by นายตะเกียง
กลายเป็นประเด็นร้อนอีกครั้ง เมื่อ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ปัดผุดประเด็น ขอพระราชทานอภัยโทษให้กับ อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ขึ้นมาอีกครั้ง ตามการประกาศในช่วงหาเสียงว่าจะพา ทักษิณ กลับบ้านภายใน 6 เดือนหลังจากพรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาล
กลายเป็นประเด็นร้อนอีกครั้ง เมื่อ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ปัดผุดประเด็น ขอพระราชทานอภัยโทษให้กับ อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร ขึ้นมาอีกครั้ง ตามการประกาศในช่วงหาเสียงว่าจะพา ทักษิณ กลับบ้านภายใน 6 เดือนหลังจากพรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาล
หลังจากที่กลุ่มคนเสื้อแดง นำรายชื่อร่วม 3 ล้าน เข้ายื่นขอพระราชทานอภัยโทษ 2552 ท่ามกลางกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสม และยังอาจเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายด้วย หรือ ฏีกาเถื่อน หรือไม่
จนถูกวิพาก์วิจารณ์อย่างกว้างขาวง ใน การรวบรวมรายชื่อประชาชนผู้บริสุทธ์ นับล้านไปกดดันพระราชอำนาจหรือไม่ และจากการตรวจสอบของอดีตรัฐมนตรี ยุติธรรม พีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค ก็ชัดเจนว่าไม่มี ญาติพี่น้องกระกูลชินวัตร รวมลงรายชื่อ ด้วย จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ ฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษ
วันนี้ รัฐบาล จึงหาทางออก โดยยืมมือ รมว.ยุติธรรม พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ด้วยการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบ และศึกษการขอพระราชทานอัยโทษ ที่มาจากนักวิชาการ และ และบุคคลากรที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรม เพื่อศึกษาความเป็นได้
แต่เมื่อไล่เลียงดูกรรมการแต่ละคนแล้ว จะเห็นได้ว่า 4 ใน 7 คน มีความสัมพันธ์เชื่อมโยง ที่อาจจะเป็นช่วย ทักษิณ เพียงคนเดียว หรือไม่
-วุฒิศักดิ์ ลาภเจริญทรัพย์ คณบดีคณะรัฐศาสตร์ มร. และ ว่าที่ อธิกาบดี มหาวิทยาลัยรามคำแหง ซึ่งเป็นสายใกล้ชิด กับ ประจวบ ไชยสานส์ นายกสภามหาวิทยาลัย พ่อ รัฐมนตรีสาธารณสุข ต่อพงษ์ ไชยสาสน์ พรรคเพื่อไทย
-จุมพล ณ สงขลา อดีตตุลาการศาสรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นหนึ่ง ตุลาการเสียงข้างมากในคดีซุกหุ้น ทักษิณ ชินวัตรเ มื่อปี 2544 ที่ตัดสินว่า พ.ต.ท.ทักษิณไม่ผิด กรณีการปกปิดการถือครองหุ้นภาค 1
-ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา ก็ถูกกล่าวหาว่ามีความสำพันธ์ใกล้ชิดกับรัฐบาลชุดนี้ ถึงขึ้นมีกระแสข่าวว่าจะถูกเสนอชื่อเป็นเลขาธิการ ครม.คนใหม่ แทน ดร.กบ อำพล กิตติอำพล
-ธนพิชญ์ มูลพฤกษ์ อธิบดีอัยการคดีพิเศษ
-ศรีสมบัติ โชคประจักษ์ชัด ประธานคณะหลักสูตรสาขาวิชาอาชญาวิทยาการบริหารงานยุติธรรมและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
-นัทธี จิตสว่าง ผู้ตรวจราชการกระทรวงยุติธรรม เคย ถูกเด้งจากอธิบดีกรมราชทันฑ์ เมื่อปี 2553 สมัยรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ และมีส่วนเกียวข้องการถวายฏีกาของกลุ่มคนเสื้อแดง ตั้งแต่เริ่มต้น ซึ่งมีสายสัมพันธ์แนบแน่นกับพรรคเพื่อไทย ตั้งแต่เป็นอธิบดีกรมควบคุมประพฤติ จนได้ขึ้นอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ในยุคที่ ทักษิณ เรืองอำนาจ
-ชาติชาย สุทธิกลม อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ผู้อำนวยการกองนิติการ กรมราชทัณฑ์ และหัวหน้าฝ่ายอภัยโทษ กรมราชทัณฑ์
ประเด็น การตั้งคณะกรรมการใน กรณีของ ทักษิณ เพียงคนเดียวจะถูกตั้งคำถามว่าเป็นการปฏิบัติ 2 มาตรฐานหรือไม่ เพราะนักโทษที่หนีคดีติดคุก ไม่ได้มีเฉพาะ ทักษิณ เท่านั้น หากจะมีนักโทษคนอื่นต้องการขอพระราชทานอภัยโทษ จะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาตรวจสอบแบบนี้หรือไม่
ที่ สำคัญเมื่อปี 2545 สมัยที่ ร.ต.อ.ปุรชัย เปี่ยมสมบูรณ์ เป็นรมว.มหาดไทย ได้เคยเสนอเรื่องการขอพระราชทานอภัยโทษให้กับนักโทษที่หนีคดีในขณะนั้น ต่อนายกรัฐมนตรีที่ ชื่อ ทักษิณ ชินวัตร ก็ปฏิเสธที่จะเสนอเรื่องขอพระราชอภัยโทษ เพราะเห็นว่า นักโทษยังไม่มารับโทษ จึงไม่เข้าข่ายการขอพระราชทานอภัยโทษ
และการที่ พล.ต.อ.ประชา ผู้รับผิดชอบในการเดินเรื่องนี้ด้วยตั้งคณะกรรมการขึ้นมา เพื่อไม่ตกเป็นเป้าโจมตีของสังคม ที่อาจจะส่งผลกระทบ ต่อเสถียรภาพของรัฐบาล
การ ตั้งคณะกรรมการขึ้นมา เพื่อให้สังคมยอมรับมากขึ้น แลเดินเกมคู่ขนาดไปกับการเคลื่อนไหวมวลชน ของกลุ่มคนเสื้อแดง ทีเดินหน้าผลักดันเรื่องนิ้อย่างเต็มสูบ
ที่ สุดแล้ว หากสังคมไม่ขานรับ ก็ เท่ากับเป็นการหาทางลง ของการขอพระราชทานอภัยโทษ และสร้างเงื่อนไขนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญในที่สุด ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการชุดนี้นั่นเอง ซึ่งพรรคเพื่อไทยเตรียมรับลูกต่อ เสนอเข้าสู่สภาสมัยนิติบัญญัตในช่วงเดือนธันวาคมนี้ เพื่อหาทาง นิรโทษกรรม ให้คนชื่อ ทักษิณ ชินวัตร.
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น