บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอาทิตย์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2554

ผูกขาดแข่งขันทางการค้า "เกษตร-พลังงาน-โทรคมนาคม"


  • เขียนโดย สาธินีย์ วิสุทธาธรรม ณัฐนันท์ อิทธิยาภรณ์
เรื่องความเลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรม ที่ยังค้างคาใจอยู่ว่า ทำไมคนจน ถึงแตกต่างจากคนรวย ใช่... เพราะความรู้่โอกาส ความขยัน หรือผลที่เกิดจากฎแห่งกรรม
เราลองไปฟังมุมคิดเรื่องการผูกขาดและสนับสนุน การแข่งขันทางการค้า ในภาคธุรกิจการเกษตร ธุรกิจโทรคมนาคม ธุรกิจพลังงาน อาจจะได้คำตอบ จากคำถามข้างต้น....
ผูกขาดการแข่งขันการค้าธุรกิจการเกษตร
รศ.ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)
"รัฐบาลไม่ค่อยชอบให้ตลาดสินค้าเกษตรมีการแข่งขัน มักเข้าแทรกแซง โดยอ้างว่าเกษตรกรเป็นคนยากจน ทั้งที่ภาคการเกษตรส่วนใหญ่เป็นการค้าขายในระดับฟาร์ม"
ตลาดสินค้าเกษตร ส่วนใหญ่เป็นตลาดที่มีการแข่งขันมาก แต่รัฐบาลไม่ค่อยชอบให้มีการแข่งขัน ชอบที่จะผูกขาด โดย ที่รัฐบาลอ้างว่า เกษตรกรเป็นคนยากจนต้องช่วยเหลือโดยการเข้าแทรกแซง ภาคการเกษตรส่วนใหญ่เป็นการค้าขายในระดับฟาร์ม เมื่อหลุดจากมือเกษตรกรไปจนกระทั่งถึงการส่งออก มีการแข่งขันค่อนข้างมาก ยกเว้นการค้าปุ๋ย ยาปราบศรัตรูพืชที่มีผู้แข่งขันน้อยราย แต่การที่ภาครัฐเข้าไปยุ่งนั้นเกิดปัญหาอยู่ตลอดเวลา 
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจว่า การผูกขาดมีข้อเสีย คือ 1.ราคาสินค้าสำหรับผู้บริโภคแพงขึ้น 2.ผู้ขายถูกกดราคามาก การ ค้าขายลดลง ปัญหาใหญ่ คือ กำไรของผู้ที่ต้องการการผูกขาด จะทำทุกอย่างโดยเฉพาะการพึ่งอำนาจรัฐเข้ามาผูกขาด และการผูกขาดที่จีรังยั่งยืนต่อเมื่อมีอำนาจรัฐ
สำหรับเรื่องปุ๋ย มีบริษัทเพียงไม่กี่ราย แต่ถ้าเทียบกับประเทศอื่นแล้วเกษตรกรไทยเป็นเกษตรที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ และใช้น้อยที่สุด โครงสร้างตลาดมีปัญหาน้อย แต่เพิ่งจะเริ่มมีปัญหาเมื่อรัฐบาลเข้ามาคุมราคาปุ๋ย เกิดบริษัท 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ทำถูกกฎหมาย กับกลุ่มที่มีการเมืองหนุนหลัง มีส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ การจัดซื้อจัดจ้าง วัสดุการเกษตร ยาปราบศรัตรูพืชไม่มีความโปร่งใส มีการหากินกันได้
การประมูลข้าว รัฐบาลประมูลข้าวหรือสินค้าเกษตรที่รัฐบาลเป็นเจ้าของ เวลานี้รัฐบาลกำลังจะซื้อข้าวเข้ามาในโครงการรับจำนำ และมีข้าวที่รัฐบาลจะประมูลออกจำนวนมาก เวลาประมูลข้าวจะมีปัญหาอย่างเมื่อเร็วๆ นี้ มีปัญหาบริษัทจีนที่จะมาเป็นนายหน้าในการประมูล ปัญหาล่าสุดก่อนที่รัฐบาลชุดนี้จะขึ้นมามีปัญหาขายข้าวให้อินโดนีเซียในราคา ถูกเป็นพิเศษ ขณะนี้รัฐบาลขายข้าวแบบ G2G รัฐต่อรัฐ มีประวัติการขายให้เกาหลีเหนือ แต่เกาหลีเหนือไม่ชำระเงินให้ และจะตั้งบริษัทสามัคคีแห่งชาติเข้ามาขายเรื่องเหล่านี้ เรียกว่าเป็นฝีมือของการที่รัฐบาลเข้ามาแทรกแซงทั้งสิ้น 
ฉะนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นคือบทเรียนว่า การจัดซื้อจัดจ้างที่เกี่ยวข้องกับรัฐบาล ข้อมูลไม่เคยโปร่งใส อ้างว่าจะซื้อของแจกเกษตรกร แต่กระบวนการซื้อก็มีนอกมีในตลอดเวลา อ้างว่าเกษตรกรยากจน ตัวเลขที่ชัดเจนเฉพาะชาวนาอย่างเดียวอย่างน้อยที่สุดมีชาวนา 1.2 ล้านคน ที่อยู่ในกลุ่ม 4 กลุ่มรายได้ที่สูงที่สุดในประเทศ ไม่ใช่ชาวนาทุกคนยากจน แต่รัฐบาลนำข้ออ้างนี้มาใช้ตลอดเวลา
การพิจารณาขายข้าวรัฐบาลจะขายล็อตใหญ่ๆ ที่มีผู้ประมูลน้อย จึงมีการฮั้วกันง่ายมาก ฉะนั้น จะต้องมีการเปิดเผยข้อมูลการแทรกแซง ถ้าเป็นไปได้จะเพิ่มเติมกฎหมายแข่งขันการค้าให้นักธุรกิจ ประชาชนสามารถฟ้องหน่วยงานราชกราที่ประมูลไม่โปร่งใสได้ ฟ้องรัฐบาลที่ปล่อยให้มีการซื้อขายแบบฮั้วกันได้ เป็นปัญหาที่เราต้องเริ่มคิดเรื่องเหล่านี้แล้ว เพราะมีแนวโน้มที่รัฐบาลกำลังจะเข้ามาทำธุรกิจการเกษตร
เมื่อรัฐบาลเข้ามาทำธุรกิจการเกษตรแล้ว สิ่งที่เกิดขึ้น คือ เมื่อเราเป็นผู้ส่งออกสินค้าอันดับหนึ่งที่สำคัญๆ เช่น ข้าว มันสำปะหลัง แต่สิ่งเหล่านี้ในที่สุดเมื่อรัฐบาลเข้ามาแทรกแซง มีการผูกขาด ตัดตอน จะเอื้อผลประโยชน์ต่อนักธุรกิจที่อาศัยซุกปีกรัฐบาลเข้ามาหากิน โดย อ้างว่าพ่อค้าส่งออกชอบตัดราคากัน เพราะฉะนั้นจึงต้องมีการจัดระเบียบการส่งออก การอ้างเหล่านี้เป็นการอ้างเพื่อที่จะเข้ามาผูกขาด ตัดตอน ซึ่งฝ่ายที่จะสูญเสียคือเกษตรกรที่จะมีทางเลือกในการขายของน้อยลง ผู้บริโภคที่จะต้องซื้อของราคาแพงขึ้น
ผูกขาดการแข่งขันการค้าธุรกิจพลังงาน
นางรสนา โตสิตระกูล สมาชิกวุฒิสภา กรุงเทพมหานคร
"ธุรกิจพลังงานเป็นธุรกิจที่ผูกขาด ไม่มีการแข่งขัน บีบก็ตายคลายก็รอด"
มี 4 ประเด็นที่จะนำเสนอเกี่ยวกับการผูกขาดด้านธุรกิจพลังงาน
1.ธุรกิจพลังงานเป็นธุรกิจที่มีการผูกขาด ไม่มีการแข่งขัน กฎหมายด้านการแข่งขันทางการค้า กำหนดว่า รัฐวิสาหกิจไม่ต้องขึ้นอยู่กับกฎหมายฉบับนี้ ดังนั้นยังมีบริษัทอย่าง ปตท. ใช้สิทธิ์นี้อยู่ ทำให้เกิดการได้เปรียบ เช่นกรณี ปตท. สามารถถือหุ้นใหญ่ในโรงกลั่นน้ำมัน 5 โรงจากทั้งหมด 6 โรง ซึ่งทำให้สามารถผูกขาดการกำหนดราคาน้ำมันได้ จะเห็นได้ว่า ตั้งแต่มีโรงกลั่นน้ำมันในประเทศไทย รัฐวิสาหกิจได้กำหนดนโยบายการให้แรงจูงใจโรงกลั่นน้ำมันให้มากลั่นในประเทศ ไทย แต่ซื้อในราคานำเข้าจากสิงคโปร์ และในเวลานี้เรากลั่นและส่งออกได้ (ปี 2551) ส่งออกได้มากกว่าข้าวและยางพารา เราส่งออกพลังงานได้ 2.9 หมื่นล้าน แต่รัฐบาลก็ยังคงให้แรงจูงใจนี้อยู่ ซึ่งราคาส่งต่างประเทศขายถูกกว่าคนไทย ทำให้เห็นว่าไม่ใช่กลไกการแข่งขัน 
2.การควบรวมกิจการ เป็นเรื่องที่ทำให้เกิดการผูกขาด บริษัท ปตท.มีการควบรวมกิจการทั้งแนวนอน คือ การเทคโอเวอร์ปั๊มน้ำมัน สามารถขยายส่วนแบ่งตลาด และการควบรวมแนวดิ่ง คือ ควบรวมโรงกลั่นกับปิโตรเคมี เป็นการฮุบเอาสิ่งที่เป็นวัตถุดิบโดยเฉพาะอย่างยิ่ง LPG เป็นสิ่งที่แย่งชิงกันใช้ระหว่างภาคประชาชนและภาคธุรกิจ ถือข้ออ้างว่า ปิโตรเคมีสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากกว่าประชาชน
3.กรณีเชื้อเพลิงทุกชนิดถ้าสามารถทดแทนกันได้ ต้องแข่งขันกัน แต่ปรากฏว่าบริษัท ปตท. ผูกขาดทั้งน้ำมัน ก๊าซ LPG NGV เอทานอล ก่อนหน้านี้เมื่อรัฐบาลประกาศชะลอการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันทำให้เบนซิล กับแก๊ซโซฮอลมีราคาใกล้กัน คนจึงหันไปใช้เบนซิลเพิ่มขึ้นมา 100% พอมีคนโวยวายก็ถ่างราคาได้ทันที ซึ่งไม่ใช่กลไกการแข่งขัน เป็นกลไกการบริหารจัดการ เรียกได้ว่า บีบก็ตายคลายก็รอด สามารถคุมช่องว่างระหว่างราคาเอาไว้ ทำให้กลไกการแข่งขันไม่เกิดขึ้นจริง 
4.เรามีกฎหมายที่ไปเปิดช่องให้ผู้ บริหารระดับสูงไปเป็นบอร์ดรัฐวิสาหกิจได้ พ.ร.บ.ว่าด้วยคุณสมบัติมาตรฐานของกรรมการรัฐวิสาหกิจมีการแก้เพิ่มตำแหน่ง ควบได้มากขึ้น เมื่อเข้าไปเป็นก็เกิดการขัดแย้งกันในหน้าที่ คนที่เป็นบอร์ดในบริษัทก็ต้องสร้างกำไรให้แก่บริษัท แต่ถ้าเป็นรัฐต้องคุ้มครองผู้บริโภค แต่เมื่อควบ 2 ตำแหน่งกลายเป็นว่าทำเพื่อกำไรบริษัท ไม่ทำเพื่อประโยชน์ของประเทศและประชาชน เป็นบทบาทที่ขัดแย้งกัน มีผลประโยชน์ทั้งโบนัสและเบี้ยการประชุม ทำให้สภาพการผูกขาดรุนแรงมากขึ้น ทั้งที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 84 วงเล็บ 5 ระบุไว้ชัดเจนว่านโยบายของรัฐจะต้องส่งเสริมเศรษฐกิจที่เสรีและเป็นธรรม ป้องกันการผูกขาดทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งที่ผ่านมาไม่เกิดขึ้นเลย แต่สภาพการต่างๆ เหล่านี้ยังดำรงอยู่เต็มที่ในธุรกิจด้านพลังงาน ทำให้ประชาชนเสียประโยชน์เป็นอย่างมาก
ผูกขาดการแข่งขันทางการค้าธุรกิจโทรคมนาคม
ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวาณิช ทีดีอาร์ไอ
"ผลประโยชน์ของผู้บริโภค ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสัญชาติของผู้ประกอบการโทรคมนาคม"
 ภาคโทรคมนาคมมีปัญหาจากการที่ตลาดไม่ได้แข่งขันเท่าที่ควร หรือที่เรียกว่า “ตลาดกึ่งผูกขาด” เนื่องจากเรามีมรดกบาปที่ทำให้เกิดสินค้าบริการโทรคมนาคมมีราคาแพงและคุณภาพ ไม่ดี ใช้อินเตอร์เน็ตก็โหลดความเร็วไม่ได้ตามเกณฑ์ โทรศัพท์สายก็หลุดบ่อย สัญญาณไม่ชัดเจน
บริบทที่ทำให้สินค้าและบริการด้านโทรคมนาคมแพงและคุณภาพไม่ดีมาจาก 2 เรื่องด้วยกัน... 
ประการแรก โครงสร้างตลาดโทรคมนาคมที่ใช้เงินในการลงทุนหลายหมื่นล้านบาท จนกลายเป็นว่า ตลาดผูกขาดโดยธรรมชาติ แต่ระยะหลังเมื่อเทคโนโลยีพัฒนามากขึ้น ทำให้มีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เข้ามา ซึ่งก็ช่วยให้โทรคมนาคมราคาถูกลง อย่างไรก็ตาม ยังเหลือมรดกบาปอีกเรื่องหนึ่ง นั่นคือ สัมปทานที่ให้สิทธิผูกขาดบริการโทรคมนาคมแก่เจ้าของบริษัท แต่ขณะนี้มรดกบาปดังกล่าวก็มีแนวโน้มจะหายไปอีกเช่นกัน เพราะปัจจุบันสิทธิผูกขาด หรือสัมปทานตามกฎหมายหมดไปแล้ว ตัวสัมปทานเองก็กำลังจะหมดใน 1-2 ปีนี้ ฉะนั้น เรื่องดังกล่าวจึงถือเป็นข่าวดี 
สำหรับด้านโทรคมนาคมนั้นมีกฎหมายที่สำคัญ 2 ฉบับ ได้แก่ กฎหมายแข่งขันทางการค้า กฎหมายการประกอบกิจการโทรคมนาคม ซึ่งในกฎหมายการประกอบกิจการโทรคมนาคมนั้นระบุไว้ว่า ให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) สามารถกำหนด กฎเฉพาะขึ้น เพื่อลดการผูกขาดได้
ฉะนั้น หากเรื่องใดที่เป็นกฎหมายทั่วไป กฎหมายแข่งขันทางการค้าก็เข้ามาจัดการ ส่วนเรื่องที่เป็นเรื่องเฉพาะเกี่ยวกับโทรคมนาคม ก็ใช้กฎของ กสทช.เข้ามาจัดการ ซึ่งหากดูจุดนี้ก็ถือว่าดี เพราะประชาชนจะมีเครื่องมือคุ้มครองถึงสองชั้น แต่กลับปรากฏว่า ตั้งแต่มี กสทช. (เดิมนั้นเรียกว่า กทช.) การกำกับดูแลต่างๆ พบว่า ยิ่งทำให้เกิดความเสี่ยงในการผูกขาดมากขึ้น 
ตัวอย่างที่กระทบต่อผู้บริโภคอย่างชัดเจนคือ การกำหนดค่าเชื่อมต่อโครงข่ายโทรศัพท์มือถือ ซึ่ง หากสังเกตจะพบว่าที่ผ่านมา ผู้ใช้บริการไม่เคยเสียค่าบริการต่ำกว่า 1 บาทต่อนาทีเลย นั่นเพราะว่า กทช. ไปกำหนดให้ราคาค่าเชื่อมต่อโครงค่ายอยู่ที่ 1 บาท (อธิบายสั้นๆ หากผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือของบริษัท ก ติดต่อไปยังผู้ใช้บริการของบริษัท ข บริษัท ก ต้องจ่ายเงินให้แก่บริษัท ข 1 บาท) ทั้งที่ต้นทุนค่าโทรของแต่ละเจ้าไม่เกิน 25 สตางค์ แต่หลังจากที่มีการกำหนดราคาจาก กทช. ที่ราคา 1 บาทต่อนาที ตรงนี้ชัดเจนว่า สร้างความเสียหายอย่างใหญ่หลวง 
“ผู้บริโภคเสียประโยชน์ ของที่ควรจะถูกกลับต้องแพง เพราะผู้ประกอบการจะคิดราคาถูกก็ทำไม่ได้ ซึ่งหากคำนวณกันหยาบๆ จะพบว่า ผลประโยชนที่ผู้บริโภคควรจะได้รับ แต่กลับถูกโยกไปที่ผู้ประกอบการนั้นมากกว่า 30,000 ล้านบาทต่อปี”
ส่วนผลกระทบต่อผู้ประกอบการนั้นพบว่า มาตรการดังกล่าวส่งผลให้ผู้ประกอบการรายใหม่ที่จะเข้ามาแข่งขันทำไม่ได้ ยกตัวอย่างบริษัท ฮัทช์ (Hutch) เข้ามาไม่นานก็อยู่ไม่ได้ เพราะเป็นบริษัทเล็ก โอกาสที่ผู้ใช้บริการจะโทรไปหาผู้ใช้บริการในเครือข่ายอื่นจึงมีมากกว่า อีกทั้งเมื่อต้องจ่ายให้บริษัทเจ้าอื่นนาทีละ 1 บาทก็ทำให้ไม่สามารถตัดราคา เพื่อดึงลูกค้าได้ ผู้ประกอบการรายใหม่จึงเกิดขึ้นไม่ได้ ตายไปในที่สุด
ประการที่สอง เมื่อไม่นานมา นี้ กทช. ได้ออกประกาศเรื่องการครอบงำกิจการโดยคนต่างด้าว ซึ่งหมายความว่า ผู้ที่จะทำธุรกิจโทรคมนาคมจะต้องผู้ประกอบการไทยเท่านั้น ซึ่งจุดนี้ดูเหมือนว่า คนไทยจะได้ประโยชน์ แต่เมื่อศึกษากันจริงๆ การที่ผู้บริโภคจะได้ประโยชน์หรือไม่นั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับสัญชาติของผู้ประกอบการ ฝรั่ง จีน สิงค์โปร์หรืออะไรก็ตาม เพราะสิ่งสำคัญอยู่ที่การทำให้ตลาดเกิดการแข่งขัน
“ที่ผ่านมามีการสร้างความรู้สึก ความเชื่อที่ว่า ต้องเป็นผู้ประกอบการไทยเท่านั้น ซึ่งการสร้างวาทกรรม ความเชื่อดังกล่าวทำให้บริษัทผู้ให้บริการด้านโทรคมนาคม โทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นคนไทยได้ประโยชน์ ดังนั้น กฎกติกาดังกล่าวที่ กทช. ผ่านออกมา โดยไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่ควรจะเป็นนั้น อีกทั้งยังไปกระทบตลาด กระทบผู้บริโภค จึงอยากฝาก กสทช. ชุดใหม่ให้แก้ไขอย่างเร่งด่วน 
“ยกเลิกการประกาศเรื่องการครอบงำ กิจการโทรคมนาคมโดยคนต่างด้าว รวมทั้งลดค่าเชื่อมต่อโครงข่ายให้อยู่ที่อัตราไม่เกิน 25 สตางค์ต่อนาที”

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง