ใน วันที่ 23 พ.ค.จะเป็นวันสุดท้ายของการส่งสมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ และวันที่ 24 พ.ค.จะเป็นวันแรกของการรับสมัคร ส.ส.ระบบเขตเลือกตั้ง แต่จู่ ๆ ใครจะคิดว่า พรรคการเมืองอย่างพรรคความหวังใหม่ที่ ’บิ๊กจิ๋ว“ หรือ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี ตั้งขึ้นมาเองกับมือ จะปรากฏตัวและกระโดดลงสู่สนามการเลือกตั้ง 3 ก.ค.นี้
นายชิงชัย มงคลธรรม อดีตสมาชิกพรรคที่ปัจจุบันรั้งตำแหน่งหัวหน้าพรรคความหวังใหม่ เปิดเผยว่า พรรคความหวังใหม่จะส่งผู้สมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ ในจำนวนนี้มีชื่อ นายคฤกพล ยงใจยุทธ บุตรชายของ พล.อ.ชวลิต อดีตหัวหน้าพรรคความหวังใหม่อยู่ในบัญชีรายชื่อผู้สมัครส.ส.ระบบบัญชีราย ชื่อ ที่สำคัญในวันที่ 23 พ.ค. พล.อ.ชวลิต จะมาบรรยายในหัวข้อ ’การปกครองแบบประชาธิปไตย ในกระแสสูงของสถานการณ์ปฏิวัติ“ ระหว่างการจัดสัมมนาผู้สมัครของพรรคที่โรงแรมรามาการ์เด้นส์อีกด้วย
ใครจะมองว่างานนี้ “ไม่มีราคา” ก็มองได้ หรือใครจะมองว่า เป็นปรากฏการณ์ “การเมือง” ที่อย่าได้มองข้ามเด็ดขาดก็มองได้เช่นกัน เพราะอย่าลืมว่า พล.อ.ชวลิต นั้นได้ชื่อว่าเป็นนักการทหารนักการเมือง ที่มี ’สีสัน“ ที่สุดคนหนึ่ง มีผู้เปรียบเปรยไว้ว่า พล.อ.ชวลิต ชอบแก้ไขปัญหาด้วยการ ’ลาออก“ แต่การ “ลาออก” หรือการเคลื่อนไหวของ พล.อ.ชวลิต ก็ยังอยู่ในสายตาของการเมืองอยู่ตลอด
ถ้าแบ่งเส้นทาง “ทางการเมือง” ของพล.อ.ชวลิต ก็น่าจะแบ่งได้เป็น 3 ยุค ยุคแรกตั้งแต่การลาออกจากกองทัพมาตั้งพรรคความหวังใหม่เมื่อปี 2533 พร้อม ๆ กับประกาศเดินทาง 200,000 เมตร จนก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดทางการเมืองคือเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 22 หลังการเลือกตั้งเมื่อปี 2539 จากนั้นได้ลาออกเมื่อปี 2540 ในช่วงเกิดวิกฤติ “ฟองสบู่” จากนั้นก็ลงสมัครรับเลือกตั้งปี 2544 ได้เป็นรัฐบาลร่วมกับพรรคไทยรักไทยโดยมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีและเกิดการ ’ยุบรวมพรรค“ ในที่สุด จากนั้นก็รับตำแหน่งในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ และลาออกในท้ายที่สุด
ยุคต่อมาน่าจะเริ่มตั้งแต่การประกาศตัวเป็น ’โซ่ข้อกลาง“ ก่อนการเลือกตั้งปี 2550 เชื่อหรือไม่ว่า ช่วงนั้น พล.อ.ชวลิตถูกจับตามองมากที่สุดว่าจะเป็นหัวหน้าพรรคพลังประชาชน พรรคการเมืองที่ตั้งขึ้นมาแทนที่พรรคไทยรักไทย แต่สุดท้าย ’หวยล็อก“ ก็ไปออกที่นายสมัคร สุนทรเวช ครั้นเกิดการเปลี่ยนขั้วทางการเมือง จนได้ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ น้องเขย พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 26 พล.อ.ชวลิต ก็กลับมามีบทบาทอีกครั้งในฐานะรองนายกรัฐมนตรีและมีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องกับ การสลายการชุมนุมในเหตุการณ์ ’7 ตุลา 51“ ที่หน้ารัฐสภา ช่วงนั้น พล.อ.ชวลิต หายเงียบไปและกลับมาเป็นข่าวอีกหลัง ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดและส่งเรื่องให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทาง การเมือง พล.อ.ชวลิตก็ประกาศ ’กลับมา“ ทางการเมืองอีกครั้งด้วยการเดินไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยและได้ตำแหน่ง ประธานที่ปรึกษาพรรคในที่สุด
การกลับมาของ พล.อ.ชวลิต ได้ทำให้เกิดความฮือฮาเพราะมี “คำเตือน” ทางการเมืองที่ไม่ค่อยจะได้เห็นบ่อยครั้งนักจาก พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ที่ให้สัมภาษณ์ไว้เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2552
“เรื่องที่มีคนไปเขียนลงในหนังสือพิมพ์ในทำนองว่า ผมไปว่าเขาเป็นคนทรยศต่อชาติ ซึ่งอันนี้มันก็ไม่ถูกต้อง แต่สิ่งที่ถูกต้องคือ วันนั้นก่อนที่จิ๋วจะไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยผมก็ให้คนไปบอกเขาว่า จะทำอะไรก็ขอให้คิดให้รอบคอบ ไตร่ตรองให้รอบคอบ โดยผมใช้คำว่า “ไตร่ตรองให้รอบคอบ” ไม่อย่างนั้นมันจะกลายเป็นการกระทำที่เป็นการทรยศต่อชาติ นี่เป็นข้อความที่ผมสื่อไป ไปถึงจิ๋ว ในตอนเช้าวันนั้น และผู้สื่อข่าวนี้ เขาก็มายืนยันว่า เขาสื่ออย่างที่ผมพูด เพราะว่าเขาจดที่ผมขอให้เขาสื่อเพราะฉะนั้นผมไม่ได้กล่าวหาว่า เขาเป็นคนไม่ดีทรยศต่อชาติบ้านเมือง มันไม่ใช่”
มีเหตุผล 5 ข้อที่ พล.อ.ชวลิต ระบุไว้ว่า ’ทำไม“ ต้องเดินมาที่พรรคเพื่อไทยแห่งนี้ ประกอบด้วย 1. เพราะต้องการพิสูจน์ว่าพ.ต.ท.ทักษิณ พรรคเพื่อไทยและกลุ่มคนเสื้อแดง มีความจงรักภักดีต่อสถาบันจริงหรือไม่ 2. ต้องการแก้ความขัดแย้งในบ้านเมือง 3. ต้องการแก้ปัญหาไฟใต้ 4. ต้องการแก้ปัญหาความขัดแย้งกับประเทศเพื่อนบ้านและ 5. ต้องการแก้ปัญหาความยากจน
พล.อ.ชวลิต ย้ำด้วยว่า ภารกิจครั้งนี้มีเวลาจำกัด แต่สุดท้ายหลังการชุมนุมคนเสื้อแดงเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 54 ที่ผ่านมา พล.อ.ชวลิต ก็ส่งสัญญาณผ่านคนใกล้ชิดว่า อึดอัดใจกับเนื้อหาที่แกนนำบางคนปราศรัยจนกลายมาเป็นคดีที่กองทัพบกดำเนิน การฟ้องร้อง ที่สุดพล.อ.ชวลิต ก็ทิ้งพรรคเพื่อไทยด้วยการยื่นใบลาออก
ช่วงนั้นถือเป็น ’สถานการณ์“ ที่น่าห่วงของพรรคเพื่อไทยอย่างยิ่ง เพราะมีปรากฏการณ์ช่วงชิงเก้าอี้ ’เบอร์ 1“ พรรคเข้ามาผสมปนเปด้วย แต่สุดท้ายก็ไม่มี ’เด็กบิ๊กจิ๋ว“ คนใดเดินออกจากพรรคตามมา แม้กระทั่ง ’เสธ.นิด“ หรือ พล.ต.ศรชัย มนตริวัต อดีต ส.ส.กาญจนบุรี นายทหารที่ว่ากันว่าสนิทที่สุดคนหนึ่ง
เหตุการณ์ครั้งนั้น ไม่มีคำอธิบายจากปากของ พล.อ.ชวลิต มีแต่คำอธิบายจากปากคนใกล้ชิดเท่านั้น ท่ามกลางการวิเคราะห์จากทุกฝ่ายว่า การทิ้งพรรคเพื่อไทยด้วยเหตุผลจากคำปราศรัยเมื่อวันที่ 10 เม.ย.นั้น ได้ปกป้องพรรคเพื่อไทยหรือทำให้พรรคเพื่อไทยได้รับความเสียหาย
กันแน่ เพราะสุดท้าย แกนนำอย่าง นายจตุพร พรหมพันธุ์ ที่แม้จะถูกถอนประกันจากกรณีดังกล่าว แต่ก็ยังเป็นผู้สมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 8
นายชวลิต วิชยสุทธิ์ คนสนิท พล.อ.ชวลิต ซึ่งกลายเป็นผู้สมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 67 เคยระบุว่า พล.อ.ชวลิต จะไม่ทิ้งบ้านเมืองไปไหน
ล่าสุด พล.อ.ชวลิต ก็ปรากฏตัวทางการเมืองกับพรรคความหวังใหม่ที่ตัวเองก่อตั้งและนั่งเป็นหัว หน้าพรรคมาตั้งแต่ปี 33 จนถึงการยุบพรรคในปี 44 แต่พรรคความหวังใหม่ก็ยังถูกก่อตั้งใหม่ภายใต้การนำของนายชิงชัย มงคลธรรม อดีต รมว.ศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 7 พ.ค. 45 และทำกิจกรรมทางการเมืองมาถึงปัจจุบัน พร้อมกับเปลี่ยนสัญลักษณ์ “ดอกทานตะวัน” มาเป็นสัญลักษณ์ใหม่
ในการเลือกตั้งปี 48 และปี 50 พรรคความหวังใหม่ส่งผู้สมัครแต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง หรือแม้แต่การเลือกตั้งซ่อม ส.ส.เขต 6 กรุงเทพฯ เมื่อเดือน ก.ค. 53 พรรคความหวังใหม่ได้ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
พรรคความหวังใหม่ที่ยังเป็นพรรคการเมืองอยู่ จะกลับมาเป็นที่น่าจับตาอีกครั้ง หลังมีทายาทตระกูล ’ยงใจยุทธ“ เข้าร่วมทำกิจกรรมทางการเมือง
พล.อ.ชวลิต ที่เพิ่งอายุครบ 79 ปี ไปเมื่อวันที่ 15 พ.ค.ที่ผ่านมา จะกลับมาสร้างอะไรให้ฮือฮาทางการเมืองอีกครั้งหรือไม่เพราะการเมืองหลังการ เลือกตั้งวันที่ 3 ก.ค.ที่จะถึงนี้จะเป็นการเมืองที่ไม่ยาว ’หลายฝ่าย“ เชื่อว่าหลังวันที่ 31 พ.ค. ปี 55 นักการเมืองบ้านเลขที่ 111 พ้นโทษทางการเมืองออกมา จะเขย่าสถานการณ์อย่างมากไม่ว่าฝ่ายใดจะได้เป็นรัฐบาลก็ตาม
การเมือง ’รอบนี้“ จึงน่าจะเป็นการเมืองรอบใหม่ของพล.อ.ชวลิต และว่ากันว่าใกล้มาถึง ’สงครามครั้งสุดท้าย“ ซึ่งเป็นชื่อในหนังสือที่ พล.อ.ชวลิต เคยเขียนไว้
พรรคความหวังใหม่ในวันนี้ จะเป็น ’ความหวังใหม่“ ของชายชาติทหารผู้ประกาศตัวเองว่า ’ทหารแก่ไม่มีวันตาย“ อย่าง พล.อ.ชวลิต ได้หรือไม่.
นายชิงชัย มงคลธรรม อดีตสมาชิกพรรคที่ปัจจุบันรั้งตำแหน่งหัวหน้าพรรคความหวังใหม่ เปิดเผยว่า พรรคความหวังใหม่จะส่งผู้สมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ ในจำนวนนี้มีชื่อ นายคฤกพล ยงใจยุทธ บุตรชายของ พล.อ.ชวลิต อดีตหัวหน้าพรรคความหวังใหม่อยู่ในบัญชีรายชื่อผู้สมัครส.ส.ระบบบัญชีราย ชื่อ ที่สำคัญในวันที่ 23 พ.ค. พล.อ.ชวลิต จะมาบรรยายในหัวข้อ ’การปกครองแบบประชาธิปไตย ในกระแสสูงของสถานการณ์ปฏิวัติ“ ระหว่างการจัดสัมมนาผู้สมัครของพรรคที่โรงแรมรามาการ์เด้นส์อีกด้วย
ใครจะมองว่างานนี้ “ไม่มีราคา” ก็มองได้ หรือใครจะมองว่า เป็นปรากฏการณ์ “การเมือง” ที่อย่าได้มองข้ามเด็ดขาดก็มองได้เช่นกัน เพราะอย่าลืมว่า พล.อ.ชวลิต นั้นได้ชื่อว่าเป็นนักการทหารนักการเมือง ที่มี ’สีสัน“ ที่สุดคนหนึ่ง มีผู้เปรียบเปรยไว้ว่า พล.อ.ชวลิต ชอบแก้ไขปัญหาด้วยการ ’ลาออก“ แต่การ “ลาออก” หรือการเคลื่อนไหวของ พล.อ.ชวลิต ก็ยังอยู่ในสายตาของการเมืองอยู่ตลอด
ถ้าแบ่งเส้นทาง “ทางการเมือง” ของพล.อ.ชวลิต ก็น่าจะแบ่งได้เป็น 3 ยุค ยุคแรกตั้งแต่การลาออกจากกองทัพมาตั้งพรรคความหวังใหม่เมื่อปี 2533 พร้อม ๆ กับประกาศเดินทาง 200,000 เมตร จนก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดทางการเมืองคือเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 22 หลังการเลือกตั้งเมื่อปี 2539 จากนั้นได้ลาออกเมื่อปี 2540 ในช่วงเกิดวิกฤติ “ฟองสบู่” จากนั้นก็ลงสมัครรับเลือกตั้งปี 2544 ได้เป็นรัฐบาลร่วมกับพรรคไทยรักไทยโดยมี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรีและเกิดการ ’ยุบรวมพรรค“ ในที่สุด จากนั้นก็รับตำแหน่งในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ และลาออกในท้ายที่สุด
ยุคต่อมาน่าจะเริ่มตั้งแต่การประกาศตัวเป็น ’โซ่ข้อกลาง“ ก่อนการเลือกตั้งปี 2550 เชื่อหรือไม่ว่า ช่วงนั้น พล.อ.ชวลิตถูกจับตามองมากที่สุดว่าจะเป็นหัวหน้าพรรคพลังประชาชน พรรคการเมืองที่ตั้งขึ้นมาแทนที่พรรคไทยรักไทย แต่สุดท้าย ’หวยล็อก“ ก็ไปออกที่นายสมัคร สุนทรเวช ครั้นเกิดการเปลี่ยนขั้วทางการเมือง จนได้ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ น้องเขย พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 26 พล.อ.ชวลิต ก็กลับมามีบทบาทอีกครั้งในฐานะรองนายกรัฐมนตรีและมีส่วนเข้าไปเกี่ยวข้องกับ การสลายการชุมนุมในเหตุการณ์ ’7 ตุลา 51“ ที่หน้ารัฐสภา ช่วงนั้น พล.อ.ชวลิต หายเงียบไปและกลับมาเป็นข่าวอีกหลัง ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดและส่งเรื่องให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทาง การเมือง พล.อ.ชวลิตก็ประกาศ ’กลับมา“ ทางการเมืองอีกครั้งด้วยการเดินไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยและได้ตำแหน่ง ประธานที่ปรึกษาพรรคในที่สุด
การกลับมาของ พล.อ.ชวลิต ได้ทำให้เกิดความฮือฮาเพราะมี “คำเตือน” ทางการเมืองที่ไม่ค่อยจะได้เห็นบ่อยครั้งนักจาก พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ที่ให้สัมภาษณ์ไว้เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2552
“เรื่องที่มีคนไปเขียนลงในหนังสือพิมพ์ในทำนองว่า ผมไปว่าเขาเป็นคนทรยศต่อชาติ ซึ่งอันนี้มันก็ไม่ถูกต้อง แต่สิ่งที่ถูกต้องคือ วันนั้นก่อนที่จิ๋วจะไปสมัครเป็นสมาชิกพรรคเพื่อไทยผมก็ให้คนไปบอกเขาว่า จะทำอะไรก็ขอให้คิดให้รอบคอบ ไตร่ตรองให้รอบคอบ โดยผมใช้คำว่า “ไตร่ตรองให้รอบคอบ” ไม่อย่างนั้นมันจะกลายเป็นการกระทำที่เป็นการทรยศต่อชาติ นี่เป็นข้อความที่ผมสื่อไป ไปถึงจิ๋ว ในตอนเช้าวันนั้น และผู้สื่อข่าวนี้ เขาก็มายืนยันว่า เขาสื่ออย่างที่ผมพูด เพราะว่าเขาจดที่ผมขอให้เขาสื่อเพราะฉะนั้นผมไม่ได้กล่าวหาว่า เขาเป็นคนไม่ดีทรยศต่อชาติบ้านเมือง มันไม่ใช่”
มีเหตุผล 5 ข้อที่ พล.อ.ชวลิต ระบุไว้ว่า ’ทำไม“ ต้องเดินมาที่พรรคเพื่อไทยแห่งนี้ ประกอบด้วย 1. เพราะต้องการพิสูจน์ว่าพ.ต.ท.ทักษิณ พรรคเพื่อไทยและกลุ่มคนเสื้อแดง มีความจงรักภักดีต่อสถาบันจริงหรือไม่ 2. ต้องการแก้ความขัดแย้งในบ้านเมือง 3. ต้องการแก้ปัญหาไฟใต้ 4. ต้องการแก้ปัญหาความขัดแย้งกับประเทศเพื่อนบ้านและ 5. ต้องการแก้ปัญหาความยากจน
พล.อ.ชวลิต ย้ำด้วยว่า ภารกิจครั้งนี้มีเวลาจำกัด แต่สุดท้ายหลังการชุมนุมคนเสื้อแดงเมื่อวันที่ 10 เม.ย. 54 ที่ผ่านมา พล.อ.ชวลิต ก็ส่งสัญญาณผ่านคนใกล้ชิดว่า อึดอัดใจกับเนื้อหาที่แกนนำบางคนปราศรัยจนกลายมาเป็นคดีที่กองทัพบกดำเนิน การฟ้องร้อง ที่สุดพล.อ.ชวลิต ก็ทิ้งพรรคเพื่อไทยด้วยการยื่นใบลาออก
ช่วงนั้นถือเป็น ’สถานการณ์“ ที่น่าห่วงของพรรคเพื่อไทยอย่างยิ่ง เพราะมีปรากฏการณ์ช่วงชิงเก้าอี้ ’เบอร์ 1“ พรรคเข้ามาผสมปนเปด้วย แต่สุดท้ายก็ไม่มี ’เด็กบิ๊กจิ๋ว“ คนใดเดินออกจากพรรคตามมา แม้กระทั่ง ’เสธ.นิด“ หรือ พล.ต.ศรชัย มนตริวัต อดีต ส.ส.กาญจนบุรี นายทหารที่ว่ากันว่าสนิทที่สุดคนหนึ่ง
เหตุการณ์ครั้งนั้น ไม่มีคำอธิบายจากปากของ พล.อ.ชวลิต มีแต่คำอธิบายจากปากคนใกล้ชิดเท่านั้น ท่ามกลางการวิเคราะห์จากทุกฝ่ายว่า การทิ้งพรรคเพื่อไทยด้วยเหตุผลจากคำปราศรัยเมื่อวันที่ 10 เม.ย.นั้น ได้ปกป้องพรรคเพื่อไทยหรือทำให้พรรคเพื่อไทยได้รับความเสียหาย
กันแน่ เพราะสุดท้าย แกนนำอย่าง นายจตุพร พรหมพันธุ์ ที่แม้จะถูกถอนประกันจากกรณีดังกล่าว แต่ก็ยังเป็นผู้สมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 8
นายชวลิต วิชยสุทธิ์ คนสนิท พล.อ.ชวลิต ซึ่งกลายเป็นผู้สมัคร ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อพรรคเพื่อไทย ลำดับที่ 67 เคยระบุว่า พล.อ.ชวลิต จะไม่ทิ้งบ้านเมืองไปไหน
ล่าสุด พล.อ.ชวลิต ก็ปรากฏตัวทางการเมืองกับพรรคความหวังใหม่ที่ตัวเองก่อตั้งและนั่งเป็นหัว หน้าพรรคมาตั้งแต่ปี 33 จนถึงการยุบพรรคในปี 44 แต่พรรคความหวังใหม่ก็ยังถูกก่อตั้งใหม่ภายใต้การนำของนายชิงชัย มงคลธรรม อดีต รมว.ศึกษาธิการ เมื่อวันที่ 7 พ.ค. 45 และทำกิจกรรมทางการเมืองมาถึงปัจจุบัน พร้อมกับเปลี่ยนสัญลักษณ์ “ดอกทานตะวัน” มาเป็นสัญลักษณ์ใหม่
ในการเลือกตั้งปี 48 และปี 50 พรรคความหวังใหม่ส่งผู้สมัครแต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง หรือแม้แต่การเลือกตั้งซ่อม ส.ส.เขต 6 กรุงเทพฯ เมื่อเดือน ก.ค. 53 พรรคความหวังใหม่ได้ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งแต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง
พรรคความหวังใหม่ที่ยังเป็นพรรคการเมืองอยู่ จะกลับมาเป็นที่น่าจับตาอีกครั้ง หลังมีทายาทตระกูล ’ยงใจยุทธ“ เข้าร่วมทำกิจกรรมทางการเมือง
พล.อ.ชวลิต ที่เพิ่งอายุครบ 79 ปี ไปเมื่อวันที่ 15 พ.ค.ที่ผ่านมา จะกลับมาสร้างอะไรให้ฮือฮาทางการเมืองอีกครั้งหรือไม่เพราะการเมืองหลังการ เลือกตั้งวันที่ 3 ก.ค.ที่จะถึงนี้จะเป็นการเมืองที่ไม่ยาว ’หลายฝ่าย“ เชื่อว่าหลังวันที่ 31 พ.ค. ปี 55 นักการเมืองบ้านเลขที่ 111 พ้นโทษทางการเมืองออกมา จะเขย่าสถานการณ์อย่างมากไม่ว่าฝ่ายใดจะได้เป็นรัฐบาลก็ตาม
การเมือง ’รอบนี้“ จึงน่าจะเป็นการเมืองรอบใหม่ของพล.อ.ชวลิต และว่ากันว่าใกล้มาถึง ’สงครามครั้งสุดท้าย“ ซึ่งเป็นชื่อในหนังสือที่ พล.อ.ชวลิต เคยเขียนไว้
พรรคความหวังใหม่ในวันนี้ จะเป็น ’ความหวังใหม่“ ของชายชาติทหารผู้ประกาศตัวเองว่า ’ทหารแก่ไม่มีวันตาย“ อย่าง พล.อ.ชวลิต ได้หรือไม่.
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น