โดย Tan Rasana
ภาระหน้าที่ขั้นใหม่ของคนเดือนตุลาฯและผู้รักชาติรักประชาธิปไตยคือการต่อต้าน“ทุนทรราช”เผด็จการรูปแบบใหม่
การ เกิดขึ้นของสิ่งที่ถูกเรียกขานว่า“ทุนทรราช”เป็นอุบัติการณ์ทางการเมืองแบบ ใหม่สำหรับสังคมไทย ลักษณะพิเศษหรือลักษณะจำเพาะของเศรษฐกิจและการเมือง มีรูปแบบและเนื้อหาที่กำเนิดมาจากลักษณะพิกลพิการของการพัฒนาสังคมไทย
ใน ด้านเศรษฐกิจ“ทุนทรราช” ร่ำรวยมาจากการได้รับสัมทานดาวเทียม เป็นทุนที่ใช้เทคโนโลยีในการสร้างรายได้ โดยเฉพาะเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร เขาจึงต่างกับระบบทุนเดิมๆที่เข้ามาครอบครองอำนาจรัฐ ที่มีทุนอุตสาหกรรม ที่อยู่เบื้องหลังรัฐบาลแทบทุกชุดในอดีต แตกต่างจากทุนก่อสร้างที่ลงสู่สนามการเมืองเต็มตัว และสร้างสมทุนจากโครงการก่อสร้างต่างๆอันเป็นเงินภาษีโดยตรงของรัฐบาล
“ทุนทรราช” นอกจากจะยังใช้รูปแบบการสั่งสมทุนด้วยการคอร์รัปชั่นภาษีอากรของประชาชนจาก โครงการก่อสร้างและการพัฒนาแบบเดิมๆแล้ว ยังใช้การบริหารจัดการงบประมาณที่มีลักษณะหลอกลวงได้สูงกว่า กล้าใช้กล้าจ่ายกล้าลงทุนโดยใช้งบประมาณแผ่นดินผันไปสู่มือของประชาชน ผลประโยชน์ที่ได้รับก็คือการเพิ่มกำลังซื้อของประชาชน และแน่นอนเป็นการเอื้อประโยชน์แ่ก่ธุรกิจทั้งทางตรงและทางอ้อม
การแก้ไขระเบียบการบริหารจัดการทางการเงิน-การคลังของประเทศ ที่ให้ “งบกลาง” ตกอยู่ในมือของนายกรัฐมตรี ทำให้มีความคล่องตัวในการใช้งบประมาณของชาติสูงกว่ารัฐบาลในอดีต เป็นประโยชน์แก่การสร้าง “ประชานิยม” อันทำให้แตกต่างจากทุนตัวแทนอื่นๆ ทำให้ง่ายต่อการบริหารจัดการงบประมาณโดยสามารถกระจายงบประมาณลงสู่ชนบทในรูป แบบต่างๆ ทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “ประชานิยม” หรืออาจจะเรียกได้ว่า เป็น “ระบอบอุปถัมภ์ชนชั้นรากหญ้า” สร้างฐานคะแนนในชนบท ทำให้ได้คะแนนนิยมในหมู่ประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มแกนนำหรือหัวคะแนนที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการเม็ดเงิน เหล่านี้โดยตรงในท้องชุมชนท้องถิ่น “ล่อซื้อ” ความหวังของคนระดับรากหญ้า
“ทุนทรราช” ใช้อำนาจรัฐ วางแผนจัดสรรงบประมาณประเทศที่มีลักษณะหลอกลวงสูง ยึดอำนาจการเบิกจ่ายงบประมาณ ให้นายกรัฐมนตรีมีอำนาจใช้งบประมาณแผ่นดินจำนวนมหาศาลได้โดยอิสระ แก้ไขระเบียบการเบิกจ่าย ให้ “งบกลาง” ตกอยู่ในมือของนายกรัฐมตรี
เพียงชั่วระยะเวลา 4 ปี “ทุนทรราช” ใช้งบกลางไปถึง ๑๗๓,๕๐๐ ล้านบาท
ลักษณะสำคัญของ“ทุนทรราช”
๑. เป็นทุนนายหน้า ทุนสัมปทานขายบริการ ที่ไม่สร้างหรือก่อให้เกิดการผลิตและการพัฒนาพลังการผลิตใดๆ เพื่อสังคม
ทุน นายหน้าไม่มีโรงงานและสายพานการผลิตใดๆอันเกี่ยวเนื่องกับการจ้างงานและการ พัฒนาพลังการผลิตใดๆ ที่เป็นประโยชน์แก่ระบบเศรษฐกิจพื้นฐาน คือภาคเกษตรกรรมอันเป็นภาคเศรษฐกิจหลักของชาติ
ทุนนายหน้าไม่ เคยระบุถึง“วาระแห่งชาติ”ด้านเศรษฐกิจ อันเป็นการแสดงออกถึงทิศทางแห่งผลประโยชน์ส่วนรวมของประชาชนและคนในชาติ “วาระแห่งชาติ”ของทุนนายหน้าก็คือ“วาระขายชาติ”เพื่อประโยชน์ตน ไม่เคยวางแผนและดำเนินนโยบายที่จะสร้างปราการหรือมาตรการทางด้านภาษีที่แน่ นอนกับทุนข้ามชาติ นอกเสียจากอ้างนโยบายการเปิดเสรีทางการค้าและการมุ่งส่งเสริมการลงทุนให้แก่ ทุนข้ามชาติและยังชักนำต่างชาติเข้าครอบงำภาคเกษตรกรรมเข้าแย่งชิงทรัพยากร ท้องถิ่นของประชาชน
๒. เป็นทุนเผด็จการรวบอำนาจ ตระบัดสัตย์ ขาดน้ำใสใจจริงและหลอกลวงประชาชน
“ทุน ทรราช” ต้องการสัมปทานอำนาจรัฐ เพื่อสัมปทานทางธุรกิจ จึงต้องแปลงร่างของตน นำหุ้นและผลประโยชน์ทางธุรกิจไปซุกซ่ิิอนในชื่อของบริวาร เช่น ญาติ ทายาท แม้กระทั่งคนขับรถและคนรับใช้ หลอกลวงคนทั้งประเทศว่า วางมือจากผลประโยชน์ทางธุรกิจ ต้องการเข้ามาทำงานการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชน ภายหลังจากการได้อำนาจรัฐกลับทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อประโยชน์ตน พวกพ้องและบริวาร “ทุนทรราช” เป็นทุนนายหน้า ไม่ผูกพันและขึ้นต่อการลงทุนร่วมในภาคการผลิตจริง (real sector)ใดๆ ความมั่งคั่งที่ได้มาก็คือการแสวงหากำไรจากสัมปทานรัฐ กอบโกยและเก็งกำไรจากการสร้างราคาและส่วนต่างของราคารวมถึงการปั่นหุ้น จึงไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบต่อคำพูดและสัญญาที่นอกเหนือจากข้อตกลงในการแบ่ง สรรปันส่วนผลกำไร นอกจากการแสวงผลประโยชน์จากส่วนต่างให้ได้มากที่สุดเป็นกรณีๆไป
“ทุน ทรราช” สันทัดใช้วิธีการทางการตลาดชั้นสูง เพื่อสร้างภาพลักษณ์ของเขาให้เป็นที่น่าเชื่อถือใช้เงิน “ล่อซื้อ” เพื่อสร้างการนำและการขึ้นต่อการนำ ใช้เงินภาษีอากรแจกจ่ายบรรดาหัวคะแนนและกลุ่มการเมืองรับจ้างในรูปแบบที่ซับ ซ้อน สร้างความจงรักภักดีให้เกิดขึ้นในหมู่ชนที่ได้รับการอุปถัมภ์ แต่ก็พร้อมที่จะตระบัดสัตย์ได้ในทุกกรณี ไม่เว้นแม้กระทั่งเพื่อนมิตร รวมทั้งบริวารผู้หมดประโยชน์
๓. ใช้เงินสร้างระบอบ “ภายนอกประชาธิปไตย- ใส้ในเผด็จการ” ด้วยการซื้อระบบเลือกตั้งทั้งระบบ และมีวิธีการทำงานบริหารบ้านเมืองแบบเผด็จการรวบอำนาจ
“ทุน ทรราช” ใช้อำนาจเงินทุนแย่งยึดอำนาจรัฐด้วยการทุ่มเงินซื้อกลไกของระบบเลือกตั้ง ทั้งระบบเพื่อเข้าไปสร้าง “เผด็จการทางรัฐสภา” ที่ซับซ้อน แนบเนียนกว่ารูปแบบเผด็จการใดๆในอดีตโดยอ้างอิงการเลือกตั้งตามระบอบ ประชาธิปไตย เป้าหมายสูงสุดก็คือการหวังยึดครองอำนาจทั้งสองคืออำนาจบริหารและอำนาจ นิติบัญญัติ ใช้เงินซื้อสิทธิ์ในการเลือกตั้งของประชาชนผ่านหัวคะแนนนายหน้า ซื้อพรรคการเมืองร่วมรัฐบาลโดยสนับสนุนเงินทุนในการหาเสียง ซื้อส.ส.เป็นรายหัว ซื้อ ส.ว. ซื้อตำแหน่งประธานสภาฯ ซื้อ กกต.ฯลฯ สมอ้าง “ลัทธิรัฐธรรมนูญ”ขึ้นหลอกลวงสังคม ใช้การเลือกตั้งเป็นไม้่ค้ำยันความสุจริต อ้างความเป็นประชาธิปไตยจากการเลือกตั้งที่เต็มไปด้วยการทุจริต
๔. ใช้เงินของผู้อื่น (เงินภาษีอากร)สร้างความมั่งคั่งทางธุรกิจและสร้างฐานการเมืองให้กับตนเอง สร้างเงื่อนไขความแตกแยกของคนในชาติ
“ทุน ทรราช” ใช้อำนาจแก้ไขกฎหมายเพื่อให้ “งบกลาง”จำนวนมหาศาลของแผ่นดินตกอยู่ในมือของนายกรัฐมนตรี เพือใช้งบประมาณที่มาจากภาษีอากร อันเป็นหยาดเหงื่อแรงงานของประชาชนเพื่อผลประโยชน์ตนและพวกพ้องบริวาร(OPM- Other People Money) จับจ่ายเงินภาษีอากรประชาชนไปเพื่อสร้างภาพลักษณ์ในเชิงการตลาด สร้างนวัตกรรมในการหาเสียง-ซื้อเสียงในรูปแบบใหม่ ใช้เงินภาษีอากรของประชาชนไปทำลายความเข้มแข็งของชุมชนด้วยเงิน “ล่อซื้อ” และการใช้กลยุทธ “เอาใจมัน(ด้วย)หนี้” (spoiled money) โดยอ้างคำว่าื “ประชานิยม” ทำชุมชนให้อ่อนแอเพราะรอแบมือขอจากรัฐ สร้างผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มในท้องถิ่นอันเป็นที่มาของความแตกแยกในหมู่ ประชาชน
ผลลัพท์จากนโยบาย “ประชานิยม” ก็คือ “ประชาหนี้จม”
การ ใช้เงินภาษีของคนทั้งประเทศไปในการนี้ ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในด้านผลประโยชน์ในขอบเขตทั่วประเทศ มีคนเพียงไม่กี่กลุ่มที่ใกล้ชิดกับการบริหารจัดการเงิน ใกล้ชิดกับนักการเมืองเท่านั้นที่ได้รับประโยชน์ ความขัีดแย้งแตกแยกนี้ได้ขยายวงออกไปสู่ความคิดเห็นทางการเมืองที่ต่างกันจน ผู้คนในประเทศแบ่งออกเป็นสองฝักสองฝ่าย สร้างความร้าวฉานในแผ่นดินที่นับวันจะทำให้ประชาชนแตกแยกกันยิ่งขึ้น
๕. ขาด เจตนคติทางด้านการปกครอง แทรกแซงทุกสถาบันหลัก แปรรูปประเทศให้เป็นแหล่งทำมาหากินแห่งตน มีทัศนะต่อประชาชนเป็นเพียงประหนึ่งผู้บริโภคที่สามารถทุ่มเงินซื้อได้
แปร รูปรัฐและกิจกรรมแห่งรัฐให้เป็นรูปแบบบรรษัท ใช้การรณรงค์ทางด้านการตลาด เปลี่ยนสถานะของผู้บริหารรัฐกิจเป็นผู้บริหารธุรกิจ เปลี่ยนสถานะ “ข้าราชการ”ไปเป็น “เจ้าพนักงานของรัฐ” เปลี่ยนประชาชนให้กลายเป็นผู้บริโภค เปลี่ยน “ราชอาณาจักร”ไปเป็นมหาอาณาจักรทางการค้าขนาดใหญ่ ที่ซึ่งทุกสิ่งทุกอย่างพึ่งพิงทุนและสามารถซื้อได้ด้วยเงิน ลดกลไกอำนาจรัฐและทำให้อ่อนแอลง ในขณะที่พยายามใช้เงินภาษีไป “ล่อซื้อ” กระตุ้นการบริโภคในหมู่ประชาชนให้สูงขึ้นใช้อำนาจรัฐแก้ไขกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับที่เป็นอุปสรรคขัดขวางการเข้าแย่งยึดกิจการของรัฐ เช่นรัฐวิสาหกิจ การเงินการธนาคาร เพื่อการแปรรูปองค์กรเหล่านี้ให้ตนและพวกพ้องบริวารเข้าครอบครองหุ้น ขายหุ้นให้กับต่างชาติได้ ใช้สิทธิในอำนาจหน้าที่อย่างไม่ชอบธรรม ให้รัฐวิสาหกิจโอนหุ้นผู้มีอุปการคุณให้แก่ตนและพวกพ้อง
๖ . คอร์รัปชั่นและสร้างนวัตกรรมการคอร์รัปชั่นเชิงนโยบายชั้นสูงที่ยากแ่ก่การตรวจสอบ
เพื่อ การกอบโกยโกงกิน “ทุนทรราช” ได้พัฒนาและสร้างรูปแบบการคอร์รัปชั่นอย่างซับซ้อนมากขึ้น เป็นการคอร์รัปชั่นเชิงนโยบายที่มีขนาดใหญ่โตมากกว่าการโกงกินงบประมาณตาม กระทรวง ทบวงกรมแบบเดิม เพราะมีขนาดของวงเงินมากกว่าและตรวจสอบยากยิ่งกว่าการคอร์รัปชั่นของรัฐบาล ในอดีตทุกชุด
๗ . ใช้เล่ห์เพทุบายและช่องโหว่ของกฎหมาย เพื่อหลบเลี่ยงภาษี เอารัดเอาเปรียบสังคม เอารัดเอาเปรียบประชาชนคนยากจนผู้อยู่ในระบบภาษี
เพื่อ กำไรสูงสุด “ทุนทรราช” ใช้ทุกเทคนิคของการค้า การซื้อ-ขาย หาช่องโหว่ช่องว่างทางกฎหมาย โดยไม่คำนึงถึงเรื่องของจริยธรรม ศีลธรรม แต่ขณะเดียวกลับสั่งการให้เพิ่มความเข้มงวดในการออกแบบระบบการเก็บภาษี ให้สามารถขูดรีดประชาชนผู้ทำมาหากินอย่างสุจริตได้เช่น ข้าราชการ ทหาร ตำรวจชั้นผู้น้อย ผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อย พ่อค้าแม้ค้า ชาวนา เกษตรกร แรงงานรับจ้างอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด เพื่อกอบโกยเงินเข้ารัฐและนำไปใช้จ่ายเพื่อประโยชน์ส่วนตนทั้งทางตรงและทาง อ้อม
๘ . แทรกแซงองค์กรอิสระ แทรกแซงและทำลายสื่อ เพื่อปกปิดมิดเม้มผลประโยชน์ทับซ้อน และปิดกั้นการเผยแพร่ข้อเท็จจริง
รัฐ ธรรมนูญปี ๒๕๔๐ได้บัญญัติให้มีองค์กรอิสระขึ้นเพื่อการตรวจสอบและถ่วงดุลฝ่ายบริหาร เพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน องค์กรอิสระทั้งหมดได้แก่ศาลรัฐ ธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คณะกรรมการการเลือกตั้ง (ก.ก.ต.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (ค.ต.ง.) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.) คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการและคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูล ข่าวสาร องค์การอิสระในการคุ้มครองผู้บริโภค “ทุนทรราช” ส่ง คนเข้าแทรกแซงโดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรซึ่งทำหน้าที่ในการตรวจสอบการใช้อำนาจ รัฐในทางนโยบายและการบริหาร การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในทางปกครอง การตรวจสอบเกี่ยวกับความสุจริตในการใช้อำนาจรัฐ การถอดถอนออกจากตำแหน่ง การตรวจสอบเกี่ยวกับการใช้จ่ายเงินของภาครัฐและการควบคุมการใช้จ่ายเงินของ ทางภาครัฐ ถึงขั้นตั้งรัฐบาลนอมินีเข้ายึดอำนาจรัฐเพื่อแก้ไขกฎหมายเพื่อลดอำนาจการ ถ่วงดุลฝ่ายบริหารขององค์กรอิสระและฟอกตนเองให้พ้นผิด.
เครือข่ายข่าวเพื่อการสืบค้นกรณีทุจริต
( Corruption Investigative News Network-CINN)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น