เพราะการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม เป็นอีกปัจจัยที่จะนำไปสู่การปรองดองในระยะยาว.. เพียงแต่ข้อเสนอสุดท้ายว่าด้วยนิรโทษกรรมนั้นจะทำให้ข้อเสนอที่ดีอื่นๆ ถูกมองข้ามไปในที่สุด"
ที่ร้ายไปกว่านั้นข้อเสนอที่ 7 "คืนความเป็นธรรมและเยียวยา"..สุ่มเสี่ยง นองเลือด มากกว่าที่จะเห็นการปรองดอง !
ปรากฏการณ์เมื่อ 23 เม.ย.2554 ในวันแถลงนโยบาย สะท้อนแล้วว่า เพื่อไทยมิอาจข้ามพ้น อดีตนายกรัฐมนตรีได้เลย...ขณะเดียวกันใครที่คิดจะทำแบบนั้น ก็ต้องถูกแบน ถูกเว้นวรรค อย่างที่ปรากฏการณ์ให้เห็นแล้ว ...ใครคิดต่างมีเพียงทางเลือกเดียวคือเดินออกจากพรรค
พ.ต.ท.ทักษิณ เรียก 7 สูตรปรองดองว่า "นโยบายก้าวข้ามวิกฤติสู่สันติสุขของสังคมไทย"..ซึ่งหากอ่านตั้งแต่ข้อ 1 ถึงข้อ 6 ก็น่าจะเป็นแบบนั้น แต่เมื่ออ่านถึงข้อสุดท้ายต้องสะดุ้งกันทั้งแผ่นดิน เพราะนี้คือ "การนิรโทษกรรม"..แม้จะเรียก "คืนความเป็นธรรม และเยียวยา" ก็ตาม
ข้อแรก ต้องมีการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม ปราศจากการแทรกแซงขององค์กรและกลุ่มบุคคลใด คณะกรรมการการเลือกตั้งและหน่วยงานของรัฐต้องทำหน้าที่โดยอิสระและเป็นกลางอย่างแท้จริง
2.ทุกฝ่ายต้องยอมรับการตัดสินใจของประชาชนและผลการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม ต้องไม่มีการใช้อำนาจนอกระบบแทรกแซงกระบวนการจัดตั้งรัฐบาล
3.ต้องไม่มีการใช้อำนาจนอกระบบแทรกแซงการทำงานขององค์กรฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ และองค์กรตามรัฐธรรมนูญและองค์กรเหล่านี้ต้องยึดมั่นในหลักนิติธรรม ปฏิบัติหน้าที่อย่างยุติธรรม เสมอภาคและไม่เลือกปฏิบัติ โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้อำนาจของทุกองค์กร
4.พิทักษ์และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทุกฝ่ายต้องไม่ใช้สถาบันเป็นเครื่องมือเพื่อแสวงหาประโยชน์ทางการเมือง ใส่ร้ายและทำลายผู้อื่น
5.สถาบันทหารต้องมีไว้เพื่อพิทักษ์รักษาเอกราชและบูรณภาพของดินแดน ความมั่นคงของรัฐ สถาบันพระมหากษัตริย์ ปกป้องคุ้มครองประชาชน ประโยชน์ของชาติและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไม่ใช้กำลังทหารเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาทางการเมืองหรือกดดันทางการเมือง
6.ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับเพื่อให้เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง โดยให้ประชาชนลงประชามติว่าจะใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ.2540 หรือ ฉบับ พ.ศ.2550 เป็นฐานในการยกร่าง เมื่อยกร่างเสร็จแล้วให้ประชาชนลงประชามติอีกครั้ง
และข้อสุดท้าย....พ.ต.ท.ทักษิณ เสนอให้ "คืนความเป็นธรรมและเยียวยาผู้ที่ไม่ได้รับความยุติธรรม จากการกระทำที่สืบเนื่องจากการรัฐประหารในปี พ.ศ.2549 รัฐธรรมนูญชั่วคราว และรัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ.2550"
เสนอแบบนี้...ไม่มีทางปรองดองได้แน่นอน เหตุที่บอกแบบนี้เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณ คือปัจจัยสำคัญของความขัดแย้ง..หากเมื่อไหร่ก็ตามที่ยังเอาตัวเองผูกกับข้อเสนอ หรือยังเป็นส่วนหนึ่งของการแสวงอำนาจ ..ข้อเสนอดังกล่าวก็ยากที่จะได้การตอบรับ ตรงกันข้ามจะมีแรงเคลื่อนต่อต้านรุนแรงจากฝ่ายตรงกันข้าม แม้ข้อเท็จจริงจะมีประชาชนจำนวนมากนิยม พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ตาม
ยิ่งนิยมมาก...ความไม่พอใจของอีกฝ่ายก็ย่อมมีมาก!
แกนนำในพรรคเพื่อไทย บางรายก็ทราบถึงเงื่อนไขนี้ จึงพยายามที่จะคิดข้ามพ้นอดีตนายกฯ..เพื่อนำพรรคเพื่อไทย กลับมาสู่อำนาจบริหารอีกรอบ เพราะเชื่อเสมอว่าหากคนแดนไกลยังชักใยอยู่ ขั้วอำนาจตรงกันข้ามย่อมระแวง โอกาสที่จะได้บริหารประเทศย่อมปิดหนทาง
พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ย่อมรู้..จึงพยายามที่จะใช้เสียงพลังประชาชนจำนวนมาก สร้างโอกาสให้พรรคเพื่อไทยและตนเอง...ซึ่งจะได้โอกาสนั้นต้องได้รับเลือกตั้งเข้ามาอย่างถล่มทลาย...จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อนโยบาย "โดนใจทุกกลุ่ม"
จึงไม่แปลกที่ได้เห็น "ประชานิยมสุดขั้ว" ออกมาเมื่อ 23 เม.ย.2554
เทหมดหน้าตักเยี่ยงนี้...ซื้อใจผู้มีสิทธิเลือกตั้งกันสุดๆ หากชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายได้จริงๆ เตรียมรับมือความขัดแย้งครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ชาติไทยได้เลย!
ที่ร้ายไปกว่านั้นข้อเสนอที่ 7 "คืนความเป็นธรรมและเยียวยา"..สุ่มเสี่ยง นองเลือด มากกว่าที่จะเห็นการปรองดอง !
ปรากฏการณ์เมื่อ 23 เม.ย.2554 ในวันแถลงนโยบาย สะท้อนแล้วว่า เพื่อไทยมิอาจข้ามพ้น อดีตนายกรัฐมนตรีได้เลย...ขณะเดียวกันใครที่คิดจะทำแบบนั้น ก็ต้องถูกแบน ถูกเว้นวรรค อย่างที่ปรากฏการณ์ให้เห็นแล้ว ...ใครคิดต่างมีเพียงทางเลือกเดียวคือเดินออกจากพรรค
พ.ต.ท.ทักษิณ เรียก 7 สูตรปรองดองว่า "นโยบายก้าวข้ามวิกฤติสู่สันติสุขของสังคมไทย"..ซึ่งหากอ่านตั้งแต่ข้อ 1 ถึงข้อ 6 ก็น่าจะเป็นแบบนั้น แต่เมื่ออ่านถึงข้อสุดท้ายต้องสะดุ้งกันทั้งแผ่นดิน เพราะนี้คือ "การนิรโทษกรรม"..แม้จะเรียก "คืนความเป็นธรรม และเยียวยา" ก็ตาม
ข้อแรก ต้องมีการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม ปราศจากการแทรกแซงขององค์กรและกลุ่มบุคคลใด คณะกรรมการการเลือกตั้งและหน่วยงานของรัฐต้องทำหน้าที่โดยอิสระและเป็นกลางอย่างแท้จริง
2.ทุกฝ่ายต้องยอมรับการตัดสินใจของประชาชนและผลการเลือกตั้งที่บริสุทธิ์ยุติธรรม ต้องไม่มีการใช้อำนาจนอกระบบแทรกแซงกระบวนการจัดตั้งรัฐบาล
3.ต้องไม่มีการใช้อำนาจนอกระบบแทรกแซงการทำงานขององค์กรฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการ และองค์กรตามรัฐธรรมนูญและองค์กรเหล่านี้ต้องยึดมั่นในหลักนิติธรรม ปฏิบัติหน้าที่อย่างยุติธรรม เสมอภาคและไม่เลือกปฏิบัติ โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้อำนาจของทุกองค์กร
4.พิทักษ์และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ทุกฝ่ายต้องไม่ใช้สถาบันเป็นเครื่องมือเพื่อแสวงหาประโยชน์ทางการเมือง ใส่ร้ายและทำลายผู้อื่น
5.สถาบันทหารต้องมีไว้เพื่อพิทักษ์รักษาเอกราชและบูรณภาพของดินแดน ความมั่นคงของรัฐ สถาบันพระมหากษัตริย์ ปกป้องคุ้มครองประชาชน ประโยชน์ของชาติและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไม่ใช้กำลังทหารเป็นเครื่องมือในการแก้ไขปัญหาทางการเมืองหรือกดดันทางการเมือง
6.ตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับเพื่อให้เป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง โดยให้ประชาชนลงประชามติว่าจะใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ.2540 หรือ ฉบับ พ.ศ.2550 เป็นฐานในการยกร่าง เมื่อยกร่างเสร็จแล้วให้ประชาชนลงประชามติอีกครั้ง
และข้อสุดท้าย....พ.ต.ท.ทักษิณ เสนอให้ "คืนความเป็นธรรมและเยียวยาผู้ที่ไม่ได้รับความยุติธรรม จากการกระทำที่สืบเนื่องจากการรัฐประหารในปี พ.ศ.2549 รัฐธรรมนูญชั่วคราว และรัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ.2550"
เสนอแบบนี้...ไม่มีทางปรองดองได้แน่นอน เหตุที่บอกแบบนี้เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณ คือปัจจัยสำคัญของความขัดแย้ง..หากเมื่อไหร่ก็ตามที่ยังเอาตัวเองผูกกับข้อเสนอ หรือยังเป็นส่วนหนึ่งของการแสวงอำนาจ ..ข้อเสนอดังกล่าวก็ยากที่จะได้การตอบรับ ตรงกันข้ามจะมีแรงเคลื่อนต่อต้านรุนแรงจากฝ่ายตรงกันข้าม แม้ข้อเท็จจริงจะมีประชาชนจำนวนมากนิยม พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ตาม
ยิ่งนิยมมาก...ความไม่พอใจของอีกฝ่ายก็ย่อมมีมาก!
แกนนำในพรรคเพื่อไทย บางรายก็ทราบถึงเงื่อนไขนี้ จึงพยายามที่จะคิดข้ามพ้นอดีตนายกฯ..เพื่อนำพรรคเพื่อไทย กลับมาสู่อำนาจบริหารอีกรอบ เพราะเชื่อเสมอว่าหากคนแดนไกลยังชักใยอยู่ ขั้วอำนาจตรงกันข้ามย่อมระแวง โอกาสที่จะได้บริหารประเทศย่อมปิดหนทาง
พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ย่อมรู้..จึงพยายามที่จะใช้เสียงพลังประชาชนจำนวนมาก สร้างโอกาสให้พรรคเพื่อไทยและตนเอง...ซึ่งจะได้โอกาสนั้นต้องได้รับเลือกตั้งเข้ามาอย่างถล่มทลาย...จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อนโยบาย "โดนใจทุกกลุ่ม"
จึงไม่แปลกที่ได้เห็น "ประชานิยมสุดขั้ว" ออกมาเมื่อ 23 เม.ย.2554
เทหมดหน้าตักเยี่ยงนี้...ซื้อใจผู้มีสิทธิเลือกตั้งกันสุดๆ หากชนะการเลือกตั้งอย่างถล่มทลายได้จริงๆ เตรียมรับมือความขัดแย้งครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ชาติไทยได้เลย!
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น