ดร.วีร
พงษ์ เล็งตั้งกองทุน แบบเดียวกับโครงการไทยเข้มแข็ง
ลั่นยึดกรอบวินัยการเงินการคลัง ไม่ให้ประเทศล้มละลาย ขณะที่นายกฯ
ยิ่งลักษณ์ ขีดเส้นไม่เกินต้นเดือนหน้า คลอดแผนฯ
เป็นของขวัญปีใหม่ให้คนไทย
วันที่ 24 ธันวาคม นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ออกอากาศในรายการ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์ฯ พบประชาชน" ออกอากาศ ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยและสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4 ร่วมกับดร.วีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) นายกิจจา ผลภาษี ประธานคณะอนุกรรมการวางระบบบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน และนายปิติพงษ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา ประธานคณะอนุกรรมการด้านการวางแผนและกำหนดมาตรการแก้ปัญหาระยะสั้น
โดยช่วงแรก นายกฯ กล่าวถึงที่มาของการตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 2 ชุด ความคืบหน้าการทำงานในระยะเร่งด่วน การบริหารจัดการ โดยมั่นใจไม่เกินต้นเดือนมกราคมปีหน้า แผนการบริหารจัดการน้ำที่ชัดเจน จะออกมาเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้คนไทย
ส่วนการทำฟลัดเวย์หรือเส้นทางน้ำผ่าน นางสาวยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า จะต้องกลับไปดูโครงสร้างผังเมือง แนวรับน้ำ จะอ้อมผ่านหรือแก้ปัญหาอย่างไรขณะที่เรื่องเร่งด่วน คือการฟื้นฟู ซ่อมแซมคันพระราชดำริ ประตูน้ำ เพื่อทำให้รับกับทันกับหน้าฝนปีหน้า
ดร.วีรพงษ์ กล่าวถึงเรื่องเร่งด่วนขณะนี้ คือการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนานาประเทศ โดยเฉพาะกับบริษัทประกัน ทั้งในยุโรป และญี่ปุ่น ขณะที่นักลงทุนส่วนใหญ่ก็ได้ตั้งคำถามถึงเงินลงทุนว่า จะนำมาจากไหน ทำอย่างไร
“ เมืองไทยไม่ได้ยากจนเหมือนเก่า เราเป็นประเทศกึ่งอุตสาหกรรม ทุนสำรองระหว่างประเทศเกินดุลมาโดยตลอด งบประมาณแผ่นดินก็ไม่ได้ขาดดุล ขณะเดียวกันสภาคล่องในตลาดก็มีมากมาย ฉะนั้น เงินภายในประเทศมี จนเราสามารถทำอะไรได้มากมาย เพราะเรามีเงิน” ดร.วีรพงษ์ กล่าว และยืนยันว่า จะควบคุมการไม่ให้เสียวินัยการคลัง ทั้งนี้ จะไม่เห็นภาพ ทำโครงการต่างๆ แล้วประเทศล้มละลาย
ประธาน กยอ. กล่าวถึงโครงสร้างประเทศ กับการเป็นประเทศเกษตรที่ทันสมัย เป็นฐานอุตสาหกรรมของโลก เป็นแหล่งท่องเที่ยวขายบริการ รวมทั้งเป็นศูนย์การเงินของภูมิภาค ที่เราใฝ่ฝัน เป็นศูนย์กลางการบินของโลก มีท่าเรือที่สะดวกสบาย น้ำไม่ท่วม ไม่มีภัยพิบัติ ซึ่งอยู่ในวิสัยที่สามารถทำได้
ส่วนการใช้งบประมาณด้านการบริหารจัดการน้ำ ทำโครงสร้างพื้นฐานนั้น ดร.วีรพงษ์ กล่าวว่า คาดใช้เงิน 350,000 ล้านบาท โดยอาจตั้งกองทุนทำแบบเดียวกับโครงการไทยเข้มแข็ง ให้อยู่ในกรอบวินัยการเงินการคลัง ทั้งนี้ ในเรื่องการเงินต่างๆ ให้นายกฯนำเข้าครม.วันอังคาร (27 ธ.ค.)นี้ เพื่อให้กฤษฎีกายกร่างกฎหมายต่างๆ ในเรื่องการเงินของประเทศ
"ปัจจุบัน หนี้สาธารณะกว่าครึ่งไม่ใช่หนี้รัฐบาลเป็นหนี้กองทุนฟื้นฟูฯที่มาแบกไว้ ขณะนี้ธปท.ก็มีฐานะมั่นคง ทุนสำรองมากมาย ก็ควรจะรับหนี้กลับคืนไป เมื่อรับกลับคืนไป ก็จะเหลือหนี้สาธารณะประมาณ 10 % ของจีดีพี จากปัจจุบัน 40%กว่า"
ด้านนายปิติพงษ์ กล่าวถึงการลดความเสียหายจากปัญหาน้ำท่วมภายใน 1 ปี ซึ่งเป็นระยะเร่งด่วน พบปัญหา 3 เรื่อง ได้แก่ 1. ความไม่พร้อมด้านวิศวกรรม 2.ระบบเตือนภัยมีปัญหา ทั้งข้อมูลพื้นฐาน การคำนวณน้ำ และ3.ช่วงการเผชิญภัยระบบการเตรียมการของฝ่ายพลเรือนยังอ่อนแอ วันนี้เราพิสูจน์แล้วว่า คนทำเรื่องภัยพิบัติมาตลอด เช่น ทหารมีความพร้อมมากกว่า ดังนั้น การเตือนภัยฝ่ายพลเรือนมีความสำคัญ ทั้งหมดต้องไปด้วยกัน
นายปิติพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในด้านวิศวกรรม การทำงานจะเริ่มไปจัดการตั้งแต่เขื่อน การผันน้ำเข้าไปแก้มลิงธรรมชาติ ประตูระบายน้ำ คันกั้นน้ำ ระบบสูบน้ำ ซึ่งต้องมีการซ่อมปรับปรุง โดยได้ตั้งเป้าไว้ว่า งานด้านการก่อสร้างต้องทำให้เสร็จภายในเดือนมิถุนายน หรือพฤษภาคมเป็นอย่างช้า ส่วนข้อมูลของความเปลี่ยนแปลงทางกายภายภาพ การคำนวณน้ำต้องทำทันที รวมทั้งการบริหารจัดการน้ำ ช่วงวิกฤติ และไม่วิกฤติที่ต้องคิดรูปแบบใหม่ โดยจะเข้าไปดูข้อกฎหมายและวิธีการ ที่สำคัญการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเผชิญปัญหาเมื่อเกิดเหตุ
“สิ่งที่ผมเป็นห่วงไร่นา สวน เสียหายเยอะ เราเสียหายด้านความหลากหลายทางชีวภาพมาก ที่ผ่านมามองแค่การชดเชยเป็นหลัก ดังนั้นระยะปานกลางและระยะยาวต้องหากลไก วิธีการให้คนเหล่านั้นอยู่กับธรรมชาติให้ได้”
นายปิติพงษ์ กล่าวด้วยว่า การวางแผนและกำหนดมาตรการแก้ปัญหาระยะสั้น ได้คำนวณการใช้งบประมาณระยะ 2 ปี (2555-2556) อยู่ที่ 13,000 ล้านบาท ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องทำอย่างเร่งด่วน คือ การลดผลกระทบจากอุทกภัย ขั้นที่สองคือการป้องกัน ซึ่งต้องมีการลงทุนระยะปานกลาง และท้ายสุด มนุษย์ต้องปรับวิถีความเป็นอยู่ การเพาะปลูก โดยในระยะยาวต้องทำงานวิจัยเพื่อเตรียมการเรื่องโลกร้อนด้วย
ขณะที่นายกิจจา กล่าวถึงการบริหารจัดการน้ำในระยะยาว ที่วางไว้ 1-3 ปี ดูเรื่องต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ทำให้เกิดความสมดุล ระหว่างแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน โดยเฉพาะแม่น้ำยม ที่ยังฟันหลออยู่ พร้อมปรับการทำงานด้านการจัดการน้ำให้มีเอกภาพ อยู่ที่ศูนย์ใดศูนย์หนึ่ง
isranews,
วันที่ 24 ธันวาคม นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ออกอากาศในรายการ "รัฐบาลยิ่งลักษณ์ฯ พบประชาชน" ออกอากาศ ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยและสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 4 ร่วมกับดร.วีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) นายกิจจา ผลภาษี ประธานคณะอนุกรรมการวางระบบบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน และนายปิติพงษ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา ประธานคณะอนุกรรมการด้านการวางแผนและกำหนดมาตรการแก้ปัญหาระยะสั้น
โดยช่วงแรก นายกฯ กล่าวถึงที่มาของการตั้งคณะกรรมการขึ้นมา 2 ชุด ความคืบหน้าการทำงานในระยะเร่งด่วน การบริหารจัดการ โดยมั่นใจไม่เกินต้นเดือนมกราคมปีหน้า แผนการบริหารจัดการน้ำที่ชัดเจน จะออกมาเพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ให้คนไทย
ส่วนการทำฟลัดเวย์หรือเส้นทางน้ำผ่าน นางสาวยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า จะต้องกลับไปดูโครงสร้างผังเมือง แนวรับน้ำ จะอ้อมผ่านหรือแก้ปัญหาอย่างไรขณะที่เรื่องเร่งด่วน คือการฟื้นฟู ซ่อมแซมคันพระราชดำริ ประตูน้ำ เพื่อทำให้รับกับทันกับหน้าฝนปีหน้า
ดร.วีรพงษ์ กล่าวถึงเรื่องเร่งด่วนขณะนี้ คือการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนานาประเทศ โดยเฉพาะกับบริษัทประกัน ทั้งในยุโรป และญี่ปุ่น ขณะที่นักลงทุนส่วนใหญ่ก็ได้ตั้งคำถามถึงเงินลงทุนว่า จะนำมาจากไหน ทำอย่างไร
“ เมืองไทยไม่ได้ยากจนเหมือนเก่า เราเป็นประเทศกึ่งอุตสาหกรรม ทุนสำรองระหว่างประเทศเกินดุลมาโดยตลอด งบประมาณแผ่นดินก็ไม่ได้ขาดดุล ขณะเดียวกันสภาคล่องในตลาดก็มีมากมาย ฉะนั้น เงินภายในประเทศมี จนเราสามารถทำอะไรได้มากมาย เพราะเรามีเงิน” ดร.วีรพงษ์ กล่าว และยืนยันว่า จะควบคุมการไม่ให้เสียวินัยการคลัง ทั้งนี้ จะไม่เห็นภาพ ทำโครงการต่างๆ แล้วประเทศล้มละลาย
ประธาน กยอ. กล่าวถึงโครงสร้างประเทศ กับการเป็นประเทศเกษตรที่ทันสมัย เป็นฐานอุตสาหกรรมของโลก เป็นแหล่งท่องเที่ยวขายบริการ รวมทั้งเป็นศูนย์การเงินของภูมิภาค ที่เราใฝ่ฝัน เป็นศูนย์กลางการบินของโลก มีท่าเรือที่สะดวกสบาย น้ำไม่ท่วม ไม่มีภัยพิบัติ ซึ่งอยู่ในวิสัยที่สามารถทำได้
ส่วนการใช้งบประมาณด้านการบริหารจัดการน้ำ ทำโครงสร้างพื้นฐานนั้น ดร.วีรพงษ์ กล่าวว่า คาดใช้เงิน 350,000 ล้านบาท โดยอาจตั้งกองทุนทำแบบเดียวกับโครงการไทยเข้มแข็ง ให้อยู่ในกรอบวินัยการเงินการคลัง ทั้งนี้ ในเรื่องการเงินต่างๆ ให้นายกฯนำเข้าครม.วันอังคาร (27 ธ.ค.)นี้ เพื่อให้กฤษฎีกายกร่างกฎหมายต่างๆ ในเรื่องการเงินของประเทศ
"ปัจจุบัน หนี้สาธารณะกว่าครึ่งไม่ใช่หนี้รัฐบาลเป็นหนี้กองทุนฟื้นฟูฯที่มาแบกไว้ ขณะนี้ธปท.ก็มีฐานะมั่นคง ทุนสำรองมากมาย ก็ควรจะรับหนี้กลับคืนไป เมื่อรับกลับคืนไป ก็จะเหลือหนี้สาธารณะประมาณ 10 % ของจีดีพี จากปัจจุบัน 40%กว่า"
ด้านนายปิติพงษ์ กล่าวถึงการลดความเสียหายจากปัญหาน้ำท่วมภายใน 1 ปี ซึ่งเป็นระยะเร่งด่วน พบปัญหา 3 เรื่อง ได้แก่ 1. ความไม่พร้อมด้านวิศวกรรม 2.ระบบเตือนภัยมีปัญหา ทั้งข้อมูลพื้นฐาน การคำนวณน้ำ และ3.ช่วงการเผชิญภัยระบบการเตรียมการของฝ่ายพลเรือนยังอ่อนแอ วันนี้เราพิสูจน์แล้วว่า คนทำเรื่องภัยพิบัติมาตลอด เช่น ทหารมีความพร้อมมากกว่า ดังนั้น การเตือนภัยฝ่ายพลเรือนมีความสำคัญ ทั้งหมดต้องไปด้วยกัน
นายปิติพงษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในด้านวิศวกรรม การทำงานจะเริ่มไปจัดการตั้งแต่เขื่อน การผันน้ำเข้าไปแก้มลิงธรรมชาติ ประตูระบายน้ำ คันกั้นน้ำ ระบบสูบน้ำ ซึ่งต้องมีการซ่อมปรับปรุง โดยได้ตั้งเป้าไว้ว่า งานด้านการก่อสร้างต้องทำให้เสร็จภายในเดือนมิถุนายน หรือพฤษภาคมเป็นอย่างช้า ส่วนข้อมูลของความเปลี่ยนแปลงทางกายภายภาพ การคำนวณน้ำต้องทำทันที รวมทั้งการบริหารจัดการน้ำ ช่วงวิกฤติ และไม่วิกฤติที่ต้องคิดรูปแบบใหม่ โดยจะเข้าไปดูข้อกฎหมายและวิธีการ ที่สำคัญการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเผชิญปัญหาเมื่อเกิดเหตุ
“สิ่งที่ผมเป็นห่วงไร่นา สวน เสียหายเยอะ เราเสียหายด้านความหลากหลายทางชีวภาพมาก ที่ผ่านมามองแค่การชดเชยเป็นหลัก ดังนั้นระยะปานกลางและระยะยาวต้องหากลไก วิธีการให้คนเหล่านั้นอยู่กับธรรมชาติให้ได้”
นายปิติพงษ์ กล่าวด้วยว่า การวางแผนและกำหนดมาตรการแก้ปัญหาระยะสั้น ได้คำนวณการใช้งบประมาณระยะ 2 ปี (2555-2556) อยู่ที่ 13,000 ล้านบาท ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องทำอย่างเร่งด่วน คือ การลดผลกระทบจากอุทกภัย ขั้นที่สองคือการป้องกัน ซึ่งต้องมีการลงทุนระยะปานกลาง และท้ายสุด มนุษย์ต้องปรับวิถีความเป็นอยู่ การเพาะปลูก โดยในระยะยาวต้องทำงานวิจัยเพื่อเตรียมการเรื่องโลกร้อนด้วย
ขณะที่นายกิจจา กล่าวถึงการบริหารจัดการน้ำในระยะยาว ที่วางไว้ 1-3 ปี ดูเรื่องต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ทำให้เกิดความสมดุล ระหว่างแม่น้ำปิง วัง ยม น่าน โดยเฉพาะแม่น้ำยม ที่ยังฟันหลออยู่ พร้อมปรับการทำงานด้านการจัดการน้ำให้มีเอกภาพ อยู่ที่ศูนย์ใดศูนย์หนึ่ง
isranews,
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น