บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554

“ยิ่งทำงบยิ่งเพิ่มบานตะไท!”

ยิ่งทำงบยิ่งเพิ่มบานตะไท!”
นี้ หรือรถไฟฟ้า?
ยุครบ.คุณหนูมาร์ค

ปัจจุบันโครงข่ายรถไฟฟ้าในบ้านเราได้เปิดให้บริการแล้ว 3 เส้นทาง ประกอบด้วย รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้าใต้ดิน หรือ MRT และล่าสุดคือ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต ลิงค์ ที่วิ่งเข้า-ออกระหว่างเมืองกับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

       

แน่นอนว่า
เป็นที่ยอมรับกันว่าการเดินทางด้วยระบบรถไฟฟ้านั้นเป็นทางเลือกที่สะดวก สบายและรวดเร็วที่สุด โดยเฉพาะท่ามกลางมหานครที่รถติดอย่างวินาศสันตะโรเช่นทุกวันนี้ 
ระบบรถไฟฟ้าจึงเป็นการคมนาคมที่เป็นที่นิยมของคนกรุงไปแล้ว
แต่กว่าจะเป็นระบบคมนาคมที่ยอดนิยมในขณะนี้ ประเทศชาติ ประชาชนต้องสูญเสียงบประมาณในการก่อสร้างไปแล้วมากมายเช่นเดียวกัน 
ยิ่งไปกว่านั้นก็เป็นระบบการคมนาคมที่มีข่าวฉาวในเรื่องความไม่โปร่งใสอยู่บ่อยครั้ง สิ่งนี้นั้นเปรียบเสมือนเป็นหอกอันแหลมคมที่คอยทิ่มแทงหัวใจคนไทยที่ร่วมกันเสียภาษีเป็นที่สุด 
แต่คนไทยก็ลืมง่าย เชื่อว่าขณะนี้คงแทบจะไม่มีใครนึกถึงแล้ว!!! 
กองบรรณาธิการสำนักข่าวเอ็นซีเอ็น เห็นว่า ควรค่าต่อการติดตาม จึงนำเรื่องราวทั้งหมดมานำเสนอเป็นตอนๆ


พลิกแผนแม่บทรถไฟฟ้าไทย
อย่างไรก็ตาม จากแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ประเทศไทยจะมีโครงข่ายรถไฟฟ้าเพิ่มอีก 9 สายทาง รวมเป็น 12 สาย โดยจะมีการให้บริการที่หลากหลาย ทั้งบนเดิน ใต้ดิน  รวมไปถึงลอยฟ้า ยิ่งเป็นสิ่งที่คนทุกคนจะต้องช่วยกันจับตาดูเป็นพิเศษมากยิ่งขึ้น เพราะโครงการขนาดใหญ่ก็จะใช้งบประมาณก่อสร้างมหาศาลเช่นกัน ที่สำคัญก็เป็นแหล่งแสวงหาผลประโยชน์ด้วย

สิ่งที่อยากให้ท่านผู้อ่านและประชาชนคนไทยร่วมจับตา ร่วมตรวจสอบ คือ โครงการรถไฟฟ้าที่กำลังอยู่ระหว่างการก่อสร้างในขณะนี้ 4 สายทาง ได้แก่ 1.โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ มูลค่า 1.31 หมื่นล้านบาท (อยู่ระหว่างการก่อสร้าง) 2.โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ มูลค่า 5 หมื่นล้านบาท (จะเซ็นสัญญาในเดือน .. 2553 นี้) 3.โครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง (บางซื่อ-รังสิต) มูลค่า 6.5 หมื่นล้านบาท (จะประมูลในวันที่ 1 ธันวาคม 2553) และ4.โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน (แบริ่ง-สมุทรปราการ) มูลค่า 1.7 หมื่นล้านบาท (จะประมูลในปี 54)

.การช่าง-อิตาเลียนไทย
รวมหัวงาบงบรัฐบาลคุณหนู

ในจำนวน 4 สายทางดังกล่าว มี 3 สายที่เริ่มมีความไม่ชอบมาพากลออกมาแล้ว นั่นคือ

1.สายสีน้ำเงิน ซึ่งขณะนี้คณะกรรมการกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ (ปปช.) ได้ตรวจสอบเอกสารทั้งหมด 64 กล่อง พบความพิรุธหลายประการ อาทิ การกำหนดวงเงิน และการประกวดราคา โดยกรอบวงเงินค่าก่อสร้าง ที่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ขอเปลี่ยนแปลงตัวเลขจาก 48,821 ล้านบาท เป็น 52,460 ล้านบาท เพื่อเพิ่มเติมในส่วนค่าใช้จ่ายการรื้อย้ายสาธารณูปโภค และอื่นๆ ที่เสนอต่อ ครม. เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2552 แต่สำนักงบประมาณ อนุมัติให้ปรับเพิ่ม เป็นเพียง 50,353 ล้านบาท 

ชาญชัย อิสระเสนารักษ์

ซึ่งเรื่องนี้ ชาญชัย อิสระเสนารักษ์ประธานคณะอนุกรรมาธิการตรวจสอบโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน บอกว่า  
คณะอนุกรรมการฯ ได้ตั้งข้อสังเกตถึงกระบวนการกำหนดราคากลางที่รฟม.ไม่สามารถพิจารณาเอกสาร และถอดแบบก่อสร้างได้ทัน จึงใช้แบบ และราคาตามที่บริษัทที่ปรึกษาเป็นผู้ออกแบบ อาจขัดต่อระเบียบพัสดุว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง สำนักนายกรัฐมนตรี ที่ระบุว่าคณะกรรมการกำหนดราคากลางต้องกำหนดราจากแบบโดยละเอียด ทำให้การตั้งราคากลางโครงการนี้อาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย นอกจากนี้พบว่าการกำหนดราคากลางอาจสูงกว่าปกติ ซึ่งเป็นเรื่องน่าประหลาดที่งบการก่อสร้างเพิ่มขึ้นอย่างมาก แต่ ครม.ไม่ได้มีการท้วงติง!”

อย่างไรก็ตาม ในฟากของกระทรวงคมนาคมเอง ได้มีการเผยผลการตรวจสอบของคณะกรรมการประกวดราคาโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสาย สีน้ำเงิน  โดยนาย สุพจน์ ทรัพย์ล้อมปลัดกระทรวงคมนาคม ระบุว่า  กระทรวงคมนาคมไดเพิจารณาผลการตรวจสอบแล้วยืนยันว่า รฟม. ดำเนินการถูกต้องทุกขั้นตอนตามระเบียบการประกวดราคา และเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี ดังนั้นกระทรวงคมนาคมจะสรุปผลการตรวจสอบทั้งหมด ส่งให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง หากไม่มีข้อท้วงติงอื่นๆเพิ่มเติม คาดว่า รฟม.จะสามารถลงนามกับผู้รับงานทั้ง 5 สัญญาได้ภายในเดือนพฤศจิกายนนี้


รุมกินโต๊ะรถไฟฟ้าสีม่วง
ถลุงงบความปลอดภัยเพิ่ม 45 ล้าน

มาที่ สายสีม่วง บ้าง ล่าสุดสัญญา 3 ซึ่งเป็นงานอาคารจอดรถและศูนย์ซ่อมบำรุง มีปัญหาผู้รับเหมาไม่ยอมตอกเสาเข็ม เพราะเกิดความผิดพลาดในการออกแบบ หากต้องตอกเข็มจะทำให้ผู้รับงานต้องจ่ายเงินเพิ่มอีก 45 ล้านบาท ดังนั้นเพื่อเป็นการประหยัดจึงไม่ตอดเสียเลย

พิโธ่ถัง! นี่คือความชุ่ยของผู้รับเหมา โดยไม่คิดถึงเรื่องความปลอดภัยแม้แต่น้อย” 

เออ...คิดได้ยังไง มีปัญหาทำไมไม่แจ้ง ไม่เร่งหาทางออก ไม่นึกถึงเรื่องความปลอดภัยของประชาชนที่จะมาใช้บริการในอนาคตเลยหรือ เกิดวันหน้าเปิดใช้แล้ววันดีคืนดีพังลงมา ใครจะรับผิดชอบ ดีนะที่เรื่องแดงเสียก่อน 
ประเด็นนี้วงในบอกมาว่าหากต้องการให้ผู้รับเหมาตอกเสาเข็ม เอกชนก็เรียกร้องให้รัฐบาลเพิ่มงบให้ก่อสร้างอีก 45 ล้านบาท ซึ่งสุดท้ายแล้วกระทรวงคมนาคมและรัฐบาลก็ต้องให้อยู่แล้ว เพราะเป็นเรื่องของความปลอดภัย 

จะต้องเพิ่มทำไม เมื่อแบบผิดผู้ออกแบบก็ต้องออกแบบใหม่ให้ถูกต้อง และก็ต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายให้ผู้รับเหมาด้วย เว้นเสียแต่มีคนใน รฟม.หรือในกระทรวงคมนาคมเซ็นยอมรับแบบห่วยๆ นี้แล้วให้ผ่าน จึงปิดปากเงียบไม่สามารถเอาผิดกับผู้ออกแบบได้”


                                                    ทุบเสาต้นละ 8 แสน

ส่วน สายสีแดง (ช่วงบางซื่อ-รังสิตสายนี้ก็แปลกๆ เส้นทางก็มีแล้วไม่ต้องเสียเงินค่าเวนคืน ตอม่อก็มีอยู่แล้ว ก็เสาต่อม่ออัปยศ โฮปเวลล์นั่นไง ฐานรากแน่นหนาใช้ต่อได้อย่างสบายๆ ที่สำคัญเป็นทั้งโครงการลอยฟ้าช่วงในเมือง และระดับดินช่วงนอกเมือง แต่มูลค่าโครงการกลับสูงลิบลิ่วถึง 6.5 หมื่นล้าน นี่คือ คำถามที่คาใจคนไทยทั่วประเทศ

ล่าสุดมีวงในออกมาแฉแล้วว่า เรื่องนี้ไม่ธรรมดา แม้จะมีเสาต่อม่อของโครงการโฮปเวลล์อยู่แล้ว แต่จะมีการทุบทิ้งบางส่วน ตรงนี้ไม่เป็นประเด็น แต่ที่เป็นประเด็น คือ การทุบทิ้งดังกล่าวต้องจ้างเอกชนทุบ ค่าจ้างสูงถึงต้นละ 500,000 บาท มันก็เลยทำให้มูลค่าโครงการสูงลิบลิ่ว 
จำได้ว่า ในสมัยรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตรเคยมีความคิดที่จะทุบเสาตอม่อโฮปเวลล์เช่นกัน ตอนนั้นพอมีคนรู้ข่าวก็เสนอตัวขอทุบให้ฟรี โดยจะขอเอาเหล็กเส้นและเศษปูนไปขายเป็นค่าตอบแทนเท่านั้น 
ฉะนั้นเที่ยวนี้ก็เหมือนกัน เมื่อทุบแล้วผู้ทุบสามารถที่เอาเหล็กเส้นในเสาแต่ละต้นไปขายเป็นรายได้เข้ากระเป๋าด้วย ซึ่งวงการก่อสร้างมีการประเมินว่า เฉพาะเหล็กเส้นในเสาแต่ละต้นน่าจะขายได้ไม่น้อยกว่าต้นละ 300,000 บาท ไม่นับถึงเศษปูนที่สามารถขายเป็นอิฐถมที่ได้อีกอย่างน้อยต้นละ 20,000 -30,000 บาท เท่ากับว่างานนี้ บริษัทรับจ้างทุบได้ไปเหนาะๆ 820,000 - 830,000 บาทต่อเสา 1 ต้นเลยทีเดียว 
ซึ่งขณะนี้ รมว.คมนาคมโสภณ ซารัมย์ ได้ไฟเขียวให้ยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย หน่วยงานเจ้าของโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงไปหาผู้มาทุบทิ้งเสาตอม่อโฮปเวลล์แล้ว 
วงในยังกระซิบต่ออีกว่า งานนี้บริษัทคู่สัญญาการรถไฟฯ คือ บริษัท .การช่าง และบริษัทอิตัลไทย เตรียมจ้างบริษัทซับคอนแทรกซ์มาทุบเสาตอม่ออีกต่อหนึ่งด้วย แสดงว่าไม่ธรรมดา ถ้า 2 บริษัทดังกล่าวไม่ได้มากกว่าต้นละ 500,000 บาท จะซับต่อในราคาสูงลิ่วเช่นนี้ได้อย่างไร

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ ความไม่โปร่งใส ที่ซุกอยู่ใต้โครงการไฟฟ้าหลากสี ซึ่งเราคนไทยต้องร่วมกันตรวจสอบ เพื่อให้การใช้เงินภาษีของประชาชนมีความโปร่งใส หยุดบรรดาเหลือบที่คิดจะกินบ้านโกงเมืองอย่าได้คิดทำเช่นนั้น!

          
เรื่องราวทั้งหมดที่กล่าวมานี้หรือ คือสิ่งที่ภูมิใจกันหนักหนาว่า   ประเทศไทยไสสะอาด    
เวลานี้ ปปช. นำศรีษะไปซุกพรม  ที่แห่งใด ไม่เข้าไปตรวจสอบ 
หรือเห็นเป็นเพียงว่า นี้ คือผลงานรัฐบาลที่เทพประทานมา จึงไม่กล้าแตะ!!!


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง