บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เปิดพิมพ์เขียวกยน. แผนแก้ "มหาอุทกภัย"

จากปัญหาอุทกภัยปี 2554 ที่เกิดขึ้นเป็นบริเวณกว้าง จึงจำเป็นต้องจัดทำแผนการบริหาร จัดการน้ำในระยะเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤตน้ำของประเทศที่อาจจะเกิดขึ้น ในฤดูฝนหน้า เพื่อสร้างความเชื่อมั่น ฟื้นความเชื่อถือ สร้างความมั่นใจให้ประชาชน เกษตรกร ภาคธุรกิจ และนักลงทุนใน นิคมอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบตลอดจนสร้างความมั่นคงของประเทศจากวิกฤต อุทกภัย
โดยมีหลักการดังนี้
1.ลดระดับความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นจากน้ำท่วมปี 2554 กรณีที่ปริมาณน้ำปี 2555 มีปริมาณมาก จะต้องไม่เกิดปัญหาอุทกภัยเช่นในปี 2554 และหากเกิดปัญหาอุทกภัยจะต้องลดผลกระทบจากอุทกภัยต่อเศรษฐกิจและสังคมให้ น้อยที่สุด
2.ปรับปรุงการบริหารจัดการเขื่อนหลัก โดยบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำสำคัญๆ จะพิจารณาให้ครอบคลุมทั้งด้านการชลประทาน การป้องกัน และบรรเทาอุทกภัย
3.ปรับปรุงอาคารบังคับน้ำชลประทาน คันกั้นน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำให้สามารถป้องกันน้ำท่วม และเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ เพื่อให้สามารถจัดการน้ำตามแผนที่วางไว้
4.ชดเชยให้กับพื้นที่รับน้ำเกษตรกรรม การผันน้ำเข้าพื้นที่เกษตรกรรมในกรณีน้ำหลากเพื่อหน่วงน้ำและลดผลกระทบที่ เกิดจากน้ำท่วม ผลกระทบและความเสียหายในพื้นที่ดังกล่าว ต้องมีแนวทางในการเสริมสร้างความเข้าใจ ความยอมรับ และชดเชยความเสียหายให้ประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งให้ประชาชนในพื้นที่มั่นใจว่าจะไม่ต้องรับภาระฝ่ายเดียว
5.ปรับปรุงกลไกในการบริหารจัดการภัยจากน้ำท่วม โดยพัฒนาระบบข้อมูลการพยากรณ์ การเตือนภัย ที่น่าเชื่อถือ และมีเอกภาพ รวมทั้งองค์การในการบริหารจัดการในภาวะวิกฤต เพื่อสามารถบริหารจัดการน้ำได้อย่างมีเอกภาพและมีประสิทธิภาพ
6.จัดทำแผนการแก้ปัญหาอุทกภัยเฉพาะพื้นที่ที่มีความสำคัญเพราะแต่ละ พื้นที่มีสภาพพื้นที่ ปัญหา และผลกระทบที่เกิดขึ้นแตกต่างกัน จึงต้องมีแผนเฉพาะพื้นที่ที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่นั้นๆ เช่น พื้นที่ชุมชน เมืองหลัก ธุรกิจ และอุตสาหกรรม เป็นต้น

แนวทางการบริหารจัดการน้ำระยะเร่งด่วน

ที่สำคัญมีดังนี้
1.การดำเนินการด้านวิศวกรรม
1.1 ปรับแผนการบริหารน้ำในเขื่อนสำคัญ โดยการปรับปรุง Rute Curve สะท้อนความสำคัญของการป้องกันน้ำท่วม โดยหน่วยงานรับผิดชอบ คือ กรมชลประทาน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และกรมอุตุนิยมวิทยา ฯลฯ ร่วมกับคณะอนุกรรม การติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ให้ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ
1.2 กำหนดพื้นที่รับน้ำนอง ตั้งแต่เขื่อนหลัก ในภาคเหนือ ตลอดจนสองฝั่งของลุ่มน้ำเจ้าพระยา รวมทั้งกรุงเทพมหานคร-ปริมณฑล โดยกำหนดพื้นที่รับน้ำนองตามธรรมชาติและที่ก่อสร้างขึ้น พร้อมจัดทำแผนการผันน้ำลงสู่พื้นที่รับน้ำนอง การจ่ายค่าชดเชยความเสียหาย รวมทั้งสร้างความเข้าใจความยอมรับกับประชาชนในพื้นที่โดยกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมรับผิดชอบ
1.3 ซ่อมแซมอาคารบังคับน้ำให้มีประสิทธิภาพ โดยปรับปรุง ซ่อมแซมและก่อสร้างอาคารชลประ ทาน โดยกรมชลประทาน กรมโยธาธิการและผังเมือง กรุงเทพมหานคร และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมรับผิดชอบ
1.4 เสริมคันกั้นน้ำตามแนวพระราชดำริ โดยการปรับปรุง ซ่อมแซม ก่อสร้างคันกั้นน้ำ ให้เป็นคันกั้นน้ำถาวร โดยกรมชลประทาน กรุงเทพ มหานคร และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมรับผิดชอบ
1.5 ปรับปรุงคูคลอง และทำความสะอาดทางน้ำสาธารณะ โดยการขุดลอก คูคลองและท่อระบายน้ำ รวมทั้งกำจัดวัชพืชที่ขวางทางน้ำไหลซึ่งต้องศึกษาขอบเขตและข้อจำกัดของข้อ กฎหมายที่อยู่ในความดูแลของหน่วยงานต่างๆ และดำเนินการร่วมกันอย่างบูรณาการ โดยกรมชลประทานกรุงเทพมหา นคร และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมรับผิดชอบ
1.6 สำรวจขีดความสามารถการระบายน้ำของกรุงเทพมหานคร และประสิทธิภาพการระบายน้ำ โดยการใช้ระบบท่อระบายน้ำ คลองระบายน้ำ อุโมงค์ระบายน้ำ ปั๊มน้ำ และระบบระบายน้ำใหญ่ที่มีอยู่ โดยกรุงเทพมหานคร รับผิดชอบ
2.การบริหารจัดการภัยจากน้ำท่วม
เพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและประชาชน เมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินจากอุทกภัย ประกอบด้วย
2.1 สร้างระบบเตือนภัยที่มีเอกภาพ มีประสิทธิ ภาพ สามารถให้ข้อมูลอย่างต่อเนื่องและประชาชนมีส่วนร่วม เพื่อประโยชน์ในการเตือนภัยจากน้ำท่วมซึ่งจะต้องมีเอกภาพ ปัจจุบันมีหน่วยงานที่มีข้อมูลระบบเตือนภัย ได้แก่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรุงเทพ มหานคร และศูนย์เตือนภัยพิบัตแห่งชาติ ฯลฯ เพื่อประมวลผลด้วยความถูกต้อง เชื่อถือได้ และมีประสิทธิภาพในการเตือนภัยสาธารณชนอย่างทันเวลา ทั้งนี้ ควรมอบหมายให้ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติเป็นหน่วย งานหลักในการแจ้งเตือนภัยต่อประชาชน รวมทั้งสร้างความเข้าใจกับผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และพิจารณาความจำเป็นของการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลน้ำแห่งชาติ เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลที่ใช้สนับสนุนในการเตือนภัย
2.2 จัดให้มีกลไกการบริหารจัดการอาคารบังคับน้ำเมื่อเกิดวิกฤต ในการบริหารจัดการน้ำในแหล่งต่างๆ ทั้งที่ถูกสร้างขึ้นและแหล่งน้ำธรรมชาติเครื่องมือที่ใช้ควบคุมระดับน้ำและ ปริมาณน้ำ คือ อาคารบังคับน้ำต่างๆ ได้แก่ เขื่อน ประตูระบายน้ำ ฝาย อย่างไรก็ดี อาคารบังคับน้ำต่างๆ อยู่ภายใต้การดูแลของหลายหน่วยงาน ประกอบด้วย สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กรม ชลประทาน กรุงเทพมหานคร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น ซึ่งจำเป็นต้องมีกลไกที่มีอำนาจเต็มในการสั่งการและบริหารจัดการน้ำอย่าง ครอบคลุมในทุกมิติ ซึ่งรวมถึงการศึกษาแนวทางการแก้ไขปัญหาและการบรรเทาผลกระทบอันเนื่องมาจาก วิกฤตน้ำ ซึ่งจะทำให้มีการบูรณาการการทำงานอย่างมีเอกภาพ มอบหมายให้กรมชลประทานเป็นหน่วยงานหลักดำเนินงาน
2.3 จัดทำแผนลดความเสียหายเฉพาะพื้นที่ ได้แก่ ชุมชน พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมที่สำคัญ เขตชุมชนหนาแน่น กรุงเทพมหานครชั้นใน เพื่อให้เกิดแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การให้ข้อมูลข่าวสาร การแจ้งเตือน การอพยพ การเตรียมพื้นที่รองรับ การจัดระบบขนส่ง ระบบสาธารณูปโภคฉุกเฉิน และการเร่งระบายน้ำออกจากพื้นที่ให้เร็วที่สุด โดยจัดตั้งคณะทำงานเพื่อดำเนินการตามความเหมาะสม
2.4 จัดตั้งองค์กรบริหารจัดการน้ำเป็นการเร่งด่วน เพื่ออำนวยการและสั่งการในภาวะฉุกเฉิน กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเพื่อให้เกิดเอกภาพในการแก้ปัญหาอุทกภัย ระยะเร่งด่วน ตามแผนการบริหารจัดการกับน้ำท่วม ตั้งแต่แจ้งเตือนภัย การบริหารจัดการอาคารระบายน้ำ การดำเนินการตามแผนลดความเสี่ยงเฉพาะพื้นที่
โดยมอบหมายสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และอนุกรรมการวางระบบการบริหารจัดการน้ำระยะเร่งด่วน เป็นหน่วยงานหลักดำเนินงาน

ที่มา : matichon.co.th



 

กยอ.ยึดโมเดลญี่ปุ่น-เนเธอร์แลนด์ วางแผนลงทุนสู้อุทกภัย 100 ปี

  • เขียนโดย Thaireform

       เปิดพิมพ์เขียวลงทุนบริหารจัดการน้ำ ชุด วีรพงษ์ รางมางกูร เน้นฟื้นฟูนิคมอุตสาหกรรม 7 แห่งสร้างความเชื่อมั่นญี่ปุ่น คาดใช้เงิน 1.5 หมื่นล้าน พร้อมพลิกวิฤตเป็นโอกาส ปรับพื้นที่รับน้ำสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจเหมือนเกาหลีโมเดล

       คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) ที่มีนายวีรพงษ์ รามางกูร อดีตรองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้มีการสรุปกรอบ "มาตรการฟื้นฟูความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนต่างชาติ" ให้แก่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เพื่อลบภาพฝันร้ายทางเศรษฐกิจ
       โดยเฉพาะกับนักลงทุนญี่ปุ่น ซึ่งเป็นนักลงทุนรายใหญ่ของประเทศนั้น นายวีรพงษ์ พร้อมด้วย นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.)  ได้ให้ความสำคัญพิเศษ บินไป "โรดโชว์" เมื่อปลายเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา
      เนื้อหาหลักของแผนจะมีทั้งระยะสั้นและระยะยาว ที่จะดำเนินการควบคู่กันไป
      โดยในระยะสั้น จะเร่งสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนและนักลงทุนก่อนว่า ฤดูฝนปี 2555 จะมีการบริหารจัดการนำเพื่อมิให้เกิดวิกฤตอุทกภัยอีก และรัฐมีการลงทุนที่จำเป็น เพื่อป้องกันความเสียหายใน "พื้นที่เสี่ยง" และมีผลกระทบทางเศรษฐกิจสูง เช่น พื้นที่อุตสาหกรรมสำคัญ พื้นที่เมืองและชุมชนหนาแน่น
      ทั้งนี้ แผนระยะสั้นจะเสร็จภายใน 3 เดือน เพื่อให้เกิดยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาเร่งด่วนในช่วง 1 ปีข้างหน้า  พร้อมประสานกับผู้ประกอบการนิคมอุตสาหกรรมเพื่อสร้างเขื่อนป้องกันน้ำท่วม ภายในนิคมอย่างน้อย 7 แห่งในพื้นที่ภาคกลาง ซึ่งรัฐจัดหาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำพิเศษในวงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท
       รวมถึงซ่อมแซมถนน สะพาน และสาธารณูปโภคให้กลับสู่ปกติโดยเร็ว เนื่องจากเส้นทางเหล่านี้ใช้ในการลำเลียงผลผลิต วัตถุดิบ และสินค้าจากโรงงาน กระจายไปส่งยังท่าเรือหรือสนามบิน
       ส่วนเป้าหมายระยะยาว ได้แก่ การพัฒนาประเทศเพื่อลดความเสี่ยงอุทกภัยอย่าง "ถาวร" ซึ่งอาจใช้วงเงินลงทุนหลายแสนล้านบาท ทุ่มลงไปในระบบการบริหารจัดการน้ำ โครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาเมืองและพื้นที่อุตสาหกรรม การปรับระบบการผลิตภาคอุตสาหกรรมและเกษตร การปรับปรุงกฎระเบียบภาครัฐที่เกี่ยวข้อง การจัดหาแหล่งเงินทุนเพื่อให้เหมาะสมกับวินัยการคลัง การดูแลให้เกิดการลงทุนและการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ การสื่อสารและประชาสัมพันธ์ให้สาธารณชนและนักลงทุนมั่นใจในแผนการสร้างอนาคต ของประเทศอย่างต่อเนื่อง
       สำหรับการจัดหาแหล่งเงินทุนนั้น นายวีรพงษ์ มองว่า ไม่จำเป็นต้องพึ่งพางบประมาณแผ่นดินเพียงอย่างเดียว แต่ควรมีทางเลือก เช่น การระดมทุนจากตลาดทุน ผ่านกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure Fund) การออกกฎหมายพิเศษกู้เงินเพื่อการพัฒนา การพิจารณาการใช้ทุนสำรองเงินตราต่างประเทศ เพื่อร่วมลงทุนกับเอกชนในโครงสร้างที่่มีผลตอบแทนเชิงพาณิชย์ เป็นต้น
      ในส่วนการช่วยผู้ประกอบการขณะนี้ มีเงินอัดฉีดจากธนาคารออมสินให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำฟื้นฟูสภาพคล่อง 5 หมื่นล้านบาท และสินเชื่อเพื่อพัฒนาระบบป้องกันอุทกภัยอีก 1.5 หมื่นล้านบาท สำหรับนิคมอุตสาหกรรม 7 แห่งที่ประสบภัย ต้องการสร้างแนวเขื่อนถาวร รวมถึงระบบการระบายน้ำที่ดีขึ้น
      หลังจากที่ผ่านมาจะเห็นการสู้กับน้ำของบรรดานิคมอุตสาหกรรมเหล่านี้ เป็นไปตามยถากรรม คือการใช้กระสอบทรายและคันดิน กั้นน้ำที่ไหลบ่าเข้ามาทางตรง แต่ไม่สามารถหยุดยั้งน้ำที่ไหลเข้ามาทางระบบท่อได้
      พร้อมกันนั้น กยอ.เห็นว่า รัฐบาลอาจจำเป็นต้องมีการตั้งองค์กรถาวรขึ้นมาเพื่อผลักดันแนวทางตาม ยุทธศาสตร์ และประสานกับหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐ เอกชน และต่างประเทศ เบื้องต้น ให้อยู่กับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติหรือสภาพัฒน์ ไปก่อน
      อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการกยอ. ซึ่งมาจากผู้ทรงคุณวุฒิในหลายภาคส่วน ยังมีความเห็นหลากหลายต่อการฟื้นฟูสภาพความเสียหายครั้งนี้ อาทิ การผลักดันวิกฤตให้เป็นโอกาส ด้วยการวางแผนใช้พื้นที่รับน้ำเป็นแหล่งสร้างรายได้ทางเศรษฐกิจ และการท่องเที่ยว เหมือนที่สาธารณรัฐเกาหลีดำเนินการภายใต้โครงการ Four Rivers Project
      นอกจากนั้น ในการพิจารณาลงทุนสำหรับอนาคต ควรวางแผนในระยะเวลาที่ยาวกว่าแผนทั่วไป เช่น กรณีของญี่ปุ่นและเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นประเทศที่อยู่ใกล้ทะเล และพื้นที่ค่อนข้างต่ำ จะวางแผนเพื่ออนาคต 50-100 ปี ด้วยซ้ำ เพราะหลังจากนี้ สถานการณ์น้ำท่วมจะเกิดในประเทศไทยบ่อยครั้งขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ
       ขณะเดียวกัน ควรมีการปรับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ , แผนบริหารราชการแผ่นดิน และแผนปฏิบัติราชการกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ให้สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ เนื่องจากแผนเหล่านี้จัดทำขึ้นก่อนเกิดวิกฤตมหาอุทกภัย หากไม่แก้ไขจะทำใหกลไกการทำงานไม่สอดประสานกัน
       สิ่งที่กยอ.หวั่นเกรงต่อมาก็คือเรื่่องการต่ออายุประกันภัย เนื่องจากวิกฤตครั้งนี้บริษัทประกันภัยในประเทศและประกันต่อต่างประเทศ เสียหายต้องจ่ายค่าสินไหมทดแทนจำนวนมาก
       ปัญหาเฉพาะหน้าขณะนี้คือผู้ประกอบการไม่สามารถต่ออายุกรมธรรม์ทั้งฉบับ ต้องมีการแยกส่วนกรมธรรม์อุทกภัยออกมา และใช้วิธีการกำหนดสัดส่วนวงเงินเอาประกันขึ้นกับการตกลงกัน ซึ่งเท่ากับว่าผู้เอาประกันจะจ่ายเบี้ยแพงขึ้นและได้รับการชดเชยที่ต่ำลง
       ภาครัฐจึงต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่บริษัทประกันภัยขนาดใหญ่ด้วยว่า จะไม่ทำให้ความเสี่ยงจากน้ำท่วมใหญ่เกิดขึ้นอีก โดยเฉพาะในนิคมอุตสาหกรรม 7 แห่งที่มีผู้ประกอบการและนักลงทุนจากต่างประเทศเข้ามาลงทุน เพราะสิ่งที่เกิดขึ้นครั้งนี้ทำให้บริษัทประกัน "เจ็บหนัก"
       โดยจากการสำรวจของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) พบว่า ภาคอุตสาหกรรมและครัวเรือนมีจำนวนเงินเอาประกันทั้งสิ้น 745,353 ล้านบาท ซึ่งเบื้องต้น คาดว่า ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย 30% ของจำนวนเงินเอาประกันภัย คิดเป็น่าสินไหมทดแทนจำนวน 217,000 ล้านบาท
       แบ่งออกเป็น ภาคอุตสาหกรรมทั้งในและนอกนิคมอุตสาหกรรม มีจำนวนเงินเอาประกันภัย 688,926 ล้านบาท ประมาณการค่าสินไหมทดแทนจำนวน 200,000 ล้านบาท และภาคครัวเรือน ซึ่งประกอบด้วยประกันภัยรถยนต์ บ้าน และร้านค้าพาณิชยกรรม มีจำนวนเงินเอาประกันภัย 56,572 ล้านบาท ประมาณการค่าสินไหมทดแทนจำนวน 17,000 ล้านบาท
       จากการหารือระหว่างผู้บริหารคปภ.และบริษัทประกันวินาศภัย 68 แห่ง พบว่า การรับประกันภัยในประเทศไทยได้มีการทำสัญญาประกันภัยต่อกับต่างประเทศ มากกว่า 90% ซึ่งจากสัญญาประกันภัยต่อทั้งหมด ได้มีการประกันภัยต่อกับญี่ปุ่น 60% โดยบริษัทประกันภัยต่อญี่ปุ่นได้ยืนยันการจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามสัญญา กรมธรรม์อย่างรวดเร็ว สำหรับบริษัทประกันภัยรายอื่น คาดว่าจะไม่มีปัญหาในการจ่ายค่าสินไหมทดแทน
       อย่างไรก็ตาม คปภ. เชื่อว่า ในปี 2555 จะมีภาคครัวเรือนและเอสเอ็มอี ต้องการทำประกันอุทกภัยมากขึ้น ขณะที่ผู้รับประกันภัยจะคิดเบี้ยประกันสูงขึ้น จนเกินกว่าเพดานเบี้ยมาตรฐานที่ทางคปภ.กำหนดไว้ พร้อมจำกัดขอบเขตความรับผิดชอบหากเกิดความเสียหาย หรือ "เลวร้ายที่สุด" คือบริษัทประกันปฏิเสธการรับทำประกันประเภทนี้
       ดังนั้น คปภ.จึงต้องการให้ภาครัฐควรเข้ามามีส่วนร่วมในกลไกการรับประกันภัย เพื่อให้อัตราเบี้ยประกันอยู่ในระดับที่เหมาะสม ซึ่งขณะนี้คปภ. ได้ร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง พิจารณารูปแบบใหม่อยู่
       โมเดลการแก้ฟื้นฟูปัญหาอุทกภัยครั้งนี้ จะสำเร็จหรือไม่คงไม่ต้องประเมินกันทุก 3-6 เดือน หลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมเข้ามาจ่อคอหอยประชาชนและภาคธุรกิจอย่างทั่วหน้า แต่ปัญหาคือแนวทางของคณะกรรมการชุดนี้จะมีผลในทางปฏิบัติเร็วแค่ไหนเท่านั้น

          กยอ.ประเมินความเสียหายภาคธุรกิจและครัวเรือนที่มีการทำประกันภัย




                                      มาตรการฟื้นฟูและเยียวยาภาคอุตสาหกรรม



0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง