ศ.นพ.ประเวศ วะสี เสนอบทความพิเศษ กสทช.
กับระบบการสื่อสารที่พาชาติออกจากวิกฤต วิกฤตใหญ่ประเทศไทยไม่ได้มีแต่มหา
อุทกภัย แต่เป็นวิกฤตใหญ่ที่วิกฤตทุกเรื่องมาบรรจบกัน ทั้งวิกฤตเศรษฐกิจ
วิกฤตสังคม วิกฤตสิ่งแวดล้อม และวิกฤตการเมืองการปกครอง
วิกฤตเหล่านี้ยากและซับซ้อน เกินความเข้าใจของสังคมไทย สังคมใดสังคมหนึ่งจะรักษาบูรณภาพและดุลยภาพของประเทศไว้ได้ต้องมีปัญญาพอ เพียง ถ้าปัญญาไม่พอเพียงก็จะสูญเสียบูรณภาพและดุลยภาพ ทำให้เจ็บป่วย วิกฤต และล่มสลาย วิกฤตใหญ่ประเทศไทยขนาดนี้ไม่มีใครคนใดคนหนึ่ง หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะแก้ไขได้ นอกจากคนไทยทั้งหมดต้องร่วมกันสร้างจิตสำนึกใหม่ และปัญญาโดยรวมให้พอเพียง หากยังเล่นเกมอำนาจกันต่อไปประเทศไทยจะล่มสลายแน่นอน
การจะสร้างจิตสำนึกใหม่และปัญญาอย่างกว้างขวางและรวดเร็วทันการไม่มีวิธี อื่น นอกจากระบบการสื่อสารที่ดี ฉะนั้น พันธกิจอันศักดิ์สิทธิ์ ของ กสทช. คือเสริมสร้างระบบการสื่อสารที่ดีให้ทันกาล ไม่มีใครอื่นจะทำได้ดีเท่า กสทช. กสทช.จึงไม่ควรพลาดพันธกิจที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ในช่วงเวลาเช่นนี้
กสทช. ควรใช้ปัญญาเป็นเครื่องมือ ไม่ใช่ใช้แต่อำนาจ
อำนาจอาจยวลใจ แต่คับแคบและได้ผลน้อย ฝรั่งเองพูดมานานแล้วว่า “อำนาจได้ผลน้อยลงๆ ” (Power is less and less effective) ต้องใช้ปัญญาเพราะแสงสว่างเสมอปัญญาไม่มี(นัตถิ ปัญญา สมาอาภา) ต้องไม่ติดแต่ในรูปแบบแต่ถือสาระเป็นตัวตั้ง กสทช. ต้องไม่อยู่ตามลำพังตัวเองเพราะจะตีบตัน แต่ต้องเปิดพื้นที่ทางสังคมและพื้นที่ทางปัญญาอย่างกว้างขวาง ให้สังคมเข้ามาร่วมกับ กสทช. ในการเสริมสร้างระบบการสื่อสารที่พาชาติออกจากวิกฤต
โดยคำนึงถึง “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” อันประกอบด้วย (๑) อำนาจรัฐ (๒) อำนาจความรู้ (๓) อำนาจทางสังคม กสทช. คืออำนาจรัฐ ซึ่งควรคำนึงถึงองค์ประกอบอีก ๒ ประการให้เข้ามาบรรจบกันด้วย
(๒) สื่อสารเพื่อสร้างจิตสำนึกใหม่ จิตสำนึกเก่าเป็นจิตสำนึกที่เล็กและคับแคบ ที่มุ่งประโยชน์ตนอย่างแยกส่วน ทำให้การอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลเป็นไปไม่ได้ คนไทยต้องมีจิตสำนึกใหม่ ซึ่งเป็นจิตสำนึกใหญ่ที่เห็นคนทั้งหมดและธรรมชาติทั้งหมดเป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งจะช่วยให้การพัฒนาอย่างสมดุลเป็นไปได้
(๓) สื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมไทย จากสังคมใช้อำนาจให้เป็นสังคมใช้ความรู้และเหตุผล สังคมใช้อำนาจไม่สนใจข้อมูลหลักฐานและเหตุผล เป็นสังคมที่เหะหะ คาดเดาว่าอย่างนั้นมั้งอย่างนี้มั้ง เช่น “คงไม่เป็นไรมั้ง” “คงไม่เป็นกับเราหรอก” “แล้วแต่ดวง” เชื่อง่ายถูกชักจูงง่ายด้วยการโฆษณา ทำให้เป็นสังคมที่มีสมรรถนะต่ำ รวมทั้งสมรรถนะในระบบการเมืองอย่างที่เราเห็น สังคมปัจจุบันมีความซับซ้อนและยากสุดประมาณ สังคมด้อยสมรรถนะจะหายนะ การสื่อสารต้องเป็นเครื่องมือเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไปสู่วัฒนธรรมแห่งการใช้ ความรู้และเหตุผล
(๔) สื่อสารเพื่อสร้างวิจารณญาณ ท่ามกลางการใช้คลื่นการสื่อสารตลอด ๒๔ ชั่วโมง เพื่อการโฆษณาเพื่อบริโภคนิยมและผลประโยชน์ทางการเมือง การขาดวิจารณญาณของสังคมว่าอะไรเชื่อได้อะไรเชื่อไม่ได้ อะไรมีประโยชน์หรือโทษอย่างใด นำไปสู่ความเสียหายร้ายแรงทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและการเมือง
การสื่อสารที่ดีควรสร้างความสามารถในการวิเคราะห์ข่าวให้แก่ประชาชน อย่างกว้างขวาง ในการศึกษาทุกชั้นเรียนควรมีชั่วโมงวิเคราะห์ข่าวทุกวัน ว่าข่าวที่นักเรียนและผู้ปกครองได้รับในแต่ละวันมีอะไรที่เชื่อได้อะไรที่ เชื่อไม่ได้ อะไรมีประโยชน์หรือโทษอย่างใด ถ้าการสื่อสารร่วมมือกับระบบการศึกษาเพื่อการวิเคราะห์ข่าว จะเป็นคุณต่อการสร้างสมรรถนะทางวิจารณญาณให้สังคมไทยเป็นอย่างยิ่ง
(๕) การติดตามประเมินคุณภาพของสื่อ (Media monitor) ควรมีระบบที่สนับสนุนให้คณะนิเทศศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ร่วมกันทำranking สื่อหากคณะนิเทศศาสตร์มีหลักสูตรให้นิสิตนักศึกษาร่วมประเมินคุณภาพสื่อ นอกจากจะช่วยให้สื่อปรับปรุงคุณภาพของตนแล้ว ยังจะเป็นการสร้างนักการสื่อสารในอนาคตให้มีคุณภาพอย่างดีที่สุดด้วย
(๖) สื่อ “สาร” ที่เป็นความรู้ ทุกวันนี้ ช่องทางสื่อสารมีมาก แต่สารที่เป็นประโยชน์ยังมีน้อย ควรกระตุ้นให้มหาวิทยาลัยสร้าง “ศูนย์ความรู้” (Knowledge Center) เพื่อรวบรวมตรวจสอบความรู้ที่แม่นยำมีประโยชน์อยู่ในรูปที่น่าบริโภค แล้วเชื่อมโยง “สาร” ที่เป็นความรู้จริงนี้เข้ากับช่องทางการสื่อสาร จะช่วยสร้างสังคมความรู้ได้อย่างมหาศาล ควรมีการส่งเสริมให้เกิดสำนักข่าวอิสระที่เน้นคุณภาพของข่าว ให้ข่าวคุณภาพขยายพื้นที่หรือเข้าแทนที่ข่าวขยะให้มากขึ้นเรื่อย ๆ
(๗) สร้างนักสื่อสารสร้างสรรค์ หากผู้ทำงานในระบบการสื่อสาร จะเป็นนักข่าวก็ดี ผู้ดำเนินรายการก็ดี นักเขียนก็ดี บรรณาธิการข่าวที่ดี นิยมความรู้ มีความรู้ในตัว แสวงหาความรู้ ตรวจสอบความแม่นยำของข่าวสาร และสื่อสารเก่ง ประเทศไทยจะเปลี่ยน ขณะนี้หาเป็นเช่นนั้นไม่ ควรมีการสร้างนักสื่อสารสร้างสรรค์จำนวนมากอย่างเป็นระบบโดยรวดเร็ว
(๘) สื่อสารสร้างสรรค์ด้วยนวนิยายละคร ภาพยนต์ ผลกระทบต่อวิธีคิดและจิตสำนึกของสังคมอย่างกว้างขวาง เกิดได้ยากจากบทความทางวิชาการ แต่เกิดจากการสื่อสารด้วยนวนิยาย ละคร หนังสารคดี ภาพยนตร์ ที่สนุกและมีสาระ ควรมีการสนับสนุนการเขียนนวนิยาย การทำละคร ทำหนังสารคดี ภาพยนตร์และศิลปะอื่น ๆ ที่เข้าถึงคนจำนวนมาก
(๙) สื่อสารเพื่อการศึกษา ถ้านักเรียนได้พบครูดีชีวิตจะเปลี่ยน แต่เป็นไปไม่ได้ ที่นักเรียนทุกคนจะมีโอกาสพบครูดี ในระบบการศึกษาแบบเดิม แต่เป็นไปได้ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ ควรมีการแสวงหาครูที่สอนเก่งในทุกวิชา และมีระบบการถ่ายทอดการสอนของครูสอนเก่งไปสู่ห้องเรียนทั่วประเทศ ซึ่งจะพัฒนาทั้งนักเรียนและครูไปพร้อมกัน
(๑๐) สื่อสารเพื่อปฏิวัติประชาธิปไตย การพัฒนาประชาธิปไตยของเราเป็นไปช้ามาก ในเวลา ๗๙ ปี ยังไม่เกิดประชาธิปไตยอัตถประโยชน์ ยังมีความห่าม ดิบ หยาบคาย โกงกิน รุนแรงจนเกือบจะเกิดมิคสัญญีกลียุค เพราะสนใจแต่รูปแบบมากกว่าสาระ การสื่อสารสามารถสร้างสรรค์ประชาธิปไตยได้โดยรวดเร็ว เช่น
(๑๒) มหาวิทยาลัยกับการพาชาติออกจากวิกฤต เรามีมหาวิทยาลัยกว่า ๑๐๐ แห่ง มีคณาจารย์ นักวิชาการ นิสิตนักศึกษารวมกันหลายแสนคน จึงเป็นขุมกำลังทางปัญญาของประเทศ แต่ที่ไม่เป็นพลังทางปัญญาเพราะมหาวิทยาลัยเอา “วิชา”เป็นตัวตั้ง ไม่ได้เอาความจริงของสังคมเป็นตัวตั้ง ในมหาอุทกภัย ๒๕๕๔ มหาวิทยาลัยหลายแห่งได้มีบทบาทในการใช้ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อสังคม และตระหนักรู้ว่าการเอาสังคมเป็นตัวตั้งทำให้มหาวิทยาลัยได้ใช้ศักยภาพของตน ให้เป็นประโยชน์ได้อย่างไร มหาวิทยาลัยสามารถมีบทบาทอย่างสำคัญในข้อเสนอทั้ง ๑๑ ข้อข้างต้น กสทช.ควรถือว่ามหาวิทยาลัยเป็นภาคีในการพาชาติออกจากวิกฤต
(๑๓) สถานีโทรทัศน์กับการพาชาติออกจากวิกฤต ในขณะที่หนังสือพิมพ์กำลังประสบความยากลำบากทางเศรษฐกิจ จนบางฉบับต้องปิดกิจการ บางฉบับก็ขายตัวหมดสภาพการเป็นหนังสือพิมพ์สื่อที่มีพลังมากที่สุดคือสถานี โทรทัศน์ สถานีโทรทัศน์จึงสามารถทำการสร้างสรรค์ได้ทั้ง ๑๒ ข้อข้างต้น กสทช. ควรหาทางสร้างแรงจูงใจให้สถานีโทรทัศน์มีบทบาทในการพาชาติออกจากวิกฤต
(๑๔) การสื่อสารกับการพัฒนายุทธศาสตร์ชาติ การที่ประเทศไทยจะธำรงบูรณภาพและดุลยภาพในตัวเองและกับโลกอันเชื่อมโยงอย่าง ซับซ้อนเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องมีปัญญาพอเพียง โครงสร้างที่เป็นทางการขณะนี้ไม่สามารถสร้างปัญญาให้พอต่อการใช้งานได้ คนไทยที่มีศักยภาพควรรวมตัวกันเป็นกลุ่ม ๆ เพื่อศึกษาเรื่องที่สำคัญ ๆ เช่น ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและสันติภาพ ภัยพิบัติ ระบบการสื่อสาร ระบบการศึกษา การฏิรูปโครงสร้างอำนาจ ฯลฯ อาจเรียกเรื่องเหล่านี้รวมๆ กันว่ายุทธศาสตร์ชาติ เราต้องมีความรู้จริงในเรื่องต่าง ๆ แล้วนำมาสื่อสารให้รู้ทั่ว เพื่อให้สามารถมีเอกภาพในการดำเนินยุทธศาสตร์ชาติในเรื่องต่าง ๆ ระบบการสื่อสารควรกระตุ้นให้คนไทยรวมตัวกันศึกษาเรื่องที่สำคัญต่าง ๆ และสื่อสารให้เป็นพลังทางสังคมและพลังทางปัญญา ของชาติอย่างพอเพียงที่จะรักษาบูรณภาพและดุลยภาพของประเทศไว้ได้ ไม่หลุดเข้าไปสู่ความหายนะ
(๑๕) ภาคสังคม และภาควิชาการควรร่วมมือกับกสทช. สังคมไทยต้องเป็นสังคมที่ไม่ทอดทิ้งกัน กสทช. เป็นองค์กรของรัฐที่เกิดขึ้นตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ มาตรา ๔๗ ที่บัญญัติว่า
ภาคสังคมและภาควิชาการ ซึ่งรวมถึงชุมชนท้องถิ่นและภาคธุรกิจ ควรจะร่วมกับ กสทช. เพื่อทำให้ระบบการสื่อสารเป็นพลังที่พาชาติออกจากวิกฤตได้จริง
กรุงเทพธุรกิจ
วิกฤตเหล่านี้ยากและซับซ้อน เกินความเข้าใจของสังคมไทย สังคมใดสังคมหนึ่งจะรักษาบูรณภาพและดุลยภาพของประเทศไว้ได้ต้องมีปัญญาพอ เพียง ถ้าปัญญาไม่พอเพียงก็จะสูญเสียบูรณภาพและดุลยภาพ ทำให้เจ็บป่วย วิกฤต และล่มสลาย วิกฤตใหญ่ประเทศไทยขนาดนี้ไม่มีใครคนใดคนหนึ่ง หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะแก้ไขได้ นอกจากคนไทยทั้งหมดต้องร่วมกันสร้างจิตสำนึกใหม่ และปัญญาโดยรวมให้พอเพียง หากยังเล่นเกมอำนาจกันต่อไปประเทศไทยจะล่มสลายแน่นอน
การจะสร้างจิตสำนึกใหม่และปัญญาอย่างกว้างขวางและรวดเร็วทันการไม่มีวิธี อื่น นอกจากระบบการสื่อสารที่ดี ฉะนั้น พันธกิจอันศักดิ์สิทธิ์ ของ กสทช. คือเสริมสร้างระบบการสื่อสารที่ดีให้ทันกาล ไม่มีใครอื่นจะทำได้ดีเท่า กสทช. กสทช.จึงไม่ควรพลาดพันธกิจที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ในช่วงเวลาเช่นนี้
กสทช. ควรใช้ปัญญาเป็นเครื่องมือ ไม่ใช่ใช้แต่อำนาจ
อำนาจอาจยวลใจ แต่คับแคบและได้ผลน้อย ฝรั่งเองพูดมานานแล้วว่า “อำนาจได้ผลน้อยลงๆ ” (Power is less and less effective) ต้องใช้ปัญญาเพราะแสงสว่างเสมอปัญญาไม่มี(นัตถิ ปัญญา สมาอาภา) ต้องไม่ติดแต่ในรูปแบบแต่ถือสาระเป็นตัวตั้ง กสทช. ต้องไม่อยู่ตามลำพังตัวเองเพราะจะตีบตัน แต่ต้องเปิดพื้นที่ทางสังคมและพื้นที่ทางปัญญาอย่างกว้างขวาง ให้สังคมเข้ามาร่วมกับ กสทช. ในการเสริมสร้างระบบการสื่อสารที่พาชาติออกจากวิกฤต
โดยคำนึงถึง “สามเหลี่ยมเขยื้อนภูเขา” อันประกอบด้วย (๑) อำนาจรัฐ (๒) อำนาจความรู้ (๓) อำนาจทางสังคม กสทช. คืออำนาจรัฐ ซึ่งควรคำนึงถึงองค์ประกอบอีก ๒ ประการให้เข้ามาบรรจบกันด้วย
ข้อเสนอ ๑๕ ประการในการพัฒนาการสื่อสารเพื่อพาชาติออกจากวิกฤต
(๑) สื่อสารเพื่อสร้างเป้าหมายร่วมของชาติ ว่าเป้าหมายร่วมของชาติคือ การอยู่ร่วมกันอย่างสมดุล ระหว่างคนกับคนและระหว่างคนกับสิ่งแวดล้อม ความสมดุลจะทำให้เกิดความเป็นปรกติ ความผาสุก และความยั่งยืน เราไม่เคยมีเป้าหมายเช่นนี้ การพัฒนาจึงไม่ยั่งยืน(๒) สื่อสารเพื่อสร้างจิตสำนึกใหม่ จิตสำนึกเก่าเป็นจิตสำนึกที่เล็กและคับแคบ ที่มุ่งประโยชน์ตนอย่างแยกส่วน ทำให้การอยู่ร่วมกันอย่างสมดุลเป็นไปไม่ได้ คนไทยต้องมีจิตสำนึกใหม่ ซึ่งเป็นจิตสำนึกใหญ่ที่เห็นคนทั้งหมดและธรรมชาติทั้งหมดเป็นหนึ่งเดียวกัน ซึ่งจะช่วยให้การพัฒนาอย่างสมดุลเป็นไปได้
(๓) สื่อสารเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมไทย จากสังคมใช้อำนาจให้เป็นสังคมใช้ความรู้และเหตุผล สังคมใช้อำนาจไม่สนใจข้อมูลหลักฐานและเหตุผล เป็นสังคมที่เหะหะ คาดเดาว่าอย่างนั้นมั้งอย่างนี้มั้ง เช่น “คงไม่เป็นไรมั้ง” “คงไม่เป็นกับเราหรอก” “แล้วแต่ดวง” เชื่อง่ายถูกชักจูงง่ายด้วยการโฆษณา ทำให้เป็นสังคมที่มีสมรรถนะต่ำ รวมทั้งสมรรถนะในระบบการเมืองอย่างที่เราเห็น สังคมปัจจุบันมีความซับซ้อนและยากสุดประมาณ สังคมด้อยสมรรถนะจะหายนะ การสื่อสารต้องเป็นเครื่องมือเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมไปสู่วัฒนธรรมแห่งการใช้ ความรู้และเหตุผล
(๔) สื่อสารเพื่อสร้างวิจารณญาณ ท่ามกลางการใช้คลื่นการสื่อสารตลอด ๒๔ ชั่วโมง เพื่อการโฆษณาเพื่อบริโภคนิยมและผลประโยชน์ทางการเมือง การขาดวิจารณญาณของสังคมว่าอะไรเชื่อได้อะไรเชื่อไม่ได้ อะไรมีประโยชน์หรือโทษอย่างใด นำไปสู่ความเสียหายร้ายแรงทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและการเมือง
การสื่อสารที่ดีควรสร้างความสามารถในการวิเคราะห์ข่าวให้แก่ประชาชน อย่างกว้างขวาง ในการศึกษาทุกชั้นเรียนควรมีชั่วโมงวิเคราะห์ข่าวทุกวัน ว่าข่าวที่นักเรียนและผู้ปกครองได้รับในแต่ละวันมีอะไรที่เชื่อได้อะไรที่ เชื่อไม่ได้ อะไรมีประโยชน์หรือโทษอย่างใด ถ้าการสื่อสารร่วมมือกับระบบการศึกษาเพื่อการวิเคราะห์ข่าว จะเป็นคุณต่อการสร้างสมรรถนะทางวิจารณญาณให้สังคมไทยเป็นอย่างยิ่ง
(๕) การติดตามประเมินคุณภาพของสื่อ (Media monitor) ควรมีระบบที่สนับสนุนให้คณะนิเทศศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ร่วมกันทำranking สื่อหากคณะนิเทศศาสตร์มีหลักสูตรให้นิสิตนักศึกษาร่วมประเมินคุณภาพสื่อ นอกจากจะช่วยให้สื่อปรับปรุงคุณภาพของตนแล้ว ยังจะเป็นการสร้างนักการสื่อสารในอนาคตให้มีคุณภาพอย่างดีที่สุดด้วย
(๖) สื่อ “สาร” ที่เป็นความรู้ ทุกวันนี้ ช่องทางสื่อสารมีมาก แต่สารที่เป็นประโยชน์ยังมีน้อย ควรกระตุ้นให้มหาวิทยาลัยสร้าง “ศูนย์ความรู้” (Knowledge Center) เพื่อรวบรวมตรวจสอบความรู้ที่แม่นยำมีประโยชน์อยู่ในรูปที่น่าบริโภค แล้วเชื่อมโยง “สาร” ที่เป็นความรู้จริงนี้เข้ากับช่องทางการสื่อสาร จะช่วยสร้างสังคมความรู้ได้อย่างมหาศาล ควรมีการส่งเสริมให้เกิดสำนักข่าวอิสระที่เน้นคุณภาพของข่าว ให้ข่าวคุณภาพขยายพื้นที่หรือเข้าแทนที่ข่าวขยะให้มากขึ้นเรื่อย ๆ
(๗) สร้างนักสื่อสารสร้างสรรค์ หากผู้ทำงานในระบบการสื่อสาร จะเป็นนักข่าวก็ดี ผู้ดำเนินรายการก็ดี นักเขียนก็ดี บรรณาธิการข่าวที่ดี นิยมความรู้ มีความรู้ในตัว แสวงหาความรู้ ตรวจสอบความแม่นยำของข่าวสาร และสื่อสารเก่ง ประเทศไทยจะเปลี่ยน ขณะนี้หาเป็นเช่นนั้นไม่ ควรมีการสร้างนักสื่อสารสร้างสรรค์จำนวนมากอย่างเป็นระบบโดยรวดเร็ว
(๘) สื่อสารสร้างสรรค์ด้วยนวนิยายละคร ภาพยนต์ ผลกระทบต่อวิธีคิดและจิตสำนึกของสังคมอย่างกว้างขวาง เกิดได้ยากจากบทความทางวิชาการ แต่เกิดจากการสื่อสารด้วยนวนิยาย ละคร หนังสารคดี ภาพยนตร์ ที่สนุกและมีสาระ ควรมีการสนับสนุนการเขียนนวนิยาย การทำละคร ทำหนังสารคดี ภาพยนตร์และศิลปะอื่น ๆ ที่เข้าถึงคนจำนวนมาก
(๙) สื่อสารเพื่อการศึกษา ถ้านักเรียนได้พบครูดีชีวิตจะเปลี่ยน แต่เป็นไปไม่ได้ ที่นักเรียนทุกคนจะมีโอกาสพบครูดี ในระบบการศึกษาแบบเดิม แต่เป็นไปได้ด้วยเทคโนโลยีการสื่อสารสมัยใหม่ ควรมีการแสวงหาครูที่สอนเก่งในทุกวิชา และมีระบบการถ่ายทอดการสอนของครูสอนเก่งไปสู่ห้องเรียนทั่วประเทศ ซึ่งจะพัฒนาทั้งนักเรียนและครูไปพร้อมกัน
(๑๐) สื่อสารเพื่อปฏิวัติประชาธิปไตย การพัฒนาประชาธิปไตยของเราเป็นไปช้ามาก ในเวลา ๗๙ ปี ยังไม่เกิดประชาธิปไตยอัตถประโยชน์ ยังมีความห่าม ดิบ หยาบคาย โกงกิน รุนแรงจนเกือบจะเกิดมิคสัญญีกลียุค เพราะสนใจแต่รูปแบบมากกว่าสาระ การสื่อสารสามารถสร้างสรรค์ประชาธิปไตยได้โดยรวดเร็ว เช่น
- การมีเครือข่ายวิยุชุมชนที่ครอบคลุมทุกพื้นที่และให้ประชาชนเป็นผู้สื่อ สารเข้ามาโดยโทรศัพท์มือถือ วันหนึ่งๆ ประชาชนจะสื่อสารเข้ามาหลายแสนหรือเป็นล้านครั้ง อาจจะร้องทุกข์เรื่องเจ้าหน้าที่ของรัฐทำไม่ดีบ้าง ร้องเรียนบ้าง ออกความเห็นในเรื่องต่างๆ บ้าง ฯลฯ มีระบบรวบรวมสังเคราะห์การสื่อสารของประชาชนเป็นหมวดเป็นหมู่เป็นเรื่องเป็น ราว และนำไปใช้งานอย่างสอดคล้อง เช่น การปรับปรุงงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ นำเรื่องดีๆ ไปขยายผล นำข้อเสนอทางนโยบายไปสู่ผู้ปฏิบัติ ฯลฯ โดยวิธีนี้ประชาชนทั้งประเทศจะมีส่วนร่วมโดยตรงในการปกครองตนเอง และพัฒนาประเทศ เป็นประชาธิปไตยโดยสาระ
- โทรทัศน์ทุกช่องจัดให้มีรายการประชาเสวนา (Citizen Dialogue) เป็นประจำสังคมไทยใช้ความเห็นมากกว่าความรู้ จึงขาดความเห็นพ้องในเรื่องนโยบายสำคัญๆ ของประเทศ เพราะร้อยคนก็เห็นร้อยอย่าง ความเห็นที่แตกต่างนำไปสู่ความขัดแย้ง ความแตกแยก และความรุนแรง แต่ความรู้ที่เป็นความจริงทำให้เห็นตรงกันได้ กระบวนการที่เรียกว่าประชาเสวนานั้นคือ กระบวนการที่นำฝ่ายต่าง ๆ มาพูดคุยกัน เริ่มต้นอาจจะใช้ความเห็น แต่การเติมข้อมูลข่าวสารเข้ามาสู่วงสนทนาเป็นระยะๆ เมื่อผู้เสวนาได้รับข้อมูลข่าวสาร ความเห็นก็เปลี่ยนไป และในที่สุดนำไปสู่ฉันทามติได้ ประชาเสวนาเป็นกระบวนการประชาธิปไตยโดยสาระและสร้างสรรค์ ถ้าสถานีโทรทัศน์ทุกช่องจัดให้มีประชาเสวนาเป็นประจำ จะลดความขัดแย้งในสังคม และนำไปสู่การพัฒนานโยบายที่มีฐานอยู่ในข้อเท็จจริงเป็นประชาธิปไตยอัต ถประโยชน์ หรือประชาธิปไตยโดยสาระ
- ชุมชนจัดการตนเอง
- ท้องถิ่นจัดการตนเอง
- จังหวัดจัดการตนเอง
- กลุ่มจังหวัดจัดการตนเอง
(๑๒) มหาวิทยาลัยกับการพาชาติออกจากวิกฤต เรามีมหาวิทยาลัยกว่า ๑๐๐ แห่ง มีคณาจารย์ นักวิชาการ นิสิตนักศึกษารวมกันหลายแสนคน จึงเป็นขุมกำลังทางปัญญาของประเทศ แต่ที่ไม่เป็นพลังทางปัญญาเพราะมหาวิทยาลัยเอา “วิชา”เป็นตัวตั้ง ไม่ได้เอาความจริงของสังคมเป็นตัวตั้ง ในมหาอุทกภัย ๒๕๕๔ มหาวิทยาลัยหลายแห่งได้มีบทบาทในการใช้ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อสังคม และตระหนักรู้ว่าการเอาสังคมเป็นตัวตั้งทำให้มหาวิทยาลัยได้ใช้ศักยภาพของตน ให้เป็นประโยชน์ได้อย่างไร มหาวิทยาลัยสามารถมีบทบาทอย่างสำคัญในข้อเสนอทั้ง ๑๑ ข้อข้างต้น กสทช.ควรถือว่ามหาวิทยาลัยเป็นภาคีในการพาชาติออกจากวิกฤต
(๑๓) สถานีโทรทัศน์กับการพาชาติออกจากวิกฤต ในขณะที่หนังสือพิมพ์กำลังประสบความยากลำบากทางเศรษฐกิจ จนบางฉบับต้องปิดกิจการ บางฉบับก็ขายตัวหมดสภาพการเป็นหนังสือพิมพ์สื่อที่มีพลังมากที่สุดคือสถานี โทรทัศน์ สถานีโทรทัศน์จึงสามารถทำการสร้างสรรค์ได้ทั้ง ๑๒ ข้อข้างต้น กสทช. ควรหาทางสร้างแรงจูงใจให้สถานีโทรทัศน์มีบทบาทในการพาชาติออกจากวิกฤต
(๑๔) การสื่อสารกับการพัฒนายุทธศาสตร์ชาติ การที่ประเทศไทยจะธำรงบูรณภาพและดุลยภาพในตัวเองและกับโลกอันเชื่อมโยงอย่าง ซับซ้อนเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จำเป็นต้องมีปัญญาพอเพียง โครงสร้างที่เป็นทางการขณะนี้ไม่สามารถสร้างปัญญาให้พอต่อการใช้งานได้ คนไทยที่มีศักยภาพควรรวมตัวกันเป็นกลุ่ม ๆ เพื่อศึกษาเรื่องที่สำคัญ ๆ เช่น ความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและสันติภาพ ภัยพิบัติ ระบบการสื่อสาร ระบบการศึกษา การฏิรูปโครงสร้างอำนาจ ฯลฯ อาจเรียกเรื่องเหล่านี้รวมๆ กันว่ายุทธศาสตร์ชาติ เราต้องมีความรู้จริงในเรื่องต่าง ๆ แล้วนำมาสื่อสารให้รู้ทั่ว เพื่อให้สามารถมีเอกภาพในการดำเนินยุทธศาสตร์ชาติในเรื่องต่าง ๆ ระบบการสื่อสารควรกระตุ้นให้คนไทยรวมตัวกันศึกษาเรื่องที่สำคัญต่าง ๆ และสื่อสารให้เป็นพลังทางสังคมและพลังทางปัญญา ของชาติอย่างพอเพียงที่จะรักษาบูรณภาพและดุลยภาพของประเทศไว้ได้ ไม่หลุดเข้าไปสู่ความหายนะ
(๑๕) ภาคสังคม และภาควิชาการควรร่วมมือกับกสทช. สังคมไทยต้องเป็นสังคมที่ไม่ทอดทิ้งกัน กสทช. เป็นองค์กรของรัฐที่เกิดขึ้นตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ มาตรา ๔๗ ที่บัญญัติว่า
“คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และโทรคมนาคม เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ”ให้มีองค์กรของรัฐที่เป็น อิสระทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่…และกำกับการประกอบกิจการ …รัฐธรรมนูญบัญญัติให้การใช้คลื่นความถี่ให้เป็นประโยชน์สูงสุดของประชาชน นี่เป็นเจตนารมณ์อันสูงสุดของรัฐธรรมนูญและถ้าทำตามเจตนารมณ์นี้ชาติจะออก จากวิกฤตได้จริง ในยามที่ประเทศไทยวิกฤตสุด ๆ เช่นนี้ จึงไม่ควรมีคนไทยหัวใจมนุษย์คนใด ทำให้เบี่ยงเบนไปจากเจตนารมณ์อันสูงสุดของรัฐธรรมนูญ
การดำเนินการตามวรรคสองต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติและระดับท้องถิ่น”
ภาคสังคมและภาควิชาการ ซึ่งรวมถึงชุมชนท้องถิ่นและภาคธุรกิจ ควรจะร่วมกับ กสทช. เพื่อทำให้ระบบการสื่อสารเป็นพลังที่พาชาติออกจากวิกฤตได้จริง
กรุงเทพธุรกิจ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น