บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

การไร้ความสามารถแข่งขันของชาติ โดย : ปรีดา กุลชล


ความมุ่งหมายหรือทิศทางสำคัญที่สุดของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 คือ ความสามารถในการแข่งขันของชาติ

ซึ่ง เรื่องนี้เป็นจุดอ่อนที่ทำให้ประเทศไทยอ่อนด้อยเรื่องความสามารถแข่งขันบน เวทีโลก เพราะยังไม่มีสถาบันทางเศรษฐกิจของชาติที่ให้ความสำคัญในเรื่องนี้กันอย่าง จริงจัง ทั้งในเวทีการประชุมประจำปีของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และเวทีการประชุมของสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ การที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติรับทราบความก้าวหน้าการจัดทำทิศทางของแผนพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ที่ขาดประเด็นความสามารถแข่งขัน เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2553 นั้น ชี้ให้เห็นจุดอ่อนของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งคณะรัฐมนตรี ที่ขาดความรู้เรื่องความสามารถแข่งขัน มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทยต้องให้ความสำคัญเรื่องนี้เป็นอันดับแรก เพื่อให้ชาติมีความสามารถแข่งขัน เนื่องจากมีการเปิดประชาคมอาเซียนอย่างเป็นทางการในปี 2015 หรือ พ.ศ. 2558

ความสามารถแข่งขันคืออะไร

คนทั่วไปมักคิดว่า ความสามารถแข่งขันคือการต่อสู้แข่งขันกับคู่แข่งเหมือนกีฬามวยหรือกีฬา ฟุตบอล...การต่อสู้กับบุคคลอื่นหรือสู้กับคู่แข่งมิใช่วิธีสร้างความสามารถ แข่งขันตามบทความนี้ วิธีการสร้างความสามารถแข่งขันตามมาตรฐานสากลใช้วิธีการปรับปรุงคุณภาพ (Quality Improvement) จนสามารถผลิตบริการหรือสินค้าให้ประชาชนหรือลูกค้ามีความพึงพอใจคุณภาพ (Customer Satisfaction) ดังนั้น การวางแผนของชาติให้มีความสามารถแข่งขัน คือ การวางแผนให้กระทรวงต่างๆ พัฒนาองค์กรของตนเองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพหรือเพิ่มความสามารถแข่งขัน ซึ่งใช้วิธีการสำรวจหรือชี้จุดอ่อน (Identify) ของกระบวนการทำงาน (Work Processes) เพื่อหาโอกาสให้มีการปรับปรุง (Opportunity for Improvement)... การปรับปรุงคุณภาพตามวิธีนี้ คือ การสร้างความสามารถแข่งขันตามมาตรฐานสากล

การปรับปรุงคุณภาพ (Quality Improvement) คืออะไร

การปรับปรุงคุณภาพให้ทำเป็นระบบได้แก่จัดให้มี "ระบบงาน" (Work Systems) ที่เป็นระบบแสดงความมุ่งหมาย (Purpose) และขั้นตอนวิธีปฏิบัติ (Procedures) ในการปรับปรุงคุณภาพให้ผู้ปฏิบัติงานได้ใช้เป็นคู่มือ...คู่มือที่จำเป็นของ การปรับปรุงคุณภาพอีกอย่างหนึ่งที่ละเว้นมิได้ คือ คู่มือ "กระบวนการทำงาน" (Work Processes) ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในรูปเอกสารที่บรรยายลักษณะการทำงานตั้งแต่จุดเริ่มต้น (Inputs) กระบวนการ (Process) เพิ่มมูลค่า จนออกมาเป็นผลผลิต (Outputs) การมีคู่มือกระบวนการทำงานช่วยให้ง่ายต่อการสำรวจค้นหาจุดอ่อนต่างๆ ในการปฏิบัติงานให้เห็นโอกาสในการปรับปรุง OFI. (Opportunity for Improvement)... เมื่อเห็นจุดอ่อนในกระบวนการทำงานแล้ว ก็ให้แก้ไขที่จุดอ่อนให้เป็นจุดแข็งด้วยวิธีการฝึกอบรมเพื่อกำจัดจุดอ่อน... ด้วยวิธีนี้นี่แหละ คือ การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้องค์กรของท่าน...เมื่อรัฐบาลส่งเสริม ให้มีการปรับปรุงคุณภาพด้วยวิธีข้างต้นอย่างกว้างขวางทั้งภาครัฐและภาคเอกชน นั่นคือ การสร้างความสามารถแข่งขันให้ทั้งประเทศ หากมีการเอาจริงเอาจังพัฒนาในเรื่องนี้ ย่อมส่งผลให้ประเทศไทยมีความสามารถแข่งขันสูงเหนือกว่าชาติอื่นในภูมิภาคอา เซียน และในระดับสากล

วิธีการปรับปรุงคุณภาพเพื่อสร้างความสามารถแข่งขัน...ทำได้อย่างไร

วิธีการปรับปรุงคุณภาพ ในทางปฏิบัติให้มีการตั้งทีมปรับปรุงคุณภาพ PIT (Process Improvement Team) เข้าไปช่วยหน่วยงานที่ต้องการปรับปรุง ทีมนี้เป็นทีมเฉพาะกิจ (Ad-hoc Team) ประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ขนาดของทีมมี 5-7 คน ทุกคนผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการปรับปรุงคุณภาพมาแล้วเป็นอย่างดี ระยะเวลาทำงานปรับปรุงประมาณ 3-5 เดือน เมื่องานปรับปรุงคุณภาพประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดแล้ว ให้ยุบทีม โดยมีการให้รางวัลลูกทีมทุกคนที่พาทีมประสบความสำเร็จบรรลุเป้าหมาย…ราย ละเอียดเพิ่มเติมดู Peter R. Scholtes, The Team Handbook (Madison, WI: Joiner Associates, 1988) ; H. James Harrington, Business Process Improvement (New York : McGraw-Hill, 1991) ; Joseph M. Juran and Frank M. Gryna, Quality Planning and Analysis, (New York : McGraw-Hill, 1993) ; Peter S. Pande, Robert P. Neuman, Roland R. Cavanagh, The Six Sigma Way (New York : McGraw-Hill, 2000) องค์กรใหญ่ในสหรัฐ เช่น G.E. ลงทุนให้พนักงานนับแสนคนเข้ารับการฝึกอบรมวิธีการปรับปรุงคุณภาพหลักสูตร หลายสัปดาห์ บริษัทซัมซุงของเกาหลีปฏิบัติตามโดยใช้วิธีฝึกอบรมเหมือนกับ G.E. จนติดอันดับ Top Ten ของโลกได้...นี่คือ วิธีการปรับปรุงคุณภาพเพื่อสร้างความสามารถแข่งขัน

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเชื่อถือได้หรือไม่

การที่มีหนังสือพิมพ์บางฉบับวิจารณ์แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ง ชาติไม่มีคุณภาพนั้นเป็นความจริง ถึงแม้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 พยายามช่วยโดยบัญญัติให้มีสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติทำหน้าที่ ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีนั้นไร้ค่าโดยสิ้นเชิง เพราะสภาที่ปรึกษาดังกล่าวขาดความรู้เรื่องระบบ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 1-10 แต่ละฉบับเชื่อถือได้ไม่เกิน 15% เท่านั้น เพราะแผนดังกล่าวทุกฉบับไม่มี "ระบบ" รองรับ หลักฐานยืนยันเรื่องนี้ได้จากการวิจัยของ ดร.เดมมิ่ง ที่นานาชาติให้ความเชื่อถือ Edwards W. Deming, The New Economics (Cambridge, MA ; MIT Center for Advance Engineering Study, 1993)

วิธีแก้ให้เป็นแผนที่เชื่อถือได้

ให้มีการวางแผนโดยมีระบบรองรับตามการแนะนำขององค์กรมาตรฐานสากล ISO 9000 : 2008 ได้แก่แผนโฮชิน Hoshin Planning รายละเอียดดู Serv Singh Soin, Total Quality Control Essentials (New York : McGraw-Hill, 1992); Yoji Akao (ed.), Hoshin Kanri: Policy Deployment for Successful TQM (Cambridge, MA: Productivity Press, 1991)

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง