บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอาทิตย์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2554

เปิดไส้ในละเอียดยิบดาวเทียมหมื่นล้าน “ปลอดประสพ” ประเดิมงวดแรกค่าจ้างที่ปรึกษา 6 ล้าน


. เขียนโดย เสนาะ สุขเจริญ หมวด isranews, Investigative

 
เปิดไส้ในเอกสารโครงการสร้างดาวเทียมสำรวจโลกดวงที่ 2 มูลค่าหมื่นล้าน“ปลอดประสพ” ประเดิมเบิกงวดแรก 520 ล้าน ค่าจ้างที่ปรึกษา 6  ล้าน  บรรยายสรรพคุณ THEOS  ละเอียดยิบ       
กรณีนายปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ทำหนังสือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อหารือในการดำเนินโครงการพัฒนา ระบบดาวเทียมสำรวจโลกดวงที่ 2  ของประเทศไทยโดยจะนำเรื่องเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อขอความเห็นชอบ ในการดำเนินโครงการภายในเดือนธันวาคม 2554        
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ตั้งงบประมาณดำเนินโครงการไว้ที่  10,000 ล้านบาท แบ่งเป็นงบประมาณผูกพัน 4 ปี
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org)  นำเอกสารแนบท้ายที่ระบุรายละเอียดโครงการมานำเสนอดังนี้        
หลักการและเหตุผล ตอนหนึ่งระบุว่า      
การดำเนินงานของดาวเทียม THEOS ที่ผ่านมา พบว่าก่อให้เกิดประโยชน์มากมายทั้งด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติและความมั่นคง โดยดาวเทียม THEOS ได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการนำไปประยุกต์ใช้ในสาขาต่างๆ อาทิ ด้านการเกษตร/พืชเศรษฐกิจ การป่าไม้ ทรัพยากรน้ำ และการชลประทาน การผังเมือง การวางแผนพัฒนาจังหวัดและด้านความมั่นคง  นอกจากนี้ยังเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการติดตามและบรรเทาปัญหาด้านภัยพิบัติ ทางธรรมชาติต่างๆ รวมทั้งติดตามการเปลี่ยนแปลงตามแนวชายฝั่ง ทะเล ซึ่งทำให้สามารถนำข้อมูลมาแก้ไขภาวะวิกฤตได้อย่างทันต่อเหตุการณ์
ด้านภัยพิบัติ  สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทภอ.)  ได้มีบทบาทในการจัดหาและวิเคราะห์ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม THEOS และดาวเทียม RADARSAT ของบริเวณที่ประสบภัยและส่งผลข้อมูลดังกล่าวให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ประกอบการแก้ไขปัญหา การฟื้นฟูพื้นที่และการพิจารณาเบิกจ่ายเงินเยียวยาให้กับผู้ได้รับความเสีย หายตมข้อเท็จจริงที่ตรวจสอบได้จากภาพถ่ายดาวเทียม ซึ่งทำให้รัฐบาลประหยัดงบประมาณของประเทศได้มากกว่า 4,000 ล้านบาท      
นอกจากนี้ ในเดือนกันยายน-ตุลาคม 2554 ที่มีภาวะอุทกภัยครั้งร้ายแรงครอบคลุมพื้นที่เกือบทั่วประเทศไทย สทภอ.ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานหลักในการจัดหาและวิเคราะห์ข้อมูลดาว เทียมและภูมิสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของคณะกรรมการอำนวยการและ บริหารสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม (คอส.) และศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.)
นโยบายรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง        
คณะรัฐมนตรี (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร) นายกรัฐมนตรี กำหนดนโยบายข้อ  6  นโยบายวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม ข้อ 6.5 ส่งเสริมการใช้ข้อมูลเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เพื่อการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การวางแผนการผลิตด้านการเกษตร การป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติ ยกระดับคุณภาพชีวิตและเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ   
นอกจากนี้ข้อมูลจากดาวเทียมภูมิสารสนเทศยังเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการ ขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลข้ออื่นๆ เช่น  1.4  ส่งเสริมให้มีการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณราการ และเร่งรัดขยายพื้นที่ชลประทานข้อ 2 .4  พัฒนาระบบการเตรียมพร้อมแห่งชาติ ข้อ 5.1 อนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่า ข้อ 5.7 สร้างภูมิคุ้มกันและเตรียมความพร้อมในการรองรับและปรับตัวต่อผลกระทบจากการ เปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศและภัยพิบัติ
ความคุ้มค่าในการมีระบบดาวเทียมเป็นของประเทศไทย        
การสำรวจข้อมูลด้วยดาวเทียม มีข้อได้เปรียบที่สำคัญคือ ดาวเทียมสามารถถ่ายภาพได้เป็นบริเวณกว้างในเวลาเดียวกัน (Simultaneous) และถ่ายภาพซ้ำบริเวณเดิมทำให้สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงตามระยะเวลาซึ่ง เป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการบริหารจัดการและการตัดสินใจ นอกจากนี้ยังสามารถถ่ายภาพบริเวณทุรกันดารหรือมความลำบากในการเข้าถึง ดังนั้นการมีดาวเทียมเป็นของตนเองจึงทำให้สามารถลดค่าใช้จ่ายต่างๆลงได้ ดังนี้

 แนวทางในการดำเนินงาน      
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) ตระหนักว่าการพัฒนาดาวเทียมสำรวจโลก เป็นกิจกรรมที่ใช้งบประมาณในการดำเนินการสูง เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีเฉพาะทางที่มีความก้าวหน้าและใช้วิชาการหลายด้าน รวมทั้งมีองค์ประกอบหลายส่วน ทั้งภาคอวกาศ (ตัวดาวเทียม ,อุปกรณ์บันทึกภาพ ฯลฯ ) และภาคพื้นดิน (อุปกรณ์ควบคุมดาวเทียม ,รับสัญญาณ ,ผลิตข้อมูล ฯลฯ) ระบบการประมวลผลข้อมูลและแบบจำลอง และระบบการบริการข้อมูลและผลิตภัณฑ์ พร้อมใช้แบบครบวงจร ดังนั้นในการดำเนินโครงการนี้ สทอภ.จึงได้นำประสบการณ์จากการดำเนินโครงการพัฒนาดาวเทียม THEOS มาศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งประเมินข้อดีข้อเสียเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงเห็นควรจัดหาระบบดาวเทียมในรูปแบบ Engineering Procurement Construction –Satellite Solutions System (EPC-SSS) กล่าวคือคู่สัญญาจะต้องมีขีดความสามารถครบในทุกด้าน ตั้งแต่การสร้างดาวเทียม และระบบภาคพื้นดิน การส่งดาวเทียม การควบคุมดาวเทียม การพัฒนาระบบวิเคราะห์ภาพถ่ายจากดาวเทียมและแบบจำลองเพื่อการพยากรณ์ต่างๆ การพัฒนาผลิตภัณฑ์พร้อมใช้และการพัฒนาธุรกิจโดยเฉพาะตลาดในต่างประเทศ โดยคู่สัญญาจะต้องรับผิดชอบต่อระบบดาวเทียมและระบบวิเคราะห์ข้อมูลและ พยากรณ์รวมทั้งระบบบริการผลิตภัณฑ์ต่างๆ ตลอดอายุการใช้งาน เพื่อไม่ให้ วท.ต้องแบกภาระด้านการบำรุงรักษาและการปรับปรุงต่างๆในระยะยาว
รายละเอียดแผนงาน/โครงการ      
แผนการดำเนินงานปีงบประมาณ 2555-2558   มีขั้นตอนการดำเนินงานทั้งหมด 17 ขั้นตอน  เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขอความเห็นชอบและขอผูกพันงบประมาณข้ามปี อยู่ในไตรมาสที่ 1 ปี 2555 ,แต่งตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลโครงการพัฒนาดาวเทียมสำรวจโลกดวงที่ 2 และแต่งตั้งผู้จัดการโครงการอยู่ในไตรมาสที่ 1 ปี 2555 ,ประกาศเชิญชวนหน่วยงานอยู่ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2555 , ลงนามในสัญญาเพื่อการดำเนินการพัฒนาระบบดาวเทียมสำรวจโลกอยู่ในไตรมาสที่ 3 ปี 2555
       
งบประมาณ        
งบประมาณรวมทั้งโครงการ 10,000 ล้านบาท  แบ่งเป็นงบประมาณผูกพัน 4 ปี  (ปี 2555-2558)         
ปีงบประมาณ 2555  จำนวน 520 ล้านบาท กิจกรรมหลักได้แก่ ลงนามในสัญญา ออกแบบระบบดาวเทียม ระบบภาคพื้นดิน ระบบประมวลผลและแบบจำลอง และระบบบริการข้อมูลทั้งในและต่างประเทศ
ปีงบประมาณ 2556  จำนวน  2,130 ล้านบาท      
 ปีงบประมาณ 2557 จำนวน 3,220 ล้านบาท          
ปีงบประมาณ 2558 จำนวน 4,130 ล้านบาท          
หมวดรายจ่ายสำหรับปีงบประมาณปี 2555 ทั้งหมด 520 ล้านบาท จำนวนนี้เป็นค่าจัดจ้างที่ปรึกษาโครงการ 6 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายงวดแรดหลังลงนามสัญญา 500 ล้านบาท 
กล่าวสำหรับดาวเทียมธีออส  รัฐบาลไทยได้ว่าจ้าง บริษัท เอียดส์ แอสเตรียม ประเทศฝรั่งเศส เป็นคู่สัญญา แต่ไม่สามารถยิงดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรได้ตามกำหนดภายในวันที่ 19 มกราคม 2551 กลับส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรในวันที่ 1 ตุลาคม 2551 เนื่องจากประสบปัญหาการเจรจากับประเทศคาซัคสถานที่ไม่ยินยอมให้เศษชิ้นส่วน ดาวเทียมตกยังประเทศ สำนักงานอัยการสูงสุดมีความเห็นว่าบริษัทคู่สัญญาต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่า เสียหายประมาณ 160 ล้านบาท

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง