บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2554

การเมืองเรื่องพระราชอำนาจและกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ

 อธิปัตย์  
เสฐียนพงษ์  แซ่ตั้ง
หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ.๒๔๗๕ สถานะของพระมหากษัตริย์ยังคงดำรงอยู่ในฐานะประมุขแห่งรัฐแต่ไม่มี “พระราชอำนาจ” สั่งการใดๆโดยตรง แต่เพราะสถานะที่เป็นประวัติศาสตร์ทำให้รัฐธรรมนูญเปิดช่องให้พระมหา กษัตริย์สามารถใช้พระราชอำนาจแทนปวงชนชาวไทยผ่านอำนาจอธิปไตยทั้งสามคือ “บริหาร ตุลาการ และนิติบัญญัติ”
ซึ่งก็เป็นลักษณะเช่นเดียวกับประเทศที่มีการปกครองในรูปแบบรัฐสภาแบบมีพระ มหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขโดยทั่วไป โดยคำว่า “ใช้พระราชอำนาจแทนปวงชนชาวไทย” ที่เห็นได้ชัดนั้นคือการ “โปรดเกล้าฯแต่งตั้ง” ไม่ว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี ผบ.เหล่าทัพ ตุลาการ เป็นต้น โดยผู้ที่ได้รับการโปรดเกล้าแต่งตั้งนั้นก็มาจากคัดเลือกของประชาชน องค์กรต่างๆ และเมื่อคัดเลือกได้แล้วก็จะทูลเกล้าเสนอชื่อให้ในหลวงโปรดเกล้าฯแต่งตั้งลง มา
ผู้ที่ได้รับการโปรดเกล้าแต่งตั้งนั้นก็คือ “ตัวแทน” ของพระมหากษัตริย์ที่ได้รับการคัดเลือกจากประชาชน เพื่อให้ใช้อำนาจอันมีอยู่ในหน่วยงานที่รับผิดชอบแทนองค์พระมหากษัตริย์ ไม่ว่าจะเป็นประมุขของฝ่ายบริหาร “นายกรัฐมนตรี” ประมุขฝ่ายตุลาการ “ประธานศาลฎีกา” และประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ “ประธานรัฐสภา” ทั้งสามคนนี้ล้วนเป็น “ตัวแทนใช้พระราชอำนาจ” ของพระมหากษัตริย์มาปกครองบ้านเมือง
สถานะของพระมหากษัตริย์ในประเทศไทยคือ “ปกเกล้าแต่ไม่ปกครอง” ซึ่งลักษณะนี้ก็เหมือนกับประเทศอังกฤษ หรือญี่ปุ่น ที่สถาบันพระมหากษัตริย์ถูกผลักดันให้เป็นเพียงสัญลักษณ์ของประเทศมาอย่าง เนิ่นนาน แต่ในประเทศไทยด้วยสถานะพิเศษใต้รัฐธรรมนูญกษัตริย์คือผู้ใช้อำนาจแทนปวงชน ชาวไทย แต่กษัตริย์จะต้องไม่ทำผิด จึงทำให้การใช้พระราชอำนาจใดๆผ่านฝ่ายบริหาร ตุลาการ และนิติบัญญัติ จะต้องมี “ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ” หลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธย โดยผู้รับสนองฯนั้นจะต้องรับผิดชอบในทุกกรณีเมื่อพระบรมราชโองการนั้นไม่ชอบ ด้วยกรณีใดๆทั้งปวง!
ถึงกระนั้นสิ่งที่กล่าวมาล้วนเป็นเพียง “พระราชอำนาจ” ที่ถูกบัญญัติไว้ในสมุดไทยบนพานแว่นฟ้า แต่ทว่าพระราชอำนาจที่แท้จริงของพระมหากษัตริย์นั้นล้วนเกิดจาก “พระบารมี” ที่สั่งสมมาหลายสิบปีตลอดที่ครองราชย์ ซึ่งพระราชอำนาจนี้ล้วนเป็นที่ประจักชัดต่อสายตา ต่อจิตใจ ของคนที่ได้ชื่อว่าเป็น “คนไทย” มาช้านาน
แต่ในทุกวันนี้มีความพยายามของบุคคลบางกลุ่มโจมตีสถาบันพระมหากษัตริย์ถึง เรื่องการใช้พระราชอำนาจและ “การได้รับความคุ้มครองจากรัฐธรรมนูญ” ในเรื่อง “กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” (ม.๑๑๒) ว่าไม่เป็นธรรมต่อสิทธิพื้นฐานและเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์ของประชาชน โดยให้เหตุผลว่าพระมหากษัตริย์แม้จะเป็นประมุขแห่งรัฐ แต่ก็อยู่ใต้รัฐธรรมนูญเดียวกันกับประชาชนทุกคนในประเทศไทย แต่กฎหมายหมิ่นฯนี้กลับทำให้สถานะของพระมหากษัตริย์ “ดูจะ” อยู่เหนือกว่าสิ่งใดๆที่ประชาชนจะวิจารณ์ได้ เพราะประชาชนนั้นไม่รู้ว่าจะวิจารณ์อย่างไรเพื่อไม่ให้ต้องโทษ เพราะด้วโทษสูงสุดถึง ๑๕ ปีนั้นเปรียบเสมือนกำแพงที่กันการวิจารณ์พระมหากษัตริย์ออกไปจากประชาชน และทำให้การวิจารณ์พระมหากษัตริย์นั้นกลายเป็นเรื่อง “ต้องห้าม” ในประเทศไทย!
ด้วย เหตุผลของคนกลุ่มนี้อ่านอย่างผิวเผินดูเหมือนว่ากฎหมายหมิ่นฯนั้นดูจะริดร อนสิทธิและเสรีภาพในการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์(ในลักษณะที่ประชาชน วิจารณ์รัฐบาลหรือฝ่ายค้าน)มากเกินไป แต่ผมกลับมมองว่ากฎหมายหมิ่นฯนั้นถูกสร้างขึ้นมาเพื่อ “ปกป้อง” สถาบันพระมหากษัตริย์(อันได้แก่ พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท)เพราะสถาบันพระมหากษัตริย์ดำรงอยู่ในฐานะประมุขแห่งรัฐในทางกฎหมาย ไม่เพียงเท่านั้นสถาบันพระมหากษัตริย์ยังคงเป็น “ผู้นำทางจิตวิญญาณชาติ” เมื่อใดที่พระมหากษัตริย์ทุกข์ใจ ประชาชนก็ทุกข์ใจ เมื่อใดพระมหากษัตริย์มีความสุข ประชาชนก็มีความสุข เมื่อใดพระมหากษัตริย์ทรงพระประชวร ประชาชนก็ทุกข์ใจ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ปรากฎให้เห็นได้ในสังคมไทยเท่านั้น
ดังนั้น เมื่อใดก็ตามที่มีมาว่าร้าย แสดงกิริยาอาฆาต คนไทยก็จะเจ็บแค้นแทน ตอบโต้แทนพระมหากษัตริย์ แต่พระมหากษัตริย์ออกมาตอบโต้ไม่ได้ เพราะสถานะของพระมหากษัตริย์จะต้องดำรงอยู่ในความเป็นธรรมและเป็นกลางสำหรับ ทุกฝ่าย
ผมเชื่อว่าหลายคนในประเทศไทยนี้เข้าใจแบบที่ผมเข้าใจ ขนาดผมไม่ต้องจบด๊อกเตอร์ ไม่ต้องมีคำนำหน้าทางวิชาการ ไม่ต้องเรียนรัฐศาสตร์ ไม่ต้องเรียนกฎหมาย ก็ยังเข้าใจในกฎธรรมดาข้อนี้ แต่ทว่าในสังคมไทยตอนนี้มีกลุ่มนักวิชาการ กลุ่มนักกฎหมาย รวมตัวกัน “สร้างความไม่เข้าใจ” กฎหมายข้อนี้ ในความคิดของเขามีเพียงคำว่า “สิทธิถูกปิดกั้น” และคำว่า “ริดรอนซึ่งเสรีภาพ” ทำไมคนที่เป็นถึงระดับนั้นกลับไม่มองดูบริบทของสังคม ไม่มองดูประวัติศาสตร์ ไม่มองดูคติความเชื่อของคนไทยที่มีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์บ้าง
หลังจากที่ผมเก็บข้อมูลและศึกษาเรื่อง “กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” นี้มาซักระยะหนึ่ง ก็พอจะสรุปสิ่งที่ “พวกเขา” ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกับกฎหมายฉบับนี้ ได้เป็น ๔ ข้อครับ
๑.ยกเลิกกฎหมายหมิ่นฯ โดยสิ้นเชิง
๒.ยกเลิกกฎหมายหมิ่นฯ แต่ให้ไปใช้กฎหมายหมิ่นประมาท
๓.ไม่ต้องยกเลิกกฎหมายหมิ่นฯ แต่ไปปรับแก้โทษสูงสุด
๔.ไม่ต้องยกเลิกกฎหมายหมิ่นฯ แต่ตั้งองค์กรรับผิดชอบแทนตำรวจ

ผมจะขอวิจารณ์ทีละข้อนะครับ

๑.ยกเลิกกฎหมายหมิ่นฯ โดยสิ้นเชิง
ออกจะเป็นแนวคิดที่ “สุดโต่ง” จนเกินไป แม้ว่าคนที่สนับสนุนหลักการนี้จะบอกว่าถ้าคนไทยรักจริงก็จะไม่มีใครมาว่า หรือจะบอกว่าจะให้คนไทยรักก็ต้องไม่บังคับให้รัก ต้องใจกว้างยอมรับคำวิจารณ์ได้ ซึ่งผมมองว่าคนที่คิดแบบนี้สายตาเขาแคยเกินไป “คนธรรมดา” ยังมีกฎหมายหมิ่นประมาทมาคุ้มครอง เมื่อไม่ได้รับความเป็นธรรม แล้ว “พระมหากษัตริย์” จะไม่มีกฎหมายใดให้ความคุ้มครองพระองค์บ้างเลยหรือ?

๒.ยกเลิกกฎหมายหมิ่นฯ แต่ให้ใช้กฎหมายหมิ่นประมาท
ออก ตัวก่อนว่าไม่ได้ร่ำเรียนกฎหมาย อันนี้ใช้พื้นฐานวิชาสังคมมัธยมมาตอบเลยหล่ะครับ ผมเข้าใจว่ากฎหมายหมิ่นประมาทนั้น ผู้ที่ถูกหมิ่นประมาทจะเป็น “ผู้ร้องทุกข์” กับเจ้าหน้าที่บ้านเมืองใช่ไหมครับ ถ้าให้ใช้กฏหมายนี้กับพระมหากษัตริย์ก็คงจะไม่มีคดีหมิ่นประมาทพระมหา กษัตริย์ ดังที่ผมกล่าวไว้แล้วในข้างต้นว่าพระมหากษัตริย์จะต้องดำรงอยู่อย่างเป็น ธรรมทุกฝ่าย ซึ่งส่วนนี้ได้มีผู้รู้ให้ความรู้ผมว่ากฎหมายหมิ่นฯนั้นเป็นการฟ้องร้องโดย เจ้าหน้าที่ตำรวจเพราะเป็นความผิดต่อรัฐ ไม่ต้องมีผู้มาร้องทุกข์ ตำรวจก็ฟ้องร้องได้

๓.ไม่ต้องยกเลิกกฎหมายหมิ่นฯ แต่ให้ไปปรับแก้โทษสูงสุด
อัน นี้มีหลายคนพูดตรงกันว่ากฎหมายหมิ่นฯ มีโทษที่สุดลิบเกินไป หมิ่นประมาทบุคคลแม้ว่าจะเป็นพระมหากษัตริย์แต่โทษไม่น่าถึง ๑๕ ปี เอาเพียงแค่หลาบจำก็พอ การระบุโทษที่สูงลิบแบบนี้ก็ไม่ต่างอะไรกับการห้ามวิจารณ์พระมหากษัตริย์ ตรงนี้ผมอยากจะอธิบายว่าโทษที่ระบุไว้สูงสุด ๑๕ ปี ก็ต้องดู “ความผิด” ดูที่เจตนา ดูที่องค์ประกอบหลายอย่างที่แวดล้อมในขณะนั้น และศาลท่านก็จะตัดสินเองว่าความผิดนั้นสมควรได้รับโทษเท่าใด ก็ให้ต้องให้เป็นดุลพินิจของศาลเท่านั้น

๔.ไม่ต้องยกเลิกกฎหมายหมิ่นฯ แต่ตังองค์กรรับผิดชอบแทนตำรวจ
เรื่อง ที่ท่านอ่านนี้ผมรวบรวมข้อมูลมานานแล้วครับ ทำให้บางเรื่องที่ไม่ได้ติดตามข่าวตลอดก็เลยพลาด)ตอนนี้อำนาจในการสั่งฟ้อง คดีหมิ่นฯได้ถูกโอนจาก สตช. มายังกรมสอบสวนคดีพิเศษ(DSI) ซึ่งผมเห็นด้วยทุกประการครับ

ครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสเรื่องการวิจารณ์พระมหากษัตริย์ไว้ว่า
“ขอ เปิดเผยว่า วิจารณ์ตัวเอง(พระเจ้าอยู่หัว)ได้ว่าบางทีก็อาจจะผิด แต่ให้รู้ว่าผิด ถ้าเขาบอกว่าวิจารณ์พระเจ้าอยู่หัวว่าผิด งั้นขอทราบว่าผิดตรงไหน ถ้าไม่ทราบ…เดือดร้อน”
ฉะนั้น ก็ที่บอกว่าการวิจารณ์เรียกว่าละเมิดพระมหากษัตริย์ ให้ละเมิดได้ แต่ถ้าเขาละเมิดผิด เขาก็ถูกประชาชนบอมส์ เป็นเรื่องขอให้เขารู้ว่าวิจารณ์อย่างไร ถ้าเขาวิจารณ์ถูกก็ไม่ว่า แต่ถ้าวิจารณ์ผิด ไม่ดี แต่เมื่อบอกว่าไม่ให้วิจารณ์ ละเมิดไม่ได้ เพราะรัฐธรรมนูญว่าอย่างนั้น ลงท้ายพระมหากษัตริย์ก็เลยลำบาก แย่ อยู่ในฐานะลำบาก”
“เพราะ ถ้าไม่ให้ละเมิดพระเจ้าอยู่หัวเสีย พระเจ้าอยู่หัวเป็นคนไม่ดี ซึ่งถ้าคนไทยด้วยกันหนึ่งไม่กล้า สองคือเอ็นดูพระเจ้าอยู่จึงไม่กล้า ไม่อยากละเมิด แต่มีฝ่ายชาวต่างประเทศ มีบ่อยๆ ละเมิดพระเจ้าอยู่หัว ละเมิดเดอะคิง แล้วก็หัวเราะเยาะว่าเดอะคิงของไทยแลนด์ พวกคนไทยทั้งหลายนี่ เป็นคนแย่ ละเมิดไม่ได้ ในที่สุดถ้าละเมิดไม่ได้ก็เป็นคนเสีย”
จะเห็นได้ว่าถ้อยประโยคที่สำคัญคือ ฉะนั้น ก็ที่บอกว่าการวิจารณ์เรียกว่าละเมิดพระมหากษัตริย์ ให้ละเมิดได้ แต่ถ้าเขาละเมิดผิด เขาก็ถูกประชาชนบอมส์ เป็นเรื่องขอให้เขารู้ว่าวิจารณ์อย่างไร ถ้าเขาวิจารณ์ถูกก็ไม่ว่า แต่ถ้าวิจารณ์ผิด ไม่ดี
ผมเชื่อว่ายังมีหลายคนที่ยังเข้าใจเรื่องการวิจารณ์พระมหากษัตริย์ผิดๆ การเรียกร้องให้ยกเลิกหรือปรับปรุง “กฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” ก็เพื่อต้องการให้เกิดการวิจารณ์โดยวงกว้างและมีเสรีภาพ ซึ่งในเรื่องที่เขาอ้างนั้นผมกลับมองว่าสิ่งที่พวกเขา(นักวิชาการ , กลุ่มการเมือง)ต้องการเพียงแค่ “พูดอะไรก็ได้ที่อยากพูด” ได้อย่างถูกต้องและชอบธรรมโดยไร้ข้อกฎหมายใดมาควบคุม
เพราะ ในปัจจุบันการวิจารณ์พระมหากษัตริย์ยังคงเป็นที่จับตามองของคนในสังคม และยังคงต้องได้รับการตรวจสอบถึงข้อเท็จจริง ความสมเหตุสมผลที่ไม่ใช่ “พูดอะไรก้ได้ที่อยากพูด” หรือเพียงอ้างว่า “มีคนเล่ามาว่า…”(พงศาวดารกระซิบ) ทั้งนี้ก็เพื่อให้ควาเป็นธรรมกับทั้งสองฝ่ายคือ “ผู้วิจารณ์” ถ้าสิ่งที่วิจารณ์นั้นสมเหตุสมผล สังคมก็สมควรได้รับรู้ และให้ความเป็นธรรมกับผู้วิจารณ์ไม่ใช่เพียงแต่จ้องจะจับผิด แต่ถ้าวิจารณ์ผิดเขาก็จะโดนลงโทษทางสังคม และ “ผู้ถูกวิจารณ์” ซึ่งก็คือพระมหากษัตริย์ เราต้องเข้าใจในส่วนนี้ว่าพระมหากษัตริย์มิอาจลงมาแก้ข้อกล่าวหาใดๆได้ แบบประชาชนทั่วไป ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมจึงต้องมีการตรวจสอบเรื่องนี้อยู่ตลอดเวลา
แม้ ว่าในปัจจุบันที่สังคมยังคงตรวจสอบเรื่องการวิจารณ์ฯอย่างมาก ข้อเขียนต่างๆ สิ่งพิมพ์จำนวนมาก รวมทั้งแวดวงสัมนาวิชาการ ก็ยังมีมากขึ้นตาม และทุกในหลายๆสื่อ หลายบทความเรื่องยาว ก็ยังเปิดเสรีให้ผู้สนใจไปโหลดอ่าน หรือเข้าฟังสัมนาวิชาการฟรีๆ ซึ่งผมก็มองว่าเรื่องนี้เป็นธรรมดาของการ “ปั่นกระแส” ของคนกลุ่มนี้
การตั้งวงเสวนาวิชาการ หรือสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆจะต้องมีการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่ต้องการ “สร้างกระแส” ให้กับสังคมแล้วยิ่งต้องลงทุนหนัก คนกลุ่มนี้กำลังยื่นปลาเผาให้ลูกค้าที่เดินผ่านไปผ่านมามากินฟรี จนวันหนึ่งเมื่อปลาเผาของเขาโด่งดังและเป็นที่รู้จัก ลูกค้าของเขาก็ต้องเข้าไปในร้านและต้องสั่งปลาเผามากินเพื่อสนองความต้องการ
ซึ่ง ก็เป็นลักษณะเดียวกับที่กลุ่มนักวิชาการกำลังทำอยู่ในตอนนี้ และเมื่อวันหนึ่งที่ความพยายามของคนกลุ่มนี้สำเร็จขึ้นมา กระแสความต้องการของคนหมู่มากก็จะสร้าง “เม็ดเงิน” มหาศาล และจะพุ่งตรงไปที่กลุ่มนักวิชาการกลุ่มนี้ในฐานะผู้ก่อการ “สิ่งพิมพ์” มูลค่ามหาศาลก็จะออกเผยแพร่สู่สาธารณะ โดยเฉพาะกับ “บุคคุล” ที่จะสามารถถ่ายทอดเรื่องราวทั้งงานเขียนและวงเสวนาออกมาได้ดีนั้นก็แทบจะนับคนได้ในประเทศไทย คนเหล่านี้จะ “โด่งดัง” และสร้าง “เม็ดเงิน” มหาศาลให้กับกลุ่มนักวิชาการของเขา และจะกลายเป็นทุนให้พวกเขาทำเรื่องที่ “ใหญ่” กว่านั้นก็เป็นได้
ผม ยอมรับว่าผมอาจจะคิดมาก มองพวกท่าน(นักวิชาการ)เชิงพาณิชย์มากเกินไปก็เป็นได้ แต่จะไม่ให้คิดเลยก็ไม่ได้ เพราะในเมื่อท่านหว่านพืชท่านก็ย่อมหวังผล ท่านคงไม่ใช่อรหันต์บรรลุธรรมที่ไม่หวังสิ่งตอบแทน แม้นว่าท่านจะไม่หวังในเม็ดเงิน แต่ผมก็เชื่อว่าท่านคงจะหวังใน “ชื่อเสียง” เกียรติยศที่จะได้จารึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ในฐานะผู้ที่คิดจะเปลี่ยนแปลงประเทศไทย ผมอยากจะบอกท่านว่า ณ ตอนนี้ชื่อพวกท่านได้ถูกจารึกไว้ในบันทึกหน้าหนึ่งทางประวัติศาสตร์การเมือง ไทยแล้ว ก็รอแต่วันที่ท่านสิ้นลม ให้คนรุ่นหลังวิจารณ์ท่านว่าท่าน “เลว” หรือ “ดี” เพียงใด ก็เท่านั้น!
เรากลับมาที่ประเด็นเรื่อง “พระราชอำนาจ” และ “การวิจารณ์พระมหากษัตริย์” กันดีกว่าครับ ที่ไปที่มาคงจะต้องบอกว่าเพราะกว่า ๗๐๐ ปีที่เราอยู่ใต้การปกครองในระบอบกษัตริย์ และเราเพิ่งจะมี “ประชาธิปไตย” ได้เพียง ๘๐ ปี เรากำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนถ่ายแห่งยุคสมัย ซึ่งเป็นธรรมดาของประเทศที่เพิ่งเปลี่ยนแปลงการปกครองไม่ถึงหนึ่งศตวรรษ ผนวกกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมจากยุคเก่าสู่ยุคใหม่อย่างรวดเร็วทำให้บาง ครั้งเรื่องบางเรื่องก็ยังคงเป็นคำถามที่ไม่รู้จักจบสิ้นในยุคเปลี่ยนถ่าย แบบนี้
คำ ถามคลางแคลงใจจำนวนมากเกิดขึ้นกับพระเจ้าอยู่หัวกับเรื่องการเมือง ผมจะขอยกเรื่องที่เข้ากับบทความนี้มาเพียงสามคำถามที่เคยได้พบมาให้อ่านกัน นะครับ
“พระมหากษัตริย์” อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ จริงหรือไม่?
“พระราชอำนาจแต่เดิม” ของพระมหากษัตริย์แต่ยุคโบราณ(การปกครองแบบเก่า)ได้สูญสิ้นไปแล้ว จริงหรือไม่?
“วิจารณ์” พระมหากษัตริย์ คือเรื่องต้องห้ามมาตั้งแต่โบราณจนถึงยุคประชาธิปไตย จริงหรือไม่?
เรามาพิจารณากันทีละประเด็นเลยครับ

“พระมหากษัตริย์” อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ จริงหรือไม่?
ในทางกฎหมาย สถานะของพระมหากษัตริย์ถูกกำหนดโดยรัฐธรรมนูญ แปลง่ายๆคือ “ผู้กำหนด” ต้องมีสถานะสูงส่งกว่า ดังนั้นพระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ เป็นสิ่งที่ถูกต้องแล้วครับ แต่ก็มีคำถามต่อมาว่า ก่อนที่จะประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พระมหากษัตริย์ต้องลงพระปรมาธิไธยก่อนไม่ใช่หรือ งั้นหมายความว่าพระมหากษัตริย์คือผู้อนุญาตให้ใช้รัฐธรรมนูญไม่ใช่หรือ? คำตอบคือก่อนประกาศใช้ต้องให้พระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยนั้นถูกต้องครับ ซึ่งก็เป็น “พระราชอำนาจ” อย่างหนึ่ง ดังที่ผมได้กล่าวไว้ในตอนที่ ๑ พระราชอำนาจที่ว่าคือการใช้อำนาจ “แทน” ปวงชนชาวไทย เมื่อเสียงส่วนใหญ่ในประเทศยอมรับรัฐธรรมนูญแล้ว พระมหากษัตริย์ก็จะใช้พระราชอำนาจ “แทน” ปวงชนชาวไทย “ลงพระปรมาภิไธย”(ลายเซ็น) ว่าคนไทยส่วนใหญ่นั้น “เห็นชอบแล้ว” กับรัฐธรรมนูญฉบับนี้
แต่ถ้าหากประชาชนส่วนใหญ่เห็นชอบ แต่พระมหากษัตริย์ไม่ลงพระปรมาภิไธยแบบนี้ก็ไม่ถูกต้อง ถือว่าเป็นการใช้พระราชอำนาจเกินขอบเขต
(เราต้องรับรู้สภาพความเป็นจริงอย่างหนึ่ง คำว่า “แทนปวงชนชาวไทย” นั้นไม่ได้หมายถึงปวงชนชาวไทยทั้งหมด แต่เป็นเพีงกลุ่มผู้ปกครองบ้านเมือง หรือชนชั้นผู้ปกครอง อันได้แก่ รัฐบาล สสร. คณะรัฐประหาร เป็นต้น ซึ่งชนชั้นผู้ปกครองนี้เรียกตัวเองว่า “ตัวแทนประชาชน” ดังนั้นเมื่อผู้ปกครองบ้านเมืองแก้รัฐธรรมนูญ ก็หมายความว่าประชาชนร่วมแก้รัฐธรรมนูญด้วย เป็นเรื่องอันปรกติในการปกครองแบบประชาธิปไตย)
ซึ่งการลงพระปรมาภิไธยนั้นก็ยังหมายถึงว่าพระมหาษัตริย์ “ยอมรับ” รัฐธรรมนูญ และยอมอยู่ใต้รัฐธรรมนูญฉบับนั้นเช่นเดียวกับประชาชน เพียงแต่ประชาชนกับพระมหากษัตริย์สถานะต่างกันเท่านั้น!
“พระราชอำนาจแต่เดิม” ของพระมหากษัตริย์แต่ยุคโบราณ(การปกครองแบบเก่า)ได้สูญสิ้นไปแล้ว จริงหรือไม่?
ผมได้ อธิบายเรื่องพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยไปแล้วในตอน ที่ ๑ กลับไปอ่านดูก่อนได้ครับสำหรับท่านที่ไม่ได้อ่าน แต่ในตอนที่ ๒ จะกล่าวถึง “พระราชอำนาจแต่เดิม” ของพระมหากษัตริย์ครับ
“แต่เดิม” หมายความถึงยุคก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ ซึ่งจะว่าไปแล้วอำนาจของพระมหากษัตริย์ก็ไม่ได้มากพ้นล้นฟ้าท่วมดินแต่อย่างไร “อำนาจ” ต่างๆล้วนมีข้อจำกัด เช่นเดียวกัน “พระราชอำนาจ” ก็มีข้อจำกัด!
สิ่งทีเป็นข้อจำกัดในการใช้พระราชอำนาจหลักๆก็มีด้วยกันสามอย่างคือ “ธรรมเนียมราชสำนัก(กฎหมาย) , ทศพิธราชธรรม , ขุนนาง”
ยุคสมัยราชาธิไตยก็มีการบัญญัติ “กฎหมาย “ไว้ ปกครองบ้านเมือง โดยผู้บัญญัติก็คือกษัตริย์ กรอบที่สร้างขึ้นมานี้ก็เป็นการจำกัดไม่ให้ประชาชนทำผิด รวมทั้งมีบทลงโทษ ที่สำคัญคือกษัตริย์แม้จะเป็นผู้บัญญัติแต่ก็ต้องอยู่ในกรอบของกฎหมายนั้น ด้วย และพระองค์ยังต้องเป็นผู้สะสางคดี (ซึ่งก็มีตัวแทนพระองค์ตัดสิน) ด้วยความเป็นธรรม อีกทั้งธรรมเนียมที่มากมายของราชสำนัก กฎมณเฑียรบาล ก็ยังมีส่วนในการควบคุมการใช้พระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ด้วย
“ขุนนาง” ฟันเฟืองสำคัญในการบริหารราชการแผ่นดิน หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมขุนนางถึงได้เป็นหนึงในกรอบจำกัดพระราชอำนาจของพระ มหากษัตริย์ทั้งๆที่ขุนนางเป็นเพียง “ข้าราชการ” ที่ต้องสนองพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ แต่ทว่าที่ปรากฎในพงศาวดารตั้งแต่อยุธยาจนถึงรัตนโกสินทร์จะพบว่าเมื่อใดที่ ขุนนางรวมหัวกันไม่ยอมรับในพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์เมื่อนั้นบ้านเมือง ก็จะระส่ำ ความไม่เป็นปึกแผ่นของ “เจ้า-ข้า” ย่อมทำให้การบรหารงานเป็นไปด้วยความยากลำบาก
ในอดีตขุน นางสามารถท้าทายกษัตริย์สถาปนาสองราชวงศ์ปกครองกรุงศรีอยุธยา จนมาถึงกรณีวิกฤตวังหน้าในสมัยพระพุทธเจ้าหลวงอีก เพียงเท่านี้ก็แสดงให้เห็นแล้วว่า “อำนาจ” ของขุนนางนั้นก็ไม่ได้ด้อยกว่าพระมหากษัตริย์ แต่อยู่ที่พระมหากษัตริย์เองที่ว่าจะสามารถควบคุมขุนนางได้มากน้อยเพียงใด ควบคุมได้มากพระราชอำนาจย่อมมากตาม ควบคุมได้น้อยพระราชอำนาจก็น้อยลงไป!
“ทศพิธราชธรรม” เมื่อความเป็นพระมหากษัตริย์เปลี่ยนจาก “สมมติเทพ” เป็น “ธรรมราชา” โดยใช้หลักธรรมคำสอนทางพุทธศาสนามาเป็นกรอบควบคุมการใช้พระราชอำนาจ ไม่ให้เกินเลยและเบียดเบียนราษฎร และเพื่อให้ลักษณะการปกครองดูอ่อนโยนลงตามหลักศาสนาไม่ใช่ความแข็งกร้าวตาม แบบสมมติเทพ
ทั้งนี้ไม่ ว่าจะพระมหากษัตริย์หรือคนธรรมดา เมื่อมีธรรมะในใจแล้ว การอยู่ร่วมกันในโลก การบริหารงานร่วมกับผู้อื่น ย่อมเป็นไปโดยง่ายเช่นกัน
เมื่อเราได้ย้อนกลับไปดูรูปแบบ “พระราชอำนาจ” ในสมัยโบราณแล้วก็จะพบว่าในยุคสมัยที่พระมหากษัตริย์ยังเรืองพระราชอำนาจมากกว่าใครในแผ่นดิน จนถึงขนาดฝรั่งบันทึกว่า “คำพูดคือกฎหมาย” นั้นดูยังจะไม่จริงเลยทีเดียว “พระราชอำนาจ” ที่ดูแสนจะยิ่งใหญ่ก็เป็นแต่เพียงเรื่องกล่าวขานเพื่อยอพระเกียรติยศ แต่ในทางปฏิบัติแล้วพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ล้วนถูกกฎหมาย หลักธรรม และขุนนาง เข้าควบคุม
“วิจารณ์” พระมหากษัตริย์ คือเรื่องต้องห้ามมาตั้งแต่โบราณจนถึงยุคประชาธิปไตย จริงหรือไม่?
ผมเข้าใจ ว่าเรื่องวิจารณ์พระมหากษัตริย์กับเรื่องการวิจารณ์รัฐบาลเป็นเรื่อง ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน คือวิจารณ์ว่าทำไมรัฐออกนโยบายอย่างนั้น ทำไมรัฐดำเนินการอย่างนี้ เป็นต้น แต่เราต้องมาทำความเข้าใจสภาพสังคม และความเป็นอยู่ของคนสมัยนั้นอย่างหนึ่งว่าเขาไม่มีการสื่อสาร ไม่มีความรู้ และยังคงเชื่อเรื่องสมมติเทพ ถ้าไม่ใช่ชนชั้นปกครอง ชนชั้นศักดินาแล้วย่อมไม่ได้รับรู้ความเป็นไปในเรื่องการปกครองของบ้านเมือง
ชาวบ้านรับ รู เพียงว่าทำไมช้าวราคาแพง ทำไมเกลือราคาแพง นั่นคือเรื่องที่เขาคุยกันและวิจารณ์การบริหารงานของราชสำนักว่ากำหนดนโยบาย ขายข้าวขายเกลืออย่างไร เก็บภาษีอย่างไร ส่วนเรื่องอื่นๆชาวบ้านนอกจากไม่สิทธิรับรู้แล้ว พวกเขาก็ไม่ได้อยากจะเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับอำนาจที่ตนไม่อาจเอื้อมตามความ เชื่อของคนในสังคมสมัยนั้น
จึงเกิด เป็นลักษณะปฏิบัติว่าประชาชนจะไม่วิจารณ์พระมหากษัตริย์ เพราะไม่รู้ว่าจะวิจารณ์อะไร เพราะไม่รู้อะไรที่เกี่ยวกับพระมหากษัตริย์ทีอยู่แต่ในพระบรมหาราชวัง นอกจากเรื่องศึกสงครามแล้ว เรื่องอื่นๆประชาชนย่อมไม่ได้รู้(เช่นเดียวกับผมที่รู้ว่าที่เขาพระวิหาร เกิดปัญหา แต่เรื่องอื่นๆไม่รู้ ดังนั้นจึงไม่เคยเขียนบทความเพื่อวิจารณ์เรื่องเขาพระวิหารเลย)
คนไทยเคารพ และสักการะพระมหากษัตริย์ และด้วยความกริ่งเกรงในพระราชอำนาจที่ถูกสร้างขึ้นจากภายนอก(ตามประสาชาว บ้าน)ก็เลยทำให้ไม่เกิดการวิจารณ์พระมหากษัตริย์(หรือมีแต่ในชนชั้นสูง)ซึ่ง สิ่งเหล่านี้ก็กลายมาเป็นธรรมเนียมปฏิบัติว่าไม่สมควรวิจารณ์พระมหากษัตริย์ สืบมา
ดังนั้นแม้เราจะเข้าสู่ยุคประชาธิปไตย ยุคที่พระมหากษัตริย์ไม่ได้มีอำนาจใดๆ มีแต่เพียง “พระบารมีปกเกล้า” การวิจารณ์ย่อมเกิดขึ้นกับคน “หัวสมัยใหม่” ที่น้อมเอาประชาธิปไตยจากฝากตะวันตก แนวคิลัทธิมาร์ก ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องผิด แต่คงจะต้องกล่าวเช่นเดิมว่าบางครั้งเราก็ต้องดูพ้นฐานทางสังคมของไทย ๗๐๐ ปีที่ไทยอยู่ใต้ระบอบกษัตริย์ กับ ๘๐ ปี ที่กษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ คนไทยยังแยกไม่ออกเสียทีเดียวกับพระมหากษัตริย์ คติความเชื่อต่างๆยังคงวนเวียนอยู่ในสังคมไทย การเปลี่ยนแปลงเปิดเสรีวิจารณ์พระมหากษัตริย์ยังเป็นเรื่องที่ “สังคมส่วนใหญ่” รับไม่ได้เสียทีเดียว
ผมเชื่อว่าที่คนส่วนใหญ่ยังเลือกที่จะไม่วิจารณ์พระมหากษัตริย์ เพราะ “ความเกรงใจ” คนๆหนึ่งทำงานเพื่อคนอื่นมาทั้งชีวิต แต่กลับถูกคนรุ่นลูกรุ่นหลายมาก่นด่าให้เสียหาย(ที่ไม่ใช่ลักษณะการวิ จารณ์)ผมว่ามันยังไม่ถูกต้องนักครับ และดูไม่สมควรอย่างยิ่ง
ถ้า พระมหากษัตริย์ทรงเลือกที่จะเป็น “สัญลักษณ์” ของชาติ พระองค์ก็คงจะไม่ต้องเสด็จออกทุระกันดารเยี่ยมประชาชน ออกเพียงงานสังคมชั้นสูงก็เพียงพอแบบที่ราชวงศ์ต่างประเทศกระทำกัน แต่พระมหากษัตริย์ได่ทรงเลือกแล้วว่าพระองค์จะเป็นพระมหากษัตริย์ของคนไทย ไม่ว่าประเทศไทยจะอยู่ในรูปบบการปกครองใด หน้าที่ของพระองค์คือเป็นกำลังใจและสร้างความสุขความเจริญให้กับคนไทยทั้ง แผ่นดิน!!

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง