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคมที่ผ่านมา จากนั้นกระทรวงการต่างประเทศจึงออกหนังสือเดินทางให้ในวันที่ 26 ตุลาคม ซึ่งนายนพดลไม่ได้ชี้แจงในเรื่องนี้ แสดงให้เห็นว่านายนพดลมีปัญหาในเรื่องความเข้าใจด้านกฎหมาย จนไม่น่าเชื่อว่าจะจบกฎหมายจากออกซ์ฟอร์ด
    นายชวนนท์กล่าวว่า ทั้งนายนพดลและนายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.การต่างประเทศ ควรพูดความจริงกับประชาชน และเลิกบิดเบือนโกหกประชาชนได้แล้ว เพราะเป็นการกระทำที่ไร้ศักดิ์ศรี และน่าละอายที่รับใช้คนคนเดียวจนต้องโกหกประชาชนทุกวัน นอกจากนี้ การที่นายนพดลอ้างว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ใช้พาสปอร์ตมอนเตเนโกร ไม่จำเป็นต้องใช้พาสปอร์ตไทยนั้น ก็ถือว่าตีความไม่แตก เพราะประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่า พ.ต.ท.ทักษิณจะถือพาสปอร์ตกี่เล่ม จะถือมากก็ยิ่งดีเพราะจะได้ไม่เดือดร้อนประเทศไทย แต่เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับจำนวน แต่อยู่ที่พาสปอร์ตที่กระทรวงการต่างประเทศออกให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ซึ่งเป็นการกระทำผิดกฎหมาย ขัดระเบียบกระทรวงการต่างประเทศ และถือเป็นสิทธิพิเศษที่ พ.ต.ท.ทักษิณอยู่เหนือคนอื่น แสดงให้เห็นถึงเรื่องสองมาตรฐานชัดเจนที่สุด
    นอกจากนี้ นายชวนนท์ยังเรียกร้องให้อัยการสอบถามไปยังกระทรวงการต่างประเทศ ถึงที่อยู่ของพ.ต.ท.ทักษิณที่ระบุในพาสปอร์ต เพื่อจะได้นำมาเป็นหลักฐานในการทำหนังสือขอจับกุมตัวชั่วคราวไปยังประเทศที่ พ.ต.ท.ทักษิณพำนักอยู่ หากไม่มีการดำเนินการก็ถือเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการละเว้นการปฏิบัติ หน้าที่
    โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ยังกล่าวถึงกรณีนายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ออกมาระบุว่า มีแผนบันได 9 ขั้นล้มรัฐบาล ว่า เป็นความพยายามที่จะปล่อยข่าวบิดเบือนข้อเท็จจริง เพื่อให้ประชาชนเกิดความสับสน ยืนยันว่าพรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยสนับสนุนใครก็ตามให้ล้มรัฐบาลด้วยวิธีนอก ระบบ จึงอยากให้คนของรัฐบาลเลิกพูดเรื่องไร้สาระเสียที
    นายนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษากฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่า การที่โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ระบุว่า ตนแกล้งโง่ในข้อกฎหมายเรื่องการเพิกถอนพาสปอร์ต พ.ต.ท.ทักษิณนั้น ยังยืนยันว่านายกษิตเพิกถอนพาสปอร์ต พ.ต.ท.ทักษิณโดยไม่เป็นธรรม เพราะมีการเลือกปฏิบัติ การที่นายชวนนท์อ้างว่าเพิกถอนพาสปอร์ต พ.ต.ท.ทักษิณ เพราะได้สร้างความเสียหายต่อประเทศ เป็นเพียงความคิดของนายกษิตและพรรคประชาธิปัตย์ แต่คนอื่นเขาไม่คิดแบบนั้น อย่างน้อยคนกว่า 15 ล้านคนที่เลือกพรรคเพื่อไทยไม่คิดแบบพรรคประชาธิปัตย์ และนายกษิตเคยทำเอกสารเสนอนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ว่า พ.ต.ท.ทักษิณเป็นภัยคุกคามต่อประเทศ ซึ่งเป็นการใส่ร้าย พ.ต.ท.ทักษิณอย่างไม่เป็นธรรม
    "ไม่แปลกใจในพฤติกรรมที่ดูถูกดูแคลนคนอื่นของนายชวนนท์ และสรุปว่าคนที่ตีความกฎหมายต่างจากตนว่าเป็นคนไม่รู้กฎหมายหรือโง่ อยากถามว่าสมัยพรรคประชาธิปัตย์แจก ส.ป.ก.ให้เศรษฐี ทั้งๆที่ศาลและนักการเมืองฝ่ายตรงข้ามไม่เห็นด้วย ถือว่าคนอื่นโง่แล้ว พรรคประชาธิปัตย์ฉลาดคนเดียวหรืออย่างไร และถ้าฉลาด ทำไมศาลตีความว่าการแจก ส.ป.ก.ให้เศรษฐีถือว่าผิดกฎหมาย เลิกเถอะที่จะดูถูกดูแคลนคนอื่นที่เห็นต่างจากตนทางกฎหมายว่าเป็นคนโง่” นายนพดลกล่าว
    วันเดียวกัน ที่ห้องพิจารณา 704 ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก ศาลอ่านคำสั่งขอปล่อยชั่วคราวที่นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง อายุ 47 ปี แกนนำกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) จำเลยในคดีร่วมกันก่อการร้าย ซึ่งได้ยื่นคำร้องพร้อมหลักทรัพย์ขอประกันตัวต่อศาลอาญา ครั้งที่ 2 รวม 3 คดี คือ คดีก่อการร้าย, คดีหมิ่นประมาทนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และคดีหมิ่นประมาท พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน รอง ผบช.น. 
    ทั้งนี้ นางระพิพรรณ พงศ์เรืองรอง ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย และเป็นภรรยานายอริสมันต์ ได้ใช้ตำแหน่ง ส.ส. ตีราคา 1,350,600 บาท ขอประกันตัวนายอริสมันต์ เมื่อวันที่ 13 ธ.ค.ที่ผ่านมา และศาลมีคำสั่งให้ไต่สวนข้อเท็จจริง โดยนายอริสมันต์เข้าเบิกความด้วยตัวเองพร้อมนางระพิพรรณ และพยานอื่นรวม 3 ปาก
    โดยศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานของจำเลยในชั้นไต่สวนแล้วเห็นว่า โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้าย ซึ่งระวางโทษสูงสุดให้ประหารชีวิต ถือว่าเป็นข้อหาร้ายแรงและมีอัตราโทษสูง ประกอบกับจำเลยยอมรับในชั้นไต่สวนว่า ระหว่างการชุมนุมทางการเมืองจำเลยได้กล่าวว่า "เหตุผลของการชุมนุมต่อสู้กับอำมาตย์ จะต่อสู้กับพวกกองทัพที่มันรับใช้อำมาตย์มาทำการปฏิวัติ เราต้องรวมใจกันเป็นหนึ่งด้วยสโลแกน ออลฟอร์วัน (ALL FOR ONE) รวมใจเป็นหนึ่งล้มอำมาตย์ พี่น้องนัดกันคราวหน้าถ้ารู้ว่าเขาจะปราบปราม ไม่ต้องเตรียมอะไรมาก นำขวดแก้วมาคนละใบแล้วเติมน้ำมันเอาข้างหน้า บรรจุให้ได้ 75 ซีซี ถึง 1 ลิตร ถ้าเรามา 1 ล้านคน ในกรุงเทพมหานครจะมีน้ำมัน 1 ล้านลิตร รับรองว่า กทม.เป็นทะเลเพลิงอย่างแน่นอน”
    ศาลระบุว่า คำเบิกความของจำเลยเป็นการสะท้อนความคิด และเป้าหมายทางการเมืองที่มีลักษณะค่อนข้างรุนแรงพอสมควร ทางนำสืบของจำเลยจึงยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้เชื่อได้ว่า หากศาลอนุญาตให้ปล่อยจำเลยชั่วคราวในระหว่างการพิจารณาคดี แล้วจำเลยจะไม่กระทำการใดๆ ที่ร้ายแรงในลักษณะทำนองเดียวกันอีก ตาม ป.วิ. อาญา. มาตรา 108/1 (3)
    ส่วนกรณีจำเลยยื่นคำร้องและเบิกความทำนองเดียวกันได้ความอีกว่า เหตุที่จำเลยต้องหลบหนีตลอดมา เพราะได้ถูกข่มขู่คุกคามจากเจ้าหน้าที่รัฐตลอดเวลา กับมีพวกของจำเลยถูกยิงจนถึงแก่ความตายหลายรายในหลายจังหวัด จำเลยจึงต้องหลบหนีซ่อนตัวเพื่อความปลอดภัยในชีวิต อย่างไรก็ตาม หลังเกิดเหตุจำเลยพยายามจะขอเข้ามอบตัวต่อเจ้าพนักงานหลายครั้งเพื่อต่อสู้ คดี แต่มีคนขอร้องให้ชะลอการมอบตัวไปก่อน เนื่องจากยังมีปัญหาเรื่องความปลอดภัย แต่เมื่อมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และบ้านเมืองกลับเข้าสู่ภาวะสงบแล้ว จำเลยจึงเข้ามอบตัวกับเจ้าพนักงานเพื่อต่อสู้คดี
    อย่างไรก็ตาม ศาลพิเคราะห์ว่า แต่ในการไต่สวนคำร้องนั้น จำเลยไม่มีพยานบุคคลหรือพยานหลักฐานอื่นๆ ที่มีน้ำหนักน่าเชื่อถือเพียงพอมาสนับสนุนให้เชื่อได้ว่า ข้อเท็จจริงต่างๆ เป็นจริงดังที่จำเลยอ้าง และพวกของจำเลยที่ถูกยิงจนถึงแก่ความตายเหล่านั้นเกิดจากการกระทำของเจ้า หน้าที่ของรัฐทั้งสิ้น 
    นอกจากนี้ จำเลยมีแค่ตัวจำเลยและนางระพิพรรณ ภรรยาพยานจำเลยเท่านั้นที่มาเบิกความ และให้ถ้อยคำต่อศาลว่าหากจำเลยได้รับอนุญาตให้ปล่อยชั่วคราวแล้ว จำเลยจะไม่หลบหนีระหว่างการพิจารณาของศาลอีก โดยที่จำเลยไม่มีพยานหลักฐานอื่นที่สมควรเหมาะสมน่าเชื่อถืออย่างสูงเพียงพอ มาสนับสนุนยืนยันประกอบด้วยแต่อย่างใด ดังนั้น ศาลเห็นว่าในชั้นนี้คดียังไม่มีเหตุสมควรให้ปล่อยจำเลยชั่วคราวระหว่างการ พิจารณาคดีตามคำร้อง จึงให้ยกคำร้อง
    นายศุภชัยวุธ ชาวสวนกล้วย ทนายความนายอริสมันต์ กล่าวว่า การยื่นคำร้องขอปล่อยตัวนายอริสมันต์ครั้งที่ 3 สามารถทำได้ ทั้งการยื่นต่อศาลอาญาใหม่ หรือยื่นอุทธรณ์คำสั่ง โดยส่วนตัวจะใช้ช่องทางการยื่นขอประกันใหม่ เพราะเคยมีบางคดีที่ต้องยื่นขอประกันถึง 5 ครั้ง ศาลจึงอนุญาตให้ประกันตัว หลังจากนี้จะเร่งรวบรวมพยานหลักเพื่อยื่นคำร้อง โดยคาดว่าจะยื่นอีกครั้งได้ก่อนปีใหม่ ส่วนพยานอาจเป็นผู้ใหญ่ในรัฐบาลและนายจตุพร ที่จะให้มาร่วมไต่สวนด้วยหรือไม่ก็อาจเป็นไปได้ แต่ต้องพิจารณาอีกครั้ง
    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายถิรชัย วุฒิธรรม เลขานุการ รมว.ยุติธรรม และ พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย อธิบดีกรมราชทัณฑ์ เดินทางมาตรวจเรือนจำชั่วคราวหลักสี่ พร้อมพาสื่อมวลชนดูความพร้อมของเรือนจำ โดยพบว่าอาคารเรือนจำเป็นตึกสูง 4 ชั้น มีรั้วเหล็กสูงกว่า 2 เมตรล้อมรอบ ซึ่งชั้นที่ 1 ของเรือนจำ จะมีการแบ่งเป็นอาคารสำนักงานสำหรับเจ้าหน้าที่ และห้องเยี่ยมผู้ต้องขัง ส่วนชั้นที่ 2-4 ที่ขณะนี้ยังบูรณะไม่เสร็จ จะแบ่งเป็นห้องขังนักโทษ โดยแต่ละชั้นจะมีจำนวน 9 ห้อง แบ่งเป็นห้องขนาดใหญ่ 1 ห้อง ขนาดกลาง 3 ห้อง และขนาดเล็กที่สามารถจุนักโทษได้จำนวน 2 ราย จำนวน 5 ห้อง ทั้งนี้จะมีประตูรั้วเหล็กไว้กั้นแต่ละชั้น ส่วนบนดาดฟ้าของอาคารถูกแบ่งเป็นลานกว้างเพื่อใช้สำหรับออกกำลังกาย
    เมื่อถามถึงกรณีนายอริสมันต์ จะเข้าข่ายได้เข้าเรือนจำชั่วคราวนี้หรือไม่ นายถิรชัยกล่าวว่า ไม่ทราบและไม่สามารถตอบชื่อนักโทษได้ โดยจะต้องเป็นไปตามคณะกรรมการพิจารณา "ผมยังไม่ทราบว่าใครจะมาอยู่บ้าง แต่ไม่น่าจะเป็นอย่างนั้น”
    พ.ต.อ.สุชาติกล่าวว่า เรือนจำนี้ทางกระทรวงยุติธรรมได้ดำเนินการกำหนดอาณาเขตเรือนจำชั่วคราวหลัก สี่ขึ้นมา เพื่อควบคุมผู้ต้องขังในคดีความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐและคดีอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่อง อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 (1) และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ 2479 แต่ขณะนี้การดำเนินการก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ ทั้งระบบสาธารณูปโภคและระบบน้ำยังไม่พร้อม ฉะนั้นจึงต้องมีการเร่งดำเนินการให้เร็วที่สุด พร้อมกับขยายการรับนักโทษชุดแรกออกไปก่อน ส่วนระบบการรักษาความปลอดภัยของที่นี่ จะมีเจ้าหน้าที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ และตำรวจสันติบาลจำนวน 155 นาย ที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าหน้าที่ของกรมราชทัณฑ์มาคอยดูแลตลอด 24 ชม. ส่วนที่มีการจำกัดความว่า เรือนจำแห่งนี้ไว้คุมขังเฉพาะวีไอพีนั้น ไม่ใช่อย่างแน่นอน โดยขอยืนยันว่า หากมีผู้กระทำผิดมาไม่ว่าจะเป็นใครก็ตาม ทางเจ้าหน้าที่พร้อมจะปฏิบัติเหมือนกันหมด




ทำความรู้จักนโยบาย 66/2523

การเสนอให้ใช้ “นโยบาย 66/2523” เป็นต้นแบบในการออกกฎหมายปรองดองนั้น คงต้องทำความเข้าใจกับนโยบาย 66/2523 ก่อนว่ามีที่มาอย่างไร
คำสั่งที่ 66/2523 ได้ประกาศใช้เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2523 เพื่อเป็นแนวทางในการต่อสู้เพื่อเอาชนะคอมมิวนิสต์ สาระสำคัญของคำสั่งนี้ คือ การใช้หลัก “การเมืองนำการทหาร” ในการต่อสู้กับการก่อการร้ายคอมมิวนิสต์
คำสั่งที่ 66/2523 ได้ระบุถึงสาเหตุของการก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ว่าเป็นเรื่องของความไม่เท่า เทียมกันทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ความไม่เท่าเทียมทางการเมือง คือ สภาพการเมืองที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและประชาชนไม่ได้ใช้อำนาจอธิปไตย แต่อำนาจนี้อยู่ในมือของคนกลุ่มน้อยที่มีอำนาจทางเศรษฐกิจและสนใจแต่ ประโยชน์ส่วนตัว รวมทั้งข้าราชการซึ่งใช้อำนาจหน้าที่เอารัดเอาเปรียบประชาชนที่ไม่มีทาง ต่อสู้ ส่วนความไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจนั้นเกี่ยวข้องกับการผูกขาดทางเศรษฐกิจ โดยคนจำนวนน้อย การขูดรีด เอารัดเอาเปรียบคนจนโดยคนที่ร่ำรวย ความไม่เท่าเทียมกันในรายได้ การมีโอกาสที่ไม่เท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ อันส่งผลให้ช่องว่างระหว่างชนชั้นและระหว่างเมืองกับชนบทกว้างมากขึ้นทุกที
จุดเริ่มต้นของแนวคิด คำสั่ง 66/23 มีที่มาแนวคิดของนายทหารอย่าง พล.ต.เปรม ติณสูลานนท์ ยศในขณะนั้น เมื่อได้รับแต่งตั้งให้ไปดำรงตำแหน่งเป็นรองแม่ทัพภาคที่ 2นับแต่เดือนพฤศจิกายน 2517.

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง