“สื่อ”พยายามปกปิด”คลิปนี้”แม้แต่”อากู๋”ก้อหาไม่เจอ
เรื่อง จริงในประเทศไทยที่ยังไม่มีใครรู้ และสื่อพยายามปกปิดแม้แต่ใน อากู๋ ก้อหาไม่เจอ…มาฟังกันครับ “หมอแว” แฉเรื่องพลังงานในประเทศไทยที่มีอย่างเหลือเฟือ น้ำมัน และแก๊ส ธรรมชาติ… ทำไมคนไทยที่เป็นเจ้าของแผ่นดินนี้ต้องซื้อหาพลังงานถึงแพงอย่างนี้… รบกวนพี่น้องช่วยกันเผยแพร่คลิปนี้ไปให้พี่น้องเรารับทราบให้มากที่สุดครับ.
“หมอ แว”ตั้งฉายา “รัฐบาลแมว” ปล่อยคนอื่นกินปลาย่าง อัด “มาร์ค” ละเลยทำคนไทยซื้อน้ำมัน-ก๊าซ แพง แถมยังผสมคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ใส่ในก๊าซธรรมชาติ กระทบมลภาวะ ด้านนายกฯแจง รัฐบาลเป็นคนไล่แมว แต่เจอ “อ๋อย” เหน็บทันควัน “มาร์ค” ถนัดใช้โวหาร-เบี่ยงประเด็น วันที่ 17 มี.ค. 2554 นพ.แวมาฮาดี แวดาโอ๊ะ ส.ส.นราธิวาส พรรคเพื่อแผ่นดิน ได้ลุกขึ้นอภิปรายไม่ไว้วางใจนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในเรื่องความมั่นคงด้านพลังงานว่า คนไทยต้องซื้อน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในราคาสูง ทั้งที่ประเทศสามารถผลิตก๊าซธรรมชาติมากเป็นอันดับที่ 23ของโลก และผลิตน้ำมันดิบได้ 25 ล้านลิตรต่อวัน ถือได้ว่ามีเหลือเฟือ ไม่ได้ขาดแคลนแต่อย่างใด จึงชี้ให้เห็นว่านายกฯในฐานะที่เป็นประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ปล่อยปละละเลยในเรื่องดังกล่าว และข้อมูลจากอีไอเอยังระบุว่า ผลิตก๊าซธรรมชาติได้มากกว่าหลายๆประเทศที่อยู่ในกลุ่มประเทศโอเปค ทั้งลิเบีย บรูไน นอกจากนี้สถิติการค้าระหว่างประเทศของกระทรวงพาณิชย์ระบุว่าประเทศไทยส่งออก พลังงาน 9,673 ล้านลิตร คิดเป็นเงินไทย 3 แสนล้านบาทต่อปี ซึ่งเกือบถึง
ตั้งฉายา “รัฐบาลแมว” ปล่อยคนอื่น “กินปลาย่าง” นพ.แวมาฮาดี กล่าวอีกว่า ตนยังมีข้อมูลจากบลูมเบิร์กระบุว่า น้ำมันที่เอามาจากอ่าวไทยปรากฎว่ามีสารกำมะกันต่ำที่สุดและเป็นน้ำมันที่ดี ที่สุดของโลก แต่ด้วยการกำกับดูแลของนายกฯ ทำให้บริษัทเอกชนเอาน้ำมันดีส่งๆออกไปขายต่างประเทศ และให้ไทยต้องนำเข้าน้ำมันจากดูไบ ซึ่งถือว่าเป็นน้ำมันที่เลวที่สุด โดยรัฐบาลปล่อยให้มีการผูกขาดและอ้างว่าพื้นที่ของประเทศไทยขุดเจาะลำบาก ทำให้รัฐได้ส่วนแบ่งที่ต่ำที่สุดในภูมิภาคเอเชีย นอกจากนี้ยังมีการโกงประชาชน โดยการอัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เข้าไปผสมในการก๊าซธรรมชาติถึง 18 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งจะเกิดผลเสียต่อมลภาวะ “ส่วนเรื่องโครงสร้างราคาน้ำมันของไทยที่ขายให้คนไทยแพงกว่าคนต่างชาติ โดยขายให้คนไทยมีการบวกค่าขนส่งและการปรับปรุงคุณภาพเข้าไป ขณะที่ขายให้ต่างชาติกลับลดค่าขนส่งและค่าปรับปรุงคุณภาพ จึงทำให้คนไทยต้องซื้อน้ำมันแพงกว่าคนต่างชาติ จึงขอตั้งฉายารัฐบาลว่า เป็น ‘รัฐบาลแมว’ ที่ปล่อยให้คนอื่นไปกินปลาย่าง”นพ.แวมาฮาดีกล่าว
นายกฯชี้แจง “รัฐบาลนี้เป็นคนไล่แมว” ด้านนายอภิสิทธิ์ กล่าวชี้แจงว่า ปัญหาเรื่องโครงสร้างราคาน้ำมันไม่ได้เกิดจากรัฐบาลนี้ แต่มีการใช้มาหลายรัฐบาลแล้ว ส่วนที่มีการเปรียบเทียบการใช้น้ำมันของไทยกับประเทศลิเบียที่มีประชากร 6 ล้านคน และบรูไนมีหลักแสนคน คงไม่สามารถเทียบกันได้ ส่วนปัญหาการนำผสมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงไปในก๊าซธรรมชาตินั้น ถ้าไม่ให้ผสมลงไป ก็สามารถทำได้ แต่ประชาชนจะต้องจ่ายค่าก๊าซธรรมชาติแพงขึ้นกิโลกรัมละ 3 บาท “วันนี้ต้องยอมรับว่า ปตท.มีสถานะที่แปลก หากไปแตะมากก็อ้างว่าเป็นบริษัทในตลาดหุ้น แต่ก็ยังเป็นรัฐวิสาหกิจอยู่ โดยรัฐบาลเห็นว่า คนไทยควรซื้อในราคาที่เป็นธรรมอย่างทั่วถึง ขอยืนยันว่า รัฐบาลไม่ใช่แมว แต่เป็นรัฐบาลชุดก่อน และรัฐบาลนี้เป็นรัฐบาลที่ไล่แมวไปหมดแล้ว”นายกรัฐมนตรีกล่าว
“อ๋อย” เหน็บ “มาร์ค” ถนัดใช้โวหาร-เบี่ยงประเด็น ด้านนายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ได้เขียนทวิตเตอร์แสดงความเห็นทันทีว่า “หมอแวมาแบบจอมยุทธพิศดาร อภิสิทธิ์รับมือไม่ทัน ถึงขั้นบาดเจ็บ…วันนี้เห็นได้ชัดว่าการใช้โวหาร การเลือกเรื่องที่ใช้ตรรกะง่ายๆกับเรื่องที่ตนถนัดที่จะพูด มาเบี่ยงเบนประเด็น ไม่อาจใช้ได้กับคนที่เตรียมมาดีและลึก” นายจาตุรนต์ ระบุต่อว่า “หมอแวได้แสดงให้เห็นว่า คุณอภิสิทธิ์เป็นผู้ที่ถนัดในการใช้เทคนิคในการโต้วาทีมาเป็นหลักในการชี้ แจงต่อสภา ไม่ได้สู้ในสาระและหลักการ…การโบ้ยไปให้รัฐบาลก่อนหรือไทยรักไทยเวลาที่ส. ส.เพื่อไทยพูดความจริงนายกฯก็ไม่ควรใช้บ่อยอยู่แล้ว กับหมอแวซึ่งไม่ใช่ส.ส.เพื่อไทย จึงยิ่งใช้ไม่ได้” “การโต้วาทีไม่ใช่สิ่งที่ไม่ดี จะพูดขาวเป็นดำหรือเบี่ยงเบนประเด็นก็ไม่มีใครว่าแถมยังชื่นชมได้ด้วย แต่การพูดในสภาทำแบบโต้วาทีไม่ได้…ที่หมอแวพูดไปนั้น แสดงว่าเขาศึกษามาจริงๆ จะถูกผิด ดีหรือไม่ คนฟังย่อมตัดสิน แต่ถ้าไอ้แมงสาป.จะว่าเขามั่ว แค่ให้เหตุผลว่ามั่วอย่างไรก็คงเหนื่อย”นายจาตุรนต์ทวิตฯ
………. ฝากทีมงาน เสียงประชาชน ขอให้ “แฉ” หัวข้อเรื่องนี้ด้วยจะดีมากๆครับ…
ทรัพยากรปิโตรเลียม
ทรัพยากรปิโตรเลียมสามารถแบ่งได้เป็น น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ทรายน้ำมันและหินน้ำมัน ในประเทศไทยพบว่าแหล่งปิโตรเลียมที่สำคัญเป็นน้ำมันดิบกับก๊าซธรรมชาติ ซึ่งมีทั้งบนแผ่นดินและในทะเล ส่วนทรายน้ำมันมีน้อยมากพบที่แอ่งฝางและหินน้ำมันพบที่อำเภอแม่สอด จ.ตาก และเกิดร่วมกับถ่านหินในแอ่งนาฮ่อง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ แอ่งบ้านป่าคา อ.ลี้ จ.ลำพูน แอ่งเสริมงาม และแม่ทาน จ.ลำปาง และแอ่งเคียนซา จ. สุราษฎร์ธานี ซึ่งหินน้ำมันที่เกิดร่วมกับถ่านหินยังไม่มีการประเมินความสำคัญทางเศรษฐกิจ แต่อย่างใด
ทรัพยากรปิโตรเลียมบนบก
แหล่งน้ำมันดิบฝาง
ในปี พ.ศ. 2461 ชาวบ้านฝาง จังหวัดเชียงใหม่ พบน้ำมันไหลขึ้นมาบนผิวดิน บริเวณบ่อต้นขาม ต่างเล่าลือกันว่าเป็นน้ำมันศักดิ์สิทธิ์ นำมาใช้ทาตัวเพื่อรักษาโรคต่าง ๆ เมื่อเรื่องนี้ทราบถึงเจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่ จึงสั่งให้ขุดบ่อกักน้ำมันไว้ เรียกกันว่า “บ่อเจ้าหลวง” หรือ “บ่อหลวง”
ต่อมาพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน ผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวงทรงทราบถึงการค้นพบน้ำมันที่อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ จึงติดต่อว่าจ้าง “Mr. Wallace Lee” นักธรณีวิทยาชาวอเมริกัน ให้สำรวจน้ำมันและถ่านหินเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับรถจักรไอน้ำในกิจการ รถไฟ ระหว่างปี พ.ศ. 2464 – 2465 นับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยได้มีการใช้วิธีการทางด้านธรณีวิทยาในการสำรวจ แร่ เชื้อเพลิง และปิโตรเลียมอย่างแท้จริง
แหล่งน้ำมันดิบเพชรจากแหล่งสิริกิติ์
การพบแหล่งน้ำมันดิบเพชรจากแหล่งสิริกิติ์ เป็นการพบจากการสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ในที่ราบภาคกลางตอนบน พื้นที่สำรวจประมาณ 20,000 ตารางกิโลเมตร โดยบริษัทไทยเชลส์ เอ็กซพลอเรชั่นแอนโปรดัคชั่นที่ได้รับสัมปทานในแปลง S1 และ S2 จำกัดพบแหล่งน้ำมันดิบจากหลุมแรกขื่อหลุมประดู่เฒ่า –1 ได้ก๊าซธรรมชาติ มีอัตราการไหล 2 ล้านลูกบาสก์ฟุต ต่อวัน และมีน้ำมันดิบเป็นประเภทพาราฟินิก เบสไหลรวม 400 บาร์เรลต่อวัน ต่อมาจากการเจาะหลุม ลานกระบือ A-01 ในอำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร มีน้ำมันดิบไหลรวม 700-4000 บาร์เรลต่อวันโดยที่หินต้นกำเนิดนำมันเป็นหินดินดานและหินโคลนหมวดหินชุมแสง และหินกักเก็บน้ำมันเป็นหินทรายในหมวดหินลานกระบือและหินปิดกั้นเป็นหินโคลน และหินดินดานและรอยเลื่อน และต่อมาได้พัฒนาเป็นแหล่งปิโตรเลียมที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทยโดยได้รับพระ ราชทานนามว่า “แหล่งสิริกิติ์” มีกำลังการผลิตมากกว่า 20,000 บาร์เรลต่อวัน และได้มีการสำรวจเพิ่มเติมและสามารถพัฒนาผลิตน้ำมันดิบได้ในแหล่งบึงหญ้า อำเภอคิรีมาศ จังหวัดสุโขทัย และแหล่งบึงม่วง อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร ผลพลอยได้จากการผลิตน้ำมันดิบในแหล่งนี้คือ ก๊าซธรรมชาติ ซึ่งได้ถูกนำไปใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า ขนาด 75 เมกกะวัตต์ ปัจจุบันนี้ มีบริษัทการผลิต ปิโตรเลียม 12 แหล่งคือ แหล่งสิริกิติ์ แหล่งสิริกิติ์ F-1 แหล่งสิริกิติ์ ตอนไต้ แหล่งสิริกิติ์ตะวันตก แหล่งปรือกระเทียม แหล่งวัดแตน แหล่งทับแรด แหล่งประดู่เฒ่า แหล่งหนองตูม แหล่งสิริกิติ์ตะวันออก แหล่งหนองมะขามอี แหล่งสิริกิติ์ที และกำลังของแหล่งหนองมะขาม เอ น้ำมันที่ผลิตได้ จะกักเก็บไว้ในถังขนาดใหญ่ แล้วขนถ่ายโดยรถบรรทุกน้ำมันไปถ่ายลงรถไฟที่สถานีบึงพระ ลำเลียงไปยังโรงกลั่นบางจากและโรงกลั่นไทยออยล์ เพื่อกลั่นเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดต่าง ๆ จำหน่ายต่อไป
แหล่ง วิเชียรบุรีจังหวัดเพชรบูรณ์ และแหล่งอู่ทองจังหวัดสุพรรณบุรีและแหล่งกำแพงแสน จังหวัดนครปฐมในปี พ.ศ. 2525 บริษัทเซาธ์เวสคอนโซลิเดทเตท รีซอร์ส ได้รับสัมปทานสำรวจในแปลงที่ SW1 และ SW2 และได้พบน้ำมันดิบที่อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรพ์และในปีพ.ศ. 2527 บริษัท บริทออยล์ จำกัด ได้รับสัมปทานสำรวจในแปลง BT ได้พบน้ำมันดิบที่อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และ อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม ซึ่งต่อมาบริษัทปตท. สผ.จำกัด มหาชนได้มีการพัฒนาผลิตน้ำมันดิบ น้ำมันดิบที่ผลิตได้จากสามแหล่งนี้มีจำนวนน้อย รวมกันต่ำกว่า 1000 บาร์เรล ต่อวัน
แหล่งก๊าซธรรมชาติน้ำพอง
ในปี พ.ศ. 2522 บริษัทเอสโซ เอ็กซพลอเรชั่นแอนด์โปรดัคชั่น โคราช อิงค์ ได้รับสัมประทานแปลงสำรวจที่ E1, E2, E3, E4 และ E5 และจากการเจาะสำรวจ 15 หลุม ได้พบก๊าซธรรมชาติในโครงสร้างน้ำพอง 8 หลุม และได้พัฒนามาผลิตกระแสไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมที่อำเภอน้ำพอง ขนาด 720 เมกะวัตต์ นอกจากนี้ได้มีการสำรวจพบก๊าซธรรมชาติ ที่โครงสร้างดงมูล มีอัตราการไหลของก๊าซธรรมชาติ 3 ล้านลูกบาศก์ฟุต ต่อวัน และพบที่หลุมชนบทและหลุมภูฮ่อม แต่บริเวณเหล่านี้ยังไม่มีการพัฒนานำมาใช้พบบ่อน้ำมันแหล่งใหญ่ที่เพชรบูรณ์ เขต พื้นที่ภูเขาไฟ 1 หมื่นบาร์เรล/วัน รวมตัวเลขผลิตน้ำมันได้เองสูงถึง 2 แสนบาร์เรล/วัน แซงหน้าปริมาณการส่งออกของบรูไนแล้วเผยว่า “จากราคา น้ำมันที่แพงขึ้นและจาก ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียม ทำให้ประเทศไทยผลิตน้ำมันและคอนเดนเสตเพิ่มขึ้น เป็น 200,000 บาร์เรลต่อวัน แซงหน้าปริมาณการส่งออกของบรูไนแล้ว “ทำ ให้ประเทศไทยพึ่งพาพลังงานจากแหล่งในประเทศเพิ่มขึ้นล่าสุดได้รับแจ้ง จากบริษัทแพนโอเรียนท์ เจ้าของสัมปทานแหล่งนาสนุ่น อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ว่า ได้ผลิตน้ำมันเพิ่มเป็น 10,000 บาร์เรล/วัน ตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมา จากเดิมที่เคยผลิตเพียง 800 บาร์เรลเท่านั้นทั้งนี้ คาดว่ากำลังการผลิตจะเพิ่มเป็น 20,000 บาร์เรล
ทรัพยากรปิโตรเลียมในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
ใน ปี พ.ศ. 2511 รัฐบาลได้ให้สัมปทานแปลงสำรวจในอ่าวไทยแก่ 7 บริษัท ซึ่งในเวลาต่อมา บริษัท ยูเนียนออยล์ ได้พบแหล่งปิโตรเลียม ส่วนใหญ่เป็นก๊าซธรรมชาติในบริเวณที่เรียกว่า แอ่งปัตตานี ในอ่าวไทย ซึ่งต่อมาเป็นแหล่งผลิตก๊าชธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย และพบน้ำมันดิบในแอ่งชุมพรโดยมีบริษัทต่าง ๆ ถือครองสัมปทานสำรวจจำนวน 18 สัมปทาน 25 แปลง และมีปริมาณสำรองที่พิสูจน์แล้วเป็นก๊าซธรรมชาติ ประมาณ 7,800 ล้านล้านลูกบาสก์ฟุต ก๊าซธรรมชาติเหลว ประมาณ 170 ล้านบาร์เรล และน้ำมันดิบ 65 ล้านบาร์เรล นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีโครงการสำรวจร่วมกับ ประเทศเวียตนาม และมาเลเซียอีกด้วย ส่วนทางด้านทะเลอันดามันนั้น ถึงแม้จะมีการให้สัมปทานแปลงสำรวจ และทำการสำรวจหลายครั้ง แต่ยังไม่พบแหล่งที่สามารถผลิตในเชิงพานิชย์ได้ การใช้ประโยชน์ ของปิโตรเลียมในอ่าวไทยมีดังนี้
แหล่งก๊าซเอราวัณ
บริษัทยูโนแคล ไทยแลนด์ จำกัด ได้ประสบความสำเร็จในการสำรวจแอ่งปัตตานี ในอ่าวไทยและได้ผลิตก๊าซธรรมชาติจากแหล่งก๊าซเอราวัณ ที่ถูกสำรวจพบเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2516 ในแปลงสัมปทานที่ B12 และ B13 อยู่ห่างจากชายฝั่งประมาณ 150 กิโลเมตร แท่นผลิตเอราวัณต่อเชื่อมกับแหล่งก๊าซอื่น ๆ ของบริษัท ฯ ที่สำรวจพบในเวลาต่อมาคือ แหล่งกะพง ปลาทอง ปะการัง ตราด ปลาหมึก ปลาแดง โกมินท์และสุราษฎร์ รวมส่งขายให้ บริษัทปตท. สผ. จำกัด(มหาชน)โดยผ่านท่อ ขนาด 36 นิ้ว เป็นระยะทาง 450 กิโลเมตร ไปขึ้นฝั่งที่จังหวัดระยองผ่านท่อ ขนาด 24 นิ้ว เป็นระยะทาง 161 กิโลเมตร ไปขึ้นฝั่งที่อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ก๊าซธรรมชาติเหล่านี้จะผ่านกระบวนการแยกก๊าซในโรงงานแยกก๊าซ ส่วนหนึ่งจะถูกใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า ส่วนหนึ่งจะถูกใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและทำก๊าซหุงต้ม ส่วนก๊าซธรรมชาติเหลวจะถูกส่งไปยังเรือกักเก็บนำส่งขายต่อไป
แหล่งน้ำมันดิบในอ่าวไทย
การพบน้ำมันดิบเริ่มแรกพบที่แหล่งนางนวลในแอ่งชุมพร โดยบริษัทไทยเชลส์ เอ็กซพลอเรชั่นแอนโปรดัคชั่น และได้ทำการผลิตอยู่ระยะหนึ่ง และได้หยุดไปเนื่องจากปัญหาทางเทคนิค แต่จากการสำรวจในแอ่งปัตตานีและตอนบนของอ่าวไทยของบริษัทต่าง ๆหลายบริษัท ได้พบแหล่งปิโตรเลียมที่ให้ทั้งน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ แหล่งไพลิน แหล่งมรกต แหล่งดาราตะวันตก แหล่งช้างแดง แหล่งทานตะวัน แหล่งเบญจมาศ แหล่งผกากรอง แหล่งมะลิวัลย์ และแหล่งนวมินทร์ ซึ่งในขณะนี้ ได้มีการผลิตขึ้นมาแล้วเป็น ส่วนใหญ่
แหล่งก๊าซบงกช
แหล่ง ก๊าซบงกชตั้งอยู่ในแปลงสัมปทานที่ B15, B16 และ B17 ห่างจากชายฝั่งจังหวัด สงขลาไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ประมาณ 180 กิโลเมตร ปัจจุบันแท่นผลิตก๊าซจากแหล่งบงกชผลิตก๊าซธรรมชาติ และ ก๊าซธรรมชาติเหลว จากแท่นหลุมผลิตจำนวน 10 แท่น สำหรับก๊าซธรรมชาติ จะถูกส่งผ่านท่อ ขนาด 32 นิ้ว เป็นระยะทาง 171 กิโลเมตร ไปยังแท่นผลิตเอราวัณ เพื่อส่งต่อไปยังโรงแยกก๊าซที่ระยองต่อไป เมี่อผ่านกระบวนการแยกก๊าซในโรงงานแยกก๊าซ แล้ว ส่วนหนึ่งจะถูกใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า ส่วนหนึ่งจะถูกใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและทำก๊าซหุงต้ม ส่วนก๊าซธรรมชาติเหลวจะถูกส่งไปยังเรือกักเก็บนำส่งขายต่อไป
Image resized to : 72 % of its original size [ 831 x 550 ]
ราคาน้ำมันวันนี้ 14-08-54
กราฟด้านบน โครงสร้างการใช้พลังงานในอนาคตของประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2548 – 2563 (2000 – 2020)
ก๊าซ ธรรมชาติถือเป็นทรัพยากรปิโตรเลียมหลักของประเทศไทยโดยมีปริมาณสำรองก๊าซ ธรรมชาติณ สิ้นปี 2548 รวมทั้งหมด เท่ากับ 31.9 ล้านลูกบาศก์ฟุต แบ่งเป็นปริมาณสำรองพิสูจน์แล้ว( Proved Reserve ) 10.7 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ปริมาณสำรองที่อาจจะพบ ( Possible Reserve )9.6 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต [u]โดยมีการสำรวจก๊าซธธรรมชาติไปแล้วทั้งสิ้น 70 แหล่งโดยมีการดำเนินการผลิตอยู่ 19 แหล่ง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
รีโมท
ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น