บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

กฎหมาย 11 ฉบับ ขายชาติ

“ขายชาติ อย่างไร"


โดย Boon Wattanna
หลัง จากกลุ่ม "พันธมิตรกู้ชาติ" (45 องค์กร) ได้รวมพลังจัดชุมนุมครั้งใหญ่ที่ลานพระบรมรูปทรงม้าเมื่อวันที่ 20 กันยายน และ 25 ตุลาคม 2545 กระแสความตื่นตัวของประชาชนเรื่อง "กฎหมายขายชาติ" ก็เริ่มขึ้นใหม่ หลังจากได้ซบเซามานาน แล้วรัฐบาลและฝ่ายค้านต่างก็ "โยนกลอง" กันว่า ใคร "ขายชาติ" มากกว่ากัน
อันที่จริง "วิกฤตเศรษฐกิจ" ที่ได้บานปลายกลายเป็น "วิกฤตชาติ" นั้น เริ่มขึ้นตั้งแต่มีการเปิดระบบเงินเสรี(BIBF) อย่าง โง่เขลา ใน พ.ศ.2536 ทำให้เอกชนหลงกลกู้เงินจำนวนมากจากต่างชาติเข้ามาใช้จ่ายกันอย่าง ฟุ่มเฟือย(ปั่นหุ้น ปั่นที่ดิน ปั่นคอนโดฯ) หรือกินส่วนต่างดอกเบี้ย(ดอกเบี้ยนอกถูก ดอกเบี้ยในแพง) อยู่หลายปี
ใน ปี พ.ศ.2540 "เจ้าหนี้ต่างชาติ" และ "หมาป่าการเงิน" เช่น นายจอร์จ โซรอส ก็ได้มีโอกาสเรียกหนี้คืน และ "ทุบ" ค่าเงินบาท จนหนี้สินทวีคูณขึ้นเป็น 2 เท่าตัวภายในเวลาข้ามคืน เมื่อรัฐบาลพลเอกชวลิต "ลอยตัว" ค่าเงินบาทหลังจากธนาคารชาติผิดพลาดเอาเงินทุนสำรองไป "สู้ศึก" ค่าเงินบาทแบบรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เพราะต่างชาติมี "ไส้ศึก"(ที่ปรึกษา) อยู่ในธนาคารชาติและกระทรวงการคลังไม่น้อย
เมื่อ ประเทศกำลังจะเข้าสู่ภาวะล้มละลายจาก "หนี้สินของภาคเอกชน" รัฐบาลพลเอกชวลิตจึงสั่งปิดสถาบันการเงิน(ไฟแนนซ์) 58 แห่ง (ที่ไปกู้เงินนอกมากินส่วนต่างของดอกเบี้ยแล้วไม่มีปัญญาใช้คืน) และกู้เงินกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เพื่อ พยุงสภาวะการเงินการคลัง ของประเทศไว้ โดยต้องทำหนังสือแสดงเจตจำนงฯ (แสดงความจำนน) ฉบับที่ 1 ยอมรับเงื่อนไขของไอเอ็มเอฟแบบกว้างๆ (ไม่ผูกมัดตนเองในรายละเอียด และไม่ยอมรับเอา "หนี้สินของภาคเอกชน" มาเป็น "หนี้สินของรัฐ")
แต่ เมื่อรัฐบาลพลเอกชวลิตลาออกเพราะ "เกมการเมือง" ของพรรคชาติพัฒนาในปลายปี 2540 รัฐบาลชวนสองก็เข้ามาบริหารแผ่นดิน และได้ทำหนังสือแสดงเจตจำนงฯ(letters of intent) ฉบับที่ 3-6 ร่วมกับ side letters แสดง ความจำนนอย่างสิ้นเชิงต่อเงื่อนไขของต่างชาติ โดยยอมรับเอา "หนี้สินของภาคเอกชน" มาเป็น "หนี้สินของรัฐ" ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศที่ไม่รู้อีโหน่อีเหน่ด้วย ต้องมี "หนี้" ติดตัวทันทีคนละหลายหมื่นบาท
นอกจากนั้น เพื่อเอาใจต่างชาติ และเพื่อผลักดันรองนายกรัฐมนตรี นายศุภชัย พานิชภักดิ์ ขึ้นเป็นผู้อำนวยการองค์การการค้าโลก(WTO) รัฐบาล ได้ใช้ภาษีอากรของประชาชนไปหลายสิบล้านบาท ในการสนับสนุนและหาเสียงให้นายศุภชัย ได้เปิดการค้าเสรีแบบเสียเปรียบต่างชาติ และได้ออก "กฎหมายขายชาติ 11 ฉบับ" ทำลายเอกราชอธิปไตยในด้านเศรษฐกิจ ด้านบริหาร ด้านนิติบัญญัติ และด้านตุลาการไปพร้อมๆ กัน
"กฎหมายขายชาติ" ที่รัฐบาลชวนสองเรียกว่า "กฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจ" สามารถแบ่งออกได้เป็น 5 กลุ่มดังนี้
กลุ่ม 1 มี 5 ฉบับ คือ กฎหมายล้มละลาย กฎหมายจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย กฎหมายแก้ไขวิธีพิจารณาความแพ่งในคดีมโนสาเร่ กฎหมายแก้ไขวิธีพิจารณาความแพ่งในกรณีขาดนัด และกฎหมายแก้ไขวิธีพิจารณาความแพ่งในการบังคับคดี
ซึ่ง โดยสรุป ก็คือ ต้องการให้เจ้าหนี้(นายทุนต่างชาติในขณะนั้น) สามารถฟ้องล้มละลายลูกหนี้(ไทย) ได้อย่างง่ายดาย และให้โอกาสเจ้าหนี้ มากกว่าลูกหนี้ในการต่อสู้คดี ร่วมกับการบังคับยึดทรัพย์ และขายทอดตลาดได้อย่างรวดเร็ว ด้วยเงื่อนไขที่เจ้าหนี้ เป็นคนกำหนด
ด้วย กฎหมายกลุ่มนี้ ทำให้ "คณะกรรมการปฏิรูปและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน"(ปรส.) นำทรัพย์สินของประชาชน ที่รัฐบาลยึดมาจากสถาบันการเงินต่างๆ ไป "ล็อกสเป๊ก" ขายให้ต่างชาติในราคาถูกๆ(เพียง 1 ใน 5 ของราคาทุน) โดยไม่ยอมให้คนไทยซื้อ จนขาดทุนไปประมาณ 6 แสนล้านบาท แล้วต่างชาติที่ "จับเสือมือเปล่า" เหล่านั้นก็ขายคืนให้คนไทยทันที และได้กำไรไปหลายแสนล้านบาท จนยอมจ่าย "เศษเนื้อ" เป็นโบนัสให้พนักงานของตน(รวมทั้งคนไทยที่ขายตัวเป็นทาสรับใช้ฝรั่ง) 100 เท่าของเงินเดือน และเบี้ยบ้ายรายทางแก่คนร่วมขายชาติอื่นๆ
ด้วย กฎหมายกลุ่มนี้ ประชาชนที่ผ่อนบ้านผ่อนรถผ่อนเครื่องมือหากินและอื่นๆ กับสถาบันการเงินต่างๆ จึงถูกยึดทรัพย์สิน ทั้งที่ตนไม่รู้อีโหน่อีเหน่ด้วย ได้รับความเดือดร้อนแสนสาหัส
ธุรกิจ และอุตสาหกรรมไทยที่กู้เงินมาขยายกิจการกันมากมายในยุค "ฟองสบู่" ก็ต้องล้มละลาย กลายเป็นของต่างชาติ รวมทั้งโรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งด้วย
กลุ่มที่ 2 มี 3 ฉบับ คือ กฎหมายที่ดิน กฎหมายการเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่กำหนดให้เป็นทรัพย์สิทธิ์ และกฎหมายอาคารชุด
ซึ่ง โดยสรุป ก็คือ ต้องการให้ต่างชาติเป็นเจ้าของที่ดินได้ เช่าที่ดินเป็น 100 ปีได้ เป็นเจ้าของอาคารชุดได้ทั้งหมด(100%) และสามารถใช้ที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ ที่ตนเช่ามา เป็น "ทรัพย์สิทธิ์" ได้ นั่นคือ นำไปจำนองได้ นำไปค้ำประกันได้ ยกให้ผู้อื่นได้ เป็นต้น
กลุ่ม 3 มี 1 ฉบับ คือ กฎหมายประกอบธุรกิจคนต่างด้าว
ซึ่ง โดยสรุป ก็คือ เปิดโอกาสให้ต่างชาติเข้ามาประกอบอาชีพในประเทศไทยได้เท่าเทียมกับคนไทยหรือ มากกว่าคนไทย(ส่งเสริมพิเศษ) ให้ต่างชาติแอบแฝงเข้ามาเปิดบริษัทที่เป็นสัญชาติไทยประกอบธุรกิจได้ ทุกอย่าง โดยต่างชาติควบคุมการบริหารอยู่ข้างหลัง แล้วยังเปิดช่องให้ "ทุนยักษ์ข้ามชาติ" ใช้วิธีการทุ่มตลาดและกลเม็ดพลิกแพลงต่างๆ ในการเอาเปรียบผู้ผลิตไทยและผู้ซื้อไทยด้วย (ดู "ค้าปลีกไทยหายนะ = ไทยหายนะ" ในมติชน 4 ก.ย. 45)
กลุ่ม 4 มี 1 ฉบับ คือ กฎหมายทุนรัฐวิสาหกิจ
ซึ่ง โดยสรุป ก็คือ ให้ขายรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นทรัพย์สินของชาติ(ของประชาชน) เพราะเกิดจากภาษีอากร และความเดือดร้อนของประชาชน (จากการถูกเวนคืนที่ ถูกน้ำท่วมจากเขื่อน ฯลฯ) โดยแปลงเป็นหุ้นเพื่อขายในตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งแน่นอนว่าต่างชาติ จะรี่เข้ามาซื้อหุ้นรัฐวิสาหกิจที่มีกำไร (โดยรวมแล้วกำไรประมาณหนึ่งแสนล้านบาทต่อปี) แล้วโกยกำไรนั้นออกไป ปล่อยให้คนไทยถูก "ขูดรีด" จากค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าโทรศัพท์ ค่าน้ำมัน ค่าก๊าซ และอื่นๆ ที่จะแพงขึ้นๆ ตามลักษณะของธุรกิจที่ต้องการค้ากำไรสูงสุด
แล้ว ผู้ที่ดำเนินการขายรัฐวิสาหกิจ ก็จะได้ "คอมมิสชั่น" ไม่ว่าในรูปของเงิน ค่าการตลาด ค่าพิจารณาวิธีจำหน่าย หุ้นลม หุ้นต่ำกว่าราคาจริง กำไรจากการปั่นหุ้นในระยะแรก และอื่นๆ
อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่าง ประเทศนิการากัว ในครั้งที่มาร่วมเสวนากับแกนนำแรงงานไทยเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2545 จึงกล่าวว่า "Privatization is Iegalized corruption"(การ ขายรัฐวิสาหกิจ คือ การทุจริตคอร์รัปชั้นอย่างถูกต้องตามกฎหมาย) จนประเทศนิการากัว ต้องล้มละลายในปัจจุบัน เช่นเดียวกับประเทศเม็กซิโก อาร์เจนตินา และบราซิล (ดู "ขายรัฐวิสาหกิจ = ทุจริตนโยบาย" ในมติชน 7 ส.ค. 45)
กลุ่ม 5 มี 1 ฉบับ คือ กฎหมายประกันสังคม
ซึ่ง โดยสรุป ก็คือ ไอเอ็มเอฟรู้ว่า กฎหมาย 10 ฉบับจะทำให้ธุรกิจและโรงงานต้องล้มละลายเป็นจำนวนมาก คนจะตกงานมหาศาล และจะทำให้เกิดวิกฤตการณ์ทางสังคมขึ้น ซึ่งจะเป็นผลเสียต่อนายทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในไทย จึงจำเป็นต้องหาทางให้รัฐต้องอุ้มชูคนงานเหล่านั้น ไม่ให้เกิดวิกฤตการณ์ทางสังคมที่จะทำให้นายทุนต่างชาติต้องขาดทุนได้
จาก เนื้อหาโดยสรุปของ "กฎหมาย 11 ฉบับ" คงพอจะทำให้เห็นว่าเขา "ขายชาติ" กันอย่างไร แต่ในวันนี้ อดีตนายกรัฐมนตรีกลับแก้ตัวว่า "ที่ต้องทำอย่างนั้น เพราะรัฐบาลพลเอกชวลิตทำหนังสือแสดงเจตจำนงฯฉบับที่ 1 ผูกพันไว้ รัฐบาลได้ต่อรองจนลดเงื่อนไขลงได้มากแล้ว"
แต่ นายสมศักดิ์ โกศัยสุข รองประธานสมาพันธ์ประชาธิปไตยและเลขาธิการสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจ สัมพันธ์ในขณะนั้น ได้ต่อว่านายฮิวเบิร์ต ไนซ์ (Hubert Neiss) ผู้อำนวยการไอเอ็มเอฟภาคพื้นเอเชีย และนายรีซา โมกาดัม (Reza Moghadam) ผู้ แทนไอเอ็มเอฟประจำไทย เมื่อพบกันที่ธนาคารชาติใน พ.ศ.2541 ว่า "ทำไมไอเอ็มเอฟจึงโหดร้ายกับไทยนัก" ซึ่งเขาตอบว่า "รัฐบาลของคุณเป็นผู้เสนอให้เรามากกว่าที่เราต้องการเสียอีก"
ถ้า สิ่งที่เขาพูดเป็นความจริง ทำไมรัฐบาลประชาธิปัตย์จึงทำเช่นนั้น แล้วจะแก้ตัวไปทำไม เมื่อหนังสือแสดงเจตจำนงฯ ฉบับที่ 3-6 ที่เกิดขึ้นในสมัยตน มีเนื้อหาผูกมัดประเทศไทยและประชาชนไทยร้ายแรงกว่าหนังสือแสดงเจตจำนงฯฉบับ ที่ 1 ที่เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลพอเอกชวลิต แล้วรัฐบาลยังออก "กฎหมาย 11 ฉบับ" ด้วยมือของตนเองท่ามกลางเสียงคัดค้านของประชาชนอีกด้วย
พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร และพรรคไทยรักไทย ได้รับเลือกตั้งอย่างถล่มทลาย ส่วนหนึ่งเกิดจากนโยบายไม่ขายรัฐวิสาหกิจ และจะยกเลิกหรือแก้ไข "กฎหมายขายชาติ 11 ฉบับ" และเมื่อถูกทวงถามหลังจัดตั้งรัฐบาลเสร็จใหม่ๆ ก็ได้แต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น เพื่อพิจารณาแก้ไขกฎหมาย ที่ไม่เป็นธรรมต่างๆ โดยมีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน
ผ่าน ไปเกือบ 2 ปี "ไม่มีอะไรในกอไผ่" แถมยังดำเนินการขายรัฐวิสาหกิจอย่างต่อเนื่อง และเมื่อถูกรุกเร้าหนักเข้า ในปลายเดือนตุลาคม 2545 กลับแต่งตั้ง "คณะอนุกรรมการพิจารณาศึกษากฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจ 11 ฉบับ" ในคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล สภาผู้แทนราษฎร(วิปรัฐบาล) ขึ้นมา "พิจารณาศึกษา"
แสดง ว่า ที่หาเสียงไว้ ไม่ได้ "พิจารณาศึกษา" ไว้ก่อนเลย (หาเสียงแบบมั่วๆ ไปก่อนหรืออย่างไร) และเมื่อได้เป็นรัฐบาลมาเกือบ 2 ปี ก็ไม่ได้ "พิจารณาศึกษา" เลยใช่ไหม?
ถ้าเช่นนั้นการตั้งคณะกรรมการที่มีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน ก็เป็นเพียงการหลอกลวงประชาชนให้ตายใจเท่านั้นหรือ?
ถ้า รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณจริงใจที่จะไม่ "ขายชาติ" รัฐบาลต้องรีบหยุดยั้งการดำเนินการต่างๆ ตาม "กฎหมายขายชาติ 11 ฉบับ" เช่น การขายรัฐวิสาหกิจ การให้ต่างชาติซื้อ/เช่าที่ดิน และแย่งการทำมาหากินของคนไทย(ให้ร้านค้าปลีกยักษ์ต่างชาติขยายสาขาในต่าง จังหวัด และใช้กลเม็ดพลิกแพลงต่างๆ ในการเอาเปรียบผู้ผลิต และผู้บริโภคไทย ส่งเสริมการลงทุนแก่ทุนยักษ์ต่างชาติ เช่น กรณีปลูกและส่งออกกล้วยไม้ ฯลฯ) การให้ต่างชาติเข้า "ฮุบ" ธุรกิจและอุตสาหกรรมของคนไทยอย่างไม่เป็นธรรม เป็นต้น
ถ้า รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณไม่หยุดยั้งการ "ขายชาติ" ไว้ก่อนจนกว่าจะ "พิจารณาศึกษา" เสร็จ ย่อมแสดงว่าการตั้งคณะกรรมการ และคณะอนุกรรมการต่างๆ  เป็นเพียงการถ่วงเวลา จะได้จารึกชื่อไว้ในประวัติศาสตร์ชาติไทยชั่วนิรันดรว่าเป็น  "รัฐบาล....." สืบต่อจากรัฐบาลก่อน...
ประชาชนจะยอมให้เขา "ขายชาติ" กันอย่างนี้หรือ?

กฎหมาย 11 ฉบับ ขายชาติ ใครเป็นคนก่อ



     เห็นพวกคุณพูดถึงกฎหมายขายชาติทั้งหมด 11 ฉบับที่เกี่ยวกับ การขายหน่วยงานของรัฐให้ต่างชาตินั้น เกิดมาตั้งแต่สมัย 2538 โดยมีนายกรัฐมนตรี ชวลิต ยงใจยุทธ หรือว่า จิ๋วโซ่ข้อกลางนั้นเอง มี รองนายกรัฐมนตรีชื่อ ทักษิณ ชินวัตร หรือว่า แม้ว ซินาตร้า รมว.การคลัง คือ นายเริงชัย  และ นายทนง พิทยะ จำไม่ได้ว่ามีตำแหน่งอะไร แต่ละคนในรัฐบาลนั้นล้วนได้ดีในสมัย ทรท.เหลิงอำนาจหลายคนเลย ในสมัยนั้นมีการโจมตีค่าเงินบาท โดยนายจอร์จ โซลอส และมีรัฐบาลหน้าโง่ในสมัยนั้น ไม่ยอมลดค่าเงินบาทจนโดนโจมตีเอาเงินดอล์ลาร์ในคลังไปใช้จนหมด เป็นแสนล้านดอลลาร์ แต่ไม่รู้นะว่ามีใครร่ำรวยบ้างในขณะนั้น แต่ตอนนี้ไปอยู่ลอนดอน เป็นผีไม่มีศาลและ บางทีไปอยู่ ฮ่องกง ลอนดอนบ้าง ญี่ปุ่นบ้าง แต่อนาคตคงไปอยู่ห้องกรง เหมือนกัน ทำให้มีบริษัทปิดตัวหลาย 1000 บริษัท เพราะว่าค่าเงินบาทจาก 25 บาท ไปเป็น 50 กว่าบาท ซึ่งทำให้มีบุคคลล้มละลายไปเป็นจำนวนมาก แต่มีคนมีความสุขบนกองทุกข์ของคนอื่นที่รู้ล่วงหน้าก่อนการประกาศลอยตัวค่า เงินบาท 3 วัน  น่าจะกอบโกยไปได้เยอะอยู่ ทั้งในธนาคารสวิตซ์บ้าง สิงค์โปร์บ้าง
     หลังจากที่เกิดวิกฤต นั้น ทำไมไทยต้องเซ็นกฎหมายขายชาติ11 ฉบับ หลังจากเกิดวิกฤต ทำให้เงินคงคลังหมดไป แล้วไทยไหนจะเอาเงิน ไปใช้จ่ายคืนให้กับต่างประเทศได้ เพราะว่าบางคน ซื้อของนำเข้ามา แล้วต้องจ่ายเงินเป็นเงินดอลลาร์ ถ้าเราไม่มีเงินดอลลาร์ เราก็อาจจะต้องเอาทองไปแลกเปลี่ยนแทน ซึ่งแสดงว่าเงินบาทไม่มีค่าเลยใช่หรือไม่จนต้อง เอาทองคำไปแลกเปลี่ยนสินค้า ทำให้เราต้องกู้ เงิน จาก IMF โดยความจำยอม และต้องมีเงื่อนไขของ IMF พ่วงมาด้วย แล้วใครหละ ที่ทำให้พวกเราต้องได้รับกฎหมายขายชาติอันนี้ด้วยที่ไม่ใช่รัฐบาล ชวลิต และ มีแม้วร่วมด้วย ในสมัยนั้นรัฐบาลชวลิตได้ถูกกดดันให้ลาออกไป แล้วเปลี่ยนมาเป็นรัฐบาลของพรรคประชาธิปัตย์ ที่เซ็นสัญญา กับ IMF พอทรท ลงเลือกตั้งครั้งแรกก็ใช้เงื่อนไขนี่โดยปริยายว่าประชาธิปัตย์ขายชาติ ไอ้คนที่พูดนี่ไม่ละอายใจบ้างเลย ไม่ใช่เพราะมึงเหรอที่ประเทศไทยต้องเป็นเช่นนี้ หลักจากที่ไทยทำสัญญาแล้ว ทำให้รัฐบาลประชาธิปัตย์ต้องแปรรูปหน่วยงานของรัฐไปบ้าง แต่ก็ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับสาธารนูปโภคขั้น พื้นฐาน เช่นน้ำมัน การไฟฟ้า ประปา สำหรับย่อหน้าต่อไปจะเป็นบทสรุปของการใช้หนี้ IMF ที่คุณควรจะรู้ ไว้ไม่เสียเหลี่ยม ให้ไอ้หน้าเหลี่ยม
     รัฐบาล ทุยรักทุย ได้บริหารประเทศอย่างแรก คือนโยบายที่ตัวเองฝอยไปต้องทำก่อน เช่น พักหนี้เกษตรกร เอาเงินเด็กมาโปะ กธส ซะงั้น โดยเอาเงินจากธนาคารออมสินมาไว้ฝั่ง กธส บ้าง ต่อมาให้คนที่จะกู้ได้สามารถกูได้ โดยมีดอกร้อยละ 1  แหมมาโฆษณาซะอย่างดีนึกว่า ร้อยละ 1 ต่อ ปี มันร้อยละ 1 ต่อเดือน กำจริงๆโดนเหลี่ยมหลอก นี่ก็เงินเด็กอีกและ โดย ธนาคารออมสิน ต่อมาเรื่องที่ hot ที่สุดในที่นี้คือ การใช้หนี้ IMF ทุกคนออกจะดีใจ หารู้ไหมว่าเป็นเงินจากกระเป๋าซ้ายมาใส่กระเป๋าขวา โดยกู้จาก ญี่ปุ่นมาใช้ หนี้ IMF ซึ่งดอกเบี้ย ของ ญี่ปุ่นอาจจะมากว่าของ IMF ซะอีก อันนี้ก็เรียกว่าเอาหน้า แต่โง่ซะไม่มี หลังจากใช้หนี้เสร็จปุ๊บ ก็ขาย ปตท เข้าตลาดหุ้น โดยมีพวกอีแอบหน้าด้านอยู่ใน รัฐบาลนี่แหละ ไปคลอดเมียน้อยนอกสมรสไว้ในสิงค์โปร์ให้ซื้อหุ้นแทน โดยเป็นหุ้นผู้มีอุปการะคุณนั้นเอง จากราคาน้ำมันไม่กี่บาท ตอนนี้ล่อไป 30 กว่าบาทแล้วจาก เบนซินลิตรละ 15 บาท ส่วน ดีเซลลิตรละ 12 บาท ตอนนี้ 28 และ ใครได้ประโยชน์ เมื่อก่อนปตทเป็นผู้น้ำเข้าน้ำมันมากที่สุด และเป็นผู้กำหนดกลไกการตลาดเอาไว้ แต่พอเอาไปขายในตลาดหุ้นปุ๊บ ราคาขึ้นเอาขึ้นเอา เงินเดือนผู้บริหารเดือนละ เป็นแสน กำไรของปตท อีกเป็นแสน ค่าเบี้ยประชุมอีกเป็นแสน กินเข้าไปน้ำมันตายไปจะได้ไปเป็นเชื้อขยะ สำหรับอนาคตที่ก่อเกิดน้ำมันต่อไป ต่อมารัฐบาลนี่จะขายกฟผ.อีก สงสัยจะแดกน้ำมันไม่พอ ขอไฟฟ้าอีกหน่อย แต่ยังดีที่บุญของประเทศไทยยังมี ไม่ให้คนชั่วทำลายประเทศไทยได้ เลยไม่ได้ขาย สุดท้ายนี้ เลือกคนดี ไม่มีกลิ่น แต่คนรอบข้างมีกลิ่นบ้าง แต่เลือกคนชั่วช้ามีกลิ่นทั้งตะเข่ง มีหวังได้ขายประเทศไทย


ข้อเท็จจริงที่ควรรู้ เรื่อง กฏหมายขายชาติ 11 ฉบับ

โดย Boon Wattanna เมื่อ 15 เมษายน 2011 เวลา 16:37 น.
>>

http://maha-arai.blogspot.com/2009/08/blog-post_5686.html

เป็นกฏหมายที่ออกในสมัยรัฐบาลชวน 2 ช่วงอยู่ใน IMF
ที่ถูกโจมตีอย่างกว้างขวางว่าเป็นกฏหมายขายชาติ 11 ฉบับ
ซึ่งประกอบด้วยกฏหมายดังต่อไปนี้

1. พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาล้มละลาย พ.ศ.2542
http://maha-arai.blogspot.com/2009/08/blog-post_27.html

2. พระราชบัญญัติล้มละลาย(ฉบับที่ 4) พ.ศ.2541
http://maha-arai.blogspot.com/2009/08/blog-post_1720.html

3. พระราชบัญญัติล้มละลาย(ฉบับที่ 5) พ.ศ.2542
http://maha-arai.blogspot.com/2009/08/blog-post_3502.html
http://maha-arai.blogspot.com/2009/08/blog-post_5919.html

4. พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 18) พ.ศ.2542
http://maha-arai.blogspot.com/2009/08/blog-post_9985.html

5. พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 19) พ.ศ.2543
http://maha-arai.blogspot.com/2009/08/blog-post_8223.html

6. พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542
http://maha-arai.blogspot.com/2009/08/blog-post_6380.html

7. พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน(ฉบับที่ 8) พ.ศ.2542
http://maha-arai.blogspot.com/2009/08/blog-post_9007.html

8. พระราชบัญญัติอาคารชุด(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2542
http://maha-arai.blogspot.com/2009/08/blog-post_3464.html

9. พระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ.2542
http://maha-arai.blogspot.com/2009/08/blog-post_3103.html

10. พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542
http://maha-arai.blogspot.com/2009/08/blog-post_1035.html

11. พระราชบัญญัติประกันสังคม(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2542
http://maha-arai.blogspot.com/2009/08/blog-post_24.html

ต่อมาในสมัยทักษิณได้ตั้งคณะกรรมการ
ปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ
โดยมีนายมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน
ได้ข้อสรุปคล้ายๆ กับทางพรรค ทรท.
ที่จะไม่ล้มกฏหมายทั้ง 11 ฉบับ
แค่มีข้อเสนอให้ปรับปรุงบางส่วนเท่านั้น

---------------------------------------------

เปิดจ.ม.'มีชัย'ถึง'ทักษิณ' ชี้ช่องโหว่'กม.11ฉบับ'

รายงาน มติชนรายวัน วันที่ 28 พฤศจิกายน 2545

หมาย เหตุ - สาระของจดหมายที่ นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการ ปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ จัดทำเสนอแนะ เรื่องการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจ ยื่นเสนอต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

โดย ที่ปัจจุบันได้มีการเรียกร้อง ให้ยกเลิกกฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจ จำนวน 11 ฉบับ เนื่องจากเห็นว่า กฎหมายดังกล่าวเอื้อประโยชน์ให้แก่ กลุ่มทุนต่างชาติ โดยมิได้เอื้อประโยชน์แก่ประชาชนและส่งผลกระทบในทางลบต่อระบบเศรษฐกิจและ สังคมของประเทศ ดังความทราบอยู่แล้วนั้น

คณะ กรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศได้พิจารณากฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจ ที่มีการเรียกร้องให้มีการยกเลิกในภาพรวมแล้ว ขอกราบเรียนเสนอความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของนายกรัฐมนตรี ดังนี้

1 การตรากฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจ เป็นการปฏิบัติตามพันธกรณี (Letter of Intent) ที่ประเทศไทยทำไว้ ต่อกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund) ในการขอรับความช่วยเหลือทางการเงิน อันเนื่องมาจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในปี พ.ศ.2540 โดยกฎหมายดังกล่าวจำแนกออกได้เป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่มที่หนึ่ง กลุ่มกฎหมายล้มละลาย การพิจารณาคดี และการบังคับคดี จำนวน 5 ฉบับ ประกอบด้วย

ก.พระ ราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาล้มละลาย พ.ศ.2542 (เพื่อจัดตั้งศาลล้มละลาย เป็นศาลชำนัญพิเศษ เพื่อพิจารณาคดีล้มละลายขึ้นโดยเฉพาะ เนื่องจากเป็นคดีที่มีลักษณะพิเศษ)

ข.กฎหมายล้มละลาย ประกอบด้วย

(1) พระราชบัญญัติล้มละลาย(ฉบับที่ 4) พ.ศ.2541 (เพิ่มหมวด 6/1 กระบวนการพิจารณาเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ เพื่อให้ลูกหนี้ที่ประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงินชั่วคราว มีโอกาสฟื้นฟูกิจการได้ อันจะช่วยให้เจ้าหนี้มีโอกาสได้รับชำระหนี้อย่างเป็นธรรม ทั้งนี้เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากมาตรา 94(2) ที่บัญญัติว่าเจ้าหนี้ที่ยอมให้ลูกหนี้ก่อหนี้ขึ้น โดยรู้อยู่แล้วว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่มีสิทธิขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ซึ่งทำให้ไม่มีเจ้าหน้าที่รายใด ยอมให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้ที่ประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงินชั่วคราว ทำให้ลูกหนี้เป็นบุคคลล้มละลายทั้งที่กิจการของลูกหนี้อยู่ในสภาพที่สามารถ ดำเนินกิจการต่อหรือฟื้นฟูได้)

(2) พระราชบัญญัติล้มละลาย(ฉบับที่ 5) พ.ศ.2542 (เพื่อ (2.1) ปรับปรุงเรื่องจำนวนเงินที่เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องให้ลูกหนี้ล้มละลายได้ รวมทั้งจำนวนเงินประกันค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมต่างๆ และราคาของทรัพย์สินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมาแบ่งแก่เจ้าหน้าที่ (2.2) ปรับปรุงทรัพย์สินที่ไม่ต้องนำมาแบ่งให้เจ้าหนี้และมาตรการในการรวบรวมและ จำหน่ายทรัพย์สินให้ครอบคลุมถึงสามีของลูกหนี้ (2.3) ปรับปรุงบทบัญญัติว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ในส่วนที่เกี่ยวกับการลง มติยอมรับแผนฟื้นฟูกิจการ การใช้ดุลพินิจของศาล ในการเห็นชอบด้วยกับแผน อำนาจของผู้บริหารแผน ในการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ การเพิกถอนนิติกรรมที่กระทำไปแล้ว ในกระบวนการล้มละลายและกระบวนการฟื้นฟูกิจการ และ (2.4) ปรับปรุงลำดับบุริมสิทธิในคดีล้มละลาย โดยกำหนดให้เงินที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ เพื่อการงานที่ได้ทำให้ลูกหนี้ ซึ่งเป็นนายจ้าง อยู่ในลำดับเดียวกับเงินค่าภาษีอากร) ค.พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 17) พ.ศ.2542 (ปรับปรุงวิธีพิจารณาคดีมโนสาเร่ เพื่อให้รวดเร็วขึ้น และให้มีการไกล่เกลี่ยก่อนเริ่มสืบพยานเช่นเดียวกับ การพิจารณาคดี Small Claim ของต่างประเทศ)

ง.พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 18) พ.ศ.2542 (ปรับปรุงกระบวนการบังคับคดีให้รวดเร็วยิ่งขึ้น)

จ.พระ ราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 19) พ.ศ.2543 (ปรับปรุงพิจารณาคดีโดยขาดนัด เพื่อให้ศาลสามารถพิพากษาให้คู่ความฝ่ายที่ขาดนัดยื่นคำให้การแพ้คดีได้ ทันทีเพื่อมิให้คู่ความประวิงคดี)

กลุ่มที่สอง กลุ่มกฎหมายส่งเสริมการประกอบธุรกิจ จำนวน 4 ฉบับ ประกอบด้วย

ก.พระ ราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 (เพื่อส่งเสริมให้มีการแข่งขัน ในการประกอบธุรกิจ และเพื่อให้สอดคล้อง กับพันธกรณีตามสนธิสัญญาระหว่างประเทศในการเปิดตลาด)

ข.พระ ราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน(ฉบับที่ 8) พ.ศ.2542 (เพื่อเพิ่มเติมคนต่างด้าวสามารถได้มาซึ่งที่ดิน เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยได้ และกำหนดหลักเกณฑ์การจำหน่ายที่ดิน ของคนต่างด้าวดังกล่าวเมื่อผิดเงื่อนไขที่กำหนด และให้อำนาจอธิบดีกรมที่ดิน ที่จะจำหน่ายที่ดินของคนต่างด้าว ในกรณีที่คนต่างด้าวนั้น ไม่ได้ใช้ที่ดินเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยภายในระยะเวลาที่กำหนด)

ค.พระ ราชบัญญัติอาคารชุด(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2542 (เพื่อเปิดโอกาสให้คนต่างด้าวที่นำเงินตราเข้าประเทศสามารถถือกรรมสิทธิ์ใน ห้องชุดได้ โดยทั่วไปให้ถือกรรมสิทธิ์ได้ไม่เกิน ร้อยละ 49 ของเนื้อที่ห้องชุดทั้งหมดในอาคารชุด แต่ถ้าอาคารชุดตั้งอยู่ในเขตเมืองและมีที่ดินไม่เกิน 5 ไร่ ให้ถือกรรมสิทธิ์ได้ไม่จำกัดอัตราส่วน)

ง.พระ ราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ.2542 (เพื่อให้การเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อการพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมมีระยะยาว เพื่อความมั่นคงในการประกอบธุรกิจ ทั้งให้สามารถตกทอดทางมรดกและนำไปจำนองเป็นประกันการชำระหนี้ได้)

กลุ่ม ที่สาม กลุ่มกฎหมายเพื่อการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ จำนวน 1 ฉบับ คือพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 (เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการแปรรูปรัฐวิสาหกิจให้เป็นองค์กรทาง ธุรกิจ)

กลุ่ม ที่สี่ กลุ่มกฎหมายสังคม จำนวน 1 ฉบับ คือพระราชบัญญัติประกันสังคม(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2542 (เพื่อขยายระยะเวลาการมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนภายหลังลูกจ้างซึ่งเป็นผู้ ประกันตนสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง ปรับปรุงสิทธิของผู้ประกันตนในการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีสงเคราะห์บุตร กรณีชรา และกรณีว่างงาน และปรับปรุงการออกเงินสมทบทุนประกันสังคมของรัฐบาลนายจ้างและลูกจ้างให้ เหมาะสมยิ่งขึ้น)

2 คณะกรรมการปรับปรุงกฎหมายเพื่อการพัฒนาประเทศ พิจารณาแล้วมีความเห็นดังนี้

กฎหมายกลุ่มที่หนึ่ง

ก.สำหรับ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 ซึ่งเป็นกฎหมายจัดตั้งศาลชำนัญพิเศษเพื่อพิจารณาคดีล้มละลายขึ้นโดยเฉพาะ นั้นเมื่อได้มีการจัดตั้งขึ้นแล้ว การจะยกเลิกย่อมก่อให้เกิดปัญหาในการพิจารณาคดีล้มละลายติดตามมาและไม่ปรากฏ ว่า การดำเนินกระบวนพิจารณา ในศาลล้มละลายมีปัญหาใดอันจำเป็นจะต้องแก้ไขปรับปรุงอีก ส่วนพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 17) พ.ศ.2542 อีก ส่วนพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 17) พ.ศ.2542 พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 18) พ.ศ.2542 และพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 19) พ.ศ.2543 นั้นเป็นการแก้ไขให้การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นไปด้วยความรวดเร็ว ทั้งไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ผู้สุจริตได้รับความไม่เป็นธรรมจากกระบวนการพิจารณา ดังกล่าว จึงไม่มีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไข

ข.สำหรับ พระราชบัญญัติล้มละลายฯนั้น คณะกรรมการเห็นว่า จำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขบทบัญญัติหลายมาตรา เพื่อให้สอดคล้อง กับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ และได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไข พระราชบัญญัติล้มละลายฯ เสร็จ และเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแล้ว และต่อมาสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้ส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ตรวจพิจารณาตามมติคณะรัฐมนตรี พร้อมกับร่างของกระทรวงยุติธรรม ในการนี้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้แยกการพิจารณาออกเป็นสองส่วน และได้พิจารณา ส่วนที่เกี่ยวกับการปลดจากการเป็นบุคคลล้มละลายเสร็จแล้ว ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการยืนยัน ร่างพระราชบัญญัติก่อนนำส่ง สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป สำหรับส่วนที่เกี่ยวกับ กระบวนการล้มละลาย และการฟื้นฟูกิจการนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา(คณะพิเศษ)

กฎหมายกลุ่มที่สอง

ก.พระ ราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน(ฉบับที่ 8) พ.ศ.2542 ซึ่งให้สิทธิแก่คนต่างด้าว ที่นำเงินมาลงทุนในประเทศ สามารถมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ และพระราชบัญญัติอาคารชุด(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2542 ซึ่งเป็นการขยายอัตราส่วน ของการถือครองอาคารชุด ของคนต่างด้าวนั้น การจะปรับปรุงหลักการหรือหลักเกณฑ์อย่างไร ย่อมขึ้นอยู่กับนโยบายของรัฐบาล ในส่วนที่เกี่ยวกับ การลงทุนของคนต่างด้าว และผลกระทบที่จะมีต่อผู้ลงทุนของไทย

ข.พระ ราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 และพระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์ เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ.2542 นั้นอาจต้องปรับปรุง ให้มีความสอดคล้อง กับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ และคุ้มครองธุรกิจของคนไทยมากยิ่งขึ้น

กฎหมาย กลุ่มที่สาม ซึ่งได้แก่พระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 คณะกรรมการมีความเห็นว่า อาจมีความจำเป็น ต้องปรับปรุงให้เหมาะสมยิ่งขึ้น เพื่อให้การแปรรูปรัฐวิสาหกิจเป็นประโยชน์ ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ และคุ้มครองกิจการสาธารณูปโภคของรัฐ ให้อยู่ในมือของคนไทยเป็นส่วนใหญ่

กฎหมาย กลุ่มที่สี่ ซึ่งได้แก่พระราชบัญญัติประกันสังคม(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2542 นั้นคณะกรรมการเห็นว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อลูกจ้าง และเหมาะสมกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ ของประเทศจึงไม่จำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไข

3 สำหรับแนวทางในการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายนั้น คณะกรรมการเห็นว่า ต้องเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล และพันธกรณีที่ประเทศไทยทำไว้ ต่อองค์การระหว่างประเทศ คณะกรรมการไม่มีข้อมูลเพียงพอ ที่จะพิจารณาแทน กระทรวงผู้รักษาการได้ จึงสมควรมอบหมายให้รัฐมนตรีผู้รักษาการตามกฎหมายแต่ละฉบับเป็นผู้กำหนด มาตรการ หรือแนวทางที่เหมาะสม ในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายแต่ละฉบับ โดยรับฟังความเห็นของผู้ที่อาจได้รับผลกระทบ การแก้ไขปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวประกอบด้วย แล้วแจ้งให้คณะกรรมการทราบ เพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายตามแนวทางดังกล่าว และนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

จึง กราบเรียนเสนอมาเพื่อโปรดพิจารณา หากเป็นการชอบด้วยดำริ ขอได้โปรดมีบัญชาให้หน่วยงานที่รับผิดชอบ พระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจ ของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 พระราชบัญญัติการเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรม และอุตสาหกรรม พ.ศ.2542 และพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 ดำเนินการตามความเห็นของคณะกรรมการในข้อ 3 โดยเร่งด่วนต่อไป

------------------------------------------

ทรท.สรุปกฏหมายฟื้นฟู ไม่ล้ม 11 ฉบับ ยันไม่ขายชาติแค่มีจุดอ่อน

หอการค้าหนุนใช้กม.เดิม คุม'ยักษ์ค้าปลีก'ครบวงจร

มติชนรายวัน วันที่ 18 พฤศจิกายน 2545

ที่ ประชุมหอการค้าทั่วประเทศรุกต่อ ให้รัฐกำหนดวัน-เวลาเปิด-ปิดค้าปลีกขนาดใหญ่ ให้ชะลอการขยายตัว 'พรหมมินทร์' หนุนแนวคิด 'แม้ว' ใช้กฎหมายมหาดไทยดีกว่า อนุกรรมการ ทรท.ศึกษาเสร็จแล้วกม.ฟื้นฟูเศรษฐกิจ 11 ฉบับไม่จำเป็นต้องยกเลิก แม้แต่ฉบับเดียว ยันไม่ใช่ กม.ขายชาติ

การ ประกาศของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายนที่ผ่านมาว่า รัฐบาลไม่มีความจำเป็น ที่จะต้องออกกฎหมาย ควบคุมธุรกิจค้าปลีก เพราะจะทำให้รัฐบาลประสบปัญหาในการเจรจาเปิดเขตการค้าเสรีกับประเทศอื่น ได้สร้างความงงงวย ให้กับสมาชิกหอการค้า ที่ผลักดันให้รัฐบาลบังคับใช้กฎหมายควบคุมค้าปลีกอย่างมาก โดยขณะนี้ร่าง พ.ร.บ.ควบคุมธุรกิจค้าปลีก อยู่ระหว่างการพิจารณา ของกระทรวงพาณิชย์ ทั้งนี้ที่ผ่านมาธุรกิจค้าปลีกรายย่อย หรือโชห่วยของไทยได้ผลักดัน ให้ออกกฎหมายดังกล่าว เพื่อคุ้มครองโชห่วยที่ใกล้สูญพันธุ์ อันเนื่องจากถูกค้าปลีกต่างชาติที่เงินทุนหนากว่าเช่น คาร์ฟูร์ โลตัส แย่งตลาดอย่างหนัก

หอค้ารุกต่อคุมค้าปลีกใหญ่

เมื่อ วันที่ 17 พฤศจิกายน ที่โรงแรมเจริญศรี แกรนด์ พลาซ่า จังหวัดอุดรธานี นายวัชระ พรรณเชษฐ์ กรรมการและเลขาธิการ หอการค้าไทย กล่าวสรุปการประชุมกลุ่มย่อย ในการประชุมสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศครั้งที่ 20 โดยเฉพาะเรื่องค้าปลีกว่า ที่ผ่านมามีปัญหาการขยายตัว ของห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการค้าปลีกรายย่อย และเพื่อให้ธุรกิจค้าปลีกสามารถอยู่ร่วมกันได้ หอการค้าฯเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหา ต่อภาครัฐ คือ 1.ถ้าการออกพระราชบัญญัติค้าปลีกต้องผ่านขั้นตอน และมีผลกระทบที่ต้องคำนึงถึง รัฐควรใช้กฎหมาย หรือวิธีการหาแนวทางที่สมควร ในการทำธุรกรรมของค้าปลีกรายใหญ่ เช่น มีเกณฑ์ในการตั้ง ของสถานประกอบการขนาดใหญ่ ให้ท้องถิ่นมีบทบาท ในการกำหนดพื้นที่ที่เหมาะสม 2.ให้อำนาจการบริหารจัดการแก่ผู้บริหารระดับท้องถิ่น เพื่อดูแลและจัดการแก้ไขปัญหา ภาคธุรกิจค้าปลีกในท้องถิ่น โดยการออกเทศบัญญัติ หรือนำกฎหมายท้องถิ่นที่มีอยู่แล้วมาบังคับใช้ เพื่อลดกระแสการต่อต้าน และสร้างความร่วมมือกันเองภายในท้องถิ่น

แนะกำหนดวันเวลาเปิด-ปิด

3.ควร พิจารณาจัดตั้งหน่วยงานเพื่อดูแลรับผิดชอบ และศึกษาผลกระทบในเชิงลึก รวมทั้งดำเนินการจัดเก็บข้อมูลตัวเลขสถิติด้านต่างๆ ในภาคธุรกิจค้าปลีก เพื่อสะท้อนภาพที่แท้จริง เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้ตรงประเด็นที่สุด 4.จัดแบ่งวัน เวลา ในการเปิด-ปิด การให้บริการ 5.ขอให้ชะลอการขยายตัวลงบ้าง ในช่วงที่ยังมีกฎเกณฑ์ที่ไม่ชัดเจน 6.ค้าปลีกรายใหญ่/รายย่อย และผู้ผลิต ควรยอมรับพฤติบัญญัติทางการค้าในเรื่องการแข่งขันที่เป็นธรรม เช่น ส่วนลด และการเรียกเก็บรายได้อื่นๆ รวมทั้งการเสียภาษี รายได้ในท้องถิ่นที่สาขาตั้งอยู่

7.ภาค รัฐร่วมกับหอการค้าเร่งพัฒนาผู้ประกอบการรายเล็ก/รายย่อย ปรับปรุงรูปแบบการให้บริการ กำหนดให้ผู้ค้าปลีกรายใหญ่ ต้องมีส่วนร่วมในโครงการของรัฐ ที่จะปรับปรุงช่วยเหลือธุรกิจค้าปลีก ถ่ายทอดความรู้ด้านการค้าปลีก และจัดหาแหล่งทุนที่มีอัตรา ดอกเบี้ยผ่อนปรน เพื่อใช้ในการปรับปรุงกิจการ

ดันตั้งกก.นโยบายค้าชายแดน

นาย วัชระกล่าวว่า ส่วนเรื่องการค้าชายแดน มีหลายหน่วยงานเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้ขาดการตัดสินใจในเชิงนโยบาย ขาดเอกภาพในการตัดสินใจในระดับจังหวัด การคมนาคมของประเทศเพื่อนบ้าน ขาดการพัฒนา ทำให้การขนส่งไม่สะดวก ขาดงบประมาณในการส่งเสริมการค้าชายแดน กฎระเบียบไม่สอดคล้องกับสภาพการค้าชายแดน ด่านการค้าไม่เพียงพอ แนวทางแก้ไข คือ สนับสนุนให้มีคณะกรรมการระดับนโยบาย ให้จังหวัดชายแดนบริหารงานแบบซีอีโอ พัฒนาเส้นทางเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน อุดหนุนทางการเงินแก่หอการค้าจังหวัดชายแดน ปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบให้สอดคล้องกับสภาพการค้า เพิ่มและยกระดับช่องทางการค้าชายแดน จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน เป็นต้น

นาย วัชระกล่าวด้วยว่า ข้อเสนออื่นๆ ที่หอการค้าต่างจังหวัดขอให้หอการค้าไทยเป็นผู้กลั่นกรองและนำเสนอหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาลู่ทางในการแก้ไขปัญหาต่อไป เช่น ปัญหาที่เกี่ยวกับหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้(เอ็นพีแอล) ซึ่งส่วนใหญ่ยังอยู่ในขั้นปรับตัวหรือกำลังถูกฟ้องร้อง ซึ่งควรมีการติดตามและมีมาตรการที่จะบรรเทาความเดือดร้อนลงบ้าง

มือขวา'แม้ว'หนุนใช้กฎ มท.

น.พ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รองนายกรัฐมนตรี กล่าวปิดการสัมมนา ว่า หากสามารถใช้กฎหมายเดิม ออกกฎระเบียบเพื่อดูแลเรื่องค้าปลีกได้เร็วกว่า การออกกฎหมายใหม่ ก็เป็นเรื่องที่ดี ส่วนเรื่องการค้าชายแดนซึ่งขณะนี้มีความสำคัญมาก ตนจะรับไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป ส่วนโครงการนิคมอุตสาหกรรม อุดรธานี ที่ขณะนี้ยังไม่มีคำตอบว่าจะสร้างได้หรือไม่นั้น ก็จะส่งเรื่องให้กับรัฐมนตรีว่า การกระทรวงอุตสาหกรรมไปติดตามดูแลอย่างใกล้ชิด

น.พ.พรหมินทร์ กล่าวว่า สำหรับข้อเสนอให้มีการเปิดเขตเศรษฐกิจพิเศษในจังหวัดชายแดนนั้น จะต้องดูข้อจำกัดด้านความมั่นคง ทั้งความมั่นคงทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของรัฐควบคู่กันไปด้วย ทั้งนี้ ขณะนี้มีแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาในประเทศมาก หากมีการสร้างเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งจะมีการลงทุนทำอุตสาหกรรมต่างๆ โดยใช้แรงงานที่จะอพยพเข้ามา จะเป็นการสร้างความร่วมมือทางด้านการค้าระหว่างกันมากขึ้น

"หน้าที่ ของรัฐบาลคือการสร้างพลังในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้กับเอกชน โดยผู้ที่จะเป็นตัวหลักในการดำเนินการคือเอกชน ดังนั้นหากเอกชนมีปัญหาในการดำเนินงานก็ขอให้เสนอมาที่ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือเข้ามาหาผมโดยตรงได้ทันที ซึ่งจะประสานงานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้" น.พ.พรหมินทร์กล่าว

ทรท.ศึกษาเสร็จแล้วกม.11 ฉบับ

ทาง ด้านความคืบหน้าการพิจารณาแก้ไขกฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจ 11 ฉบับ ซึ่งออกในสมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย ต่อมาทางกลุ่มพันธมิตรกู้ชาติ ได้ออกมาเรียกร้องให้ยกเลิกโดยอ้างว่าเป็นกฎหมายขายชาตินั้น วันเดียวกันนี้ นายวิชิต ปลั่งศรีสกุล ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคไทยรักไทย ในฐานะเลขานุการคณะอนุกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร(วิปรัฐบาล) พิจารณาศึกษาพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) ที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาวิกฤตทางเศรษฐกิจของประเทศรวม 11 ฉบับ กล่าวว่า คณะอนุกรรมการได้ประชุมพิจารณากฎหมายทั้ง 11 ฉบับ โดยศึกษาจากความเห็นและผลการศึกษาของบุคคลคณะต่างๆ รวมทั้งจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายทั้ง 11 ฉบับเสร็จสิ้นแล้ว คงเหลือแต่การประชุมเพื่อสรุปประเด็นสำคัญๆ ที่ควรปรับปรุงแก้ไขอย่างเร่งด่วน พร้อมนำข้อเสนอแนะและข้อสังเกตต่อวิปรัฐบาล หากเห็นชอบก็จะนำเสนอต่อรัฐบาลดำเนินการ ซึ่งการประชุมสรุปของคณะอนุกรรมการ จะมีขึ้นในวันที่ 18 พฤศจิกายน เวลา 09.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล

สรุปไม่ยกเลิกแม้แต่ฉบับเดียว

นาย วิชิตกล่าวต่อว่า ในฐานะเลขานุการคณะอนุกรรมการจะสรุปความเห็นเสนอต่อที่ประชุมวิปรัฐบาลว่า กฎหมายทั้ง 11 ฉบับ ไม่จำเป็นต้องยกเลิกตามที่มีการออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้อง แม้บางฉบับจะมีจุดอ่อนบ้าง แต่ก็ไม่มีผลเสียหายร้ายแรงต่อประเทศชาติ ถึงขนาดเป็นกฎหมายขายชาติ ขายแผ่นดิน ดังที่มีคนวิตกกังวลแต่อย่างใด

นาย วิชิตกล่าวถึงข้อสรุปของคณะอนุกรรมการถึงผลการศึกษากฎหมายทั้ง 11 ฉบับว่า ฉบับที่ 1 พ.ร.บ.การเช่าอสังหาริมทรัพย์เพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ.2542 คณะอนุกรรมการมีความเห็นว่า ไม่จำเป็นต้องยกเลิกหรือแก้ไข แต่มีข้อสังเกตว่า จนถึงขณะนี้ยังไม่มีผู้ใดทำสัญญาและจดทะเบียนการเช่าแม้แต่รายเดียว อาจเป็นเพราะรัฐออกกฎเกณฑ์วิธีการที่เข้มงวดเกินไป อีกทั้งสัญญาเช่า 50 ปี ผู้ให้เช่าสามารถยกเลิกสัญญาได้ทันที หากผู้เช่าผิดนัดไม่ชำระค่าเช่า ทำให้นำสัญญาไปจำนองเป็นหลักประกันเงินกู้ไม่ได้

ไม่แก้-ไม่เลิกกม.อาคารชุด

ฉบับ ที่ 2 พ.ร.บ.อาคารชุด(ฉบับที่ 3) พ.ศ.2542 ไม่จำเป็นต้องยกเลิกหรือแก้ไข โดยมีข้อสังเกตว่า อาคารชุดที่คนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์มีเพียง 13,046 ห้องชุด จากจำนวน 568,924 ห้องชุด คิดเป็น 2 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น และกฎเกณฑ์ฉบับนี้เปิดโอกาสให้คนต่างด้าวซื้อกรรมสิทธิ์ห้องชุดได้เกิน 49 เปอร์เซ็นต์ ภายในเดือนเมษายน 2547(5 ปี นับจากกฎหมายบังคับใช้)เท่านั้น

ฉบับ ที่ 3 พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน(ฉบับที่....)พ.ศ.2542 ไม่จำเป็นต้องยกเลิกหรือแก้ไข ส่วนข้อสังเกต จนถึงขณะนี้ยังไม่มีคนต่างด้าวซื้อที่ดินตามกฎหมายฉบับนี้ อาจเป็นเพราะกฎเกณฑ์ที่ต้องให้นำเงินมาลงทุนในประเทศสูงถึง 40 ล้านบาท คนต่างด้าวจึงหันไปซื้อห้องชุดเป็นที่พักอาศัยแทนการซื้อที่ดิน เพราะไม่ต้องลงทุนสูง

ฉบับที่ 4 พ.ร.บ.ให้จัดตั้งศาลล้มละลาย และวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 ไม่จำเป็นต้องยกเลิกหรือแก้ไข เพราะนับตั้งแต่เริ่มเปิดดำเนินการ ศาลล้มละลายทำหน้าที่ได้อย่างเที่ยงธรรมอยู่แล้ว

แก้ไขกม.ล้มละลายบางจุด

ฉบับ ที่ 5 พ.ร.บ.ล้มละลาย(ฉบับที่ 5 )พ.ศ.2542 เห็นควรให้แก้ไขเพิ่มเติม โดยให้ลูกหนี้ที่ขาดสภาพคล่องทางการเงิน แต่ยังไม่ถึงขนาดมีหนี้สินล้นพ้นตัว สามารถเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูได้ แต่มีข้อสังเกตว่า ลูกหนี้และผู้ค้าควรมีโอกาสเข้ามีส่วนร่วมในการจัดแผนฟื้นฟูและบริหารแผน ด้วยหรือไม่ อย่างไร

ฉบับ ที่ 6 พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจคนต่างด้าว พ.ศ.2542 ไม่จำเป็นต้องยกเลิกหรือแก้ไข แต่มีการตั้งข้อสังเกตว่า ขณะนี้คนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายฉบับนี้เพียง 967 ราย และนิติบุคคลที่คนต่างด้าวถือหุ้นไม่เกิน 49 เปอร์เซ็นต์ แต่คนต่างด้าวเข้าเป็นกรรมการและผู้บริหารของนิติบุคคลนั้นมากกว่าคนไทย

ฉบับ ที่ 7 พ.ร.บ.ประกันสังคม(ฉบับที่ 3)พ.ศ.2542 ไม่จำเป็นต้องยกเลิกหรือแก้ไข เพราะเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกันตนมากขึ้น แต่กรณีที่ผู้ประกันตนถูกเลิกจ้างและว่างงาน ควรเพิ่มมาตรการช่วยเหลือ ว่าจะสามารถช่วยเหลือผู้ว่างงานได้มากน้อยเพียงใด

ฉบับ ที่ 8 พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 17)พ.ศ.2542 ไม่จำเป็นต้องยกเลิกหรือแก้ไข เพราะกระบวนการพิจารณาคดีในมโนสาเร่ เป็นประโยชน์ต่อเจ้าหน้าที่และลูกหนี้ได้สะดวกและรวดเร็ว ค่าใช้จ่ายน้อย ศาลมักจะไกล่เกลี่ยให้คดียุติได้โดยเร็ว

ฉบับ ที่ 9 พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 18)พ.ศ.2542 ไม่จำเป็นต้องยกเลิกหรือแก้ไข เพราะเป็นมาตรการในการบังคับคดีให้เร็วขึ้น และศาลให้ความยุติธรรมดีอยู่แล้ว

ฉบับ ที่ 10 พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่ 19)พ.ศ.2542 ไม่จำเป็นต้องยกเลิกหรือแก้ไข เพราะแก้ไขประวิงคดีของคู่ความ ทำให้คดีเสร็จโดยเร็ว

เดินหน้าแปรสภาพรัฐวิสาหกิจ

ฉบับ ที่ 11 พ.ร.บ.ทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2542 ไม่จำเป็นต้องยกเลิกหรือแก้ไข เพราะเป็นกฎหมายที่ช่วยให้การแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจเป็นไปอย่างรวดเร็ว เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและประชาชน เกิดความโปร่งใส มีกรรมการรับผิดชอบงานแต่ละด้าน มีคณะรัฐมนตรี(ครม.)กำกับดูแล และให้ความเห็นชอบ รวมทั้งมีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ส่วนการขายหุ้นเป็นอีกส่วนหนึ่งตามนโยบาย ครม.ไม่อยู่ในข้อบังคับของกฎหมายนี้

"อย่างไรก็ตาม คณะอนุกรรมการได้รับทราบจากผู้ปฏิบัติงานที่มาชี้แจง ถึงปัญหาและอุปสรรคในการบังคับใช้กฎหมาย 11 ฉบับ อยู่บางประการ ซึ่งรัฐบาลกำลังเร่งศึกษาถึงจุดอ่อนที่ควรปรับปรุงแก้ไข โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติ ประชาชนให้มากที่สุด" นายวิชิตกล่าว

บิ๊กหอค้าเสียงอ่อยยอม'แม้ว'

นาย วัชระ พรรณเชษฐ์ กรรมการเลขาธิการหอการค้าไทย กล่าวว่า ได้นำเสนอผลสรุปจากการสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศต่อ น.พ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช รองนายกรัฐมนตรี ในประเด็นเรื่องการค้าปลีก โดยยอมรับว่าการออกกฎหมายค้าปลีกยังต้องผ่านขั้นตอนและอาจมีผลกระทบบางอย่าง จึงขอให้รัฐใช้กฎหมายที่มีอยู่ หรือออกแนวทางที่เหมาะสมในการดูแลธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่ เช่น เกณฑ์ที่ตั้งของห้างสรรพสินค้า เวลาเปิด-ปิดบริการ การชะลอการขยายสาขา และพฤติกรรมการค้าที่ไม่เป็นธรรม

นาย สุรินทร์ โตทับเที่ยง รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า หอการค้าจังหวัดเตรียมการทำหน้าที่คนกลางให้ร้านโชห่วยติดต่อสั่งซื้อสินค้า ทางอินเตอร์เน็ตกับบริษัทรวมค้าปลีกเข้มแข็ง หรือเออาร์ทีได้แล้ว แต่ยังติดขัดที่ เออาร์ทียังจัดหาสินค้ามาได้เพียง 30 กว่ารายการเท่านั้น ที่สำคัญ ยังไม่สามารถตกลงกับธนาคารพาณิชย์ที่จะมาช่วยปล่อยสินเชื่อให้ร้านค้าได้ ที่ผ่านมามีการเจรจากับธนาคารกรุงไทย แต่ก็คิดค่าธรรมเนียมสูงถึง 3.75%

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง