- นายสุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรี
- นายชัยวัฒน์ สถาอานันท์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- นางพริสซิลล่า เฮย์เนอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการค้นหาความจริงและความยุติธรรมในระยะเปลี่ยนผ่าน
- นายฮันซัน วิราจูดา อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย
- นายเดวิด เคเนดี้ ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
- นายเดนิส เดวิด อดีตผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ แอฟริกาใต้
นายคณิต ระบุว่า การมีที่ปรึกษาชาวต่างชาติเข้ามาช่วยเป็นที่ปรึกษาจะช่วยให้การทำงานของ คอป. ดำเนินไปในทิศทางที่ดี ยืนยันว่า คอป. ยังเป็นอิสระ จะพยายามทำทุกวิธีทางให้เกิดสันติปรองดอง ซึ่งการตัดสินใจทุกอย่างที่จะมีขึ้นในอนาคต เป็นการตัดสินใจของ คอป.
ข้อมูลจาก มติชน, MCOT,
คอป. บอกอาจอยู่เกิน 2 ปี, ระบุรัฐบาลอภิสิทธิ์ไม่ให้ความร่วมมือ
นายคณิต ให้สัมภาษณ์ว่า การทำงานของ คอป. ไม่ได้มุ่งมั่นว่าสิ่งที่ดำเนินการจะเปลี่ยนแปลงอะไรได้ในเร็ววัน เราจะเผยแพร่ความรู้ว่าการดำเนินการต่อไป ทหารต้องจัดการกับปัญหาอย่างไรจึงจะถูกต้อง เพื่อช่วยยับยั้งการใช้กำลังแก้ปัญหาในอนาคตส่วนที่มองว่า คอป.มีคนทำงานน้อยเกินไป นายคณิต กล่าวว่า ยอมรับว่า คอป.เป็นองค์กรขนาดเล็ก แต่ใช้วิชาการในการทำงานเพื่อความเข้าใจ เชื่อว่าทำให้เกิดการเชื่อถือศรัทธาต่อสาธารณะ และความจริงแล้วอายุการทำงานของ คอป. จะไม่ให้เกินของคณะกรรมการชุดที่มี นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน เพราะทราบดีว่าที่สุดแล้วระหว่างทำงานมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ในอนาคตถ้าคิดว่างานของ คอป. เป็นประโยชน์ อาจทำงานยาวกว่า 2 ปีก็ได้ หากเรื่องยังไม่จบ แต่ต้องขึ้นอยู่กับสังคมต้องการหรือไม่ ถ้าให้ทำก็ยินดีทำงานต่อ นอกจากนี้บทบาทของอัยการถือว่าสำคัญเช่นกัน เพราะหากมีการแยกแยะดีๆ ในการดำเนินคดีต่าง ๆ จะช่วยทำให้เกิดความปรองดองได้มาก
นายคณิต ระบุว่า คอป.กำลังเร่งทำวิจัยโดยเทียบเคียงกับรัฐธรรมนูญประเทศเยอรมัน เพื่อเชื่อมโยงให้เห็นว่าความสัมพันธ์ที่ถูกต้องระหว่างทหารกับรัฐบาลควร เป็นอย่างไร เพื่อระงับยับยั้งการใช้กำลังในการแก้ไขปัญหา ทั้งนี้ระบุว่า รัฐบาลที่ผ่านมา ให้ความร่วมมือน้อย แต่รัฐบาลชุดนี้เชื่อว่าจะให้ความร่วมมือดีขึ้น การมีความร่วมมืออย่างต่อเนื่องจะทำให้ คอป.ทำงานได้อย่างรวดเร็ว
ขณะที่ นายกิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรม ในฐานะอนุกรรมการด้านยุทธศาสตร์เพื่อการปรองดอง กล่าวว่า สิ่งแรกที่ทำได้เร็วที่สุด คือ การเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ เพราะความขัดแย้งที่เกิดขึ้นทั้ง 2 ฝ่าย มีทั้งผิดและถูก แต่เพื่อให้เงื่อนไขนำไปสู่ความรุนแรงน้อยลง จำเป็นต้องมีการเยียวยาให้เร็วที่สุด และจากการรับฟังความคิดเห็นของฝ่ายต่างๆ เชื่อว่า คอป.ได้เดินหน้ามาถูกทางแล้ว
ข้อมูลจาก MCOT, Voice TV
คอป. เตรียมเสนอให้ยกเลิกกฎหมายก่อการร้าย เพราะไม่ถูกหลักประชาธิปไตย
นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ยังกล่าวถึง กรณีการเสนอแก้กฎหมายก่อการร้าย ว่าเป็นกฎหมายที่มีโทษรุนแรงและกฎหมายดังกล่าว ยังมีความไม่ถูกต้องตามหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย เนื่องจาก มีการออกมาเป็นพระราชกำหนด ไม่ผ่านกระบวนการพิจารณาของรัฐสภา ซึ่ง คอป. กำลังพิจารณาว่า ควรจะยกเลิก หรือ ควรจะขับเคลื่อนเรื่องดังกล่าวอย่างไรนายคณิต กล่าวต่อไปว่า สำหรับกฎหมายว่าด้วยการก่อการร้าย ฝ่ายบริหารออกเป็นพระราชกำหนด จนกลายเป็นเรื่องเป็นราวขึ้นมาจนถึงปัจจุบัน และเป็นเรื่องใหญ่ในบ้านเรา ตนจึงมีแนวคิดที่จะเสนอรัฐบาลให้แก้ไขกฎหมายก่อการร้าย โดยเทียบเคียงกับอั้งยี่ตามที่สากลกำหนด เนื่องจากการก่อการร้ายเป็นเรื่องระดับสากล แต่อั้งยี่จะเบาลงมา ซึ่งกฎหมายมีบทลงโทษเพื่อไม่ให้ไปทำผิดอีก โดยที่ต่างประเทศจำคุกไม่เกิน 10 ปี แต่ของไทยอั้งยี่คือโทษประหารชีวิต ซึ่งรุนแรงมากเพราะกฎหมายไทยใช้ผิดหลักเกณฑ์ไปหมด
ข้อมูลจาก INN, กรุงเทพธุรกิจ
ยงยุทธ ประกาศรีบตั้งคณะกรรมการติดตามข้อเสนอของ คอป.
นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงกรณีที่รับตำแหน่งประธานคณะกรรมการประสานงานและติดตามผลข้อเสนอของ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ว่า กรอบการทำงานก็จะเป็นไปตามที่ คอป.มีมติมา จะมาว่าซูเอี๋ยกับตน หรือไม่เป็นธรรมก็ไม่ได้ เพราะ คอป.ตั้งโดยรัฐบาลชุดที่แล้ว แต่รัฐบาลตนก็จะนำข้อเสนอ คอป.มาปฏิบัติ เพราะเป็นข้อเสนอที่เป็นธรรม เป็นกลาง ชัดเจน ถูกต้อง ทุกฝ่ายยอมรับได้ ซึ่งงานนี้ต้องเร่งทำเพราะผ่านเวลามานาน คนเดือดร้อนก็มีมาก คนเจ็บก็มี คนตายก็ตายมานาน คนที่อยู่ในเรือนจำก็มี ทั้งนี้ ยืนยันว่าไม่เอื้อกับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ส่วนองค์ประกอบคณะกรรมการนั้น ตนก็จะรีบดำเนินการแต่งตั้ง และงานไม่ทับซ้อนกับคณะกรรมการอิสระว่าด้วยหลักนิติธรรมแห่งชาติ ที่มีนายอุกฤษ มงคลนาวิน เป็นประธาน เพราะคณะกรรมการชุดนั้นดูภาพรวม แต่ของตนจะดูเฉพาะปัญหาข้อมูลจาก มติชน
คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ
คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) เป็นคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบข้อเท็จจริงของการสลายการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง ในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 โดยมี คณิต ณ นคร อดีตอัยการสูงสุด เป็นประธาน คณะกรรมการชุดนี้ถูกแต่งตั้งโดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีคณะกรรมการ
นายคณิต ณ นคร ได้เปิดเผยรายชื่อของคณะกรรมการเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2553- นายกิติพงษ์ กิตติยารัตน์ (อดีตปลัดกระทรวงยุติธรรม)
- นางจุฑารัตน์ เอื้ออำนวย (นักวิชาการ รัฐศาสตร์ จุฬาฯ)
- นายเดชา สังขละวรรณ (อดีตคณบดีคณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
- นายมานิจ สุขสมจิตร (สื่อมวลชน สสร.50)
- นายรณชัย คงสกนธ์ (รองคณบดี คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี)
- นพ.สุรชัย ลิขสิทธิ์วัฒนกุล ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ ศิริราช
- นายไพโรจน์ พลเพชร
- นายสมชาย หอมละออ (อาชีพ NGOs)
Siam Intelligence
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น