บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพุธที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ปมร้อนขึ้นทะเบียนมรดกวัฒนธรรมอย่าให้เป็นเพียงกระแส..

by feng_shui









มรดกโลกทางวัฒนธรรมในประเทศไทย
เนื่องในโอกาส 100ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากรและครบรอบ20ปี การประกาศขึ้นทะเบียนแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมในประเทศไทยมีการเสวนา ที่น่าสนใจ และชวนให้เราในฐานะคนไทย คิดกันว่า เราจะประกาศขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกทางวัฒนธรรมกันอย่างไร และจะรักษาสิ่งที่ขึ้นทะเบียนไปแล้วให้เกิดการอนุรักษ์ไวว้เป็นมรดกของมวล มนุษยชาติได้อย่างไร

ตอบข้อซักถามจากผู้ร่วมสัมมนา
19 ส.ค. ที่ห้องประชุมดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร สำนักโบราณคดี กรมศิลปากร จัดงานสัมมนามรดกโลกทางวัฒนธรรมแห่งราชอาณาจักรไทย เนื่องในโอกาสครบ 100 ปี กรมศิลปากร และ 20 ปี มรดกโลกแห่งราชอาณาจักรไทย โดยนายเดโช สวนานนท์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า ได้พบเรื่องที่น่าตกใจ เมื่อสมาคมสำนักพิมพ์แห่งหนึ่งของฝรั่งเศสได้ส่งหนังสือ "The Times UNESCO WORLD HERITAGE" เล่ม ที่ 8 หน้าปกรูปนครวัด ประเทศกัมพูชา ตีพิมพ์เมื่อปี 2553 ในหนังสือเล่มนี้ว่าด้วยเรื่องมรดกโลกทางวัฒนธรรมทั่วโลก มีรูปและคำอธิบายแต่ละเรื่องที่ปรากฏอยู่กว่า 890 แห่ง รวมทั้งอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัยและกำแพงเพชรของประเทศไทยด้วย
ทั้งนี้ เมื่อเปิดอ่านดูพบว่า คำบรรยายภาษาอังกฤษฉบับนี้ได้พิมพ์ชื่อเมืองผิดอยู่ 2 แห่ง คือศรีสัชนาลัย สะกดว่า Si Satchaum และกำแพงเพชร สะกดว่า Kamohena Pet ซึ่ง เป็นการสะกดคำภาษาอังกฤษที่ผิด ทางนิตยสารเดอะไทม์เป็นผู้จัดพิมพ์ และอ้างว่าได้รับข้อมูลโดยตรงจากยูเนสโก และเวิลด์เฮอริเทจเซนเตอร์ คำที่สะกดผิดนั้น คือ คำว่า "เพชร" เขียนในภาษาไทยมีความหมายในทางที่ดี มีค่ามาก แต่คำว่า “Pet” ภาษาอังกฤษแปลว่าสัตว์เลี้ยง เป็นคนละความหมาย ส่วนคำสะกดว่า "chaum" นั้น อาจทำให้เกิดความสับสนกับคำว่าศรีชุมซึ่งเป็นวัดแห่งหนึ่ง ซึ่งตนเข้าใจว่าฝรั่งอาจไม่คุ้นกับเสียงไทยจึงสะกดคำผิด และถือเป็นเรื่องใหญ่หากไม่มีการแก้ไขเพราะหนังสือเล่มดังกล่าวจะถูกเผยแพร่ ไปทั่วโลก ดังนั้นเห็นว่าหน่วยงานของไทยที่เกี่ยวข้องทางมรดกโลกทางวัฒนธรรม อย่างกระทรวงวัฒนธรรมหรือกรมศิลปากร ควรทำหนังสือแจ้งไปยังเดอะไทม์ ยูเนสโก เวิลด์เฮอริเทจ ให้แก้ไขคำภาษาอังกฤษ 2 คำให้ถูกต้อง โดยคำ "ศรีสัชนาลัย" ภาษาอังกฤษที่ถูกควรสะกด "Si Satchanaiai" และคำว่า "กำแพงเพชร" ควรสะกดคำติดกัน "Kampangpet"


ส่วน นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.การต่างประเทศ กล่าวว่า ภายหลังการแถลงนโยบายรัฐบาลเสร็จแล้ว ตนจะลุยงานเต็มที่ ซึ่งไม่ได้เคร่งเครียดอะไรที่ถูกมองว่าเป็นสายล่อฟ้าในรัฐบาล

โดย เฉพาะเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยต้นเดือน ก.ย.จะเริ่มเดินทางไปเยือนกลุ่มอาเซียน อาจเรียงตามลำดับอักษรชื่อประเทศ ส่วนงานในกระทรวงจะทบทวนกำลังคนและปริมาณงานที่ทำอยู่ และจะเสนอของบประมาณของ กต.เพิ่มขึ้น เพราะที่ผ่านมาได้รับจัดสรรน้อยมากเพียง 7,000 กว่าล้านบาท
เมื่อ ถามว่า จะประสานรอยร้าวกับกัมพูชา ให้กลับมาได้อย่างไร รมว.การต่างประเทศ กล่าวว่า เท่าที่กระทรวง กต. รายงานสรุปให้ฟังตนเป็นห่วงมากที่สุดคือ เรื่องที่อยู่ที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้ออกมาตรการชั่วคราวขึ้นมาก และรอที่จะตีความคดีเดิมเมื่อปี พ.ศ. 2505 เรื่องนี้ศาลโลกจะมีคำตัดสินสรุปสุดท้ายในวันที่ 21 พ.ย. 54 ซึ่งรัฐบาลชุดที่แล้วได้ทำไว้หลาย ๆ เรื่อง แต่มีบางประเด็นที่ตนมีข้อสังเกตว่าล่าช้าไปและมีข้อน่าห่วงในหลาย ๆ ข้อ เท่าที่ผ่านมาการทำงานของฝ่ายเราไม่ค่อยเต็มเม็ดเต็มหน่วย ซึ่งสุ่มเสี่ยง ตนดูแล้วไม่สบายใจ
เมื่อ ถูกถามว่า แสดงว่าโอกาสเสี่ยงสูงมากหรือไม่ ที่ไทยจะเสียดินแดน นายสุรพงษ์ กล่าวว่า เมื่อปี พ.ศ. 2505 ศาลโลกได้มีคำตัดสินออกมาแล้ว และหลายครั้งที่ผ่านมาเหมือนเรายอมรับสิ่งเหล่านั้นขึ้นมาแล้ว ตนมอบให้กต.ลำดับเรื่องหมดแล้ว แต่เปิดเผยไม่ได้เพราะบางเรื่องอ่อนไหว
ส่วน การถอนตัวจากคณะกรรมการมรดกโลก หรือยูเนสโก ที่ กต.รายงานมา แม้นายสุวิทย์ คุณกิตติ อดีตรมว.ทรัพยากรธรราชาติ ตัวแทนฝ่ายได้แถลงไว้แต่ยังไม่เป็นทางการ จนกว่าจะมีตราสารลงนามโดยนายกฯหรือตนเพื่อยืนยันการถอนตัว เท่าที่ กต.สรุปให้ตนฟังการคงไว้ซึ่งการเป็นภาคีอนุสัญญาดีอยู่แล้ว ตนคิดว่ามีทางออกดีกว่าอยู่แล้ว ตนจะเสนอให้ ครม.พิจารณาอีกครั้ง โดยให้อยู่ต่อในภาคีอนุสัญญาน่าจะเป็นประโยชน์ต่อไทยมากกว่า 
ตั้งแต่ปมขึ้นทะเบียนมรดกโลก"องค์พระปฐมเจดีย์ พบว่ามีเรื่องของการได้-เสีย"ประโยชน์
คนนครปฐมค้าน ขึ้นทะเบียนพระปฐมเจดีย์เป็นมรดกโลก เจ้าอาวาสวัดปิดปากสนิท ให้สน.จัดประโยชน์และรักษาองค์พระฯ กอดพ.ร.บ.คณะสงฆ์สู้ ยันไม่เกี่ยวกับการบริหารจัดการพื้นที่ พบรายได้สะพัดต่อวันนับล้าน กลายเป็นประเด็นร้อนที่เกิดข้อถกเถียงกันมากที่สุดของคนนครปฐม เมื่อทางกรมศิลปากรจัดทำประชาพิจารณ์รับฟังความเห็นประชาชนในพื้นที่จังหวัด นครปฐมในกรณี ขอขึ้นทะเบียนมรดกโลก องค์พระปฐมเจดีย์เจดีย์คู่บ้านที่มีอายุยาวนานนับพันปีคู่เมือง ขณะ นี้กลายเป็นแรงต่อต้านการขอขึ้นทะเบียนมรดกโลกจากคนในพื้นที่ เนื่องจากไม่ต้องการให้มีการขึ้นทะเบียนเพราะเกรงว่าจะไม่สามารถทำมาหา เลี้ยงชีพในบริเวณดังกล่าวได
ปัจจุบัน องค์พระปฐมเจดีย์อยู่ในความดูแลของวัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษ ชนิดราชวรมหาวิหาร เนื้อที่ทั้งหมด118 ไร่ 3 งาน 40 ตารางวา ภายใต้การดูแลของพระธรรมปริยัติเวที (สุเทพ ผุสฺสธมฺโม ป.ธ.9) หรือ สุเทพ บุษบก มีพระภิกษุจำนวน 161 รูป และสามเณร จำนวน 20 รูป โดยมีสำนักงานจัดประโยชน์และรักษาองค์พระปฐมเจดีย์ เป็นหน่วยงานที่บริหารจัดการผลประโยชน์ภายในวัด 
ประชาชน ที่พักอาศัยและประกอบกิจการการค้าบริเวณรอบองค์พระปฐมเจดีย์ ต่างไม่เห็นด้วยกับการขึ้นทะเบียนองค์พระปฐมเจดีย์เป็นมรดกโลก หรือWorld Heritage โดยเฉพาะกลุ่มแม่ค้า พ่อค้าผู้ประกอบการบริเวณรอบองค์พระระบุว่า
ถ้าขึ้นทะเบียนมรดกโลกแล้วเราจะเอาอะไรกิน เราเดือดร้อนขายของไม่ได้ ทั้งที่เราขายของที่นี่มา 20 กว่าปีแล้ว ลองคิดดูว่าถ้าเป็นมรดกโลกการบริหารจัดการทุกอย่างตกเป็นของหลวง พวกเรายุ่งเกี่ยวไม่ได้ เป็นของผู้หลักผู้ใหญ่ คนใหญ่คนโต เราไม่มีทางได้ทำกินกับเขาหรอก ลองคิดดู
ในขณะที่มุมมองของนายสุรเชน จันทร์คูณ หัวหน้าสำนักงานจัดประโยชน์และรักษาองค์พระปฐมเจดีย์ กล่าวว่า แต่เดิมร้านค้าภายในวัด 30-40 ราย ขณะนี้เพิ่มสูงขึ้นถึง 120 รายซึ่งส่วนใหญ่ต่างออกมาต่อต้านการขึ้นทะเบียนองค์พระปฐมเจดีย์เป็นมรดกโลก เนื่องจากรับรู้ข้อมูลข่าวสารไม่กระจ่าง ปรับตัวไม่ทัน ซึ่งในส่วนของการบริหารจัดการผลประโยชน์ของวัด คิดว่าคงเหมือนเดิม เพราะถือเป็นพื้นที่วัดซึ่งเป็นไปตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 ในมาตรา 33, 34 และมาตรา 35ส่วนจะไปขึ้นทะเบียนตัวองค์พระปฐมเจดีย์เป็นมรดกโลกก็ขึ้นไป ไม่เกี่ยวกับการบริหารจัดการพื้นที่ของวัด เพราะมีการจัดการอย่างเป็นระบบ
ผลประโยชน์จากการขึ้นทะเบียนมรดกโลกอยู่ที่ใคร?
นายสุรเชนยอมรับว่าตลอดระยะเวลา 37 ปีที่ทำหน้าที่ดูแลผลประโยชน์และรักษาองค์พระปฐมเจดีย์ให้กับทางวัด รู้สึกหนักใจมากที่สุดกับเรื่องนี้ หากทางการ พิจารณาขึ้นทะเบียนมรดกโลกได้สำเร็จแล้วใครจะเป็นผู้บริหารจัดการพื้นที่ เป็นเรื่องที่ตอบไม่ได้ เพราะเรื่องดังกล่าวเป็นมรดกของประเทศชาติไม่ใช่ของใครคนใดคนหนึ่ง ทางวัดมีหน้าที่ดูแลผลประโยชน์เท่านั้นไม่มีใครเป็นเจ้าของ
กรณี ที่หน่วยงานราชการเขาไปจดทะเบียนขึ้นเป็นมรดกโลก โดยไม่สนใจเสียงของชาวบ้าน เราก็จะบุกไปถึงกระทรวง กรมาให้มันเหมือนกับม๊อบเสื้อเหลือง เสื้อแดง อย่างแน่นอน
กรณี การลุกฮือของประชาชนในการต่อต้านการขึ้นทะเบียนมรดกโลกครั้งนี้นับเป็นพลวัตรใหม่ต่อการก้าวสู่การมีส่วนร่วมในระบอบประชาธิปไตย นอก เหนือไปจากการทำประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญ การแสดงออกของประชาชนในครั้งนี้ ล้วนแสดงให้เห็นถึงสภาวะภาพของสังคมที่ผลัดใบสู่กระบวนการประชาธิปไตยมาก ยิ่งขึ้น หมดเวลาแล้วที่ผู้มีอำนาจจะดำเนินการใดตามใจชอบโดยไม่แคร์เสียงติงจาก ประชาชน
สุจิตต์ วงษ์เทศ กับปมร้อนขึ้นทะเบียนมรดกวัฒนธรรม แม้เป็นนามธรรมจับต้องไม่ได้ไทยอาจช้ากว่าเขมร
สุจิตต์ วงษ์เทศ กล่าวว่าท้าย ที่สุดแล้วการปกป้องศิลปวัฒนธรรมของชาติจะประสบผลสำเร็จหรือไม่นั้น ก็ขึ้นอยู่กับความสำนึก ตระหนักในคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ หาใช่เพียงกระแส หรือสักว่าเป็นหน้าที่ต้องรักษาหรืออนุรักษ์ไว้ให้ได้ขึ้นชื่อถึงความเป็นมรดกโลก หรือเพียงเพื่อหวังเอาชนะชาติอื่น
http://www.tcijthai.com/investigative-story/718

เพิ่มเติมวิดีโอ โดย ช.ช้าง


MusicPlaylistView Profile
Create a MySpace Playlist at MixPod.com

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง