บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2554

2475:ไม่ใช่การรัฐประหาร 'ปรีดี=สตีฟ จ็อบ สยาม' 'ปชป.'ปฏิปักษ์กับ'ปชต.' ได้ดีทุกครั้งหลังท็อปบูท


ศ.ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ
“เสวนา รำลึกปรีดี” ประสานเสียงป้องคณะราษฎร์ ยัน 2475 ไม่ใช่รัฐประหาร แต่เป็นการ “อภิวัฒน์” ชี้ ลบล้างผลพวง ก.ย.49 ต้องดูว่าแหกจารีตกฎหมายไทยหรือไม่ ย้ำ 2490 ต้นเหตุการเมืองไทย ระบุ ปชป.ได้ดีจากรัฐประหารทุกครั้ง ยก “ปรีดี” สตีฟ จ็อบ สยามประเทศ หนุน “นิติราษฎร์” กล้าเสนอความคิดเห็น
วันที่ 9 ต.ค.2554 เวลา 10.00 น. ที่ห้องประชุมประกอบหุตะสิงห์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีการจัดเสวนาวิชาการในหัวข้อ “ภาพลักษณ์ปรีดี พนมยงค์ กับสังคมการเมืองและประชาธิปไตยไทย” จัดโดยวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ โดยมี ศ.ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ ธรรมศาสตราภิชาบ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ ดร.มรกต เจวจินดา ไมยเออร์ โครงการไทยศึกษา วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ และนายอัครพงษ์ ค่ำคูณ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ร่วมอภิปราย
โดย ศ.ดร.ธเนศ กล่าวว่า กรณีที่คณะนิติราษฎร์ออกแถลงการณ์ให้ลบล้างผลพวงรัฐประหารเมื่อเดือนกันยายน 2549 จนมีการวิพากษ์วิจารณ์เป็นจำนวนมาก บ้างก็บอกว่าถ้าจะลบล้างต้องเริ่มตั้งแต่ยุคคณะราษฎร์ปี 2475 โดยประเด็นนี้ถูกจุดขึ้นในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ซึ่งหากมองในแง่การเมือง นับเป็นมิติที่ดี คือ หากต้องการพูด ก็พูดออกมา เพราะนั่นแสดงว่าการเมืองในรอบ 70 กว่าปีที่ผ่านมายังไม่นิ่ง ยังไม่เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ และคำถามที่ถูกจุดขึ้นมา ไม่ว่าจะของกลุ่มไหน จะทำให้ทุกคนหันมามองปัญหาทางการเมืองมากขึ้น อีกทั้งได้เห็นพัฒนาการขณะนี้ว่าประชาธิปไตยของเรามาอยู่ตรงไหน อย่างไรก็ตาม ต้องยอมรับว่าการรัฐประหารยังคงมีอยู่ตลอด และทำให้มีการถกเถียงกันว่าเหตุการณ์แบบนี้ถูกหรือไม่ เพราะทางหลักนิติธรรมแล้วมันไม่ถูก
“70 กว่าปีที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าเรามีการเปลี่ยนรัฐบาลมาก แต่ก็ไม่มีคนมาคัดค้านหรือต้านรัฐประหารแต่อย่างใด ซึ่งจำได้ว่าการต่อต้านที่ชัดเจนเริ่มขึ้นที่สมัยรสช. โดยครั้งนั้นถือเป็นครั้งแรก ที่มีคนหลายกลุ่มออกมาแสดงการต่อต้าน ขณะที่ครั้งต่อมาก็คือการรัฐประหารของ คมช. ที่ประชาชนออกมาเร็วและแรงมาก ซึ่งทั้งสองเหตุการณ์ดังกล่าว มีจุดเริ่มต้นที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพราะมีการปราศรัยและวิพากษ์วิจารณ์กันที่นี่”ศ.ดร.ธเนศ กล่าว
ศ.ดร.ธเนศ กล่าวต่อว่า วิวาทะครั้งล่าสุดน่าสนใจ เนื่องจากมีประเด็นที่เป็นรูปธรรมที่ชัดเจนเพื่อให้มีการลบล้างรัฐประหาร นับเป็นวิวาทะครั้งใหม่ที่หลุดจากกรอบธรรมเนียมของการทำรัฐประหาร หลังจากถูกกดทับเอาไว้ โดยจะไม่ขอตอบว่าฝ่ายไหนถูก ฝ่ายไหนผิด เพราะไม่มีประโยชน์จะวิจารณ์ว่าใครอยู่เบื้องหลัง เพราะการเมืองมันมีเรื่องผลประโยชน์อยู่แล้ว แต่ปัญหาระยะต่อไปคือหากมีการทำไปแล้ว ใครได้ ใครเสียประโยชน์ อันนี้น่าสนใจ เพราะกระบวนการทางกฎหมายมันมีระเบียบของมันอยู่ แต่จะต้องมีการยอมรับจากภาคส่วนเอกชน สังคม เศรษฐกิจ รวมทั้งนานาชาติด้วย ดังนั้นกว่าที่กฎหมายจะออกมา มันต้องมีมาตรการต่างๆ ต้องดูว่ามันจะไปเปลี่ยนจารีตกฎหมายไทยหรือไม่ ตรงนี้คือสิ่งที่น่าจะมาทำความเข้าใจ อย่างไรก็ตาม การวิพากษ์วิจารณ์ที่เกิดขึ้นนี้ ส่วนใหญ่เป็นการวิจารณ์ในความเห็นส่วนตัวมากเกินไป ซึ่งต้องเอาข้อเท็จจริงมาพูดกันโดยใช้หลักกฎหมาย
“อย่างไรก็ตาม ผมตั้งข้อสังเกตว่าพรรคประชาธิปัตย์เป็นพรรคที่มีปัญหากับประชาธิปไตยมากที่ สุด เพราะทุกครั้งที่มีการรัฐประหาร พรรคที่ได้ขึ้นมาเป็นรัฐบาลก็มักจะเป็นพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งผมไม่ได้กล่าวหา แต่เรื่องมันบังเอิญเป็นแบบนั้นตลอด ดังนั้น ผมจึงคิดว่าการรัฐประหารปี 8 พ.ย.2490 เป็นต้นกำเนิดของปัญหาทุกวันนี้ รวมถึงปัญหาความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ปัจจุบัน”ศ.ดร.ธเนศ กล่าว
ศ.ดร.ธเนศ กล่าวด้วยว่า ข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ที่เสนอให้ลบล้างพวงการทำรัฐประหารปี 2549  ส่งผลกระเทือนการเมืองทั้งหมด เพราะการเมืองขณะนี้เป็นการถูกวางอำนาจโดยอำนาจนอกระบบ ที่ในช่วงในหลายปีที่ผ่านมา เป็นการเข้าสู่อำนาจโดยผ่านรัฐประหาร จะเห็นได้ว่าคนที่ได้ประโยชน์จากการรัฐประหาร คือประชาชนในเมืองที่เป็นฐานเสียงของพรรคที่ได้ประโยชน์จากรัฐบาลที่มาจาก การรัฐประหาร เพราะรัฐบาลที่มาจากรัฐประหารมักจะให้นโยบายและหาเสียงกับชนชั้นกลางในเมือง นอกจากนี้ ปรากฎการณ์ล่าสุดการของคนเสื้อแดงในตอบโต้รัฐประหารเป็นการทำให้คนจำนวนมาก ในรอบนอกของประเทศ เข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินเรื่องรัฐธรรมนูญ โดยไม่ปล่อยให้คนกทม.ตัดสินเพียงอย่างเดียว ดังนั้นประชาธิปไตยที่คณะผู้ก่อการได้วางไว้ตั้งแต่ปี 2475 เป็นการอภิวัฒน์เพื่อให้คนจำนวนมากมาเปลี่ยนแปลง ไม่ใช่ให้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมาเปลี่ยนแปลงประเทศ
ด้าน ดร.อัครพงษ์ กล่าวว่า ในพจนานุกรมศัพท์ของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษ ซึ่งได้แปลความหมายของการรัฐประหารว่าคือ ความพยายามในการเปลี่ยนแปลงคณะปกครอง หรือรัฐบาลด้วยกำลัง โดยมากมักเกิดจากการเข้ามาเถลิงอำนาจในรัฐบาลอย่างรวดเร็ว รุนแรง และผิดกฏหมาย การยุบเลิกรัฐบาลอย่างกระทันหันด้วยกำลังที่ผิดกฏหมาย มักกระทำการโดยกองทัพ หรือส่วนหนึ่งของกองทัพ รัฐประหารมักเกิดขึ้นโดยความไม่เห็นชอบของประชาชน หรือไม่ก็มักเป็นความจากประชาชนบางส่วน ซึ่งมักเป็นชนชั้นกลาง หรือไม่ก็ด้วยความร่วมมือของพรรคการเมือง หรือกลุ่มทางการเมือง
ขณะที่ ดร.มรกต กล่าวว่า หลังจากการปฏิวัติปี 2535 เหตุใดนายปรีดี ถึงถูกพูดถึงตลอดเวลา อันนี้ต้องเปรียบนายปรีดีเหมือนกับเป็นสตีฟ จ็อบแห่งสยาม ยืนถือลูกแอปเปิ้ลไว้ แต่ไม่ได้กัด นายปรีดีเป็นทั้งจุดแข็งและจุดอ่อนของคณะราษฎร์ จุดแข็งคือด้านมันสมองในแง่ความพยายามจะทำให้เกิดการอภิวัฒน์ปี 2475 เป็นการอภิวัฒน์ที่เปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างอย่างลึกเต็มที่ ทั้งการผลิต โครงสร้างเชิงเศรษฐกิจ ต้องการให้คนธรรมดาทั่วไป สามารถกินดีอยู่ดี ประกันความสุขสมบูรณ์ของราษฎรตั้งแต่เกิดจนตาย กล่าวคือคิดในการมองข้างหน้าอย่างเป็นระบบ ส่วนจุดอ่อนคือความคิดที่ก้าวหน้า แต่ก็ต้องการรักษาสถาบันพระมหากษัติรย์ไว้ภายใต้รัฐธรรมนูญ ขณะที่ก็มีกลุ่มที่ไม่ต้องการจะเสียอำนาจ จึงใช้ความคิดเรื่องคอมมิวนิสต์มาโจมตีนายปรีดี
“การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองปี 2475 ไม่ใช่การรัฐประหาร แต่เป็นการอภิวัฒน์ เพราะคณะราษฎร์กระทำเพื่อให้เกิดความเปลี่ยนความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง เศรษฐกิจและการเมือง ทำให้นายปรีดีถูกพาดพิง ดิฉันจึงอยากฝากว่า ตั้งแต่ปี 2475 ไม่เคยมีเนื้อที่อย่างสมศักดิ์ศรีและไม่มีพิพิธภัณฑ์เกี่ยวกับคณะราษฎร์ คนทั่วไปนึกไม่ออก บางทีอาจารย์สอนธรรมศาสตร์บางคนยังไม่รู้เลยว่าคณะราษฎร์ทำอะไรให้กับประเทศ ชาติ ดังนั้น จึงควรจะต้องมีการบูรณาการการเมืองไทยตั้งแต่ปี 2475 ถึงปี 2490 เสียใหม่ ถ้าเป็นแบบเก่ามันไม่สามารถจะช่วยให้เรามองเห็นถึงอนาคต ฉะนั้น อดีตได้ทำให้เรามองเห็นความเป็นมาในรูปแบบเฉพาะ”ดร.มรกต กล่าว
ดร.มรกต กล่าวต่อว่า ขอชื่นชมคณะนิติราษฎร์ที่กล้าออกมาแสดงให้ลบล้างผลพวงจากการรัฐประหารปี 2549 จนทำให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าต้องการช่วยเหลือคนๆเดียวคือพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี อย่างไรก็ตาม ขอตั้งข้อสังเกตว่า หากเอาเข้าจริงแล้วก่อนวันที่ 19 ก.ย.49 แม้นายกรัฐมนตรีจะไม่ได้ชื่อพ.ต.ท.ทักษิณ อาจจะชื่ออะไรก็แล้วแต่ แต่เป็นคนที่มาจากฐานอำนาจกลุ่มใหม่ที่ไม่ได้มาจากระบบของทหาร จึงถูกรัฐประหารเช่นกัน เพราะเป็นการเปลี่ยนแปลงอำนาจให้คนทั่วไปที่เคยชินกับการอยู่ภายใต้กับรัฐ ประหาร ทำให้รับไม่ได้กับการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะชนชั้นกลาง

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง