โดยเฉพาะพื้นที่ ของนิคมฯลาดกระบังและนิคมฯบางชัน จะเป็นจุดชี้เป็นชี้ตายที่อาจพลิกโฉมหน้าประเทศไทย ที่ปัจจุบันเป็นประเทศที่นักลงทุนจากทั่วโลกให้เครดิตว่าเป็นประเทศที่มี ศักยภาพพร้อมทุกด้าน และหากจะเลือกเข้ามาลงทุนในเอเชีย ไทยคือประเทศแถวหน้าที่เขาเหล่านั้นจะเลือกใช้เป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออก ตลาดโลก
เพราะ หากรัฐบาลปล่อยให้นิคมฯในฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯทยอยจมน้ำตั้งแต่สัปดาห์ นี้เป็นต้นไป นักลงทุนทั่วโลกก็อาจต้องมีการทบทวน ยุทธศาสตร์การเข้ามาลงทุนในไทย หรือรายที่ลงทุนอยู่แล้วก็อาจชะลอขยายกิจการ หรืออาจตัดสินใจย้ายฐานการลงทุนออกไปประเทศอื่นๆแทน
“ทีมเศรษฐกิจ” ได้ทำการสำรวจข้อมูลของนิคมฯฝั่งตะวันออก ได้พบว่า นิคมฯลาดกระบัง มีพื้นที่ 2,559 ไร่ มีโรงงาน 231 แห่ง มีการจ้างงาน 48,097 คน มูลค่าการลงทุนรวม 89,491 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นกิจการผลิตยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์, นิคมฯบางชัน มีพื้นที่ 677 ไร่ มีโรงงาน 93 แห่ง มีการจ้างงาน 13,844 คน มีการลงทุน 19,848 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นกิจการผลิตปุ๋ย เคมีภัณฑ์ อาหารและเครื่องดื่ม
ขณะที่ นิคมฯบางปู มีพื้นที่ 5,485 ไร่ มีโรงงาน 456 แห่ง มีการจ้างงาน 76,420 คน มูลค่าการลงทุน 105,502 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นกิจการผลิตสี ปุ๋ย เคมีภัณฑ์, นิคมฯบางพลี มีพื้นที่ 1,004 ไร่ มีโรงงาน 137 แห่ง มีการจ้างงาน 22,884 คน มูลค่าการลงทุน 54,921 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นกิจการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม และนิคมฯเวลโกรว์ มีพื้นที่ 3,508 ไร่ มีโรงงาน 167 แห่ง มีการจ้างงาน 31,389 คน มูลค่าการลงทุน 77,060 ล้านบาท ในกิจการผลิตยาง หนังเทียม พลาสติก
ในพื้นที่นิคมฯทั้ง 5 แห่ง มีมูลค่าการลงทุนรวมกันทั้งสิ้น 1,039,738 ล้านบาท มีการจ้างงานรวม 192,634 คน จาก 1,084 โรงงาน
อย่าง ไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าวิกฤติน้ำท่วมในปีนี้รุนแรงเกินกว่าที่ทุกหน่วยงานที่เกี่ยว ข้องคาดการณ์ไว้ เพราะปริมาณน้ำที่มีจำนวนมหาศาล แต่ก็ต้องยอมรับความจริงด้วยว่า การแก้ไขปัญหาของรัฐบาลภายใต้ “ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.)” ไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน ทำให้การแก้ปัญหาดำเนินการไปแบบวันต่อวัน จนทำให้ประชาชนสับสน ขาดความมั่นใจว่า ศปภ.จะนำพาประเทศไทยฝ่าวิกฤติครั้งนี้ได้หรือไม่
เนื่องจากการที่ ศปภ.ไม่สามารถป้องกันไม่ให้น้ำหลากเข้าท่วมนิคมฯ ที่อยู่ในพื้นที่ จ.พระนครศรีอยุธยา เริ่มตั้งแต่นิคมฯสหรัตนนคร เมื่อวันที่ 5 ต.ค.ที่ผ่านมา และมวลน้ำจำนวนมหาศาลได้ไหลบ่าเข้าท่วมสวนอุตสาหกรรมโรจนะ วันที่ 8 ต.ค. นิคมฯบ้านหว้า (ไฮเทค) วันที่ 13 ต.ค. นิคมฯบางปะอิน วันที่ 15 ต.ค. เขตประกอบการอุตสาหกรรมแฟคตอรี่แลนด์ วันที่ 16 ต.ค.
ขณะที่ในพื้นที่ จ.ปทุมธานี มีพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมประกอบด้วย นิคมฯนวนคร วันที่ 18 ต.ค. บริษัทสวนอุตสาหกรรมบางกะดี วันที่ 20 ต.ค.
ที่ สำคัญคือ การลงทุนใน 7 พื้นที่ที่ถูกน้ำท่วม ล้วนเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ อาทิ อุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ ชิ้นส่วนอิเล็ก-ทรอนิกส์
ที่ทำให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตขนาดใหญ่ เพื่อป้อนชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ในกลุ่มอุตสาหกรรมดังกล่าวส่งออกตลาดโลก อาทิ บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล คอร์ป (ดับบลิวดี) จำกัด ที่นิคมฯบางปะอิน ที่มีมูลค่าลงทุนกว่า 40,000 ล้านบาท มีกำลังการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ปีละ 200 ล้านชิ้น และการผลิตชิ้นส่วนฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ ปีละ 2,000 ล้านชิ้น หรือ 60% ของปริมาณการผลิตจากทั่วโลก
ในปีที่ผ่านมามีมูลค่าส่งออก 200,000 ล้านบาท โดยบริษัทคาดว่าต้องใช้เวลาฟื้นฟูและสามารถกลับมาดำเนินการได้ตามปกติหลัง น้ำลดในอีก 4-6 เดือนข้างหน้า ซึ่งคาดว่าบริษัทจะโยกย้ายวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์มาจากฐานการผลิตที่จีน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เข้ามาผลิตในไทยแทนในระยะแรกของการฟื้นฟูกิจการ
นอก จากนี้ยังมีบริษัท ฮอนด้า (ประเทศไทย) จำกัด ที่มีกำลังการผลิตรถยนต์ปีละ 240,000 คัน รถจักรยานยนต์ 1.3 ล้านคัน รวมทั้งบริษัท เอ็กโค่ จำกัด ที่ผลิตรองเท้าปีละ 9 ล้านคู่ ชิ้นส่วนรองเท้าปีละ 7 ล้านคู่
ทั้ง นี้ มูลค่าความเสียหายที่เกิดขึ้นกับโรงงานที่ตั้งกิจการใน 7 นิคมฯ มีมูลค่ารวม 533,784 ล้านบาท และทำให้แรงงานตกงานทันที 436,882 คน
ล่า สุด กระทรวงอุตสาหกรรมได้ประเมินผลกระทบเบื้องต้นจากน้ำท่วมครั้งนี้ จะทำให้การผลิตสินค้าของภาคอุตสาหกรรมที่เป็นกลุ่มที่สร้างรายได้จากการส่ง ออกหลักของประเทศไทยในแต่ละปี ปีละกว่า 2-3 ล้านล้านบาท ในอุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ เฟอร์นิเจอร์ ผลิตภัณฑ์ที่ต้องใช้ยางและพลาสติกเป็นวัตถุดิบตลอดจนบรรจุภัณฑ์และ อุตสาหกรรมการผลิตอาหารต้องหยุดชะงักลงไม่ต่ำกว่า 6-12 เดือน ซึ่งหากแต่ละโรงงานสามารถฟื้นฟูกิจการให้กลับมาผลิตสินค้าตามปกติได้ภายใน 6 เดือน ก็จะกระทบต่อมูลค่าการส่งออกประมาณ 400,000 ล้านบาท แต่หากต้องใช้เวลา 12 เดือน ก็จะมีมูลค่ากว่า 1 ล้านล้านบาท
กระทรวง อุตสาหกรรมยังคาดว่า จำนวนแรงงานที่จะตกงานในขณะนี้ หากรวมกับโรงงานที่อยู่นอกพื้นที่นิคมฯและเขตอุตสาหกรรมต่างๆในพื้นที่น้ำ ท่วมและแรงงานรับจ้างรายวันแล้ว อาจมีจำนวนเกินกว่า 1 ล้านคน
นาย วิบูลย์ กรมดิษฐ์ กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า วิกฤติน้ำท่วมที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะพื้นที่การลงทุนที่ได้รับความเสียหายอยู่ในขณะนี้ ยังเชื่อมั่นว่านักลงทุนต่างชาติมีความเข้าใจต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และ ยังคงคาดหวังกับการแก้ไขปัญหาจากรัฐบาล เพื่อช่วยบรรเทาความสูญเสียและเร่งฟื้นฟูกิจการ ตลอดจนการอำนวยความสะดวกในทุกๆด้าน เพื่อให้แต่ละกิจการกลับสู่สภาพปกติโดยเร็วที่สุด
“นักลงทุนคงไม่มอง เฉพาะปัญหาภัยธรรมชาติมาเป็นน้ำหนักในการย้ายฐานการลงทุน แต่ต้องมองถึงระบบสาธารณูปโภค สิทธิประโยชน์การลงทุน คุณภาพแรงงานของไทยเป็นองค์ประกอบในการตัดสินใจด้วยเช่นกัน แต่ที่สำคัญคือ รัฐบาลต้องตอบคำถามให้ได้ว่า ในปีหน้าปัญหาน้ำท่วม จะเกิดขึ้นอีกหรือไม่ด้วยเช่นกัน”
ขณะที่นายเซตสึโอะ อิอูจิ ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (เจโทร) กล่าวว่า มีบริษัทญี่ปุ่นกว่า 300 แห่ง ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในไทย ทำให้กระทบต่อการผลิตของบริษัทญี่ปุ่นอย่างรุนแรง เนื่องจากไทยเป็นฐานการผลิตและส่งออกหลักในอาเซียนของผู้ผลิตญี่ปุ่นในไทย แต่ยืนยันว่าญี่ปุ่นจะไม่ย้ายฐานการผลิตออกไปจากไทยเพราะปัญหาดังกล่าว แต่ต้องการให้รัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนหลังน้ำลด.
ไทยรัฐ
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น