วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555
บทสัมภาษณ์ นายปรีดา เตียสุวรรณ์ กรรมการบริษัท และประธาน บริษัท แพรนด้า จิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน)
เป็นส่วนหนึ่งของบทสัมภาษณ์ นายปรีดา เตียสุวรรณ์ กรรมการบริษัท และประธาน บริษัท แพรนด้า จิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน)
Qนี่คือเหตุผลส่วนหนึ่งที่คุณปรีดาก้าวเข้ามาต่อสู้กับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
ผมยอมรับว่าเมื่อปี 2540 เป็นบทเรียน ผมก็มองเห็น ปัญหาของประเทศในเรื่องรัฐธรรมนูญเก่า และในท้ายที่สุดรัฐธรรมนูญเก่าก็ทำให้เกิดเหตุการณ์อย่าง 14 ตุลาคม 2516 หรือ 6 ตุลาคม 2519 และเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ผมก็รู้แจ้งเห็นชัด ผมก็ดูมาตั้งแต่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม และผมก็มาถึงข้อสรุปว่า เหตุการณ์พฤษภาทมิฬมันไม่
ได้อะไร มันต้องเปลี่ยนรัฐธรรมนูญ และผมได้เข้าไปร่วมเปลี่ยนรัฐธรรมนูญในปี 2539 นั่นเป็นจุดที่ทำให้ผมเข้าไปดู
และการล่มสลายของเศรษฐกิจในปี 2540 เป็นตัวที่ชัดเจนเลยว่า ถ้าเราปล่อยให้นักการเมืองบริหารประเทศแบบประชานิยม หากินระยะสั้นสังคมเราจะเจอปัญหาอย่างนี้ตลอดไป
บริษัท แพรนด้า จิวเวลรี่ต้องขายหุ้นให้กับฝรั่งไป 25% ในราคาถูกมหาศาล เพื่อที่จะประคองกิจการให้อยู่รอดได้ ผู้ถือหุ้นเดิมต้องขายหุ้นออกไปหมด เพื่อจะประคองกิจการให้อยู่รอดได้ เพื่อจะรักษาคนงานของเรา อันนี้ผมรู้เช่นเห็นชาติเลย ผมรู้ว่า ถ้าปล่อยอย่างนี้ต่อไปเหตุการณ์วิกฤตเศรษฐกิจแบบปี 2540 ก็จะกลับมาอีกจึงต้องร่วมต่อสู้อีกครั้ง
Qจุดอ่อนหรือจุดบกพร่องของพันธมิตรคืออะไร
ผมอาจจะผิด ผมยังไม่มีเวลาวิจัย แต่ผมยินดีจะพูด ผมไม่แคร์ ประการแรกผมคิดว่าการที่คุณจะเป็นองค์กรที่ร่วมกันทำจากอุดมการณ์ ถ้ามันไม่ได้เป็นองค์กรที่บริหาร แล้วมีสัดส่วน มีตำแหน่งว่าใครเป็นหัวหน้า ใครเป็นลูกน้องชัดเจน ใครเป็นผู้บังคับบัญชาต่าง ๆ ชัดเจน คุณไม่มีทางรักษามันเอาไว้ได้ในระยะยาว เพราะมันไม่มี
ใครที่จะต้องมานั่งฟังใครอย่างจริง ๆ ภาษาอังกฤษเรียกว่า “Chain of command” มันไม่มีผู้ที่จะมาจัดระบบ อย่างในบริษัทเราพอสั่งกันได้ ฉันเป็นหัวหน้า เธอเป็นลูกน้อง
Qสั่งกันไม่ได้ ต่างคนมีวิธีการ และยุทธวิธีของตัวเอง
แน่นอนคุยกันในระดับหนึ่งมันก็ฟังกัน แต่เวลามันมีจุดหนึ่ง เช่น น้องโบว์ถูกยิงเสียชีวิตคาที มันทนไม่ได้ มันจะเอาคืน ใจมันไปมันทนไม่ได้ นั่นคือประการแรก เพราะฉะนั้นก็เป็นประการสำคัญที่สุด ในระยะยาวมันคุมกันไม่ได้ นี่คือ ปัญหาหนัก เพราะฉะนั้นเขาจะถูกตำหนิ และแน่นอนเวลาถูกตำหนิจะตำหนิไปที่แกนนำ นั่นคือ ตัวตนที่เห็นชัด แต่ถามจริง ๆ แกนนำจะไปควบคุมฝูงชนได้อย่างไร คุณเรียกว่า “ม็อบ” แล้ว “ม็อบ”มันคุมกันได้ที่ไหน
"ปรีดา เตียสุวรรณ์" เจ้าพ่อแพรนด้า จิวเวลรี่ เป็นพ่อค้าที่เป็นมากกว่าพ่อค้า เพราะเป็นพ่อค้าปัญญาชน
คบหา "อานันท์ ปันยารชุน" อดีตนายกฯ "หมอประเวศ วะสี" ราษฎรอาวุโส
เป็นกรรมการจัดงาน 100 ปี ป๋วย อึ้งภากรณ์
ปรีดา อ่าน หนังสือพิมพ์ มติชน เป็นฉบับแรกทุกเช้า จนถึงปัจจุบัน
เป็นนักธุรกิจที่พูดเรื่อง "ซีเอสอาร์" กับ "สุลักษณ์ ศิวลักษณ์" เมื่อ 10 ปีที่แล้ว
จนกลุ่มทุนงง..ว่า อะไรของมัน "ซีเอสอาร์" อั้วทำธุรกิจ ไม่ใช่ ทำบุญ
เป็นนักธุรกิจที่มีหัวใจติดดิน ต่อสู้กับภาคประชาชน เป็นนายทุนเอ็นจีโอที่พูดเรื่องสิทธิชุมชน
เป็นนักธุรกิจที่อยู่เบื้องหลัง รัฐธรรมนูญ ฉบับประชาชน ปี 2540
และ"ปรีดา เตียสุวรรณ์" เคยร่วมขบวนการ"พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" ขับไล่ "ทักษิณ" มาแล้ว
"ปรีดา" เป็นพันธมิตรฯ ที่ไม่เห็นด้วยกับการปิดสนามบินดอนเมือง ยึดทำเนียบรัฐบาล และปิดสนามบินนานาชาติ สุวรรณภูมิ
เป็น "ปรีดา" ที่ขนอาหาร ข้าวปลาไปเลี้ยงดูพันธมิตรฯ แต่เขายืนยันว่า เขาไม่ใช่นายทุนของพันธมิตรฯ
วันนี้ ปรีดา เคลื่อนไหวในนามกลุ่มสยามสามัคคี ไม่นิยมความรุนแรง การชุมนุมทางการเมืองที่ไร้สติ เขาไม่เอาด้วย
วันนี้ "ปรีดา" ให้สัมภาษณ์พิเศษ "มติชนออนไลน์"
เขาพูดเรื่อง ทำไมจุดเสื่อมของพันธมิตรฯ และพูดเรื่องการชุมนุมของพันธมิตรฯ 10 มีนาคม
และที่สำคัญ เขาพูดเรื่อง "สนธิ ลิ้มทองกุล" และ"ทักษิณ ชินวัตร"
รวมถึงจุดยืนเรื่อง "มาตรา 112" เป็นครั้งแรก
ต่อไปนี้คือ บทสัมภาษณ์ นายปรีดา เตียสุวรรณ์ กรรมการบริษัท และประธาน บริษัท แพรนด้า จิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน) ฉบับสมบูรณ์
Q อ.บรรเจิด สิงคะเนติ กลุ่มสยามประชาภิวัฒน์ วิเคราะห์การเมืองปัจจุบัน เป็นการต่อสู้ระหว่างกลุ่มอำนาจเก่ากับทุนนิยมผูกขาด เห็นด้วยไหม ?
ถ้ามองในภาพกว้าง ๆ คงจะเป็นอย่างนั้น แต่ผมมองอย่างสังคมวิทยา ไม่ได้มองแบบกฎหมาย คือ เกือบ 80 ปีที่แล้วที่เราเลิกระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ หลังจาก นั้นทหารมีอำนาจครอบคลุมมาอย่างน้อย 50-60 ปี ทหารเป็นผู้กำหนดชะตาชีวิตของประเทศนี้อะไรต่าง ๆ แต่ระยะ 20 ปีหลังฝ่ายทุนนิยมเป็นผู้ที่เริ่มมีบทบาทถึง
ปัจจุบันนี้ ฝ่ายทุนเป็นฝ่ายที่ดูประหนึ่งว่ามีอำนาจครอบคลุมประเทศนี้ และบริหารประเทศนี้ แต่อย่างน้อยที่สุดความแตกต่างมี ตอนที่ทหารมีอำนาจประมาณ 60 ปี ทหารก็ยังต้องฟังเสียงของประชาชน มันต่างกับฝ่ายทุนที่เป็นอยู่ คือ ครั้งแรกที่ฝ่ายทหารเรียนรู้ว่า ทหารไม่สามารถทำอะไรตามอำเภอใจได้ คือ วันที่ 14 ตุลาคม 2516 มันเป็นการเคลื่อนไหวเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทย
และในท้ายที่สุดเป็นประชาธิปไตยครึ่งใบสมัยป๋าเปรม(พลเอกเปรม ติณสูลานนท์) ในท้ายที่สุดก็มาเป็นประชาธิปไตยเต็มใบ แต่เต็มใบ ที่มีทุนเป็นผู้กำหนดชะตาอยู่ แต่ข้อดีของการที่มีทุนกำหนดชะตาสังคมไทย เขาจะใช้พลังของประชาชนมา เขาต้องฟังประชาชน ต้องใช้พลังประชาชนมาคุ้มหัวเขา เพราะฉะนั้นสิ่งที่ฝ่ายทุน หรือบางคนเรียกว่า “ทุนสามานย์” คุณก็ยังต้องฟังเสียงของประชาชน แน่นอนที่เราบอกว่า เป็น”ทุนสามานย์”เพราะว่า วิธีการให้ได้เสียงจากประชาชน
แต่ในปัจจุบันยังเป็นเรื่องของการใช้ระบอบประชานิยมอยู่เต็มที่เลย ระบอบประชานิยมซึ่งมิได้มีความคิดในการที่จะดูแล ความก้าวหน้าความสุขมวลรวมของประเทศ หรือคุณภาพชีวิตของประชาชนในระยะยาวเลย เป็นการหากิน หาเสียงแบบสั้น ๆ เพื่อให้ได้มาเป็นผู้บริหารใน 4 ปี หรือ 2 ปีข้างหน้าให้ได้เสียงที่จะเลือกฉันกลับเข้ามา ซึ่งแน่นอนอันนี้เป็นอันตราย เพราะการบริหารประเทศคุณไม่สามารถใช้ประชานิยมในระยะยาวได้ การบริหารประเทศเหมือนยังกับการบริหารครอบครัว เวลาลูกอยากจะกินขนม ก็ให้เงินไปซื้อขนม แต่เงินไม่ใช่จะมีตลอดไป เงินไม่ได้ตกลงมาจากท้องฟ้า และเวลาลูกกินอาหาร กินมากเกินไปฟันก็ผุ ตัวก็อ้วน สุขภาพก็ไม่ดี
เราต้องมีความสามารถบอกลูกว่า ไม่ได้ เงินจะขาด และมันไม่ดีสำหรับลูก เราต้องมีรากฐานอย่างนั้น ถ้าไม่เป็นอย่างนั้น สิ่งที่เกิดขึ้น คือ ลูกจะเสียคนไปเรื่อย ๆ และ เงินที่พ่อแม่หามาได้จะไม่มีพอ ตอนนี้คนไทยเป็นหนี้ขึ้นไปที่ 50% แล้ว แต่โชคดีที่พวกเรายังสามารถจัดอยู่ในกระบวนการรัฐธรรมนูญที่ไม่ให้กลายเป็นหนี้ไม่ให้เกิน 60% อันนี้ถือเป็นอานิสงส์ที่ระบุในรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่จะกำหนดไว้ไม่ให้สร้างหนี้มาก แต่ตราบที่เรายังบริหารกันแบบประชานิยมตามใจลูก เพื่อให้ลูกสนับสนุนฉันอย่างนี้ไปต่าง ๆ นานา อีกหน่อยประเทศจะพินาศ
พินาศอย่างไรดูปี 2540 เป็นหลัก เศรษฐกิจพังราบไปจะเกิดขึ้นอีกอย่างแน่นอน และท้ายที่สุดใครที่จะรับผลกรรมนั้นประชาชนไทย ไม่ใช่นักการเมือง เพราะนักการเมืองสามารถที่จะเอาเงินของตัวเองขนไปอยู่ที่สิงคโปร์
ขอให้ดูบทเรียนตอนปี 2540 ก่อนที่ค่าเงินบาทจะทะลักตกจาก 1 ดอลลาร์เท่ากับ 25 บาท นักการเมืองนำเงินไปเก็บไว้ที่สิงคโปร์ และนำเงินกลับเข้ามาตอน 1 ดอลลาร์เท่ากับ 50 บาท นักการเมืองได้กำไรเท่าตัว โดยใช้เวลาเพียงแค่ 2-3 เดือน วิธีการอย่างนี้ที่ไหนในโลกจะมี แล้วคนที่รับกรรมคือ ใคร คือ มนุษย์เงินเดือนอย่างพวกเรา ที่เราไม่สามารถไปอยู่ข้างนอกได้
แล้วเรารับกรรมอย่างไร เมื่อค่าเงินบาทตกลงไป 50 บาทต่อดอลลาร์ ราคาสินค้าแพงขึ้นมหาศาล เราต้องมานั่งจ่ายกับสิ่งเหล่านั้น ค่าที่ดิน บ้านที่เรามีอยู่ ราคาตก เพราะเศรษฐกิจล่มสลาย เราเจอ 2 เด้ง 3 เด้ง และทั้งหมดที่เราเจอ 2 เด้ง 3 เด้ง ในทางตรงกันข้ามนักการเมืองได้กำไร 2 เด้ง 3 เด้ง คือ ได้กำไร จากค่าเงินบาทที่เปลี่ยนแปลง 100% เสร็จแล้วนำเงินที่เพิ่มขึ้นมากลับมาซื้อที่ดินราคาถูก เพราะเศรษฐกิจแย่ อสังหาริมทรัพย์ที่ขายราคาถูก สามารถไปจ้างแรงงานที่ถูกลง เพราะคนว่างงานมาก
Qนี่คือเหตุผลส่วนหนึ่งที่คุณปรีดาก้าวเข้ามาต่อสู้กับกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
ผมยอมรับว่าเมื่อปี 2540 เป็นบทเรียน ผมก็มองเห็น ปัญหาของประเทศในเรื่องรัฐธรรมนูญเก่า และในท้ายที่สุดรัฐธรรมนูญเก่าทำให้เกิดเหตุการณ์อย่าง 14 ตุลาคม 2516 หรือ 6 ตุลาคม 2519 และเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ผมก็รู้แจ้งเห็นชัด ผมก็ดูมาตั้งแต่เหตุการณ์ 14 ตุลาคม และผมก็มาถึงข้อสรุปว่า เหตุการณ์พฤษภาทมิฬมันไม่
ได้อะไร มันต้องเปลี่ยนรัฐธรรมนูญ และผมได้เข้าไปร่วมเปลี่ยนรัฐธรรมนูญในปี 2539 นั่นเป็นจุดที่ทำให้ผมเข้าไปดู
และการล่มสลายของเศรษฐกิจในปี 2540 เป็นตัวที่ชัดเจนเลยว่า ถ้าเราปล่อยให้นักการเมืองบริหารประเทศแบบประชานิยม หากินระยะสั้นสังคมเราจะเจอปัญหาอย่างนี้ตลอดไป
บริษัท แพรนด้า จิวเวลรี่ต้องขายหุ้นให้กับฝรั่งไป 25% ในราคาถูกมหาศาล เพื่อที่จะประคองกิจการให้อยู่รอดได้ ผู้ถือหุ้นเดิมต้องขายหุ้นออกไปหมด เพื่อจะประคองกิจการให้อยู่รอดได้ เพื่อจะรักษาคนงานของเรา อันนี้ผมรู้เช่นเห็นชาติเลย ผมรู้ว่า ถ้าปล่อยอย่างนี้ต่อไปเหตุการณ์วิกฤตเศรษฐกิจแบบปี 2540 ก็จะกลับมาอีก จึงต้องร่วมต่อสู้อีกครั้ง
Qแต่เมื่อต่อสู้ของกลุ่มพันธมิตรเองฯก็มีจุดอ่อนมาก
ก็เหมือนธรรมดาทั่วไป เหมือนองค์กรทั่วไป ก็ช้ำไปบ้าง
Qวันนี้กลุ่มพันธมิตรก็อ่อนแรงอ่อนล้าไปพอควร
ก็อ่อนล้าไประดับหนึ่ง ก็เหมือนองค์กรภาคประชาชนทั่วไป เป็นการรวมตัวโดยไม่มีข้อบังคับกันไม่มีใครเป็นนาย ไม่มีใครเป็นบ่าว ไม่มีการจ่ายเงิน ไม่มีการรับเงิน เพราะฉะนั้นไม่ใครจะคุมใครได้ เช่น กรณีการไปปิดสนามบิน มันไม่ใช่ความคิดของแกนนำ ผมอยู่ในเหตุการณ์ ผมก็ไม่เห็นด้วย คน 100 คนมีรถประมาณ 100 คัน
ครั้งนั้นมีการชี้ว่า แกนนำ คือ พลตรีจำลอง ศรีเมืองว่า “ขี้ขลาด” คนอย่างมหาจำลองขี้ขลาดเป็นไปได้หรือ เวลาอยู่ในเหตุการณ์สู้กันแล้ว อารมณ์มันไปแล้ว “น้องโบว์”(น.ส.อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ ซึ่งเสียชีวิตจากการสลายการชุมนุมกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย 7 ตุลาคม 2551 ) ตายคาตา มันก็เกิดเลือดขึ้นหน้า
มันก็ไม่ฟังกันแล้ว แม้กระทั่งตอนชุมนุมอยู่หน้าทำเนียบรัฐบาลไม่ต้องการจะเข้าไป แต่นักการเมืองฉลาด ประตูเหล็กเขาเปิดกลอนไว้เลย พวกผู้ชุมนุมที่อยู่ข้างหน้าร้อนจัดพิงไปพิงมาประตูมันเปิด ก็เข้าไปนั่งที่สนามหญ้าเย็น ๆ เรามีคำสั่งคุยกันชัดเจนว่า เราไม่เข้าไปในทำเนียบรัฐบาล เราจะอยู่ตรงสะพาน
หลังจากนั้นอยู่ตรงทำเนียบรัฐบาลก็โดนยิง น้องโบว์ก็ตายคาที่ตรงนั้น มันก็อยู่ไม่ได้เพราะเป็นที่เปิด เขาก็ต้องตามรัฐบาลไปที่สนามบินดอนเมือง เพราะมีที่กั้น รัฐบาลขึ้นเฮลิปคอปเตอร์หนีไป ก็มีคนเลือดขึ้นหน้าบอกเอาล่ะ เมื่อทำไม่ได้ เราจะไปปิดล้อมที่สนามบินสุวรรรภูมิ แต่จะอยู่ด้านนอก ผู้โดยสารก็เดินทางไป แต่ไม่ได้เป็นความต้องการของแกนนำ แต่เมื่อคนส่วนใหญ่ไป แกนนำต้องตามไป หัวหน้าตามไปที่หลังทั้งนั้น
Qจุดอ่อนหรือจุดบกพร่องของพันธมิตรคืออะไร
ผมอาจจะผิด ผมยังไม่มีเวลาวิจัย แต่ผมยินดีจะพูด ผมไม่แคร์ ประการแรกผมคิดว่าการที่คุณจะเป็นองค์กรที่ร่วมกันทำจากอุดมการณ์ ถ้ามันไม่ได้เป็นองค์กรที่บริหาร แล้วมีสัดส่วน มีตำแหน่งว่าใครเป็นหัวหน้า ใครเป็นลูกน้องชัดเจน ใครเป็นผู้บังคับบัญชาต่าง ๆ ชัดเจน คุณไม่มีทางรักษามันเอาไว้ได้ในระยะยาว เพราะมันไม่มี
ใครที่จะต้องมานั่งฟังใครอย่างจริง ๆ ภาษาอังกฤษเรียกว่า “Chain of command” มันไม่มีผู้ที่จะมาจัดระบบ อย่างในบริษัทเราพอสั่งกันได้ ฉันเป็นหัวหน้า เธอเป็นลูกน้อง
Qสั่งกันไม่ได้ ต่างคนมีวิธีการ และยุทธวิธีของตัวเอง
แน่นอนคุยกันในระดับหนึ่งมันก็ฟังกัน แต่เวลามันมีจุดหนึ่ง เช่น น้องโบว์ถูกยิงเสียชีวิตคาที มันทนไม่ได้ มันจะเอาคืน ใจมันไปมันทนไม่ได้ นั่นคือประการแรก เพราะฉะนั้นก็เป็นประการสำคัญที่สุด ในระยะยาวมันคุมกันไม่ได้ นี่คือ ปัญหาหนัก เพราะฉะนั้นเขาจะถูกตำหนิ และแน่นอนเวลาถูกตำหนิจะตำหนิไปที่แกนนำ นั่นคือ ตัวตนที่เห็นชัด แต่ถามจริง ๆ แกนนำจะไปควบคุมฝูงชนได้อย่างไร คุณเรียกว่า “ม็อบ” แล้ว “ม็อบ”มันคุมกันได้ที่ไหน
Q แกนนำสำคัญของพันธมิตรฯ คือสนธิ ลิ้มทองกุล เป็นจุดอ่อนของพันธมิตรฯอย่างที่ถูกวิจารณ์หรือไม่
แน่นอนคุณสนธิมีประวัติในการที่จะเคยเป็นเพื่อนคุณทักษิณ เคยทำงานกับคุณทักษิณ อันนั้นเป็นข้อเสียเปรียบของคุณสนธิอย่างแน่นอน แต่สิ่งที่เกิดขึ้น เวลาทำงานกันทุกอย่างตรงไปตรงมา ในแง่ที่ว่า มีการประชุมกัน เหตุผลที่ดีทั้งหลายในที่ประชุม มันก็มาตั้งอยู่บนโต๊ะแล้วคุณจะทำอย่างไร เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นคุณสนธิ พลตรีจำลอง ศรีเมือง คุณพิภพ ธงไชย คุณสมศักดิ์ โกศัยสุข อ.สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์ หรือคุณสุริยะใส กตะศิลาก็ต้องว่า กันไปตามสิ่งที่มันถูกต้อง เพราะมาประชุมกัน ถึงแม้ คุณจะมีความสัมพันธ์พิเศษ มีเบื้องหลัง พวกนี้ต้องออกไปข้างหลังหมด มันไม่เกี่ยวกัน เพราะฉะนั้นเวลาที่ตกลงกันระหว่างแกนนำ มันต้องตั้งอยู่ในเหตุผลและเงื่อนไขอยู่ดี มันไม่มีลักษณะที่ว่า เช่น เราจะไปบุกสนามบิน เพราะมันผิด คุณจะไปจับประเทศเป็นตัวประกันหรือ ไปปิดที่เดินทาง ไปจำกัดเสรีภาพของคนที่จะให้เคลื่อนตัวต่าง ๆ
Q เสียงวิจารณ์จากกลุ่มปัญญาชนว่า พันธมิตรเป็นขวาตกขอบไป แล้วคุณปรีดา ซึ่งดูมีความคิดเป็นเสรีนิยม เข้าไปอยู่กลุ่มขวาจัดตกขอบได้อย่างไร
เฉกเช่นเดียวกัน ตอนนี้ผมก็อยู่”สามัคคีธรรม”ซึ่งผมก็ยังเห็นด้วยว่า มาตรา 112 มันก็ต้องถูกแก้บ้าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการบริหารจัดการ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของจำนวนปีที่น่าจะลดทอนลงมาบ้าง ก็ทำให้ผมต้องเลือกทางที่จะไปเหมือนกัน ทั้งที่ผมก็ไม่ได้เห็นทุกอย่างไปในทางเดียวกัน แต่ตอนนี้เราต้องรวมตัวกัน เพราะเราเห็นปัญหา หลักของประเทศนี้ คือ คุณทักษิณ เราเห็นเหมือนกัน ทำให้เราขจัดสิ่งเรื่องอื่นก่อน แล้วค่อยมาแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
Q คุณปรีดายังเห็นว่าคุณทักษิณยังเป็นภัยของประเทศอยู่หรือเปล่า
ยังเป็นอยู่
Qอะไรคือ อันตรายที่สุดของคุณทักษิณ
คุณทักษิณจัดกระบวนการการเมืองขึ้นมา พรรคการเมืองขึ้นมา และเข้าสู่การให้ได้คะแนนเสียงมา ผ่านนโยบายประชานิยมล้วน ๆ ผมพูดเรื่องนี้มาอย่างน้อย 11-12 ปี แล้วว่า เป็นอันตรายต่อประเทศมาก และนี่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้น เศรษฐกิจล่มสลายปี 2540 ประเทศพังราบไปก็ตาม การกระทำแบบประชานิยม หรือพวกมากลากไป หรือ
การสืบทอดอำนาจของจอมพลถนอม กิตติขจร , จอมพลประภาส จารุเสถียร นำมาซึ่งการรวมกลุ่มของเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 จำนวน 1 ล้านคนที่ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยภายใน 3 ชั่วโมง
Qไม่ใช่พวกคุณปรีดาหรือที่เขียนรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่ทำให้คุณทักษิณสามารถรวบอำนาจ
ใช่ เพราะเราต้องการให้ฝ่ายบริหารแข็งแรง เราเห็นปัญหา เราเห็นปัญหา จำได้ว่าตอนนั้นสส.ปากที่พูดอยู่ตลอดเวลาเขย่าอยู่ตลอดเวลา ทำให้ฝ่ายบริหารแทบจะทำ อะไรไม่ได้ ถ้าจำได้ตอนนั้นมีรัฐบาลประชาธิปัตย์ แม้กระทั่งรัฐบาลของพลเอกชวลิต ยงใจยุทธก็โดนบุคคลคนเดียวกันนี้สั่นคลอนอยู่ตลอดเวลา แม้กระทั่งป๋าเปรม
เองในท้ายที่สุดก็ลาออกเลิก ก็มาจากสส.พวกนี้ที่เราเรียกว่า “ไอ้” “ไอ้”ทั้งหลาย
Q ก็เลยให้อำนาจฝ่ายบริหารเต็มที่ในรัฐธรรมนูญปี 2540 แต่จุดหนึ่งก็เป็นที่มาของทักษิณ
ถูกต้อง
Qคุณปรีดาต้องตามไปแก้
ใช่ครับ เพราะเส้นทางเขาใช้ประชานิยม ซึ่งในท้ายที่สุดจะนำกลับมาซึ่งความล่มสลายของเศรษฐกิจแบบปี 2540
Qกลุ่มสยามสามัคคีของคุณปรีดาทำอะไรบ้าง
รวมตัวกันและให้ความรู้ซึ่งกันและกัน
Qคุณปรีดาเคยเป็นทุนสนับสนุนให้กลุ่มพันธมิตร หรือกลุ่มพรรคการเมืองใหม่ในช่วงแรก ๆ ตอนนี้ยังเป็นทุนสนับสนุนกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองหรือไม่
คำว่าให้ทุนผมต้องขอปฏิเสธ ทางพันธมิตร ถ้าผมจะช่วยเหลืออะไรบ้าง ผมก็ช่วยไปตามความจำเป็น เขาขัดสนเราก็ช่วยบ้าง แต่ก็ไม่ได้มากมายอะไร ข้าว ปลา อาหารก็ช่วยกันไป ขาดนั้นขาดนี่ก็ช่วยกันไป แต่มันไม่ใช่ผมคนเดียว แม้กระทั่งประชาชนที่มาร่วมชุมนุมก็ใส่เงินบริจาคในกล่อง ผมอาจจะมีมากกว่าคนธรรมดา ผมก็ช่วยมากหน่อยเท่านั้นเอง กรุณาอย่าบอกว่า ผมเป็นนายทุน อย่างนั้นทุกคนที่บริจาคเป็นนายทุนหมดด้วยกัน
Qทำด้วยใจกันมากกว่า
ก็อย่างนั้น
Qพันธมิตรจะจัดชุมนุมใหญ่ 10 มีนาคม 2555 คุณปรีดามองอย่างไร บางคนดูถูกว่า 1,000 คนก็เก่งแล้ว
ก็ไม่สำคัญ พันธมิตรทำไปก็ดีแล้ว ก็ยังมีคนศรัทธาในกลุ่มพันธมิตรอยู่ อย่างที่ท่านสมณะโพธิรักษ์ แห่งสันติอโศกได้ว่าไว้ มันไม่สำคัญที่จำนวนคน แล้วความจริงมีอยู่ว่า ช่วงที่ตกต่ำสุดของพันธมิตรมันก็นั่งกันอยู่ไม่กี่คน แต่พลังเหล่านี้เป็นพลังที่ถูกต้อง ในที่สุดจะดึงคนกลับเข้ามา
Qพันธมิตรจะกลับมายิ่งใหญ่ได้ในเงื่อนไขใด
อันนี้ผมตอบไม่ได้ แน่นอนศีลธรรมเป็นสิ่งสำคัญ กระบวนการการเคลื่อนตัวเหล่านี้ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของศีลธรรม สิ่งที่นักการเมืองชุดปัจจุบันทำอยู่นั้นขาดซึ่ง ศีลธรรมนำมาขนมมาให้กับประชาชน ความสุขชั่วคราว แต่ว่า จะไปสร้างปัญหาให้กับประชาชนในระยะยาว ขาดศีลธรรม ถ้าพันธมิตรเป็นตัวแทนของศีลธรรม “ สยามสามัคคี”เป็นตัวแทนของศีลธรรมเราก็จะเป็นกลุ่มก้อนที่มีพลังในการขับเคลื่อนตลอดไป แล้วมันไม่จำเป็นต้องอยู่ที่พันธมิตร ไม่จำเป็นต้องอยู่ที่สยามสามัคคี อาจจะมีกลุ่มอื่นขึ้นมาเยอะแยะไปหมด สิ่งเหล่านี้มันพิสูจน์มาตั้งแต่ 14 ตุลาคม 2516 แล้ว
Qถ้ารัฐบาลยิ่งลักษณ์ทำอะไรที่ไม่ชอบกลุ่มพลังพวกนี้ก็พร้อมออกสู่ท้องถนนอีกครั้ง
ง่ายมากกว่าตอนสมัยทหารคุมเมื่อ 60 ปี
Qคุณปรีดาเดินทางไปทั่วโลก เห็นธุรกิจของคุณทักษิณบ้างไหม
ผมก็ไม่เห็นอะไรที่เป็นหลักเป็นฐาน ไม่เห็นมีอะไรขึ้นมา ผมว่าหลายอย่างเป็นการพูดกันไปเอง เป็นการสร้างภาพ ถ้าจะทำธุรกิจอะไรที่ประเทศไหนต้องลงไปคลุก คลีที่นั่น บอกจะบินโฉบไปที ผมฟังแล้วมันตลก เช่น เรื่องเหมืองเพชร เหมืองทอง ที่ผมมีประสบการณ์มา 40 ปีแล้ว หากคุณไม่นั่งอยู่ตรงนั้น คนอื่นก็เอาไปแล้ว คนอื่นได้ แต่คุณออกเงิน ไม่ใช่ขับเครื่องบินไปแล้วบอกให้ส่งเพชร ส่งทองมาให้มันไม่ได้ มันต้องลงไปคลุกคลี ผมไม่เคยเห็นอะไรเป็นแก่นสาร
Q มองพรรคประชาธิปัตย์อย่างไร
ผมว่า การเมืองระบบ 2 พรรคมันเกิดขึ้นแล้ว ตัวของเพื่อไทยก็จะมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ เราไม่รู้แน่ ความจริงถ้าจะแปลคำว่า ประชาธิปัตย์โดย ตรงเปรียบเหมือนพรรคเดโมแครต ถ้าโดยพื้นเท่ากับกลุ่มแรงงาน หมายถึงจะเอียงซ้ายจะดูแลมวลชน และฝ่ายตรงข้าม คอนเซอร์เวทีฟ และฝ่ายตรงข้ามเดโมแครตคือ พรรครีพับลิกันก็จะดูแลธุรกิจ จะเอียงขวามากกว่าจะเป็นอย่างนี้ เราคงอนุมานได้ว่า ในอนาคตประบบการเมืองไทยจะเป็นอย่างนั้น พรรคหนึ่งเอียงไปทางซ้าย อีกพรรค หนึ่งเอียงไปทางขวาหน่อยนะ
แต่ที่ประเทศไทยเป็นอยู่ อุดมการณ์ของทั้ง 2 พรรคต่างกันเยอะ มองจากประชาธิปัตย์ดูประหนึ่งว่า จะดูแลผลประโยชน์ของประเทศเป็นหลัก ไม่ต้องพูดว่า ซ้ายหรือ ขวา แต่พรรคเพื่อไทยดูแลผลประโยชน์ของคุณทักษิณ ความแตกต่างมันมหาศาลเหลือเกิน ประเทศจะบริหารลงตัวและร่วมกันบริหาร คือ คนค้านก็ค้าน คนทำก็ทำ
แต่การค้านต้องมีหลัก เพราะสิ่งที่ค้านคนทำ คุณค่าหรือค่านิยมของเขา มันไม่ได้ต่างอะไรกัน การพิจารณาคำว่าศีลธรรมเหมือนกัน เพียงแต่การแปลว่า ศีลธรรมนี้ควร เป็นอย่างนั้นอย่างนี้มันต่างกัน ระหว่างพรรคปีกซ้ายกับพรรคปีกขวา มันจะทำงานกันไปได้ เพราะเวลาเถียงกันมันไม่ได้เอาเป็นเอาตาย แต่ที่เป็นอยู่ปัจจุบันนี้ประเทศ
เราไม่ถึงขั้นนั้น เพราะฉะนั้นผมดูแล้วที่คุณถามประชาธิปัตย์น่าจะทำได้ดีกว่านี้ ในท้ายที่สุดผมดูแล้วมันต้องเป็นอย่างนี้ พรรคเพื่อไทยเหมือนจะเป็นพรรคหลัก มันเริ่มมาจากนายทุนใหญ่ต่าง ๆนานาผมว่าในที่สุดมันต้องพัฒนาขึ้นมาเป็นพรรคหลัก เสร็จแล้วพรรคนี้จะกลายเป็นพรรคที่เอียงซ้าย ดูประหนึ่งว่า ตอนนี้มันจะเอียงซ้าย
แต่เดโมแครตตามชื่อมันเอียงซ้าย แต่มันอนุรักษ์กว่า พอเห็น ๆ อยู่นะว่า โมเดลของเมืองไทยถ้าดูตามรอยเส้นตอนนี้ มันดูประหนึ่งว่า เจ้าเดโมแครตมันน่าจะดู เหมือนอย่างเป็นรีพับลิกันหรือคอนเซอร์เวทีฟ และพรรคเพื่อไทยซึ่งอาจจะเปลี่ยนชื่อ ซึ่งเปลี่ยนมาหลายครั้ง แล้วมันจะเอียงซ้ายหน่อย แต่ไม่ใช่โมเดลอย่างปัจจุบัน ที่ทำเพื่อทักษิณ ถ้าเป็นอย่างนี้ก็ตีกันอยู่อย่างนี้ ตกลงกันไม่ได้ การบริหารประเทศไม่มีใครเอาใคร ใครทำโครงการนี้ หากพรรคใหม่มาเป็นรัฐบาลยกเลิก ซึ่งการบริหารประเทศเขาไม่ทำกัน ถ้าคุณจะแก้ก็แก้แต่ไม่ใช่เลิก คุณทำงานบริหารประเทศอย่างนั้นได้อย่างไร ของใครของมัน ประชานิยมเต็มที่
Qมีหวังกับการเมืองไทยหรือไม่
ต้องมี อย่างน้อยสุดเราก็ออกมาจากระบอบทหารเต็มที่มา 60 ปีมาสู่ระบอบประชาธิปไตย จากครึ่งใบมาสู่ประชาธิปไตยเต็มใบ แต่ประชาธิปไตยเต็มใบตอนนี้"ทุนสามานย์"จะมีบทบาทมากเกินไปเราต้องให้ความรู้แก่ประชาชน และเราหวังว่า ประชาชนจะออกมาเคลื่อนไหวในการเปลี่ยนแปลง เคลื่อนไหวในการรักษาอารมณ์ ไม่ใช่ไป ปิดสนามบิน ไปอย่างมีสติ
Q คุณคิดอย่่างไรกับมาตรา 112
ผมว่าที่สุด สังคมไทยก็ต้องมาพูดเรื่องนี้อย่างจริงจังว่า จะแก้ไขปรับปรุงอย่างไร เพราะมันได้กลายเป็นเครื่องมือกลั่นแกล้งทางการเมืองไปแล้ว ผมเห็นด้วยกับอาจารย์วรเจตน์ ภาคีรัตน์(นิติราษฎร์) หลายประเด็น แต่ข้อเสนอบางเรื่องก็ซื่อไปหน่อย ผมไม่เชื่อว่า คนพวกนี้รับเงินใครมาเคลื่อนไหว ผมไม่เชื่อ ผมเชื่อว่า พวกเขาบริสุทธิ์ใจ แต่บางเรื่องไม่เหมาะ
กุ้งอินเตอร์
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
รีโมท
ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น