ย่าง
เข้าสัปดาห์ที่สามของการบริหารงานรัฐบาล "ยิ่งลักษณ์ 1"
แต่ดูเหมือนว่าสั่นกระเพื่อมที่เกิดจากการปรับทัพข้าราชการชนิด
"บิ๊กล็อต"ยังคงเดินหน้าต่อไป อย่างเข้มข้น !
บ้างว่ากันว่านี่เป็นเพียงความ "บังเอิญ"
ที่เอื้อให้รัฐบาลใหม่อาศัยจังหวะเหมาะ ในการจัดสรร วางค่ายกล "ข้าราชการ"
กันใหม่ เพราะเข้ามาทำงานในช่วงฤดูกาลแต่งตั้งโยกย้ายพอดิบพอดี
บ้างก็ว่านี่เป็นรายการ
"ตัดไม้ข่มนาม" ของขั้วอำนาจฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เพื่อกำราบไม่ให้
"ฝ่ายตรงข้าม" ลุกฮือขึ้นมาต่อต้านการมาใหม่ของนายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
แน่นอนว่าการโยกย้ายข้าราชการชนิดยกล็อตของรัฐบาลชุดนี้ จะว่าไปแล้ว
"รูปแบบ"และ "วิธีการ" ที่นำมาใช้เขย่าในแต่ละกระทรวง แต่ละหน่วยงานนั้น
มีความใกล้เคียงกันแทบทั้งสิ้น นั่นคือทุบให้ช้ำก่อนแล้วจึงลงมือ
" เชือด" เป็นรายๆ ตามคิวกันไป
ล่าสุดมีทั้งรายการ
"ย้ายฟ้าผ่า"และ ย้ายเพื่อ "ปูนบำเหน็จ" กันขึ้นที่กระทรวงยุติธรรม
เมื่อเจ้ากระทรวงเสนอให้มีการโยกย้ายข้าราชการระดับสูง ระดับ
10ในเก้าอี้สำคัญแทบทั้งสิ้น ด้วยกัน 7 ราย
นายชาติชาย สุทธิกลม อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ไปดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง นาง
สุวณา สุวรรณจูฑะ อธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
ไปดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวง นายพิทยา จินาวัฒน์ รองปลัดกระทรวง
ไปดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ
นางสุรีย์ประภา ตรัยเวช เลขาเลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด(ป.ป.ส.) ไปดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง พ.ต.อ.สุชาติ วงศ์อนันต์ชัย ผู้ตรวจราชการกระทรวงเทคโนโลยีและสารสนเทศ(ไอซีที) ไปดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมราชทัณฑ์
พ.ต.อ.ดุษฎี อารยวุฒิ
ผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรม ไปดำรงตำแหน่ง เลขาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) และนายอำพล วงศ์ศิริ ย้าจจากเลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ(ป.ป.ท.) ไปเป็นผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรม
ในรายของ พ.ต.อ.สุชาติ ที่ถูกดันให้ขึ้นไปนั่งเป็น อธิบดีกรมราชทัณฑ์
นั้นต้องถือว่าเป็นการปูนบำเหน็จจาก "ผลงาน"
ที่ได้เคยทำมาและเป็นที่พอใจของฝ่ายรัฐบาลยิ่งลักษณ์
นั่นคือการเข้าไปเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว "ยุบพรรคประชาธิปัตย์"
และการมาของ พ.ต.อ.สุชาติ
ในครั้งนี้ดูจะเป็นที่รับรู้กันเป็นอย่างดีถึงภารกิจอันสำคัญของเขานั้นมี
เพียงประการเดียว นั่นคือการทำหน้าที่เบิกทางให้ "พ.ต.ท.ทักษิณ"
ได้กลับบ้านโดยผ่านกระบวนการยื่นถวายฎีกา เพื่อขอนิรโทษกรรม
อย่างไรก็ดี
หากขมวดเรื่องราวที่กำลังเกิดขึ้นที่กระทรวงยุติธรรมย่อมจะเห็นได้ว่า
นี่คือจุดใหญ่ใจความหลักๆ ที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง
และเป็นกระทรวงที่มีความหมายต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ
โดยตรง
เพราะต้องไม่ลืมว่า กระทรวงยุติธรรมคือ 1 ใน 5 กระทรวงหลัก
ที่เคยมีข่าวว่าพ.ต.ท.ทักษิณ
ต้องเป็นผู้เลือกเฟ้นบุคคลที่เขาสามารถไว้วางใจได้เท่านั้นให้มานั่งใน
เก้าอี้แห่งนี้ !
ดูเหมือนว่างานนี้ "นายใหญ่" เลือก "ใช้คนได้ตรงกับงาน" เสียด้วย เพราะเมื่อเทียบน้ำหนัก กันชนิดปอนด์ต่อปอนด์แล้ว ระหว่างพล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม ผู้สวมบท "โลว์โปรไฟว์" กับรองนายกฯเฉลิม อยู่บำรุง ที่ออกมารับแสดงในทุกบทบาท
ทั้งบท "องครักษ์" พิทักษ์นายกฯยิ่งลักษณ์ ในและนอกสภาแล้ว รองนายกฯยังคง "ยึดเวที" โชว์การแสดงผ่านสื่ออย่างต่อเนื่อง แล้วต้องถือว่า "ผลงาน" ที่ได้รับกลับมานั้นถือว่า "ห่างกันลิบลับ"
ฝ่ายหนึ่งส่งเสียงและโชว์การแสดงชนิดรายวัน ด้วยท่าทีจริงจัง
พราวด้วยลูกล่อลูกชน แต่ขณะเดียวกันตัวเขาเองก็อดที่จะหวั่นไหวไม่ได้ว่า
"ที่ยืน" ที่กำลังปักหลักอยู่ในเวลานี้ คือ "ฐานที่มั่น"
ถาวรได้ยาวนานแค่ไหน
เพราะก่อนหน้านี้ "ทีมข่าวคิดลึก"ได้เคยนำเสนอไปแล้วว่า "คู่ปรับ" ที่น่ากลัวสำหรับ "ขุนศึกฝั่งธน" นั้นคงไม่มีใครเหนือไปกว่า "เจ้าแม่กทม." ที่ชื่อคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
เพราะแม้เวลานี้ขนาดเจ้าตัวยังติดอยู่บ้านที่เลขที่ 111
แต่เธอกลับสามารถสร้างความหวั่นไหวให้กับแกนนำหลายต่อคนในพรรคเพื่อไทยอยู่
ไม่น้อย และหนึ่งในนั้นย่อมหมายรวมไปถึง รองนายกฯเฉลิม อยู่บำรุง
ก็ไม่อาจยกเว้นได้เช่นกัน !
แต่สำหรับ "ตัวจริง" อย่างพล.ต.อ.ประชา แล้ววงในพรรคเพื่อไทยเอง สะท้อนว่า เขาคือบุคคลที่ "นายใหญ่" ไว้วางใจให้ "ทำงานใหญ่" ภายใต้ท่าทีที่เรียบเฉย และไม่โฉ่งฉ่าง
แต่สามารถทำงานชนิดที่เรียกว่า ได้น้ำได้เนื้อ นั่นคือการตั้งแถว
ตั้งขบวนเพื่อเตรียมเดินหน้าในเรื่องของการถวายฎีกา
เพื่อขอพระราชทานนิรโทษกรรม ให้ลุล่วงในวันข้างหน้า
การ
ใช้อำนาจในฐานะเจ้ากระทรวงการลงนามในการเสนอแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการะดับ
10 ด้วยกันทั้งสิ้น 7 ราย โดยที่ประชุมครม. วานนี้ (13 ก.ย.)
ให้ไฟเขียวนั้น เป็นเพียงการเริ่มต้น "นับหนึ่ง" สำหรับ "งานใหญ่" ในมือของพล.ต.อ.ประชา เท่านั้น !
และท่ามกลางแรงผลักแรงต้านที่กำลังจะเกิดขึ้นเบื้องหน้า หลังการ "จุดพลุ"
เรื่องนิรโทษกรรมในรอบใหม่ จากกลุ่มการเมืองฝ่ายตรงข้าม
ที่เปิดฉากออกมาต่อต้านเพียงบางส่วนนั้น ก็ย่อมไม่ใช่ "โจทย์ยาก"
สำหรับพล.ต.อ.ประชา แต่อย่างไร
เพราะรมว.ยุติธรรม คนนี้
ไม่ใช่ "นักรบ" ประเภทโจทก์มากเมื่อเทียบกับรองนายกฯเฉลิม
รวมทั้งยังเป็นรับรู้กันว่าอดีตอธิบดีกรมตำรวจผู้นี้ ไม่ใช่คนที่ขาดแคลน
"แรงหนุนชั้นดี" เนื่องจากเพื่อนพ้องของพล.ต.อ.ประชา
นั่นมีมากมายหลายกลุ่ม
คอนเนคชั่นของพล.ต.อ.ประชา นั้นต้องถือว่ากระจายไปยังกลุ่มต่างๆ
ไม่เฉพาะแต่ "ฝ่ายการเมือง" เท่านั้น
แต่ยังมีสัมพันธ์อันดีกับแกนนำเอ็นจีโอ บางกลุ่มอีกด้วย
และที่น่าสนใจไปกว่านั้น
ต้องไม่ลืมว่าพล.ต.อ.ประชา
ผู้นี้คือผู้ที่มีชื่อติดเป็นแคนดิเดตในรายการสำคัญๆ
ของพรรคเพื่อไทยมาโดยตลอด
จังหวะก้าวเดินของรมว.ยุติธรรม อาจไม่เพียงแต่ทำให้ ฝ่ายค้านอย่างประชาธิปัตย์ต้อง "จับตา" เท่านั้น
ทว่า คนในพรรคที่หวังจะชิงการนำ โชว์การแสดงบนเวทีบางคน ยังอดที่จะหวั่นไหวและเปรียบเทียบ "ความไว้เนื้อเชื่อใจ" ที่นายใหญ่ มีให้ไม่ได้ด้วยซ้ำ !
ทีมข่าวคิดลึก. สยามรัฐ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
รีโมท
ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น