การ VOTE ‘NO’ ในประเทศอังกฤษ ประเทศที่พัฒนาแล้วและเป็นประเทศต้นแบบประชาธิปไตย กระแส VOTE NO ก็มาแรงเหมือนกัน ไม่แพ้ประเทศไทย VOTE NO ใช้กันแพร่หลาย เป็นประชาธิปไตย และมีความเป็นสากล การโหวตโนของไทยและอังกฤษแตกต่างกันด้วยความหมายและสภาวะการณ์ การ Vote No ของไทยคือการปฏิเสธที่จะเลือกนักการเมืองที่ฉ้อฉล ส่วน Vote No ของอังกฤษ คือการปฏิเสธระบบการเลือกตั้งแบบใหม่ โดยการรณรงค์ VOTE NO ของอังกฤษนั้น เป็นการรณรงค์ เพื่อที่จะต่อต้านการลงคะแนนเสียงแบบใหม่ ของอังกฤษ ซึ่งเป็น โหวตโน ที่ No to AV หมายถึง ปฏิเสธการเลือกตั้งแบบทางเลือกที่เรียกว่า Alternative Vote หรือ AV ซึ่งเป็นระบบเลือกตั้งที่ซับซ้อน เป็นการสกัดกั้นผู้สมัครที่ไม่เป็นที่รู้จัก และสร้างความลำบากให้กับพรรคเล็ก
ความหมายของ ระบบทางเลือก Alternative Vote หรือ AV หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าระบบเสริม Supplementary Vote หรือ SV ระบบนี้เคยใช้กับการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีกรุงลอนดอนในปี 2000 โดยคำแนะนำของคณะกรรมการเลือกตั้งเจนกินส์ ภายใต้การเลือกตั้งในระบบนี้ ผู้สมัครเพียงคนเดียวได้รับการเลือกตั้ง ผู้ออกเสียงลงคะแนนจะเรียงลำดับความพอใจที่มีต่อผู้สมัครก่อน และถ้าปรากฏว่าผู้ที่ได้รับความพอใจเป็นลำดับแรกเป็นผู้สมัครที่ไม่เป็นที่ รู้จัก (Popular) อย่างกว้างขวางเพียงพอ ก็สามารถยกเลิกได้ และเลือกผู้ได้รับความพอใจในลำดับรองลงไป ระบบ AV ไม่สามารถสร้างความเป็นสัดส่วนระหว่างพรรคต่างๆในสภา และไม่สามารถทำให้เกิดสภาที่สะท้อนการสนับสนุนพรรคการเมืองของผู้เลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม ระบบ AV ช่วยเพิ่มโอกาสให้ผู้เลือกตั้งได้ผู้แทนที่ตนออกเสียงเลือก แม้ว่าอาจเป็นผู้ที่พอใจในลำดับรองหรือลำดับท้ายๆก็ตาม แต่ระบบนี้ก็ทำให้ผู้สนับสนุนพรรคเล็กๆมีความยากลำบากมากขึ้นที่จะได้ผู้แทน ที่ตนพอใจ ด้วยเหตุนี้คณะกรรมการเจนกิ้นส์จึงเสนอให้ใช้ผสมกับระบบบัญชีรายชื่อ (AMD) แบบเปิด— ข้อมูลจาก http://guru.sanook.com/pedia/topic/ระบบเลือกตั้ง/—
กระแสโหวตโนในอังกฤษมาแรงมาก มีการรณรงค์อย่างแพร่หลาย และมีเว็ปไซต์ด้วย สามารถแวะไปดูได้ที่ http://www.no2av.org/
และผลการโหวตในอังกฤษก็ออกมาแล้ว คือ Vote No ชนะ ที่ 67.9% ส่วน Vote Yes ได้ไป 32.1%
http://www.bbc.co.uk/news/uk-politics-13297573
หมายเหตุ – ต้องเป็นที่เข้าใจด้วยว่า การ vote no นั้นไม่ว่าจะที่ไหน ประเทศใดในโลก ร้อยทั้งร้อย จะมีช่องกาอยู่เพียงช่องเดียว ไม่มีการลงในรายละเอียด เช่น ไม่เห็นด้วยกับอะไร? ผู้สมัคร? พรรค? วิธีการ? ต่างๆเหล่านี้ไม่มีระบุไว้ แต่ก่อนจะถึงวันเลือกตั้ง ผู้มีสิทธิ์จะเป็นฝ่ายรณรงค์กันในเรื่องที่ผู้คนไม่เห็นด้วยกันเอง โดยภาคประชาชนเองเป็นสำคัญ จึงไม่ต่างกับพวกเราในครั้งที่ ที่ก็รู้จุดประสงค์กัน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น