เปิดเอกสารลับ คตส.ยึดทรัพย์“เสนาะ เทียนทอง”ในวันเจ็บปวด ก่อนเบ่งบารมี(อีกครั้ง)รัฐบาล“ยิ่งลักษณ์”
เปิดแฟ้มลับ คตส. ยึดทรัพย์“เสนาะ เทียนทอง”ในวันที่เจ้าพ่อวังน้ำเย็นเจ็บปวดที่สุดในชีวิตยุค“บิ๊กจ๊อด” ก่อนตระกูลเทียนทองเบ่งบารมี(อีกครั้ง)รัฐบาล“ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร”
ตระกูลการเมืองที่ได้รับเลือกตั้งมากสุดในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2554 ที่ผ่านมาคือคนตระกูลเทียนทองของนายเสนาะ เทียนทอง เพราะได้รับการเลือกตั้งมากสุดถึง 5 คน ครบทั้งตัวเอง ลูก และ หลาน
พลันที่พรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลคนในตระกูลเทียนทองได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร 1 คนคือ นายฐานิสร์ เทียนทอง ส.ส.สระแก้ว หลานชายนายเสนาะ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
หลังผลักดัน “อุไรวรรณ เทียนทอง”ภรรยา เป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลร่มเงาทักษิณ ชินวัตร ก่อนหน้านี้
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่ “เสนาะ” จะเบ่งบารมีอีกครั้ง เขาเคยผ่านประสบการณ์ความเจ็บปวดที่สุดในชีวิตอย่างน้อย1ครั้งนั่นคือถูกคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน (คตส.) ยุคคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (รสช.) นำโดย พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ รัฐประหารรัฐบาลพล.อ.ชาติชาย ชุณหะวัณ (23 ก.พ.2534)ยึดทรัพย์ในข้อหาร่ำรวยผิดปกติ ต่อมาศาลฎีกามีพิพากษาว่าคำสั่งยึดทรัพย์ดังกล่าวขัดต่อประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย ตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2534 จึงใช้บังคับมิได้
ศูนย์ข้อมูล&ข่าวสืบสวนฯ(TCIJ)นำผลการตรวจสอบของ คตส.มาเสนอดังนี้
คำวินิจฉัยกรณี นายเสนาะ เทียนทอง
คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินได้ดำเนินการแล้ว จึงทำคำวินิจฉัยจากพยานหลักฐานที่ปรากฏจากผลการตรวจสอบดังต่อไปนี้
ประวัติของนายเสนาะ เทียนทอง
นายเสนาะ เทียนทองเกิดเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2477 บิดาชื่อ นายแสวง เทียนทอง (ถึงแก่กรรม) มารดาชื่อ นางทองอยู่ เทียนทอง (ถึงแก่กรรม) การศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย อยู่บ้านเลขที่ 999 ตำบลวัฒนานคร อำเภอวัฒนานคร จังหวัดปราจีนบุรี ภริยาชื่อ นางอุไรวรรณ เทียนทอง อาชีพรับราชการ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เสมียนตราจังหวัดนนทบุรี มีบุตรด้วยกัน 2 คน
ระยะเวลาดำรงตำแหน่งทางการเมือง
นายเสนาะ เทียนทองเคยเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปเมื่อปี พ.ศ. 2519 สมาชิกสภานิติบัญญัติ เมื่อปี พ.ศ.2520 เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อ ปี พ.ศ.2523 รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อปี พ.ศ. 2529 และครั้งสุดท้าย เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ระหว่างเดือน สิงหาคม 2531 ถึงวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 สังกัดพรรคชาติไทย เป็นรัฐมนตรีในรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ 1, 2 และ 3 รวม 2 ปี 6 เดือนเศษ
รายการทรัพย์สินของนายเสนาะ เทียนทอง ที่ถูกอายัดและที่ถูกอายัดเพิ่มเติม
3.1บัญชีในธนาคารพาณิชย์
3.1.1 ในชื่อนายเสนาะ เทียนทอง มี 9 บัญชี ที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด ธนาคารกสิกรไทย จำกัด ธนาคารทหารไทย จำกัด และธนาคารนครหลวงไทย จำกัด รวมเป็นเงิน 5,529,636.72 บาท
3.1.2 ในชื่อนางอุไรวรรณ เทียนทอง มี 29 บัญชี ที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัดธนาคารกรุงไทย จำกัด ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด ธนาคารกสิกรไทย จำกัด ธนาคารทหารไทย จำกัด และธนาคารนครหลวงไทย จำกัด รวมเป็นเงิน58,233,914.28 บาท
3.2ที่ดิน
3.2.1 ในชื่อนายเสนาะ เทียนทอง ซึ่งเป็นที่ดินที่มีอยู่ก่อนดำรงตำแหน่งตามข้อ 2 จำนวน 50 แปลง รวมเนื้อที่ 2457 ไร่ 1 งาน 66 ตารางวา ในเขตจังหวัดปราจีนบุรีทั้งหมด
3.2.2 ในชื่อนางอุไรวรรณ เทียนทอง
ก) ที่ดินที่มีอยู่ก่อนตามข้อ 2 จำนวน 4 แปลง รวมเนื้อที่ 3 งาน 86 ตารางวา ในเขตจังหวัดปราจีนบุรีและนนทบุรี
ข) ที่ดินที่ได้มาระหว่างวันที่ 9 สิงหาคม 2531 ถึง 18 กุมภาพันธ์ 2534 จำนวน 22 แปลง รวมเนื้อที่ 50 ไร่ 3 งาน 18.5 ตารางวา ในเขตปราจีนบุรี ชลบุรี ปทุมธานี นนทบุรี และภูเก็ต ราคาที่แสดงในการจดทะเบียนซื้อขายรวม 13,372,874 บาท
3.3 รถยนต์
3.3.1 ในชื่อนายเสนาะ เทียนทอง
- รถยนต์นั่ง 2 แถว ยี่ห้อ อีซูซุ ทะเบียน ย-1743 กทม. จดทะเบียน เมื่อ 27 ม.ค. 26
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ยี่ห้อ โตโยต้า โคโรน่า ทะเบียน 5 ธ-0783 กทม. จดทะเบียนเมื่อ 25
พ.ย.33 ราคา 697,000 บาท
3.3.2 ในชื่อนางอุไรวรรณ เทียนทอง
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ยี่ห้อ เมอซิเดสเบ็นซ์ 500 SEL ทะเบียน ก-1771 ปจ. จดทะเบียนเมื่อ
14 มิ.ย.31
รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ยี่ห้อ เมอซิเดสเบ็นซ์ 230 E ทะเบียน ก-1717 ปจ. จดทะเบียนเมื่อ 29 มิ.ย 31
รถยนต์กระบะดัดแปลงเป็นรถยนต์นั่ง 2 ตอน ยี่ห้อ อีซูซุ ทะเบียน 3 ห-9135 กทม. จดทะเบียนเมื่อ 7 มี.ค 32 ราคา 310,000 บาท
รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ยี่ห้อ ฮอนด้า แอคคอร์ด ทะเบียน ค-2777 นบ. จดทะเบียนเมื่อ 22 มิ.ย. 33 ราคา 828,000 บาท
รถยนต์นั่งส่วนบุคคล ยี่ห้อ เมอซิเดสเบ็นซ์ 560 SELทะเบียน ก-2277 ปจ. จดทะเบียนเมื่อ 22 ต.ค. 33 ราคา 5.4 ล้านบาท
หุ้นของนายเสนาะ เทียนทอง ในห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เทียนทอง เป็นเงินลงทุน จำนวน 40 ล้านบาท
ขั้นตอนที่1
การพิจารณารายชื่อนักการเมืองเพื่อประกาศให้สาธารณชนทราบเมื่อผู้นั้นมีพฤติการณ์ ร่ำรวยผิดปกติวิสัยของผู้ประกอบอาชีพโดยสุจริต
4.1 ยอดทรัพย์สินที่มีอยู่ในวันอายัด
ดูข้อ 3.
4.2 ทรัพย์สินที่มีอยู่ก่อนดำรงตำแหน่ง
ดูข้อ 3.
อนึ่ง นายเสนาะ เทียนทอง ยื่นแบบแสดงรายการสินทรัพย์และหนี้สินตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการแสดงสินทรัพย์และหนี้สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ. 2524 มาตรา 3 หนึ่งครั้งว่ามีรายได้สินทรัพย์และหนี้สินในวันที่ 28 เมษายน 2530 ดังนี้
รายได้
เงินเดือนๆ ละ 32,000 บาท ปีละ 384,000บาท
สินทรัพย์
เงินฝากในธนาคารพาณิชย์ (ธ.กรุงเทพ, ธ.ทหารไทย) 800,000 บาท
ที่ดิน 6,000,000 บาท
บ้านพักอาศัย 3,000,000 บาท
ยานพาหนะ 1,500,000บาท
รวมทรัพย์สิน 11,300,000 บาท
หนี้สิน
เงินกู้เบิกเกินบัญชีธนาคารนครหลวงไทย จำกัด สาขาปราจีนบุรี บัญชีเลขที่ 334-1-00579-2 และธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาบางเขน (บัญชี หจก. ส. เทียนทอง) บัญชีเลขที่ 161-3-04218-1 รวม 6,600,000 บาท
4.3 รายได้โดยชอบ
นายเสนาะ และนางอุไรวรรณ เทียนทอง ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด 91) รวมกันมีเงินได้ดังนี้
ปี พ.ศ. นายเสนาะ นางอุไรวรรณ
2531 580,601.36 138,960.00
2532 818,280.00 165,300.00
2533 867,299.70 195,000.00
4.4 นายเสนาะ เทียนทอง มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นในระหว่างดำรงตำแหน่ง ดังนี้
ก. เงินสดในธนาคาร เพิ่มขึ้น 41,781,492.71 บาท
ข. ที่ดิน เพิ่มขึ้น 1,337,2874.00 บาท
ค. รถยนต์ เพิ่มขึ้น 7,235,000.00 บาท
ง. ทรัพย์สินใน หจก. ส. เทียนทอง
เฉพาะส่วน เพิ่มขึ้น17,500,000.00บาท
สรุปรวมเพิ่มขึ้น 79,889,366.71 บาท
หมายเหตุ ข้อ ก. ยอดทรัพย์สินเงินฝากธนาคาร เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2531 นายเสนาะ ฯ มียอดเงินฝาก 673,157.61 บาท นางอุไรวรรณ ฯ มียอดเงินฝาก 21,308,900.68 บาท รวม 21,982,058.29 บาท ซึ่งเมื่อนำมาหักออกจากยอดเงินฝากในธนาคารเมื่อ 23 กุมภาพันธ์ 2534 ซึ่งมีรวม 63,763,551.- บาท แล้วจึงมีเพิ่มขึ้น 41,781,492.71 บาท
ข้อ ข. ที่ดิน ให้ดู ข้อ 3.2 (ถือตามราคาที่จดทะเบียน)
ข้อ ค. รถยนต์ ให้ดู ข้อ 3.3
ข้อ ง. จากเอกสารแสดงงบการเงินของ หจก. ส. เทียนทอง สิ้นสุด ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2531 เปรียบเทียบสิ้นสุด ณ วันเดียวกันของปี พ.ศ.2533 มีการเพิ่มทุนเฉพาะส่วนของนายเสนาะ ฯ จาก 22.5 ล้านบาท เป็น 40 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.5 ล้านบาท นอกจากนี้ หจก. ส. เทียนทอง ยังมีสินทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นเป็นรถยนต์ และเครื่องจักรกลคิดเป็นมูลค่า 35,241,670 บาท
เมื่อเปรียบเทียบกับมูลค่าทรัพย์สินที่นายเสนาะ เทียนทองแสดง....แบบแสดงรายการสินทรัพย์และหนี้สินที่ยื่นต่อคณะกรรมการ ป.ป.ป. และรายได้จากแบบแสดงการเสียภาษีเงินได้แล้วถือว่า นายเสนาะ เทียนทอง มีทรัพย์สินเพิ่มขึ้นขณะอยู่ในตำแหน่งทางการเมืองสูงกว่าเกณฑ์ที่จะมีรายได้ตามปกติ จึงน่าเชื่อว่า นายเสนาะ เทียนทอง มีรายได้ทางอื่นที่ยังไม่เปิดเผยอีกเป็นจำนวนมาก คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินพิจารณาแล้วเห็นว่า นายเสนาะ เทียนทอง เป็นนักการเมืองที่มีพฤติการณ์อันส่อแสดงให้เห็นได้ว่ามีทรัพย์สินร่ำรวยผิดปกติ ผิดวิสัยของผู้ประกอบอาชีพโดยสุจริต สมควรที่จะประกาศรายชื่อให้สาธารณชนทราบ เพื่อคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินจะได้ดำเนินการรวบรวมพยานหลักฐานและสืบสวนสอบสวนต่อไป คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินจึงได้ประกาศรายชื่อนายเสนาะ เทียนทอง เป็นนักการเมืองที่มีพฤติการณ์อันส่อแสดงให้เห็นว่ามีทรัพย์สินร่ำรวยผิดปกติ ผิดวิสัยของผู้ประกอบอาชีพโดยสุจริต ตามประกาศคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน ฉบับที่ 2 ลงวันที่ 8 มิถุนายน 2534
การรวบรวมทรัพย์สินที่ถูกอายัดและทรพย์สินที่น่าเชื่อว่าเป็นของผู้ถูกอายัด
หลังการประกาศชื่อ นายเสนาะ เทียนทอง ได้ดำเนินการเรียกบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำและตรวจสอบ หจก. ส. เทียนทอง ซึ่งเป็นธุรกิจในครบครัวกับรายการทางบัญชีในธนาคารของนายเสนาะ เทียนทอง และภรรยา ผลการตรวจสอบปรากฏว่าไม่มีข้อสงสัยในกิจการที่ดำเนินทางธุรกิจ แต่รายการทางบัญชีที่ถูกอายัดไว้ทั้งหมดตามข้อ 4.4 พบข้อพิรุธซึ่งเป็นแนวทางไปพบบัญชีเงินฝากของนายสุทัศน์ เทศะแพทย์ น้องร่วมบิดา-มารดาของนางอุไรวรรณ เทียนทอง ที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขา ลาดพร้าว เป็นบัญชี ออมทรัพย์เลขที่ 129-0-92122-8 ซึ่งเปิดบัญชีเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2532 จำนวน 2,000 บาท และขณะตรวจสอบบัญชีนี้ปิดไปแล้วเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2534 ที่มีข้อพิรุธเพราะมีการเคลื่อนไหวทางบัญชีสูงผิดปกติ กล่าวคือ เฉพาะรายการฝากตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไป 15 ครั้ง 28 รายการ เป็นเงิน 78,974,390 บาท ดังนี้
18 ม.ค. 33 ฝาก 4,000,000 บาท
8 ก.พ. 33 ฝาก 2 รายการ 2,000,000 บาท
1 มี.ค. 33 ฝาก 4,000,000 บาท
22 มี.ค.33 ฝาก 7,500,000 บาท
27 มี.ค.33 ฝาก 2,000,000 บาท
4 พ.ค.33 ฝาก 5,100,000 บาท
15 มิ.ย. 33 ฝากเช็ค 3 ฉบับ 2 รายการ 3,200,000 บาท
6 ก.ค. 33 ฝาก 5,000,000 บาท
10 ก.ค. 33 ฝาก 12,642,000 บาท
11 ก.ค. 33 ฝาก 5,000,000 บาท
12 ก.ค. 33 ฝาก11 รายการ 10,000,000 บาท
24 ก.ค. 33 ฝาก 6,182,390 บาท
27 ก.ค. 33 ฝาก 5,350,000 บาท
28 ก.ค. 33 ฝาก 2 รายการ 5,000,000 บาท
2 ม.ค. 34 ฝาก 2,000,000บาท
รวม 78,974,390 บาท
ส่วนรายการถอนเงินจากบัญชีดังกล่าว เฉพาะที่มีเงินตั้งแต่ 1 ล้านบาทขึ้นไปมีจำนวน 18 ครั้ง 18 รายการ เป็นเงิน 77,895,490 บาท
14 ก.พ. 33 ถอน 1,701,100 บาท
15 ก.พ. 33 ถอน 3,778,400 บาท
9 มี.ค. 33 ถอน 3,972,240 บาท
19 เม.ย. 33 ถอน 3,000,000 บาท
27 เม.ย.33 ถอน 7,000,000 บาท
22 พ.ค. 33 ถอน 2,300,000 บาท
8 มิ.ย. 33 ถอน 2,000,000 บาท
20 มิ.ย. 33 ถอน 4,000,000 บาท
16 ก.ค. 33 ถอน 1,460,000 บาท
3 ส.ค. 33 ถอน 2,428,800 บาท
9 ส.ค. 33 ถอน 4,000,000 บาท
10 ส.ค. 33 ถอน 13,266,400 บาท
16 ต.ค. 33 ถอน 10,000,000 บาท
26 ต.ค. 33 ถอน 5,177,100 บาท
5 พ.ย. 33 ถอน 5,253,300 บาท
21 พ.ย. 33 ถอน 1,000,000 บาท
14 ม.ค. 34 ถอน 2,000,000 บาท
6 ก.พ. 34 ถอน 5,558,150 บาท
รวม 77,895,490 บาท
และเมื่อ 13 มี.ค. 34 ถอนปิดบัญชี จำนวน 238,429.10 บาท
ซึ่งเมื่อนำมาพิจารณาประกอบเหตุผลต่อไปนี้แล้วเชื่อว่า นายเสนาะ เทียนทองและภรรยา อาศัยบัญชีของนายสุทัศน์ เทศะแพทย์ เป็นบัญชีพัก กล่าวคือ
บัญชีนี้เมื่อเริ่มเปิดบัญชี (3 เม.ย. 32) มีการนำเงินเข้าฝากจำนวนเพียงหลักพันบาทอยู่ระยะหนึ่ง ซึ่งใกล้เคียงกับรายได้จากเงินเดือนของนายสุทัศน์ ฯ แต่นับจากวันที่ 18 มกราคม 2533 มีรายการฝาก-ถอน เป็นจำนวนนับล้านบาท บางรายการถึง 10 ล้านบาท ซึ่งเกินฐานะของนายสุทัศน์ ฯ
บัญชีนี้ปิดเมื่อ 13 มีนาคม 2534 หลังการประกาศรายชื่อนักการเมืองซึ่งรวมทั้งชื่อ นายเสนาะ
เทียนทอง ที่ถูกตรวจสอบด้วยเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2534
นายสุทัศน์ ฯ ได้ให้ถ้อยคำยืนยันหลายครั้งว่า บัญชีนี้ไม่เกี่ยวข้องกับ นายเสนาะ เทียนทอง แต่จากการตรวจสอบทางบัญชีพบว่า รายการถอนเกือบทั้งหมดเกี่ยวข้องกับบัญชีและกิจการของนายเสนาะ เทียนทอง และครอบครัว ดังนี้
ถอนเมื่อ 14 กุมภาพันธ์ 2533 เข้าบัญชี หจก. ส.เทียนทอง ที่ธนาคาร
จำนวน 1,701,100 บาท กรุงเทพ จำกัด สาขาบางเขน บัญชีกระแส รายวัน
ถอนเมื่อ 15 กุมภาพันธ์ 2533 โอนเข้าบัญชีนายสมนึก บู่น้อย หรือนาย
จำนวน 3,778,400 บาท พิชัย อุดมวงศ์ยนต์(บริษัทวรพัฒน์การุสรา
จำกัด) ที่ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด
สาขาปราจีนบุรี บัญชีออมทรัพย์เลขที่
334-2-09145-0
ถอนเมื่อ 9 มีนาคม 2533 โอนเข้าบัญชีนายสมนึก บู่น้อย หรือนาย
จำนวน3,972,240 บาท พิชัย อุดมวงศ์ยนต์(บริษัทวรพัฒน์การุสรา
จำกัด) ที่ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด
สาขาปราจีนบุรี บัญชีออมทรัพย์เลขที่
334-2-09145-0
ถอนเมื่อ 27 เมษายน 2533 โอนเข้าบัญชีนางอุไรวรรณ ฯ ที่ธนาคาร
จำนวน 7,000,000 บาท กรุงเทพ จำกัด สาขาลาดพร้าว บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 129-0-85212-6 จำนวน 1 ล้านบาท โอนเข้าบัญชีนายเสนาะ ฯ ที่ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด สาขาปราจีนบุรี บัญชีกระแสรายวันเลขที่ 334-1-00579-2 จำนวน 2ล้านบาทและทำแคชเชียร์เช็คสั่งจ่าย นายวิทยา เทียนทอง จำนวน 4 ล้านบาท
ถอนเมื่อ 8 มิถุนายน 2533 ถอนพร้อมกับบัญชีนางอุไรวรรณ ฯ บัญชี
จำนวน 2,000,000 บาท ออมทรัพย์ สาขาลาดพร้าว เลขที่ 129-0-85212-6 อีก 2 ล้านบาท แล้วทำแคชเชียร์เช็ค เข้าบัญชีนายเสนาะ เทียนทอง ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด สาขาปราจีนบุรี บัญชีกระแสรายวันเลขที่ 334-1-00579-2 จำนวน 4 ล้านบาท
ถอนเมื่อ 20 มิถุนายน 2533 ถอนพร้อมกับบัญชีนางอุไรวรรณ ฯ ที่
จำนวน 4,000,000 บาท ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาลาดพร้าว
บัญชีกระแสรายวันเลขที่ 129-3-10555-5 อีก 2 ล้านบาท แล้วโอน เข้าบัญชีนายเสนาะ เทียนทอง ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด สาขาปราจีนบุรี บัญชีกระแสรายวันเลขที่ 334-1-00579-2 จำนวน 6 ล้านบาท
ถอนเมื่อ 9 สิงหาคม 2533 โอนเข้าบัญชีนางอุไรวรรณ ฯ ที่ธนาคาร
กรุงเทพ จำกัด สาขาลาดพร้าว บัญชีออม ทรัพย์ เลขที่ 129-0-85212-6 จำนวน 3 ล้านบาทและทำแคชเชียร์เช็คจำนวน 1 ล้านบาท
ถอนเมื่อ 10 สิงหาคม 2533 โอนเข้าบัญชีนายเสนาะ เทียนทอง ที่
จำนวน 13,266,400 บาท ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด สาขาปราจีนบุรี บัญชีกระแสรายวันเลขที่ 334-1-00579-2 จำนวน 9 ล้านบาท และโอนเข้าบัญชีนายสมนึก บู่น้อย และ/หรือนายพิชัย อุดมวงศ์ยนต์ (บริษัท วรพัฒน์การสุรา จำกัด) ที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด สาขาปราจีนบุรี บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 213-1-17717-8 จำนวน 4,266,400 บาท
ถอนเมื่อ 16 ตุลาคม 2533 โอนเข้าบัญชีนางอุไรวรรณ ฯ ที่ธนาคาร
จำนวน 10,000,000 บาท กรุงเทพ จำกัด สาขาห้าแยกปากเกร็ดบัญชีเงินฝากประจำเลขที่ 207-2-03383-6 และต่อมาถอนเงินไปซื้อที่ดิน โฉนดเลขที่ 34370 ตำบลทุ่งศุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
ถอนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2533 โอนเข้าบัญชีนางอุไรวรรณ ฯ ที่ธนาคาร
กรุงเทพ จำกัด สาขาลาดพร้าว บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 129-0-85212-6 ด้วยการทำแคชเชียร์เช็ค
ถอนเมื่อ 21 พฤศจิกายน 2533 โอนเข้าบัญชีนางอุไรวรรณ ฯ ที่ธนาคาร
กรุงเทพ จำกัด สาขาลาดพร้าว บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 129-0-85212-6
ถอนเมื่อ 14 มกราคม 2534 โอนเข้าบัญชีนางอุไรวรรณ ฯ ที่ธนาคาร
กรุงเทพ จำกัด สาขาลาดพร้าว บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 129-0-85212-6
นายสุทัศน์ ฯ ให้ถ้อยคำว่า ในปัจจุบันนี้มีเงินฝากหลายบัญชี แต่ทุกบัญชีมียอดเงินในบัญชีไม่เกิน 10,000 บาท ซึ่งขัดกับยอดเงินและการเคลื่อนไหวของบัญชีนี้
จากหลักฐานอาชีพรับราชการของ นายสกล เทศะแพทย์ (บิดาของนางอุไรวรรณ เทียนทอง และนายสุทัศน์ เทศะแพทย์) น่าเชื่อว่าไม่ใช่ผู้มีฐานะร่ำรวยในอดีต
นายสุทัศน์ ฯ อ้างว่า เงินในบัญชีส่วนใหญ่เป็นของนายสกล ฯ ซึ่งได้จากการขายของเก่า แล้วมอบให้นำเข้าบัญชีเพราะบิดาแก่แล้ว แต่นายสมบัติ เพชรตระกูล (ผู้จัดการ หจก.สามประสิทธิ์) อ้างว่านายสกล ฯ เป็นผู้นำไปติดต่อของเก่าให้แก่ตนเองทุกครั้ง ซึ่งหากเป็นความจริงแล้วก็ไม่มีเหตุจำเป็นใดที่นายสกล ฯ จะต้องใช้ให้นายสุทัศน์ ฯ เป็นผู้นำเงินไปเข้าบัญชี นอกจากนี้นายสมบัติ ฯ ยังอ้างว่านายสกล ฯ นำของเก่าไปขายให้หลายครั้ง และบางเดือนไปติดต่อขายให้ถึง 3 ครั้ง ซึ่งผิดลักษณะของคนที่นำของเก่าของตนเองมาขาย
นายสุทัศน์ ฯ อ้างว่าบางรายการ นายพิเชษฐ อเทียนทอง ยืมไปชำระค่าสุรา เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 25323 จำนวน 3,778,500 บาท ซึ่งหากเป็นเงินของนายสกล ฯ จริงแล้ว นายสุทัศน์ ก็ไม่น่าจะให้ยืม
คำชี้แจงของผู้ถูกอายัด
6.1 นายเสนาะ เทียนทอง ให้การสรุปว่าก่อนมาเป็นนักการเมือง ดำเนินธุรกิจในนามห้างหุ้นส่วนจำกัด ส.เทียนทอง โดยจดทะเบียนนิติบุคคล เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2513 ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการรับเหมาก่อสร้าง จำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง จำหน่ายสุรา ประจำอำเภอวัฒนานคร จังหวัดปราจีนบุรี โดยในช่วงแรกเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ ต่อมาเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2529 ได้ถอนตัวและให้นายพิเชษฐ์ เทียนทอง (น้องชาย) เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแทนเนื่องจากได้รับการแต่งตั้งให้เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แต่ในธุรกิจยังคงใช้เงินเบิกเกินบัญชีที่ ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด สาขาปราจีนบุรี บัญชีเลขที่ 334-1-00579-2 กิจการของห้าง ฯ ดำเนินไปโดยการดูแลของนางอุไรวรรณ เทียนทอง (ภรรยา) นายพิเชษฐ์ เทียนทอง และนางขวัญเรือน เทียนทอง (น้องสะใภ้) ตนจะเป็นเพียงผู้ลงลายมือชื่อในเช็คเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งสามไปดำเนินการต่อไป กิจการของห้าง ฯ ได้ดำเนินการมาเรื่อยๆ และเติบโตขึ้นเป็นลำดับโดยได้เพิ่มกิจการโรงโม่ขึ้นอีกเมื่อประมาน 10 กว่าปีที่ผ่านมา ทุนจดทะเบียนเริ่มจาก 10 ล้านบาท เป็น 30 ล้านบาทและปัจจุบันเป็น 70 ล้านบาท
แหล่งที่มาของรายได้ที่สำคัญระหว่างปี พ.ศ.2531-2534 คือ งานรับเหมาสร้างทางทั้งในนามของ หจก.ส.เทียนทอง และนิติบุคคลอื่น คือบริษัทบุญชัยพาณิชย์ (1979) จำกัด รวมเป็นเงิน 101,179,120 บาท รับเงินค่าน้ำมันเชื้อเพลิงจาก บริษัทวิจิตรภัณฑ์ก่อสร้าง จำกัด 39 ล้านบาท ขายหุ้น บริษัทอัลไพน์เรียลเอสเตท จำกัด 20 ล้านบาท และธุรกิจค่าจองตึกศูนย์การค้าวังป่าตอง อำเภออรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี จำนวน 20 ล้านบาท ส่วนรายละเอียดของ หจก.ส.เทียนทอง ให้สอบถามจากนางอุไรวรรณ ฯ และนายพิเชษฐ์ ฯ
แบบแสดงรายการสินทรัพย์และหนี้สินของเจ้าหน้าที่ของรัฐ พ.ศ.2524 เมื่อวันที่ 28 เมษายน 2530 แสดงไว้เฉพาะทรัพย์สินในส่วนของตนเองเท่านั้น ไม่รวมถึงภรรยาและนิติบุคคลที่ตนดำเนินธุรกิจ รายการที่กรอกไว้ในแบบ ฯ มิได้ตรวจสอบความถูกต้อง แต่ใช้วิธีกะประมาณเอา
การเสียภาษีเงินได้ยื่นรวมกับภรรยา โดยยื่นเฉพาะเงินได้ที่เป็นเงินเดือนจากทางราชการเท่านั้น สำหรับนางอุไรวรรณ ฯ นอกจากมีรายได้เป็นเงินเดือนจากทางราชการแล้วยังมีรายได้จากการซื้อขาย อสังหาริมทรัพย์ และแลกเปลี่ยนเช็คด้วย
6.2 นางอุไรวรรณ เทียนทอง ให้การสรุปว่าการดำเนินกิจการของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เทียนทอง ในระหว่างที่นายเสนาะ ฯ เป็นรัฐมนตรี ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับราชการในกระทรวงมหาดไทย หากใช้ชื่อห้างฯ เป็นคู่สัญญาเห็นว่าไม่เหมาะสม จึงใช้ชื่อบุคคลอื่นเป็นผู้เข้าประมูลงานแทน และเมื่อได้งานกำไรทั้งหมดจะตกเป็นของ หจก. ส.เทียนทอง
เมื่อปี พ.ศ.2533 ได้ซื้อหุ้นของบริษัทอัลไพน์เรียลเอสเตส จำกัด เป็นเงิน 5 ล้านบาท ต่อมาได้ขายชำระหนี้ให้กับนายประยูร สงวนสิน นายสรศักดิ์ ตั้งประกิจ และนายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล เป็นเงิน 20 ล้านบาท ชำระหนี้ 15 ล้านบาท จึงเหลือเงิน 5 ล้านบาท นำเข้าฝากไว้ที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาลาดพร้าว บัญชีเลขที่ 129-2-30241-9 เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2533
นอกจากนี้ นางอุไรวรรณ ฯ ยังได้ตอบคำถามตามรายการที่สอบถามจากบัญชีในธนาคารที่ปรากฏ เงินฝาก-ถอน จำนวนสูงดังตัวอย่าง
รายการฝากธนาคารทหารไทย จำกัด สำนักงานใหญ่ บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 001-2-55762-5 เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2532 จำนวน 3 ล้านบาท ถอนออกจากธนาคารนครหลวงไทย จำกัด สาขาปราจีนบุรี บัญชีกระแสรายวันเลขที่ 334-1-00579-2 เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2532 จำนวน 2 ล้านบาท รวมกับเงินมาจากที่ใดไม่ทราบ
รายการฝากธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาลาดพร้าว บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 129-0-85212-6 เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2533 จำนวน 2 ล้านบาท นายพิเชษฐ์ เทียนทอง นำมาให้เป็นเงินสดทั้งจำนวน ส่วนรายการฝากเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2533 จำนวน 1 ล้านบาท นายสุทัศน์ เทศะแพทย์ น้องชายให้ยืมมาใช้หมุนเวียน ซึ่งความจริงเป็นการยืมรวม 7 ล้านบาท
รายการฝากธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาลาดพร้าว บัญชีกระแสรายวัน เลขที่ 129-3-10571-2 ของนายเสนาะ เทียนทอง เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2531 จำนวน 500,000 บาทเป็นเช็คของขวัญที่ได้ในโอกาสวันขึ้นปีใหม่
อนึ่ง นางอุไรวรรณ ฯ ยังให้การเกี่ยวกับบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาลาดพร้าว บัญชีออมทรัพย์ เลขที่ 129-0-92122-8 ว่า เป็นบัญชีของนายสุทัศน์ เทศะแพทย์ ซึ่งนายสกล ฯ (บิดา) อาศัยเดินบัญชีเพื่อประกอบธุรกิจร่วมกับนายสุทัศน์ ฯ ก่อนทำงานที่การประปานครหลวง นายสุทัศน์ ฯ ประกอบอาชีพรับจำนอง รับซื้อฝาก และเป็นนายหน้า ส่วนบิดามีรายได้จากการให้เช่าพระเครื่อง (จำหน่าย) โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับ หจก.ส.เทียนทอง
การสอบพยานบุคคล
7.1 นายพิเชษฐ์ เทียนทอง ให้การสรุปว่า รถยนต์เบนซ์ 560 SEL หมายเลขทะเบียน ก-2277 ปจ. ซื้อจากนายประโยชน์ กุลจันทร์ ราคา 5.4 ล้านบาท และเพิ่งสนใจทำธุรกิจที่ดินเมื่อต้นปี พ.ศ.2534 จึงได้ซื้อที่ดิน น.ส.3 ก. จำนวน 1,427 ไร่ ซึ่งเป็นป่ายูคาลิปตัส จากบริษัทหย่วนเฮงลี่อุตสาหกรรมไม้ จำกัด ในราคาไร่ละประมาณ 5,000 บาท (คิดเป็นเงิน 1,427 x 5,000 = 7,135,000 บาท) และให้การภายหลังว่าซื้อมาในราคาประมาณ 11 ล้านบาท การชำระเงินค่าที่ดินใช้ แคชเชียร์เช็คที่ได้จากการขายหินและน้ำมัน ให้แก่นางสาววิภาภรณ์ วิโรจนาภิรมย์ ลูกสาวของนายธนา ฯ เจ้าของและผู้จัดการ หจก. บุญสหะการสร้าง ชำระโดยฝากให้นายสุทัศน์ เทศะแพทย์ ชำระค่าที่ดินแทนโดยแบ่งชำระเป็น 2 งวดๆ ละ5 ล้านบาทเศษ
7.2 นายสุทัศน์ เทศะแพทย์ ให้การสรุปว่า เป็นบุตรของนายสกลและนางสาคร เทศะแพทย์ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน 2 คน คือ ตนกับนางอุไรวรรณ ฯ
นายสกล ฯ ถึงแก่กรรมแล้วเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2534 ขณะนายสกล ฯ ยังมีชีวิตและตนเพิ่งจบการศึกษา นายสกล ฯ ได้นำของเก่าจำพวก เพชร พลอยสี ทองเก่า และวัตถุโบราณซึ่งได้สะสมไว้ตั้งแต่สมัยคุณปู่ และซื้อเพิ่มตอนเขมรแตกออกขายเพื่อให้ตนมีทุนไปประกอบอาชีพระหว่างรองาน เมื่อขายของได้นายสกล ฯ ให้ตนเป็นผู้นำเงินหรือเช็คไปเข้าบัญชีออมทรัพย์เลขที่ 129-0-92122-8 ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาลาดพร้าว ซึ่งเปิดไว้ในนามของตน ตนจได้ใช้เงินในบัญชีนี้ทำธุรกิจ รับจำนอง รับซื้อฝากที่ดิน ซื้อขายที่ดิน ให้กู้ยืม บัญชีนี้ปิดก่อนบิดาถึงแก่กรรม เมื่อบิดาถึงแก่กรรมไม่มีมรดกอะไรตนและนางอุไรวรรณ ฯ คงได้เงินจากบัญชีนี้คนละประมาณ 10 ล้านบาท ตนเคยให้เงินนางอุไรวรรณ ฯ ยืม 7 ล้านบาทและเคยให้นายพิเชษฐ์ เทียนทอง ยืมชำระค่าสุรา เงินที่นำเข้าฝากในบัญชีนี้เป็นเงินที่ได้จากการดำเนินธุรกิจของบิดาและของตนเล็กน้อย นายธนา วิโรจนาภิรมย์ นายสมบัติ เพชรตระกูล เคยซื้อพระและเพชรพลอยจากบิดา และเคยให้นายสุปรีดิ์ ศรีผดุง ยืมเงินโดยยืมผ่าน นายนพ สัตยาศัย
7.3 เรือโทสุปรีดิ์ ศรีผดุง ให้การว่าประมาณกลางปี พ.ศ. 2533 เคยให้นายนพ สัตยาศัย หาเงินยืมให้3,000,000 บาท และได้ชำระคืนหลังจากยืมประมาณหนึ่งเดือน ด้วยเช็คของธนาคารแสตนดาร์ดชาร์เตอร์ด จำนวน 3 ฉบับ เป็นเงิน 3,200,000 บาท รู้จักนายเสนาะ เทียนทอง ในฐานะเคยเล่นกอล์ฟด้วยกัน
7.4 นายสมบัติ เพชรตระกูล ผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามประสิทธิ์ ให้การว่าติดต่อซื้อเพชรพลอยและบูชาพระเครื่องกับนายสกล เทศะแพทย์ บิดาของนางอุไรวรรณ มานานหลายปีแต่เท่าที่จำได้ คือ
- เดือนมีนาคม 2533 จ่ายเป็นเงินสด 5.4 ล้านบาท
- วันที่ 6 กรกฎาคม 2533 ประมาณ 5.6 ล้านบาท โดยแบ่งเป็นเงินสด 6 แสนบาท และเช็คธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาหัวลำโพง เลขที่ 1824276 จำนวน 5 ล้านบาท
- วันที่ 9 กรกฎาคม 2533 ประมาณ 5.7 ล้านบาท เป็นเงินสด 7 แสนบาท และเช็คธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาหัวลำโพง เลขที่ 1824277 จำนวน 5 ล้านบาท
- วันที่ 12 กรกฎาคม 2533 ประมาณ 5.9 ล้านบาท เป็นเงินสด 9 แสนบาท และเช็คธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาหัวลำโพง เลขที่ 1824278 จำนวน 5 ล้านบาท
7.5 นายพยนต์ ศักดิ์เดชยนต์ อาชีพนักธุรกิจซื้อขายที่ดิน เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด สาขาถนนวิทยุ เลขที่ 7538476 ลงวันที่ 28 ธันวาคม 2533 เป็นเงิน 1 ล้านบาท ให้นางสาวนุชนาฏ เอกสิทธิชัย ยืมเพื่อช่วยเหลือกัน และได้รับชำระคืนแล้ว ปฏิเสธการรู้จักครอบครัวนายเสนาะ เทียนทอง
7.6 นางสาววิภาภรณ์ วิโรจนาภิรมย์ อาชีพแม่บ้าน เป็นบุตรนายธนา วิโรจนาภิรมย์ เจ้าของ หจก. บุญสหะการสร้าง เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คเลขที่ 6006107, 6006135 ของธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด จำนวนเงิน 6,182,390 บาท และ 5,350,000 บาท ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2533 และ 24 กรกฎาคม 2533 ตามลำดับ โดยจ่ายค่าซื้อหินให้นายพิเชษฐ์ เทียนทอง เป็นการทำธุรกิจในฐานะคนกลางหรือนายหน้าปฏิเสธการรู้จักนายสุทัศน์ ฯ
7.7 นางสาวนุชนาฏ เอกสิทธิชัย ให้การรับว่าเป็นผู้กู้ยืมเงินจากนายพยนต์ ศักดิ์เดชยนต์ ตามเช็คธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด สาขาถนนวิทยุ เลขที่ 7538476 จำนวน 1 ล้านบาท และได้นำไปจ่ายค่าเล่นพนันกอล์ฟ จำไม่ได้ว่าได้จ่ายให้ผู้ใด ไม่เคยเล่นกอล์ฟกับนายเสนาะ เทียนทอง และปฏิเสธการรู้จักนายสุทัศน์ ฯ
7.8 นายธนา วิโรจนาภิรมย์ หุ้นส่วนผู้จัดการ หจก. บุญสหะการสร้าง ให้การว่า เมื่อเทศกาลปีใหม่ได้ติดตามเพื่อนไปอวยพรปีใหม่ให้นายเสนาะ ฯ ที่บ้านพักในหมู่บ้านเมืองทองนิเวศน์ ระหว่างรอ ได้พบกับนายสกล ฯ ซึ่งเสนอขายเพชรพลอย พระเครื่องสมเด็จวัดระฆัง รุ่นหลังขื่อ และพระบูชาทองคำ หนัก 80 บาทให้ หลังจากตรวจดูสินค้าแล้วตกลงกันในราคา 4 ล้านบาท นายสกล ฯ ไม่วางใจจึงนัดแลกเปลี่ยนกันที่ธนาคารกรุงไทย จำกัด สาขาถนนศรีอยุธยา โดยให้นายธนา ฯ ชำระเป็นแคชเชียร์เช็ค นอกจากนี้นายธนา ฯ ยังรับว่า หจก. บุญสหะการสร้าง เคยประมูลงานโดยฮั้วกันกับ หจก. ส. เทียนทอง แต่เป็นการฮั้วกันเพียงเพื่อขอเงินที่จ่ายค่าแบบคืน
8. การผ่อนผันการอายัดทรัพย์
บัญชีเงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาห้าแยกปากเกร็ด ชื่อบัญชีนางอุไรวรรณ เทียนทอง บัญชีเงินฝากประจำเลขที่ 207-2-03383-6 เดือนละ 50,000 บาท เป็นค่าใช้จ่ายส่วนตัว และค่าสาธารณูปโภคตามที่จ่ายจริงตามมติ กตส.ครั้งที่ 11/ เมื่อวันที่ 27เมษายน 2534
ขั้นตอนที่ 3
การพิจารณาและวินิจฉัย
คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน ได้ทำการตรวจสอบและสอบสวนบัญชีเงินฝากธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาลาดพร้าว บัญชีสะสมทรัพย์เลขที่ 129-0-92122-8 ชื่อบัญชีนายสุทัศน์ เทศะแพทย์ ซึ่งเป็นบัญชีเงินฝากที่มีการเคลื่อนไหวผิดปกติแต่ละรายการดังนี้
รายการฝากวันที่ 18 มกราคม 2533 แคชเชียร์เช็ค 4,000,000 บาท
จากหลักฐานปรากฏว่า มีชื่อนายธนา วิโรจนาภิรมย์ เป็นผู้สั่งจ่าย
นายสุทัศน์ ฯ และนายธนา ฯ ต่างชี้แจงตรงกันว่าเป็นเงินที่นายธนา ฯ สั่งจ่ายเป็นค่าซื้อเพชร 2 เม็ด พลอยสี
เม็ดเล็ก 1 เม็ด พระเครื่องสมเด็จวัดระฆัง รุ่นหลังขื่อ และพระบูชาทองคำหนัก 80 บาท จากนายสกล เทศะแพทย์
พิเคราะห์เห็นว่า นายสกล เทศะแพทย์ อยู่ในวัยสูงอายุ พักอาศัยอยู่กับนายเสนาะและนางอุไรวรรณ เทียนทองที่บ้านพักในกรุงเทพมหานคร จึงไม่น่าจะมีความจำเป็นที่จะต้องขายทรัพย์สินเหล่านี้ถ้าหากมี ให้แก่นายธนา ฯ ซึ่งไม่ใช่ผู้คุ้นเคย ทั้งยังเป็นช่วงที่นายเสนาะ ฯ ผู้เป็นบุตรเขยมีตำแหน่งเป็นรัฐมนตรี แม้นายธนา ฯ จะให้ถ้อยคำว่าเหตุที่นายสกล ฯ ยอมจำหน่ายทรัพย์สินดังกล่าว เนื่องจากนายสุทัศน์ ฯ ผู้เป็นบุตรชายต้องการใช้เงิน ก็ไม่ปรากฏว่าจะมีหลักฐานการใช้เงินของนายสุทัศน์ ฯ ในช่วงดังกล่าวแต่อย่างใด และจากประวัตินายสกล ฯ เป็นอดีตข้าราชการศุลการักษ์ 3 รับเงินเดือนครั้งสุดท้ายเมื่อปี พ.ศ. 2525 เดือนละ 5,205 บาท และรับบำเหน็จเป็นเงิน 208,200 บาท เมื่อออกจากราชการก็ได้พักอาศัยอยู่กับนายเสนาะและนางอุไรวรรณ เทียนทอง และเมื่อถึงแก่กรรม ก็ไม่ปรากฏว่ามีทรัพย์มรดกใดตกทอดแก่นางอุไรวรรณ ฯ และนายสุทัศน์ ฯ ทายาท คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สิน ไม่เชื่อว่านายสกล ฯ จะมีเพชร พลอยสี ทองเก่า พระพุทธรูปทองคำ พระเครื่อง ที่มีราคาเป็นจำนวนนับสิบๆล้านบาท และเพิ่งจะนำออกขายตามคำกล่าวอ้างของนายสุทัศน์ ฯ คำชี้แจงไม่น่ารับฟัง นอกจากนั้น นายธนา ฯ เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด บุญสหะการสร้าง ซึ่งทำธุรกิจเกี่ยวพันกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. เทียนทองของนายเสนาะ ฯ เคย…กับ หจก.ส. เทียนทองในการประมูลงานต่างๆ และเป็นผู้รับงานก่อร้างของกรมโยธาธิการ ในปีงบประมาณ 2532-2533 ซึ่งนายเสนาะ ฯ ในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้มีอำนาจหน้าที่ควบคุม กำกับ ดูแล ได้ลงนามอนุมัติถึง 6 โครงการเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 306,240,000 บาท อนึ่งยังมีเหตุผลที่ไม่น่าเชื่ออีกประการหนึ่งว่าการซื้อขายครั้งนี้นายธนา ฯ อ้างว่าเดิมชำระให้เป็นเช็คแต่นายสกล ฯ มีท่าทีไม่วางใจและขอเปลี่ยนเป็นนัดแลกเปลี่ยนกันที่ธนาคารในวันถัดไปซึ่งเป็นเรื่องผิดวิสัย เพราะการที่นายสกล ฯ ให้นายสุทัศน์ ฯ นำของมีค่าติดตัวไปเพื่อการแลกเปลี่ยนที่ธนาคารเป็นเรื่องที่น่าอันตราย ผิดลักษณะของคนที่มีความรอบคอบถึงกับไม่ยอมรับเช็คที่นายธนา ฯ นำมาชำระให้ที่บ้านพัก
รายการฝากวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2533 แคชเชียร์เช็ค 2,000,000 บาท วันที่ 22 มีนาคม 2533 เงินสด 7,500,000 บาท วันที่ 6 กรกฎาคม 2533 เงินสด 5,000,000 บาท วันที่ 12 กรกฎาคม 2533 เงินสด 10,000,000 บาท
นายสุทัศน์ ฯ ชี้แจงว่าเป็นเงินที่นายสกล ฯ บิดามอบให้นำเข้าฝากธนาคารเป็นค่าขายของเก่า พระเครื่อง ทองเก่า พลอยสี และเพชร ให้แก่นายสมบัติ เพชรตระกูล สำหรับรายการฝากวันที่ 22 มีนาคม 2533 นั้นเป็นค่าขายของให้นายสมบัติ ฯ 4.5 ล้านบาท รวมขายของให้นายสมบัติ ฯ เป็นเงิน 21.5 ล้านบาท
นอกจากนั้นเหตุผลไม่น่าเชื่อถือฐานะของนายสกล เทศะแพทย์ และความจำเป็นในการต้องการใช้เงินของนายสุทัศน์ เทศะแพทย์ ตามข้อ 9.1 แล้ว คำให้การของนายสมบัติ เพชรตระกูล พยานซึ่งรับว่าเป็นผู้ซื้อเพชร พลอย และพระบูชา จากนายสกล เทศะแพทย์ เกี่ยวกับจำนวนเงินที่ซื้อเพชรพลอยก็ไม่ตรงกับจำนวนเงินที่นำเข้าฝากอันเป็นพิรุธ กล่าวคือ
เดือนมีนาคม 2533 ซื้อเงินสด 5.4 ล้านบาท
6 กรกฎาคม 2533 ซื้อ 5.6 ล้านบาท (เงินสด 6 แสนบาท และเช็ค 5 ล้านบาท)
9 กรกฎาคม 2533 ซื้อ 5.7 ล้านบาท (เงินสด 7 แสนบาท และเช็ค 5 ล้านบาท)
12 กรกฎาคม 2533 ซื้อ 5.9 ล้านบาท (เงินสด 9 แสนบาท และเช็ค 5 ล้านบาท)
นอกจากนั้นนายสมบัติยังให้การว่าการซื้อขายนายสกล ฯ จะเป็นผู้นำของไปเสนอขายให้นายสมบัติ ฯ ถึงที่และชำระเงินส่วนใหญ่เป็นเช็ค ดังนั้นจึงไม่มีเหตุผลที่นายสกล ฯ จะนำเช็คของนายสมบัติ ฯ ไปแลกเป็นเงินสดหรือเปลี่ยนเป็นแคชเชียร์เช็คแล้วจึงมอบให้นายสุทัศน์ ฯ มิได้นำเข้าฝากเป็นเงินจำนวนเดียว แต่ได้แบ่งยอดเงินออกเป็นรายการย่อยๆ ดังการฝากวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2533 นายสุทัศน์ ฯ ได้นำเช็ค 1 ฉบับ จำนวน 3 ล้านบาท ของนายสมบัติ ฯ มาซื้อแคชเชียร์เช็คจ่ายตนเอง จำนวน 3 ฉบับ ๆ ละ 1 ล้านบาท และนำเข้าบัญชี 2 ล้านบาท วันที่ 12 กรกฎาคม 2533 ได้แบ่งรายการฝากแยกย่อยถึง 11 รายการทั้งที่บัญชีนี้เป็นบัญชีออมทรัพย์
พิเคราะห์เห็นว่า เหตุที่มีการเปลี่ยนจากเช็คเป็นเงินสดแล้วจึงนำเข้าฝากและแบ่งยอดเงินเป็นรายการย่อยๆ ก็เพื่อเป็นการปกปิดแหล่งที่มาของเงินยากแก่การตรวจสอบ และมีข้อสังเกตว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัด สามประสิทธิ์ ซึ่งนายสมบัติ เพชรตระกูล เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ เป็นผู้รับงานก่อสร้างของกรมโยธาธิการในปีงบประมาณ 2532-2533 ซึ่งนายเสนาะ ฯ ในฐานะรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้มีอำนาจหน้าที่ควบคุม กำกับ ดูแล ได้ลงนามอนุมัติเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 104,304,000 บาท คำชี้แจงของนายสุทัศน์ ฯ ไม่น่ารับฟัง
รายการฝากวันที่ 27 มีนาคม 2533 เงินสด 2,000,000 บาท
นายสุทัศน์ ฯ ชี้แจงว่า จำนวนเงิน 1 ล้านบาท เป็นการชำระหนี้จากนางอุไรวรรณ ฯ ที่ยืมไปเข้าบัญชีที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาลาดพร้าว บัญชีเลขที่ 129-0-85212-6 เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2533 แต่นางอุไรวรรณ ฯ ชี้แจงเมื่อคราวตรวจสอบถามรายการตามบัญชีที่น่าสงสัยว่าเป็นเงินที่นายวิชัย ศันสนะพงษ์ปรีชา มอบให้ใช้จ่ายในงานสาธารณกุศล จึงเป็นการให้การที่ขัดแย้งกัน และจากการที่คณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินเชื่อว่าบัญชีที่มีชื่อนายสุทัศน์ ฯ ดังกล่าว เป็นบัญชีของนายเสนาะ ฯ และนางอุไรวรรณ ฯ แล้ว จึงไม่มีเหตุที่จะต้องคืนเงินที่เบิกถอนไปแต่อย่างใด
สำหรับเงินอีก 1 ล้านบาทนั้น ได้แยกพิเคราะห์ไว้ในข้อ 9.10
รายการฝากวันที่ 4 พฤษภาคม 2533 เงินสด 5,100,000 บาท
นายสุทัศน์ ฯ ชี้แจงในคำให้การครั้งแรกว่า รับจากนายพิเชษฐ์ เทียนทอง เพื่อชำระหนี้ที่นางอุไรวรรณ ฯ ยืมไป ต่อมานายสุทัศน์ ฯ ชี้แจงเพิ่มเติมเป็นลายลักษณ์อักษรว่า เพื่อชำระหนี้ที่นางอุไรวรรณ ฯ ยืมไปเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2533 จำนวน 6 ล้านบาท คงค้างอีก 1 ล้านบาท ในเรื่องนี้นางอุไรวรรณ ฯ รับว่า เป็นผู้ยืมไปรวม 7 ล้านบาท
จาการตรวจสอบหลักฐานปรากฏว่า มีการถอนเงินจากบัญชีนี้รวม 7 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดดังนี้คือ
จำนวน 1 ล้านบาท โอนเข้าบัญชี นางอุไรวรรณ ฯ ที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขาเดียวกัน บัญชีออมทรัพย์เลขที่ 129-0-85212-6
จำนวน 2 ล้านบาท โอนเข้าบัญชี นายเสนาะ ฯ ที่ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด สาขาปราจีนบุรี บัญชีกระแสรายวันเลขที่ 334-1-00579-2
จำนวน 4 ล้านบาท ทำแคชเชียร์เช็คจ่ายนายวิทยา เทียนทอง
พิเคราะห์เห็นว่า คำชี้แจงไม่สมเหตุสมผลเพราะตัวเลขไม่ลงตัว นอกจากนี้ยังมีเหตุผลที่จะอธิบายเช่นเดียวกับข้อ 9.3 จึงเชื่อว่าเงินตามรายการนี้ได้มาโดยมิชอบ
ปรากฏในหน้าแรกที่:
ข่าวเจาะพาดหัว (สไลด์โชว์)
16 สิงหาคม 2011
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
รีโมท
ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน
คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค
บทความย้อนหลัง
-
►
2012
(274)
- ► กุมภาพันธ์ (51)
-
▼
2011
(1241)
-
▼
สิงหาคม
(263)
-
▼
20 ส.ค.
(8)
- โปรแกรมการตอบคำถาม หุ่นยนต์นายกหญิงตัวแรกของโลก
- "พิชัย"อัดแบงก์ชาติเล่นการเมืองหวงทุนสำรองซื้อพลัง...
- เปิดเอกสารลับ คตส.ยึดทรัพย์“เสนาะ เทียนทอง”ในวันเจ...
- คำขอถึงนายกฯหญิง
- "ระวังจะพังเพราะคนกันเอง" รัฐบาลยิ่งลักษณ์1
- มาทำความรู้จักกองทุนน้ำมันกันหน่อย
- รมว.พลังงาน กังขา ธปท.ค้านตั้งกองทุนฯ มั่งคั่ง
- ยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพแล้วจะเกิดอะไรขึ้น
-
▼
20 ส.ค.
(8)
-
▼
สิงหาคม
(263)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น