ที่มา ประชาไท
โท มัส ฟูลเลอร์ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ พาผู้อ่านเข้าไปดูเบื้องหลัง “วอร์รูม” ที่ใช้บัญชาการในการจัดการ “เว็บหมิ่น” ของประเทศไทย ในบทความแปล “สงครามไฮเทคเพื่อพิทักษ์สถาบันเก่าแก่จากคำดูหมิ่น”
ห้องอันปราศจาก หน้าต่างแม้แต่บานเดียวแห่งนั้นตั้งอยู่ ณ สุดทางเดินอันสว่างไปด้วยไฟจากหลอดนีออกและซับซ้อนราวกับเขาวงกตภายในศูนย์ ราชการขนาดยักษ์แห่งหนึ่ง ภายในห้อง ผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์หลายชีวิตกำลังนั่งไล่ล่าหารูปภาพ บทความ ข้อความในเฟซบุค และสิ่งใดก็ตามในโลกอินเตอร์เน็ตที่อาจมีเนื้อหาดูหมิ่นพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวรัชกาลที่ 9 และพระบรมวงศานุวงศ์
ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้เป็น ส่วนหนึ่งขององค์การที่มีชื่อว่า สำนักงานป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งรัฐบาลชุดใหม่ที่เพิ่งได้ขึ้นสู่อำนาจเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เลือกที่จะเรียกหน่วยงานนี้อย่างสั้นๆว่า “วอร์รูม” และ “วอร์รูม” แห่งนี้เองคือศูนย์บัญชาการแห่งปฏิบัติการขนานใหญ่และเฉียบขาดอันมีจุดมุ่ง หมายเพื่อขจัดข้อความดูหมิ่นองค์พระมหากษัตริย์ให้หมดสิ้นจากโลกอินเตอร์ เน็ต
หน่วยราชการยืนยันว่าจะขยายผลการดำเนินงานของปฏิบัติการล้อม ปราบทาง อินเตอร์เน็ตครั้งนี้ต่อไปให้เข้มข้นยิ่งขึ้นเรื่อยๆ โดยการปฏิบัติงานนั้นดำเนินการโดยทีมผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์จำนวน 10 นายเหล่านี้ ภายใต้การบังคับการของนายสุรชัย นิลแสง ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง “สารวัตรไซเบอร์”
“เรามุ่งมั่นต่อหน้าที่ของเราตรงนี้ เพราะเรารักและเทิดทูนบูชาสถาบันพระมหากษัตริย์” นายสุรชัยกล่าวระหว่างการให้สัมภาษณ์เป็นเวลาสองชั่วโมง นายสุรชัยและผู้ปฏิบัติหน้าที่คนอื่นๆยังได้พานักข่าวไปชมส่วนต่างๆใน “วอร์รูม” รวมทั้งบริเวณสำหรับเก็บคอมพิวเตอร์ซึ่งทางหน่วยงานได้ยึดมาจากผู้ต้องสงสัย ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำการดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ และนี่ถือเป็นครั้งแรกที่มีผู้สื่อข่าวเข้ามาเยี่ยมชมในศูนย์ปฏิบัติการแห่ง นี้
ไม่มีการอนุญาตให้บันทึกภาพแต่อย่างใด
การเยี่ยมชมครั้ง นี้ได้แสดงให้เห็นระดับความใหญ่โตของศึกออนไลน์ระหว่าง รัฐบาลไทยและบรรดาผู้คิดต่างในประเด็นเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และก็ได้แสดงถึงความคลุมเครือของมาตรฐานที่ใช้กำหนดว่า ข้อความหรือการกระทำใดบ้างที่ถือได้ว่าเป็นการดูหมิ่นสถาบันฯกันแน่ ตามที่มีผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับปฏิบัติการดังกล่าวในประเทศไทยได้แสดงความเห็น ว่า การไล่ล่าความผิดในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเช่นนี้กำลังละเมิดสิทธิของ พลเมือง
รัฐบาลในหลายประเทศ โดยเฉพาะในจีนและสิงคโปร์ ต่างก็พยายามควบคุมข้อมูลในอินเตอร์เน็ตเช่นกัน แต่ไม่มีที่ใดที่มีการควบคุมอินเตอร์อย่างออกนอกหน้าและตะบี้ตะบันแบบใน ประเทศไทย
ทีมผู้เชี่ยวชาญในวอร์รูมแห่งนี้ได้ปิดกั้นเว็บเพจเป็น จำนวนถึง 70,000 เพจในเวลาเพียง 4 ปี โดยส่วนใหญ่ – หรือประมาณ 60,000 เพจ – ถูกบล็อกด้วยข้อหาดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ตามที่เปิดเผยโดยนายสุรชัย (เว็บเพจอื่นๆส่วนมากถูกบล็อกคด้วยข้อหาอนาจาร)
นาย สุรชัยยังได้อธิบายด้วยว่า ทุกครั้งที่จะมีการบล็อกหน้าเว็บ หน่วยงานของเขาจะต้องขอคำสั่งจากศาลก่อนเสมอ และศาลก็ไม่เคยปฏิเสธที่จะออกคำสั่งในการบล็อกเว็บเหล่านี้เลยแม้แต่ครั้ง เดียว
เนื่องจากการอภิปรายประเด็นเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ยัง เป็นสิ่ง ต้องห้ามในประเทศไทย และเป็นเรื่องที่คุยกันได้แต่ในระดับหลบๆซ่อนๆ จึงเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจว่าจุดประสงค์ของข้อความโจมตีพระบรมวงศานุวงศ์ เหล่านั้นคืออะไรกันแน่ ไม่เคยมีการประท้วงในที่สาธารณะต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเลยตลอด เวลา 60 ปีที่พระองค์ทรงครองราชย์ แม้แต่ผู้ประท้วงต่อต้านอำนาจในสังคมที่แข็งกร้าวที่สุดก็ยังไม่เรียกตนเอง ว่าเป็นผู้นิยมสาธารณรัฐ
อย่างไรก็ตาม อินเตอร์เน็ต ก็ได้กลายเป็นแนวปราการที่ป้องกันการดูหมิ่นเหยียดหยามสถาบัน ที่กำลังเผชิญหน้ากับการไร้ความยำเกรงและการออกนอกกรอบของคนที่เกิดมาในยุค สมัยของเฟซบุ๊ก
ประชาชนไทยหลายคนอาจจะมีความเกรงกลัวมากเกินกว่าจะ กบฏต่อปูชนียวาทกรรม หลักนี้ในที่สาธารณะ แต่พวกเขาสามารถเลือกที่จะแสดงข้อความจาบจ้วงต่อสถาบันมหาพระมหากษัตริย์ อย่างไม่คะนามือได้ในโลกอินเตอร์เน็ต โดยอาศัยความนิรนามของอินเตอร์เน็ตนั่นเอง
สุรชัยกล่าวว่า จำนวนเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหมิ่นสถาบัน เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนหลังการรัฐประหารในเดือนกันยายน พ.ศ. 2549 การรัฐประหารดังกล่าวก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคมไทยอย่างชัดเจน และยังเป็นจุกำเนิดของคนเสื้อแดง ที่มีจุดยืนต่อต้านการแทรกแซงของทหารในการเมือง และสนับสนุนอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร
สำหรับบุคคลภายนอกสังคมไทยแล้ว ประเทศไทยดูเป็นประเทศที่รักสนุกและไม่เข้มงวด เป็นประเทศที่นิติรัฐสามารถเอนอ่อนได้ดังต้นอ้อในสายลม แต่สถาบันพระมหากษัตริย์ – หรือเรียกสั้นๆโดยคนไทยว่า “สถาบัน” – กลับเป็นเสาหินตั้งตระหง่านอยู่เหนือนิสัยใจคอแบบ “อะไรก็ได้” ของสังคมไทย คนไทยหลายคนกลายเป็นขึงขังขึ้นมาทันทีในเรื่องการพิทักษ์ไว้ซึ่งพระบารมี แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
หลายคนกังวลใจต่อพระพลานามัยของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยพระองค์จะทรงมีพระชนมายุถึง 84 พรรษาในเดือนธันวาคมที่จะมาถึงนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราชมาเป็นเวลาสองปีติดต่อกันแล้ว และพระองค์ก็เสด็จออกสู่โลกภายนอกให้สาธารณชนได้เห็นน้อยลง
กฏหมาย หมิ่นพระบรมเดชานุภาพสามารถให้โทษจำคุกได้ถึง 15 ปีต่อผู้ที่ “หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์” นอกจากนี้ พระราชบัญญัติการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ซึ่งออกในปี 2550 โดยรัฐบาลที่แต่งตั้งโดยคณะรัฐประหารอีกต่อหนึ่ง ก็คาดโทษจำคุกอีก 5 ปีสำหรับการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร “โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิด ความตื่นตระหนกแก่ประชาชน”
นายสุรชัยเผยว่าบางกรณีก็ตัดสินได้ง่าย ว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแน่นอน เช่น เขาไม่เคยลังเลที่จะบล๊อกเว็บเพจใดก็ตามที่มีรูปเท้าวางอยู่เหนือพระเศียร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อันถือว่าเป็นการดูหมิ่นรุนแรงในวัฒนธรรมไทย นายสุรชัยยังอธิบายเพิ่มเติมว่า การใช้สรรพนามที่ไม่เหมาะสมนำหน้าพระนามขององค์พระเจ้าอยู่หัวก็ถือเป็นความ ผิดที่เห็นได้ชัดเช่นกัน นับว่าเป็นความซ่อนเงื่อนหนึ่งของภาษาไทยที่ไม่อาจแปลให้เข้าใจได้ (สำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับภาษาไทย)
อย่างไรก็ตาม การไล่ล่าการหมิ่นพระบรมเดชนุภาพก็ซับซ้อนได้มากกว่านั้น “พวกนี้ชอบโพสต์คำเปรียบเปรยน่ะ” นายสุรชัยกล่าวเกี่ยวกับผู้ต้องสงสัยที่กระทำการหมิ่น “พวกเขามีรหัสลับใช้กันเอง”
รัฐบาลได้เพิ่มงบประมาณวอร์รูมแห่งนี้ แล้ว และในเร็วๆนี้จะมีการเพิ่มระดับผู้ปฏิบัติงานจนสามารถดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง ผู้เชี่ยวชาญในวอร์รูมเปิดเผยว่า ข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพส่วนใหญ่โพสต์กันในเวลาหลังเที่ยงคืนและช่วง เวลาไม่กี่ชั่วโมงก่อนรุ่งสาง
อย่างไรก็ตาม ปฏิบัติการปราบปรามข้อความหมิ่นฯเหล่านี้ได้ทำให้ประชาชนหลายคนในประเทศไทย วิตกกังวล ซึ่งพวกเขามองว่าการกระทำเช่นนี้ไม่ต่างจากการล่าแม่มด นอกจากนี้ยังมีบรรดานักเขียน นักวิชาการ และศิลปินกลุ่มต่างๆที่ชี้ว่า กฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพสามารถถูกใช้เป็นเครื่องมืออย่างผิดๆได้
ใน เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา คณาจารย์ทั้งไทยและต่างชาติจำนวน 112 คนได้ยื่นจดหมายเปิดผนึกที่มีเนื้อหาชี้แจงว่า การกวาดล้างทางอินเตอร์เน็ตที่กำลังดำรงอยู่เป็นภัยต่อ “อนาคตประชาธิปไตยในประเทศไทย” แก่นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
หนังสือ พิมพ์บางกอกโพสต์ ใช้พื้นที่บทบรรณาธิการเมื่อเร็วๆ นี้แสดงความเห็นว่า พ.ร.บ. การกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ กำลังถูกใช้อย่างไร้การควบคุมและพิจารณา โดยวิจารณ์ไว้ว่า พ.ร.บ. ดังกล่าวได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือปิดหรือบล๊อกเว็บไซต์นับหมื่นๆเว็บโดย ปราศจากหลักฐานที่ชี้ชัดถึงการกระทำผิด และแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่เว็บไซต์เหล่านั้นทั้งหมดจะทำผิดข้อหาหมิ่นพระ บรมเดชานุภาพจริง
มีกรณีหนึ่งที่ได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษ จิรนุช เปรมชัยพร ผู้ดูแลเว็บไซต์ “ประชาไท” ได้ถูกดำเนินคดีเนื่องมาจากบางข้อความที่โพสต์ในเว็บไซต์แห่งนั้นมีเนื้อหา ที่ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จีรนุช อธิบายตนเองต่อศาลว่า ในวันหนึ่งๆนั้นเธอต้องอ่านข้อความจำนวนเป็นพันๆ ที่โพสต์ในเว็บไซต์และจัดการลบข้อความที่มีลักษณะหมิ่นฯเมื่อเธอพบเจอเข้า อย่างไรก็ตาม ฝ่ายผู้ฟ้องร้องกลับบอกว่า จีรนุชลบความเห็นเหล่านั้นไม่เร็วพอ
การพิจารณาคดีครั้งนี้ได้รับ ความสนใจจากบริษัทที่ทำธุรกิจในโลกอินเตอร์ เน็ตยักษ์ใหญ่ของโลกอย่างGoogle, Yahoo และ Ebay ล่าสุด Asia Internet Coalition อันเป็นสมาคมร่วมของอุตสาหกรรมธุรกิจในอินเตอร์เน็ตซึ่งก่อตั้งร่วมกันโดย บริษัทเหล่านั้น ได้ออกแถลงการณ์เมื่อเดือนที่แล้วว่า การบังคับใช้กฏหมายของ พรบ. คอมพิวเตอร์ดังกล่าว อาจจะส่งผลให้บริษัทที่ให้บริการทางอินเตอร์เน็ตปฏิเสธที่จะทำธุรกิจใน ประเทศไทยได้
“เมื่อมีการนำเอาสื่อกลางของการใช้อินเตอร์เน็ตมารับ ความผิดชอบแทนผู้ใช้ อินเตอร์เน็ตเช่นนี้ กรณี (จีรนุช) อาจถือได้ว่าเป็นการตั้งตัวอย่าง (การดำเนินคดี) ที่อันตรายและสามารถมีผลต่อเศรษฐกิจระยะยาวของประเทศ” สมาคมกล่าวไว้ในแถลงการณ์
ภายในวอร์รูม ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าพวกเขากำลังถูกกดดันจากทุกฝ่าย สำนักงานของพวกเขาได้รับการร้องเรียนทางอีเมลล์ประมาณ 20-100 ฉบับต่อวัน อีเมลล์เหล่านั้นแบ่งฝ่ายกันดังเช่นสังคมไทย บ้างก็สนับสนุน บ้างก็ต่อต้านปฏิบัติการของวอร์รูม
ผู้สนับสนุนสถาบันพระมหากษัตริย์ บางกลุ่มก็มีจุดยืนที่สุดโต่ง เมื่อต้นปีที่ผ่านมานี้ นางฟ้างาย คำอโศก สตรีผู้หนึ่งจากประเทศไทยภาคเหนือ ได้ล่ารายชื่อจำนวน 130,000 รายชื่อเพื่อสนับสนุนให้ยกเลิกระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบันของประเทศไทย และแทนที่ด้วยรัฐบาลอันประกอบด้วย “ความดีและคุณธรรม” ที่พระราชทานโดยพระมหากษัตริย์แทน
ฟ้างาย เปี่ยมไปด้วยอารมณ์ความรู้สึกเมื่อพูดคุยเกี่ยวกับการรณรงค์ครั้งนี้ของเธอ “เราได้เห็นว่าในหลวงท่านทรงเสียสละเพื่อชาวเรา” เธอกล่าวในการสัมภาษณ์ “เรามีความรักในจิตวิญญาณของเราแด่พระองค์ท่าน พระองค์ทรงเป็นเหมือนเทพองค์หนึ่ง”
อย่างไรก็ตาม ในอีกฟากหนึ่งคือการขานตอบกฏหมายอันจำกัดสิทธินี้ด้วยการเสียดสี ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนการกระทำผิดทางอินเตอร์เน็ต 24 ชั่วโมงที่ก่อตั้งโดยรัฐบาลในปี 2552 ได้รับการโทรเข้ามาร้องเรียนหลายสิบครั้งต่อวัน
แต่ปรากฏว่าการโทรเหล่านี้หลายครั้งก็ไม่ได้จริงจังแต่อย่างใด
“90% ที่โทรเข้ามาคือโทรมาแกล้งเล่น” ณัฐ พยงค์ศรี ผู้เชี่ยวชาญคอมพิวเตอร์คนหนึ่งในห้องกล่าวกับผู้สื่อข่าว
นาย สุรชัย ผู้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าของทีมในวอร์รูม เปิดเผยว่าเขาต้องถามหาคำชี้แนะจากผู้บังคับบัญชาอีกต่อหนึ่งเสมอๆ โดยนายสุรชัยใช้โปรแกรมชื่อว่า “แมงมุม” ที่สร้างขึ้นมาสำหรับการนี้โดยเฉพาะในการท่องไปตามโลกอินเตอร์เน็ตและแจ้ง ให้ทราบถึงเนื้อหาที่อาจเข้าข่ายดูหมิ่นเบื้องสูง จากนั้น เขาจึงปรึกษากับหน่วยทหารพิเศษที่ประจำการ ณ พระราชฐานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อพิจารณาความร้ายแรงของแต่ละเนื้อหา
“เมื่อผู้บังคับบัญชาเหล่านี้พิจารณาแล้วตัดสินใจให้บล็อก เราก็ต้องทำการบล็อกตามคำสั่ง” นายสุรชัยกล่าว
ตรง บริเวณทางเข้าวอร์รูมแห่งนี้ นายสุรชัยได้นำเอารูปเคารพที่แกะสลักไม้เป็นรูปนักรบจีนโบราณมาตั้งไว้ รูปเคารพนั้นทำท่ากวัดแกว่งง้าวเป็นอาวุธ
รูปเคารพดังกล่าวคือ กวนอู เทพอันเป็นตัวละครหนึ่งในวรรณคดีจีน “สามก๊ก” เสมือนเป็นเครื่องแสดงออกถึงความตั้งใจที่จะปกปักรักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหา กษัตริย์ของนายสุรชัย เขาอธิบายว่า กวนอู คือเทพแห่งความซื่อตรงและซื่อสัตย์ และยังเป็นสัญลักษณ์ของนักรบที่ห้อมล้อมไปด้วยสังคมอันแตกแยกอีกด้วย
“หลายคนปฏิเสธที่จะมารับหน้าที่ตรงนี้” นายสุรชัยกล่าว “ไม่ว่าจะถูกหรือผิด คนที่โดนว่าทั้งขึ้นทั้งล่องก็คือพวกเราอยู่ดี”
โท มัส ฟูลเลอร์ ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์ พาผู้อ่านเข้าไปดูเบื้องหลัง “วอร์รูม” ที่ใช้บัญชาการในการจัดการ “เว็บหมิ่น” ของประเทศไทย ในบทความแปล “สงครามไฮเทคเพื่อพิทักษ์สถาบันเก่าแก่จากคำดูหมิ่น”
ห้องอันปราศจาก หน้าต่างแม้แต่บานเดียวแห่งนั้นตั้งอยู่ ณ สุดทางเดินอันสว่างไปด้วยไฟจากหลอดนีออกและซับซ้อนราวกับเขาวงกตภายในศูนย์ ราชการขนาดยักษ์แห่งหนึ่ง ภายในห้อง ผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์หลายชีวิตกำลังนั่งไล่ล่าหารูปภาพ บทความ ข้อความในเฟซบุค และสิ่งใดก็ตามในโลกอินเตอร์เน็ตที่อาจมีเนื้อหาดูหมิ่นพระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัวรัชกาลที่ 9 และพระบรมวงศานุวงศ์
ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้เป็น ส่วนหนึ่งขององค์การที่มีชื่อว่า สำนักงานป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดทางเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งรัฐบาลชุดใหม่ที่เพิ่งได้ขึ้นสู่อำนาจเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เลือกที่จะเรียกหน่วยงานนี้อย่างสั้นๆว่า “วอร์รูม” และ “วอร์รูม” แห่งนี้เองคือศูนย์บัญชาการแห่งปฏิบัติการขนานใหญ่และเฉียบขาดอันมีจุดมุ่ง หมายเพื่อขจัดข้อความดูหมิ่นองค์พระมหากษัตริย์ให้หมดสิ้นจากโลกอินเตอร์ เน็ต
หน่วยราชการยืนยันว่าจะขยายผลการดำเนินงานของปฏิบัติการล้อม ปราบทาง อินเตอร์เน็ตครั้งนี้ต่อไปให้เข้มข้นยิ่งขึ้นเรื่อยๆ โดยการปฏิบัติงานนั้นดำเนินการโดยทีมผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์จำนวน 10 นายเหล่านี้ ภายใต้การบังคับการของนายสุรชัย นิลแสง ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง “สารวัตรไซเบอร์”
“เรามุ่งมั่นต่อหน้าที่ของเราตรงนี้ เพราะเรารักและเทิดทูนบูชาสถาบันพระมหากษัตริย์” นายสุรชัยกล่าวระหว่างการให้สัมภาษณ์เป็นเวลาสองชั่วโมง นายสุรชัยและผู้ปฏิบัติหน้าที่คนอื่นๆยังได้พานักข่าวไปชมส่วนต่างๆใน “วอร์รูม” รวมทั้งบริเวณสำหรับเก็บคอมพิวเตอร์ซึ่งทางหน่วยงานได้ยึดมาจากผู้ต้องสงสัย ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำการดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ และนี่ถือเป็นครั้งแรกที่มีผู้สื่อข่าวเข้ามาเยี่ยมชมในศูนย์ปฏิบัติการแห่ง นี้
ไม่มีการอนุญาตให้บันทึกภาพแต่อย่างใด
การเยี่ยมชมครั้ง นี้ได้แสดงให้เห็นระดับความใหญ่โตของศึกออนไลน์ระหว่าง รัฐบาลไทยและบรรดาผู้คิดต่างในประเด็นเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และก็ได้แสดงถึงความคลุมเครือของมาตรฐานที่ใช้กำหนดว่า ข้อความหรือการกระทำใดบ้างที่ถือได้ว่าเป็นการดูหมิ่นสถาบันฯกันแน่ ตามที่มีผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับปฏิบัติการดังกล่าวในประเทศไทยได้แสดงความเห็น ว่า การไล่ล่าความผิดในข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเช่นนี้กำลังละเมิดสิทธิของ พลเมือง
รัฐบาลในหลายประเทศ โดยเฉพาะในจีนและสิงคโปร์ ต่างก็พยายามควบคุมข้อมูลในอินเตอร์เน็ตเช่นกัน แต่ไม่มีที่ใดที่มีการควบคุมอินเตอร์อย่างออกนอกหน้าและตะบี้ตะบันแบบใน ประเทศไทย
ทีมผู้เชี่ยวชาญในวอร์รูมแห่งนี้ได้ปิดกั้นเว็บเพจเป็น จำนวนถึง 70,000 เพจในเวลาเพียง 4 ปี โดยส่วนใหญ่ – หรือประมาณ 60,000 เพจ – ถูกบล็อกด้วยข้อหาดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ ตามที่เปิดเผยโดยนายสุรชัย (เว็บเพจอื่นๆส่วนมากถูกบล็อกคด้วยข้อหาอนาจาร)
นาย สุรชัยยังได้อธิบายด้วยว่า ทุกครั้งที่จะมีการบล็อกหน้าเว็บ หน่วยงานของเขาจะต้องขอคำสั่งจากศาลก่อนเสมอ และศาลก็ไม่เคยปฏิเสธที่จะออกคำสั่งในการบล็อกเว็บเหล่านี้เลยแม้แต่ครั้ง เดียว
เนื่องจากการอภิปรายประเด็นเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ยัง เป็นสิ่ง ต้องห้ามในประเทศไทย และเป็นเรื่องที่คุยกันได้แต่ในระดับหลบๆซ่อนๆ จึงเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจว่าจุดประสงค์ของข้อความโจมตีพระบรมวงศานุวงศ์ เหล่านั้นคืออะไรกันแน่ ไม่เคยมีการประท้วงในที่สาธารณะต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเลยตลอด เวลา 60 ปีที่พระองค์ทรงครองราชย์ แม้แต่ผู้ประท้วงต่อต้านอำนาจในสังคมที่แข็งกร้าวที่สุดก็ยังไม่เรียกตนเอง ว่าเป็นผู้นิยมสาธารณรัฐ
อย่างไรก็ตาม อินเตอร์เน็ต ก็ได้กลายเป็นแนวปราการที่ป้องกันการดูหมิ่นเหยียดหยามสถาบัน ที่กำลังเผชิญหน้ากับการไร้ความยำเกรงและการออกนอกกรอบของคนที่เกิดมาในยุค สมัยของเฟซบุ๊ก
ประชาชนไทยหลายคนอาจจะมีความเกรงกลัวมากเกินกว่าจะ กบฏต่อปูชนียวาทกรรม หลักนี้ในที่สาธารณะ แต่พวกเขาสามารถเลือกที่จะแสดงข้อความจาบจ้วงต่อสถาบันมหาพระมหากษัตริย์ อย่างไม่คะนามือได้ในโลกอินเตอร์เน็ต โดยอาศัยความนิรนามของอินเตอร์เน็ตนั่นเอง
สุรชัยกล่าวว่า จำนวนเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาหมิ่นสถาบัน เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนหลังการรัฐประหารในเดือนกันยายน พ.ศ. 2549 การรัฐประหารดังกล่าวก่อให้เกิดความแตกแยกในสังคมไทยอย่างชัดเจน และยังเป็นจุกำเนิดของคนเสื้อแดง ที่มีจุดยืนต่อต้านการแทรกแซงของทหารในการเมือง และสนับสนุนอดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร
สำหรับบุคคลภายนอกสังคมไทยแล้ว ประเทศไทยดูเป็นประเทศที่รักสนุกและไม่เข้มงวด เป็นประเทศที่นิติรัฐสามารถเอนอ่อนได้ดังต้นอ้อในสายลม แต่สถาบันพระมหากษัตริย์ – หรือเรียกสั้นๆโดยคนไทยว่า “สถาบัน” – กลับเป็นเสาหินตั้งตระหง่านอยู่เหนือนิสัยใจคอแบบ “อะไรก็ได้” ของสังคมไทย คนไทยหลายคนกลายเป็นขึงขังขึ้นมาทันทีในเรื่องการพิทักษ์ไว้ซึ่งพระบารมี แห่งองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
หลายคนกังวลใจต่อพระพลานามัยของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยพระองค์จะทรงมีพระชนมายุถึง 84 พรรษาในเดือนธันวาคมที่จะมาถึงนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประทับ ณ โรงพยาบาลศิริราชมาเป็นเวลาสองปีติดต่อกันแล้ว และพระองค์ก็เสด็จออกสู่โลกภายนอกให้สาธารณชนได้เห็นน้อยลง
กฏหมาย หมิ่นพระบรมเดชานุภาพสามารถให้โทษจำคุกได้ถึง 15 ปีต่อผู้ที่ “หมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์” นอกจากนี้ พระราชบัญญัติการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ซึ่งออกในปี 2550 โดยรัฐบาลที่แต่งตั้งโดยคณะรัฐประหารอีกต่อหนึ่ง ก็คาดโทษจำคุกอีก 5 ปีสำหรับการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร “โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิด ความตื่นตระหนกแก่ประชาชน”
นายสุรชัยเผยว่าบางกรณีก็ตัดสินได้ง่าย ว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแน่นอน เช่น เขาไม่เคยลังเลที่จะบล๊อกเว็บเพจใดก็ตามที่มีรูปเท้าวางอยู่เหนือพระเศียร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อันถือว่าเป็นการดูหมิ่นรุนแรงในวัฒนธรรมไทย นายสุรชัยยังอธิบายเพิ่มเติมว่า การใช้สรรพนามที่ไม่เหมาะสมนำหน้าพระนามขององค์พระเจ้าอยู่หัวก็ถือเป็นความ ผิดที่เห็นได้ชัดเช่นกัน นับว่าเป็นความซ่อนเงื่อนหนึ่งของภาษาไทยที่ไม่อาจแปลให้เข้าใจได้ (สำหรับผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับภาษาไทย)
อย่างไรก็ตาม การไล่ล่าการหมิ่นพระบรมเดชนุภาพก็ซับซ้อนได้มากกว่านั้น “พวกนี้ชอบโพสต์คำเปรียบเปรยน่ะ” นายสุรชัยกล่าวเกี่ยวกับผู้ต้องสงสัยที่กระทำการหมิ่น “พวกเขามีรหัสลับใช้กันเอง”
รัฐบาลได้เพิ่มงบประมาณวอร์รูมแห่งนี้ แล้ว และในเร็วๆนี้จะมีการเพิ่มระดับผู้ปฏิบัติงานจนสามารถดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง ผู้เชี่ยวชาญในวอร์รูมเปิดเผยว่า ข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพส่วนใหญ่โพสต์กันในเวลาหลังเที่ยงคืนและช่วง เวลาไม่กี่ชั่วโมงก่อนรุ่งสาง
อย่างไรก็ตาม ปฏิบัติการปราบปรามข้อความหมิ่นฯเหล่านี้ได้ทำให้ประชาชนหลายคนในประเทศไทย วิตกกังวล ซึ่งพวกเขามองว่าการกระทำเช่นนี้ไม่ต่างจากการล่าแม่มด นอกจากนี้ยังมีบรรดานักเขียน นักวิชาการ และศิลปินกลุ่มต่างๆที่ชี้ว่า กฏหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพสามารถถูกใช้เป็นเครื่องมืออย่างผิดๆได้
ใน เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา คณาจารย์ทั้งไทยและต่างชาติจำนวน 112 คนได้ยื่นจดหมายเปิดผนึกที่มีเนื้อหาชี้แจงว่า การกวาดล้างทางอินเตอร์เน็ตที่กำลังดำรงอยู่เป็นภัยต่อ “อนาคตประชาธิปไตยในประเทศไทย” แก่นายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
หนังสือ พิมพ์บางกอกโพสต์ ใช้พื้นที่บทบรรณาธิการเมื่อเร็วๆ นี้แสดงความเห็นว่า พ.ร.บ. การกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ กำลังถูกใช้อย่างไร้การควบคุมและพิจารณา โดยวิจารณ์ไว้ว่า พ.ร.บ. ดังกล่าวได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือปิดหรือบล๊อกเว็บไซต์นับหมื่นๆเว็บโดย ปราศจากหลักฐานที่ชี้ชัดถึงการกระทำผิด และแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่เว็บไซต์เหล่านั้นทั้งหมดจะทำผิดข้อหาหมิ่นพระ บรมเดชานุภาพจริง
มีกรณีหนึ่งที่ได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษ จิรนุช เปรมชัยพร ผู้ดูแลเว็บไซต์ “ประชาไท” ได้ถูกดำเนินคดีเนื่องมาจากบางข้อความที่โพสต์ในเว็บไซต์แห่งนั้นมีเนื้อหา ที่ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จีรนุช อธิบายตนเองต่อศาลว่า ในวันหนึ่งๆนั้นเธอต้องอ่านข้อความจำนวนเป็นพันๆ ที่โพสต์ในเว็บไซต์และจัดการลบข้อความที่มีลักษณะหมิ่นฯเมื่อเธอพบเจอเข้า อย่างไรก็ตาม ฝ่ายผู้ฟ้องร้องกลับบอกว่า จีรนุชลบความเห็นเหล่านั้นไม่เร็วพอ
การพิจารณาคดีครั้งนี้ได้รับ ความสนใจจากบริษัทที่ทำธุรกิจในโลกอินเตอร์ เน็ตยักษ์ใหญ่ของโลกอย่างGoogle, Yahoo และ Ebay ล่าสุด Asia Internet Coalition อันเป็นสมาคมร่วมของอุตสาหกรรมธุรกิจในอินเตอร์เน็ตซึ่งก่อตั้งร่วมกันโดย บริษัทเหล่านั้น ได้ออกแถลงการณ์เมื่อเดือนที่แล้วว่า การบังคับใช้กฏหมายของ พรบ. คอมพิวเตอร์ดังกล่าว อาจจะส่งผลให้บริษัทที่ให้บริการทางอินเตอร์เน็ตปฏิเสธที่จะทำธุรกิจใน ประเทศไทยได้
“เมื่อมีการนำเอาสื่อกลางของการใช้อินเตอร์เน็ตมารับ ความผิดชอบแทนผู้ใช้ อินเตอร์เน็ตเช่นนี้ กรณี (จีรนุช) อาจถือได้ว่าเป็นการตั้งตัวอย่าง (การดำเนินคดี) ที่อันตรายและสามารถมีผลต่อเศรษฐกิจระยะยาวของประเทศ” สมาคมกล่าวไว้ในแถลงการณ์
ภายในวอร์รูม ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าพวกเขากำลังถูกกดดันจากทุกฝ่าย สำนักงานของพวกเขาได้รับการร้องเรียนทางอีเมลล์ประมาณ 20-100 ฉบับต่อวัน อีเมลล์เหล่านั้นแบ่งฝ่ายกันดังเช่นสังคมไทย บ้างก็สนับสนุน บ้างก็ต่อต้านปฏิบัติการของวอร์รูม
ผู้สนับสนุนสถาบันพระมหากษัตริย์ บางกลุ่มก็มีจุดยืนที่สุดโต่ง เมื่อต้นปีที่ผ่านมานี้ นางฟ้างาย คำอโศก สตรีผู้หนึ่งจากประเทศไทยภาคเหนือ ได้ล่ารายชื่อจำนวน 130,000 รายชื่อเพื่อสนับสนุนให้ยกเลิกระบอบประชาธิปไตยในปัจจุบันของประเทศไทย และแทนที่ด้วยรัฐบาลอันประกอบด้วย “ความดีและคุณธรรม” ที่พระราชทานโดยพระมหากษัตริย์แทน
ฟ้างาย เปี่ยมไปด้วยอารมณ์ความรู้สึกเมื่อพูดคุยเกี่ยวกับการรณรงค์ครั้งนี้ของเธอ “เราได้เห็นว่าในหลวงท่านทรงเสียสละเพื่อชาวเรา” เธอกล่าวในการสัมภาษณ์ “เรามีความรักในจิตวิญญาณของเราแด่พระองค์ท่าน พระองค์ทรงเป็นเหมือนเทพองค์หนึ่ง”
อย่างไรก็ตาม ในอีกฟากหนึ่งคือการขานตอบกฏหมายอันจำกัดสิทธินี้ด้วยการเสียดสี ศูนย์รับเรื่องร้องเรียนการกระทำผิดทางอินเตอร์เน็ต 24 ชั่วโมงที่ก่อตั้งโดยรัฐบาลในปี 2552 ได้รับการโทรเข้ามาร้องเรียนหลายสิบครั้งต่อวัน
แต่ปรากฏว่าการโทรเหล่านี้หลายครั้งก็ไม่ได้จริงจังแต่อย่างใด
“90% ที่โทรเข้ามาคือโทรมาแกล้งเล่น” ณัฐ พยงค์ศรี ผู้เชี่ยวชาญคอมพิวเตอร์คนหนึ่งในห้องกล่าวกับผู้สื่อข่าว
นาย สุรชัย ผู้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าของทีมในวอร์รูม เปิดเผยว่าเขาต้องถามหาคำชี้แนะจากผู้บังคับบัญชาอีกต่อหนึ่งเสมอๆ โดยนายสุรชัยใช้โปรแกรมชื่อว่า “แมงมุม” ที่สร้างขึ้นมาสำหรับการนี้โดยเฉพาะในการท่องไปตามโลกอินเตอร์เน็ตและแจ้ง ให้ทราบถึงเนื้อหาที่อาจเข้าข่ายดูหมิ่นเบื้องสูง จากนั้น เขาจึงปรึกษากับหน่วยทหารพิเศษที่ประจำการ ณ พระราชฐานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อพิจารณาความร้ายแรงของแต่ละเนื้อหา
“เมื่อผู้บังคับบัญชาเหล่านี้พิจารณาแล้วตัดสินใจให้บล็อก เราก็ต้องทำการบล็อกตามคำสั่ง” นายสุรชัยกล่าว
ตรง บริเวณทางเข้าวอร์รูมแห่งนี้ นายสุรชัยได้นำเอารูปเคารพที่แกะสลักไม้เป็นรูปนักรบจีนโบราณมาตั้งไว้ รูปเคารพนั้นทำท่ากวัดแกว่งง้าวเป็นอาวุธ
รูปเคารพดังกล่าวคือ กวนอู เทพอันเป็นตัวละครหนึ่งในวรรณคดีจีน “สามก๊ก” เสมือนเป็นเครื่องแสดงออกถึงความตั้งใจที่จะปกปักรักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหา กษัตริย์ของนายสุรชัย เขาอธิบายว่า กวนอู คือเทพแห่งความซื่อตรงและซื่อสัตย์ และยังเป็นสัญลักษณ์ของนักรบที่ห้อมล้อมไปด้วยสังคมอันแตกแยกอีกด้วย
“หลายคนปฏิเสธที่จะมารับหน้าที่ตรงนี้” นายสุรชัยกล่าว “ไม่ว่าจะถูกหรือผิด คนที่โดนว่าทั้งขึ้นทั้งล่องก็คือพวกเราอยู่ดี”
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น