บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ กับมุมมองของโลก

  • ที่มา :พระมหาคมสรณ์ คุตตธมฺโม พระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย

    บทความได้รับทางอีเมล์..เรื่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัว เขียนโดย ดร.สมเกียรติ อ่อนวิมล เป็นภาพรวมมุมมองของคนต่างชาติที่มองสะท้อนสถานบันพระมหากษัตริย์ของไทยเรา น่าสนใจมาก แต่ต้องใช้เวลาการอ่านสักนิดหนึ่งเพราะว่าเนื้อหาค่อนข้างยาว เห็นว่าสมาชิกควรได้อ่านเพื่อจักได้ทราบความเป็นไป ความรู้สึก สิ่งที่ชาวโลกมีต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสถาบันพระมหากษัตริย์ของ ไทย ที่พวกเราถวายความเคารพยกพระองค์ท่านเป็นศูนย์กลางรวมดวงใจของชาวไทยทั้ง ชาติ พวกเราจักได้มีความภาคภูมิ ยินดี จงรัก ภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยที่ยิ่งใหญ่ตราบนานเท่านาน

    บันทึกอาเซียน ASEAN DIARY

    “The King of Thailand in World Focus”
    โดย Foreign Correspondents Club of Thailand

    [สรุปย่อ โดย สมเกียรติ อ่อนวิมล]

    สโมสร ผู้สื่อข่าวต่างประเทศในประเทศไทยจัดพิมพ์หนังสือเล่มพิเศษเพื่อ เป็น การเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเมื่อปี พ.ศ.๒๕๓๑ / ค.ศ.1988 ในพระบรมราชวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษาครบ 5 รอบ หรือ 60 พรรษา หนังสือเล่มนี้รวบรวมข่าวต่าง ๆ เกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่รายงานโดยสำนักข่าวต่างประเทศเป็นภาษาอังกฤษที่ปรากฎเป็นข่าวในสื่อสาร มวลชนทั่วโลกตั้งแต่อดีตจนถึงปีก่อนการจัดพิมพ์ โดยสรุปย่อบางเรื่องบางตอนได้ดังต่อไปนี้ :
    ครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระบรมราชินีนาถเสด็จเยือน สหรัฐอเมริกา และทรงแวะเยี่ยมโรงพยาบาล Mt. Auburn อันเป็นสถานที่ประสูติ ณ เมือง Boston รัฐ Massachusette หนังสือพิมพ์ Boston Globe ฉบับวันที่ 8 กรกฎาคม ปี 1960/๒๕๐๓ อธิบายเกี่ยวกับพระองค์ว่า
    ‘The “darling baby” who grew up to be king was the darling of Mt. Auburn Hospital’
    ‘เด็กน้อยที่น่ารัก’ ผู้ซึ่งเติบโตมาเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เป็นที่รักของทุกคนที่โรงพยาบาล Mt. Auburn”
    แล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงตั้งข้อสังเกตว่า

    ‘The king noted he had been termed “a nice baby,” and, “I hope I have grown into something nice.” ‘
    “เมื่อใครต่อใครที่โรงพยาบาลเรียกพระองค์ว่าเด็กน่ารักแล้ว ข้าพเจ้าก็หวังว่าตอนนี้ที่โตขึ้นมาแล้วก็คงจะเป็นอะไรที่น่าดูต่อไป”
    พยาบาลทั้งสี่คนที่ดูแลพระองค์ช่วงที่อยู่ที่โรงพยาบาล 21 วันต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า

    “What a lovely boy”
    พยาบาล Leslie H. Leighton บอกว่า
    “His parents were very modest people and didn’t want any fanfare at all”
    “พระราชบิดา และพระราชมารดาของพระองค์ทรงสมถะมาก อยู่ที่โรงพยาบาลแบบไม่ต้องการอะไรพิเศษไปกว่าใครเลย”
    “We will never forget this day”
    “เราจะไม่ลืมวันนี้เลย วันที่พระองค์กลับมาที่โรงพยาบาล Mt. Auburn อีก”
    พยาบาลทั้งสี่คนกล่าวหลังจากเวลาผ่านไป 32 ปี และได้มีโอกาสพบเด็กน้อยผู้น่ารักที่กลายมาเป็นกษัตริย์แห่งกรุงสยาม

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสในตอนต่อมา วันเดียวกัน ต่อหน้าคณะผู้นำของรัฐ Massachusetts ว่า
    “Boston had much to do with me. I was born here. My mother and father studied here. But apart from these things, Boston represents much more. It has been the birthplace of your country, and the spirit of freedom is very strong here…. I come here as a private citizen, as a human, to see my birthplace… and to see the things you do here, and to feel your spirit of freedom.”
    “Boston มีความหมายต่อข้าพเจ้ามาก ข้าพเจ้าเกิดที่นี่ แม่และพ่อของข้าพเจ้าก็เรียนหนังสือที่นี่ แต่นอกเหนือจากนั้น Boston มีความหมายแทนสิ่งอื่นที่สำคัญยิ่งกว่า Boston เป็นที่ให้กำเนิดประเทศของท่าน วิญญาณแห่งเสรีภาพที่นี่เข้มข้นแรงกล้าเป็นอย่างมาก… ข้าพเจ้ามาที่นี่เป็นการส่วนตัว เยี่ยงมนุษย์ธรรมดาสามัญ เพื่อมาดูสิ่งที่ท่านทั้งหลายมุ่งมั่นทำกันอยู่ และเพื่อมาซึมซับรับรู้ให้เข้าถึงจิตวิญญาณของเสรีภาพที่แท้จริง”
    นี่คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชแห่งสยาม ที่หนังสือพิมพ์ The Boston Globe เขียนถึงในขณะที่พระองค์ทรงพระชนมายุ 32 พรรษา จิตวิญญาณแห่งเสรีภาพกำเนิดมาพร้อมกับพระองค์ และดำรงทรงอยู่ในพระราชหฤทัยตลอดเวลาของการครองสิริราชสมบัติจนปัจจุบัน
    หนังสือ “The King of Thailand in World Focus” โดย สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศในประเทศไทย (Foreign Correspondents Club of Thailand) รวบรวมข่าวและบทความในสื่อมวลชนต่างประเทศ ทั่วโลก ใน 60 ปีแรกของพระชนชีพของพระองค์ โดยบรรดาผู้สื่อข่าวชาวต่างประเทศที่มาทำงานข่าวในประเทศไทยในครั้งนั้น คิดกันว่าจากการที่ได้มาพึ่งพระบรมโพธิ์สมภารในแผ่นดินไทย เมื่อวาระครบ 60 พรรษาในปี 2503 ก็สมควรที่จะได้ทำงานชิ้นสำคัญที่พวกเขามีความชำนาญสูงสุดถวายเพื่อพระองค์ นั้นคือการจัดทำหนังสือรวบรวมข่าว บทความ และภาพถ่าย เกี่ยวกับพระองค์ที่ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ นิตยสาร และรายงานของสำนักข่าวต่างประเทศทั้งหลาย ซึ่งในที่สุดก็คัดเลือกมาพิมพ์ 80 เรื่อง จากสื่อมวลชนทั่วโลก 38 องค์กร มีภาพถ่าย 194 ภาพ จาก 52 แหล่งภาพข่าว ได้หนังสือหนา 189 หน้า จาก มีเรื่องสุข เรื่องทุกข์ เรื่องเจริญรุ่งเรือง และเรื่องวิกฤติในแผ่นดินของพระองค์ผสมผสานคละเคล้ากันไป กับการปฏิบัติหน้าที่พระมหากษัตริย์ของพระองค์ เสมือนบันทึกประวัติศาสตร์ประเทศไทย ภายใต้ร่มพระบารมีของ (หลังจากนั้นมีการพิมพ์ครั้งที่สองเพิ่มเติมเรื่องและภาพจนถึงปี 2007/๒๕๕๐)
    เริ่ม จากยุคแรกเริ่มของ “พระมหากษัตริย์ผู้มิทรงแย้มพระสรวล” คือคำอธิบายพระบุคลิภาพของพระองค์ที่สำนักข่าว AP บรรยายภาพเหตุการณ์ครั้งเสด็จนิวัติพระนครในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2494
    ผ่านสู่ยุคที่ทรงแย้มพระสรวลเล็กน้อย ในสิบปีต่อมา
    จน ถึงวันที่ชาวไทยทั้งประเทศยิ้มแย้มร่าเริงร่วมกับพระองค์เมื่อ ถึงวันเฉลิมฉลองปีที่ทรงครองสิริราชสมบัติยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย
    สำนักข่าว AP โดย Milton Marmor รายงานข่าววันที่พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลเสด็จกลับจากยุโรป วันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2494 ว่า

    “An unsmiling young king returned from Europe today to his picturesque capital that still was politically jittery over Thursday’s bloodless governmental coup. ….. Clad in naval uniform, the bespectacled king was not seen to smile once during the arrival ceremonies at the royal landing, the requisite visit to the temples and the two-and-a-half-mile drive past more than 100,000 adoring subjects.”
    “พระมหากษัตริย์หนุ่ม ผู้มิได้แม้แต่จะแย้มพระสรวล หรือยิ้มเลย เสด็จกลับจากยุโรปมายังนครหลวงอันสวยงามของพระองค์ในวันนี้ อันเป็นวันที่การเมืองยังหวั่นไหวหลังการการยึดอำนาจแบบไม่สูญเสียเลือด เนื้อ…ฉลองพระองค์ในชุดนายทหารเรือพระมหากษัตริย์ผู้ทรงพระแว่น มิได้มีใครเห็นพระองค์ทรงแย้มพระสรวลเลยแม้แต่ครั้งเดียว ตลอดพิธี ตั้งแต่เสด็จถึงท่าเทียบเรือ เสด็จประกอบพระราชพิธีที่พระอารามหลวง และตลอดเส้นทางเสด็จพระราชดำเนินยาว สองไมล์ครึ่ง ท่ามกลางพสกนิกรที่ยืนเรียงรายถวายความความจงรักภักดีกว่า 1 แสนคน”


    ราช อาณาจักรสยาม หรือ ประเทศไทยของพระองค์ เริ่มจากต้นรัชสมัยที่พระองค์ไม่ทรงแย้มพระสรวลหรือไม่ทรงยิ้มเลยในตอนเริ่ม แรกนั้น พระองค์ทรงกล่าวกับหนังสือพิมพ์ The Observer ของอังกฤษในอีก 9 ปีต่อมาว่า
    “The queen smiles for me” “สมเด็จพระราชินีก็ทรงยิ้มแย้มพระสรวลแทนข้าพเจ้าแล้ว”
    The Observer ฉบับวันที่ 17 กรกฎาคม 1960/๒๕๐๓ เขียนว่า“Hitherto the shy, slight, bespectacled king, now thirty-two years old, has only slowly shown sign of shedding the unsmiling formality which has characterized his public appearances…”
    “พระมหากษัตริย์พระชนมายุ 32 พรรษา ดูจะทรงสันทัด ท่าทางอายๆ สันทัด ทรงพระแว่น พระองค์นี้เริ่มจะแสดงสัญญาณแห่งการเลิกพระบุคลิกที่ไม่แย้มพระสรวลได้เล็ก น้อยแล้ว”
    อะไรจึงทำให้สื่อมวลชนตะวันตกมองพระการการแย้ม หรือไม่แย้มพระสรวลของพระองค์ เป็นประเด็นเชิงสัญลักษณ์ในการรายงานข่าวจากประเทศไทย หนังสือพิมพ์ The Observer อาจจะแย้มคำตอบให้ชาวไทยได้ลองคิดดูได้เล็กน้อยเมื่อรายงานว่า
    “…Thailand has been floundering between the rock of despotic monarchy she abandoned in 1932 and the farther shore of modern democracy.”
    ช่วง ต้นที่ขึ้นครองสิริราชสมบัติของพระองค์นั้น “ประเทศไทยเหมือนลอยคออยู่กลางทะเล หลังจากทิ้งระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เมื่อปี พ.ศ. 2475เสมือนทิ้งโขดหินก้อนใหญ่ที่ยึดเหนี่ยวมาช้านาน ส่วนชายฝั่งแห่งประชาธิปไตยที่พยายามจะว่ายไปหา ก็ยังอยู่อีกแสนไกล”

  • หนังสือ The King of Thailand in World Focus โดย Foreign Correspondents Club of Thailand เป็นมุมมองและแนวทำความเข้าในกับพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลของชาวไทย ตามแบบวัฒนธรรมวิจารณ์ของชาติตะวันตก ที่ไม่มีการตัดทอน เพียงแต่เลือกข่าว และข้อเขียนบทความที่เป็นตัวแทนของเส้นทางแห่งกาลเวลาของประวัติศาสตร์แผ่น ดินสยามในสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย เสนอมุมมองแนวคิดเชิงวิเคราะห์ผ่านรายงานข่าวโดยสื่อมวลชนโลก ต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลเดชในช่วงพระชนม์พรรษา 5 รอบ หรือ 60 พรรษา แบ่งเรื่องตามลำดับตั้งแต่ครั้งทรงพระเยาว์ ปี 2470 – 2493 ตั้งแต่วันประสูติ หนังสือพิมพ์ Simmons College Review ลงภาพพระสุติบัตร 5 ธันวาคม ค.ศ. 1927 ที่ Cambridge, Massachusettes ทรงเข้าโรงเรียนที่ Switzerland พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลสิ้นพระชนม์ วันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2489 และพระองค์ขึ้นสืบต่อราชบัลลังก์ เรื่องอุบัติเหตุทางรถยนต์ วันที่ 4 ตุลาคม 2491 และการเสด็จนิวัติพระนคร พ.ศ. 2493 ต่อมา ในปีบรมราชาภิเษก ซึ่งหนังสือพิมพ์ Neue Zuricher Zeitung รายงานว่า เป็นสีสันตระการตาแห่งดินแดนตะวันออก
    “…and the people hope this heralds the beginning of a new, prosperous era in their country’s history”
    “เป็นที่หวังของพสกนิกรของพระองค์ว่าจะเป็นปีเริ่มของยุคใหม่แห่งความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ในประวัติศาสตร์แห่งราชอาณาจักรสยาม”
    ใน ช่วง 20 ปีแรกของการปฏิบัติพระราชภารกิจในฐานะพระมหากษัตริย์ ระหว่างปี พ.ศ. 2494-2514 สำนักข่าว AP รายงานเรื่องทรงผนวชเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 5 ในประวัติศาสตร์ไทยที่ทรงผนวชระหว่างที่ครองราชย์ อีก 1 ปีต่อมาสำนักข่าว AP รายงานเรื่องการรัฐประหารโดยจอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อบทบาทพระราชภาระกิจของพระองค์เพื่อสงบมั่นคงของบ้านเมือง The Observer ของอังกฤษลงข่าวในวันที่ 17 กรกฎาคม 1960/2503 รายงานพระราชประวัติอย่างละเอียด และวิจารณ์ว่า
    ”…. he set out to tour his country, showing himself to million, talking, with kindness, intelligence and humour to the peasants in the villages. The public flowering of his personality delighted the rural masses who had earlier sympathized with him but had been cut off from him, and who felt rather as the English did when Queen Victoria mourned so long for the prince consort.”
    “…พระองค์เสด็จออกเยี่ยมเยียนประชาชนนับล้านของพระองค์ในต่าง จังหวัดทั่ว ประเทศ มีพระราชปฏิสันถารกับชาวไร่ชาวนาตามหมู่บ้านต่างๆ ด้วยพระเมตตา พระปรีชาญาณ และพระอารมณ์ขันร่าเริง พระบุคลิกภาพอันสดใสดุจความงามของดอกไม้เป็นที่ชื่นชมของพสกนิกร แม้ก่อนหน้านี้ประชาชนทั้งมวลจะสงสารพระองค์มากที่ต้องเผชิญวิกฤติในพระชนม์ ชีพของพระองค์ ทำให้ทรงโทมนัส ต้องห่างเหินจากประชาชนไปนาน เฉกเช่นเดียวกับที่สมเด็จพระราชินี Victoria ของอังกฤษเคยทรงโศกเศร้ายาวนานจากการสิ้นพระชนม์ของพระสวามี”
    “The King now shows an increasingly lively awareness of his role as a constitutional monarch of the twentieth century”
    “พระ เจ้าอยู่หัวของไทยตอนนี้ทรงเข้าในถึงบทบาทพระราชกิจอย่างเพิ่มพูน สมบูรณ์มากขึ้น ในฐานะพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งโลกในศตวรรษที่ 20”
    Reader’s Digest เดือนกรกฎาคม ปี 1960 / 2503 เสนอรายงานการเสด็จเยือนสหรัฐอเมริกาพร้อมด้วยพระราชินีสิริกิติ์ ผู้ทรงพระสิริโฉมยิ่ง และวิจารณ์ว่า
    “His reign, which started out inauspiciously in 1946, has shown signs of being one of the most successful in Thailand’s long history. His was the stabilizing influence which helps Thailand not only to survive but to prosper through a period of unique political strain, both internal and external.”
    “ช่วงการครองราชย์ของพระองค์ ซึ่งเริ่มอย่างไม่ดีนักในปี 2489 เริ่มส่งสัญญาณว่าจะกลายเป็นรัชสมัยที่ประสพความสำเร็จสูงสุดในประวัติ ศาสตร์อันยาวนานของประเทศไทย พระองค์ทรงเป็นพลังสร้างความมั่นคง ซึ่งไม่เพียงแต่จะช่วยให้ประเทศไทยอยู่รอดในช่วงเวลาแห่งความตึงเครียดทาง การเมืองอันสำคัญเท่านั้น หากแต่จะทรงทำให้ประเทศไทยเจริญมั่งคั่งรุ่งเรืองต่อไปได้ ทั้งภายในประเทศและด้านการต่างประเทศ”
    นิตยสาร TIME วันที่ 27 พฤษภาคม 1966/2509 พาดหัวข่าวว่า พระมหากษัตริย์ไทยทรงต่อสู้เพื่ออิสรภาพ เป็นผู้พิทักษ์รักษาราชอาณาจักร และเป็นพลังแห่งแผ่นดินในขณะที่ทุกแห่งในแหลมอินโดจีนเต็มไปด้วยความระส่ำ ระสายไม่มั่นคงทางการเมือง ด้วยการรุกรานของลัทธิคอมมิวนิสต์ :
    “Everywhere on the great peninsular, militant communism, poverty, misery, illiteracy, misrule and a foundering sense of neighborhood are the grim order of the Asian day.”
    “With one important exception: the lush and smiling realm of their Majesties King Bhumibol and Queen Sirikit, which spreads like a green meadow of stability, serenity and strength from Burma down to the Malaysian Peninsula – the geopolitical heart of South East Asia. Once fabled Siam, rich in rice, elephants, teak and legend, Thailand (, literally, Land of the Free) today crackles with a prosperity, a pride of purpose, and a commitment to the fight for freedom…”
    “ทุกหนแห่งบนคาบสมุทรที่ยิ่งใหญ่ ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ ความยากจน ทุกข์ภัย การขาดการศึกษา การปกครองที่ฉ้อฉล ความรู้สึกที่ขาดมิตรภาพแห่งความเป็นประเทศเพื่อบ้าน ล้วนเป็นสภาวะที่เห็นทั่วไปในเอเชีย”
    “แต่มีที่ยกเว้นที่สำคัญแห่งหนึ่ง คือราชอาณาจักรอันยิ้มแย้มแจ่มจรัสของพระมหากษัตริย์ภูมิพล และพระราชินีสิริกิติ์ ซึ่งทอดดินแดนเขียวขจีดุจทุ่งหญ้าชุ่มชื่น กว้างไพศาล จากพรมแดนพม่า ลงถึงคาบสมุทร Malaysia มั่นคง สงบงดงาม เข้มแข็ง เป็นหัวใจแห่งภูมิรัฐศาสตร์ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สยาม ที่ครั้งหนึ่งเคยรู้จักกันเป็นดินแดนในเทพนิยาย อุดมไปด้วย ข้าว ช้าง ไม้สัก และตำนาน มาบัดนี้เรียกว่า Thailand หมายความตามตัวอักษรว่า ดินแดนแห่งผู้เป็นเสรี ปัจจุบันนี้ดารดาษไปด้วยความมั่งคั่ง มีความภาคภูมิใจในเป้าหมายของแผ่นดิน มุ่งมั่นในการต่อสู้เพื่อเสรีภาพ…”
    นิตยสาร LOOK ฉบับวันที่ 27 มิถุนายน ปีถัดมา กล่าวว่า :
    “Thailand’s King, Phumibol Aduldet, is a sun over his country, a presence that shines through the bloodied dust of the Vietnam war, the hazes of the 185 – year – old Chakri dynasty and the bitter, scudding clouds of nationalism and struggle that overshadow Southeast Asia.”
    “พระเจ้า อยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชของประเทศไทยทรงเป็นประดุจดวงสุริยะส่อง สว่าง เจิดจ้าเหนือประเทศของพระองค์ ทรงเป็นปรากฏการที่ส่องทะลุผ่านฝุ่นละอองอันคละคลุ้งของสงครามเวียดนาม ม่านหมอก 185 ปีของราชวงศ์จักรี เมฆที่พวยพุ่งสู่ลัทธิชาตินิยม และการต่อสู้ทั่วทุกแห่งหนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้”
    เมื่อทรงครองสิริ ราชสมบัติครบ 25 ปี สำนักข่าว AP รายงานเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน ค.ศ. 1971 / 2514 ว่า พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระชนมายุ 44 พรรษา และสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ของราชอาณาจักรไทยทรงพระสิริโฉมยิ่งนัก พระสกนิกรของพระองค์ ราว 5 แสนคนเรียงรายเนืองแน่นตลอดแนวถนนราชดำเนิน ชื่นชมพระบารมี และชมขบวนพาเหรดอันเป็นการเฉลิมฉลองที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย
    ใน ช่วงทศวรรษที่ 1960s คือหลังปีพุทธศักราช ๒๕๐๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถเสด็จเยือนต่างประเทศ อย่างมากมายกว้างไกล ทั้งยุโรป อเมริกาเหนือ และ เอเชีย ล้วนการเสด็จพระดำเนินต่างประเทศโดยสมเด็จพระลูกเธอและสมเด็จพระเจ้าลูกยา เธอทุกพระองค์ก็เป็นการเจริญพระราชพันธไมตรีกับต่างประเทศด้วยเช่นกัน ดุจดังเป็นเอกอัครราชทูตส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวโดยตรง
    หนังสือพิมพ์ San Jose Mercury ของรัฐ California สหรัฐอเมริกา ฉบับวันที่ 14 กรกฎาคม ค.ศ. 1960/พ.ศ. ๒๕๐๓ รายงานข่าวการเสด็จเยือนโรงงานของบริษัท IBM Computer เรียกชื่อเล่นที่สื่อมวลชนอเมริกันตั้งให้ว่า “The Siamese Cat” หรือ “แมวสยาม” พาดหัวข่าวว่า ‘King Who’s Real Cool “Cat” Visits IBM’ “พระมหากษัตริย์ผู้คือแมวสุดยอดตัวจริงเยี่ยมชมบริษัท IBM” โดยรายงานอย่างชื่นชมว่าพระองค์ทรงสนพระทัยงานของ IBM อย่างแท้จริง กันเอง ไม่มีพิธีการหรือราชองค์รักษ์ ห้อมล้อมปกป้องเหมือนครั้งที่ประธานาธิบดี Khrushchev แห่งสหภาพโซเวียตที่เพิ่งมาเยี่ยมโรงงาน IBM แห่งนี้เมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา พระองค์ทรงแย้มพระสรวล พระอารมณ์ดี กับพนักงาน IBM ตลอด และในระหว่างรวมพระกายาหารกลางวันกันพนักงาน 600 คน ที่โรงอาหารกลางของโรงงานพระราชดำรัสอันสนุกร่าเริงของพระองค์ที่ตอบกลับไป ยังนาย Arthur K. Watson ประธานบริษัทการค้าโลก IBM ก็เรียกเสียงหัวร่ออย่างครื้นเครงจากชาว IBM หลังจาก Arthur Watson สดุดีสรรเสริญเทิดทูลพระองค์อย่างงดงามยืดยาว พระองค์ทรงตอบกลับว่า
    “I know these remarks must be true. They tell me all the facts put into an IBM computer come out true the same way.”
    “ข้าพเจ้า รู้ว่าคำชื่นชมทั้งหมดของท่านประธานที่กล่าวยกย่องข้าพเจ้านั้น ต้องเป็นความจริงแน่นอน เพราะคนที่ IBM เขาบอกข้าพเจ้าว่าข้อความจริงทั้งหมดที่ใส่ลงไปในเครื่องคอมพิวเตอร์ IBM แล้วผลลัพธ์ที่กลับเป็นข้อมูลออกมาก็เป็นความจริงทั้งหมดแบบเดียวกัน”
    นิตยสาร TIME ซึ่งสนใจรายงานเรื่องราวของพระองค์มาแต่แรกเริ่ม คราวนี้ก็เสนอข่าวเสด็จเยือนสหรัฐอเมริกาโดย ทรงพบกับประธานาธิบดี Eisenhower ทรงมีพระราชดำรัสต่อที่ประชุมร่วมรัฐสภาอเมริกัน สมาชิกรัฐสภาถึงกับทึ่งในพระราชดำรัสที่เฉียบคมของพระองค์ที่ทรงกล่าวขอบคุณ และซาบซึ้งในความช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกา แต่ก็ทรงย้ำว่า :
    “We are grateful for American Aid. But we intend one day to do without it”
    “สักวันหนึ่งเราหวังว่าจะไม่ต้องพึ่งความช่วยเหลือจากท่าน”

    ที่ Paris วันที่ 12 ตุลาคม 1960 หนังสือพิมพ์ France Soir พาดหัวข่าวว่า :
    “พระมหากษัตริย์ของไทยและสมเด็จพระราชินีเสด็จกลับมา Paris ถิ่นแห่งรักแรกพบของสองพระองค์”
    หนังสือพิมพ์ L’Aurore วันที่ 14 ตุลาคม 1960 ลงภาพ และข่าวเสด็จทอดพระเนตรละคร Opera กับประธานาธิบดี และ Madame de Gaulle
    “Three centuries after the delegation that one of his ancestors sent to Louis XIV, the king of Siam was welcomed yesterday to the Chateau de Versailles”
    “หลังจากบรรพบุรุษของพระองค์ทรงส่งทูตคณะทูตมาเจริญไมตรีกับ พระเจ้าหลุยส์ ที่ 14 กาลเวลาผ่านไป 300 ปี พระราชวัง Versailles ก็ได้โอกาสถวายการต้อนรับพระเจ้ากรุงสยามอีกครั้งหนึ่งเมื่อวานนี้”
    ลงภาพที่นคร Vatican กับสมเด็จพระสันตะปาปา John XXIII เดือน ตุลาคม ปี 1960
    ภาพที่ Oslo, Norway กับ กษัตริย์ Olav V และ เจ้าหญิง Astrid ปี 1960 และในปีเดียวกันนี้ที่
    Sweden, Denmark, Luxembourg, The Netherlands, Belgium, Spain, Tokyo, Portugal, Indonesia, Kuala Lumpur ปี 1962, Sydney, Australia สิงหาคม ปี 1962, ที่ New Zealand ปี 1962, Tokyo เดือนพฤษภาคม 1963, กรกฎาคม 1963 ที่ Manila, Taiwan 1963, Austria 1964, Germany ตะวันตก ปี 1966ม ที่ Massachusetts สหรัฐอเมริกา ปี 1967ม ที่ Ottawa, Canada ปีเดียวกัน
    ในการเสด็จเยือนสหรัฐอเมริกา และ Canada นาน 3 สัปดาห์ นิตยสาร TIME ฉบับวันที่ 16 มิถุนายน ปี 1967 รายงานพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า :
    “The Thai People are a fighting people. We have kept our liberty and independence for hundreds of years. We are not militant. We just have to fight to keep the most essential thing for a man. And that is freedom.”
    “คนไทยเป็นนักสู้ เรารักษาเสรีภาพ และเอกราชของเรามานานหลายร้อยปี เราไม่ใช่นักรบผู้รุกรานใคร เราเพียงแต่ต้องสู้เพื่อรักษาสิ่งที่จำเป็นอันเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของความ เป็นมนุษย์ นั่นคือเสรีภาพ”
    ในสายตาของสื่อมวลชนโลก พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช พระมหากษัตริย์ของไทย คือนักสู้ ผู้พิทักษ์เสรีภาพ เพื่อพสกนิกรของพระองค์

    สำหรับ เหตุการณ์ในประเทศไทย มีทั้งภาพและข่าวที่เกี่ยวข้องบริเวณถนนราชดำเนินวันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม 1516 หน้ากรมประชาสัมพันธ์ ต่อมาวันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม วันรุ่งขึ้น เมื่อการเผชิญหน้าถึงจุดสุดขีด ประชาชนจะพึ่งใคร?เดือนเดียวกัน อีก 3 ปีต่อมา ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นักศึกษาถูกตำรวจยิงตายอย่างน้อย 39 คน ในเวลาไม่กี่ชั่วโมงช่วงปี ค.ศ. 1972 – 1982 หรือ พ.ศ. 2515 – 2525 สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทยเรียกว่า “The Turbulent Years” คลื่นลมทางการเมืองในประเทศไทยแปรปรวนผวนผันเป็นมหันตวายุ สำนักข่าว United Press International รายงานเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 1972/๒๕๒๕ เรื่องการสถาปนาเจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ์เป็นสยามมกุฎราชกุมาร ใน 12:23-12:33 เวลาอันเป็นฤกษ์มงคล ในเวลาเดียวกันผู้ก่อการร้ายชาว Palestine บุกยึดสถานฑูต Israel ในกรุงเทพ จับเจ้าหน้าที่สถานทูต 6 คนเป็นตัวประกัน เหมือนว่าวันที่ 28 ธันวาคม จะเป็นวันเริ่มแรกที่ประเทศไทยต้องคำสาปทางวิกฤติการเมืองแต่บัดนั้น Peter O’Laughlin แห่งสำนักข่าว AP รายงานอีกสองวันต่อมาว่าผู้ก่อการร้ายอาหรับทั้ง 4 คนที่บุกยึดสถานทูต Israel นั้นยอมรับว่าเลือกวันก่อการร้ายไม่เหมาะสมเลย พลอากาศเอกทวี จุลทรัพย์ พาผู้ก่อการร้ายทั้งหมดออกเดินทางไปประเทศ Egypt บอกกับพวกผู้ก่อการร้ายว่า ไม่น่าเลือกวันก่อเหตุร้ายในวันอันเป็นพระราชพิธีสำคัญของไทยที่ร้อยปีจะมี ครั้งเดียวเลย ผู้ก่อการร้ายยอมสารภาพและขอโทษว่าไม่รู้เลยว่าวันที่ 28 ธันวาคม จะเป็นวันสำคัญ วันสถาปนา มกุฎราชกุมารของไทย
    “We have told the government and the generals from the army that we are sorry”
    “We need to know the Thai People—we love them and we want to say we are most sorry to do this in Thailand.”
    “We are most sorry we did not know this day. We love your king, he is beautiful. We hope the Thai people will know our problem—this embassy is our land.”

    “We hope the Thai people will come to see us—we come from many lands, from Africa, the United States and Europe. I hope some of the Thai people will become Palestinian commandos with us.”
    “One day we would like to come back and visit in a different way”“เราบอกกับรัฐบาลไทย และนายพลทหารจากกองทัพบกไทยแล้วว่าเราเสียใจที่มาก่อเหตุร้ายผิดวันเวลา”
    ผู้ก่อการร้ายปาเลสไตน์กล่าวขอโทษชาวไทย โดยบอกต่อไปว่า :

    “เราน่าจะรู้จักคนไทยให้ดีกว่านี้ เรารักคนไทย เราอยากจะบอกว่าเราเสียใจมากที่จำต้องมาปฏิบัติการร้ายในประเทศไทย”
    “เรา ไม่รู้มาก่อนถึงความสำคัญของวันสถาปนามกุฎราชกุมาร เรารักพระเจ้าอยู่หัวของท่าน พระองค์ทรงเป็นผู้สง่างาม เราหวังว่าชาวไทยจะเข้าใจปัญหาของเรา สถานทูตอิสราเอลในไทยนั้นเราถือเสมือนเป็นดินแดนของ Palestine ของเราด้วย”

    “เรา หวังจะเห็นชาวไทยมาเยี่ยมเยือนทำความ รู้จักกับเราชาว Palestine บ้าง เรามาจากหลายที่ในโลก จาก อัฟริกา สหรัฐอเมริกา และยุโรป อยากให้คนไทยมาร่วมเป็นนักรบช่วยเราชาว Palestine ด้วย”

    “สักวันหนึ่งเราเองก็อยากกลับมาเมืองไทยอีก แต่ไม่ใช่มาแบบที่มาคราวนี้”

    แม้ วันเวลาจะไม่เหมาะสมที่จะก่อการร้าย เมื่อได้สำนึก นักรบ Palestine ก็แสดงความเข้าใจในบทบาทของสถาบันพระมหากษัตริย์ของไทย และสรรเสริญพระบารมีพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลแห่งราชอาณาจักรไทย

    จาก ปี 2515 เป็นต้นมารวม 10 ปี พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชก็ทรงต้องเผชิญกับคลื่นลมการเมืองที่กระทบราช อาณาจักรและพสกนิกรของพระองค์ต่อเนื่องมา
    14 ตุลามคม 2516 สำนักข่าว AP รายงานเรื่องความรุนแรงที่เกิดขึ้นทั่วมหานคร
    “In the midst of the crisis, King Bhumibol, 46, has retained support and loyalty from all sides. Students carried his portrait and sang hymns in his praise as they marched more than 100,000 strong through Bangkok Saturday, joined by many adults.”
    “ท่ามกลางวิกฤติการณ์ พระเจ้าอยู่หัวภูมิพล ซึ่งปัจจุบันมีพระชนมายุ 46 พรรษา ยังคงได้รับการสนับสนุนและความจงรักภักดีจากประชาชนทุกหมู่เหล่า บรรดานักเรียนนักศึกษาและประชาชนกว่าแสนคนเดินขบวนถือพระบรมฉายาลักษณ์ และร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี ตามท้องถนนในกรุงเทพเมื่อวันเสาร์”
    “Thailand’s King Bhumibol Adulyadej told his people Sunday that Prime Minister Field Marshal Thanom Kittikachorn has resigned in the wake of anti-government violence.”
    “The King said he had appointed Dr. Sanya Dhammasakdi, Rector of Thammasat University, to form a new government.”
    “King Bhumibol urged the people to support the new government and to end the conflict…”
    “พระ เจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงตรัสต่อพสกนิกรของพระองค์เมื่อวันอาทิตย์ ว่านายกรัฐมนตรีจอมพลถนอม กิติขจรได้ลาออกในท่ามกลางเหตุวิกฤติแล้ว”
    “พระองค์ ทรงตรัสว่าได้ทรงแต่งตั้ง ดร. สัญญา ธรรมศักดิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ให้เป็นนายกรัฐมนตรีและจัดตั้งรัฐบาลใหม่ แล้ว”
    “พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลทรงขอให้ประชาชนสนับสนุนรัฐบาลใหม่เพื่อยุติความขัดแย้งรุนแรงในขณะนี้….”
    17 ตุลาคม 2516 สถานการณ์กลับสู่ภาวะปรกติ สำนักข่าว AP อ้างสาเหตุจากพระบารมีของพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล
    “King Bhumibol, who has been a consistent supporter of peaceful student activism and opponent of corruption in high places.”
    “พระ เจ้าอยู่หัวภูมิพล ผู้ซึ่งทรงสนับสนุนกิจกรรมรณรงค์ทางการเมืองอย่างสันติของนิสิตนักศึกษา และทรงต่อต้านการทุจริตฉ้อราษฏร์บังหลวงในหมู่ผู้มีอำนาจบาตรใหญ่ในสังคมและ การเมืองไทย”

    ปี รุ่งขึ้น นิตยสาร TIME ฉบับวันที่ 7 มกราคม 1974 / ๒๕๑๗ รายงานว่าความสำเร็จของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 299 คนที่ประชุมกันที่สนามม้านางเลิ้งจะขึ้นอยู่กับพระบารมีของพระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัว ผู้ซึ่งก่อนวิกฤติ 14 ตุลานี้ได้ทรงหลีกเลี่ยงการเข้าแทรกแซงในการเมืองมาโดยตลอด แต่ก่อนนี้พระองค์จะทรงแต่เสด็จไปทั่วราชอาณาจักรของพระองค์ ทรงทรงประกอบพิธีเปิดโรงพยาบาล พระราชทานปริญญาบัตร และเยี่ยมหมู่บ้านต่างๆ Barry Hillenbrand ผู้สื่อข่าวของนิตยสาร TIME รายงานว่า :
    “It is precisely this tiring, often tedious regimen that has made Bhumibol so unreservedly loved throughout the country. His travels also made him aware of the disfavor felt toward the military regime and the need to bring farmers and laborers into the National Assembly”
    “ด้วยเหตุที่พระองค์เสด็จเยี่ยมประชาชนอย่างกว้างไกลทุกหนแห่ง โดยมิพักด้วย ความเหน็ดเหนื่อยพระวรกายนี้เองทำให้ทรงทราบว่าทุกสุขของประชาชนเป็นอย่างไร ทรงทราบว่าประชาชนรักพระองค์มากเท่าไร และเกลียดเผด็จการทหารอย่างไร ทำให้พระองค์ทรงเห็นความจำเป็นในการนำชาวไร่ชาวนาและผู้ใช้แรงงานมาร่วมเป็น สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ”
    ประเทศไทยของพระองค์สงบลงเพียงชั่วคราว แล้วเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 ก็อุบัติขึ้น
    นิตยสาร Newsweek ฉบับวันที่ 18 ตุลาคม 1976/๒๕๑๙ รายงานว่าความรุนแรงที่เกิดขึ้นก็สามารถยุติลงได้ด้วยการที่พระเจ้าอยู่หัว ทรงลงพระปรมาภิไธยแต่งตั้งนายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลคณะปฏิรูปการปกครองที่นำโดย พลเรือเอก สงัด ชะลออยู่ แทนที่ มรว. เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีคนก่อนหน้า :
    ‘He launched the coup , Sangad said, to “preserve the Thai monarchy against a communist plot backed by Vietnamese collaboration.”
    Newsweek รายงานอ้างคำพูดของ พลเรือเอกสงัดชะลออยู่ ว่า ที่ก่อการยึดอำนาจก็
    ”เพราะต้องการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ให้รอดพ้นจากภัยคุกคามทำลายของพวกคอมมิวนิสต์ที่ได้รับการสนับสนุนจากเวียดนาม”
    อีก ครั้งหนึ่งที่พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสถาบันพระมหากษัตริย์ ต้องถูกสถานการณ์นำพาเข้าไปเกี่ยวกับวิกฤติ และต้องทรงเข้าไปแก้ปัญหาอันเป็นกระแสคลื่นและแรงพายุทางการเมืองของราช อาณาจักรของพระองค์ที่นักการเมืองยังคงทุจริต ฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างไม่สร่างซา

    ถึง วันเฉลิมพระชนม์พรรษาของพระองค์ ปีที่ 50 ในวันที่ 5 ธันวาคม ปี พ.ศ. 2520 หลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 1 ปี หนังสือพิมพ์ Los Angeles Times รายงานว่าการที่พระองค์ต้องทรงฝ่าและสงบวิกฤติการเมืองไทยมาอย่างมาก ทำให้นักคิด และบรรดาปัญญาชนไทยจำนวนหนึ่งเริ่มวิพากษ์วิจารณ์สถานภาพของสถาบันพระมหา กษัตริย์ที่ถูกการเมืองดึงเข้าไปเกี่ยวโยง แม้จะเป็นการวิจารณ์อย่างเงียบและลับ แต่ก็เกรงกันว่าพลังของแผ่นดินอันสูงสุดอาจจะลดลง
    แต่ หนังสือพิมพ์ Los Angeles Times ก็รายงานว่า :
    “Although the turbulence of Thai politics over the last five years has certainly cost the monarchy some support, nothing of this was evident in the biggest Thai celebrations since Bhumibol was crowned 27 years ago.”
    “แม้ พายุการเมืองไทยใน 5 ปีที่ผ่านมา จะกระทบสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วยนั้นแน่นอน แต่ก็ไม่ปรากฏสัญญาณอันใดเลยว่าการสนับสนุนสถาบันพระมหากษัตริย์ และพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล โดยประชาชนชาวไทย จะได้ลดน้อยถอยลงแต่อย่างใดเลย งานฉลองวันเฉลิมพระชนม์พรรษาปีนี้ยิ่งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่ทรงครองสิริราช สมบัติมาตั้งแต่ 27 ปีที่แล้ว”
    2 เมษายน 1981 / ๒๕๒๔ สำนักข่าว UPI รายงานข่าวพล อ. สันต์ จิตรปฏิมา ล้มเหลวในการยึดอำนาจจาก พล อ. เปรม ติณสูลานนท์ กบฏ 9 กันยายน พ.ศ. 2528 ไม่ประสพความสำเร็จสำเร็จ Asiaweek 23 เมษายน 1982/๒๕๒๕ เสนอข่าวงานฉลอง 200 ปีราชวงศ์จักรี
    พร้อมบทวิเคราะห์ว่า :
    “The Chakri line produced a succession of monarchs of truly outstanding caliber. Not due to mere chance…”
    “ราชวงศ์จักรีได้ผลิตกษัตริย์ผู้สื่อราชสันตติวงศ์ ที่ทรงคุณภาพยอดเยี่ยมมาอย่างต่อเนื่อง และนี่มิใช่เหตุบังเอิญ…”
    ในด้านการเป็นพระมหากษัตริย์ผู้ทรงงานหนัก สื่อมวลชนต่างประเทศเรียกว่า
    “The Working Royals” หรือ “พระราชวงศ์ผู้ทรงงาน
    พาดหัวข่าวว่า
    “The King and Royal Family Spur Thailand’s Development and Preserve Traditions”
    “พระมหากษัตริย์ และครอบครัวที่ทรงบุกเบิกเริ่มงานพัฒนาและรักษาขนบธรรมเนียมประเพณี”
    สมาคม ผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทยเฝ้ามอง และมองเห็นผลงานของพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช หลังคลื่นลมการเมืองจากการรัฐประหารดูว่าจะสงบลงแล้วความสัมพันธ์ในเชิง สร้างงานพัฒนาประเทศ ระหว่างพระองค์กับพสกนิกรวางรากฐานมั่นคง และขยายวงกว้าง สื่อมวลชนต่างประเทศพุ่งความสนใจไปที่งานต่าง ๆ มากมายที่พระองค์เสด็จออกทรงทำร่วมกับประชาชนของพระองค์ โดยเฉพาะในชนบท ห่างไกล ทุรกันดาน ยากจน
    และความพิเศษในช่วง 25 ปีที่ผ่านมาจนปัจจุบันก็คือ ทุกพระองค์ที่เป็นสมาชิกในครอบครัวแห่งราชวงศ์จักรีร่วมทรงงานพัฒนากันอย่าง มิเห็นแก่ความเหนื่อยยาก

    นิตยสาร สวัสดี เดือนมกราคม 1987 บทความโดย Denis Gray เขียนว่าพระบาทสมเด็จเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ และพระราชวงศ์ทั้งหมด คือคนทำงาน หากเปรียบงานเป็นการรบในสงคราม ก็เป็นการรบที่ลงละเอียดทุกหย่อมหญ้า ร่วมกับประชากร 80 % ของราชอาณาจักร สร้างแหล่งน้ำ เหมืองฝายมากขึ้น เพิ่มผลผลิตข้าวให้มากที่สุด สร้างโรงเรียน สถานีอนามัยเพิ่มขึ้น ยกระดับความเป็นอยู่ของคนยากจน กำจัดความระส่ำระสายในสังคม สร้างเกียรติภูมิให้แก่ประเทศชาติ ที่สถาบันพระมหากษัตริย์รักษาเสรีภาพมาไว้กว่า 700 ปีแล้ว
    Far Eastern Economic Review เดือนมกราคม 1986 ตามเสด็จไปที่สกลนคร
    รายงานว่าพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล คือแบบอย่างที่กระตุ้นให้เกิดความก้าวหน้าในประเทศ
    UPI วันที่ 7 ตุลาคม 1980 รายงานว่า ในป่าดงดิบ ด้วยฉลองพระบาท Boots ท่ามกลาง ปลิง ทาก และฝนที่โชกชุ่ม ที่เห็นนี้คือวันทำงานปรกติของกษัตริย์ไทย
    UPI วันที่ 26 มกราคม 1981 สดุดีพระราชกรณียกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการปลูกพืชทดแทนฝิ่น
    AP รายงานจากหัวหิน วันที่ 22 พฤษภาคม 1979 หลังได้รับพระราชทานสัมภาษณ์พิเศษจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ :
    “In the countryside middlemen take so much advantage of the people… Misunderstandings arise between people in rural areas and the rich, so-called civilized people in Bangkok.”
    “ในชนบท พ่อค้าคนกลางเอาเปรียบชาวบ้านมาก…มีความไม่เข้าใจกันระหว่างชาวบ้านใน พื้นที่ชนบท กับคนรวย คนจากกรุงเทพ ที่เขาว่าเป็นผู้เจริญแล้ว”
    ผลผลิต งานศิลปาชีพที่ชาวบ้านได้เรียนรู้จากพระองค์เป็นที่สนใจของนิตยสาร Reader’s Digest ซึ่งรายงานเมื่อเดือนมกราคม 1984 ว่า ความสำเร็จ ของงานศิลปาชีพนั้นก็เนื่องมาจากสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ ทรงเป็นแบบอย่าง ทรงเป็นผู้นำด้านรูปแบบแฟชั่น และพระองค์ทรงภาคภูมิพระทัยยิ่งที่คนไทยยังคงมีความสามารถผลิตสิ่งของที่สวย งามมากได้อย่างที่ทำอยู่

    Reader’s Digest เดือนกุมภาพันธ์ ปี 1975 เรียกสมเด็จพระศรีนครินทร์พระบรมราชชนนีว่า
    “Thailand’s Healers from the Sky”
    “ผู้รักษาการป่วยไข้ของประชาชนที่มาจากฟากฟ้า”
    “The Royal Mother from the Sky”
    แม่ ฟ้าหลวงของปวงชนชาวไทยทรงดูแลชาวบ้านจนมืดค่ำแล้วจึงทรงกลับพระตำหนักที่ เชียงใหม่ ทีมแพทย์อาสาเคลื่อนที่ตามเสด็จบริการประชาชนที่ภาคใต้ เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธรกับงานบูรณะพระบรมมหาราชวัง และที่วัดพระแก้วมรกต หนังสือพิมพ์ Singapore Straits Times วันที่ 25 กรกฎาคม ค.ศ. 1985 ยกย่องสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ว่าเป็นนักสังคมสงเคราะห์ผู้ทรงอุทิศทั้งชีวิตของพระองค์ให้กับประชาชน :
    ‘As a little girl, she was called “The Hurricane” by her father because she could not keep still.
    ‘But as Princess Sirindhorn grew up, her sense of responsibility and dedication to the welfare of her people was such that her father now describes her as “permanent secretary working for the Thai peoples.”
    “ครั้ง ที่ยังเป็นเด็กตัวเล็ก ๆ พระองค์ถูกเรียกโดยเสด็จพ่อว่าพายุ Hurricane เพราะความเป็นเด็กที่ไม่ยอมอยู่นิ่งเฉย แต่เมื่อเจ้าหญิงสิรินธรทรงเติบโตขึ้น ความรู้สึกรับผิดชอบ ความทุ่มเทเสียสละเพื่อ ความสุขและสวัสดิการของประชาชนของพระองค์ พระราชบิดาของพระองค์จึงทรงเรียกพระองค์ใหม่ว่าเป็น เลขานุการถาวรที่ทำงานให้ประชาชน”
    หนังสือพิมพ์ Die Zeit วันที่ 2 มีนาคม 1984 เขียนว่า เจ้าหญิงมหาจักรีสิรินธรเสด็จไปได้ทุกหนแห่งตามพระทัยในพื้นที่ภาคใต้ ไม่ทรงห่วงเรื่องความปลอดภัยอันใดเลย ทรงตามเสด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระราชินี ไปกับพ่อ และ แม่เยี่ยมดูทุกข์สุขของประชาชนตั้งแต่ยังเด็ก จนโต :
    ‘I have learned a lot from my father’
    “ฉันเรียนรู้อะไรมากมายจากพ่อ”
    สมเด็จพระเทพฯทรงกล่าวกับหนังสือพิมพ์ Germany
    ‘One cannot but like this princess. And indeed the whole country lies at her feet. After the king, who is considered nearly a saint she is certainly the most popular person in Thailand. Everybody knows her, even in the remote corners of the kingdom. Whenever her name is mentioned: Sirindhorn – it means a person full of kindness – faces light up. Even the British queen can only dream of such popularity’
    ‘ไม่มีทางเลยที่ ใครจะไม่ชอบเจ้าหญิงพระองค์นี้ ที่จริงแล้วคนทั้งประเทศยอมสยบใต้เบื้องบาทพระองค์ หากไม่นับพระเจ้าอยู่หัวซึ่งถือกันไปแล้วว่าเกือบจะพอ ๆ กับนักบุญผู้ศักดิ์สิทธิ์จากสรวงสวรรค์ หรือ ที่เรียกตามประเพณีตะวันตกว่า Saint สมเด็จพระเทพฯคือบุคคลที่โด่งดังเป็นที่รู้จักมากที่สุดในแผ่นดินไทย ทุก ๆ คนรู้จักชื่อเสียงของสมเด็จพระเทพฯ แม้จะอยู่ไกลสุดชายแดน พระนามสิรินธร หมายถึง “พระองค์ผู้ทรงเปี่ยมไปด้วยเมตตา” ทุกครั้งที่ได้ยินชื่อ สิรินธร ใบหน้าของประชาชนจะสดชื่นแจ่มใส ร่าเริง’
    หนังสือพิมพ์ Die Zeit ถึงกลับสรุปว่า
    “แม้ แต่สมเด็จพระราชินีแห่งอังกฤษก็ได้เพียงแต่ฝันว่าจะทรงมีความโด่งดัง เป็นที่รู้จักชื่นชมเท่าสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาสยามบรมราชกุมารี”
    เจ้า ฟ้ามหาจักรี ทรงเป็นนักดนตรีผู้ประสบความสำเร็จ เป็นทั้งอาจารย์สอนนักเรียนนายร้อยทหาร นอกเหนือจากหน้าที่เลขานุการของประชาชน เด็กหญิงตัวน้อย ในป่ามืดทึบวิ่งตามหลังพ่อที่เดินนำหน้าด้วยก้าวที่ยาวกว่า เด็กน้อยทั้งเหนื่อย ทั้งหิว เท้าโดนหนามตำจนเลือดไหลซึม กลัวสัตว์ป่า ก็กลัว ก็ได้แต่ถามพ่อซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า :
    “พ่อ…เมื่อไรจะถึงสักที พ่อ…เมื่อไรจะถึง!”
    พ่อตอบว่า:
    “Child! On the earth there exists no place
    Only filled with pleasure and comfort,
    Our road is not covered with pretty flowers.
    Go! Always, even if it breaks your heart.
    I see the thorns prick your tender skin.
    Your blood: rubies on the grass, near the water.
    On the green shrubbery, your tears dropped.
    Diamonds on emerald, show their beauty.
    For all the human race does not loose its course
    In the face of pain. Be tenacious and wise.
    And be happy to have an ideal so dear.
    Go! If you want to walk in the footsteps of your father.”
    “ลูก เอ๋ย ในโลกนี้ ไม่มีที่ใดที่ไหนเลยที่จะมีแต่ความสุขสบายสนุกสนานเพียงอย่างเดียวเท่านั้น เส้นทางเดินของเรามิได้โรยด้วยกลีบดอกไม้อันสวยงาม
    แต่ลูกจงเดินต่อไปข้างหน้าเถิด อย่าหยุด อย่ายั้ง แม้หัวใจของลูกจะแตกสลาย พ่อเห็นแล้วหละว่าหนามตำผิวอันละเอียดนุ่มของลูก
    แต่เลือดที่ไหลออกมาจากเท้าลูกงามดุจทับทิมบนผืนหญ้าริมธารน้ำ
    น้ำตาของลูกหยดลงบนพุ่มไม้ที่เขียวชอุ่ม
    ดุจน้ำเพชรทาบบนมรกตส่งประกายงามหมดจด
    เพราะมนุษยชาติมิได้พลัดหลงออกนอกเส้นทางด้วยเหตุแห่งความเจ็บปวด ลูกจงอดทนมุ่งมั่นและพากเพียรด้วยปัญญา
    ลูกจงมีความสุขด้วยอุดมคติที่ทรงค่า
    ลูกจงเดินต่อไป! หากลูกต้องการเดินตามรอยเท้าของพ่อ”
    ทั้งเหนื่อย ทั้งหิว เท้าโดนหนามตำจนเลือดไหลซึม กลัวสัตว์ป่า ก็กลัว ก็ได้แต่ถามพ่อซ้ำแล้วซ้ำอีกว่า
    “พ่อ…เมื่อไรจะถึงสักที พ่อ…เมื่อไรจะถึง!”

    สมาคม ผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทยอธิบายประปรีชาสามารถของพระเจ้า อยู่หัวว่าเป็น “Renaissance Man” คำว่า “Renaissance” หมายถึงยุคการฟื้นฟูศิลปะวิทยาการในทวีปยุโรปในช่วง คริสต์ศตวรรษที่ 14-16 ช่วง 300 ปี ที่ผ่านมา 300-400 แล้ว
    เพราะพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงมีพระปรีชาสามารถพิเศษหลายอย่าง
    “The King’s Many Talents” เป็นพาดหัวข่าวของหนังสือพิมพ์ The New York Times
    วัน ที่ 1 พฤษภาคม 1950 / ๒๔๙๓ และรายงานข่าวว่า พระมหากษัตริย์ไทย ทรงคุมวง Orchestra และ เขียนเพลงให้ละคร Broadway นั่นคือข่าวเมื่อครั้งทรงพระชนมายุ 22 พรรษา
    Michael Todd ผู้ควบคุมและกำกับการแสดงละคร Broadway เรื่อง Peepshow ให้รายละเอียดว่าเพลงที่กษัตริย์หนุ่มจากเมืองไทยทรงพระราชนิพนธ์นั้นชื่อ Blue Night พิมพ์ประกอบภาพการ์ตูน เกี่ยวกับละคร Broadway เรื่อง Peepshow ของ Mike Todd ใน The new York Times วันอาทิตย์ที่ 25 มิถุนายน 1950 ผสมกลิ่นอายของเพลงพระราชนิพนธ์ของพระองค์ ดังสะท้อนออกมาทางด้านขวาของภาพ
    Mike Todd คือสามีคนหนึ่งของ Elizabeth Taylor นางเอกภาพยนตร์ผู้โด่งดัง Mike Todd กล่าวครั้งที่มากำกับการสร้างภาพยนตร์เรื่อง Around the World in Eighty Days ในประเทศไทยว่า ชื่นชม และเป็นพระสหายที่ใกล้ชิดกับพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลมาก ทำให้บทภาพยนตร์ส่วนที่มีภาพวัดอรุณราชวรารามกับเรือสุพรรณหงส์และขบวนเรือ พระราชพิธี ได้ปรากฏเป็นฉากหนึ่งในภาพยนตร์ที่โด่งดังที่สุดในยุคแรกของระบบจอกว้าง Cinemascope ทั้งที่ในหนังสือต้นฉบับของ Jules Verne ตัวเอก Felias Fogg ตัวเอกในเรื่องไม่มีการเดินทางผ่านกรุงเทพแต่อย่างใด
    Harry Rolnick เขียนลงใน Sawasdee Magazine เดือนมีนาคม 1987 ว่า :
    “The World of Jazz has had its Duke, its Earl and its Count. But to the Thai world, H.M. King Bhumibol Adulyadej is undoubtedly the King of Jazz.”
    “โลก แห่งดนตรี Jazz ก็มี Duke / Earl และมี Count แห่งวงการ Jazz แต่สำหรับโลกของคนไทย พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เป็นเจ้าแห่งแผ่นดิน Jazz ทรงเป็น The King of Jazz อย่างแท้จริง”
    ลงภาพถ่ายเมื่อปี 1960 ขณะทรงร่วมเล่นคนตรีกับวง Dixieland Jazz Band ที่ Honolulu, Hawaii ภาพเมื่อทรงมีเวลาว่างทรงจัดรายการเพลงที่สถานีวิทยุ อ.ส. พระราชวังดุสิต
    ทรง เป็นช่างถ่ายรูปชั้นยอด ทรงฝึกถ่ายรูปตั้งแต่ทรงพระเยาว์ ลงพิมพ์ภาพที่ทรงฉายร่วม กับ Elvis Presley อธิบายภาพว่า “King of Rock and Roll พบกับ King of Jazz”
    ต่อมา Anthony M. Paul เขียนใน Reader’s Digest เดือนธันวาคม 1984 ว่า :
    “พระองค์ คือความหวังที่สูงสุด ของคนไทย แม้จะมิได้ทรงมีพระราชอำนาจเกี่ยวโยงตรงในด้านการเมืองของรัฐบาล แต่ในเมื่อรัฐบาลไม่ดี ทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง ประชาชนคนไทยก็จะนึกถึงพระองค์เป็น Best Hope ความหวังอันเป็นพึ่งที่สุดท้าย”
    บทความที่ลงพิมพ์ในสื่อต่างประเทศหลายแห่งของ Peter Cummins ในเดือนธันวาคม 1987 เล่าถึงความเป็นนักแข่งเรือใบของพระองค์ว่า :
    “The King developed into one of the region’s best dinghy sailors.
    “พระเจ้าอยู่หัวของไทยทรงพัฒนาเป็นนักแล่นเรือใบที่ดีที่สุดพระองค์หนึ่งแห่งภูมิภาค”

    เดือน ธันวาคม ปีเดียวกัน John Hoskin เขียนเรื่องประปรีชาสามารถด้านจิตรกรรมที่มีรูปแบบท่วงทำนองที่หลากหลายในปี 1979 โทรทัศน์ BBC ของอังกฤษผลิตภาพยนตร์สารคดียกย่องพระองค์ว่า คือ :
    “Soul of a Nation”
    “จิตวิญญาณของชาติ”
    ทรง พระราชทานสัมภาษณ์แก่ BBC เรื่อง “His Job as King / งานการเป็นพระมหากษัตริย์ของพระองค์” ทรงมีพระราชดำรัสตอบในเรื่อง ภาพยนตร์เรื่อง The king and I
    Village Problems / ปัญหาในชนบท, Communist Insurgency/การก่อการร้ายของพวก Communists, Why study several hours every evening, looking at maps, listening to radios?/การทรงงานมากหลายชั่วโมงทุกคืน ศึกษาแผนที่ ฟังวิทยุ, Hilltribes/เรื่องชาวเขาทางภาคเหนือ, และ Buddhism and its importance for the king/ศาสนาพุทธกับความสำคัญต่อความเป็นกษัตริย์
    นิตยสาร Leaders ฉบับเดือนเมษายน – มิถุนายน 1982 ได้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทสัมภาษณ์พิเศษ คำถามแรก ถามว่า :
    Because of the way you have been king you have so much of the respect of the people that you are more than a constitutional monarch. You really have power, probably the power of love. Is that correct?
    “เพราะพระองค์ท่าน ทรงดำรงพระองค์เป็นกษัตริย์ในแบบฉบับของพระองค์เองที่ทรง เป็นอยู่เช่นนี้ใช่ไหมที่ทำให้ได้รับความเคารพจากประชาชนอย่างสูงยิ่งไปกว่า ที่จะเป็นกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญธรรมดาๆทั่วไป พระองค์ทรงมีพลังอำนาจยิ่งนัก อันเป็นพลังอำนาจแห่งความรัก The Power of Love”
    พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงตอบว่า
    “One must first look at the principle of Constitutional Monarchy, which is rather simple. It says the king can do no wrong and those words can be difficult to understand. Sometimes it can be understood that the king can do no wrong because he adheres strictly to the scope of responsibility. But, on the other hand, it can also be understood that the king can do no wrong because he has love….The king is under the law….The Tenfold Practice of Kingship”
    “เราจะต้องดูที่หลักการของระบอบการปกครองแบบที่มี พระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐ ธรรมนูญก่อนอื่น ซึ่งกำหนดว่า พระมหากษัตริย์จะทรงกระทำอะไรเป็นความผิดมิได้ ซึ่งก็ฟังดูแล้วพูดง่าย แต่เข้าใจยาก อาจจะหมายความว่าให้พระมหากษัตริย์ทรงปฏิบัติหน้าที่ในกรอบที่กำหนดอย่าง เคร่งครัดเท่านั้นก็เป็นอันไม่มีอะไรผิด แต่ดูอีกทางหนึ่งก็ได้ว่า พระมหากษัตริย์จะมิได้ทรงทำอะไรผิดๆได้เลย เพราะพระองค์ทรงปฏิบัติหน้าที่ต่อประชาชนด้วยความรัก พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้กฎหมายที่เรียกว่า ทศพิธราชธรรม”
    กลับไปหลังเวทีละคร Broadway อีกครั้งหนึ่ง ไม่ใช่เรื่อง Peepshow ของ Mike Todd
    แต่ คราวนี้เป็นหลังเวที The King And I สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ เสด็จหลังเวที พบกับ Yul Bryner พระเอกของเรื่อง ผู้แสดงเป็น King Mongkut พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่สี่ ทั้งหนังสือ ละคร ภาพยนตร์ เรื่อง The King And I ที่สร้างนวนิยายเรื่อง Anna and the King of Siam ของ Margaret Landon ถูกห้ามเผยแพร่ในประเทศไทยเพราะรัฐบาลไทยสมัยนั้นเห็นว่า เป็นเรื่องที่แต่งผิดเพี้ยนไปจากประวัติศาสตร์พระเจ้ากรุงสยามที่แท้จริง และทำให้พระเจ้าแผ่นดินของไทยดูเป็นเรื่องตลกขบขันบน แต่ที่สหรัฐอเมริกา ละคร The King and I แสดงต่อเนื่องมานานถึงปี 1985 ตอนนั้น ก็รวมได้ 34 ปีแล้ว สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์เสด็จหลังเวที แสดงความยินดีและขอบคุณคณะนักแสดง ทรงมีพระราชดำรัสกับ Yul Bryner ว่า ทรงสนุก พอพระทัย การแสดงสวยงามมาก
    Yul Bryner กราบบังคมทูลว่า :
    “We have done so many things about your country without really knowing it. But we do it with great love”
    “เรา เอาเรื่องเมืองไทยมาแสดงแล้วหลายเรื่องโดยที่เราไม่รู้อะไรเกี่ยวกับ เมืองไทยเท่าไรนัก เราทำทุกอย่างด้วยความรักเมืองไทยเป็นอย่างมาก”
    ผู้แทนพระองค์ให้สัมภาษณ์ต่อมาว่า
    “She thinks the show is fun. She and the king are open-minded and we all know that the court would never act like that.”
    สมเด็จ พระราชินีมิได้ทรงเห็นว่าละครเรื่อง The King and I จะมีปัญหาดูหมิ่นกษัตริย์สยามแต่ประการใด พระองค์บอกว่าดูแล้วเพลิดเพลิน พระเจ้าอยู่หัวของสยามนั้นทรงมีพระทัยเปิดกว้าง และทรงทราบว่าละครก็คือละครที่แสดง เรื่องจริง ๆ ในวังไม่เป็นอย่างในละคร ใคร ๆ ก็ทราบอยู่แล้ว สำนักข่าว Reuters รายงานเรื่องนี้ ในวันที่ 18 มีนาคม ค.ศ. 1985

    ใน ช่วงหลังปี 1980 สื่อมวลชนต่างประเทศสนใจรายงานแง่มุมที่ไม่ใช่การเมืองการปกครองของพระเจ้า อยู่หัวภูมิพลมากเป็นพิเศษ หนังสือพิมพ์ Los Angeles Times รายงานวันที่ 29 พฤษภาคม 1980 รายงานเรื่องช้างเผือกคู่สถาบันพระมหากษัตริย์ แถมคำพังเผยไทยโบราณว่า :
    “To know a woman you must look at her mother, to know an elephant you must look at its tail.”
    “ดูช้างให้ดูหาง ดูนางให้ดูแม่”
    สำนัก ข่าว AP รายงานวันที่ 22 สิงหาคม 1980 รายงานเรื่อง Julie Jensen ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นเจ้าหญิงแห่งราชวงศ์ของไทย หลังจากแต่งงานกับชาวอเมริกัน 8 ปีก่อนหน้านั้น ชื่อของ Princess Uboltatana ก็หายไปจากสังคมไทย พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลเคยร่วมแข่งเรือใบกับ Julie Jensen จนได้เหรียญทองในกีฬาแหลมทอง และหลังจาก เจ้าหญิงอุบลรัตน์จากไปอยู่สหรัฐอเมริกา กลายเป็น Julie Jensen พระองค์ก็มิได้ทรงเล่นเรือใบอีกเลย Julie และ Peter Jensen กลับมาเยือนประเทศไทยพร้อมด้วยลูกๆทั้งสามคนบ่อยขึ้นหลังปี 1987
    สำนัก ข่าว UPI รายงานวันที่ 5 ธันวาคม 1983 เรื่องการทำวันเฉลิมพระชนมพรรษา รายงานต่อมาวันที่ 2 มิถุนายน 1984 มีรายงานเรื่อง สมเด็จพระราชินี ทรงเข้าช่วยเหลือดูแลเด็กหญิงลำดวน ขำมี ที่ถูกนายจ้างกักขังตัวนาน 9 เดือน
    วัน ที่ 9 เมษายน 1985 UPI รายงานเรื่อง ราชประเพณี ในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี เน้นถึงเรื่องการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นประชาธิปไตยในสมัยรัชกาลที่ 7 ปี พ.ศ. 2475 UPI วิจารณ์ว่า :
    “The king accepted the changeover to avoid bloodshed but two years later left the country for self-imposed exile in England, where he abdicated the throne in 1935.”
    “Queen Rambhai remained in England until 1949, when she returned to Thailand with the ashes of her husband and was given an emotional welcome.”
    “พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 ทรงยอมรับการเปลี่ยนแปลง เพื่อหลีกเลี่ยงการนองเลือด แต่สองปีต่อมาพระองค์ก็เสด็จลี้ภัยการเมือง จากประเทศไทยไปอังกฤษ และทรงสละราชสมบัติ ในปี 1935 ( พ.ศ. 2478) สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีทรงอยู่ในอังกฤษถึงปี 1949 แล้วจึงเสด็จกลับประเทศไทยพร้อมด้วยพระบรมอัฐิของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้า เจ้าอยู่หัว ท่ามกลางบรรยากาศสะเทือนอารมณ์พสกนิกรไทย”
    ปี ค.ศ. 1987 เป็นปีสำคัญของชาวไทย พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลทรงพระชนมายุครบ 5 รอบ 60 พรรษา UPI รายงานแต่ตอนนั้นแล้วว่า ชาวไทยคาดกันว่าพระมหากษัตริย์ของเขาจะได้ทรงครองสิริราชสมบัติยืนยาวที่สุด ในประวัติศาสตร์ไทยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสว่า :
    “The Chao Phya River has to flow on and the water that has flowed on must be replaced. It is the same in our own life”
    “แม่น้ำเจ้าพระยาไหลไป น้ำที่ไหลไป ต้องถูกน้ำใหม่มาแทนที่ มันก็เช่นเดียวกับชีวิตของเรา”
    วัน ที่ 6 พฤษภาคม 1987 สำนักข่าว AFP ของฝรั่งเศสรายงานว่า ประชาชนชาวไทยพร้อมใจกันเทิดทูลพระบารมีของพระองค์ให้ทรงเป็นมหาราช – King Bhumibol Adulyadej “The Great” ชาวไทย และ กรุงเทพมหานคร เฉลิมฉลองกันอย่างงดงามตระการตา สื่อมวลชนต่างประเทศพาดหัวข่าวมากมายหลากหลาย ล้วนแล้วแต่จะแสดงถึงความยิ่งใหญ่ของพระองค์ ดังตัวอย่างต่อไปนี้ :
    “Power and Awe Surround Royal Family”
    Toledo Blade
    Bangkok
    September 6, 1978
    By Ben Barber
    “A Royal Extravaganza”
    Asiaweek
    October 30, 1987
    By Chuchart Kangwaan
    “The Homage of a Nation”
    Asiaweek
    December 18, 1987
    By Chuchart Kangwaan

    “A Royal Birthday Party:
    King Bhumibol Adulyadej Turns 60
    And the Country Celebrates”
    Far Eastern Economic Review
    December 10, 1987
    By Paisal Sricharatchanya and Rodney Tasker
    “The King will remain on the throne for many years”

    “The Democratic King:
    The Monarch Plays a Pivotal Role in Political Stability”
    “The king’s cautious hand in the country’s political life was evident again in the aftermath of the bloody military coup in October 1976”.
    “…the king’s influence has been pivotal in maintaining stability…”
    ทั้งหมดนี้เลือกสรุปย่อจากหนังสือ
    The King of Thailand in World Focus
     
     
    จัดพิมพ์โดย
    Foreign Correspondence Club of Thailand
    สมเกียรติ อ่อนวิมล










0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง