บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอังคารที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2554

เปิดงบฯบริหารจัดการด้าน“น้ำ”ลิ่วปีละ 2.2 หมื่นล้าน

เปิดงบฯบริหารจัดการด้าน“น้ำ”ลิ่วปีละ 2.2 หมื่นล้าน 4,000 โครงการแต่ล้มเหลว–พบบ.ขุมข่ายบิ๊กการเมืองรุมทึ้ง

เปิดงบฯบริหารจัดงานด้านน้ำประเทศไทย ตะลึง!ตัวเลขสูงลิ่วปีละ 2.2 หมื่นล้าน หน่วยงานนับสิบแห่ชงกว่า 4,000 โครงการทั้งกรมชลฯ กรมทรัพยากรน้ำ อบจ.เทศบาล อบต. พบบริษัทเครือข่ายนักการเมืองใหญ่ร่วมรัฐบาล-ฝ่ายค้าน รุมทึ้งแต่ไร้น้ำยาน้ำท่วมทุกปี
       ภายหลังจากเกิดอุทุกภัยครั้งใหญ่ในพื้นที่ภาคกลางหลายจังหวัด สร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจหลายหมื่นล้านบาท  ท่ามกลางความสูญเสียและคราบน้ำตาคำถามหนึ่งก็คือในช่วงที่ผ่านมาประเทศไทย ใช้งบประมาณในการบริหารจัดการด้านน้ำปีละเท่าไหร่ กี่หน่วยงานที่รับผิดชอบ?
       ศูนย์ข้อมูล&ข่าวสืบสวนฯ (www.tcijthai.com) ตรวจสอบพบว่า หน่วยงานกระทรวงหลักที่มีหน้าที่บริหารจัดการเรื่องน้ำ ได้แก่
       1.กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ประกอบด้วย
            1.1.กรมทรัพยากรน้ำ 
            1.2.กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
            1.3 กรมควบคุมมลพิษ
            1.4 กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
            1.5 กรมทรัพยากรธรณี
       2.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์   ประกอบด้วย
             2.1 กรมชลประทาน
             2.2 กรมพัฒนาที่ดิน
     3.กระทรวงมหาดไทย  ประกอบด้วย
             3.1 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
             3.2 กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
             3.3 กรมโยธาธิการและผังเมือง
             3.4 กรมการปกครอง
            3.5 กรุงเทพมหานคร
      4.กระทรวงกลาโหม  ได้แก่ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา
         ที่เหลือเป็นหน่วยงาน อื่น อาทิ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ,สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราช ดำริ,กรมอุตุนิยมวิทยา  เป็นต้น   
         จากการตรวจสอบพบว่า
กรมทรัพยากรน้ำ
       ปีงบประมาณ 2551  (1 ต.ค.2550 -30 ก.ย.2551)  มีการใช้เงิน ค่าก่อสร้าง แหล่งน้ำทั้งสิ้น  687.6 ล้านบาท  (ฝายเสริมระบบนิเวศ 271 แห่ง ฝายน้ำล้น 4 แห่ง  และ อื่นๆ )   งบฯค่าปรับปรุงแหล่งน้ำ  684.5 ล้านบาท  รวมเงินทั้งหมดประมาณ 1,372.1 ล้านบาท  (จากงบประมาณทั้งหมดของกรม  2,584.2 ล้านบาท  ข้อมูลจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2551)
         จากการตรวจสอบพบว่า กรมทรัพยากรน้ำได้ว่าจ้างเอกชนก่อสร้างปรับปรุงฟื้นฟูแหล่งน้ำ  อาทิ ขุดลอกคูคลอง ลำห้วย ฝาย ต่างๆ ทั่วประเทศ  ประมาณ  240  โครงการ  (สัญญาจ้าง) วงเงิน  1,400 ล้านบาท
         ปีงบประมาณ 2552  (1 ต.ค.2551-30 ก.ย.2552)   ว่าจ้างก่อสร้างปรับปรุงฟื้นฟูแหล่งน้ำ  อาทิ  คูคลอง ลำห้วย  ฝาย ต่างๆ  ทั่วประเทศ  ประมาณ   1,000   โครงการวงเงิน   2,215.4 ล้านบาท     

กรมทรัพยากรน้ำบาดาล 
          ปีงบประมาณ 2551  ว่าจ้างโครงการที่เกี่ยวข้องกับน้ำบาดาล ประมาณ 60 โครงการ อาทิ จ้างบริษัทที่ปรึกษา โครงการประเมินผลศักยภาพแหล่งน้ำบาดาลพื้นที่ลุ่มน้ำท่าจีนและแม่กลอง,ศึกษา แก้ไขปัญหาน้ำท่วมและภัยแล้งโดยการเติมน้ำลงสู่ชั้นน้ำบาดาลพื้นที่แอ่งเจ้า พระยา ,ซื้อเครื่อง มือเครื่องใช้   ,ประชาสัมพันธ์, -ขุดเจาะน้ำบาดาล  รวมวงเงิน 560 ล้านบาท
          ปีงบประมาณ 2552   ได้ว่าจ้างโครงการที่เกี่ยวข้องกับน้ำบาดาล ประมาณ 26  โครงการ อาทิ จ้างที่ปรึกษาสำรวจและออกแบบรายละเอียดระบบกักเก็บน้ำใต้ดินบริเวณจังหวัด สุราษฎร์ธานี  ,ก่อสร้างระบบประปาบาดาล ,จ้างประชาสัมพันธ์    รวมวงเงินประมาณ  370  ล้านบาท 

กรมชลประทาน
          ปีงบประมาณ 2551  ว่าจ้าง ก่อสร้างอาคารบังคับ ประตูรายบายน้ำ  เขื่อนป้องกันตลิ่ง  ขุดบ่อ ขุดลอกคู คลอง ลำห้วย   อ่างเก็บน้ำ  ทั่วประเทศ  ประมาณ  1,460 โครงการ วงเงิน 8,500 ล้านบาท
        ปีงบประมาณ 2552  ว่าจ้าง ก่อสร้างอาคารบังคับ ประตูระบายน้ำ  เขื่อนป้องกันตลิ่ง  ขุดบ่อ ขุดลอกคูคลอง ลำห้วย   อ่างเก็บน้ำ  ทั่วประเทศ  ( รวมงบฯประชาสัมพันธ์ภาพลักษณ์องค์กร กรมชลประทาน 19.7 ล้าน)  รวม 2,100 โครงการ วงเงิน 17,400 ล้านบาท
          
กรมพัฒนาที่ดิน 
          ปีงบประมาณ 2551  ว่าจ้าง ขุดสระเก็บน้ำ นอกเขตชลประทาน   ขุดบ่อน้ำขนาดเล็ก สร้างทำนบกั้นดิน   ฝายน้ำล้น ฯลฯ  ประมาณ400 โครงการ วงเงิน 1,200 ล้านบาท
          ปีงบประมาณ 2552    ว่าจ้างขุดสระเก็บน้ำ นอกเขตชลประทาน   ขุดบ่อน้ำขนาดเล็ก สร้างทำนบกั้นดิน   ฝายน้ำล้น ฯลฯ ระมาณ 500 โครงการ  วงเงิน 1,300 ล้านบาท

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 
           ปีงบประมาณ  2551 ไม่มีโครงการ
           ปีงบประมาณ 2552  ว่าจ้างรับเหมาฟื้นฟูแหล่งน้ำ  (ผ่านศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) ทั้งหมด 27 โครงการ วงเงิน ประมาณ 51 ล้านบาท

กรมโยธาธิการและผังเมือง    
           ปีงบประมาณ 2551  มีโครงการปรับปรุงก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง ,ก่อสร้างคันคูกั้นน้ำ ในจ.สตูล พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี อุบลราชธานี สมุทรปราการ พังงา เพชรบูรณ์  รวม   9 โครงการ วงเงิน 67.2  ล้านบาท
           ปีงบประมาณ 2552  มีโครงการพัฒนาเมืองและชุมชน ในการขุดลอกคูคลอง ,ก่อสร้างเขื่อน ป้องกันตลิ่ง  ,ขุดลอกลำห้วย  ในจังหวัดจ่างๆ จำนวน 70 โครงการ  วงเงิน 450 ล้านบาท
      
สำนักปลัดกระทรวงมหาดไทย(ผ่านสำนักงานจังหวัด)
           ปีงบประมาณ  2551  ว่าจ้างขุดลอกคลอง ลำห้วย ต่าง ๆ  4 โครงการ วงเงิน 16.7 ล้านบาท
           ปีงบประมาณ 2552  ว่าจ้างขุดลอกคลอง ลำห้วย ต่าง ๆ 35 โครงการ วงเงิน 93.4  ล้านบาท

กรมการปกครอง  (ส่วนภูมิภาค)  
            ปีงบประมาณ  2551 ว่าจ้างขุดลอกคลอง แหล่งน้ำทั้งหมด  20 โครงการ วงเงิน  41.3 ล้านบาท
            ปีงบประมาณ 2552  จำนวน  244 โครงการ วงเงิน 458 ล้านบาท
                                        
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น (อบต.  เทศบาล , อบจ. 75  แห่ง ,กรุงเทพฯ ) รวมหลายร้อยโครงการแต่กระจัดกระจาย ในส่วนของ อบจ. อาทิ
             องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา (อบจ.นครราชสีมา )  ปีงบประมาณ 2552 มีโครงการขุดลอกคลองต่าง ๆ จำนวน 126  โครงการ (แห่ง)   มูลค่าประมาณ 100 ล้านบาท (โครงการละไม่เกิน 2 ล้านบาท)
             องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ 6  โครงการ   วงเงิน  9.5 ล้านบาท
             องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุพรรณบุรี 4 โครงการ   วงเงิน 6.3 ล้านบาท
             องค์การบริหารส่วนจังหวัดอ่างทอง  20 โครงการ  วงเงิน 42.3 ล้านบาท
             องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครปฐม 44 โครงการ  วงเงิน 76  ล้านบาท  
             เบ็ดเสร็จเฉพาะปี 2552 งบประมาณในการบริหารจัดการน้ำผ่านหน่วยงานเท่าที่ตรวจสอบพบกว่า 2 หมื่นล้านบาท
             และยังพบว่า หลายจังหวัดมีการว่าจ้างบริษัทเครือข่ายนักการเมืองเป็นผู้รับเหมา  อาทิ
             จ.ราชบุรี หจก.แห่งหนึ่งของนักการเมืองใหญ่  (นักการเมืองเคยถือหุ้นปัจจุบันลูกถือหุ้น) เป็นผู้รับเหมาโครงการขุดลอกฟื้นฟูแหล่งน้ำของกรมทรัพยากรน้ำหลายโครงการ
             จ.พิษณุโลกบริษัทรับเหมาของนักการเมืองใหญ่เป็นผู้รับเหมา (นักการเมืองเคยถือหุ้น) โครงการฟื้นฟุแหล่งน้ำของกรมทรัพยากรน้ำหลายโครงการ 
             จ.หจก. ช.ของเครือญาตินักการเมืองใหญ่ (นักการเมืองเคยถือหุ้น) เป็นผู้รับเหมาโครงการขุดลอกแหล่งน้ำขององค์การบริหารส่วนจังหวัดและองค์การ บริหารส่วนตำบลในพื้นที่ จ.นครราชสีมา หลายสิบโครงการ   
             จ.บุรีรัมย์ บริษัทเครือญาตินักการเมืองใหญ่ จ.บุรีรัมย์ (นักการเมืองเคยถือหุ้น) เป็นผู้รับโครงการขุดลอกฟื้นฟูแหล่งน้ำในพื้นที่ภาคอีสานใต้นับสิบโครงการ
             จ.สุพรรณบุรีบริษัทผู้บริจาคเงินให้พรรคการเมืองพรรคหนึ่งเป็นผู้รับเหมา โครงการขุดลอก ฟื้นฟูแหล่งน้ำ ที่อยู่ในความดูแลของกระทรวงเกษตรฯและกระทรวงการท่องเที่ยวฯหลายโครงการ
             ทั้งนี้นักการเมืองดังกล่าวมีตำแหน่งในรัฐบาลชุดปัจจุบันและชุดก่อนๆ
            ..........
หน่วยงานที่มีงบประมาณในการบริหารจัดการ ขุดลอก ฟื้นฟู แหล่งน้ำในปี 2552
หน่วยงาน
จำนวน  (โครงการ) 
วงเงิน  (บาท)
กรมทรัพยากรน้ำ
1,000
2,215.4   ล้าน
กรมทรัพยากรน้ำบาดาล
26
370         ล้าน
กรมชลประทาน
2,100
17,400   ล้าน
กรมพัฒนาที่ดิน
500
1,300     ล้าน
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 
27
  51        ล้าน
กรมโยธาธิการและผังเมือง    
70
450        ล้าน
สำนักปลัดกระทรวงมหาดไทย
35
93.4       ล้าน
กรมการปกครอง  (ส่วนภูมิภาค)
244
458        ล้าน
รวม
4,002
22,337.8  ล้าน
หมายเหตุ: ไม่รวมงบฯขององค์กรส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น
ที่มา : ศูนย์ข้อมูล&ข่าวสืบสวนฯ (www.tcijthai.com)  รวบรวม
ภาพจาก กรุงเทพธุรกิจ
ปรากฏในหน้าแรกที่: 
ข่าวเจาะพาดหัว (สไลด์โชว์)

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง