(ภาพโดยขบวนการเสรีไทยเว็บบอร์ด)
ผู้ สื่อข่าว มติชนออนไลน์ รายงานว่า วันนี้ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตราชเทวี และเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๔ มีผลบังคับใช้
ทั้งนี้ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ได้ทำการสำรวจเขตที่ดินเพื่อเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณ ที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตราชเทวี และเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๐ เพื่อสร้างทางพิเศษสายแจ้งวัฒนะ – บางโคล่ ยังไม่แล้วเสร็จ
สมควรกำหนด เขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตราชเทวี และเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เพื่อให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำ การสำรวจและเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ อสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนที่แน่นอน จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
บทบัญญัติและ มาตราสำคัญ มีดังนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตราชเทวี และเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๔”
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เป็นต้นไป
มาตรา ๓ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับได้มีกำหนดสี่ปี
มาตรา ๔ ที่ดินที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ในการสร้างทางพิเศษ สายแจ้งวัฒนะ – บางโคล่
มาตรา ๕ ให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตาม พระราชกฤษฎีกานี้
มาตรา ๖ เขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกานี้ อยู่ในท้องที่เขตราชเทวีและเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร มีส่วนแคบที่สุดสามร้อยห้าสิบเมตร และส่วนกว้างที่สุดหกร้อยเมตร ทั้งนี้ ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกานี้
มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี
ประกาศในราชกิจานุเบกษา (คลิก)
เรืองเดิม
อ้างมา
ทางด่วนเวนคืนที่ดินกลางกรุง ราชเทวี-ปทุมวัน ชุมชนบ้านครัวโดนด้วย
การ ทางพิเศษแห่งประเทศไทยรับ ผิดชอบการเวนคืนที่ดินบริเวณเขตราชเทวี และเขตปทุมวัน กรุงเทพฯ สร้างทางด่วยสายแจ้งวัฒนะ- บางโคล่ เริ่มตั้งแต่ 1 ม.ค.นี้ ผ่านซอยพญานาคซึ่งเป็นที่ตั้งของชุมชนบ้านครัวผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2551 กำหนดเขตที่ดินบริเวณที่จะเวนคืนในท้องที่เขตราชเทวี และเขตปทุมวัน กรุงเทพฯ เพื่อสร้างทางการพิเศษสายแจ้งวัฒนะ-บางโคล่ มีผลเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 ใช้บังคับนาน 4 ปี โดยให้ผู้ว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน มีส่วนที่แคบที่สุดสามร้อยห้าสิบเมตรและส่วนที่กว้างที่สุดหกร้อยเมตร โดยพื้นที่ที่ถูกเวนคืนเริ่มตั้งแต่ ถ.พระราม 6 ตัดตรงผ่านซ.พญานาค ทะลุถ.ราชปรารภบรรจบทางพิเศษเฉลิมมหา นคร บริเวณถนนเพลินจิตตัดกับถนนวิทยุสำหรับ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ เนื่องจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทยไห้ทํา การสำรวจเขตที่ดินเพื่อเวนคืนตามพ.ร.ก. กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตราชเทวีและเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2546 เพื่อสร้างทางพิเศษสายแจ้งวัฒนะ- บางโคล่ ยังไม่แล้วเสร็จ สมควรกำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตราชเทวีและเขต ปทุมวัน กรุงเทพฯ เพื่อให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับ มอบหมายจากเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทําการสำรวจเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยว กับอสังหาริมทรัพย์จะต้องเวนคืนที่แน่นอน จึงจำเป็นต้องตราพ.ร.ก.นี้
รายงาน ข่าวว่าการเวนคืนที่ดินสร้างทางพิเศษยังครอบคลุมพื้นที่ชุมชนบ้านครัว ซึ่งเคยมีกรณีพิพาทกันตั้งแต่สมัย พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อปี พ.ศ. 2536 โดยในสมัย นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ปี 2539 ได้มีการจัดทํา ประชาพิจารณ์ เนื่องจากเกิดความขัดแย้งระหว่างหน่วยงาน ของรัฐกับประชาชนชุมชนบ้านครัว อันเนื่องมาจากโครงการทางด่วนแยกอุรุพงษ์ - ราชดำริ ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย โดยชาวชุมชนบ้านครัวได้ร่วมกับชุมชนเพื่อนบ้านใกล้เคียงต่อสู้คัดค้าน โครงการดังกล่าวมานานกว่า 16 ปีตั้งแต่สมัยที่ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยซึ่งรับผิดชอบการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ให้ใช้มาตรการดังกล่าวเพื่อพิจารณาถึงความสมประโยชน์และความจำเป็นของ โครงการ เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2536 โดยเรียกร้องให้ตั้งคณะกรรมการที่เป็นกลางขึ้นชุดหนึ่ง ทําหน้าที่ดำเนินการไต่สวนหา ข้อเท็จจริง และให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยประกาศชี้แจงแผนงาน เอกสารข้อเท็จจริง พร้อมทั้งขอมีส่วนร่วมในการไต่ถามและเสนอพยานหลักฐานและข้อมูลโต้แย้ง ตลอดจนให้การดำเนินการดังกล่าวกระทํา โดยเปิดเผยต่อสาธารณชน และเสนอผลให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยหรือรัฐบาลตัดสินชี้ขาดอีกครั้ง โดยไม่ผูกพันตามความคิดเห็นของฝ่ายใด แต่ให้ชี้แจงเหตุผลอย่างชัดเจนและครบถ้วน
หลังจากนั้น พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ได้มีคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 243/2536 ลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2536 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาประโยชน์ของถนนรวมและกระจายการจราจรต่อระบบทาง ด่วนขั้นที่ 2 ขึ้น โดยคณะกรรมการชุดนี้ประกอบด้วย27คณะกรรมการชุดนี้ได้ได้สรุปผลส่ง พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2536 โดยคณะกรรมการมีมติชี้ขาดว่า โครงการดังกล่าวไม่เป็นประโยชน์กับการจราจร และไม่เป็นประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังสร้างผลกระทบรุนแรงต่อชุมชนบ้านครัว โดยภาระที่เกิดจะตกแก่ชุมชนบ้านครัวมากจนไม่เป็นธรรม แต่เงื่อนไขของโครงการนี้คือ หากรัฐบาลตัดสินใจไม่สร้างจะต้องเจรจาขอแก้ไขสัญญากับบริษัททางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหา ชน) (BECL) ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนที่รัฐทํา สัญญาด้วยเสียก่อน จึงทําให้ฝ่ายการเมืองตัดสินใจใด ๆ ออกมา ในขณะที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยไม่ยอมรับความเห็นของคณะกรรมการ โดยอ้างว่าข้อมูลที่คณะกรรมการนำมาพิจารณาเป็นข้อมูลเก่าจากข้อขัดแย้งดัง กล่าวส่งผลให้ไม่สามารถหาข้อยุติในเรื่องดังกล่าวได้ ทําให้ต้องมีการรับ ฟังความคิดเห็นรอบที่ 2 คณะกรรมการได้ยืนยันในมติเดิมว่าควรยกเลิกโครงการ แต่คณะรัฐมนตรีกลับมีมติเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2538 ให้ก่อสร้างต่อไปได้ โดยเลี่ยงลงไปในคลองเพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด แม้ว่าการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนโดยวิธีประชาพิจารณ์ในครั้งนี้ รัฐบาลจะมีมติแย้งกับความเห็นของคณะกรรมการ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ได้มีการดำเนินการออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็น สาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการรับ ฟังความคิดเห็นของประชาชนโดยวิธีประชาพิจารณ์ ระเบียบฉบับนี้มีที่มาจากคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีนายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี ที่แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันพุธที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ได้แต่งตั้ง "คณะอนุกรรมการพิจารณาปรับ ปรุงบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง และวิธีปฏิบัติต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูปการเมือง"ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาและอนุมัติ หลักการร่างระเบียบดังกล่าว และมอบให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายโภคิน พลกุล) ร่วมกับเลขาธิการคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาในรายละเอียด ทั้งสองท่านได้พิจารณาร่างระเบียบและได้ปรับปรุงชื่อเสียใหม่เป็น "ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับ ฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ พ.ศ. …." หลังจากนั้นสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้นำเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาลงนาม และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 ระเบียบฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการรับฟังการแสดง ความคิดเห็นในปัญหา สำคัญของชาติที่มีข้อโต้เถียงหลายฝ่าย สำหรับ เป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจของรัฐในการดำเนินงาน อันมีผลกระทบต่อประชาชนและยังไม่มีข้อยุติ
การ ทางพิเศษแห่งประเทศไทยรับ ผิดชอบการเวนคืนที่ดินบริเวณเขตราชเทวี และเขตปทุมวัน กรุงเทพฯ สร้างทางด่วยสายแจ้งวัฒนะ- บางโคล่ เริ่มตั้งแต่ 1 ม.ค.นี้ ผ่านซอยพญานาคซึ่งเป็นที่ตั้งของชุมชนบ้านครัวผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีการประกาศพระราชกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2551 กำหนดเขตที่ดินบริเวณที่จะเวนคืนในท้องที่เขตราชเทวี และเขตปทุมวัน กรุงเทพฯ เพื่อสร้างทางการพิเศษสายแจ้งวัฒนะ-บางโคล่ มีผลเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551 ใช้บังคับนาน 4 ปี โดยให้ผู้ว่าการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน มีส่วนที่แคบที่สุดสามร้อยห้าสิบเมตรและส่วนที่กว้างที่สุดหกร้อยเมตร โดยพื้นที่ที่ถูกเวนคืนเริ่มตั้งแต่ ถ.พระราม 6 ตัดตรงผ่านซ.พญานาค ทะลุถ.ราชปรารภบรรจบทางพิเศษเฉลิมมหา นคร บริเวณถนนเพลินจิตตัดกับถนนวิทยุสำหรับ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ เนื่องจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทยไห้ทํา การสำรวจเขตที่ดินเพื่อเวนคืนตามพ.ร.ก. กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตราชเทวีและเขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2546 เพื่อสร้างทางพิเศษสายแจ้งวัฒนะ- บางโคล่ ยังไม่แล้วเสร็จ สมควรกำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตราชเทวีและเขต ปทุมวัน กรุงเทพฯ เพื่อให้เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับ มอบหมายจากเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทําการสำรวจเพื่อทราบข้อเท็จจริงเกี่ยว กับอสังหาริมทรัพย์จะต้องเวนคืนที่แน่นอน จึงจำเป็นต้องตราพ.ร.ก.นี้
รายงาน ข่าวว่าการเวนคืนที่ดินสร้างทางพิเศษยังครอบคลุมพื้นที่ชุมชนบ้านครัว ซึ่งเคยมีกรณีพิพาทกันตั้งแต่สมัย พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรีเมื่อปี พ.ศ. 2536 โดยในสมัย นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี ปี 2539 ได้มีการจัดทํา ประชาพิจารณ์ เนื่องจากเกิดความขัดแย้งระหว่างหน่วยงาน ของรัฐกับประชาชนชุมชนบ้านครัว อันเนื่องมาจากโครงการทางด่วนแยกอุรุพงษ์ - ราชดำริ ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย โดยชาวชุมชนบ้านครัวได้ร่วมกับชุมชนเพื่อนบ้านใกล้เคียงต่อสู้คัดค้าน โครงการดังกล่าวมานานกว่า 16 ปีตั้งแต่สมัยที่ พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยซึ่งรับผิดชอบการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ให้ใช้มาตรการดังกล่าวเพื่อพิจารณาถึงความสมประโยชน์และความจำเป็นของ โครงการ เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2536 โดยเรียกร้องให้ตั้งคณะกรรมการที่เป็นกลางขึ้นชุดหนึ่ง ทําหน้าที่ดำเนินการไต่สวนหา ข้อเท็จจริง และให้การทางพิเศษแห่งประเทศไทยประกาศชี้แจงแผนงาน เอกสารข้อเท็จจริง พร้อมทั้งขอมีส่วนร่วมในการไต่ถามและเสนอพยานหลักฐานและข้อมูลโต้แย้ง ตลอดจนให้การดำเนินการดังกล่าวกระทํา โดยเปิดเผยต่อสาธารณชน และเสนอผลให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยหรือรัฐบาลตัดสินชี้ขาดอีกครั้ง โดยไม่ผูกพันตามความคิดเห็นของฝ่ายใด แต่ให้ชี้แจงเหตุผลอย่างชัดเจนและครบถ้วน
หลังจากนั้น พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ได้มีคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 243/2536 ลงวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2536 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาประโยชน์ของถนนรวมและกระจายการจราจรต่อระบบทาง ด่วนขั้นที่ 2 ขึ้น โดยคณะกรรมการชุดนี้ประกอบด้วย27คณะกรรมการชุดนี้ได้ได้สรุปผลส่ง พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เมื่อวันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2536 โดยคณะกรรมการมีมติชี้ขาดว่า โครงการดังกล่าวไม่เป็นประโยชน์กับการจราจร และไม่เป็นประโยชน์ในทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ยังสร้างผลกระทบรุนแรงต่อชุมชนบ้านครัว โดยภาระที่เกิดจะตกแก่ชุมชนบ้านครัวมากจนไม่เป็นธรรม แต่เงื่อนไขของโครงการนี้คือ หากรัฐบาลตัดสินใจไม่สร้างจะต้องเจรจาขอแก้ไขสัญญากับบริษัททางด่วนกรุงเทพ จำกัด (มหา ชน) (BECL) ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนที่รัฐทํา สัญญาด้วยเสียก่อน จึงทําให้ฝ่ายการเมืองตัดสินใจใด ๆ ออกมา ในขณะที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทยไม่ยอมรับความเห็นของคณะกรรมการ โดยอ้างว่าข้อมูลที่คณะกรรมการนำมาพิจารณาเป็นข้อมูลเก่าจากข้อขัดแย้งดัง กล่าวส่งผลให้ไม่สามารถหาข้อยุติในเรื่องดังกล่าวได้ ทําให้ต้องมีการรับ ฟังความคิดเห็นรอบที่ 2 คณะกรรมการได้ยืนยันในมติเดิมว่าควรยกเลิกโครงการ แต่คณะรัฐมนตรีกลับมีมติเมื่อวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2538 ให้ก่อสร้างต่อไปได้ โดยเลี่ยงลงไปในคลองเพื่อให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด แม้ว่าการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนโดยวิธีประชาพิจารณ์ในครั้งนี้ รัฐบาลจะมีมติแย้งกับความเห็นของคณะกรรมการ
ต่อมาในปี พ.ศ. 2539 ได้มีการดำเนินการออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็น สาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ขึ้น เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการรับ ฟังความคิดเห็นของประชาชนโดยวิธีประชาพิจารณ์ ระเบียบฉบับนี้มีที่มาจากคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีนายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรี ที่แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันพุธที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2538 ได้แต่งตั้ง "คณะอนุกรรมการพิจารณาปรับ ปรุงบทบัญญัติรัฐธรรมนูญ กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ คำสั่ง และวิธีปฏิบัติต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิรูปการเมือง"ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาและอนุมัติ หลักการร่างระเบียบดังกล่าว และมอบให้รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายโภคิน พลกุล) ร่วมกับเลขาธิการคณะรัฐมนตรีตรวจพิจารณาในรายละเอียด ทั้งสองท่านได้พิจารณาร่างระเบียบและได้ปรับปรุงชื่อเสียใหม่เป็น "ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับ ฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์ พ.ศ. …." หลังจากนั้นสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้นำเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาลงนาม และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 โดยมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2539 ระเบียบฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการรับฟังการแสดง ความคิดเห็นในปัญหา สำคัญของชาติที่มีข้อโต้เถียงหลายฝ่าย สำหรับ เป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจของรัฐในการดำเนินงาน อันมีผลกระทบต่อประชาชนและยังไม่มีข้อยุติ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น