บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

จริยธรรม 3 ตุลาการคดีเปลี่ยนองค์คณะศาล ปค.สูงสุดภูมิคุ้มกันกระบวนการยุติธรรม

 


โดย ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์

หลังจากที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)มีมติเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2554  มอบหมายให้ นายวิชัย วิวิตเสวี กรรมการ ป.ป.ช.ไปดำเนินการสอบปากคำตุลาการศาลปกครองสูงสุด 3 คนประกอบด้วย นายชาญชัย แสวงศักดิ์ นายวราวุธ ศิริยุทธ์วัฒนา และนายธงชัย ลำดับวงศ์ กรณีที่มีการร้องเรียนว่า อดีตผู้บริหารศาลปกครองสูงสุดและพวกปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือไม่ ใน 2 กรณีคือ
หนึ่ง กรณีถูกกล่าวหาว่า ใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบในการเปลี่ยนองค์คณะตุลาการศาลปกครองสูงสุดในการ พิจารณาคดีมิให้นำมติ ครม.นายสมัคร สุนทรเวช เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2551 ซึ่งสนับสนุนการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ไปดำเนินการใดๆ
สอง กรณีถูกกล่าวหา ใช้อำนาจโดยมิชอบในการส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า มาตรา 16 แห่ง พ.ร.ก. การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินว่าขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือ ไม่
(คลิกดู ป.ป.ช.หงอศาลปกครองสูงสุด ดองคดีแทรกกระบวนการยุติธรรม)
อย่างไรก็ตาม  นายวิชัย วิวิตเสวี ให้สัมภาษณ์ในเวลาต่อมาว่า ที่ประชุมมีมติให้สอบสวนข้อเท็จจริงด้านข้อกฎหมายเพิ่มเติมในหลายประเด็น แต่ยังไม่ต้องตั้งกรรมการขึ้นสอบสวน หรือออกหนังสือเชิญตุลาการศาลปกครองสุดสุดเข้าให้ข้อมูลกับ คณะกรรมการ ป.ป.ช.
จากคำสัมภาษณ์ของนายวิชัยดังกล่าวทำให้เกิดความงุนงงว่า ถ้าไม่ออกหนังสือเชิญตุลาการศาลปกครองสูงสุด 3 คนข้างต้นมาให้ปากคำแล้ว คณะกรรมการ ป.ป.ช.จะได้ข้อเท็จจริงครบถ้วนกรณีที่มีการกล่าวหาว่า มีการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบในการเปลี่ยนองค์คณะตุลการศาลปกครองสูงสูดใน ระหว่างการพิจารณาคดีปราสาทพระวิหาร ได้อย่างไร
เพราะตุลาการศาลปกครองสูงสุดทั้ง 3 คนดังกล่าว เป็น “กุญแจ”สำคัญ ที่สุดในคดีนี้โดยมีข่าวว่า ตุลาการบางคนได้เก็บรวบรวมพยานหลักฐานที่เป็นเอกสารไว้ทั้งหมดซึ่งเพียงพอ ที่จะพิสูจน์ได้ว่า องค์คณะตุลาการศาลปกครองสูงสุดชุดแรกที่มี นายจรัญ หัตถกรรม เป็นหัวหน้าคณะได้พิจารณาคดีดังกล่าวจนถึงขั้นมีการลงมติด้วยเสียง 3 ต่อ 2 ไม่รับคดีปราสาทพระวิหารไว้พิจารณา
แต่มีการเปลี่ยนองค์คณะเป็นคณะที่หนึ่ง(คณะพิเศษ)ที่มีนายอักขราทร จุฬารัตน ประธานศาลปกครองสูงสุดในขณะนั้นเป็นหัวหน้าคณะให้พิจารณาคดีแทน จนมีคำสั่งยืนตามศาลชั้นต้นให้มีมาตรการคุ้มครองชั่วคราวห้ามนำมติ ครม.นายสมัคร ไปดำเนินการใดๆ
การเปลี่ยนองค์คณะตุลาการดังกล่าว มีผลถึงขั้นเปลี่ยนแปลงผลของคดี ถ้าเป็นการเปลี่ยนแปลงโดยมิชอบด้วยกฎหมาย ก็เข้าข่ายการแทรกแซงความเป็นอิสระของตุลาการในการพิจารณาคดีอย่างมิต้อง สงสัย
ถ้าตุลาการทั้ง 3 คนดังกล่าวยึดมั่นในจริยธรรมของตุลาการและนักกฎหมาย ย่อมต้องให้การตามความเป็นจริง ซึ่งนอกจากจะเป็นภูมิคุ้มกันให้แก่ตุลาการทั้ง 3 คนดังกล่าวแล้ว ยังจะเป็นภูมิคุ้มกันที่สำคัญให้แก่ศาลปกครองว่า ต่อไปนี้จะไม่มีอำนาจใดๆไม่ว่าภายนอกหรือภายในแทรกแซงการพิจารณาคดีของศาล ปกครองได้โดยง่าย
ตรงกันข้าม ถ้าตุลการทั้ง 3 คน มิได้ให้การไปตามความเป็นจริง จะมีผลกระทบต่อความเชื่อถือศรัทธาของสาธารณชนที่มีต่อศาลปกครองอย่างรุนแรง
นอกจากประเด็นการสอบปากคำตุลาการ 3 คนแล้ว ยังมีข่าวว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.มีมติให้ยุติกรณีที่อดีตผู้บริหารศาลปกครองสูงสุดถูกกล่าวหา ใช้อำนาจโดยมิชอบในการส่งคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า มาตรา 16 แห่ง พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินว่าขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือ ไม่
โดยคณะกรรมการ ป.ป.ช.เห็นว่า  การที่ศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องดังกล่าวไว้วินิจฉัย  ดังนั้นการส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ จึงเป็นไปโดยชอบแล้ว
ถ้าข่าวดังกล่าวถูกต้องตามข้อเท็จจริง แสดงว่า คณะกรรมการ ป.ป.ช.พิจารณาเรื่องนี้อย่างหละหลวมหรืออาจทำให้คนเข้าใจได้ว่า ต้องการชิงปิดคดี
เพราะตามข้อกล่าวหานั้นระบุว่า คดีดังกล่าวนายนิติธร ล้ำเหลือ ทนายความกลุ่มพันธมิตรฯยื่นฟ้องนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีต่อศาลปกครองสูงสุดขอให้เพิกถอนประกาศสถานการณ์ฉุก เฉินในเขต กทม.ลงวันที่ 2 กันยายน 2551
จากนั้นมีการจ่ายสำนวนให้แก่องค์คณะที่มีนายจรัญ หัตถกรรม เป็นหัวหน้าคณะและเป็นเจ้าของสำนวน(องค์คณะเดียวกับคดีปราสาทพระวิหาร)
ปรากฏว่า องค์คณะมีมติด้วยเสียงข้างมากไม่รับคดีไว้พิจารณาเพราะเห็นว่า  มาตรา 16 บัญญัติไว้ชัดเจนว่า ประกาศ คำสั่งที่ออกตาม พ.ร.ก.ไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองซึ่งต้องถือว่า คดีตกไปและถึงที่สุดแล้ว
แต่ ปรากฏว่า อดีตผู้บริหารศาลปกครองสูงสุดได้ส่งคำร้องในคดีดังกล่าวให้ศาลรัฐ ธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 211 ซึ่งบัญญัติว่า ในการที่ศาลจะใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายบังคับแก่คดีใด ถ้าศาลเห็นเอง…ว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้นต้องด้วยบทบัญญัติ มาตรา 6(ขัดต่อรัฐธรรมนูญ) ให้ศาลส่งความเห็นเช่นว่านั้นตามทางการเพื่อศาลรัฐธรรมนูญจะได้พิจารณา วินิจฉัย
“ศาล”ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 211 ย่อมหมายถึง “องค์คณะตุลาการหรือผู้พิพากษา”ที่ได้รับมอบหมายให้พิจารณาพิพากษาคดี มิได้หมายถึง ตัว “หัวหน้าองค์คณะ” “หัวหน้าศาล” หรือ “ประธานศาล” แต่อย่างใด
ดังนั้น เมื่อองค์คณะมีมติด้วยเสียงข้างมากไม่รับคดีการขอให้เพิกถอนประกาศสถานการณ์ ฉุกเฉินไว้พิจารณา คดีย่อมตกไป แต่อดีตผู้บริหารศาลปกครองสูงสุดกลับส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
การที่ศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องนี้ไว้พิจารณาอาจจะเป็นเพราะเห็นว่า ส่งเรื่องมาจากศาลปกครองอย่างเป็นทางการโดยที่ศาลปกครองมิได้แนบคำสั่งของ องค์คณะตุลาการศาลปกครองสูงสุดที่ไม่รับคดีไว้พิจารณาไปด้วย
เมื่อเห็นว่า เป็นการส่งเรื่องมาอย่างเป็นทางการ จึงมิได้ไต่สวนถึงกระบวนการภายในในการพิจารณาคดีนี้ ว่า  ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งไม่รับคดีไว้พิจารณาแล้ว
ดังนั้นประเด็นสำคัญของเรื่องนี้ คือคณะกรรมการ ป.ป.ช.ต้องเข้าไปดูกระบวนการเหล่านี้ด้วยซึ่งไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไรเพราะ เป็นองค์คณะชุดเดียวกับคดีปราสาทพระวิหารก่อนถูกเปลี่ยนองค์คณะ
นอกจากจริยธรรมของตุลการทั้ง 3 คนแล้ว มาตรฐานและประสิทธิภาพในการไต่สวนของ ป.ป.ช.ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยจรรโลงศรัทธาของประชาชนที่มีต่อศาลปกครอง รวมถึงตัวป.ป.ช.เองด้วย

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง