ทีนิวส์
“
สีแดงเป็นเพียงสัญลักษณ์ต้านรัฐธรรมนูญ 50
แต่มีคนหาเรื่องเอาสีแดงไปโยงลัทธิล้มเจ้า เรื่องบ้าเรื่องบอ
ถ้าอย่างนั้นก็ต้องลบสีแดงออกจากธงชาติหรืออย่างไร
ถ้าคิดว่าสีแดงมันน่ากลัวขนาดนั้น สีแดงมันจะเกี่ยวกับลัทธิได้อย่างไร
ในขณะที่นิยามของคนเสื้อแดงคือคนที่รักประชาธิปไตย
แต่ก็มีความพยายามนำสีแดงไปโยงลัทธิล้มเจ้า ไปโยงกองกำลังติดอาวุธ ทั้ง ๆ
ที่เรามีแต่ตีนตบ ...” (ธิดา ถาวรเศรษฐ์ 21 กันยายน 2554)
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่
นางธิดา ถาวรเศรษฐ์ รักษาการประธานนปช.
ออกมาตอบโต้กระแสวิพากษ์วิจารณ์เรื่อง การสุมความคิดเรื่องล้มเจ้า และ
การสะสมกองกำลังติดอาวุธในหมู่คนเสื้อแดง ผ่านการแถลงข่าวประจำสัปดาห์ (
21 กันยายน 2554 ) ???
โดยเฉพาะกองกำลังติดอาวุธ ที่ นางธิดา
ท้าทายให้มีการตรวจสอบครั้งแล้วครั้งเล่า
ในขณะที่ภาพคนชุดดำใช้อาวุธสงครามยิงเข้าใส่ทหาร บริเวณแยกคอกวัว
เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2552
ยังคงอยู่ในความทรงจำอันเจ็บปวดของคนไทยส่วนใหญ่
ที่ไม่คิดว่าการชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตยแยกผ่านฟ้า
จะถูกยกระดับกลายเป็นเหตุมิคสัญญี
ไม่นับรวมหลักฐานจากคำพูดของ นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง
ที่ย้ำแล้วย้ำอีกถึงสภาพความพร้อมของกองกำลังติดอาวุธ
ในช่วงเหตุการณ์ความไม่สงบเดือนเมษายน ต่อเนื่อง พฤษภาคม 2552
เพียงแต่ นางธิดา มักเลือกบางมุมของเหตุการณ์มานำเสนอ
เพื่อประโยชน์ของแดงนปช.ฝ่ายเดียว
สำคัญยิ่ง นางธิดา คงจะลืมไปว่าก่อนหน้านั้นใช่หรือไม่ ที่เป็นคนเขียนข้อความผ่านเฟสบุ๊ค ว่า ไม่ใช่เรื่องแปลกหรือเสียหายแต่อย่างใด ที่มีขบวนการคนเสื้อแดงแยกตัว แยกกลุ่มเป็นแดงสยาม หรือ กลุ่มอิสระอื่น ๆ ...
ทั้ง ๆ ที่ นางธิดา
ก็รู้จัก แดงสยาม หรือ แดงกลุ่มอื่น ๆ เป็นอย่างดี ว่า
มีพฤติกรรมเป็นอันตรายต่อสถาบันเบื้องสูงในระดับใด
โดยเฉพาะหัวขบวนแดงสยาม อย่าง จักรภพ เพ็ญแข
ที่ประกาศตัวเป็นคนล้มเจ้าอย่างเปิดเผย ???
มิหนำซ้ำกับ นางธิดา
ในฐานะรักษาการประธานแดงนปช.
ก็แสดงตัวตนมาโดยตลอดในเรื่องการโค่นล้มระบอบอำมาตยาธิปไตย
ที่ยังไม่เคยมีการนิยามความหมายอย่างชัดเจนว่า คืออะไรกันแน่
หลังจากพรรคเพื่อไทยคว้าชัยชนะเลือกตั้ง
เป็นรัฐบาลด้วยคะแนนเสียงเบ็ดเสร็จเด็ดขาด ???
และขณะที่หลายฝ่ายวิพากษ์วิจารณ์ว่า แม้ นางธิดา
จะไม่ได้แสดงตัวตนหรือวางกรอบความคิดในทางเปิดเผยว่าอยู่ฝ่ายเดียวกับพวกล้ม
เจ้า แต่ก็ตั้งข้อสังเกตว่าที่ผ่านมา นางธิดา
ก็ไม่เคยแสดงท่าทีเป็นฝ่ายตรงข้าม กับพวกล้มเจ้าอย่างชัดเจนแต่อย่างใด
ยกตัวอย่างจากบทความเรื่อง “ตีหญ้า ล่องูออกจากรู”
ของ นางธิดา เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2554
ซึ่งแสดงออกถึงท่าทีความประนีประนอมยิ่งกับหมู่คนเสื้อแดงที่มีความเห็นต่าง
กัน ในเรื่องแนวทางการต่อสู้เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่ต้องการ
“เป้าหมายเรา คือ
ระบอบประชาธิปไตยที่อำนาจเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง
จำเป็นต้องสร้างแนวคิดที่ “ไม่ใช่จารีตนิยม , ไม่ใช่อนุรักษ์นิยม ,
หรือไม่ใช่อภิชนนิยม แต่เป็นเสรีนิยม
ที่อนุญาตให้ความเห็นแตกต่างกันอยู่ร่วมกันในสังคมได้”
ไม่เท่านั้น นางธิดา
ยังปรารภไปถึงกลุ่มขบวนการล้มเจ้า ด้วยการเตือนสติด้วยว่า
ความหุนหันใช้อารมณ์เป็นใหญ่
อาจกลายเป็นปัญหาต่อขบวนการสร้างปริมาณมวลชน
ภายใต้มูลฐานความคิดในเชิงแตกแยก ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ง่าย ๆ
ถ้าเทียบเคียงกับสภาวะผู้คนในสังคมไทยที่ยังมั่นคงอยู่กับความจงรักภักดี
“พวก
ใจร้อน ใจเร็ว หรือ พวกต้องการแสดงว่า ฉันนั้นก้าวหน้ากว่าใคร
เป็นผู้กล้ายิ่งกว่าใคร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องเกี่ยวกับสถาบันฯ
จะฟาดหัว ฟาดหาง ผู้อื่น ที่พูด หรือ
ปฏิบัติไม่เหมือนกับตน ก็ต้องหันกลับไปดู
กลุ่มจารีตนิยมที่ด่าทอกันเป็นตัวอย่าง …”
“
การเอาอัตวิสัยมากำหนดการกระทำ
โดยไม่สอดคล้องกับภววิสัยทั้งในขบวนประชาชนเองและนอกขบวนประชาชน
นอกจากทำไม่ได้ผลแล้วก็ยังขัดแย้งกับประชาชนเอง
และเกิดผลเสียกับขบวนประชาชนด้วย
และนี่คือบทที่หนึ่งของการต่อสู้ของประชาชน นั่นคือ ต้องแยกมิตร
แยกศัตรูให้ถูกต้อง และ มีท่าทีต่อมิตร และท่าทีต่อศัตรูอย่างถูกต้อง… ”
จากแนวคิดของ นางธิดา
สะท้อนถึงความเป็นห่วงในระดับสำคัญ
ถึงการเคลื่อนไหวของแนวร่วมแดงอีกบางส่วน
ที่มุ่งตรงเป้าหมายไปยังสถาบันเบื้องสูง ท่ามกลางข้อพิจารณาประกอบว่า
นี่เป็นอีกครั้งที่ นางธิดา ไม่ได้แสดงความชัดเจนถึงระดับจะแยกปลา
แยกน้ำกับหมู่เหล่าคนล้มเจ้า ???
และจุดสำคัญ
ใช่หรือไม่ ที่นางธิดา ก็ยอมรับว่า มีมวลชนคนเสื้อแดง ประเภทใจร้อน
ใจเร็ว ที่เลือกแนวทางการต่อสู้โดยสถาบันเบื้องสูงเป็นเป้าหมาย
จากข้อเขียนที่ปรากฏข้างต้น ...
ขณะเดียวกันกับแนวคิดของ
นางธิดา ดังต่อไปนี้
ก็อาจเป็นสิ่งที่ปุถุชนสามารถใช้วิจารณญาณมองลึกไปถึงตัวของแกนนำแดง
นปช. ในฐานะคนที่มีจุดยืนต้านอำมาตย์อย่างแน่วแน่ได้ไม่มากก็น้อย
สำหรับมุมมองเรื่องการเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ...
“ เรื่อง ฎีกาประชาชนห้าล้านฉบับในหนึ่งเดือน เป็นตัวอย่างของ กรณีการเคลื่อนไหวของประชาชนใน ลักษณะแนวร่วม ตั้งแต่ปี 2552
… (เพราะ) มีแกนนำบางท่านไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรง จนถึงกับแยกตัวออกไป
และ ก็มีแกนนำที่แม้จะไม่เห็นด้วย แต่ไม่เห็นว่า
จะทำให้เกิดความเสียหายอะไร ตรงข้ามกลับเป็นการตรวจสอบประชาชนได้
และก็มีแกนนำที่สนับสนุนเห็นด้วยเต็มที่… ”
นี่ คือสิ่งที่เรียกว่า “แนวร่วม”
ที่มีทั้งความเหมือน และความแตกต่างกัน ฝ่ายประชาชนต้องเข้าใจว่า ภาวะ
“แนวร่วม” ยังดำรงอยู่ในขบวนเราจนถึงปัจจุบัน แน่นอนว่า
ภาวะเช่นนี้มีทั้งจุดแข็ง และจุดอ่อน จุดแข็งคือมีผู้เข้าร่วม
ขบวน กว้างใหญ่ไพศาล จุดอ่อนคือ ขาดเอกภาพในองค์กรนำทางความคิด
และวิธีการทำงานที่ยังต้องแสวงหาจุดร่วม สงวนจุดต่างอยู่”
นอกเหนือจากการยอมรับใน
ระดับสำคัญ (อีกครั้ง) ของ นางธิดา
ที่ยอมรับว่ามีแกนนำบางส่วนที่ไปไกลถึงสถาบันเบื้องสูง
กรณีของฎีกาแดงก็เป็นแนวทางการเคลื่อนไหว
ที่ทำให้เกิดความต่างทางความคิดในลักษณะของความเห็นด้วย และ ไม่เห็นด้วย
ผสมปนเปอยู่ในความคิดของบรรดาแกนนำ
แต่การคบค้าสมาคมระหว่างแดงแนวร่วมต่าง ๆ ก็ยังดำเนินไปตามปกติ
ตามทฤษฎีความคิดแสวงหาจุดร่วม สงวนจุดต่าง
แต่อะไรที่เป็นจุดขัดแย้งของ
ความคิดเรื่องฎีกาแดง ก็มีความน่าเชื่อถือว่าประโยคข้อความต่อไปนี้ของ
นางธิดา น่าจะมีส่วนเกี่ยวเนื่องอยู่ไม่น้อย
ตามมุมมองที่เป็นไปได้ว่าบางฝ่ายในหมู่คนเสื้อแดง
อาจไม่เห็นด้วยกับการก่อเหตุของการสร้างแรงกดดันต่อสถาบันฯ
ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะนำไปสู่การโต้กลับอย่างรุนแรงจากมวลชนผู้จงรัก
ภักดี ???
เรื่องฎีกาเป็นการแสดงกำลัง
เชิงสันติวิธีที่รวดเร็ว
และเป็นประวัติศาสตร์ที่ประชาชนจำนวนมากนับล้านถวายฎีกาถึงพระเจ้าแผ่นดิน
ไม่ว่าจะอยู่ในยุคไหนก็ตาม ไม่ว่าจะอ้างรัฐธรรมนูญหรือกฏหมายใด ๆ ก็ตาม
...
ถ้าเรื่องนี้ไม่สร้างความสั่นสะเทือนต่อระบอบ อำมาตยาธิปไตย ไฉนพวกอำมาตย์ และ สมุนบริวาร จะดาหน้าออกมาเต้นแร้งเต้นกา ขัดขวาง และใช้วิธีสุดท้ายคือ เอา(ฎีกา)ไปขังคุก แช่เย็น จนสิ้นสุดรัฐบาลชุดก่อน”
โดยเหตุผลที่ทำให้เชื่อได้ว่าประโยคดังกล่าว
มีน้ำหนักเพียงพอจะเป็นคำตอบของคำถามกับที่มาของความขัดแย้งข้างต้น
ก็ควรได้มีการพิจารณาจากสิ่งที่ นางธิดา ใช้คำว่า ถ้าเรื่องนี้ (ฎีกาแดง) ไม่สร้างแรงสั่นสะเทือนต่อระบอบอำมาตยาธิปไตย ไฉนพวกอำมาตย์และสมุนบริวารจะ.....ขัดขวาง?? ”
แปลความกันตรงไปตรงมาก็ทำให้ต้องมีคำถามกลับไปถึง นางธิดา อีกครั้งว่า ฎีกาแดงสร้างแรงสั่นสะเทือนต่อระบอบอำมาตยาธิปไตย จริง ๆ แล้วคำว่า อำมาตยาธิปไตย นางธิดา หมายถึงใคร หรือ หรือ สถาบัน หรือ องค์กรอะไร ในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข
ในขณะที่ประโยคต่อมามีคำว่า (ไฉน) พวกอำมาตย์ และสมุนบริวาร ดาหน้าออกมาเต้นแร้งเต้นหา ขัดขวาง ...?? ซึ่งกับคำว่า อำมาตย์
ในประโยคหลัง ถ้าเรียงตามข้อเท็จจริงของกระแสข่าวที่ผ่านมา นางธิดา
คงหมายถึงการเคลื่อนไหวของรัฐบาลอภิสิทธิ์ หรือ องค์กรหลักใด ๆ ก็ตาม
ที่คัดค้านการยื่นถวายฎีกา
หรือ อำมาตย์
ในที่นี้อาจหมายรวมไปถึงสถาบันองคมนตรี ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ และ
คนเสื้อแดง ก็เคยนิยามว่าเป็นพวกอำมาตย์ ขณะที่สมุนบริวาร
ในความหมายของ นางธิดา คงหนีไม่พ้น นักวิชาการ และ สื่อมวลชน
อย่าง “สนข.ทีนิวส์” ฯลฯ
และถ้าย้อนความแปลกลับอีกครั้ง ใช่หรือไม่ที่ นางธิดา
ต้องการสื่อให้เห็นว่า ฎีกาแดงได้สร้างแรงสั่นสะเทือนต่อสถาบันเบื้องสูง
และส่งผลให้รัฐบาลอภิสิทธิ์ หรือ หน่วยงานใด ๆ หรือ ใคร ๆ ก็ตาม
ต้องออกมาแสดงการคัดค้าน และ จะแปลความได้หรือไม่ว่าระบอบอำมาตยาธิปไตย
ก็คือ ระบอบพระมหากษัตริย์นั่นเอง ???
ไม่เท่านั้นกับอีกหนึ่งประโยคที่ นางธิดา เขียนว่า “
นี่มันยุค พ.ศ. 2554 แล้ว หลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 มาร่วม
80 ปีแล้ว ภายใต้การครอบงำของระบอบอำมาตยาธิปไตย
ประชาชนไทยยังต้องมาถวายฎีกาถึงพระเจ้าแผ่นดินแบบนี้อีก ฟังดูแล้วน่าขำ ...
”
ก็ยิ่งน่าสนใจในระดับสำคัญว่า แท้
จริงแล้วสถาบันพระมหากษัตริย์ มีความหมายสูงค่าเพียงไร
สำหรับกระบวนการการยื่นถวายฎีกาอภัยโทษให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ผ่านมา และ
การโหยหาประชาธิปไตยของ นางธิดา ในฐานะรักษาการประธานนปช.
เป็นรูปแบบการปกครองในลักษณะใดกันแน่ ????
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
รีโมท
ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น