บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

กรอบแนวคิดปราบกบฎ

โดยดร.ไก่ Tanond


ก่อนอื่นใด การที่จะชี้ชัดให้เห็นถึงความผิดพลาดอย่างมหันต์ ของกลุ่มนิติราษฏร์ในทางรัฐศาสตร์นั้น ประกอบด้วย
 
1.โดยหลักของสิทธิของปวงชน - สิทธิในอันที่จะกระทำการใดๆได้โดยเสรี แต่จะต้องไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่นนี้นั้น จะพบว่าถึงแม้กลุ่มนิติราษฏร์ จะมีสิทธิ์มีเสียงในการวิพากษ์วิจารณ์ได้โดยเสรีก็จริงอยู่ แต่ทว่าสิ่งที่ฝ่ายนิติราษฏร์กำลังวิจารณ์อยู่ ได้ก้าวผ่านไปสู่การเรียงร้องกดดันต่อสถาบันฯ ที่ไม่อยู่ในสถานะที่จะออกมาตอบโต้ได้แต่อย่างใด จึงเป็นการเจตนา และจงใจละเมิดสิทธิ์ของสถาบันฯ ที่ก็มีแต่เพียงมาตรา๑๑๒นี้คุ้มครองอยู่ การเรียกร้องกดดันสถาบันฯจึงถือได้ว่าล่วงละเมิด ม.๑๑๒ นี้ไปแล้ว
 
2.โดยหลักของหน้าที่พลเมือง - กลุ่มนิติราษฏร์เอง ก็ไม่ต่างไปจากปวงชนชาวไทยคนอื่นๆ ที่มีหน้าที่ที่จะเคารพและเกรงกลัวต่อกฎหมาย โดยเฉพาะกฎหมายที่ใช้ปกป้องคุ้มครองสถาบันฯ ระบอบการปกครอง และความมั่นคงแห่งรัฐ การออกมาเคลื่อนไำหวกดดันเพื่อแก้ไขมาตรา๑๑๒ ที่มีกฎหมายแม่ หรือ รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้ ทั้งในมาตรา๒และมาตรา๘ของกลุ่มนิติราษฏร์ จึงเป็นการจงใจที่จะล้มล้างสถาบันฯ และระบอบการปกครองรูปแบบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ Constitutional Monarchy
 
3.กอปรกับเมื่อถึงวันนี้เวลานี้แล้ว สังคมโดยรวม โดยเฉพาะในกลุ่มคนที่ "เสื้อสีไม่แดง" เมื่อได้เข้าใจถึงนิยามและความหมายของคำว่า"การก่อกบฏ" จนได้ทำให้สามารถเห็นภาพของพฤติกรรมดังกล่าวได้ ทั้งจากกลุ่มนิติราษฏร์ในปัจจุบัน และจากกลุ่มคนเสื้อแดงในหลากหลายเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมือง ที่ผ่านมาในช่วง2-3ปี การกระทำที่เข้าข่ายการก่อกบฏ ของกลุ่มคนทั้งสองนี้ จึงเป็นที่วิเคราะห์ได้เด่นชัดขึ้นทุกวัน
 
มาดูกันครับว่า แล้วพวกเราประชาชนจะต่อกรกับการกระทำผิดต่อความมั่นคงแห่งรัฐนี้ได้เช่นไรบ้าง
ก่อนอื่นต้องเข้าใจความสัมพันธ์ของคำ 3 คำนี้ให้ดีนะครับ
 
1.การก่อกบฏ
ความผิดฐานเป็นกบฏ คือ ความผิดอาญาฐานกระทําความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร โดยใช้กําลังประทุษร้าย หรือ ขู่เข็ญว่าจะใช้กําลังประทุษร้าย เพื่อล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐ ธรรมนูญ หรือ ล้มล้างอํานาจนิติบัญญัติ อํานาจบริหาร หรือ อํานาจตุลาการ หรือ แบ่งแยกราชอาณาจักร หรือ ยึดอํานาจปกครองในส่วนใดส่วนหนึ่งแห่งราชอาณาจักร
 
2.ความชอบธรรมทางการเมือง
ความชอบธรรมทางการเมือง หมายถึง ความชอบธรรมที่เกี่ยวพันกับความสามารถของระบบที่จะก่อให้เกิด และรักษาไว้ซึ่งความเชื่อที่ว่า การคงอยู่ของสถาบันในระบบเป็นความพึงพอใจสูงสุดของสังคม หรือ อีกนัยหนึ่งก็คือ ไม่ว่าในระบบการเมืองใดก็ตาม ที่สามารถสร้างประสิทธิภาพสูงสุดให้กับสังคมและประชาชน ระบบการเมืองนั้นก็ย่อมมีความชอบธรรมทางการเมืองทั้งสิ้น
 
โดย ไม่ว่าจะเป็นระบบการปกครองแบบกษัตริย์ เผด็จการ คอมมิวนิสต์ หรือ ประชาธิปไตย ปัจจัยสำคัญในการคงอยู่ของความชอบธรรมทางการเมือง จึงมาจากการยอมรับในตัวระบอบการปกครองนั้นๆของประชาชน ซึ่งมีรากฐานมาจากประสิทธิภาพในการดำเนินงานและทำหน้าที่ของกลไกภายในตัวระบบเอง
 
3.รัฐธรรมนูญ มาตรา๗๗
รัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราช อธิปไตย และบูรณภาพแห่งเขตอำนาจรัฐ และต้องจัดให้มีกำลังทหาร อาวุธยุทโธปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย จำเป็น และเพียงพอเพื่อพิทักษ์รักษาเอกราช อธิปไตย ความมั่นคงแห่งรัฐ สถาบันพระมหากษัตริย์ ผลประโยชน์แห่งชาติ และการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และเพื่อการพัฒนาประเทศ
 
กรอบแนวคิดการปราบกบฏ จึงมีองค์ประกอบดังนี้ -
การก่อกบฏ - หน้าที่พลเมืองตามรัฐธรรมนูญ มาตรา๗๐ ๗๑ - มาตรการในทางกฎหมาย - ความชอบธรรมทางการเมือง - มาตรการทางการทหาร - รัฐธรรมนูญมาตรา๗๗ 
 
1.มาตรการในทางกฎหมาย
1.1 ฟ้องร้อง และแจ้งความดำเนินคดีต่อกลุ่มนิติราษฏร์ ว่าด้วยการละเมิดมาตรา๑๑๒
1.2 ยื่นเรื่องต่ออัยการสูงสุด เพื่อวินิจฉัยถึงการกระทำผิดต่อมาตรา๒ มาตรา๘ และมาตรา๖๘ ของกลุ่มนิติราษฏร์
1.3 ยื่นฟ้องศาล เพื่อวินิจฉัยการกระทำของแกนนำกลุ่มคนเสื้อแดงที่ผ่านๆมา ว่าเป็นการร่วมกันก่อกบฏ และมีความผิดต่อการละเมิดรัฐธรรมนูญตามข้อ1.2 หรือไม่เช่นไร
1.4 ยื่นเรื่องต่อกองทัพไทย ในประเด็นของข้อ1.3 เพื่อให้เตรียมนำใช้มาตรา๗๗ ในกรณีที่รัฐบาลเพิกเฉยและละเว้นการปฏิบัติหน้าที่
 
ผลที่คาดหวัง -
จาก1.1 หากศาลประทับรับฟ้อง ตามข้อ1.1 กลุ่มนิติราษฏร์จะหมดความชอบธรรม และหยุดกิจกรรมในทันที พร้อมถูกดำเนินคดี
จาก1.2 หากอัยการสูงสุดรับเรื่อง ก็เท่ากับกลุ่มนิติราษฏร์ ได้ละเมิดรัฐธรรมนูญใน3มาตรา ที่มีความสำคัญยิ่ง
จาก1.3 หากศาลประทับรับฟ้อง ต่อพยานหลักฐาน และเอกสารหลักฐานต่างๆ ในช่วงที่เกิดการเผาบ้านเผาเมือง ก็จะเท่ากับเข้าข่ายการก่อกบฏ 
จาก1.4 หากรัฐบาลแข็งขืน จงใจไม่ดำเนินการปราบปรามผู้ก่อกบฏ ก็จะเท่ากับละเมิดกฎหมายในหลายมาตรา รวมทั้งรัฐธรรมนูญ มาตรา๖๘ด้วย ทหารจึงจำต้องนำใช้บทบัญญัติในมาตรา๖๘นี้ เข้าดูแลและควบคุมสถานการณ์ตามที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดไว้
 
2.มาตรการทางสังคม
2.1 หากศาลได้มีการประทับรับฟ้องแล้ว การเรียกหาความชอบธรรมทางการเมืองของพวกตน ด้วยการแสดงออกผ่านการเคลื่อนไหวทางสังคม เพื่อประท้วงต่อผู้ที่คิดกระทำผิด  และประท้วงกดดันรัฐบาล ที่ไม่ห้ามปราบ และปราบปรามแต่อย่างใด จริงเสมือนหนึ่งเป็นใจ และจงใจให้เกิดการก่อกบฏขึ้นในราชอาณาจักร
 
ผลที่คาดหวัง - ภาคประชาชนได้สามารถร่วมกันทำหน้าที่พลเมือง ตามความในรัฐธรรมนูญมาตรา๖๘ และอ้างอิงถึงหลักการของความชอบธรรมทางการเมือง ได้โดยบริสุทธิ์ใจในการออกมาเรียกร้องกดดัน ขับไล่กลุ่มคนที่ก่อการกบฏ 
 
3.มาตรการทางการทหาร
3.1 หากศาลมีการประทับรับฟ้อง และประชาชนได้ออกมาเคลื่อนไหว เพื่อเรียกหาความชอบธรรมทางการเมืองของพวกตนแล้ว ทหารก็จำต้องนำใช้รัฐธรรมนูญ มาตรา๗๗ หากพบว่ารัฐบาลเพิกเฉย หรือ เป็นใจต่อการกระทำที่เป็นกบฏดังกล่าว อย่างหลีกเลี่ยงมิได้
 
ผลที่คาดหวัง - กองทัพได้นำใช้รัฐธรรมนูญมาตรา๗๗ เพื่อทำหน้าที่พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งอำนาจอธิปไตย สถาบันฯ ระบอบการปกครอง ความมั่นคงแห่งรัฐ ตลอดจนพิทักษ์ความปลอดภัยของภาคประชาชน ที่ออกมาทำหน้าที่พลเมือง แสดงออกถึงความชอบธรรมทางการเมืองของพวกตน


0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง