บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554

"Non-Stoical Ar Kong"An Article (Original in Thai)คำแปล บทความเรื่อง"คดีอากง"


โดย Ronayos .

คำแปล บทความเรื่อง"คดีอากง" โฆษกศาลยุติธรรม สิทธิศักดิ์ วนะชกิจ ตอบ 5 สงสัย ความผิดตามมาตรา 112 
"Non-Stoical Ar Kong"An Article (Original in Thai) By Court of Justice Spokesman, Mr.Sithisak Wanachakij

As soon as the criminal court pronounced the verdict on November 23, 2011, in the criminal case number OR.311/2554 , State Attorney vs Mr.Ampon Tangnopakun, so called "Ar Kong", who is 61-year-old defendant indicted for defamation, insult, and expression of feud against the King and the Queen, which is an offence according to the Criminal Codes Act article 112 and Computer Crime Act B.E 2550 article 14(2) (3), the interest of the public gets as strong as the recent torrential flood in Bangkok. Also, some foreign countries pay interest and concern as well as negatively criticize Thai court of justice. 

However, no matter which direction of the public converse, the court and law enforcement authorities never obstruct any people's expressions if they are based unbiassedly and academically, in accordance with legal principles, rule of law, reasonable logics, or honest personal believes of sufficient facts. 

Nevertheless, several people negatively criticize the verdict above despite that they have not thoroughly seen the evidences or facts. Thus, silence of the court and law enforcement authorities can be no longer golden.
The writer would like to draw the attention to some matter in this case to answer the doubts raised in the public and to communicate with the audiences as follows.

1.Ar Kong has not committed any crime. Why does the court jail him?
2.The court's sentence of 20 year imprisonment is too much.
3.Ar Kong is very old and, thus, deserves a relieved sentence, release or bail.
4.Thai courts do not hold an international standard. Freedom of expression should be guaranteed.
5.The offences as stipulated by the Criminal Codes Act article 112 and the Computer Crime Act should be revoked.

First, any people who believe that Ar Kong has not committed crime, but is incriminated by people out of the court and law enforcement authorities, would find it difficult to reason this because it may be only personal belief without their actual presence in the crime scenes. It is only subjective without supporting evidence.

Whilst this case has passed investigative processes, verified by the state attorney, the defendant could freely defend himself in the court which is according to the universal principles where, in the trials, defendants or convicts can impartially and justly defend themselves.  

Why the court of the first instance rules that the defendant Ar Kong is guilty, is because the court has weighed the evidences from both sides and believes that the defendant is actually guilty as charged by the state attorney. If the defendant does not agree with the verdict, he can appeal or petition as stipulated by the law.

In fact, there are plenty of cases in which higher courts overturn or change lower courts' verdicts. Thus, when the case is not final, the conclusion that Ar Kong is finally convicted and absolutely guilty cannot be definitely drawn for certain as some hold such believes. Actually, Ar Kong remains assumed not guilty until the case is final.

Next, what are the reasons for court's sentencing him to imprisonment? As a matter of fact, in the past, defamation or insult of ordinary people resulting in severe damage to others' reputations, have already led the court of justice to sentence defendants to jail without probation.

In this case, there were expressions of profanity and feud, insulting HM the King and the Queen with barbaric and filthy words, even in excess of what either sages or lay people would insult others. In particular, the crimes targetted at HM the King, the head of the country, whom is highly respected and worshipped of all Thais and around the world. The King has been on the throne for more than 65 years, exercising the Ten Precepts of Royal Ethics, caring for the whole citizens throughout. Despite of his illnesses, His Majesty keeps working to relieve sufferings of the people drown in this flood. 

HM the King has devoted his life to work for national and public tranquility of all groups. The Constitution article 8 stipulates that "HM the King possesses the highly respectful and worshipped status which no one may violate." HM the King, in particular, is not a disputant who would have conflicts with or would afflict the defendant to the least extent. Moreover, HM the King is above all political conflicts and all political mass movements. Therefore, there is no reason to support the deceptive claim that the case has a political base which is unfair and far from truths.

Second, this case, apart from the context of the case, the severely profane expressions, facts include that the defendant did not do it only once, but actually committed 4 various incidences of different expressions of profanity and feud, indicating definite intention to defiantly violate the law without respect to the law and moral restraint.

Since the defendant refuses to plea guilty throughout during the court's deliberation, there is no cause to relieve the penalty as stipulated by the law. The penalty for the offence in the Criminal Codes Act article 112 is 3 to 15 years imprisonment while the penalty for the offence in the Computer Crime Act is at maximum 5 year imprisonment.  

The penalty which the court of the first instance sentences for each deed is 5-year imprisonment according to article 112 which carries severe penalties, is only two years higher than the minimum penalty limit, leaving ten years more to the maximum which could have been enforced. When counting all four deeds together, it adds up to a total of 20 years which some people unknowingly may consider too severe for a crime. However, if the actual serious circumstances of the crimes are taken into account, several people may otherwise consider the penalty of too light or optimal. 

Third, the defendant is widely called "Ar Kong" which sounds like a very old man, however, the defendant is 61 years old which is not too old or crippled to need a guardian. He still understands and utilizes new technology, therefore a fully conscious and sane, not so elder as a great grandfather. 

As for any old veteran to the world but possessing malevolence toward the public institutions and toward the national head who is highly respectful and worshipped of the public, and could cause vast extent of confusion and major disasters, the writer believe that there would be nobody wishing him free in the society, to successively damage others. for one day in the futre, his close acquaintances may also fall victims of him. Proper measures are to obstruct the chance for the future crimes and to punish the criminal severely enough to make him feel the guilts while to fend off others. Particularly with those who meticulously but intriguingly conspire the crimes, appropriate measures are crucial to protect public order of the country and the people. Therefore, it is not to be taken for grant that an old convict would always derserve relieved penalties, minimal punishment, or to be released, because, in fact, it depends on the offences, damages and the circumstances of individual case.

In terms of permission to bail, the decision individually depends on the context of each case as stipulated by the Criminal Deliberation Codes article 108 and 108/1.

Fourth, the International Covenant on Civil and Political Rights (ICCPR) affirmatively states in article 19 as follows.

1. Everyone shall have the right to hold opinions without interference.
2. Everyone shall have the right to freedom of expression; this right shall include freedom to seek, receive and impart information and ideas of all kinds, regardless of frontiers, either orally, in writing or in print, in the form of art, or through any other media of his choice.
3. The exercise of the rights provided for in paragraph 2 of this article carries with it special duties and responsibilities. It may therefore be subject to certain restrictions, but these shall only be such as are provided by law and are necessary:
 (a) For respect of the rights or reputations of others;
 (b) For the protection of national security or of public order (ordre public), or of public health or morals.

Moreover, the International Covenant on Civil and Political Rights also protects the reputation and dignity of a person not to be violated in article 17 as follows.

1. No one shall be subjected to arbitrary or unlawful interference with his privacy, family, home or correspondence, nor to unlawful attacks on his honour and reputation.
2. Everyone has the right to the protection of the law against such interference or attacks.

Thus, despite of the acceptance of the freedom of expression as a basic human right by the ICCPR, it also limits the right to base on sense of responsibility not to violate rights of others, because equally everyone has the right to defend one's own reputation and dignity which is also protected by the law.

The International Covenant on Civil and Political Rights (ICCPR) is a multilateral treaty adopted by the United Nations General Assembly on December 16, 1966, and in force from March 23, 1976. It commits its parties to respect the civil and political rights of individuals, including the right to life, freedom of religion, freedom of speech, freedom of assembly, electoral rights and rights to due process and a fair trial. As of October 2011, the Covenant had 74 signatories and 167 parties.

Thailand joined this treaty by accession on October 29, 1996. Since October 29, 1997 the treaty has been in effect in Thailand and in accordance with the Constitution of the Kingdom of Thailand article 45  which states, "Every person has freedom of expression, speech, writing, printing, press, and any communication means. Restriction of the rights in the first clause is not permitted except provided by the laws to protect the state security; rights, freedom, dignity, reputation, family and privacy rights of others; or to protect public peace, order and morality..."

In addition, Civil and Commercial Codes article 5 stipulates, "In exercise one's own right, one has to carry out honestly". Article 421 stipulates, "In exercise one's own right, which would damage other person, is considered illegal.". These are of the same standard as the international treaty above which demonstrate that Thailand provides rights and freedom to the citizens, and possesses laws which are equally advance as other developed countries. It is the administrative system which differs and hence every country should respect such differences which are cultural and social prides of individual country.

If any critic, has not yet thoroughly studied background history enough, lacks of adequate facts, or does not understand local cultures and traditions of a country, but criticizes the court or the justice system of the other country, as if such critic is so worried that the court has inferior standard to the international, it would be highly sensitive and risky to mean an unfair comment. Such comment may mean that the critic is mixed up with bias or carries hidden agenda. In fact, for very a long time, Thailand has autonomy in administration and justice system while her citizens have freedom of expression under her Constitutional Monarchy.

Fifth, all Thai laws have been enacted by the legislative body which comes from the whole Thai citizens, and can be amended or revoked. of the House of Representatives sees that the law is obsolete or inappropriate. The court is the body who enforces the law according to the spirit of the law which the House of Representatives draws. There are several laws which have been written in a way that nearly do not allow the court's discretion or that the severe punishment is unavoidable for some offences such as producing or importing addictive substances of type 1 for only one tablet, or murdering one's own parent which carries only death penalty. Although law amendment or revocation is possible, the public's concern, public peace and order as well as side effects and sequelaes are to be considered without emotion or instigation to the wrong path.

Ar Kong case is still in the first stage of proving the defendant guilty or not along the path of freedom which the law allows, so long as the case is not final. Premature conclusions to blame anybody or bodies who keep the law of the society may be unfair.

By the way, people of any races or cultures are patriotic to their cherished motherlands, respectful in their faithful religious prophets who are their religions' leaders. Differences in ideologies, races, religions, politics, arts, cultures and traditions are not abnormal in the world. Insult, libel or expression of feud against other religion's prophet is a behaviour which civilized people must not do because such minute cause may spark a national disaster.

Therefore, if one wishes to know the present and future of any nation, please study the history of that nation. Thailand has maintained her autonomy and identity which is admired by all other nations because all Thais in the society have affinity and unity. They are generous and flexible to each other. They are not severely aggressive or unreasonably insensate. They cherish the country, religions, and Royal institutions from generation to generation. It has long been a delivered legacy to the present young generation.

Thais are still patriotic and proud in their homeland. They will protect the nation, religions and the King. Criticizing is definitely allowed and free to do with unbiased impartiality based on constructive attitude. Exercise of one's right beyond the limit to encroach upon another is not allowed. 

Claiming political reasons or other reasons to justify oneself for expression of feud, or insulting with speech and lies against others is also not allowed. Future generations of Thais are not going to be left with wreckage of the nation because the present generation of Thais is careful and willingly protect the legacy of pride.

US Ambassador to Thailand made a negative comment against Thai court ruling of Lese Majesty cases, expressing worry about the law and the penalties, in favour of the defendants. This is a historical comment made by any US Ambassador to Thailand and exasperate Thai people.

This article is originally written in Thai by Court of Justice Spokesman, Mr.Sithisak Wanachakij
and translated into English with slight modification by Ronayos.
If there are any errors or discrepancy from the original article, they belong to Ronayos.

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9540000159016
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNeU16ZzJOVFExTmc9PQ==&sectionid=
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/analysis/20111214/424435/news.html

US Ambassador was present in the 1 million USD donation of Chevron (Thailand) to PM Yingluck's government organization to relieve flood suffering. The money is likely to be some sort of bribery to red-shirt movement instead of going to victims of the flood. Even US's fund does not go to PM Yingluck government. Both Chevron and Yingluck, puppet of Thakscin the traitor may be conspiring to share petroleum in the Thai gulf with Hunsen.

"คดีอากง" โฆษกศาลยุติธรรม ตอบ 5สงสัย ความผิดตามมาตรา 112 หลังกระแสสังคมเกือบทุกสาขาอาชีพต่างให้ความสนใจ


พลันสิ้นคำอ่านคำพิพากษาศาลอาญาคดีอาญาหมายเลขดำที่ อ.311/2554 ระหว่างพนักงานอัยการฯ โจทก์ นายอำพล ตั้งนพคุณ จำเลยอายุ 61 ปี ข้อหาหมิ่นประมาท ดูหมิ่นแสดง ความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์พระราชินีฯ อันเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550  มาตรา 14(2)(3) เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2554 หรือที่ผู้คนทั่วไปเรียกว่า “คดีอากง” กระแสสังคมเกือบทุกสาขาอาชีพต่างให้ความสนใจเหมือนกระแสน้ำที่ไหลบ่ามาท่วมศาลและกระบวนยุติธรรมเช่นน้ำท่วมกรุงเทพฯที่ผ่านมา 


รวมทั้ง ต่างชาติบางประเทศก็ให้ความสนใจแสดงความห่วงใย วิพากษ์วิจารณ์ ศาลยุติธรรมไทยในทางไม่สร้างสรรค์นักแต่ไม่ว่าความเห็นของสังคมจะสื่อสารในทางใดก็ตาม 


ศาลและกระบวนการยุติธรรมไม่เคยขัดขวางการแสดงความคิดเห็นของบุคคลใดๆ ขอเพียงการแสดงออกตั้งอยู่บนฐานคติที่ปราศจากอคติ ภายใต้หลักวิชาการ หลักกฎหมาย หลักนิติธรรม หลักเหตุผล  หรือหลักความเชื่อส่วนตนที่สุจริตมีข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์


แต่ดูเหมือนหลายคนที่วิจารณ์ผลคดีข้างต้นในทางลบยังมิได้รู้เห็นพยานหลักฐานหรือข้อเท็จจริงในสำนวนความอย่างถ่องแท้ ซึ่งการนิ่งเฉยของศาลและกระบวนยุติธรรมมิได้มีค่าเป็นตำลึงทองเสียแล้ว 


ผู้เขียนจึงขออนุญาตนำความจริงบางประการในท้องสำนวนคดีนี้ ประกอบกับประเด็นที่สังคมตั้งข้อสงสัยมานำเฉลยเอ่ยความ เพื่อเป็นข้อมูลแลกเปลี่ยนกับท่านผู้อ่านที่เคารพ ซึ่งมีประเด็นใหญ่ๆ ที่ผู้คนกล่าวขานกันดังนี้ 


1. อากงไม่ได้กระทำความผิด เหตุใดศาลจึงพิพากษาลงโทษจำคุก


2. ศาลลงโทษจำคุก 20 ปี เป็นโทษที่หนักเกินไป 


3. อากงอายุมากแล้วควรได้รับการลดโทษ ปล่อยตัวไป หรือได้รับการประกันตัว


4. ศาลไทยไม่มีมาตรฐานสากล ควรรับรองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของบุคคล


5. ควรยกเลิกความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และความผิดว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับกฎหมายคอมพิวเตอร์         


ในข้อแรก ผู้ที่เห็นว่า อากงมิได้กระทำความผิดนั้น หากเป็นการตัดสินกันเองโดยบุคคลกลุ่มคนนอกศาลและกระบวนการยุติธรรม คงจะหาเหตุผลรองรับความชอบธรรมยากสักหน่อย เพราะเป็นความเชื่อส่วนตนที่ตัวเองไม่ได้อยู่ในเหตุการณ์ขณะที่มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น เป็นอัตวิสัยที่อาจปราศจากพยานหลักฐานสนับสนุน 


ในขณะที่คดีนี้ผ่านกระบวนการสอบสวน การกลั่นกรองจากอัยการ แล้วเปิดโอกาสให้จำเลยต่อสู้คดีในชั้นศาลอย่างเต็มที่ อันเป็นหลักการสากลและหลักกฎหมายที่เปิดโอกาสให้ผู้ต้องหาหรือจำเลยต่อสู้คดีอย่างเสมอภาคเท่าเทียมและเป็นธรรม 


ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า อากงหรือจำเลยมีความผิดเพราะศาลชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งสองฝ่ายแล้วเชื่อว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดตามฟ้องของอัยการโจทก์จริง แต่ถ้าจำเลยไม่เห็นด้วยไม่พอใจในผลคำพิพากษา ก็ยังสามารถใช้สิทธิอุทธรณ์ ฎีกาได้ตามกฎหมาย


ซึ่งในอดีตมีคดีที่ศาลสูงเห็นต่างจากศาลชั้นต้นพิพากษากลับหรือแก้คำพิพากษาศาลล่าง ก็ไม่น้อย ดังนั้นเมื่อคดียังไม่ถึงที่สุด การจะด่วนสรุปว่าอากงเป็นผู้ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทำผิดโดยเสร็จเด็ดขาดนั้น  ก็ยังมิใช่เป็นเรื่องที่แน่แท้เสมอไปดังที่บางคนมีความเชื่อและเข้าใจในทำนองนั้น  แท้จริงแล้ว อากงยังถูกสันนิษฐานว่าเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าคดีจะถึงที่สุด


ข้อต่อมา ที่ว่าเหตุใดศาลจึงพิพากษาลงโทษถึงจำคุก ปกติการกล่าวถ้อยคำหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่นบุคคลธรรมดาที่เป็นการดูหมิ่นใส่ความทำให้ผู้เสียหายเสื่อมเสียต่อชื่อเสียงเกียรติคุณอย่างร้ายแรง กฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิดมีโทษถึงจำคุก ศาลยุติธรรมก็เคยลงโทษจำคุกจำเลยโดยไม่รอการลงโทษมาแล้ว 


สำหรับคดีนี้ มีการใช้ถ้อยคำหยาบคายแสดงความอาฆาตมาดร้าย จาบจ้วงล่วงเกินพระมหากษัตริย์และพระราชินีด้วยถ้อยคำภาษาที่ป่าเถื่อนและต่ำทรามอย่างยิ่ง เกินกว่าวิญญูชนคนทั่วไปจะพึงพูดจาดูหมิ่นเหยียดหยามกัน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งได้กระทำต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์พระประมุขของประเทศ อันเป็นที่เคารพยกย่องเทิดทูนของปวงชนชาวไทยและทั่วโลก ในหลวงทรงครองสิริราชย์มาเป็นเวลากว่า 65 ปี ทรงครองแผ่นดินด้วยหลักทศพิธราชธรรม ห่วงใยทุกข์เข็ญของอาณาประชาราษฎร์ตลอดเวลา แม้ในยามทรงพระประชวร พระองค์ก็ยังทรงงานเพื่อแก้ไขความทุกข์ยากของประชาชนเช่นอุกทุกภัยน้ำท่วมในครั้งนี้ 


พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทุ่มเทพระวรกายตลอดพระชนม์ชีพ ทรงงานเพื่อความผาสุกของประเทศชาติและประชาชนทุกหมู่เหล่า ในกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 8 ก็บัญญัติว่า "องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้" โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมิใช่คู่กรณีที่มีความขัดแย้งสร้างความเดือดร้อนเสียหายแก่จำเลยแม้แต่น้อยนิด รวมทั้งพระองค์ท่านทรงอยู่เหนือความขัดแย้งทางการเมืองจากมวลชนทุกหมู่เหล่า จึงไม่มีเหตุผลที่จำเลยหรือบางคนจะพยายามบิดเบือนว่า คดีนี้มาจากมูลฐานทางการเมือง ซึ่งเป็นข้ออ้างที่ไม่เป็นธรรมและห่างไกลจากความเป็นจริง


ข้อสอง คดีนี้มีข้อเท็จจริงบางประการที่ผู้วิจารณ์อาจยังรู้ไม่ครบถ้วนและเข้าใจคลาดเคลื่อนคือ นอกเหนือจากพฤติการณ์แห่งคดีหรือข้อความหมิ่นประมาทที่มีความรุนแรงและร้ายแรงอย่างมากแล้ว  ข้อเท็จจริงยังปรากฏว่า ผู้กระทำไม่ได้กระทำความผิดแค่ครั้งเดียว แต่มีการกระทำความผิดต่างกรรมต่างวาระ  ด้วยถ้อยคำดูหมิ่น หมิ่นประมาท แสดงความอาฆาตมาดร้ายถึง 4 ครั้ง มีถ้อยคำที่แตกต่างกันทุกครั้ง แสดงถึงเจตนาที่จงใจกระทำผิดกฎหมายอย่างท้าทายไม่ยำเกรงอาญาแผ่นดิน ไม่มีจิตสำนึกรู้ผิดชอบชั่วดี 


เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธมาตลอดจนถึงในชั้นศาลจึงไม่มีเหตุลดโทษ บรรเทาโทษตามกฎหมาย ซึ่งความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 กฎหมายระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 ปี ถึง 15 ปี ส่วนความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กฎหมายระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี 


การที่ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยในความผิดแต่ละครั้งจำคุกกระทงละ 5 ปี ตามมาตรา 112  ซึ่งเป็นโทษบทหนักนั้น เป็นการลงโทษสูงกว่าโทษขั้นต่ำของกฎหมายเพียง 2 ปี ยังเหลืออัตราโทษอีก 10 ปี ที่ศาลมิได้นำมาใช้ เมื่อนำโทษทั้ง 4 กระทงมารวมกันเป็น 20 ปี คนทั่วไปที่ไม่รู้จึงเข้าใจผิดคิดว่าศาลลงโทษครั้งเดียว 20 ปี เห็นว่าโทษหนักไป แต่ถ้าเทียบกับพฤติการณ์ความร้ายแรงแห่งคดีแล้ว หลายคนที่รู้จริงเห็นตรงข้ามว่าโทษเบาไปหรือเหมาะสมแล้วก็มี    


ข้อสาม แม้สังคมทั่วไปจะเรียกจำเลยว่า “อากง” ฟังดูประหนึ่งว่าจำเลยชราภาพมากแล้ว แต่ตามฟ้องจำเลยอายุ 61 ปี มิได้แก่ชราจนต้องอยู่ในความอนุบาลดูแลของผู้ใดสามารถเข้าใจและใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ได้  แสดงว่าเป็นผู้มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์และมิได้แก่เฒ่าคราวปู่ทวด 


สำหรับบุคคลที่เจนโลก โชกโชน สันดานเป็นโจรผู้ร้าย มีเจตนาทำร้ายสังคมสถาบันหลักของประเทศชาติและองค์พระประมุข อันเป็นที่เคารพสักการะของคนในชาติให้เกิดความหลงผิดก่อให้เกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวง 


ผู้เขียนเชื่อว่า ไม่มีใครอยากให้คนเช่นนี้ลอยนวลอยู่ในสังคมเพื่อสร้างความเสียหายต่อเนื่องหรือแก่ผู้อื่นอีก เพราะสักวันคนใกล้ตัวของคนเหล่านี้อาจตกเป็นเหยื่อด้วยก็ได้ มาตรการที่เหมาะสมจึงควรตัดโอกาสในการกระทำผิด ลงโทษให้หลาบจำสาสมไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่ผู้อื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากผู้ที่กระทำความผิดคิดวางแผนไตร่ตรองในการกระทำความผิดอย่างแยบยลแนบเนียนด้วยแล้ว ก็ยิ่งสมควรใช้วิธีการที่เหมาะสม ในการคุ้มครองรักษาความสงบสุขของประเทศชาติและประชาชนด้วย จึงไม่แน่แท้เสมอไปว่าชราชน ที่กระทำความผิดจะต้องได้รับการลดโทษ ลงโทษน้อย หรือปล่อยตัวไปเสมอไป ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับข้อหาความผิด ความเสียหายและพฤติการณ์การกระทำแต่ละคดีที่ต้องพิจารณาเป็นรายกรณีไป 


ส่วนการจะได้รับการประกันตัวหรือไม่ ขึ้นอยู่กับพฤติการณ์ข้อเท็จจริงแห่งคดีเป็นเรื่องๆ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 108 ,มาตรา 108/1


ข้อสี่ ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น (International Covenant on Civil and Political Rights) ICCPR ได้บัญญัติรับรองในข้อ19 ว่า 


1) บุคคลมีสิทธิที่จะมีความคิดเห็นโดยปราศจากแทรกแซง 


2) บุคคลมีสิทธิในเสรีภาพที่จะแสดงความคิดเห็น สิทธินี้รวมถึงเสรีภาพที่จะแสวงหา ได้รับและสื่อสารข้อมูลและความคิดทุกชนิด โดยไม่คำนึงถึงพรมแดน ไม่ว่าด้วยวาจา เป็นลายลักษณ์อักษรหรือด้วยการพิมพ์ ในรูปแบบของศิลปะหรือโดยสื่อประการอื่นใดที่บุคคลดังกล่าวเลือก


3) การใช้สิทธิตามวรรคสองของข้อนี้ต้องประกอบด้วยหน้าที่และความรับผิดชอบอันเป็นพิเศษ  ดังนั้น  สิทธิดังกล่าวจึงอาจอยู่ภายใต้ข้อจำกัด บางประการ แต่ข้อจำกัดนั้นต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติและเท่าที่จำเป็น  


(ก)   เพื่อเคารพต่อสิทธิหรือชื่อเสียงของบุคคลอื่น 


(ข)    เพื่อคุ้มครองความมั่นคงแห่งชาติ  ความสงบเรียบร้อยของประชาชนสาธารณสุขหรือศีลธรรมอันดี


นอกจากนั้น  กติการะหว่างประเทศฯ ยังได้ให้ความคุ้มครองสิทธิของบุคคลในการที่จะไม่ถูกล่วงละเมิดทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงหรือเกียรติภูมิไว้ด้วยตามข้อ 17  ซึ่งกำหนดว่า


“1. ไม่มีบุคคลใดที่จะต้องตกอยู่ภายใต้การแทรกแซงตามอำเภอใจหรือโดยมิชอบด้วยกฎหมายต่อความเป็นส่วนตัว  ครอบครัวหรือการติดต่อสื่อสาร  หรือการโจมตีโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายต่อเกียรติภูมิและชื่อเสียง


2. บุคคลมีสิทธิที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายจากการแทรกแซงหรือการโจมตีเช่นว่านั้น”


ฉะนั้นแม้การแสดงความคิดเห็นถือเป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่กติการะหว่างประเทศฯ ให้การยอมรับ แต่ในขณะเดียวกัน กติการะหว่างประเทศฯ ก็ได้กำหนดไว้ด้วยว่าการใช้สิทธิดังกล่าวต้องทำด้วยความสำนึกรับผิดชอบและไม่ล่วงละเมิดสิทธิของบุคคล  เนื่องจากบุคคลทุกคนย่อมมีสิทธิ ในการรักษาชื่อเสียงและเกียรติภูมิของตนและต้องได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายด้วยเช่นกัน


กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง หรือ ICCPR เป็นสนธิสัญญา พหุภาคี ซึ่งสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ ได้ให้การรับรองเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2509 และมีผลใช้บังคับเมื่อ 23 มีนาคม  พ.ศ. 2519  สนธิสัญญานี้ให้คำมั่นสัญญาว่าภาคีจะเคารพสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ของบุคคล ซึ่งรวมถึงสิทธิในชีวิต เสรีภาพในศาสนา เสรีภาพในการพูด เสรีภาพในการรวมตัว สิทธิเลือกตั้ง และสิทธิในการได้รับการพิจารณาความอย่างยุติธรรม จนถึงเดือนตุลาคม พ.ศ. 2552  กติการะหว่างประเทศนี้มีประเทศลงนาม 72 ประเทศและภาคี 167 ประเทศ


ประเทศไทย เข้าเป็นภาคีของสนธิสัญญานี้โดยการภาคยานุวัติ เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2539 และมีผลบังคับใช้กับไทย เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2540 อันสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 45 ที่ว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การพิมพ์และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่น แต่เสรีภาพดังกล่าวก็ยังถูกจำกัดได้โดยกฎหมายหากเป็นไปเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ เกียรติยศ ชื่อเสียง สิทธิ หรือความเป็นส่วนตัวของบุคคลอื่นเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน...” 


นอกจากนี้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 5 บัญญัติว่า ในการใช้สิทธิแห่งตนก็ดี บุคคลทุกคนต้องกระทำโดยสุจริต และมาตรา 421ก็บัญญัติว่า การใช้สิทธิ  ซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้น ท่านว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมีมาตรฐานเช่นเดียวกับหลักการสากลข้างต้น  อันแสดงว่าประเทศไทยให้สิทธิเสรีภาพแก่ประชาชน มีกฎหมาย ที่ความก้าวหน้าทันสมัยทัดเทียมอารยประเทศ เพียงแต่ภายใต้ระบอบการปกครองบ้านเมืองที่แตกต่างกัน ทุกประเทศจึงควรที่จะต้องให้เกียรติเคารพในความต่างที่เป็นจุดแข็งทางวัฒนธรรมและสังคมของแต่ละประเทศ  


หากผู้วิจารณ์คนใดยังศึกษาภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ไม่ลึกซึ้งถึงแก่นแท้หรือมีข้อเท็จจริงไม่ครบถ้วนเพียงพอ ไม่เข้าใจในขนบธรรมเนียม ประเพณี สังคมประเทศใดแล้ว การแสดงความเห็นว่าศาลหรือกระบวนการยุติธรรมของประเทศอื่นในทำนองห่วงใยว่าจะไม่มีมาตรฐานสากลนั้น เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ลึกซึ้ง และหมิ่นเหม่ต่อการกล่าวหากันอย่างไม่เป็นธรรม  


อาจทำให้คิดไปว่าผู้วิพากษ์เจือปนด้วยอคติที่ผิดหลงมีวาระซ่อนเร้น ประเทศไทยมีเอกราชทางการปกครองและการศาลมาช้านาน  และประชาชนมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข 


ข้อห้า กฎหมายทุกฉบับออกหรือตราขึ้นโดยฝ่ายนิติบัญญัติที่เป็นผู้แทนมาจากปวงชนชาวไทย สามารถแก้ไขปรับปรุงและยกเลิกได้ ถ้าสภาผู้แทนราษฎรเห็นว่าล้าสมัยไม่เหมาะสม ศาลเป็นเพียงผู้ใช้กฎหมายตามเจตนารมณ์ที่สภานิติบัญญัติตราขึ้น มีกฎหมายหลายฉบับเขียนให้ศาลแทบใช้ดุลพินิจไม่ได้หรือ ต้องลงโทษสถานหนักในบางข้อหาเช่น ผลิตนำเข้ายาเสพติดให้โทษประเภท 1 แม้เพียง 1 เม็ดหรือ ข้อหาฆ่าบุพการี ต้องประหารชีวิตสถานเดียว เป็นต้น แม้การแก้ไขยกเลิกกฎหมายจะกระทำได้ก็ตาม  แต่ต้องคำนึงถึงความรู้สึกของประชาชน ความสงบเรียบร้อยของสังคมและผลกระทบข้างเคียงอื่นที่อาจตามมาด้วย อย่าให้อารมณ์หรือกระแสแห่งการปลุกปั่นยั่วยุชักจูงไปในทางที่เสียหายได้


คดีอากง เป็นแค่ปฐมบทในการพิสูจน์ความผิดหรือความบริสุทธิ์ของจำเลย  ตามครรลองแห่งเสรีภาพที่กฎหมายเปิดช่องไว้ตราบใดที่คดียังไม่ถึงที่สุด  การด่วนรวบรัดตัดความกล่าวโทษบุคคลหรือองค์กรที่ทำหน้าที่รักษากติกาสังคมอาจยังไม่เป็นธรรมนัก  


อย่างไรก็ตาม คนทุกชาติ ทุกภาษา ต่างหวงแหนรักในแผ่นดินเกิดของตนเองเคารพและศรัทธาในศาสดาที่เป็นผู้นำทางศาสนาของตนเอง ความแตกต่างทางความคิดเชื้อชาติศาสนาการปกครองบ้านเมืองศิลปวัฒนธรรม ประเพณี  มิใช่สิ่งผิดปกติในสังคมโลก แต่การกล่าวร้ายใส่ความ แสดงความอาฆาตมาดร้ายศาสดาของศาสนาอื่น เป็นพฤติการณ์ที่ผู้เจริญมิสมควรกระทำอย่างยิ่ง เพราะน้ำผึ้งหยดเดียวอาจกลายเป็นความหายนะของชาติได้ 


ดังนั้น  หากท่านผู้อ่านอยากรู้ปัจจุบันและอนาคตของชาติใด ขอจงศึกษาประวัติศาสตร์ของประเทศนั้น สำหรับชาติไทยดำรงคงเอกราชมีเอกลักษณ์ของความเป็นชาติไทย เป็นที่ชื่นชมยกย่องของคนทุกชาติทุกภาษา  เพราะผู้คนในสังคมไทยยังมีความรักสามัคคี  มีน้ำใจ เอื้ออาทรผ่อนปรนเข้าหากัน ไม่ก้าวร้าวรุนแรงโดยขาดสติไร้เหตุผลรักหวงแหน เทิดทูนในชาติ ศาสนาและสถาบันพระมหากษัตริย์จากรุ่นสู่รุ่น และปลูกฝังถ่ายทอดเป็นมรดกสู่ลูกหลานจนถึงปัจจุบัน 


หากคนไทยยังรักและภูมิใจในแผ่นดินเกิด ขอได้โปรดช่วยกันรักษาสถาบันชาติ ศาสนาและพระมหากษัตริย์ การจะติชมวิพากษ์เป็นเสรีภาพที่กระทำได้ ขอเพียงมีจิตเป็นกลาง ไม่มีอคติ และบนฐานคติที่สร้างสรรค์ พึงอย่าได้ใช้สิทธิส่วนตนเกินส่วนจนเกินขอบเขตก้าวล้ำสิทธิเสรีภาพผู้อื่น 


อย่าได้แสดงความพยาบาทอาฆาตมาดร้าย ประหัตประหารด้วยอาวุธลมปากและความเท็จต่อผู้อื่น โดยอ้างเหตุผลทางการเมืองหรือเหตุอื่นมาสร้างความชอบธรรมแก่ตนเอง อย่าให้ลูกหลานในอนาคตเหลือแค่ความทรงจำแห่งความภาคภูมิในอดีตบนซากปรักหักพังของชาติไทย ที่ผองชนรุ่นปัจจุบันได้ทำลายล้างไปอย่างตั้งใจและมิได้ตั้งใจ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง