บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2554

กษัตริย์สำคัญกับการเมือง

เก่งมาจากไหน  จึงไม่เอากษัตริย์ อ.ปราโมทย์ นาครทรรพ

Politics is more dangerous than war, for in war you are only killed once. การเมืองร้ายยิ่งกว่าสงคราม เพราะในสงครามคุณจะถูกฆ่าหนเดียวเท่านั้น”
     
       Winston Churchill
     
       ท่านผู้อ่านที่เคารพ โปรดศึกษาวาทะของวินซตัน เชิชชิล (1874-1965) อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ 2 สมัย (1940-1945/1951-1955) ผมว่าจริง สงครามฆ่าเราได้หนเดียว แต่การเมืองฆ่าเราได้บ่อยๆ ฆ่าได้ตลอดชีวิต ฆ่าทั้งเป็น ตายแล้วยังตามไปฆ่า เกิดชาติหน้าก็ตามล้างตามผลาญอีก ข้ามภพข้ามชาติ ลูกหลานบ้านเมืองของเรามันก็ยังไม่เว้น
     
       ผมยังหวั่นอยู่ว่า การเมืองทรามของเราทุกวันนี้จะก่อสงครามการเมืองเข่นฆ่าคนไทยทั้งชาติและประเทศไทยครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด
     
       ผมว่าไม่มีใครมีประสบการณ์ในเรื่องที่ตนพูดเท่ากับเชิชชิล ผู้ที่พลเอกเปรมนำมาประกบกับพลเอกสุรยุทธ์
     
       เชิชชิลเป็นนายกรัฐมนตรีอังกฤษคนเดียวที่จบจากโรงเรียนนายร้อยแซนเฮิร์ส ผ่านศึกมาอย่างโชกโชน ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ในอินเดียและแอฟริกา ถูกจับเป็นเชลยศึกหนึ่งครั้ง
     
       เมื่อเป็นนายกรัฐมนตรีครั้งแรก เชิชชิลเป็นทั้งสมองทั้งกำลังใจและผู้นำคนสำคัญของอังกฤษและฝ่ายพันธมิตร ทำให้อังกฤษผ่านสงครามโลกครั้งที่ 2 มาได้อย่างผู้ชนะ
     
       เชิชชิลสอบตกถึง 4 ครั้งจึงได้เป็น ส.ส.ในครั้งที่ 5 และเป็น ส.ส.คนหนึ่งที่เข้าๆ ออกๆ อยู่ในสภาสามัญยาวที่สุด (1900-1964)
     
       ครั้งแรก เชิชชิลเป็นนายกรัฐมนตรีรัชกาล George VI (1895- 1952/ ครองราชย์ 1936) มีความสัมพันธ์กันอย่างดีเยี่ยม ถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน แม้กระทั่งร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์และยุทธวิธีสู้ศึกและป้องกันประเทศ เป็นแบบราชประชาสมาสัยหรือประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอย่างแท้จริง
     
       เสร็จสงครามโลกครั้งที่ 2 ผู้มีสิทธิเลือกตั้งกลับกลัววีรบุรุษสงครามจะเหลิง จึงส่งพรรคคอนเซอร์เวตีฟไปเป็นฝ่ายค้าน และมอบตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายค้านของพระเจ้าอยู่หัวให้เชิชชิล ตอนปลายรัชกาลพระเจ้าจอร์จ 6 (1952) ที่เหนื่อยล้าอาทร และเป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของพระราชินีอลิซาเบธ(1926-ปัจจุบัน/ครองราชย์ 6 ก.พ.52)
     
       เชิชชิลเป็นนักอภิปรายนักประวติศาสตร์และนักเขียนชั้นเลิศ และเป็นนายกรัฐมนตรีคนเดียวของโลกที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม
     
       เชิชชิลเคารพพระราชอำนาจของกษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยคืออำนาจแนะนำ ตักเตือนและให้กำลังใจนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีคนอื่นๆ และนำมาใช้รักษาบ้านเมืองได้ผลในยามวิกฤต
     
       นอกจากจะมีพระบรมราชโองการ (จดหมายลับ) ผ่านราชเลขานุการส่วนพระองค์แล้ว ยังมีประเพณีที่นายกรัฐมนตรีจะต้องเข้าเฝ้ารายงานข้อราชการและขอคำปรึกษาเป็นประจำทุกสัปดาห์ เพราะการแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเป็นพระราชอำนาจของกษัตริย์ กษัตริย์ทรงมีพระราชวินิจฉัยถึงความเหมาะสมหรือไม่เหมาะสมของบุคคลที่จะทรงแต่งตั้งกระทรวงหนึ่งกระทรวงใดก็ได้ แต่จะต้องรักษาจารีตและครรลองประชาธิปไตยไม่ลำเลียงหรือฝักใฝ่เข้าข้างพรรคใดๆ
     
       ครั้งหนึ่ง เชิชชิลขอโปรดเกล้าฯ Lord Beaverbrook เป็นรมต.กระทรวง Aircraft แต่พระเจ้าจอร์จไม่เห็นด้วย มีพระราชสาส์นให้นายกฯ พิจารณา “...I wonder if you would not reconsider…I fear that this appointment might be misconstrued” เชิชชิลเข้าเฝ้าอธิบายและยืนยัน King George VI ก็ทรงอนุมัติ
     
       การเข้าเฝ้าฯ รายงานข้อราชการนี้ ถ้าเป็นเรื่องการบริหารที่นายกฯ จะต้องรับผิดชอบต่อสภา นายกฯ อาจเห็นต่างและไม่กระทำตามราชวินิจฉัยก็ได้ ดังนั้นเพื่อมิให้เกิดข่าวหรือกรณีขัดกันระหว่างกษัตริย์กับนายกฯ ของพระองค์ การเข้าเฝ้าฯ จึงเป็นเรื่องรู้กัน 2 คน ไม่มีการจดบันทึกหรือคนอื่นเข้าร่วม การเข้าเฝ้าฯ นี้เกิดประโยชน์มหาศาลต่อประเทศและระบอบการปกครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เพราะทั้งกษัตริย์และนายกฯ ต่างจะต้องทำการบ้านอย่างดี ประมาทเลินเล่อไม่ได้
     
       อีกตัวอย่างเป็นพระราชอำนาจพิเศษ นายกฯ หรือรัฐมนตรีจะออกนอกประเทศได้ต้องมีบรมราชานุญาต เชิชชิลขออนุญาตพระเจ้าจอร์จถึง 2 ครั้ง ที่จะออกไปดูการยกพลขึ้นบกของกองทัพพันธมิตรในวันดีเดย์ที่ 6 มิ.ย. 1944 ที่หาดนอร์มังดีประเทศฝรั่งเศส พระเจ้าอยู่หัวเป็นห่วงเกรงนายกฯ เป็นอันตรายจึงทรงปฏิเสธ และเชิชชิลก็ยอมรับพระบรมราชโองการ จดหมายกราบบังคมทูลว่า “ I must defer to Your Majesty’s wishes and indeed commands”
     
       ราชประชาสมาสัยของอังกฤษแบบนี้แหละที่ทำให้มีคำทำนายว่า ในที่สุดจะเหลือกษัตริย์ในโลกเพียง 5 องค์ คือ King ในไพ่ป็อก 4 และกษัตริย์อังกฤษอีก 1
     
       ถามว่า รัฐมนตรีเราออกไปเล่นกาสิโนหรือตีกอล์ฟกับฮุนเซนได้เองหรือใครอนุมัติ
     
       ประชาธิปไตยของเราเป็นประชาธิปไตยเก๊หรืออาเพศ มิใช่ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข เพราะเรามีทฤษฎีบิดเบือนและเบียดบังพระราชอำนาจว่า “กษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ และอยู่เหนือการเมือง” แต่การเมืองเราอยู่เหนือรัฐธรรมนูญ ไฉนจึงจะลอดลงมาอยู่ใต้รัฐธรรมนูญได้
     
       อังกฤษมีระบบการเมือง 2 พรรค นานๆ พรรคที่ 3 จึงจะดอดมาร่วมได้สักครั้ง พรรคที่แข่งขันขับเคี่ยวกับพรรคคอนเซอร์เวตีฟของเชิชชิล คือพรรคสังคมนิยมที่มีชื่อว่า Labour Party หรือพรรคแรงงาน ซึ่งเดี๋ยวนี้กลับมาครองอำนาจ ตั้งแต่โทนี่ แบลร์ (เกิด 6 พ.ค. 1953 เป็นนายกฯ 2 พ.ค. 1997 ถึง 27 มิ.ย. 2007) นำพรรคเข้าถล่มทลาย แต่ถูกบังคับให้ส่งไม้ต่อให้กอร์ดอน บราวน์ (เกิด 20 ก.พ. 1951)พรรคเดียวกัน
     
       พรรคแรงงานมีสมาชิกและผู้นำพรรคจำนวนมากที่ไม่นิยมกษัตริย์ แต่การณ์กลับปรากฏว่าในแผนปฏิรูปการเมืองของรัฐบาลมิได้กล่าวถึงสถาบันกษัตริย์เลย ผู้คนต่างก็ถึงบางอ้อเมื่อได้ยินคำสัมภาษณ์วันที่ 23 พฤษภาคม 2545 ของโทนี่ แบลร์ และรายการสารคดีทีวี BBC1
     
       แบลร์ซึ่งถูกกล่าวขวัญอยู่เนืองๆ ว่าไม่เคารพพระราชินีกลับบรรยายว่าด้วยหลักของเหตุและผลแล้ว ระบบกษัตริย์ดีกว่าระบบอื่น
     
       แบลร์กล่าวถึงการเข้าเฝ้าฯ ถวายรายงานประจำสัปดาห์ว่า “ทุกคนจะต้องแปลกใจ ที่พระราชินีเข้าถึงเป้า ตรงไปตรงมา และทรงมีความเห็น “ติดดิน down to earth” มากๆ ราวกับทรงจับชีพจรประเทศไว้อยู่ คนทั่วไปอาจคาดไม่ถึง เพราะเคยเห็นพระราชินีแต่ในราชพิธีที่มีสีสันอลังการ แต่ใครที่เคยเฝ้าฯ อย่างไม่เป็นทางการจะเห็นความเรียบง่ายเป็นกันเองและเข้าพระทัยอารมณ์หรือความรู้สึกของคนในบ้านเมืองเป็นอย่างดี
     
       แบลร์รู้สึกแปลกๆ และเคอะเขินในยามที่ได้รับเชิญเป็นแขกไปค้างเวลาแปรพระราชฐานไปวัง Balmoral ประจำทุกปี ที่นั่นนายกฯ ถูกบังคับให้นั่งเฉยๆ รอให้พระราชินี พระราชวงศ์ ปรุงอาหารเสิร์ฟอาหาร และล้างจาน พอบ่อยๆ เข้าคุ้นเคยขึ้น ก็จะเป็นเวลาที่ง่ายและดีที่สุด
     
       แบลร์เล่าว่าพ่อตนนิยมกษัตริย์ และไม่ยอมพลาดทีวีพระราชดำรัสประจำปี ไม่เคยมีใครเลยในแวดวงของแบลร์ที่เป็นสาธารณรัฐนิยม ดังนั้น คนในรุ่นของแบลร์จึงได้ตัดสินใจว่า พระราชินีทรงเป็นศูนย์กลางสำคัญในการรวมชาติ และนี่เป็นระบบที่ดีกว่าระบบอื่น อย่างมีเหตุมีผล มิใช่โดยอารมณ์หรือประเพณี แต่โดยเหตุผล นี่คือระบบที่ดีกว่า (because of how important a unifier for the country the Queen has been that actually this is a better system - rationally, not simply emotionally or as part of tradition - but rationally this is a better system.)
     
       ผมอยากจะถามพวกเราคนไทยว่า เรายอมรับหรือไม่ว่าโดยเฉลี่ยแล้ว คนอังกฤษ คนแคนาดา คนออสเตรเลีย คนนิวซีแลนด์ ที่มีพระราชินีองค์เดียวกัน เขามีระดับการศึกษา ระดับความเป็นอยู่ ระดับความรู้และความสนใจการเมืองดีกว่าพวกเรา ยิ่งกว่านั้นเขายังมีเสรีภาพเต็มเปี่ยมที่จะโต้กันอย่างเปิดเผยทุกวันว่า ระบบกษัตริย์กับระบบสาธารณรัฐ ใครจะดีกว่ากัน
     
       แต่ถึงเวลาลงประชามติทีไร เขาเลือกระบบกษัตริย์ทุกที
     
       ผมอยากจะถามขบวนการสุนัขแดงและบรรดาหัวโจกทั้งหลายว่า
     
       เก่งมาจากไหน จึงไม่เอากษัตริย์



ขาดปราชญ์กษัตริย์ นาวาจะอับปาง

ใน “กษัตริย์ปราชญ์กับศาสตร์แห่งการปกครองประเทศ” ผมได้เปรียบปัญญาบารมีของพระเจ้าอยู่หัวกับเพลโต ปฐมบรมศาสดาทฤษฎีการเมือง และได้เปรียบเทียบพระราชดำรัสเรื่องการแบ่งหน้าที่กันทำให้ดีที่สุดตามฐานะ เพื่อให้เกิดความสงบและสวัสดีต่อส่วนรวมว่า มีหลักคล้ายศาสตร์แห่งการปกครองของเพลโต
     
       พระเจ้าอยู่หัว ถึงแม้จะเป็นกษัตริย์ปราชญ์ แต่มิได้ทรงมีฐานะหรืออำนาจเป็น ruler ตามคำนิยามของเพลโต
     
       Rulers ของประเทศไทย ได้แก่ทหารและนักการเมืองที่ผลัดกันขึ้นมาครองอำนาจ เป็นลูกผสมระหว่าง timarchy กับ plutocracy ของเพลโต ซึ่งเป็นการปกครองของชนชั้นปกครองที่ใช้อำนาจปราศจากปัญญา และมีความทะเยอทะยานเห็นแก่ความยิ่งใหญ่และประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง
     
       การปกครองประเทศของชนชั้นปกครองดังกล่าว มิได้สอดคล้องกับศาสตร์แห่งการปกครองประเทศ หรือการกระทำหน้าที่ให้ดีที่สุดตามพระราชดำรัสของพระเจ้าอยู่หัว
     
       วันที่ 11 ส.ค. 2552 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถทรงเล่าตำนานถึงยุคที่มีดี 1 ส่วน เลว 3 ส่วน ที่เขาถือว่าเป็นกลียุค กลียุค ได้แก่ ยุคที่เราอยู่ในปัจจุบัน
     
       พระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำรัสเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2522 ว่า “บ้านเมืองกำลังล่มจม ไม่รู้ว่าจะไปไหน ไปอย่างไร”
     
       รัฐบาล สื่อ นักวิชาการ หรือชาวไทยให้ความสนใจหรือตอบสนองพระผู้ทรงห่วงใยพสกนิกรและประเทศชาติว่าอย่างไรหรือไม่ เพราะอะไร
     
       ผมเห็นว่าทุกฝ่ายสนใจและปฏิบัติตามไม่พอเพียง โดยเฉพาะพระราชดำรัสสำคัญเรื่องคอร์รัปชัน ซึ่งพระองค์ตรัสว่า ถ้าโกงแม้เพียงบาทเดียว ก็ขอสาปแช่งให้มีอันเป็นไป
     
       ผู้อ่าน คือ“ Yellow Maple” ไม่มองหรือมองไม่เห็นว่าผมต้องการสื่อเรื่องอะไร จึงโพสต์โจมตีผมอย่างดุเดือดว่ามุ่งทำลายนายกรัฐมนตรี ท่านคงไม่เคยอ่านว่าผมวิเคราะห์ รสช. รัฐบาลทักษิณ คมช. หรือรัฐบาลสมัคร-สมชายมากกว่าอภิสิทธิ์เป็นไหนๆ และไม่เคยอ่านหรือฟังผมพูดว่าดีชั่วอย่างไรเราก็ต้องช่วยกันรักษารัฐบาลอภิสิทธิ์ไว้ มิฉะนั้นเราจะได้ระบอบทักษิณกลับมา
     
       แต่เราจำต้องกระตุ้นให้รัฐบาลอภิสิทธิ์ทำหน้าที่ อย่าให้บ้านเมืองเสียหาย
     
       การอัญเชิญพระราชปรารภมาเพื่อเตือนให้นำไปปฏิบัตินั้นย่อมถูกต้อง และมิใช่การดึงพระมหากษัตริย์ลงมาเล่นการเมืองแน่นอน
     
       Yellow Maple เขียนมา 360 คำ มีบางส่วนดังนี้ “อยากบอกให้นายปราโมทย์ นาครทรรพ รับทราบด้วยว่า คนไทยหลายๆ คน มีความพอใจ และชื่นชอบกับนายกรัฐมนตรีคนนี้ และเห็นว่าอย่างน้อยก็เป็นนายกรัฐมนตรีที่ดีที่สุดเท่าที่เราเคยมีมา ตราบใดที่ประเทศชาติยังไม่เกิดวิกฤต หรือมีสุญญากาศทางการเมือง ก็ขอให้นายปราโมทย์ นาครทรรพ เลิกดึงพระองค์ท่านลงมาเกี่ยวข้องกับการเมืองเสียที มิฉะนั้นจะเข้าทางพวกแก๊งเสื้อแดงที่กำลังคอยจับผิดและจาบจ้วงสถาบันอยู่”
       

       ผมรับทราบ แต่ขอติงว่า ทัศนะข้างต้นนั่นแหละเป็นคุณกับทักษิณ เป็นอันตรายต่ออภิสิทธิ์ และเป็นอันตรายต่อสถาบัน ผมเป็นนักวิชาการที่เขียนถึงสถาบันมาหลายสิบปีแล้วด้วยความเทิดทูน เที่ยงตรงตามหลักวิชา ไม่เคยล่วงละเมิด ผมอยากให้ Yellow Maple ไปอ่านพระราชดำรัสเรื่องพระราชอำนาจที่ผมเคยอัญเชิญมาเขียนไว้
     
       ผมเชื่อว่า ตราบใดที่รัฐบาลและนักการเมืองไม่เข้าใจ ไม่เคารพ และกีดกันพระราชอำนาจตามหลักรัฐธรรมนูญและจารีตประชาธิปไตย ตราบนั้นเมืองไทยจะยังไม่เป็นประชาธิปไตย และไม่มีความสงบสุข
     
       เพลโตย้ำนักหนาว่า ตามใดที่ยังไม่มีกษัตริย์และชนชั้นปกครองที่เป็นปราชญ์ หรือถ้าหากผู้มีอำนาจและชนชั้นปกครองยังไม่เข้าใจ ไม่มุ่งมั่นศึกษา ให้เปรื่องปราชญ์เข้าใจศาสตร์แห่งการปกครองประเทศ ตราบนั้น บ้านเมืองจะถูกสาปให้ไปสู่ความล่มจมหรือกลียุคแน่นอน
     
       ผมเห็นใจที่นายกรัฐมนตรีรับมรดกการเมืองและระบบราชการที่ย่ำแย่มาจากระบอบทักษิณ ในวันที่ 22 ธันวาคม 2551 หลังกลับจากเข้าเฝ้าฯ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าได้น้อมรับพระราช ดำรัสใส่เกล้า และย้ำว่า “บ้านเมืองของเราวันนี้ ประสบกับความยากลำบากมาต่อเนื่องพอสมควร มันไม่มีคนใด ไม่ว่าจะเป็นนายกฯ หรือ ครม.ที่จะสามารถทำงานนี้ให้สำเร็จลุล่วงได้ ถ้าไม่ได้รับความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนคนไทยทั้งประเทศ”
     
       ผมนึกถึงพระราชดำรัสวันนั้นตอนหนึ่ง “ถ้าทำไม่ดีจะเป็นคนที่อยู่ในตำแหน่งสูง หรือคนทั่วๆ ไปทำไม่ดี คนหนึ่งคนใดก็ทำให้ประเทศชาติล่มจมได้” หาก คนหนึ่งคนใด ที่ว่านั้นจะใช่หรือมิใช่ทักษิณ ผมขอภาวนาว่าอย่าให้คนนั้นเป็นอภิสิทธิ์
     
       ทางรอดอันประเสริฐของชาติและของอภิสิทธิ์ย่อมรวมถึงการพึ่งพระปัญญาบารมีของกษัตริย์ปราชญ์อีกทางหนึ่งด้วย แล้วความร่วมมือจากพี่น้องประชาชนคนไทยทั้งประเทศก็จะตามมาเอง
     
       ผมมหัศจรรย์ใจที่ 2,000 กว่าปีผ่านไปแล้ว รัฐบาลหรือรัฐนาวาที่เพลโตเปรียบไว้ จะยังสามารถนำมาใช้กับการเมืองการปกครองประเทศไทยได้
     
       “เจ้าของประเทศมีกำลังและความใหญ่โตยิ่งกว่าผู้ที่อยู่ในเรือ แต่ทว่าพากันหูตึงและสายตาสั้นเสียทั้งหมด และก็ไม่มีความรู้เรื่องการเดินเรือเอาเสียเลย ในขณะที่ พวกลูกเรือก็ทุ่มเถียงกันอึงมี่ ต่างก็คิดว่าตนควรจะเป็นผู้มีสิทธิถือพวงมาลัยขับเรือมากกว่าคนอื่น ทั้งๆ ที่ตนเองก็ไม่เคยเรียนวิชาขับเรือ หรือจะอ้างว่าเคยมีครู หรือเคยเรียนมาตั้งแต่เมื่อไหร่ก็ไม่ได้ทั้งนั้น ซ้ำยังอวดดีถือว่าวิชาขับเรือนั้นสอนกันไม่ได้
     
       ใครที่เถียงว่าได้แทบจะถูกฉีกเนื้อออกเป็นชิ้นๆ พวกเขาต่างก็วิ่งกรูเข้าหาผู้บังคับการเรือผู้เป็นนาย ทั้งกราบไหว้อ้อนวอนและทำทุกอย่างที่จะให้นายไว้ใจมอบพวงมาลัยเรือให้ บางทีพวกเขาก็ผิดหวัง แต่เขาก็พากันแก้ลำเข่นฆ่าหรือโยนผู้ที่นายมอบหมายให้ถือพวงมาลัยทิ้งลงทะเลเสีย แล้วก็ครอบงำนายด้วยเครื่องดองของเมา สุรานารีหรือด้วยวิธีการอื่นๆ จนตนเองได้เป็นผู้กุมอำนาจในเรือ สามารถเบิกจ่ายเครื่องของและเสบียงกรังในเรือมาบำรุงบำเรอตนเองและพรรคพวกได้ง่ายดาย
     
       ยิ่งกว่านั้น เขาก็สรรเสริญเยินยอใครที่ฉลาดสามารถหาวิธีการและเหตุผลมาเกลี้ยกล่อมบังคับนายของตนจนอยู่หมัด ใครก็ตามที่เป็นกัปตันอาชีพหรือผู้เชี่ยวชาญการเดินเรือกลับถูกกล่าวหาว่าเป็นคนไม่มีประโยชน์ พวกเขาหารู้ไม่ว่า กัปตันเรือที่แท้จริงนั้นจะต้องศึกษาดาราศาสตร์ ฤดูกาลต่างๆ ของปี และวิถีของลม ตลอดจนความรู้เรื่องอื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับการขับเคลื่อนและบังคับเรืออย่างแท้จริง ซ้ำมิหนำพวกเขายังไม่เคยคิดที่จะเรียนหรือฝึกหัดหรือแม้กระทั่งจะคิดว่านาวิกศาสตร์และวิชากัปตันเรือนั้นเป็นสิ่งที่สามารถเล่าเรียนได้ เมื่อเป็นดั่งนี้ เราจะเชื่อหรือไม่ว่า สิ่งที่จะเกิดบนเรือนั้น ก็คือการถากถางดูถูกกัปตันมืออาชีพว่าเป็นผู้เหม่อมองดูแต่หมู่ดารา ดีแต่พล่ามพูด ทำอะไรก็ไม่เป็นสักอย่าง สู้พวกเขาที่พร้อมทุกอย่างในการนำเรือออกสู่ทะเลไม่ได้”
     
       ขอให้ท่านผู้อ่านนำมาคิดเปรียบเทียบกับเมืองไทยดูเอาเองเถิด
     
       เรือลำนั้น จะไปไหน ไปอย่างไร ไม่มีผู้ใดบอกได้ นอกจากจะเดาว่าจะต้องอับปางล่มจมในที่สุด
     
       

กษัตริย์ปราชญ์กับศาสตร์แห่งการปกครองประเทศ

Plato (428 BC-348 BC) Socrates (469 BC -399 BC) และ Aristotle (384 BC – 322 BC) ชาวกรีกแห่งนครรัฐเอเธนส์ เป็นปฐมบรมศาสดาของปรัชญาเมธีการเมืองตะวันตกที่มีอิทธิพลสูงสุดต่อความคิดและพัฒนาการเมือง (ประชาธิปไตย) ของตะวันตก
     
       สำนักคิดเพลโตเป็นสำนักเดียวที่โดดเดี่ยวยั่งยืนมาจนถึงทุกวันนี้ สำนักรัฐศาสตร์ในศตวรรษที่แล้วจนถึงปัจจุบัน มีอยู่สำนักเดียว ที่ใช้ชื่ออาจารย์เป็นชื่อของสำนักได้ อาจารย์รัฐศาสตร์คนอื่นๆ ไม่ว่าจะโด่งดังเพียงใดก็ไม่สามารถเอาชื่อไปตั้งสำนักได้ ยกเว้น Leo Strauss (September 20, 1899 – October 18, 1973) ที่เป็นสานุศิษย์เชี่ยวชาญปรัชญาเพลโต
     
       คณานุศิษย์ของ Strauss เป็นสำนักรัฐศาสตร์หนึ่งเดียวที่ใช้ชื่ออาจารย์ เรียกว่าสำนัก Straussian ประเทศไทยมีศิษย์เอกรุ่นสุดท้ายที่เรียนโดยตรงกับ Strauss คือศาสตราจารย์ดร.สมบัติ จันทรวงศ์ ซึ่งเรียนเก่งชนะฝรั่ง ได้เกียรตินิยมสูงสุดชั้น summa cum laude
     
       ในยุคที่บุชผู้ลูกเป็นประธานาธิบดีสองสมัย ว่ากันว่า สเตราส์เซียนครองเมือง เพราะสานุศิษย์ของ Strauss หลายคนมีตำแหน่งสำคัญใกล้ชิดตัวประธานาธิบดี สื่อและสังคมขนานนามคนกลุ่มนี้ว่า Neo-Conservative หรือนีโอคอน อนุรักษนิยมใหม่ที่โดดเด่นก็คือ Paul Wolfowitz ประมุขธนาคารโลกที่ต้องลาออกจากเพราะถูกสื่อเปิดโปงเรื่องฉาวขึ้นเงินเดือนและเลื่อนตำแหน่งให้กิ๊ก เขาเคยเป็นมือสองด้านความมั่นคงที่ว่ากันว่ามีบารมีกว่ามือหนึ่งของบุช
     
       Wolfowitz เรียนรุ่นน้องผมที่คอร์เนล นักเรียนส่วนใหญ่เป็นสายพิราบที่รักสันติภาพและความเป็นธรรมสากล แต่ Paul เป็นประมุขของสายเหยี่ยวที่ถูกประณามว่ากระหายสงคราม ชอบใช้แสนยานุภาพของสหรัฐฯ ข่มขู่ประเทศอื่น และไม่มีความเชื่อมั่นในประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ยังผลให้ Leo Strauss ปรมาจารย์ผู้ถูกอุปโลกน์ให้เป็นบิดรแห่งนีโอ คอน ถูกก่นด่าว่าร้ายตามไปด้วย
     
       ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะความตื้นเขินของผู้ที่เข้าใจเพลโตและสเตราส์ไม่เพียงพอ หาว่านิยมเผด็จการ เพราะเพลโตได้วิเคราะห์ความบกพร่องของประชาธิปไตยไว้มาก และเห็นว่าประชาธิปไตยสู้การปกครองแบบอภิชนาธิปไตย aristocra cy ที่ผู้ปกครอง (rulers) หรือประมุขเป็นปราชญ์ (Philosopher Kings)ไม่ได้
     
       ผมขอบอกกล่าวและตั้งคำถามกับท่านผู้อ่านพร้อมๆ กันว่า สภาพภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และวัฒนธรรมของตะวันตกหรือยุโรป ไม่เอื้ออำนวยให้เกิดกษัตริย์ปราชญ์จริงๆ แม้แต่พระองค์เดียว แต่ท่านเชื่อหรือไม่ว่าไทยเราเคยมีกษัตริย์ปราชญ์มาแล้วหลายยุคหลายพระองค์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในหลวงองค์ปัจจุบันที่โลกสรรเสริญว่าเป็นกษัตริย์ของกษัตริย์นั้น พระองค์ทรงเป็นปราชญ์ของปราชญ์อีกด้วย
     
       ผมจะขอเปรียบในหลวงของเรากับเพลโตให้ดู
     
       เพลโตเห็นว่าประเทศหรือประชาชนแห่งนครรัฐนั้นจะฉลาดหากถูกปกครองด้วยปัญญา ปัญญา (wisdom) เป็นคุณสมบัติจำเพาะของผู้ปกครอง (rulers) ในขณะที่ความกล้าหาญ (courage) เป็นคุณสมบัติของผู้คุ้มครอง (auxiliary guardians หรือทหาร)ร่วมกับผู้ปกครองด้วย ส่วนชนชั้นที่สามได้แก่ประชาชนคนงานและผู้ถูกปกครองจะต้องมีคุณสมบัติพิเศษคือ moderation หรือมัชฌิมาปฏิปทาคือความพอดีสายกลาง
     
       ความยุติธรรม (justice) หรือความเป็นธรรมเป็นคุณสมบัติของทุกคนที่ต่างก็ต้องปฏิบัติหน้าที่ของตน (doing one’s own work) ทางสายกลางหรือ moderation ได้แก่การเอาชนะตนเอง ไม่ตกเป็นเหยื่อของอารมณ์ ตัณหาหรือความทยานอยาก ไม่อยากหรือไม่ทำเกินหน้าที่หรือความสามารถของตน จนกระทั่งไปล่วงล้ำหรือทำลายหน้าที่ของคนอื่น
     
       ถ้าทุกฝ่ายทำดังนั้น ก็จะเกิดความกลมเกลียว (harmony) และความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียว (common purpose)
     
       เพลโตเน้นว่า ความยุติธรรมและความเป็นธรรมหรือ justice คือ ความที่ทุกคนมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด และความร่วมมือกันในหมู่พลเมืองอย่างแข็งขัน สันติสุขและความไพบูลย์ก็จะเกิดขึ้นในวิถีชีวิตของบ้านเมือง
     
       ที่กล่าวมา คือ ความมุ่งหมายหรืออุดมคติของศาสตร์แห่งการปกครองประเทศ (statecraft) เมื่อถูกถามว่าสิ่งนี้จะเป็นไปได้จริงหรือ เพลโตตอบว่า
     
       “บ้านเมืองและมนุษยชาติจะไม่มีทางหนีพ้นความชั่วช้า เว้นเสียแต่ว่าปราชญ์จะได้เป็นกษัตริย์ หรือผู้ที่เป็นกษัตริย์จะต้องศึกษาปรัชญาหรือ philosophy อย่างแท้จริงและเพียงพอจนกลายเป็นปราชญ์ อำนาจทางการเมืองและปัญญาบารมีจึงจะผนวกเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว แต่เดี๋ยวนี้ทั้งสองอย่างไปคนละทาง ผู้ที่เลือกเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ไม่มีทางประสบความสำเร็จเลย”
     
       ผู้ที่ไม่สงสัยในความเป็นปราชญ์ของพระเจ้าอยู่หัว จะต้องตระหนักว่า ตั้งแต่ทรงมีปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม” ในหลวงไม่เคยมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศอย่างแท้จริงเลย เพราะพระราชอำนาจตามหลักและจารีตประชาธิปไตยแบบเดียวกับกษัตริย์อังกฤษ คือ พระราชอำนาจทั่วไป พระราชอำนาจพิเศษ พระราชอำนาจสำรอง ถูกชนชั้นปกครอง เผด็จการและรัฐบาลที่ยึดอำนาจมาด้วยกำลังและเงินเบียดบังเอาไปหมด ในหลวงทรงยอมอยู่ใต้กฎหมายทุกฉบับอย่างเคร่งครัด ไม่ว่าใครจะเป็นผู้ออก และทรงคอยจนวินาทีสุดท้ายที่จะกอบกู้บ้านเมืองและประชาชนในยามวิกฤต เนื่องจากการละเว้นหรือละเมิดหน้าที่ของผู้อื่น
     
       การปกครองโดยมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงของปวงชนชาวไทยภายใต้พระปัญญาบารมีของในหลวงตามจารีตประชาธิปไตยจึงยังไม่เกิดขึ้น และถ้าไม่รีบสร้าง ก็คงจะหมดโอกาสในไม่ช้า
     
       ในหลวงทรงมีพระราชดำรัสขอครั้งแล้วครั้งเล่าให้ทุกคนปฏิบัติหน้าที่ของตนให้สุจริตเที่ยงธรรมสุดความสามารถและเคารพหน้าที่ของผู้อื่น เพื่อยังประโยชน์ให้เกิดความสามัคคีและสงบสุขในบ้านเมือง
     
       ขออัญเชิญพระราชดำรัสล่าสุด 5 ธันวาคม 2552 ดังนี้
     
       “ความสุขความสวัสดีของข้าพเจ้าจะเกิดขึ้นได้ ก็ด้วยบ้านเมืองของเรามีความเจริญมั่นคง เป็นปกติสุข.. ความเจริญมั่นคงทั้งนั้น จะสัมฤทธิผลเป็นจริงได้ ก็ด้วยทุกคนทุกฝ่ายในชาติ มุ่งที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนให้เต็มกำลัง ด้วยสติรู้ตัว ด้วยปัญญารู้คิด และด้วยความสุจริตจริงใจ โดยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมยิ่งกว่าส่วนอื่น
     
       จึงขอให้ท่านทั้งหลาย ในที่นี้ ซึ่งมีตำแหน่งหน้าที่สำคัญอยู่ในสถาบันหลักของประเทศ และชาวไทยทุกคน ทุกหมู่เหล่า ทำความเข้าใจในหน้าที่ของตนให้กระจ่าง แล้วตั้งจิต ตั้งใจให้เที่ยงตรง หนักแน่น ที่จะปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ดีที่สุดเพื่อให้สำเร็จประโยชน์ส่วนรวมอันไพบูลย์ เพื่อชาติบ้านเมืองอันเป็นที่อยู่ ที่ทำกินของเรา มีความเจริญมั่นคง ยั่งยืนไป”
       

       ผมขอร้องให้พวกเรากลับไปอ่านพระราชดำรัสวันที่ 22 ธันวาคม 2551 แก่นายกอภิสิทธิ์และคณะรัฐมนตรี ซึ่งมีทั้งหมด 423 คำ ในนั้นมีคำว่า “เรียบร้อย” อยู่ 8 แห่ง ทรงขอร้องอย่าทำให้ชาติล่มจม เพราะปฏิบัติหน้าที่ไม่เรียบร้อย ดังนี้
     
       “ขอให้ท่านพยายามที่จะปฏิบัติงานให้ดีที่สุด เพื่อที่จะให้เมืองไทยมีความเรียบร้อย มีความสุข คือว่า ถ้าทำไม่ดี จะเป็นคนที่อยู่ในตำแหน่งสูง หรือคนทั่วๆ ไปทำไม่ดีคนหนึ่งคนใด ก็ทำให้ประเทศชาติล่มจมได้ ฉะนั้นท่านก็มีหน้าที่สำคัญเพราะท่านอยู่สูง มีหน้าที่สูงก็จะต้องทำให้ประเทศชาติดำเนินไปโดยดี ก็ขอให้ท่านสามารถปฏิบัติงานเพื่อความดีของประเทศ ความสงบสุขของประเทศซึ่งเป็นความจำเป็นที่สุด”
     
       หลังรัฐบาลทำงานครบ 8 เดือนเต็ม ใครเคยอ่านพระราชดำรัสในวันที่ 21 สิงหาคม 2552 บ้าง
     
       “ในระยะนี้บ้านเมืองของเรา เรียกว่าบ้านเมืองกำลังล่มจม ไม่รู้ว่าจะไปไหน ไปอย่างไร” ฯลฯ-ฯลฯ “ ระยะเวลาที่ผ่านมา เรารู้สึกว่า บ้านเมืองเรากำลังล่มจม เพราะต่างคนต่างทำ ต่างคนต่างแย่งกัน ต่างคนต่างไม่เข้าใจว่าทำอะไร
     
       ผมแน่ใจว่าตั้งแต่รัฐประหารปี 2490 เป็นต้นมา เราไม่มี “ศาสตร์แห่งการปกครองบ้านเมือง” ที่เหมาะสม และไม่เคยมีรัฐบาลใดที่เคารพในพระราชอำนาจ หรือคิดจะพึ่งพระปัญญาบารมีอันยิ่งยงของพระเจ้าอยู่หัว
     
       ผมขอถามตั้งแต่นายกรัฐมนตรีลงไปถึงชาวไทยทุกคนว่า ท่านเคยฟังและปฏิบัติตามพระราชดำรัสดีแล้วหรือ
     
       โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รัฐบาลได้รักษาขื่อแปของบ้านเมืองโดยการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดไม่ย่อหย่อนตามหน้าที่ดีหรือยัง
     
       หากเมืองไทยยังขาดความยุติธรรมตามคำนิยามของเพลโตและพระเจ้าอยู่หัว บ้านเมืองจะมีความสงบสุขไม่ได้
     
       นายกฯ อภิสิทธิ์กล่าวเมื่อวันที่ 24 ธันวาคมนี้เองว่า
     
       “ความยุติธรรมเป็นหัวใจไปสู่ความสงบสุข”

พระเจ้าแผ่นดินของข้า กับประเทศของข้า: อนาคตระบบกษัตริย์
ในงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี คนไทยคงเห็นแล้วว่า พระราชาธิบดีในระบบต่างๆ ของโลกเหลืออยู่เพียง 26 ประเทศ ในขณะที่สหประชาชาติมีสมาชิกในปัจจุบันอยู่ 192 ประเทศ ประเทศที่มีอยู่และกำลังจะเกิดขึ้นใหม่ที่ยังมิได้เป็นสมาชิกมีอยู่ไม่เกิน 10 ประเทศ
     
       เป็นที่ถกเถียงกันมาเกือบค่อนศตวรรษแล้วว่า ในที่สุดระบบกษัตริย์จะเหลืออยู่สักกี่ประเทศ คำตอบที่กวนๆ แต่ไม่น่ามองข้ามก็คือ ในอนาคตจะเหลือ king ไม่เกิน 5 องค์ คือ 4 องค์อยู่ในหน้าไพ่ป๊อก อีกองค์หนึ่ง คือกษัตริย์อังกฤษ
     
       แน่นอนที่สุด ในวงถกเถียงนั้น ไม่มีผู้ที่รู้จักประเทศไทย
     
       มีข้อเท็จจริงอันไม่อาจปฏิเสธได้อยู่ 2 อย่าง คือ (1) ประเทศไทยมีพระมหากษัตริย์อันประเสริฐองค์ปัจจุบันมา 60 ปี (2) กฎแห่งความเป็นอนิจจังของสังคม
     
       การพูดถึงสถาบันกษัตริย์เป็นเรื่องยากลำบากมากในเมืองไทย ทั้งนี้เพราะความล้าหลังและอวิชชาใน (1) สถาบันยุติธรรม (2) สถาบันปกครอง (3)
สถาบัน  
ความขัดแย้งระหว่าง "รัฐบาลจอมพล ป." และ
"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ"
การกลับเข้าสู่อำนาจของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๙๑ นำไปสู่รูปแบบการปกครองที่เน้นความสำคัญของผู้นำ ซึ่งก็คือตัวท่านเอง (แต่น้อยกว่าช่วงแรกที่ปกครองประเทศ พ.ศ. ๒๔๘๑-๒๔๘๗) สิ่งที่ จอมพล ป. พยายามกระทำตลอดยุคสมัยของเขาก็คือ การเคลื่อนย้ายบทบาทและอำนาจจากราชสำนักและพระมหากษัตริย์มาสู่ตัวเองในฐานะผู้นำ (ชนิดา ชิตบัณฑิตย์, "โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ : การสถาปนาพระราชอำนาจนำ (พ.ศ. ๒๔๙๔-๒๕๔๘)", (วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๒๕๔๗), น. ๔๙)

ซึ่งในทัศนะของ จอมพล ป. เองก็มิได้ให้ความสำคัญต่อสถาบันพระมหากษัตริย์เท่าไรนัก พฤติกรรมช่วงปี พ.ศ. ๒๔๘๑-๒๔๘๗ ของ จอมพล ป. ที่กระทำต่อสถาบันพระมหากษัตริย์แสดงให้เห็นถึงจุดยืนของ จอมพล ป. อย่างชัดเจน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการพยายามควบคุมทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ หรือการยื่นฟ้องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือการงดจ่ายเงินรายปีเจ้านาย ๒๒ พระองค์
 

นอกจากนี้ สถานการณ์ในช่วงนั้นได้เอื้ออำนวยต่อเจตนาของ จอมพล ป. เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มิได้ประทับอยู่ในพระราชอาณาจักร บทบาทของพระมหากษัตริย์จึงเว้นว่างหายไปนานถึง ๖ ปี นับแต่ พ.ศ. ๒๔๘๙ จนถึงการเสด็จนิวัติครั้งที่สองในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ระยะเวลา ๖ ปีดังกล่าวได้เปิดโอกาสให้ จอมพล ป. สามารถแสดงบทบาทผู้นำแต่ผู้เดียวในสังคมไทยได้อย่างโดดเด่น ส่งผลให้สถานะของพระมหากษัตริย์ต้องถูกบดบังลงไปอย่างมากตลอดช่วงเวลาดัง กล่าว และการดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต้องดำเนินการผ่านคณะผู้สำเร็จราชการแทน พระองค์ทั้งสิ้น

แต่กระนั้น จอมพล ป. ก็ตระหนักถึงความสำคัญของพระมหากษัตริย์ และปรากฏว่ามีหลายต่อหลายครั้งที่จอมพล ป. ได้พยายามแสวงหาการสนับสนุนจากสถาบันพระมหากษัตริย์ เช่น การรัฐประหารเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๐ จอมพล ป. ในฐานะหัวหน้าคณะรัฐประหารอ้างว่า การกระทำของตนคือ "การถวายพระราชอำนาจคืน" (ผ่านทางรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่มีบทบัญญัติขยายพระราชอำนาจให้กว้างขึ้น หลายมาตรา โดยเฉพาะพระราชอำนาจในการเพิกถอนรัฐมนตรี และพระราชอำนาจในการแต่งตั้งวุฒิสภา)

จอมพล ป. ได้ให้สัมภาษณ์เมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๐ ว่า "รัฐประหารครั้งนี้ คณะทหารอยากเปลี่ยนรัฐบาล จะเพิ่มอำนาจพระมหากษัตริย์ให้มากขึ้น ท่านจะได้โอกาสช่วยดูแลบ้านเมือง" (สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, "การเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ต่อต้านรัฐบาลสมัยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม", หน้า ๘๓-๘๔)

นอกจากนั้น จอมพล ป. ยังได้กราบบังคมทุลอัญเชิญเสด็จพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (ผ่านทางคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์) ให้เสด็จพระราชดำเนินกลับมาเยี่ยมราษฎรและถวายพระเพลิงพระบรมศพล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๘ อย่างไรก็ตาม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตัดสินพระทัยงดการเสด็จพระราชดำเนินกลับไว้ก่อน และทรงให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร ประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แจ้งความประสงค์ดังกล่าวต่อรัฐบาล จอมพล ป.



ภายหลังการรัฐประหาร พ.ศ. ๒๔๙๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงสนพระทัยและทรงห่วงใยสถานการณ์ทางการเมืองของ ประเทศ (ขณะนั้นทรงประทับที่ประเทศสวิตเซอร์แลนด์) โดยเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๙๑ ทรงมีพระราชดำรัสทางโทรเลขเรียก พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ (หนึ่งในองค์อภิรัฐมนตรี) ให้เข้าเฝ้าฯ เพื่อทรงซักถามความเป็นไปของบ้านเมืองและทุกข์สุขของราษฎร โดยพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัติทรงแถลงให้ประชาชนได้ทราบโดยทั่วกันว่า "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำรัสซักถามความเป็นไปของราชการบ้านเมืองอย่างละเอียดถี่ถ้วน" (สงบ สุริยินทร์, "พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช", น. ๓๔)


สถานการณ์ ทางการเมืองหลังรัฐประหาร พ.ศ. ๒๔๙๐ การเมืองเต็มไปด้วยความรุนแรง แต่กลุ่มอนุรักษ์นิยมที่สนับสนุนสถาบันพระมหากษัตริย์ (มีพรรคประชาธิปัตย์เป็นตัวแทน) สามารถจัดตั้ง "สภาร่างรัฐธรรมนูญ" ได้เป็นครั้งแรก (สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล, "ความเป็นมาของ 'ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข' ในฐานะอุดมการณ์ราชการ", กรุงเทพธุรกิจ (๒๔ สิงหาคม ๒๕๓๙)) ก่อนที่นายควงจะ "ถูกจี้" ออกจากตำแหน่ง


หลักการสำคัญของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๔๙๒ ก็คือ การเพิ่มพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ในการมีส่วนร่วมบริหารบ้านเมืองมากขึ้น โดยเบื้องต้น จอมพล ป. และพรรคสหพรรคและพรรคประชาชน (ที่สนับสนุนเขา) ต่างก็คัดค้านบทบัญญัติที่สนับสนุนหลักการนั้น เช่น มาตรา ๒ ที่ว่า

" ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข"

(ที่ได้มีการบัญญัติขึ้นเป็นครั้งแรกในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ และเป็นการยกระดับสถานะของสถาบันพระมหากษัตริย์ขึ้น)
หรือมาตรา ๕๙ ที่ว่า "กำลังทหารเป็นของชาติ อยู่ในบังคับบัญชาสูงสุดของพระมหากษัตริย์" หรือ การให้นายกรัฐมนตรี กับรัฐมนตรีต้องปฏิญาณตนต่อพระมหากษัตริย์ก่อนเข้ารับหน้าที่ หรือการถวายสิทธิแก่พระมหากษัตริย์ในการยับยั้งร่างกฎหมายมากขึ้น แต่ในที่สุดฝ่ายคัดค้านก็ได้ยินยอมที่จะประนีประนอมและได้ประกาศใช้รัฐ ธรรมนูญฉบับนี้ในเดือนมีนาคม ๒๔๙๒ (สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, "การเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ต่อต้านรัฐบาลสมัยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม", หน้า ๑๙๑-๑๙๓)

ต่อมาใน ปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ได้เกิดการรัฐประหารขึ้นอีกครั้ง และคณะรัฐประหารได้นำรัฐธรรมนูญฉบับวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ กลับมาใช้อีกครั้ง ส่งผลให้พระราชอำนาจหลายส่วนที่ทรงได้รับจากบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. ๒๔๙๒ ต้องหายไป

หลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสเด็จนิวัติกลับประเทศไทยเป็นครั้งที่ ๒ ในเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๔ ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการฟื้นฟูสถานะของพระมหากษัตริย์ในสังคมไทยอย่างจริงจัง อันจะนำไปสู่ "ความขัดแย้ง" ระหว่าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับ จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในที่สุด

ในช่วงระยะแรก พระราชสถานะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างที่ ทักษ์ เฉลิมเตียรณ อธิบายว่า " ในฐานะที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ยังทรงพระเยาว์อยู่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชจึงไม่ทรงสามารถที่จะบริหารหรือมี พระราชอำนาจเหนือคณะรัฐบาล หรือกิจกรรมทางการเมืองทั่ว ๆ ไปได้" (ทักษ์ เฉลิมเตียรณ, "การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ", น. ๓๕๓)

 

ในเวลาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จนิวัติเมืองไทยครั้งที่สองนั้น สถานการณ์ทางการเมืองในตอนนั้นไม่สู้ดีนัก บ้านเมืองเพิ่งผ่านพ้นความขัดแย้งระหว่างทหารบก (สนับสนุนรัฐบาลของ จอมพล ป.) และทหารเรือ (สนับสนุนท่านปรีดี) ในเหตุการณ์ กบฏแมนฮัตตัน (อันเป็นจุดสิ้นสุดบทบาทกองทัพเรือในเมืองไทย) และในที่สุด จอมพล ป. ก็หมดความอดทนในความวุ่นวายของวุฒิสภาที่มีเสียงคัดค้านรัฐบาลอย่างหนาแน่น จอมพล ป. จึงตัดสินใจ "ยึดอำนาจตัวเอง" ทางวิทยุกระจาย เสียง และตั้งคณะบริหารชั่วคราวในวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๔ ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันและแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ แล้วนำกลับมาใช้แทน
  
การนำรัฐธรรมนูญฉบับวันที่ ๑๐ ธันวาคม กลับมาใช้นี่เอง ได้กลายเป็นความขัดแย้งครั้งแรกระหว่าง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กับ จอมพล ป. เพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไม่ทรงเห็นด้วย และพระองค์ได้ทรงพยายามขัดขวางแต่ก็ไร้ผล (Wilson, David A., 'Politics in Thailand' (New York : Cornell University Press, 1962), p. 114)

หลังจากความพยายามของพระองค์ล้มเหลว พระองค์ก็หันมาเอาพระทัยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญก่อนการประกาศใช้ โดยได้พระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยแก่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ("สยามรัฐ", ฉบับวันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๔) และยังได้เสด็จพระราชดำเนินยังพระที่นั่งอนันตสมาคมเพื่อพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวด้วยพระองค์เอง




รัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. ๒๔๗๕ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๔๙๕ นี้ นอกเหนือจากจะช่วยค้ำจุนอำนาจของจอมพล ป. แล้ว ยังมีบทบัญญัติเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์หลายส่วนที่แตกต่างไปจากรัฐธรรมนูญ ฉบับเดิม และเป็นการแก้ไขที่ช่วยส่งเสริมพระราชอำนาจเพื่อ "คานอำนาจ" ทางการเมือง คือ มาตรา ๔ ที่บัญญัติว่า

"ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้"

(นับเป็นบทบัญญัติที่ประกาศใช้เป็นครั้งแรก) และยังเพิ่มพระราชอำนาจให้แก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเรื่องของการสถาปนาฐานันดรศักดิ์ และพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตามมาตรา ๑๐ นอกจากนี้ ในมาตรา ๑๑ ถึงมาตรา ๒๐ ยังมีการบัญญัติเกี่ยวกับคณะองคมนตรี และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และท้ายสุดได้บัญญัติถึงขั้นตอนหรือวิธีการสืบราชสมบัติไว้ในมาตรา ๒๕ เป็นฉบับแรกอีกด้วย
 
นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เริ่มต้นการเสด็จพระราชดำเนินประพาสเป็นการส่วนพระองค์ยังจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยเฉพาะในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรเกือบทุกจังหวัด และทรงได้รับการต้อนรับจาก
ประชาชนในภาคนี้อย่างกระตือรือร้นมาก
ส่งผลให้รัฐบาลจอมพล ป. มีความวิตกกังวลในความนิยมชมชอบที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้รับจาก ประชาชนมาก และได้ปฏิเสธที่จะให้งบประมาณเพื่อการเสด็จพระพาสภายในประเทศอีก (Wilson, David A., 'Politics in Thailand' (New York : Cornell University Press, 1962), p. 114)

จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมิได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากรัฐบาลจอมพล ป. ทำให้การเสด็จพระราชดำเนินประพาสของพระองค์ช่วงปี พ.ศ. ๒๔๙๙-๒๕๐๐ จำกัดอยู่แต่เฉพาะจังหวัดในภาคกลางเท่านั้น และในช่วง พ.ศ. ๒๔๙๔-๒๕๐๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็ทรงริเริ่มโครงการพระราชดำริ ซึ่ง ชนิดา ชิตบัณฑิตย์ เรียกว่า เป็นโครงการพระราชดำริยุค "ก่อกำเนิด" การริเริ่มโครงการพระราชดำริในระยะแรกก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกับการเสด็จพระ ราชดำเนินประพาสต่างจังหวัด กล่าวคือ การไม่ได้รับความสนับสนุนจากรัฐบาลจอมพล ป. แต่อย่างใด ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนเครื่องมือ ทรัพยากร และเงินทุน โครงการพระราชดำริระยะแรกจึงมีแต่เฉพาะกรุงเทพฯ และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (ชนิดา ชิตบัณฑิตย์, "โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ : การสถาปนาพระราชอำนาจนำ (พ.ศ. ๒๔๙๔-๒๕๔๘)", น. ๕๓)

   


โครงการพระราชดำริระยะแรก ได้แก่ โครงการปลาพระราชทาน การมอบทุนอานันทมหิดล โครงการก่อสร้างถนนแก่หมู่บ้านห้วยมงคล ต.หินเหล็กไฟ จ.ประจวบคีรีขันธ์ โครงการสร้างอ่างเก็บน้ำเขาเต่า อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ โครงการป่าละอู โครงการฝนหลวง เป็นต้น

เนื่องจากในระยะแรกมิได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณจากรัฐบาลเท่าที่ควร การดำเนินงานในชั้นต้นจึงต้องอาศัยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เป็นสำคัญจนกว่าโครงการนั้น ๆ จะได้รับการบรรจุเข้าสู่ระบบของหน่วยงานราชการที่รับสนองพระราชดำริ ตรงนี้มีข้อสังเกตว่าการสนองพระราชดำริของหน่วยราชการยุคนี้ จะใช้เวลาในการสนองพระราชดำริยาวนานกว่าในยุคต่อ ๆ มา (ชนิดา ชิตบัณฑิตย์, "โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ : การสถาปนาพระราชอำนาจนำ (พ.ศ. ๒๔๙๔-๒๕๔๘)", น. ๖๔)
 
การเสด็จพระราชดำเนินประพาส รวมถึงการริเริ่มโครงการพระราชดำริทั้งหลาย ทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงได้รับความนิยมและชื่นชอบ และความเคารพสักการะในหมู่ประชาชนชาวไทยอย่างมาก การเสด็จพระราชดำเนินประพาสจังหวัดต่าง ๆ ล้วนได้รับการต้อนรับอย่างสมพระเกียรติทุกจังหวัดที่ได้เสด็จต่างจัดเตรียม รับเสด็จอย่างวิจิตรตระการตา ประชาชนต่างเฝ้าคอยรับเสด็จอย่างล้นหลาม และเสียงถวายพระพรดังเอิกเกริกไปทั่วบริเวณ สถาบันพระมหากษัตริย์จึงได้รับการฟื้นฟูอย่างรวดเร็ว และกลับคืนสู่ความมั่นคงอีกครั้ง

นอกจากนี้ สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่ช่วยฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์ คือ การจัดตั้งวิทยุกระจายเสียงส่วนพระองค์ (สถานีวิทยุ อ.ส. พระราชวังดุสิต) และการจัดทำภาพยนตร์ส่วนพระองค์ ซึ่งเป็นสื่อที่ช่วยนำเสนอพระราชกรณียกิจของพระองค์ ท่ามกลางสภาพการณ์รัฐบาลที่ยึดกุมพื้นที่สื่อต่าง ๆ อย่างเบ็ดเสร็จ (ชนิดา ชิตบัณฑิตย์, "โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ : การสถาปนาพระราชอำนาจนำ (พ.ศ. ๒๔๙๔-๒๕๔๘)", น. ๖๕-๖๖)

 


แม้ว่าพระราชสถานะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ จะมีความมั่นคงมากขึ้น และบทบาทของพระองค์ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกับพระบารมีของพระองค์ ทว่า ความขัดแย้งระหว่างพระองค์กับ จอมพล ป. ก็ยังไม่ยุติลง ลึก ๆ แล้ว จอมพล ป. ไม่พอใจ และไม่ต้องการสนับสนุนพระราชกรณียกิจ ตลอดจนการแสดงบทบาทของพระองค์ในสังคม แต่ความไม่พอใจและความขัดแย้งดังกล่าวในปี พ.ศ. ๒๔๙๔-๒๔๙๘ ก็ยังไม่มีความรุนแรง และไม่เป็นที่เด่นชัดในหมู่ประชาชนเท่าไรนัก แต่สถานการณ์ความขัดแย้งได้ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๙๙-๒๕๐๐ และท้ายที่สุด ได้เป็นส่วนสำคัญที่นำไปสู่ "จุดจบอย่างถาวร" ของ จอมพล ป. เอง

วันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๙ อันเป็นวันกองทัพไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานพระบรมราโชวาทแก่บรรดาทหารทั้งหลายของพระองค์ตอนหนึ่งว่า

"... เมื่อทหารมีไว้สำหรับประเทศชาติ ทหารต้องเป็นของประเทศชาติ หาใช่ของบุคคลหรือคณะบุคคลใด ๆ โดยเฉพาะไม่... ผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ต้องปกครองทหารในทางที่ชอบที่ควร โดยระลึกถึงความเที่ยงธรรม และหน้าที่อันมีเกียรติของทหาร ทั้งนี้ เพราะทหารได้รับเกียรติและเอกสิทธิ์เป็นผู้กุมอาวุธและกำลังรบของประเทศ เป็นที่เคารพเกรงขามในหมู่ชนทั่วไป ทหารจึงต้องปฏิบัติให้สมกับที่ตนได้รับความไว้วางใจ ไม่ควรไปทำหรือเกี่ยวข้องในกิจการที่มิใช่อยู่ในหน้าที่โดยเฉพาะของตน เช่น ไปเล่นการเมือง ดังนี้เป็นต้น การกระทำเช่นนั้นจะทำให้บุคคลเสื่อมความเชื่อถือในทหารโดยเข้าใจว่าเอาอิทธิพลไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว เวลานี้สภาพการณ์ทั่วโลกยังไม่อยู่ในระดับปกติ ความจำเป็นและสำคัญของทหารย่อมมีมากขึ้น ทหารจึงควรรักษาวินัยโดยเคร่งครัด ประพฤติตนให้เที่ยงธรรม ปฏิบัติหน้าที่ให้อยู่ภายในขอบเขตของตนโดยเฉพาะ เพื่อเป็นที่พึ่งที่เคารพของประชาชนโดยทั่วไป.."
(สงบ สุริยินทร์, "พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช", น. ๑๖๑-๑๖๓) 

พระบรมราโชวาทข้างต้นส่งผลกระทบต่อตัว จอมพล ป. โดยตรง ทำให้ในอีกไม่กี่วันต่อมา จอมพล ป. ได้ออกมาให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ในลักษณะแก้ข่าวว่า

"ในหลวงทรงมีพระราชดำรัสเช่นนั้นเป็นการถูกต้องตามหลักการ แต่พระองค์ท่านคงจะไม่ได้หมายความว่า การที่ทหารเข้าเล่นการเมืองในขณะนี้เป็นการไม่สมควร แต่คงหมายถึงการไปกระทำการที่ต้องผิดกฎหมาย แต่ขณะนี้ทหารก็มิได้กระทำผิดอะไร คงปฏิบัติไปตามกฎหมายทุกประการ" ("ประชาธิปไตย" ฉบับวันจันทร์ที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๙ ฉบับพิเศษ)

 
แต่ความเคลื่อนไหวจากฝ่ายรัฐบาลยังไม่จบ เพราะในวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ปีเดียวกัน ดร.หยุด แสงอุทัย เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาในขณะนั้น ได้วิพากษ์วิจารณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ผ่านทางวิทยุกระจายเสียง กรมประชาสัมพันธ์ (ในการบรรยายเรื่อง อำนาจและความรับผิดชอบในระบอบประชาธิปไตย) โดยส่วนหนึ่งของคำบรรยาย ความว่า

"... องค์พระมหากษัตริย์ไม่พึงตรัสสิ่งใดที่เป็นปัญหา หรือเรื่องราวเกี่ยวกับเศรษฐกิจ การเมือง หรือทางสังคมของประเทศโดยไม่มีรัฐมนตรีในคณะรัฐบาลเป็นผู้รับสนองพระบรมราช โองการ..." (สงบ สุริยินทร์, "พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช", น. ๑๖๖)

ถ้อยแถลงของ ดร.หยุด ได้ก่อให้เกิดความไม่พอใจในสังคมอย่างกว้างขวางว่าเป็นการ "หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ" หนังสือพิมพ์ในขณะนั้นได้ลงบทความโจมตีพฤติกรรมของ ดร.หยุด อย่างต่อเนื่อง ดร.หยุด ได้ยืนยันว่าถ้อยแถลงของตนเป็นไปตามหลักวิชาการ และ กระแสโจมตี ได้มีการพาดพิงไปถึง จอมพล ป. ด้วย โดยกระแสความไม่พอใจ จอมพล ป. มีมากขึ้นหลังจากที่ จอมพล ป. ได้ออกมาปกป้องการกระทำของ ดร.หยุด ด้วยการแสดงความเห็นว่า การกระทำของ ดร.หยุด นั้น ไม่มีความผิด ในเวลาต่อมา ดร.หยุด ได้ให้สัมภาษณ์ถึงสาเหตุที่ จอมพล ป. ออกมาปกป้องตนด้วยการยกตัวอย่างว่า "สมมติว่าคุณเลี้ยงหมาไว้ตัวหนึ่ง มีคนเข้ามาเตะหมาของคุณ คุณเป็นเจ้าของ คุณจะไม่ป้องกันหมาของคุณหรือ?" (บทความ "ดร.หยุด แสงอุทัย ไปอาบน้ำมนต์ล้างซวย" ใน ประชาธิปไตย ฉบับวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๙)



ขณะที่นายควง (อภัยวงศ์) ได้ออกมาให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่า "... จอมพลยิ่งผิดใหญ่ทีเดียว เพราะหากที่ ดร.หยุด พูดไปเป็นการหมิ่นในหลวง และ จอมพล ป. ก็เป็นรัฐบาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จอมพล ป. ก็ผิดเต็มประตู..." ("ประชาธิปไตย" ฉบับวันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๙) แต่ในที่สุดเรื่องนี้ก็จางหายไป เหลือไว้แต่ความไม่พอใจของประชาชนที่มีต่อ จอมพล ป.

ความขัดแย้งยังคงมีอยู่ในการทรงพระผนวชของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๙๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระบรมราชโองการแก่คณะรัฐบาลทราบว่า พระองค์จะทรงพระผนวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนาเป็นเวลา ๑๕ วัน เพื่อเป็นไปตามพระราชประเพณี และสนองพระคุณพระราชบุพการีตามคตินิยม จอม พล ป. จึงได้เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ ๑๓ กันยายนปีเดียวกัน เพื่อขอความเห็นชอบในการแต่งตั้ง พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัติ เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แต่ต่อมาในวันที่ ๑๘ กันยายน จอมพล ป. ก็ต้องเปลี่ยนแปลงมติใหม่ เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทรงแต่งตั้ง สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์


พระราชพิธีทรงพระผนวชมีขึ้นในวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แม้ว่าพระราชพิธีจะดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย (โดยมีรัฐบาลของจอมพล ป. เป็นผู้ตระเตรียมพิธี) แต่ จอมพล ป. ก็ยังคงถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่ให้ความสำคัญกับพระราชพิธี เนื่องจากรัฐบาลยอมให้ปล่อยตัวนักโทษทั่วประเทศถึง ๓,๐๐๐ คน ตามราชประเพณี แต่ปฏิเสธไม่ยอมปล่อยนักโทษการเมือง โดยให้เหตุผลว่า จะยอมปล่อยนักโทษการเมืองก็เฉพาะในงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษที่จะจัดขึ้นใน พ.ศ. ๒๕๐๐ เท่านั้น (สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, "การเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ต่อต้านรัฐบาลสมัยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม", หน้า ๒๙๒)

ในเดือน พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ งานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษถูกจัดขึ้น ซึ่งเป็นความพยายามของ จอมพล ป. ที่จะเชิดชูและสร้างภาพลักษณ์ความเป็นผู้นำของตน โดยอาศัยความศรัทธาในพระพุทธศาสนาของประชาชน ทว่า ความพยายามของ จอมพล ป. ก็ได้นำมาซึ่งความขัดแย้งกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และได้สร้างความไม่พอใจในหมู่ประชาชน 

เรื่องนี้สืบเนื่องจากรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. ๒๔๗๕ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. ๒๔๙๕ ที่ใช้กันอยู่ในขณะนั้น ระบุให้มีสภาเพียงสภาเดียว คือ สภาผู้แทนราษฎร อันประกอบด้วยสมาชิกประเภทที่ ๑ จำนวน ๑๖๐ คน (จากการเลือกตั้งโดยประชาชน) กับสมาชิกประเภทที่ ๒ จำนวน ๑๒๓ คน (จากการแต่งตั้ง)
สมาชิกประเภทที่ ๒ นี้จึงเป็นผู้ค้ำจุนเสถียรภาพของรัฐบาล จอมพล ป. ในสภาได้เป็นอย่างดี แต่ก็มีกระแสต่อต้านการแต่งตั้งสมาชิกประเภทที่ ๒ อย่างรุนแรง จน พ.ศ. ๒๔๙๙ ก่อนหน้าการเลือกตั้งทั่วไป พรรคเสรีมนังคศิลาของ จอมพล ป. มีมติว่า จะไม่เสนอแต่งตั้งสมาชิกประเภทที่ ๒ เพิ่มเติมอีก ซึ่งจะทำให้สมาชิกประเภทที่ ๒ นี้ค่อย ๆ ลดลงไปเอง (ไม่ว่าจะเป็นการลาออก หรือตาย หรือฯลฯ) แต่ผลการเลือกตั้งทั่วไปที่ผ่านมาปรากฏว่า พรรคเสรีมนังคศิลาได้รับเลือกตั้งเข้าสู่สภาเป็นจำนวนน้อยเกินไป จอมพล ป. จึงจำเป็นต้องหันมาพิจารณาเรื่องการแต่งตั้งสมาชิกประเภทที่ ๒ เพิ่มเติมอีกครั้ง เพื่อค้ำจุนเสถียรภาพของรัฐบาลไว้ (สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, "การเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ต่อต้านรัฐบาลสมัยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม", หน้า ๒๙๔)
 

เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๐ จอมพล ป. ได้ทูลเกล้าฯ ถวายรายนามผู้ที่สมควรจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ประเภทที่ ๒ จำนวนทั้งสิ้น ๓๗ นาย ต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เพื่อให้ทรงลงพระปรมาภิไธยแต่งตั้ง โดยในเบื้องต้น จอมพล ป. ได้ทูลเกล้าฯ ถวายรายนามไปก่อน ๑๓ คน
ผลปรากฏว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้รัฐบาลพิจารณาคุณสมบัติของผู้ที่ถูกเสนอชื่อใหม่ เนื่องจากได้ทรงพิจารณาเห็นว่า ในจำนวน ๑๓ คนนี้ มี ๒ คน ที่มีปัญหาคือ นายเลื่อน พงษ์โสภณ ที่เพิ่งจะพ่ายแพ้การลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ ๑ การแต่งตั้งนายเลื่อนเป็นสมาชิกประเภทที่ ๒ จึงอาจขัดต่อความต้องการของประชาชน คนที่สองคือ นายกมล พหลโยธิน เนื่องจากเป็นข้าราชการประจำอยู่ จึงไม่ควรดำรงตำแหน่งทางการเมือง พระราชกระแสรับสั่งข้างต้นถือได้ว่าเป็นการ "วีโต้" (Veto) รัฐบาลอย่างเด่นชัด
 
เมื่อ ถูก "วีโต้" จอม พล ป. จึงได้ทูลเกล้าฯ เสนอรายชื่อให้พระองค์ทรงลงพระปรมาภิไธยใหม่ ทว่าคราวนี้จอมพล ป. ได้เสนอรายชื่อทั้งหมด ๓๗ คนในคราวเดียวเลย ซึ่งหากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงลงพระปรมาภิไธย ก็จะทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ ๑ และประเภทที่ ๒ มีจำนวนเท่ากันในทันที
แต่พระองค์ก็ทรง "วีโต้" อีกครั้ง โดยมิได้ทรงลงพระปรมาภิไธย แต่มีพระราชกระแสรับสั่งให้แยกรายชื่อเป็นส่วนที่พระองค์พร้อมจะทรงลงพระปรมาภิไธยแต่งตั้ง กับส่วนที่พระองค์ทรงปฏิเสธไม่ลงพระปรมาภิไธยจำนวน ๒๔ คน ทั้งยังทรงเห็นว่า การแต่งตั้งดังกล่าว จะทำให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ ๒ มีจำนวนทั้งสิ้น ๑๖๐ คน ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนูญที่ระบุไว้ให้มีได้เพียง ๑๒๓ คนเท่านั้น 

จอม พล ป. เมื่อได้รับพระราชกระแสรับสั่งเช่นนี้ จึงได้เรียกประชุมผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย ซึ่งแน่นอน มี ดร.หยุด รวมอยู่ด้วย ที่ประชุมเห็นว่า พระองค์ทรงมีพระราชอำนาจที่จะแต่งตั้งได้ตามรัฐธรรมนูญ เมื่อเห็นเช่นนี้ จอมพล ป. จึงชวน จอมพลสฤษดิ์ จอมพลผิน และพลตำรวจเอกเผ่า ไปเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวร่วมกับตน แต่ก็ถูกคัดค้านว่าเป็นการ "บีบบังคับ" พระองค์มากจนเกินไป จอมพล ป. จึงต้องเข้าเฝ้าฯ แต่โดยลำพังในวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๐๐
ในการเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชกระแสรับสั่งยืนยันถึงความไม่ถูกต้อง ตามรัฐธรรมนูญ หากจะแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ ๒ เป็นจำนวนเกินกว่าที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ ทั้งยังทรงมีพระราชกระแสรับสั่งอีกว่า ถ้าพระองค์ทรงลงพระปรมาภิไธยก็เท่ากับว่าพระองค์ทรงบีบบังคับศาลให้เห็นคล้อยตามพระบรมราชโองการแต่งตั้งของพระองค์
(เนื่องจากในช่วงเดียว กันนี้ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช และพวก ได้ยื่นฟ้องต่อศาล ขอให้พิพากษาว่าการเลือกตั้งที่ผ่านมาเป็นโมฆะ เพราะขัดต่อรัฐธรรมนูญที่กำหนดให้ต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ ๑ และประเภทที่ ๒ เป็นจำนวนเท่ากัน ซึ่งต่อมาในวันที่ ๑๐ กรกฎาคม ปีเดียวกัน ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาว่า การเลือกตั้งที่ผ่านมาเป็นไปโดยชอบแล้ว พร้อมทั้งมีคำวินิจฉัยว่า สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ ๒ จะต้องมีจำนวนทั้งสิ้น ๑๒๓ คน โดยเด็ดขาดตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ ซึ่งถือว่าเป็นคำวินิจฉัยที่สอดคล้องกับพระราชกระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และขัดแย้งต่อเจตนาของ จอมพล ป. ที่ต้องการจะแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ ๒ ให้มีจำนวน ๑๖๐ คน) 




อย่างไรก็ตาม หลังการเข้าเฝ้าฯ และหลังจากมีคำพิพากษาศาลฎีกา จอมพล ป. ก็ยังเรียกประชุมคณะรัฐมนตรีและที่ปรึกษากฎหมายอีก เพื่อหาช่องทางแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ ๒ เพิ่มเป็น ๑๖๐ คน ซึ่งได้ทางออกว่า เรื่องดังกล่าวควรให้สภาเป็นผู้วินิจฉัย เพราะเป็นผู้มีอำนาจเด็ดขาดในการตีความรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่ศาลฎีกา แต่ท้ายที่สุด จอมพล ป. ก็ยอมเลิกล้มความพยายามในประเด็นดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่าไม่สมควร ประกอบกับมติมหาชนที่ไม่เห็นด้วย และพระราชหัตถเลขาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงแนะนำให้รัฐบาลเลิกล้มความพยายามในเรื่องดังกล่าวเสีย (สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ, "การเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ต่อต้านรัฐบาลสมัยจอมพลแปลก พิบูลสงคราม", น... ๒๙๔)

ถัดจากนั้นในวันที่ ๒๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ พรรคฝ่ายค้านในสภาได้เปิดอภิปรายทั่วไปโดยไม่มีการลงมติต่อรัฐบาล จอมพล ป. ประเด็นสำคัญก็คือ เรื่องที่รัฐบาลไม่สามารถรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองได้ จนเกิดการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพขึ้นในประเทศ 

นายพีร์ บุนนาค สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรฝ่ายค้าน (พรรคสหภูมิ) ได้อภิปรายในนามของพรรคตอนหนึ่งว่า
"... ในการประชุมสมาชิกพรรคเสรีมนังคศิลา ณ ทำเนียบรัฐบาลเมื่อเวลาบ่ายโมงวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๙ นี่ผมก็ได้มาจากในพรรคของท่านเอง ซึ่งประชุมก่อนที่ประชุมเฉพาะ ส.ส. บางนายประเภท ๑ เขาบอกว่า ฯพณฯ พลตำรวจเอกเผ่า นี่น่ะ รัฐมนตรีมหาดไทยได้แจ้งให้ที่ประชุม ต่อหน้าจอมพลแปลก พิบูลสงคราม ว่าได้ทราบโดยมีหลักฐานแน่นอนว่า ทันโทษครับ ในหลวงองค์ปัจจุบันได้ทรงมอบเงิน ๗ แสนบาทให้ ม.ร.ว. เสนีย์ ปราโมช นายควง อภัยวงศ์ พรรคประชาธิปไตย นี่ข่าวมันออกมาอย่างนี้..."

พลเอกพระประจนปัจจนึก ประธานสภา ได้กล่าวทักท้วงนายพีร์ขึ้นมาทันทีว่า เป็นการกล่าวที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง ติดตามมาด้วยการทักท้วงของจอมพลอากาศฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี แต่นายพีร์ก็ยังกล่าวอภิปรายต่อไป โดยกล่าวว่า "เขาบอกว่าอย่างนี้ครับ บอกว่า ฯพณฯ รัฐมนตรีมหาดไทย พลตำรวจเอกเผ่า เสนอให้มีการจับกุมองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และรัฐมนตรีบางคน" (สงบ สุริยินทร์, "พระราชประวัติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช", น. ๒๑๓)
นายพีร์ถูกทักท้วงอีกครั้งโดยพลเอกพระประจนปัจจนึก และพลเอกพระประจนปัจจนึกก็ขอให้นายพีร์ถอนคำพูดดังกล่าว ซึ่งท้ายที่สุด นายพีร์ก็ยอมถอนคำพูด แต่ปรากฏว่าคำพูดของนายพีร์ได้กลายเป็นหัวข้อใหญ่ตามหน้าหนังสือพิมพ์ ประชาชนต่างพากันกล่าวถึงถ้อยแถลงดังกล่าวในทางที่ไม่เป็นผลดีกับรัฐบาล จอมพล ป. (ซึ่งแต่เดิมก็มีภาพลักษณ์ของความขัดแย้งกับสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ สั่งสมมานานอยู่แล้ว) การกล่าวหาของนายพีร์ครั้งนี้สั่นคลอนเสถียรภาพของรัฐบาลอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจริงหรือไม่ก็ตาม
หลังการปิดอภิปรายทั่วไปใน วันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ รัฐบาลจอมพล ป. ก็เข้าถึงเวลาสุดท้าย ด้วยกระแสความไม่พอใจของประชาชนในตัวจอมพล ป. และพลตำรวจเอกเผ่า ตลอดจนปัญหาต่าง ๆ ที่สะสมมาเป็นเวลายาวนาน รวมถึงความขัดแย้งกับสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วย ส่งผลให้ประชาชนเรียกร้องให้ฝ่ายทหารที่นำโดย จอมพลสฤษดิ์ เข้ามากอบกู้สถานการณ์บ้านเมือง

และในวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๐ คณะรัฐประหารนำโดย จอมพลสฤษดิ์ ได้เข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลจอมพล ป. ส่งผลให้ จอมพล ป. และพลตำรวจเอกเผ่า ต้องหมดบทบาททางการเมืองลงอย่างถาวร และลี้ภัยไปอยู่ต่างประเทศจนวาระสุดท้ายของชีวิต





 


 
 

วิธีการสร้างสถานะ "ผู้นำ" ของ จอมพล ป. อย่างหนึ่ง (ในหลาย ๆ อย่าง) ก็คือ การปลูกฝังอุดมการณ์ให้แก่ประชาชนว่า จอมพล ป. เป็น "บิดา" ของประชาชนด้วยการเปรียบเทียบจอมพล ป. กับ พ่อขุนรามคำแหง ท้ายสุด จอมพล ป. ยังได้อาศัยภาพลักษณ์ของการเป็นผู้อุปถัมภ์พุทธศาสนาโดยพฤตินัยมาเสริมสร้าง สถานะของตนด้วย (ทักษ์ เฉลิมเตียรณ, "การเมืองระบบพ่อขุนอุปถัมภ์แบบเผด็จการ", น. ๑๑๖-๑๑๘)

วิชาการ (4) สถาบันสื่อมวลชน และ (5) สังคมไทยโดยทั่วไป
     
       มีบุคคลเดียวเท่านั้นที่ส่งเสริมให้วิจารณ์พระมหากษัตริย์ได้ นั่นก็คือ ในหลวง
     
       พระอาญาไม่พ้นเกล้า เพราะผมเป็นนักเรียนวิชารัฐธรรมนูญและการเมืองไทยมาเกือบตลอดชีวิต ผมจำเป็นต้องพูดถึงระบบกษัตริย์ของไทยเป็นครั้งคราวตั้งแต่ปี 2510 เป็นต้นมา
     
       ในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2548 ผมได้ยกแนวความคิดตะวันตกมาเผยแพร่ 2 ประโยคดังต่อไปนี้ (1) popular monarchy is not always conducive to democracy แปลว่าระบอบกษัตริย์นิยมหรือกษัตริย์ยอดนิยมอาจจะไม่เป็นคุณต่อประชาธิปไตยเสมอไป (2)weak democracy is always bad for the monarchy แปลว่าประชาธิปไตยที่อ่อนแอนั้นเป็นอันตรายต่อระบบกษัตริย์เสมอ
     
       ผมเป็นห่วงประโยคที่สองมากกว่าประโยคที่หนึ่ง ผมไม่เห็นว่าภายใต้สิ่งแวดล้อมของการยึดอำนาจและระบบการตัดสินใจของ คปค. จะทำให้เราได้ประชาธิปไตยที่แท้จริง หรือประชาธิปไตยที่เข้มแข็งเลย
     
       เริ่มต้นกันที่แม่บท คือ ร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราวที่ปัจจุบันอ้างว่า ล๊อกไว้แล้วทั้งบทบัญญัติและวันประกาศ ผมเห็นว่าเป็นรัฐธรรมนูญเผด็จการและอนาธิปไตย หรืออำนาจอันวุ่นวายของฝูงชน ทำให้ผมเป็นห่วงระบบกษัตริย์ ซึ่งผมเชื่อมั่นอย่างนักวิทยาศาสตร์ว่าจำเป็นและมีคุณูปการต่อสำประเทศไทย
     
       ผมขอยกเพียง 2 ตัวอย่าง
     
       (1) มาตรา ๕ ให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประกอบด้วยสมาชิกจำนวนไม่เกินสองร้อยห้าสิบคน ซึ่งพระ มหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด และมีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปี
     
       ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือรัฐสภา แล้วแต่กรณี
     
       ในการสรรหาบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ให้คำนึงถึงบุคคลจากกลุ่มต่างๆ ในภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคสังคม และภาควิชาการ จากภูมิภาคต่างๆ อย่างเหมาะสม
     
       ในกรณีที่มีกฎหมายห้ามมิให้บุคคลดำรงตำแหน่งทางการเมือง มิให้นำกฎหมายนั้นมาใช้บังคับแก่การได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
     
       คำวิจารณ์และเหตุผลของผม สั้นที่สุด นี่คือเผด็จการและถอยหลังเข้าคลอง ไม่ใช่ 15 ปี แต่ 74 ปี ทั้งอายุ 35 ปี และโดยเฉพาะวรรคสุดท้ายคือ วรรค 4 ได้แก่การเปิดโอกาสให้ทหารประจำการและข้าราชการเป็นสมาชิกสภาได้
     
       (2)
มาตรา ๑๙ให้มีสมัชชาแห่งชาติ ประกอบด้วยสมาชิกซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งจากผู้มีสัญชาติไทยโดยกำเนิด อายุไม่ต่ำกว่าสิบแปดปี มีจำนวนไม่เกินสองพันคน
     
       มาตรา ๒๑ ให้สมัชชาแห่งชาติมีหน้าที่คัดเลือกสมาชิกด้วยกันเองเพื่อจัดทำบัญชีรายชื่อผู้สมควรได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญมีจำนวนสองร้อยคนให้แล้วเสร็จภายในเจ็ดวันนับแต่วันเปิดประชุมสมัชชาครั้งแรก และเมื่อได้คัดเลือกสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญแล้ว หรือเมื่อครบกำหนดเวลาแล้วยังไม่อาจคัดเลือกได้ครบถ้วน ให้สมัชชาแห่งชาติเป็นอันสิ้นสุดลง ฯลฯ
     
       มาตรา ๒๒ เมื่อได้รับบัญชีรายชื่อที่ได้รับการคัดเลือกจากสมัชชาแห่งชาติแล้ว ให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ คัดเลือกบุคคลตามบัญชีรายชื่อดังกล่าวให้เหลือหนึ่งร้อยคน และนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ฯลฯ
     
       คำวิจารณ์และเหตุผลของผม ท้งหมดนี้คืออนาธิปไตยมิใช่ประชาธิปไตย มาตรา ๑๙ เป็นความคิดใหม่ของยุคเก่า นำมาใช้อย่างผิดกาละเทศะ ผมมีส่วนสำคัญในการคิดและจัดเรื่องนี้ในปี 2517 เห็นความบกพร่องที่ฉกรรจ์คือการเล่นพวกและบล๊อกโหวตของกลุ่มที่เกี่ยวข้องรู้จักกันมาก่อนและคุมกันได้ ครั้งนี้ ถึงแม้จะดูเป็นประชาธิปไตย แต่ผิดกาละทางการเมือง ทั้งยังจะยึดสัญลักษณ์ประชาธิปไตยเป็นเนื้อในอีกคือให้มีตัวแทนโดยตำแหน่งมาจาก อบต.ทุกแห่ง นี่ก็คือ การเปิดประตูให้บริวารทักษิณโดยตรง
     
       มาตรา ๒๑ และ ๒๒ ขัดกับหลัก QA หรือการประกันมาตรฐานทั้งองค์บุคคลและขบวนการ กิจกรรมทุกอย่างต้องเข้าใจหัวใจของภารกิจหลักว่าคืออะไร( task orientation ) การร่างรัฐธรรมนูญก็ไม่ต่างกับการผ่าตัด การขับเครื่องบิน และการทำสงคราม อย่างน้อยที่สุด การทำสงครามต้องมียุทธศาสตร์ ยุทธวิธี และสายการบังคับบัญชา จะใช้หลักประชาธิปไตยโดยการให้พลทหารซึ่งเป็นเสียงส่วนมากมาโหวตไม่ได้ และจะเอาอนาคตของประเทศชาติมาโหวตในเรื่องนี้ไม่ได้ (สำหรับประชามติทำได้และสมควรทำในเงื่อนไขและเงื่อนเวลาที่ถูกต้อง จะไม่พูดถึงตอนนี้) โดยความเคารพในพลทหารซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศไทย เรามีประชาธิปไตยของพลทหารในการร่างรัฐธรรมนูญไม่ได้
     
       สำหรับท่านนายพลใน คปค. ท่านคงได้ยินสุภาษิตว่าสงครามมีความสำคัญเกินกว่าที่จะไว้ใจหรือมอบไว้ในกำมือนายพลเท่านั้นฉันใดก็ฉันนั้น รัฐธรรมนูญ คืออนาคตของประเทศ มีความสำคัญเกินกว่าที่จะมอบให้อยู่ในกำมือของนักกฎหมาย 2-3 คน
     
       โดยเฉพาะนักกฎหมายที่เติบโตและได้ดีมาในระบบเผด็จการหรือทุนนิยมสุดโต่ง
     
       อย่าเพิ่งพากันท้อใจครับ จำสุภาษิตอีกอันหนึ่งว่า “Late Is Better Than Never:ถึงช้าก็ยังดีกว่าไม่ทำเลย ใครจะช่วยได้บ้าง (1) พระสยามเทวาธิราช (2) มาตรการทางบริหาร ถ้าหากได้นายกรัฐมนตรีดี (3) ประชาชนที่แข็งขันในระบอบประชาธิปไตย
     
       การดำเนินการทางการเมือง และแนวความคิดเรื่องรัฐธรรมนูญทั้งหมด ผมยังมองไม่เห็นว่า คปค (และสิ่งแวดล้อม) คำนึงถึงอนาคตของสถาบันกษัตริย์เลย
     
       ต่อไปนี้ ผมจะพูดถึงสถาบันกษัตริย์อังกฤษ เพื่อให้คนไทยเกิดอนุสติ และคิดถึงสถาบันกษัตริย์ไทย ให้ยิ่งขึ้นกว่าการใส่เสื้อเหลืองหรือสำแดงความจงรักภักดีแต่ปาก
     
       พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า กาลเวลาเป็นผู้ฆ่าทุกสรรพสิ่ง บัดนี้คนอังกฤษตระหนักดีว่า สมเด็จพระบรมราชินีนาถอลิซาเบธทรงชราภาพแล้ว
     
       เมื่อเดือนกรกฎาคมนี้เอง มีหนังสือใหม่เรื่องอนาคตของระบบกษัตริย์ เขียนด้วยนาย Robert Blackburn ศาสตราจารย์กฎหมายรัฐธรรมนูญของ King's College London มหาวิทยาลัยที่เก่าแก่อันดับ 4 และมีชื่อเสียงที่สุดในการสอนและวิจัยทางกฎหมายของ หนังสือเล่มนี้ผู้วิจารณ์และบรรดานักวิชาการรัฐธรรมนูญพากันสรรเสริญว่า เป็นหนังสือที่ดีที่สุดว่าด้วยสถาบันกษัตริย์อังกฤษ
     
       วันนี้ผมออกจะแก่สุภาษิต เขาว่า ถ้าเรารู้จักตั้งคำถามที่ดี เราก็จะได้รับคำตอบที่ดีแล้วครึ่งหนึ่ง
     
       หนังสือของ Robert Blackburn ตั้งคำถามเผื่อคนไทยด้วย
     
       เมื่อเจ้าชายชาร์ลขึ้นเป็นกษัตริย์ พระองค์คงต้องเกี่ยวข้องกับการเมืองในแบบที่ต่างกับพระมารดา แน่นอนที่สุด อันหนึ่งคือโอกาสที่จะพัฒนาสถาบันกษัตริย์ให้ทันสมัย แต่อันตรายก็มีเหมือนกัน คือการที่พระเจ้าแผ่นดินองค์ใหม่จะตกอยู่ท่ามกลางความสับสนหวาดระแวงทางการเมือง พระเจ้าชาร์ลที่ 3 อาจประสบความลำบากและนำสถาบันกษัตริย์ไปสู่แดนสนธยาก็ได้
     
       Blackburn กล่าวว่า กระแสของความคิด อารมณ์และความรู้สึกของประชาชนจะปรวนแปรใหญ่หลวงเมื่อชาร์ลขึ้นสู่ราชบัลลังก์ รัชสมัยพระเจ้าชาร์ลที่ 3 จะเกิดการเปลี่ยนแปลงใหญ่ในการพัฒนาและปฏิรูปสถาบันกษัตริย์
     
       คำถามหรือปัญหาที่จะต้องเผชิญมีดังนี้
     
       -สถาบันของประเทศจะมีเอกภาพเพียงไรในการสนับสนุนงานอภิเษกสมรสของชาร์ล อย่าลืมความลำบากจนต้องสละราชสมบัติของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ด
     
       -จะแก้ไขอุปสรรคและความคิดอันโต้แย้งสับสนเกี่ยวกับแผนการและการอภิเษกตามกฎหมายของกษัตริย์ชาร์ลอย่างไร
     
       -พระราชอำนาจและพระราชภาระของอนาคตกษัตริย์ในรัฐธรรมนูญจะเป็นอย่างไร รวมทั้งขอบเขตที่กษัตริย์จะเกี่ยวข้องแทรกแซง (intervention) กิจกรรมทางการเมือง
     
       -อะไรจะเกิดขึ้นถ้าพระเจ้าชาร์ลไม่สบายพระทัยกับร่าง พรบ.ที่พระองค์ไม่เห็นด้วยและไม่ลงปรมาภิไธย เพราะขัดกับความรู้สึกและความเชื่อของพระองค์ (ซึ่งแสดงให้เห็นในโอกาสต่างๆ ในอดีต-ปราโมทย์)
     
       -บทบาทของพระเจ้าชาร์ลในฐานะประมุข Church of England และพฤติกรรมส่วนตัวที่พระองค์เลือกปฏิบัติในฐานะผู้ปกป้องเสรีภาพทางศาสนา
     
       -ควรจะยกเลิกการแอนตี้แคธอลิกและการจัดรัชทายาทจากฝ่ายชายก่อนหรือไม่
     
       -ความนิยมอันสูงพรวดของเจ้าชายวิลเลียม และโอกาสที่พระองค์จะข้ามเจ้าฟ้าชาร์ลขึ้นสู่ราชบัลลังก์
     
       -นามาภิไธยของราชวงศ์ จะเรียกคามิลลาว่าพระชายาหรือพระบรมราชินี
     
       ทั้งหมดนี้เป็นอาหารสมองส่งตรงจากระบบกษัตริย์อังกฤษถึงเมืองไทย
     
       ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ หรือ มานะ อวิชชา และผลประโยชน์บังตา จึงทำให้ คปค.กับบุคคลเกี่ยวข้องมองไม่เห็นว่า รัฐธรรมนูญชั่วคราว ฉบับนี้จะบั่นทอนอนาคตของสถาบันกษัตริย์
     
       ถ้าหากผมไม่เคยได้รางวัลทุนภูมิพล ไม่เคยรับทุนเล่าเรียนหลวงจากภาษีอากรของประชาชนไปเรียนวิชารัฐธรรมนูญ ผมคงไม่มีหน้าที่หรือสำนึกถึงความจำเป็นที่จะเขียนอย่างนี้
     
       สำหรับพระเจ้าอยู่หัวของข้า ขอจงทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน
     
       สำหรับประเทศของข้า ขอให้โชคดีในการแสวงหาประชาธิปไตย สันติภาพ และความผาสุกของปวงราษฎร
     
       สำหรับข้า อีกไม่นานเกินรอ ก็จะมีโอกาสได้กล่าวคำว่า ลาก่อนประเทศไทย ขอฝากในหลวงและอนาคตของบ้านเมืองไว้กับคนรุ่นหลังด้วย

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง