บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพุธที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2555

คัดค้านการแก้ 112



วันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๕
ข้อเสนอ สืบเนื่องจากการแถลงเปิดตัวคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา ๑๑๒ (ครก.๑๑๒) เมื่อวันที่ ๑๕ มกราคม พ.ศ.๒๕๕๕ ที่ผ่านมา ซึ่งได้ดำเนินการรวบรวมรายชื่อประชาชนเพื่อเข้าชื่อเสนอร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ …) พ.ศ. …. ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๑๒ ตามข้อเสนอคณะนิติราษฎร์ มี ๗ ประเด็น ตามที่ปรากฏในเอกสารสรุปสาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติฯ ที่ได้ทำการเผยแพร่ ได้แก่
๑. ให้ยกเลิกมาตรา ๑๑๒ ออกจากลักษณะว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของราชอาณาจักร
๒. เพิ่มหมวดลักษณะความผิดเกี่ยวกับพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และเกียรติยศผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
๓. แบ่งแยกการคุ้มครองสำหรับตำแหน่งพระมหากษัตริย์ออกเป็นคนละมาตรากับการคุ้มครองสำหรับตำแหน่งพระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
๔. ปรับเปลี่ยนอัตราโทษ โดยไม่มีอัตราโทษขั้นต่ำ แต่กำหนดเพดานโทษสูงสุดจำคุกไม่เกินสามปีสำหรับการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ และไม่เกินสองปีสำหรับ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
๕. เพิ่มเหตุยกเว้นความผิด กรณีแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต
๖. เพิ่มเหตุยกเว้นโทษ กรณีข้อความที่กล่าวหานั้นได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นความจริง และการพิสูจน์นั้นเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ และ
๗. ห้ามบุคคลทั่วไปกล่าวโทษผู้ที่ทำความผิด ให้สำนักราชเลขาธิการมีอำนาจเป็นผู้กล่าวโทษเท่านั้น แทนพระองค์
ด้วยความเคารพต่อเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคลและสื่อมวลชน เสรีภาพในทางวิชาการ และสิทธิในการเข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภาเพื่อให้รัฐสภาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติตามที่กำหนดในหมวด ๓ และหมวด ๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ คณาจารย์ที่มีรายนามข้างท้ายจดหมายเปิดผนึกนี้ได้ทำการศึกษาบันทึกหลักการและเหตุผลประกอบร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ …) พ.ศ. …. และเนื้อหาของร่างพระราชบัญญัติที่จัดทำขึ้นโดยคณะนิติราษฎร์ โดยละเอียดแล้วประกอบกับได้ติดตามการเคลื่อนไหวที่ดำเนินการมาโดยตลอดของคณะบุคคล กลุ่มองค์กรต่างๆที่เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่อสังคมอย่างต่อเนื่องเพื่อให้มีการยกเลิก แก้ไข ประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๒ ซึ่งรู้จักกันทั่วไปว่าเป็นบทบัญญัติว่าด้วย “ ความผิดฐานหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” นั้น
คณาจารย์ที่มีรายนามท้ายจดหมายเปิดผนึกนี้มีความไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งต่อเนื้อหาสาระของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวที่จัดทำขึ้นโดยคณะนิติราษฎร์ ตลอดจนเหตุผลที่ใช้อธิบายสนับสนุน และการเคลื่อนไหวรณรงค์ให้มีการแก้ไขกฎหมายมาตราดังกล่าว อีกทั้งยังเล็งเห็นว่าการดำเนินการของคณะรณรงค์แก้ไข ม.๑๑๒ และคณะนิติราษฎร์จะเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความขัดแย้งรุนแรงมากยิ่งขึ้นในสังคมไทยนับจากนี้
อีกทั้งเป็นการไม่เหมาะสม ที่นำประเด็นการแก้ไขมาตรา๑๑๒ไปเชื่อมโยงกับประเด็นทางการเมืองโดยกล่าวโทษรุนแรงว่าตัวบทบัญญัตินี้มีปัญหาและเป็นอุปสรรคต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอย่างร้ายแรง และริดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการแสดงออกซึ่งความคิดความเห็น โดยกล่าวอ้างเหตุผลถึงสถิติผู้ถูกจับกุมและต้องโทษด้วยมาตรา ๑๑๒ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วหลังการรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ เป็นต้นมา และข้อวิจารณ์ของต่างประเทศและองค์กรระหว่างประเทศที่ไม่ได้มีความเข้าใจอย่างถูกต้องและลึกซึ้งถึงความแตกต่างในบริบทประวัติศาสตร์ความเป็นมาของชาติไทย รวมถึงข้อเท็จจริงของสถานการณ์การเมืองภายในประเทศและยังได้เผยแพร่ข้อมูลข้อเท็จจริงที่ไม่ครบถ้วนต่อสังคมทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่ามาตรา ๑๑๒ เป็นข้อความหลวมๆ เปิดช่องให้บุคคลนำไปใช้โดยไม่สุจริต และไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย อีกทั้งโครงสร้างของบทบัญญัติ อัตราโทษและการบังคับใช้ มีความไม่เหมาะสมกับหลักการประชาธิปไตย โดยสรุปมาเป็นเอกสารเผยแพร่ใช้ชื่อ ๘ อัปลักษณ์ กฎหมายหมิ่นฯและทางออก ได้แก่
๑.คุ้มครองยิ่งกว่ารัฐธรรมนูญ
๒ .เกิดใต้อุ้งเท้าเผด็จการ
๓.ใครๆก็ฟ้องได้
๔.ห้ามพิสูจน์ความจริง
๕.โทษที่ไม่เป็นธรรม
๖.กระบวนการอยุติธรรม
๗.พิจารณาลับ
๘.อุดมการณ์กษัตริย์นิยม
ซึ่งหากพิจารณาด้วยเหตุผลตามหลักวิชาการและความเป็นจริงก็หาได้เป็นเช่นนั้นไม่ เพราะเป็นการใช้เหตุผลมาอธิบายสนับสนุนความคิดของฝ่ายตนโดยละเลยที่จะพูดถึงความเป็นจริงทั้งหมดให้สังคมได้ทราบข้อมูลอย่างถูกต้องรอบด้าน
ทั้งนี้ข้อเสนอการแก้ไขมาตรา ๑๑๒ ที่เกิดขึ้นของคณะรณรงค์แก้ไขม.๑๑๒ และคณะนิติราษฎร์นี้ไม่ได้เป็นกฎหมายที่จะช่วยรักษาความมั่นคงของสถาบันพระมหากษัตริย์ กับการสร้างหลักประกันให้กับสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตยอย่างใดตามที่กล่าวอ้าง แต่จะเป็นการสั่นคลอนสถาบันพระมหากษัตริย์ กระทบต่อความมั่นคงของประเทศชาติในฐานะที่เป็นสถาบันหลัก กระทบต่อหลักนิติรัฐ ทำลายหลักกฎหมายพื้นฐานที่บัญญัติไว้อย่างเป็นระบบในประมวลกฎหมายอาญาไทย สร้างความเข้าใจที่ผิดเรื่องการใช้สิทธิเสรีภาพของประชาชนในการแสดงออกซึ่งความคิดความเห็นของบุคคลและสื่อมวลชนจนละเลยต่อข้อจำกัดที่มีการบัญญัติรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและข้อยกเว้นในการแสดงออกซึ่งเสรีภาพที่ไปกระทบต่อความมั่นคงของรัฐซึ่งนานาอารยประเทศต่างก็ยอมรับเป็นหลักการสากล
ประการสำคัญที่สุดท่าทีการแสดงออกของกลุ่มบุคคลที่ออกมาเคลื่อนไหวนี้ ได้ใช้เหตุผลที่เป็นอคติต่อการรัฐประหารเมื่อวันที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ มาเชื่อมโยงกับสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นมิจฉาทิฐิที่มีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ กล่าวอ้างกฎหมายต่างประเทศว่าเป็นมาตรฐานสากลในลักษณะเหมารวมว่ามาตรา๑๑๒ ควรเป็นไปตามแนวทางดังกล่าว และแสดงออกถึงการไม่เคารพเชื่อมั่นในหลักประกันความเป็นอิสระขององค์กรตุลาการและกระบวนการยุติธรรมไทยทั้งๆที่มีกฎหมายบัญญัติคุ้มครองไว้อย่างชัดเจน โดยแสดงทัศนะว่าองค์กรที่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายมีแนวโน้มตีความบทบัญญัติดังกล่าวไปในลักษณะที่กว้างและไม่สอดคล้องกับอุดมการณ์ประชาธิปไตยที่พระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ โดยปราศจากพยานหลักฐานยืนยัน
สำหรับเหตุผลของเหล่าคณาจารย์ที่ไม่เห็นด้วยต่อข้อเสนอของคณะรณงค์แก้ไขม.๑๑๒ และคณะนิติราษฎร์ต่อร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ …) พ.ศ. …. ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา ๑๑๒ มีดังนี้
๑.การยกเลิกมาตรา ๑๑๒ ออกจากลักษณะ๑ ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของราชอาณาจักร โดยนำไปเพิ่มเป็นลักษณะความผิดเกี่ยวกับพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และเกียรติยศของผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์นั้นเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้ เพราะเหตุที่เมื่อพิจารณาถึงโครงสร้างของประมวลกฎหมายอาญา และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แล้ว ความผิดมาตรา ๑๑๒ ถือเป็นส่วนหนึ่งของความผิดต่อสถาบันกษัตริย์ที่เป็นประมุขของประเทศไทยซึ่งได้รับการคุ้มครองครอบคลุมตั้งแต่การกระทำต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพและชื่อเสียง เกียรติภูมิของบุคคลที่เป็นสัญลักษณ์ของสถาบันกษัตริย์ ในหมวด ๑ ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาทและผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตั้งแต่มาตรา ๑๐๗ ถึงมาตรา ๑๑๒
ดังนั้นข้อเสนอให้มีการแก้ไขโดยดึงเฉพาะแต่ส่วนมาตรา ๑๑๒ ออกไปจากความผิดที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรจึงไม่สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผลทางกฎหมายว่าเพราะเหตุใด ชื่อเสียง เกียรติภูมิของสถาบันพระมหากษัตริย์จึงไม่ได้เป็นเรื่องสำคัญที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของราชอาณาจักรไทย ทั้งๆที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติไว้อย่างชัดเจนในหลายมาตราต้นๆ ของรัฐธรรมนูญที่แสดงให้เห็นถึงการให้ความสำคัญต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ ได้แก่

มาตรา ๒ ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
มาตรา ๘ องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้
ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆมิได้
มาตรา ๗๐ บุคคลมีหน้าที่พิทักษ์ รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตามรัฐธรรมนูญนี้
มาตรา ๗๗ ในส่วนที่ ๒ แนวนโยบายด้านความมั่นคงของรัฐ บัญญัติไว้อย่างชัดเจนว่า รัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระ มหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตย และบูรณภาพแห่งเขตอำนาจรัฐ และต้องจัดให้มีกำลังทหาร อาวุธยุโธปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย จำเป็น และเพียงพอ เพื่อพิทักษ์รักษาเอกราช อธิปไตย ความมั่นคงของรัฐ สถาบันพระมหากษัตริย์ ผลประโยชน์แห่งชาติ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเพื่อการพัฒนาประเทศ

นอกจากนี้ยังมีบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยเกี่ยวกับการถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ของรัฐมนตรี ผู้พิพากษาและตุลาการต่อพระมหากษัตริย์ด้วยถ้อยคำที่ต้องกล่าวถึงความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ในมาตรา ๑๗๕ และมาตรา ๒๐๑ ดังนี้

มาตรา ๑๗๕ ก่อนเข้ารับหน้าที่ รัฐมนตรีต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ด้วยถ้อยคำ ดังต่อไปนี้

“ข้าพระพุทธเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ”

มาตรา ๒๐๑ ก่อนเข้ารับหน้าที่ ผู้พิพากษาและตุลาการต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ด้วยถ้อยคำ ดังต่อไปนี้

“ข้าพระพุทธเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ และจะปฏิบัติหน้าที่ในพระปรมาภิไธยด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โดยปราศจากอคติทั้งปวง เพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่ประชาชน และความสงบสุขแห่งราชอาณาจักร ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและกฎหมายทุกประการ”

๒.สืบเนื่องจากเหตุผลในข้อที่ ๑ ที่ได้ชี้แจงถึงการไม่สามารถแยกเฉพาะเพียงมาตรา ๑๑๒ ออกมาเป็นลักษณะความผิดเฉพาะต่างหากได้ เพราะเป็นส่วนหนึ่งของการคุ้มครองในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสถาบันประมุขของรัฐที่มีความสำคัญ ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การกระทำต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพและชื่อเสียง เกียรติภูมิ ดังนั้นการเพิ่มหมวดลักษณะความผิดเกี่ยวกับพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และเกียรติยศผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ตามข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์นั้นจึงไม่สามารถทำได้โดยมีเหตุผลที่รองรับตามหลักวิชาการที่หนักแน่เพียงพอ

นอกจากนี้เมื่อพิจารณาประกอบกับข้อเสนอเกี่ยวกับการกำหนดโทษใหม่โดยเทียบเท่ากับการหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดา จึงแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าคณะนิติราษฎร์ไม่ประสงค์ให้มีการคุ้มครองสถาบันพระมหากษัตริย์ในฐานะที่เป็นบุคคลที่มีสถานะพิเศษ และสะท้อนถึงความคิดที่ไม่เห็นว่าชื่อเสียงเกียรติภูมิของสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นเรื่องเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ ซึ่งผิดหลักการพื้นฐานทางกฎหมายที่ย่อมจะต้องคำนึงถึงลักษณะเฉพาะของความแตกต่างแต่ละเรื่องและ คุณธรรมทางกฎหมายที่มุ่งคุ้มครองในเรื่องนั้นๆ ว่าสิ่งใดคือคุณค่าหลักที่ต้องปกป้องรักษาไว้

๓.ข้อเสนอการแบ่งแยกการคุ้มครองสำหรับตำแหน่งพระมหากษัตริย์ออกเป็นคนละมาตรากับการคุ้มครองสำหรับตำแหน่งพระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ นั้น ไม่มีความจำเป็นแต่ประการใดด้วยเหตุที่ ตำแหน่งพระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์นั้น ต่างก็ถือว่าเป็นบุคคลที่มีความสำคัญมีสถานะของบุคคลที่ประกอบเกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ที่เป็นประมุขของประเทศ การคุ้มครองใดที่มีต่อพระมหากษัตริย์ย่อมจะต้องครอบคลุมถึงบุคคลเหล่านี้ด้วย เช่นเดียวกับการที่ประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๓๓ ที่ยังอยู่ในลักษณะ ๑ ความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร หมวด ๔ ความผิดต่อสัมพันธ์ไมตรีกับต่างประเทศก็มีการบัญญัติคุ้มครองชื่อเสียง เกียรติยศของประมุขรัฐต่างประเทศทั้งที่เป็นพระมหากษัตริย์ ราชินี และรัชทายาท หรือประมุขแห่งรัฐต่างประเทศไว้คล้ายกับมาตรา ๑๑๒ ว่า
มาตรา ๑๓๓ ผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายราชาธิบดี ราชินี ราชสามี รัชทายาท หรือประมุขแห่งรัฐต่างประเทศ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงเจ็ดปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงหนึ่งหมื่นสี่พันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์จึงทำให้เกิดผลประหลาดในทางบังคับใช้ประมวลกฎหมายอาญาของไทยที่กลับกลายเป็นว่ามีการคุ้มครองประมุขรัฐต่างประเทศมากกว่าประมุขของประเทศไทยที่เป็นพระมหากษัตริย์ ทั้งๆที่ควรจะมีการคุ้มครองในระดับเดียวกันเพราะมีสถานะเป็นประมุขของรัฐเหมือนกัน และจะยิ่งไม่สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผลทางวิชาการว่าเพราะเหตุใดมาตรา ๑๑๒ จึงไม่ได้เป็นบทบัญญัติความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของราชอาณาจักร ขณะที่ความผิดในลักษณะเดียวกันที่กระทำต่อประมุขของรัฐต่างประเทศกลับเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของราชอาณาจักรได้

๔. การเสนอให้ปรับเปลี่ยนอัตราโทษ โดยไม่มีอัตราโทษขั้นต่ำ แต่กำหนดเพดานโทษสูงสุดจำคุกไม่เกินสามปีสำหรับการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ และไม่เกินสองปีสำหรับ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ โดยคณะนิติราษฎร์ได้ให้เห็นผลว่า อัตราโทษเดิมไม่เหมาะสมมีความรุนแรงเกินกว่าอัตราโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดฐานหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดา และตั้งข้อรังเกียจว่าเป็นมาตราที่เป็นผลพ่วงคณะรัฐประหารขาดความชอบธรรมทางประชาธิปไตย เป็นการเพิ่มอัตราโทษโดยอาศัยอำนาจคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ที่เกิดขึ้นหลังเหตุการณ์รัฐประหารวันที่ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ ตามคำสั่งฉบับที่ ๔๑ ลงวันที่ ๒๑ ตุลาคม ๒๕๑๙ ให้ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่สามปีถึงสิบห้าปี ซึ่งมากกว่าโทษสูงสุดในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ที่โทษสูงสุดเพียง ๓ ปี และไม่มีโทษขั้นต่ำนั้น

ในประเด็นนี้ก็เป็นข้อเสนอที่ไม่สอดคล้องเกี่ยวกับหลักการกำหนดอัตราโทษที่ควรเหมาะสมกับลักษณะความผิดที่มีความแตกต่างกัน เพราะ มาตรา๑๑๒ เป็นความผิดที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงของรัฐที่กระทำต่อบุคคลที่มีสถานะที่ได้รับการคุ้มครองเป็นพิเศษแตกต่างจากบุคคลธรรมดาเพราะพระมหากษัตริย์อยู่ในฐานะที่เป็นประมุขของประเทศและยังมีบุคคลที่เกี่ยวข้อง ที่ได้รับการคุ้มครองด้วย ดังนั้นโทษตามกฎหมายก็สมควรที่จะมีความหนักมากกว่า ขณะเดียวกันการกำหนดอัตราโทษไว้สูงก็ไม่ได้เป็นขัดต่อหลักการกำหนดโทษในทางอาญา เพราะการลงโทษเป็นการเสี่ยงภัยในอนาคต การกำหนดโทษรุนแรงสำหรับบางความผิดที่สำคัญ เพื่อคุ้มครองประโยชน์ส่วนร่วมก็มีส่วนทำให้บุคคลที่คิดจะกระทำความผิดบังเกิดความเกรงกลัวที่จะไม่กระทำผิดเพราะต้องชั่งน้ำหนักความเสี่ยงที่ตนจะได้รับ

ส่วนปัญหาที่มาของการเปลี่ยนแปลงบทบัญญัติมาตรา ๑๑๒ ที่มาจากคำสั่งของคณะรัฐประหาร ว่าไม่ชอบธรรมทางประชาธิปไตยนั้น ในทางวิชาการก็ต้องตั้งคำถามกลับไปยังคณะนิติราษฎร์ว่า เพราะเหตุใดจึงตั้งข้อรังเกียจเฉพาะกรณีมาตรา ๑๑๒ เท่านั้น
เพราะในอดีตที่ผ่านมาไม่เพียงประมวลกฎหมายอาญา ยังมีกฎหมายที่ใช้บังคับในประเทศไทยหลายฉบับซึ่งมีมาตราที่ได้รับการแก้ไขโดยคำสั่งหรือประกาศของคณะรัฐประหาร ปัญหาการมีผลใช้บังคับของคำสั่งคณะรัฐประหารในฐานะกฎหมายหรือไม่ เป็นเรื่องถกเถียงกันในทางวิชาการมีทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ในประเด็นของมาตรา ๑๑๒ หากมีการกล่าวอ้างปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญก็เป็นสิ่งที่คู่ความในคดีสามารถยกเป็นข้อต่อสู้ในชั้นศาลได้และศาลรัฐธรรมนูญก็จะเป็นผู้วินิจฉัยในที่สุด
ในประเด็นข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ในข้อ ๕ ที่เป็นการเสนอให้เพิ่มเหตุยกเว้นความ ผิด กรณีแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต ในความผิดที่บุคคลได้กระทำลง และข้อ ๖ การเสนอให้เพิ่มเหตุยกเว้นโทษ กรณีข้อความที่กล่าวหานั้นได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นความจริง และการพิสูจน์นั้นเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ก็เป็นข้อเสนอที่นำบทบัญญัติของประมวลกฎหมายอาญาในเรื่องเหตุยกเว้นความผิดและเหตุยกเว้นโทษในความผิดฐานหมิ่นประมาทบุคคลธรรมดาตามมาตรา ๓๒๙ มาตรา ๓๓๐ และมาตรา ๓๓๑ มาใช้กับกรณีของมาตรา ๑๑๒ ด้วย ซึ่งในทางวิชาการถือว่ามีปัญหาเพราะ ความผิดที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๑๑๒ ถือเป็นความผิดพิเศษบัญญัติไว้โดยคำนึงถึงฐานะของบุคคลที่ถูกกระทำต่อโดยเฉพาะ หากยินยอมให้มีเหตุยกเว้นความผิดหรือยกเว้นโทษได้ ก็จะทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ในฐานะประมุขของรัฐไม่ได้รับการปกป้องคุ้มครองเป็นพิเศษ ส่งผลให้มีสถานะไม่ต่างจากบุคคลธรรมดา อีกทั้งจะเกิดคำถามต่อไปถึงกรณีความผิดที่กระทำต่อประมุขของรัฐต่างประเทศซึ่งก็ไม่ได้มีการกำหนดเหตุยกเว้นความผิดหรือยกเว้นโทษไว้ด้วย ทำให้เกิดปัญหาความคุ้มกันตามกฎหมายที่ไม่เท่าเทียบกัน
สำหรับข้อเสนอประการสุดท้ายในข้อ ๗ เกี่ยวกับสิทธิในการเริ่มต้นดำเนินคดีตามมาตรา ๑๑๒ ที่ห้ามบุคคลทั่วไปกล่าวโทษผู้ที่ทำความผิด โดยให้สำนักราชเลขาธิการมีอำนาจเป็นผู้กล่าวโทษเท่านั้นแทนพระองค์ ในข้อเสนอนี้เป็นการดึงเอาสถาบันพระมหากษัตริย์ลงมายุ่งเกี่ยวกับปัญหาคดีความที่ไม่ว่าผลคดีจะออกมาอย่างไรย่อมกระทบต่อสถานะของพระองค์ที่เป็นที่เคารพสักการะ ปัญหาที่จะต้องพิจารณาต่อไปคือ ปัจจุบันสำนักราชเลขาธิการมิได้มีบทบาทอำนาจหน้าที่ซึ่งจะสามารถดำเนินการในเรื่องนี้ได้ การอ้างถึงกองนิติการที่อยู่ในสังกัดก็มีบทบาทเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานด้านกฎหมายและคดีความของหน่วยงาน ไม่ได้เป็นผู้ที่มีอำนาจกระทำการแทนองค์พระมหากษัตริย์ได้ และโดยแท้จริงลักษณะของความผิดที่เกิดขึ้นของมาตรา ๑๑๒ แม้จะเปิดโอกาสให้ใครก็ได้มาแจ้งความร้องทุกข์ แต่ถือเป็นความผิดอาญาแผ่นดินที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ตำรวจและพนักงานอัยการก็ย่อมจะต้องพิจารณาไปตามพยานหลักฐานว่าการกระทำนั้นครบองค์ประกอบของความผิดหรือไม่ จึงจะเสนอความเห็นที่จะสั่งฟ้องต่อศาลยุติธรรม ซึ่งเมื่อมาถึงชั้นศาลก็จะมีกระบวนการพิจารณาคดีที่มีหลักประกันความเป็นธรรมแก่จำเลยและความอิสระของศาล ที่จะอำนวยความยุติธรรมให้กับจำเลยได้ตามสิทธิที่กฎหมายคุ้มครองไว้
ข้อกล่าวหาว่ามีการไม่ให้สิทธิประกันตัวแก่จำเลยในคดีมาตรา ๑๑๒ จึงเป็นเรื่องที่ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงของแต่ละคดีที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งเป็นดุลพินิจของศาลที่ต้องพิจารณาตามพยานหลักฐานว่าการให้ประกันตัวสามารถอนุญาตได้หรือไม่ ส่วนในการพิจารณาคดีลับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาคดีอาญา มาตรา ๑๗๗ นั้นก็เป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้โดยชอบด้วยรัฐธรรมนูญมิได้ไปละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจนในคำวินิจฉัยที่ ๓๐/๒๕๕๔ กรณี ของดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ ดา ตอร์ปิโด ผู้ต้องขังคดีตามมาตรา ๑๑๒ ว่า
“ การพิจารณาคดีลับ มิได้หมายความว่าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะไมได้รับความเป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรม และมิได้จำกัดสิทธิของจำเลยในคดีอาญาแต่อย่างใด เพราะเมื่อมีการพิจารณาเป็นการลับ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๗๘ กำหนดให้มีบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณามีสิทธิอยู่ในห้องพิจารณาได้ อาทิเช่น โจทก์และทนายความโจทก์ จำเลยและทนายความของจำเลย ผู้ควบคุมตัวจำเลย พยานผู้เชี่ยวชาญ และล่าม เป็นต้น
จึงเห็นได้ว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๑๗๗ เป็นบทบัญญัติที่อูยู่ในขอบเขตแห่งการให้สิทธิพื้นฐานในกระบวนพิจารณาแก่บุคคลตามที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้ ถึงแม้จะมีผลเป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอยู่บ้าง แต่ก็เป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลเพียงเท่าที่จำเป็น มิได้กระทบเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิและเสรีภาพ อีกทั้งเป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ใช้บังคับเป็นการทั่วไป มิได้มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง จึงไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๙ และมาตรา ๔๐ (๒) ”

จากเหตุผลที่ได้นำเสนอข้างต้น จึงไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งต่อเนื้อหาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ …) พ.ศ. …. และการเคลื่อนไหวของคณะรณงค์แก้ไขม.๑๑๒ และคณะนิติราษฎร์ ที่มิได้นำเสนอความคิดที่แจ่มชัดมีเหตุผลสนับสนุนถูกต้องตามหลักวิชาการกฎหมายและความเป็นจริงให้กับสังคมและประชาชนทั่วไปได้รับรู้ แต่กลับสร้างข้อกล่าวหาว่ามาตรา๑๑๒เป็นปัญหากับการปกครองระบอบประชาธิปไตยขัดต่อหลักเสรีภาพ ซึ่งจะส่งผลกระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของประเทศ สร้างความขัดแย้งแตกแยกทางความคิดอย่างรุนแรงอีกครั้งในสังคมไทย
สมควรที่ประชาชนทุกหมู่เหล่าจะได้ตระหนักและสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องให้เกิดขึ้นไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของการปลุกระดมที่ใช้เป็นเครื่องมือต่อสู้ทางการเมืองเพื่อสั่นคลอนสถาบันพระมหากษัตริย์ที่เป็นรากฐานของประเทศ
Komsarn Pokong
  • www.bangkokbiznews.com







    ปอกเปลือก“นิติราษฎร์”รอยด่างนักวิชาการไทย
                                                                              พูลเดช กรรณิการ์
    เห็นความเคลื่อนไหวของนักวิชาการกลุ่มที่เรียกตัวเองว่า นิติราษฎร์ซึ่งล่าสุดจะรณรงค์ล่ารายชื่อประชาชนให้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 แล้วเศร้าใจและอนาถใจ
            คนเป็นปัญญาชน เป็นครูบาอาจารย์คน คิดอ่านทำเรื่อง ต่ำทั้ง ความคิดสติปัญญาและจิตใจแบบนี้ได้อย่างไร น่าจะละอายลูกศิษย์ หรือประชาชนคนธรรมดาที่ไม่ได้มีความรู้สูง แต่ไม่คิดทำเรื่องต่ำ และรู้ว่าอะไรเป็นสิ่งสูงค่า
            บ้านเมืองมีนักวิชาการแบบนี้ไง ถึงมีผลให้วุ่นวาย เละเทะ และถดถอยอยู่อย่างนี้
            ที แรกคิดว่านักวิชาการกลุ่มนี้คงจะยุติการเคลื่อนไหวในประเด็นเหล่านี้ไปแล้ว เพราะกระแสสังคมไม่เห็นด้วยและไม่เอาด้วย แม้แต่ทางพรรคเพื่อไทยหรือทางกลุ่ม นปช.ก็ประเมินสถานการณ์แล้วว่า ไม่เอาดีกว่า
            แต่ นักวิชาการกลุ่มนี้กลับยังหมกมุ่นอยู่กับประเด็นนี้ ไม่เคยลืมตาดูว่าสิ่งสูงค่าที่พวกตนกำลังดึงให้ต่ำลงมานั้นมีค่าแค่ไหนต่อ ชาติบ้านเมืองของเรา
            ไม่ อยากเชื่อว่าคนเป็นนักวิชาการเป็นปัญญาชนจะมีมิติคิดแค่นี้ คิดถึงคนหยิบมือเดียวที่ไม่รู้ว่าอะไรดีอะไรไม่ดี และออกมาสนับสนุนการกระทำของคนกลุ่มนี้ให้ทำชั่วทำผิดได้โดยไม่ผิด หรือทำความเสียหายต่อสถาบันสำคัญของบ้านเมืองได้ตามอำเภอใจ ขณะที่คนส่วนใหญ่ของประเทศไม่มีใครคิดทำผิดทำชั่วแบบนี้
            นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์จึงกำลังสนับสนุนให้คนไม่ดีในบ้านเมืองซึ่งมีอยู่น้อยนิด   สร้างความเสียหายให้กับบ้านเมือง  ซึ่งคนหมู่มากอาศัยอยู่อย่างเป็นสุขใต้ร่มพระบารมี  และ  สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
            มาก ไปกว่านั้น นักวิชาการกลุ่มนี้ยังไม่ลืมหูลืมตาหลุดพ้นจากทฤษฎีที่ฝังใจเชื่อมาจากตะวัน ตก ทั้งที่น่าจะมีสติปัญญาหรือความรู้เพียงพอว่าบ้านเมืองของเรามีระบบการ ปกครองที่แตกต่างจากประเทศที่ลอกความคิดเขามา มีประวัติศาสตร์ความเป็นมาที่แตกต่างกัน มีความผูกพันในความเป็นชาติเป็นประเทศที่แตกต่างกัน มีศูนย์รวมจิตใจของชาติที่แตกต่างกัน ฯลฯ
            ประเทศชาติเดินทางผิดมามากแล้วกับนักวิชาการประเภทที่ไม่มีปัญญาจะประยุกต์ความรู้แบบตะวันตกเข้ากับสภาพบ้านเมืองของเรา และกลุ่มนักวิชาการนิติราษฎร์ก็กำลังนำสิ่งผิดพลาดอย่างใหญ่หลวงมาสู่สถาบันหลักของบ้านเมืองเรา
            ดูเหมือนว่านักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์จะอับจนปัญญาในการหาประเด็นเคลื่อนไหวที่จะแสดงตัวเป็น นิติราษฎร์ทั้งที่มีเรื่องอื่นๆอีกมากมายบนแผ่นดินนี้ที่ประชาชนคนส่วนใหญ่ไม่ได้รับความยุติธรรมหรือความเป็นธรรมจากรัฐ หรือองค์กรของรัฐ
            ขณะที่ประเด็นของมาตรา 112 นั้นเกี่ยวข้องกับคนบ้าๆบอๆไม่กี่คนในประเทศนี้ที่ต้องการแสดงตัวว่าข้าแน่  กล้าที่จะชนกับสถาบัน  หรืออีกด้านหนึ่งก็เพื่อต้องการให้มีราคาค่าตัว
            คนเป็นนักวิชาการอย่าง นิติราษฎร์มีหรือจะมองสิ่งเหล่านี้ไม่ออก หรือมองไม่เห็นตัวเอง เว้นแต่จะทำเป็นมองไม่เห็น เพื่อสร้างกลุ่ม นิติราษฎร์ขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัวบางอย่างภายใต้การเคลือบผิวไว้กับวิชาการหรือทฤษฎี
            นัก วิชาการนั้นหากยึดมั่นในความดีและวิชาชีพ ย่อมเป็นพลังทางบวกที่มีคุณค่าต่อบ้านเมือง แต่หากไม่ยึดมั่นในคุณงามความดีใดๆ บ้านเมืองนั้นก็ย่ำแย่
            คน ส่วนใหญ่ในประเทศนี้เป็นคนดี รู้ว่าอะไรดีอะไรไม่ดี และมีสติปัญญาที่จะทำมาหากินโดยไม่ต้องไปทำเรื่องอัปมงคลกับชีวิต หรือเรื่องทำลายบ้านเมือง หรืออกตัญญูพระผู้มีพระคุณ
            แต่น่าเสียดายว่านักวิชาการกลุ่มหนึ่งซึ่งอวดอ้างว่ามีความรู้ กลับกำลังทำสิ่งที่สวนทางกับสิ่งที่คนส่วนใหญ่ในบ้านเมืองกระทำ
            กับความเคลื่อนไหวล่าสุดของ นิติราษฎร์ที่ประกาศว่าจะล่ารายชื่อประชาชนอย่างน้อย 1 หมื่นคน ภายในเวลา 112 วัน เพื่อนำเสนอร่างกฎหมายแก้ไขมาตรา 112 จึงเป็นเรื่องน่าเศร้าและน่าอนาถสำหรับคนไทยทุกคน
            โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาถึงสาระสำคัญที่นักวิชาการกลุ่มนี้ร่างขึ้นมาเพื่อแก้ไขมาตรา 112 อันได้แก่ ให้ยกเลิกมาตรา 112 ออกจากกฎหมายเกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ ให้เปลี่ยนบทลงโทษใหม่เป็นจำคุกไม่เกิน 3 ปีสำหรับการหมิ่นพระมหากษัตริย์ และไม่เกิน 2 ปีสำหรับการหมิ่นพระราชินี รัชทายาท โดยมีข้อยกเว้นว่าหากแสดงความเห็นโดยสุจริตถือว่าไม่ผิด   นอกจากนี้ยังกำหนดให้สำนักราชเลขาธิการเท่านั้นเป็นผู้กล่าวโทษ
            เพราะสิ่งเหล่านี้แสดงให้เห็นว่านักวิชาการกลุ่มนี้ยังพร้อมที่จะเสนอตัวเป็น ทหารเลวแถวหน้าโดยไม่กระดากอายต่อสถานะนักวิชาการแม้แต่น้อย และยังไม่ฟังกระแสสังคมทั้งกระแสอีกด้วย
    ขอขอบคุณ สยามรัฐ

  • 0 ความคิดเห็น:

    แสดงความคิดเห็น

    รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

    คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

    บทความย้อนหลัง