บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพฤหัสบดีที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2554

บันทึกเหตุการณ์ “คอร์รัปชั่น” ปี' 54



. เขียนโดย isranews หมวด isranews,



ในรอบปี 2554  ถือเป็นปีที่มีข่าวเด่น ประเด็นร้อน และเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการทุจริตคอร์รัปชั่นเกิดขึ้นมากมาย    "ศูนย์ข่าวสารนโยบายสาธารณะ" สรุปมาให้เห็นเด่นๆ ตลอดทั้งปี ดังนี้
 "โจรปล้นบ้านปลัดสุพจน์"
ดังเป็นพลุแตก เพราะน้ำยังไม่ลดตอผุดเสียแล้ว แซงหน้าหลายๆ ข่าว จองขึ้นหน้า 1 หนังสือพิมพ์หลายวันติด กลายเป็นซีรี่ย์เรื่องยาว โดยเมื่อค่ำวันที่ 12 พฤศจิกายน 2554 คนร้ายเข้าปล้นบ้านนายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม  ขณะเจ้าตัวไปร่วมงานแต่งงานลูกสาว
ที่คดีนี้มาแปลกแหวกแนว ก็คือ ผู้ต้องหาให้การกับตำรวจ เงินของกลางที่ปล้นมากว่า 18 ล้านบาทนั้น ได้จากบ้านปลัดสุพจน์ แต่เจ้าของบ้านแจ้งความ เงินหายแค่ 5 บ้านบาท จำนวนเงินจึงต่างกันถึง 13 ล้านบาท
และเป็นที่มาของการตั้งคณะกรรมการสอบวินัย กรณีถูกกล่าวหาร่ำรวยผิดปกติ จากนั้นคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) รับลูกสืบจากสายรัดเงิน และชี้ชัดว่า เชื่อมโยงกับอภิมหาโปรเจกต์ ในกระทรวงคมนาคม

ป.ป.ช.ฟัน “วัฒนา อัศวเหม” ทุจริตโครงการบ่อบำบัดน้ำเสียคลองด่าน

คดีนี้ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิด “วัฒนา อัศวเหม” คดีทุจริตคลองด่าน เมื่อวันที่  8  ธันวาคม 2554 โดยให้มาชี้แจงภายใน 15 วัน ซึ่งเจ้าตัว เผ่นไปอยู่ต่างประเทศ ตั้งแต่ปี 2551 แล้ว  ขณะ ที่ในส่วนของนายสุวัจน์ ลิปตพัลลภ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไม่มีความผิดในคดีทุจริต เนื่องจากไม่ได้อยู่ในขณะที่มีการประชุมคณะรัฐมนตรี

ป.ป.ช. เชือด ‘จุฑามาศ ศิริวรรณ’ รับสินบนข้ามชาติ
วันที่ 23 สิงหาคม 2554 นายอภินันทน์  อิศรางกูร ณ อยุธยา  เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. แถลงผลการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดทางอาญาแก่ นางจุฑามาศ ศิริวรรณ อดีตผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ ททท. ที่เรียก รับเงินจากนายเจอรัลด์ และนางแพทริเซีย กรีน สามีภรรยา ชาวอเมริกัน  เพื่อให้ได้สิทธิ์การจัดเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติกรุงเทพฯเมื่อปี 2550 และสัญญาว่าจ้างอื่น ๆ  รวมมูลค่ากว่า 10 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีมีมติให้ส่งรายงาน เอกสาร และความเห็นไปยังอัยการสูงสุด  เพื่อดำเนินคดีอาญาในศาล ตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542  มาตรา 97
นับได้ว่า เป็นอีกคดีตัวอย่างการรับสินบนข้ามชาติของข้าราชการไทย ที่ถูกเปิดโปงโดยสื่อต่างชาติ จนดังกระหึ่มไปทั่วโลก

  
ภาคเอกชน จับมือประกาศ “ไม่จ่ายใต้โต๊ะ”
วันที่ 1 มิถุนายน  2554 สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ร่วมกับภาคีเครือข่ายป้องกันและปราบปรามทุจริตคอร์รัปชั่น รวม 23 องค์กร จัดสัมมนา เรื่อง “ต่อต้านคอร์รัปชั่น จุดเปลี่ยนประเทศไทย” ณ ห้องแอทธินี คริสตัล ฮอลล์ ชั้น 3 โรงแรม พลาซ่า แอทธินี รอยัล เมอร์ริเดียน ถ.วิทยุ กรุงเทพฯ โดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประธานในพิธีเปิดงาน  จากนั้นระดมพลขึ้นเวทีประกาศแนวทางแก้ไขปัญหาคอร์รัปชั่น ในส่วนของภาคธุรกิจ ปฏิเสธการ “จ่ายเงินใต้โต๊ะ” 
คำประกาศนี้ สร้างความสั่นสะเทือนไปทั้งวงการ โดยเฉพาะกับตัวเลขที่มีการเปิดเผยออกมา  "ผู้ประกอบการเกือบ80%ที่ทำธุรกิจกับภาครัฐ ต้องจ่ายเงินเพื่อให้ได้งาน และพบว่า 1 ใน 3 ต้องจ่ายเงินมากกว่า 25% หรือคิดเป็นเม็ดเงินสูงถึงปีละกว่า 200,000 ล้านบาท"  ทั้งๆ ที่เงินเหล่านี้ สมควรนำมาพัฒนาประเทศ

นายกฯ ยิ่งลักษณ์ แถลงนโยบาย ย้ำ “คอร์รัปชั่น” เป็นเรื่องเร่งด่วน
วันที่ 23 สิงหาคม 2554 ที่รัฐสภา เริ่มต้นรัฐบาล นายกฯ ยิ่งลักษณ์  ได้ แถลงนโยบายต่อที่ประชุมรัฐสภา 1 ใน 16 นโยบายเร่งด่วน มีเรื่อง “การป้องกันและปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นในภาครัฐอย่างจริง จัง” ถูกจัดบรรจุไว้ด้วย 
ผ่านไป 4 เดือน ก็เริ่มมีข่าวคราวถุงยังชีพฉาว  พบความผิดปกติโครงการรับจำนำข้าว ขณะที่ภาคเอกชน ก็เฝ้าติดตามดูงบฯ ฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม  ดังนั้น นโยบายนี้จะสอบได้หรือสอบตก ก็ขึ้นอยู่ในทางปฏิบัติ รัฐบาลทำได้จริงหรือไม่ ?..

 
สิ้น “ดุสิต นนทะนาคร” ผู้ก่อร่างเส้นทางถางคอร์รัปชั่น
วันที่ 6 กันยายน 2554 นายดุสิต นนทะนาคร ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ได้เสียชีวิตลงอย่างสงบด้วยวัย 64 ปี หลังจากเข้ารักษาอาการป่วยด้วยโรคมะเร็งในเม็ดเลือดขาว (ลูคีเมีย) ที่โรงพยาบาลกรุงเทพ
เขาได้รับการยอมรับว่า เป็นผู้รณรงค์ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างจริงจัง โดยได้เป็น ประธานและผู้ร่วมก่อตั้ง ภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่น (ภตค.) ร่วมกับภาคีเครือข่ายกว่า 30 องค์กร ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคการเมือง ภาคประชาชน เดินหน้าหลากหลายกิจกรรม เพื่อต่อต้านคอร์รัปชั่น  

ภาพประวัติศาสตร์ “ยิ่งลักษณ์-อภิสิทธิ์” เดินรณรงค์ต้านคอร์รัปชั่น
ภาพที่ไม่ค่อยได้เห็นกันบ่อยๆ วันที่ 25 กันยายน 2554 ภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชั่น (ภตค.) จัดกิจกรรมเดินรณรงค์ “รวมพลังต่อต้านคอร์รัปชั่น” ณ สวนลุมพินี โดยมีการเชิญ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดงาน และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้าน และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ร่วมเดินรณรงค์ และนำกล่าวคำปฏิญาณต่อต้านคอร์รัปชั่น  



อาวุธใหม่ ป.ป.ช.ปราบทุจริตจี้หน่วยงานรัฐ เปิดเผยข้อมูล
ปี 2554 นับเป็นปีที่ ป.ป.ช. ประกาศใช้ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2554 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 19 เมษายน 2554 โดยมุ่งเน้นส่งเสริมการป้องกันการทุจริต โดยเฉพาะทุจริตจัดซื้อจัดจ้าง มีการกำหนดว่า จากนี้หน่วยงานรัฐที่จะดำเนินการเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างต้องดำเนินการ ด้วยความโปร่งใส เปิดเผยราคากลางผ่านเว็บไซต์ ให้ประชาชนตรวจสอบได้ และรัฐต้องแสดงบัญชีรายรับ-จ่ายในแต่ละโครงการ ให้สามารถตรวจสอบเส้นทางของงบประมาณและภาษีต่างๆ ได้
เรื่องนี้ดันมีข่าวเล็ดรอดออกมา มีรัฐมนตรีบางคนคัดค้าน แถมอัด ป.ป.ช.ลุแก่อำนาจ ก็ว่ากันไป....

จำคุก 20 ปี “เกริกเกียรติ” โกงบีบีซี ปรับ 1.1 พันล้าน
วันที่ 7 ธันวาคม 2554 ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืนจำคุก 20 ปี ปรับเงิน 1.1 พันล้าน “เกริกเกียรติ ชาลีจันทร์” อดีต กก.ผจก.ใหญ่บีบีซี กับพวก ทำสัญญาแลกเปลี่ยนพันธบัตร กับไฟแนนซ์ต่างประเทศ ทำให้แบงก์บีบีซีเสียหายกว่า 1.2 พันล้าน ขณะที่เจ้าตัวเดินทางมาฟังคำพิพากษาในสภาพอิดโรยจากพิษโรคมะเร็ง
คดีเกิดตั้งแต่ปี 2538 รอถึง 16 ปี  จึงได้มีคำตัดสินของศาลอุทธรณ์

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง