ตอนสร้างบ้านให้พ่อ พระตำหนักปากพนัง
โครงการลุ่มน้ำปากพนัง
โดย เบดูอิน
คำ
ว่าเหมือนฟ้ามาโปรดจึงไม่เกินความจริงเลย แค่ได้ยินเพียงเท่านี้
ผู้คนในลุ่มน้ำปากพนังกลับมีความหวัง มีชีวิตชีวา มันเหมือนตายแล้วเกิดใหม่
นี่ขนาดโครงการจริงๆยังไม่เกิด ทุกคนกลับยินดี
ดีอกดีใจตื่นเต้นกับสภาพวิถีชีวิตใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น
ครับผมกำลังจะพาทุกท่านไปสัมผัสกับลุ่มน้ำปากพนัง โครงการตามพระราชดำริ ที่เป็นอัจฉริยภาพเกี่ยวกับการจัดการน้ำของพระองค์ท่าน…..
(สัญญลักษณ์แห่งความรุ่งเรื่อง ป่องควันโรงสีไฟ)
โครงการตามพระราชดำริ ลุ่มน้ำปากพนัง เป็นโครงการที่ทำให้ความหวังของคนอำเภอปากพนัง เชียรใหญ่ หัวไทร ชะอวด และบางส่วนของ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช บางอำเภอของ จ.สงขลาและ จ.พัทลุง
โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช
ความเป็นมา
เมื่อวันที่ 9 และ 11 ตุลาคม 2535 และวันที่ 2 ตุลาคม 2536 พระ
บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้
ดำเนินการก่อสร้างประตูระบายน้ำปากพนังโดยเร็วเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำควบคู่ไป
กับการช่วยเหลือราษฎรในการประกอบ อาชีพและพัฒนาความเป็นอยู่ให้ดีขึ้น
โดยให้ ฯพณฯ นายจุลนภ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เป็นประธานกรรมการโครงการ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อ
ป้องกันการรุกตัวของน้ำเค็มในแม่น้ำปากพนังและเพื่อให้เป็นแหล่งน้ำจืด
และบรรเทาความขาดแคลนน้ำสำหรับการอุปโภคการเกษตรและอื่น ๆ
ในเขตพื้นที่โครงการรวมถึงการเก็บน้ำใหญ่และสาขา การเก็บน้ำในพื้นที่ต้น
น้ำลำธาร และในพื้นที่น้ำขังการจัดหาน้ำใต้ดิน ฯลฯ
2. เพื่อบรรเทาอุทกภัยทั้งในพื้นที่การเกษตร และในบริเวณชุมชนเมืองให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
3. เพื่อปรับปรุงระบบชลประทานเดิม และพัฒนาระบบชลประทานใหม่เนื่องจากมีแหล่งน้ำจืดเพิ่มขึ้น
4. เพื่อปรับปรุงฐานะความเป็นอยู่ ระบบเศรษฐกิจและสังคมของราษฎรในพื้นที่ให้ดีขึ้น โดยมีผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด
ที่ตั้งโครงการ พื้นที่อำเภอชะอวด อำเภอร่อนพิบูรณ์ อำเภอเชียรใหญ่ อำเภอหัวไทร อำเภอปากพนังอำเภอลานสกา และอำเภอเมือง
หน่วยที่รับผิดชอบโครงการ
1. สำนักงานป่าไม้เขตนครศรีธรรมราช
2. สำนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
3. สำนักวิชาการ
4. สำนักส่งเสริมการปลูกป่า
5. สำนักป้องกันและปราบปราม
6. กองแผนงาน
7. สำนักงานป่าไม้จังหวัดนครศรีธรรมราช
ระยะเวลาดำเนินการ เริ่มดำเนินการปี 2539 – 2544 รวม 6 ปี
พื้นที่โครงการ ประมาณ 1,871,875 ไร่
นี่ คือข้อมูลโดยสังเขปของโครงการฯ ผมไปเยี่ยมบ้านพ่อครั้งนี้ พ่อของผมมีสองนัยยะด้วยกัน อันแรกกลับไปทำหน้าที่ตามที่ผู้นำชุมชนบ้านแสงวิมานขอร้องในเรื่องเกี่ยวกับ ส้มโอพันธุ์ “ทับทิมสยาม” ที่ พ่อผมเป็นคนแรกที่นำพันธุ์นี้มาปลูก(ซึ่งผมจะเขียนถึงในโอกาสต่อไป) ผมเลยต้องไปทำหน้าที่บอกความจริงให้ ที่ปรึกษาสำนักพระราชวังฝ่ายกิจกรรมพิเศษ และบรรดาผู้สื่อข่าวได้รับทราบ แทนคุณพ่อซึ่งท่านเสียชีวิตไปแล้ว
พ่อ อีกนัยยะต่อมาคือพ่อหลวง ผมเองในฐานะที่เคยทำหน้าที่อนุกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ ในโครงการสร้างบ้านให้พ่อ อยากจะมาเยี่ยมบ้านของพ่อหลวง ซึ่งผมเองแอบภูมิใจลึกๆว่า ตัวเราเองมีส่วนเล็กๆในการบอกล่าวให้ผู้คนได้ช่วยกันสร้างบ้านให้พ่อ บ้านพ่อหลังนี้คือความตั้งใจของพี่น้องชาวลุ่มน้ำปากพนัง อยากจะสร้างที่ทรงงานให้พระเจ้าแผ่นดิน โดยไม่พึ่งพางบประมาณใดๆของรัฐ เป็นการรวมน้ำใจของประชาชน เงินของประชาชน บางคนมีเงินแค่เล็กน้อยอยากจะมีส่วนร่วม ก็บริจาค เป็นสิ่งที่คนไทยอยากทำให้พ่อ…
ผม ว่าไม่เฉพาะคนในแถบๆลุ่มน้ำปากพนังเท่านั้นที่ร่วมกันสร้างบ้านให้พ่อ แต่ผมเองในช่วงนั้นทำรายการอยู่ที่ภาคอีสาน ได้นำเสนอเรื่องนี้ไปในรายการ มีผู้ฟังรายการภาคอีสานมากมายที่โทรศัพท์มาขอเลขบัญชีธนาคาร เพื่อโอนเงินไปร่วมสร้างบ้านให้พ่อ นั้นก็หมายความว่า บ้านของพ่อหลังนี้คนไทยหลายภาคมีส่วนร่วมสมทบทุนสร้าง
ผม ไม่เคยมาเยี่ยมหรือมาดูความคืบหน้าบ้านหลังนี้มากนัก ก่อนหน้านี้หลายปีมากแล้ว ก็เคยมาเที่ยวดูครั้งหนึ่ง แต่ก็ไม่เคยแสดงตัวว่าเป็นใคร ก็เลยต้องมองดูแต่ภาพไกลๆ
พระ
ตำหนักประทับแรมอำเภอปากพนัง
เป็นพระตำหนักแห่งแรกของประเทศที่ประชาชนร่วมใจกัน
สร้างถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งโครงการนี้เป็นที่รู้จักในนาม
“สร้างบ้านให้พ่อ” ริเริ่มโครงการโดย มูลนิธิ
รักษ์แผ่นดินเกิดลุ่มน้ำปากพนัง ซึ่งนำโดย นายสอน นนทภักดิ์
และได้มีการสานต่องานเรื่อยมาจากหน่วยงานหลายฝ่ายจนปัจจุบันได้เสร็จสมบูรณ์
แล้ว
ในปี พ.ศ.๒๕๔๗ ได้ส่งมอบให้สำนักพระราชวังดูแล พระตำหนักปากพนัง เป็นหมู่อาคารศิลปะไทยประยุกต์ออกแบบโดย ดร.ภิญโญ สุวรรณคีรี ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์
โดยมีบันทึกของ ดร.ภิญโญ ที่กล่าวถึงโครงการสร้างบ้านให้พ่อด้วยความปลื้มปีติไว้ตอนหนึ่งว่า“ หลังจากได้ศึกษาเรื่องทั้งหมดจากผู้หลักผู้ใหญ่แล้วก็มานั่งเขียนแบบพระตำหนัก ช่วง นั้นในราวปลาย ปี พ.ศ.๒๕๓๘ ขณะนั่งอยู่ก็เห็นภาพพระองค์ท่านในทีวี ทรงมีพระราชดำรัสในวันที่ ๕ ความว่าเป็นที่ที่ประชาชนจะสร้างบ้านถวาย ได้ฟังขณะนั้นขนลุกไปทั้งตัวเพราะเรื่องที่ทำอยู่นี้เป็นที่สุดของชีวิตแล้ว ”
ใน อดีต อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช นับเป็นเมืองอู่ข้าวอู่น้ำที่อุดมสมบูรณ์มากที่สุดแห่งหนึ่ง แต่หลังจากประสบวาตภัยครั้งรุนแรง ประกอบกับผลกระทบจากอุตสาหกรรม “นากุ้ง”จึงทำให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมอย่างหนัก ในหลวงได้ทรงช่วยเหลือ จน เกิดเป็นโครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนัง โครงการในพระราชดำริ ชาวปากพนังซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณอย่างใหญ่หลวงที่มีต่อชาวปากพนัง จึงสร้างพระตำหนักถวายพระองค์ท่านเป็นโครงการ “สร้างบ้านให้พ่อ”
ผมไม่เคยรู้จักนายสอน นนทภัก ดิ์ หรือใครในมูลนิธินี้เลย และก็จำไม่ได้ว่าใครมาเป็นคนชวนผมให้มาทำหน้าที่อนุกรรมการฝ่ายประชา สัมพันธ์ ที่รับรู้อย่างเดียวก็คือ ถ้าเรื่องนี้แล้วเอาด้วยโดยไม่ต้องคิด ผมจึงรับปาก แล้วก็ทำหน้าที่นี้เสมอมาทุกๆวัน
โดย ปกติรายการที่ผมทำนั้นเป็นรายการเชิงวิเคราะห์ โดยมี ศ.ดร.อรรถ นันทจักร เป็นผู้อำนวยการผลิต เรียกได้ว่าวิเคราะห์ทุกเรื่อง ตั้งแต่การเมือง ยันศาสนา แต่ที่ผมชอบนำเสนอมากที่สุดคือ “ศาสตร์ของพระราชา” ผม เป็นคนที่เป็นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ขึ้นเสมอง ไม่ว่าจะวิเคราะห์อะไรผมสามารถลากเข้าสู่หลักปรัชญานี้ได้ทุกเรื่อง และผมทำรายการแบบคุย ใช้ภาษาชาวบ้าน ง่ายๆรูปแบบ มีทั้งบู้ทั้งบุ๋น ถ้าเรื่องที่เกี่ยวกับพระเจ้าแผ่นดิน ผมจึงพูดได้ทุกวัน
สำหรับความเป็นมาของการ “สร้างบ้านให้พ่อ” เดิม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะเสด็จพระราชดำเนินมาทรงปฏิบัติพระราชกรณีย
กิจที่ประตูน้ำอุทกวิภาชประสิทธิ์ แต่ไม่มีที่ประทับ
ชาวลุ่มน้ำปากพนังจึงมีความคิดที่จะสร้างศาลาเล็กๆ ตรงประตูระบายน้ำ
เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2538 ต่อมา จึงมีพระราชดำรัสทางโทรทัศน์ตอนหนึ่งว่า “มีชาวบ้านเขาบอกว่า เขาจะทำบ้านให้ สร้างขึ้นที่หัวงานประตูระบายน้ำ” บ้านพ่อ หรือพระตำหนักปากพนังจึงถูกจัดสร้างขึ้นใช้พื้นที่ประมาณ 120 ไร่ ภายในพระตำหนักประทับแรมเฉลิมพระเกียรติ มีสวนพฤกษศาสตร์พื้นเมือง หลากหลายชนิด บางชนิดเราไม่รู้จักไม่เคยเห็นก็มี
พระ ตำหนักปากพนังหรือพระตำหนักประทับแรม เป็นหมู่อาคารศิลปะไทยประยุกต์ มองเห็นได้ชัดเจนเมื่อขับรถขึ้นไปบนสะพานข้ามแม่น้ำปากพนัง เมื่อมองไปทางขวาจะเห็นหมู่อาคาร 15 หลังโดดเด่นเป็นสง่าแต่ไกลรูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นลักษณะศิลปะไทยที่ผสมผสาน งานศิลปะแบบ “ปักษ์ใต้” สิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำพระตำหนักปากพนัง คือ “บ่อน้ำพุพระนารายณ์ทรงสุบรรณ” ตามคติความเชื่อที่ว่า พระมหากษัตริย์เป็นปางอวตารหนึ่งของพระนารายณ์
นายรัตนาวุธ วัช โรทัย ที่ปรึกษาสำนักพระราชวังฝ่ายกิจกรรมพิเศษและคณะ ลงมาในวันนั้นก็เพื่อมาบวงสรวงพระนารายณ์ทรงสุบรรณ แล้วก็ถือโอกาสมาเยี่ยมเยี่ยนพี่น้องประชาชนในโครงการฯด้วย
ใครๆ
ที่ผ่านไปบ้านพ่อจะมองเห็นประตูน้ำ
ซึ่งมีลักษณะเดียวกันกับประตูน้ำคลองลัดโพธิ อ.พระประแดง
ผมยอมรับว่าบางครั้งภาษาไทยเราเองยังงง อ่านว่าอะไร แปลว่าอะไร
ที่นี่ก็เช่นกันผมได้มาพบกับนาม “อุทกวิภาชประสิทธิ” คนไทยแท้ๆสองสามคนกว่าจะอ่านได้ นี่ขนาดภาษาไทยนะ
“อุทกวิภาชประสิทธิ” เป็น นามพระราชทานที่เป็นมงคลยิ่ง ไม่น่าเชื่อว่าความหมายของประตูน้ำจะให้ภาพที่ชัดเจนยิ่งนักต่อภูมิศาสตร์ ของโครงการ อันมีความหมายถึง ความสามารถ แบ่งแยก น้ำจืด น้ำเค็ม ได้สำเร็จ นั่นคือ มีการบริหาร จัดการ อย่างสมดุล ปิดกั้นน้ำเค็มไม่ให้รุกเข้าไปในแหล่งน้ำจืด กักเก็บน้ำจืดไว้ใช้ในการบริโภค การเกษตรและดำรงชีพ ซึ่งจะเป็นบทเริ่มต้นในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของ ผู้คน และเอื้ออำนวยให้มีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในลุ่มน้ำปากพนัง ให้เป็นไปอย่างคุ้มค่ายั่งยืน ซึ่งประตูระบายน้ำอันเป็นปฐมบทของโครงการพัฒนาลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมา จากพระราชดำรินี้ ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2542 มีความสามารถเก็บกักน้ำจืด เหนือประตูระบายน้ำได้ 72 ล้านลูกบาศก์เมตร มี 10 ช่องประตูและมีประสิทธิภาพในการระบายน้ำในอัตรา 1,246 ลูกบาศก์เมตร/วินาที
วัน
นั้นผมเดินทางไปเยี่ยมบ้านพ่อ
หวังในใจลึกๆว่าอยากจะเห็นความสำเร็จเล็กๆที่เราก็มีส่วนอยู่
ด้วยความภาคภูมิใจ แต่ขอชมนิทรรศการของโครงการฯก่อน
โชคดีมีโอกาสได้พบกับรองผู้อำนวยการโครงการฯซึ่งเมื่อวานพบกันในหมู่บ้าน
แล้ว ท่านก็ทราบแล้วว่าผมเป็นใคร ท่านบอกว่า
เสียดายถ้าทราบมาก่อนจะเชิญมาเมื่อวานนี้ด้วยจะได้เข้าชมด้วยกัน
ปกติจะเปิดให้ชมในวันเสาร์-อาทิตย์
(ดูเหมือนท่านก็จะพาผมเข้าชมเป็นกรณีพิเศษ แต่ผมปฏิเสธ ท่านไปว่าไม่เป็นไร
ผมต้องไปที่อื่นอีก เห็นแค่นี้ก็ดีใจแล้ว
และขออนุญาตท่านเข้าไปชมรอบๆพระตำหนักด้านนอก)
ด้าน
ในห้องเป็นที่จัดแสดงนิทรรศการ
หากประสานงานไปที่โครงการฯก่อนจะมีเจ้าหน้าที่ นำชม
วันนั้นโชคดีที่มีคุณครูโรงเรียนแห่งหนึ่งในตัวจังหวัด
นำนักเรียนมาทัศนศึกษา เลยตามคณะนักเรียนไปด้วยเลยได้ความรู้มากมาย
มีการนำเสนอข้อมูลเรื่องราว เป็นขั้นเป็นตอนตั้งแต่ประวัติศาสตร์ ของลุ่มน้ำ การเสด็จประพาสจังหวัดนครศรีธรรมราช ของรัชกาลที่ 5 วิถี ชีวิตของผู้คนในท้องถิ่น ความเจริญรุ่งเรืองของอ่าวปากพนังในอดีต การเกิดมหาวาตภัยแหลมตะลุมพุก น่าสนใจจริงๆ ดูตรงนี้เสร็จแล้วผมแนะนำให้ท่าน ไปชมสถานที่จริงๆของแหลมตะลุมพุกซึ่งไปอีกไม่ไกลนัก จะได้บรรยากาศริมทะเลอ่าวไทย และย้อนอดีตที่รุ่งเรืองและตกต่ำ
บรรยากาศบริเวณ “บ้านพ่อ” ช่าง สงบร่มเย็นยิ่งนัก มีพันธุ์ไม้พื้นถิ่นหลายชนิด มีแปลงทดลองปลูกปาล์ม สถาที่พักผ่อนย่อนใจที่อิงไปกับบรรยากาศลุ่มน้ำปากพนัง ดูๆไปแล้ว พระตำหนักของ “ในหลวง” ไม่ ว่าจะเป็นที่ใด ล้วนแล้วแต่เป็นสถานที่ต้นแบบ ของการส่งเสริมวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาชน เป็นเสมือนสถานที่ทดลองทางการเกษตร เป็นที่เรียนรู้
สมแล้วกับคำพูดที่ว่าพระราชวังของพระมหากษัตริย์ไทยแปลกที่สุดในโลก ไม่เหมือนพระราชวังโดยทั่วไป เป็นที่เพาะปลูก เป็นที่เลี้ยงสัตว์ เป็นที่ทดลองต่างๆ ทั้งหลายทั้งปวงก็เพื่อพสกนิกรชาวไทย
พระมหากษัตริย์ไทย โดยเฉพาะ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ทรง อุทิศพระวรกายของพระองค์เพื่อเป็นแบบอย่างในทุกเรื่อง เริ่มตั้งแต่การเป็นผู้มีคุณธรรม การอยู่อย่างสมถะพอเพียง การเสียสละ การเป็นผู้ปิดทองหลังพระ การคิดและทำเพื่อผู้อื่น
โครงการ พระราชดำริทุกโครงการ นอกจากจะมีขึ้นเพื่อคนไทยทุกคนแล้ว ยังเป็นการนำ และเสริม ในนโยบายที่รัฐบาลทุกรัฐบาลจะต้องทำเพื่อประชาชน จึงไม่มีเหตุผลใดๆที่คนไทยจะไม่รัก “ในหลวง”
เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2554 หนังสือ พิมพ์รายวันฉบับหนึ่ง ได้ลงคำสัมภาษณ์ของผมที่ว่า “โครงการลุ่มน้ำปากพนัง เปรียบเสมือนสวรรค์ ไม่เคยคิดว่าพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จะเกิดขึ้นที่ตรงนี้ ทำให้ชาวบ้านเริ่มมีความหวังในชีวิต การทำการเกษตรดูมีความหมายมากขึ้น ชีวิตความเป็นอยู่ของทุกคนดีขึ้น โดยเฉพาะเรื่องการศึกษาสามารถเรียนต่อได้ไกลๆ”
เมื่อเช้านี้(2 ธ.ค.)ข่าว เช้าไทยพีบีเอส ก็ได้รายงานข่าวในช่วงที่ผมได้เดินทางลงไปที่ลุ่มน้ำปากพนัง ท่านสามารถชมรายงานชิ้นนี้ได้ย้อนหลังในวันและเวลาดังกล่าว
ขอขอบคุณ ok nation
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น