กลายเป็นประเด็น “ยืดเยื้อ”
สำหรับโครงการจัดซื้อ “เรือดำน้ำ” มือสองรุ่น U 206 A
จากประเทศเยอรมนีของกองทัพเรือที่ต้องการจัดซื้อจัดหามาโดยตลอด
แม้ทุกฝ่ายจะเห็นด้วยกับความจำเป็นในการจัดซื้อเรือดำน้ำ แต่จนแล้วจนรอด
โครงการจัดซื้อดำน้ำมือสองเยอรมนีก็ยังไม่นำเข้าสู่ที่ประชุม ครม.เสียที
ขณะนี้โครงการยังคงค้างคาอยู่ที่สำนักงบประมาณกลาโหมที่กำลังศึกษาราย
ละเอียดความคุ้มค่า หลังที่ทางทัพเรือมีการปรับลดวงเงินจาก 7,591
พันล้านบาท เหลือ 6,995 พันล้านบาท ท่ามกลางกระแสข่าวว่า
มีความพยายามผลักดันโครงการซื้อเรือดำน้ำ “มือหนึ่ง” ของ “เกาหลีใต้” รุ่น U
209 เข้ามาแทนที่ “เรือเก่า” เยอรมนี
วันนี้ “บ้านเมือง”
ได้มีโอกาสไปนั่งพูดคุยกับ “ผู้ใช้เรือดำน้ำโดยตรง” พล.ร.ต.สุริยะ พรสุริยะ
ผบ.กองเรือดำน้ำ ถึงความจำเป็นที่ต้องมีการเร่งจัดซื้อเรือดำน้ำโดยเร็ว
และเหตุผลว่า ทำไมต้องเป็นมือสองของเยอรมนีเท่านั้น!!!
ความจำเป็นที่กองทัพเรือต่อกรณีการจัดซื้อเรือดำน้ำ
ความ
จริงกองทัพเรือต้องการจัดหาเรือดำน้ำมานานแล้ว
เราเคยมีเรือดำน้ำชุดแรกเข้าประจำการเมื่อปี 2480
โดยเราใช้เรือดำน้ำมาถึงปี 2494
ต้องปลดระวางเพราะญี่ปุ่นแพ้สงครามโลกจึงไม่สามารถจัดหาอะไหล่ให้เราได้
จากนั้นเราพยายามจัดหาเรือดำน้ำมาตลอด แต่มีปัญหาสารพัด เรื่องสำคัญคือ
งบประมาณ เพราะค่าใช้จ่ายสูง โดยเรือดำน้ำเป็นอาวุธที่มีอานุภาพร้ายแรง
เป็นอาวุธลับที่เรามองไม่เห็น ตรวจจับยาก มีอาวุธที่เด็ดขาด
เมื่อประเทศเพื่อนบ้านมีหมด ทั้งสิงคโปร์ มาเลเซีย และล่าสุดคือ เวียดนาม
จากเดิมที่เราอาจยังไม่ค่อยเดือดร้อนเท่าไร แต่เมื่อประเทศเพื่อนบ้านมีหมด
เราก็เดือดร้อน ภัยคุกคามกับความตั้งใจปัจจุบันอาจยังไม่มี
ประเทศเพื่อนบ้านอาจยังเป็นมิตรเพราะยังไม่มีเงื่อนไขร้ายแรงที่จะนำไปสู่
การทะเลาะเบาะแว้งกัน แต่เขามีขีดความสามารถ
ซึ่งขีดความสามารถของเรือดำน้ำไม่ใช่วันนี้
กว่าเราจะสร้างขีดความสามารถเรือดำน้ำได้ต้องใช้เวลา 6-9 ปี
เมื่อประเทศเพื่อนบ้านมีเรือดำน้ำแล้วจึงเป็นความจำเป็นเร่งด่วน
ทำไมต้องเป็นเรือดำน้ำมือสองของเยอรมนี
เมื่อ
ปี 2553 เราเสนอความต้องการงบประมาณจัดหาเรือดำน้ำ 2-3 ลำ
โดยเสนองบประมาณไป 4.8 หมื่นล้านบาทผูกพันงบประมาณ 10 ปี โดยหน่วยงานต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องต่างเห็นว่า เรือดำน้ำจำเป็นแต่งบประมาณสูงมาก
และภาระผูกพันยาว จึงเสนอให้กองทัพเรือกลับมาทบทวนใหม่
เมื่อกองทัพเรือกลับมาทบทวน
เป็นจังหวะเดียวกับที่ทางกลาโหมเยอรมนีจะปรับลดงบประมาณ
จึงจะยุบกองเรือดำน้ำแบบ 206 A จำนวน 6 ลำ โดย 4 ลำยังใช้งานได้อยู่ แต่อีก
2 ลำเขาปลดระวางไปก่อนหน้านั้น ซึ่งเขาเห็นว่าเราสนใจจะจัดหาเรือดำน้ำ
เขาจึงเสนอโครงการนี้ให้ผู้บังคับบัญชาระดับสูงของเรา
เมื่อพิจารณาเรือดำน้ำของเขา พบว่า
เป็นเรือดำน้ำที่ออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับกลางทะเลบอลติกเอาไว้รบกับสหภาพ
โซเวียตในยุคนั้น เป็นเรือที่ออกแบบสำหรับน้ำตื้น
ซึ่งทะเลบอลติกมีลักษณะท้องทะเล ระดับน้ำใกล้เคียงกับประเทศไทย
และโครงการนี้เป็นการโอนกองเรือของเขามาให้เราทั้งหมด
ทั้งระบบเครื่องฝึกจำลอง อะไหล่ อาวุธ ตอร์ปิโด รวมทั้งการสนับสนุน
และการปรับปรุงทั้งหมด ดังนั้นเราจะมีขีดความสามารถเรือดำน้ำได้ในเวลาแค่ 2
ปี
อีกทั้งยังเป็นตัวเร่งให้เราทัดเทียมกับประเทศเพื่อนบ้านได้ในเวลาอันรวด
เร็ว
โครงการนี้เราพิจารณาความคุ้มค่าแล้ว
แต่เป็นโครงการแรกที่มีการตรวจสอบอย่างที่ไม่เคยมีการตรวจสอบมาก่อน
ตั้งแต่สมัย พล.อ.ประวิตร ที่นำเรื่องเข้าสภากลาโหม
แต่เผอิญเป็นจังหวะที่มีการยุบสภาจึงให้ทางเราไปเจรจากับเยอรมนีให้เขายืด
เวลาออกไป ซึ่งเขาเข้าใจสถานการณ์การเมืองของเราจึงขยายเวลาให้จนถึง 30
ก.ย. เมื่อเขาตกลงขยายเวลา เราจึงปรับโครงการต่างๆ
เสนอขึ้นไปยังกระทรวงกลาโหม
ซึ่งมีการตั้งกระบวนการในการตรวจสอบศึกษาเพิ่มขึ้นมาอีก ซึ่งจากการชี้แจง
คณะกรรมการทั้งหมดสนับสนุนโครงการนี้ ยกเว้น พล.ร.อ.ประเสริฐ บุญทรง
ประธานคณะกรรมการศึกษาโครงการ เห็นว่า ให้ทบทวนเรื่องความคุ้มค่า
จากนั้นก็มีสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)
ทำหนังสือขอให้ไปชี้แจงความคุ้มค่า ความโปร่งใส เราก็ส่งทีมงานไปชี้แจง
ซึ่งเคลียร์หมดทุกประเด็น จนกระทั่งหมดข้อสงสัย ขณะนี้เรื่องก็ยังอยู่ที่
รมว.กลาโหม ยังไม่ได้นำเข้า ครม.
ขณะนี้เราเจรจากับเยอรมนีขอยืดเวลาออกไปเป็นกลางเดือน พ.ย.
ซึ่งเขาตอบรับอย่างไม่เป็นทางการ ขณะนี้รอดูว่า รมว.กลาโหมจะเสนอเข้า
ครม.หรือไม่ เพราะเราได้ไปชี้แจงกับเลขาฯ นายกฯ แล้ว ซึ่ง
รมว.กลาโหมอาจจะต้องระมัดระวังมาก
เพราะโครงการนี้มีการวิพากษ์วิจารณ์กันพอสมควรว่าเป็นเรือเก่า
กลัวว่าเมื่อซื้อมาจะใช้การไม่ได้
มองว่าโครงการนี้ติดขัดปัญหาอะไรจึงยังไม่ถูกนำเข้า ครม.
ไม่
เข้าใจเหมือนกัน แต่สิ่งที่พูดกันมาก คือ เป็นเรือเก่าทำให้อาจมีปัญหา
ภาระการซ่อมบำรุง ปัญหาความปลอดภัย ซึ่งเราชี้แจงแล้วว่า
แม้เรือจะอายุมากแล้ว แต่ตัวเรือเป็นเหล็กพิเศษ
มีส่วนผสมของโครเมียมกับนิกเกิล คล้ายสเตนเลสที่ไม่เป็นสนิม
ทำให้ตัวเรือไม่มีหมดอายุ เพราะไม่ผุ ไม่กร่อน
แต่มาตรฐานทางอุตสาหกรรมของอังกฤษบอกว่า
เหล็กชนิดนี้มีอายุใช้ได้ไม่น้อยกว่า 75 ปี ตอนนี้ใช้งานมาแล้ว 30 กว่าปี
ซึ่งเหล็กทั่วไปมีอายุใช้งาน 30 ปี ถ้าเป็นเหล็กของทางเอเชีย
เช่นจีนก็จะมีอายุต่ำกว่านั้น ประมาณ 20 กว่าปี
เรือนี้เป็นมาตรฐานของเยอรมนี นี่คือโอกาสทางทหาร
ถ้าเราไม่รีบคว้ามันก็จะพลาดไป แล้วเราจะต้องไปเสียเงินเยอะ
มองเรือดำน้ำประเทศอื่นหรือไม่ หากโครงการนี้ไม่ผ่าน
เรา
ศึกษามาโดยตลอด หากเป็นประเทศอื่นต้องเป็นเรือใหม่
ถ้าไม่ได้เรือชุดนี้ก็คงอีกนานมากๆ ที่เราจะมีเรือใหม่ได้
ซึ่งเรือดำน้ำใหม่อย่างของเกาหลีที่เขาเสนอมาลำละ 1.4 หมื่นล้านบาท
เป็นตัวเรืออย่างเดียวที่ไม่มีอาวุธ หรืออะไรเลย แต่โครงการเรือดำน้ำ 206 A
จากเยอรมนีมาพร้อมกับอะไหล่ที่เยอรมนีสะสมเอาไว้เพื่อรักษาความพร้อมทาง
ยุทธการของเรือไปจนถึงปี 2015 ซึ่งหากเรานำมาใช้อาจใช้ได้ถึงปี 2020
เพราะการใช้งานของเราไม่ตรากตรำเท่ากับทางยุโรป
โครงการเรือดำน้ำนี้ถือเป็นโครงการที่สมบูรณ์แบบที่สุด
และเหมาะกับอ่าวไทยที่สุด
ถ้าเลยวันที่เยอรมนีกำหนด คือวันที่ 15 พ.ย.โครงการนี้สิ้นสุดใช่หรือไม่
สิ่ง
ที่เราเจรจากับทางเยอรมนีให้ยืดเวลาถึง พ.ย.เพื่อจะได้ไม่มีข้ออ้าง
แต่ดึงยังไงก็คงเลทไปไม่ได้มากกว่านี้ แต่เราเชื่อว่าจะไปได้
ซึ่งเราได้ให้เหตุผลว่า
ขณะนี้เรากำลังวุ่นวายกับเรื่องน้ำท่วมจึงขอเลื่อนเวลากับเขา
ซึ่งเขาก็เข้าใจ เราแจ้งกับฝ่ายเขาว่า เราต้องการจริงๆ
แต่เขาก็คงไม่สามารถรอได้แบบไม่มีที่สิ้นสุด คิดว่าน่าจะเป็นครั้งสุดท้าย
เราไม่มีหน้าที่จะไปบากหน้าขอเขาอีกแล้ว
กระแสข่าวว่า กลาโหมต้องการเรือดำน้ำเกาหลี ได้ศึกษาข้อดีข้อเสียเทียบกับของเยอรมนีอย่างไร
เรือ
ดำน้ำของเกาหลีเขาต่อเรือดำน้ำ 209 ได้ลิขสิทธิ์จากเยอรมนี
ตัวเรือเชื่อว่าคงไม่มีปัญหาอะไร
แต่ระบบอุปกรณ์ข้างในอาจจะใช้อย่างของเยอรมนีไม่ได้ ถ้าดูจริงๆ
เรือใหม่จริง แต่เป็นเทคโนโลยีเก่า ถ้าเราจะเริ่มต้นรุ่น 209 ที่ราคา 1.4
หมื่นล้านบาท แต่หากเราเพิ่มอีก 2-3 พันล้านบาท
เราจะได้เรือดำน้ำใหม่จากแม่แบบเยอรมนีเอง แถมเป็นเรือรุ่นใหม่ด้วย
ถ้าเทียบกันจริงๆ ในทางเทคนิค เกาหลีเป็นรองแน่นอน
เพราะเขารับเทคโนโลยีมาจากเยอรมนี และไม่ใช่เจ้าของเทคโนโลยีโดยตรง
ปัจจุบันเรือดำน้ำแบ่งออกเป็น 3 เกรด คือ 1.เกรดยุโรป คือ เยอรมนี ฝรั่งเศส
สวีเดน ซึ่งเป็น 3 ผู้ผลิตรายหลักที่จัดอยู่ในแถวหน้า 2.เกรดยุโรปตะวันออก
อาทิ รัสเซีย และ 3.เกรดเอเชีย คือ เกาหลี จีน
ทั้งนี้เกาหลีมาแตะเรื่องเรือดำน้ำไม่ถึง 10 ปี
ขณะที่เยอรมนีเป็นเจ้าแห่งเรือดำน้ำ
หากกองทัพเรือยังไม่ได้เรือดำน้ำจะส่งผลอย่างไรต่อความมั่นคง
หาก
ยังไม่ได้ เราคงต้องศึกษาต่อไปจนกว่าจะได้ เราคงต้องพยายามต่อไป
ขณะนี้กองทัพเรือได้ปรับปรุงขีดความสามารถในการปราบเรือดำน้ำจากเรือผิวน้ำ
หรือเฮลิคอปเตอร์ แต่ยังไม่สมบูรณ์
เพราะไม่สามารถการันตีได้ว่าเราปราบเรือดำน้ำได้
เนื่องจากเรือดำน้ำตรวจจับได้ยาก เมื่อประเทศเพื่อนบ้านมีเรือดำน้ำ
เราต้องกลัวไว้ก่อน กองทัพเรือทั่วโลกทุกประเทศ
ถ้าเขามีปัจจัยงบประมาณเพียงพอ เขาจะดิ้นรนขวนขวายมีเรือดำน้ำ
ขนาดประเทศยากจนแถบทวีปอเมริกาใต้ก็มีเรือดำน้ำมานานแล้ว
เพราะเรือดำน้ำเป็นอาวุธที่ทำให้ประเทศที่มีกำลังด้อยกว่าสามารถเทียบชั้น
ประเทศที่เหนือกว่าได้
นี่คืออาวุธที่จะทำให้คนอ่อนแอกว่าสามารถทำให้คนที่เข้มแข็งกว่าต้องระวัง
ตัว บางคนบอกว่า เราไม่มีเรือดำน้ำมา 60 ปีแล้ว เราก็ยังอยู่ได้
ก็ไม่มีต่อไป ใช่ เราอยู่ได้ แต่เราอยู่บนความเสี่ยง
อยู่บนความรู้สึกต่ำต้อยกว่าประเทศรอบบ้าน
ในทางเรือเราเคยเป็นหนึ่งในอาเซียน สิงคโปร์ มาเลเซียเคยมาขอฝึกกับเรา
แต่เดี๋ยวนี้เราต้องไปเรียนกับเขาแทน เป็นความรู้สึกว่า
หน้าตาความภาคภูมิใจเกียรติภูมิของชาติถดถอยลง
แต่เรือดำน้ำเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย เราจำเป็นต้องมี
นี่คือเสียง
สะท้อนจากใจของผู้ที่ใช้ “เรือดำน้ำ” โดยตรง ที่ พล.ร.ต.สุริยะ
อธิบายถึงความจำเป็นของการจัดซื้อเรือดำน้ำ
และเหตุผลที่เลือกเรือดำน้ำจากเยอรมนีประเทศที่เป็นแถวหน้าของโลก
ด้วยเหตุผลของกองทัพเรือเพื่อต้องการไว้ปกป้องผลประโยชน์อ่าวไทยที่มีมูลค่า
หลายล้านๆ บาท หรืออาจประเมินค่าไม่ได้ด้วยซ้ำ นี่คือความต้องการจาก
“ผู้ใช้” ที่ขณะนี้ยังคงรอความหวังจาก “ผู้ซื้อ”
ว่าจะเล็งเห็นประโยชน์และความจำเป็นของ “เรือดำน้ำ”
อย่างที่กองทัพเรือเล็งเห็น
รุ่งอรุณ ลภาสวัสดิ์นันท์
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
รีโมท
ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น