วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554
กองทุนมั่งคั่ง อันตรายจากระดับสูงของกระทรวงการคลัง
by indexthai
ปี 2518 วงกลมซ้าย เป็นปีที่เปิดตลาดหุ้น อีก 3-4 ปีต่อมา ตลาดหุ้นตก 62 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ต้อง ”ลดค่าเงินบาท” หลายครั้ง เกิดโครงการ 4 เมษายน 2527 ทางการเข้าควบกิจการ 25 ไฟแนนซ์และเครดิตฟองซิเอร์ เปิดกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (FIDF) ทุนสำรองเสียหาย ต้องเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินครั้งแรกจาก IMF
ปี 2536 วงกลมขวา เดือนตุลาคม นำระบบ Maintenance margin & force sell มาใช้ในตลาดหุ้น ตลาดหุ้นขึ้นไปที่ 1,750 และพังทลายลง 88 เปอร์เซ็นต์ เป็นผลถึงต้อง “ลอยค่าเงินบาท” เกิดโครงการ 14 สิงหาคม 2541 ปิดกิจการ 56 สถาบันการเงิน ทุนสำรองลดลงรุนแรง ต้องเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจาก IMF ครั้งที่ 2
กองทุนเพื่อการฟื้นฟู (FIDF) มีหนี้ที่เกิดจากการปิด 56 สถาบันการเงิน 1.4 ล้านล้านบาท ช่วง 12 ปีของการบริหารจัดการกองทุน (2541-2553) ได้ชำระคืนหนี้ 249,898 ล้านบาท หรือเฉลี่ยชำระหนี้ปีละ 20,825 ล้านบาท ชำระดอกเบี้ย 604,473 ล้านบาท หรือเฉลี่ยชำระดอกเบี้ยปีละ 50,373 ล้านบาท เงินที่ใช้ในการชำระดอกเบี้ยเป็นภาษีของประชาชน
ยังคงมีหนี้คงเหลือ 1.14 ล้านล้านบาท หักกับสินทรัพย์ที่มีอยู่ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูประมาณ 2 แสนล้านบาท จะต้องใช้เวลาประมาณ 45 ปี จึงจะใช้หนี้นี้ได้หมด
.
ทางการจะยุติบทบาทของกองทุนฟื้นฟูในปี 2556
แล้วหนี้ที่เหลือประมาณ 1 ล้านล้านบาทของกองทุนฟื้นฟูจะเอาไปไว้ที่ไหน
.
ปี 2551 ทางการตั้ง “สถาบันคุ้มครองเงินฝาก (PDA)” ซึ่งมีวิสัยทัศน์ใกล้เคียงกับของกองทุนฟื้นฟู แต่ลดบทบาทลงมาก คือไม่ได้ช่วยเหลือสภาพคล่องเมื่อสถาบันการเงินประสบปัญหาด้านสภาพคล่อง และไม่คุ้มครองเงินฝากทั้งจำนวน แต่จะคุ้มครองเงินฝากประชาชนไม่เกินบัญชีละ 1 ล้านบาท
วิสัย ทัศน์สถาบันคุ้มครองเงินฝาก เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุคล้ายกองทุนเพื่อการฟื้นฟู ประวัติศาสตร์บอกว่าวิสัยทัศน์กองทุนเพื่อการฟื้นฟูล้มเหลวและก่อหนี้ก้อนโต ให้ระบบ สถาบันคุ้มครองเงินฝาก ก็มีโอกาสจะล้มเหลวและเกิดหนี้ก้อนโตให้ระบบเช่นเดียวกัน
นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการศึกษาความ เป็นไปได้ในการจัดตั้ง กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ (Sovereign Wealth Funds)
พบว่าประเทศต่างๆที่ตั้งกองทุนมั่งคั่ง เพราะมีรายได้เหลือล้น ไม่มีหนี้ เช่นประเทศที่มีบ่อน้ำมันในตะวันออกกลางเป็นต้น แต่มีหลายประเทศที่ตั้งกองทุนมั่งคั่ง โดยไม่สนใจฐานะเศรษฐกิจของประเทศ
ประเทศ ไทย กำลังคิดจะออกพรบ.ดึงเงิน 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 300,000 ล้านบาท จากทุนสำรองการเงินระหว่างประเทศ มาตั้งเป็นกองทุนมั่งคั่ง (Sovereign Wealth Funds)
ทุนสำรองการเงินระหว่างประเทศ
การ เปลี่ยนแปลงของทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ ในอดีตจะเกี่ยวข้องกับดุลบัญชีเดินสะพัด เช่นผลต่างของมูลค่าการส่งออกและนำเข้า ผลต่างจากมูลค่าการท่องเที่ยว ที่ต่างชาติเข้ามาท่องเที่ยวในไทยและคนไทยเดินทางออกไปท่องเที่ยวต่างประเทศ รวมทั้งคนไทยไปขายแรงงานที่ต่างประเทศ และต่างชาติมาขายแรงงานในไทย
ทุกวันนี้ทุนสำรองเงินตราของทุกประเทศ เป็นเรื่องไม่มั่นคง และอาจจะผิดปกติได้ง่าย ที่เป็นผลมาจากการไหลเข้าออกของทุนโดยตรง โดยเฉพาะการไหลเข้าของการลงทุนทางอ้อม เช่นการลงทุนในตลาดทุนและตลาดพันธบัตร ทำให้เงินทุนไหลเข้าก็ง่าย ไหลออกก็ง่าย ที่ส่งผลให้ทุนสำรองเพิ่ม-ลดได้ง่าย
ทุนสำรองของประเทศไทยเคยเสียหายมาแล้วถึง 2 ครั้ง ที่เป็นผลให้ประเทศไทยต้องเข้าโครงการไอเอ็มเอฟมาแล้วถึง 2 ครั้ง วงกลมใหญ่ในแผนภูมิทุนสำรองเงินตราต่างประเทศสุทธิ แสดงให้เห็นว่าทุนสำรองของประเทศตกลงต่ำมาก ที่ทำให้ประเทศต้องเข้าโครงการไอเอ็มเอฟครั้งที่ 2 นั่นเอง
แม้แต่ประเทศสหรัฐอเมริกา หลังปี 2000 เงินทุนไหลออก เงินเหรียญสหรัฐอ่อนค่า จนเกิดปัญหาการล้มลงของภาคการผลิตจริง และภาคการเงิน ทำให้มีหนี้ท่วมประเทศ ที่ระยะหลังนี้ต้องเพิ่มเพดานหนี้ทุกปี
ประเทศเวียดนาม เงินทุนไหลออก เงินดองอ่อนค่า ตั้งแต่ปี 2008 ถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่ดีขึ้น
การจะนำเงินจากทุนสำรองมาใช้ จึงควรระมัดระวัง
การตั้งกองทุนมั่งคั่ง ควรนำมาจากเงินคงคลัง แต่เงินคงคลังของไทยก็ 2 ปีดี 3 ปีไข้ ยกตัวอย่างเช่นปี 2551 ปีเดียว เงินคงคลังติดลบกว่า 4 แสนล้านบาท
ผู้ เขียนไม่อยากจะโทษนักการเมืองทั้งหมด เรื่องเลวร้ายส่วนใหญ่มาจากการ “ชงเรื่อง” ของข้าราชการและนักวิชาการระดับสูง แล้วนำเสนอต่อฝ่ายการเมือง
ประเทศไทย มีทุนสำรองประมาณ 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 6 ล้านล้านบาท
ประเทศไทย มีหนี้สาธารณะสูงถึง 4.5 ล้านล้านบาท
ประเทศไทย มีหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 1 ล้านล้านบาท
ทำไมจึงมองเห็นแต่ตัวเลขทุนสำรองที่มาก และคิดว่าจะเอามาตั้งเป็นกองทุนมั่งคั่ง ทำไมจึงมองไม่เห็นว่าหนี้สาธารณะ และหนี้ที่กองทุนฟื้นฟูก็สูงมาก ไม่คิดจะหาวิธีเอามาชำระหนี้เหล่านี้บ้าง
วิสัยทัศน์ระดับสูงของกระทรวงการคลัง “น่ากลัว” ประเทศไทยทุกวันนี้ไม่ได้ยืนอยู่บนขา(ทุน)ของตัวเอง แต่ยืนอยู่บนขา(ทุน)ของต่างชาติ จากตารางผู้ถือหุ้นรายใหญ่(ธนาคารเอกชนไทย) จะเห็นว่า ทุกวันนี้ไม่เหลือธนาคารเอกชนใดเป็นของคนไทยแล้ว
ยิ่ง ออกวิสัยทัศน์มาเท่าใด ประเทศชาติยิ่งหมดตัวมากเท่านั้น มักโยนอุจจาระมาให้ประชาชน เช่นเรื่องหนี้เพื่อการฟื้นฟูที่ต้องใช้ภาษีประชาชนชำระดอกเบี้ยแล้ว 604,473 ล้านบาท หวั่นใจว่า หนี้ที่เหลืออาจจะโยนมาให้ประชาชนเป็นผู้ชำระแทนอีก อุจจาระกองใหม่อย่างสถาบันคุ้มครองเงินฝากก็เพิ่มมาอีก
กระทรวงการคลัง “มักชง” เรื่องที่เป็นอันตรายแก่ประเทศชาติเป็นประจำ ช่วงรัฐบาลทักษิณ ก็ชงการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ทำให้สินทรัพย์ของประเทศตกไปเป็นของต่างชาติมากขึ้น ใครจะช่วยประเทศได้บ้าง ตัวเลขหนี้สาธารณะก็สูง ทำไมไม่ชงเรื่องการลดหนี้สาธารณะบ้าง
เป็นไปได้ ที่จะเอาเงินจากทุนสำรองออกมาทำประโยชน์ โดยต้องเข้าใจ และระมัดระวัง เรื่องการเคลื่อนย้ายเงินทุนให้ดี สิ่งใดควรทำ สิ่งใดควรแก้ไข อาจจะเอาทุนสำรองออกมามาทำประโยชน์สัก 10-15 เปอร์เซ็นต์
.
ผู้ เขียนเห็นด้วย หากจะนำทุนสำรองออกมาช่วยชำระหนี้สาธารณะบ้าง และชำระหนี้ให้กับกองทุนเพื่อการฟื้นฟู จะได้ช่วยลดงบประมาณในการชำระดอกเบี้ยแต่ละปีลง
แต่ไม่ใช่เอาไปตั้งกองทุนมั่งคั่ง
.
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
รีโมท
ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน
คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค
บทความย้อนหลัง
-
►
2012
(274)
- ► กุมภาพันธ์ (51)
-
▼
2011
(1241)
-
▼
สิงหาคม
(263)
-
▼
29 ส.ค.
(8)
- ใช้เงินอนาคตมีแต่เจ๊ง
- เปิดโฉมหน้า"คนเสื้อแดง" กุนซือรัฐบาลยิ่งลักษณ์ คั่...
- กรรมวิธีฟอกแดงแม้ว.. ให้ขาวใส!
- เจ๊เพ็ญลำเลิกบุญคุณรัฐบาล เจ๊ปูต้องกล้าประกาศ ว่าจ...
- แผนที่แปลงสัมปทานปิโตรเลียม
- กองทุนมั่งคั่ง อันตรายจากระดับสูงของกระทรวงการคลัง
- คลิปรายการ"เจาะข่าวร้อน ล้วงข่าวลึก"ชื่อตอนว่า"แก้...
- ม.เปิดผนึกถึง 22แกนนำ นปช. และ มวลชนคนเสื้อแดง
-
▼
29 ส.ค.
(8)
-
▼
สิงหาคม
(263)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น