สำนักข่าวBBCเคยลงรายงานข่าววิกฤตการณ์ทางการเมืองไทยว่า คือการต่อสู้ขัดแย้งทางชนชั้น ระหว่างคนที่ยากจนในเขตชนบท กับคนที่ร่ำรวยในกรุงเทพฯ ระหว่างคนที่ได้รับผลประโยชน์และสิทธิของความเป็นมนุษย์จากนโยบายของรัฐบาล ทักษิณ กับบรรดาอภิชนที่เสียผลประโยชน์ สื่อมวลชนต่างประเทศหลายสำนักก็ต่างนำเสนอเรื่องนี้
แต่ไม่มีใครตอก ย้ำได้ดีเท่าสมาชิกอาวุโสของพรรคประชาธิปัตย์ ดร.เจริญ คันธวงศ์ ที่บอกกับสำนักข่าวต่างประเทศว่า รัฐบาลประชาธิปัตย์ ไม่ได้กังวลนักกับการที่คนในเขตภาคอีสานเป็นฐานพลังมวลชนไพศาลให้แก่อดีต นายกฯทักษิณ และเป็นคนกลุ่มเสื้อแดงที่จะต่อต้านรัฐบาล โดยการนำของนายวีระ มุสิกพงษ์
"คนในภาคอีสานก็เป็นเพียงแรงงานให้กับคนกรุงเทพฯ คนรับใช้ในบ้านผมก็มาจากภาคอีสาน เด็กปั๊มน้ำมันที่มาให้บริการแก่คนกรุงก็มาจากอีสานทั้งนั้น"ดร.เจริญกล่าว
แม้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์อาศัยโอกาสที่เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี กล่าวจีบคนอีสานให้หันกลับมาสนับสนุน ผ่านนิยายเรื่องแหวนหมั้นยายเนียม เพื่อสมานแผลที่ร้าวลึกคาใจกับคนภูมิภาคนี้ กลบเรื่องราวขุ่นข้องหมองใจที่คนอีสานโกรธแค้นรัฐบาลประชาธิปัตย์สมัยนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ปล่อยหมากัดม็อบ ซึ่งคนอีสานถือมากว่าเหยียดหยาม แต่คำพูดของดร.เจริญอาจทำให้ขยายแผลที่กำลังจะสมานได้ลงเสียแล้ว
หนังสือ พิมพ์สเตรทไทมส์ โดย Nirmal Ghosh เขียนบทวิจารณ์ “How long can the new Thai govt last?” รัฐบาลใหม่ของไทยจะอยู่ได้นานแค่ไหน) เผยแพร่เมื่อวันที่ 16 ธ.ค. เนื้อหาส่วนหนึ่งกล่าวถึง ดร.เจริญ คันธวงศ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งไม่กี่นาทีหลังจากที่อภิสิทธิ์ได้รับการลงมติในสภาเมื่อวันที่ 16 ธ.ค. ดร.เจริญ คันธวงศ์ ได้บอกกับผู้สื่อข่าวจากสเตรทไทม์ว่าพรรคประชาธิปัตย์ต้องให้ความสำคัญกับ สองสิ่ง คือ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่อยู่ในภาวะตกต่ำ และเยียวยาความแตกแยกอย่างรุนแรงในชาติ
แต่เขาไม่กังวลเกี่ยวกับความ นิยมทางการเมืองที่แบ่งแยกออกเป็นภูมิภาค ที่กรุงเทพฯ และภาคใต้เป็นฐานเสียงสำคัญของพรรคประชาธิปัตย์ ขณะที่ภูมิภาคที่มีประชากรหนาแน่นอย่างภาคเหนือและภาคอีสานเป็นฐานเสียงของ พรรคเพื่อไทย
“คุณรู้ไหม, คนจากภาคอีสานเป็นลูกจ้างให้คนในกรุงเทพฯ คนรับใช้ของผมมาจากภาคอีสาน ลูกจ้างปั๊มน้ำมันในกรุงเทพฯ ก็มาจากภาคอีสาน” นายเจริญกล่าว
ทั้ง นี้คำพูดของนายเจริญ ถูกอ้างถึงอีกครั้งในดิการ์เดียนของอังกฤษ เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. ในบทวิเคราะห์ที่ชื่อ “Class war behind Thai colour clash” รายงานโดย Bill Condie ผู้สื่อข่าวเดอะการ์เดียนในกรุงเทพฯ
สำหรับ ดร.เจริญ คันธวงศ์ เกิด เมื่อวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2476 เป็นบุตรของนายคำมูลและนางน้อย คันธวงศ์ สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมปลายจากโรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก ปริญญาตรีจากคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เกียรตินิยมอันดับ 2) ปริญญาโท ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และปริญญาเอก การบริหารอุดมศึกษา จากมหาวิทยาลัยซีราคิวส์ สหรัฐอเมริกา
ดร.เจริญ เคยเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 2516 เคยเป็น ส.ส. หลายสมัยในการเลือกตั้งปี 2518, 2519, 2529, 2531, 2535/2, 2538, 2539, 2548 (บัญชีรายชื่อ), 2550 (บัญชีรายชื่อ) โดยสอบตก 2 ครั้งในปี 2535 ที่กระแสพรรคพลังธรรมมาแรง และปี 2544 ที่พรรคไทยรักไทยมาแรง
ดร.เจริญ เคยเป็นเลขานุการ รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีปี 2519 เคยเป็นรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีปี 2523-2526 เคยเป็น รมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ปี 2531-2533 เคยเป็น รมว.กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม 2533 และเป็น รมช.กระทรวงศึกษาธิการในปี 2538
ปัจจุบันเป็น ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อกลุ่ม 6 ของพรรคประชาธิปัตย์ มีรายชื่อในบัญชีเป็นอันดับ 2 ต่อท้ายนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นอก จากนี้ยังเป็นที่ปรึกษาอาวุโส บริษัทติลลิกี แอนด์ กิบบินส์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งแรกในประเทศไทย คือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ในปี พ.ศ. 2505 โดยดำรงตำแหน่งเป็นอธิการบดีคนแรกด้วยวัยเพียง 29 ปี ปัจจุบัน ทางมหาวิทยาลัยกรุงเทพได้เรียนเชิญให้เป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัยกรุงเทพ และยกย่องให้เป็น อธิการบดีกิตติคุณก่อตั้ง หรือ Emeritus (อีกทั้งยังมี “อาคาร ดร.เจริญ คันธวงศ์” เพื่อเป็นการรำลึกถึงที่วิทยาเขตกล้วยน้ำไทย
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
รีโมท
ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น