บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555

เปิดปมม็อบผู้ค้าจตุจักร ทำเพื่อส่วนใหญ่ หรือเพื่อตัวเอง

Pic_243236 กลายเป็นปัญหาเรื้อรังที่เริ่มจะบานปลายหนักข้อขึ้นทุกวัน ภายหลังจากการเปลี่ยนมือบริหารตลาดนัดจตุจักร  จากกรุงเทพมหานคร (กทม.) ที่เป็นผู้รับสัมปทานเนื้อที่กว่า 68 ไร่ หรือประมาณ 1.09 แสนตารางกิโลเมตร จากการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. มาจัดสรรพื้นที่ให้ผู้ค้าได้เช่าขายสินค้าเป็นเวลายาวนานกว่า 30 ปี ซึ่งเป็นการบริหารพื้นที่ก่อนทำสัญญาเช่า 5 ปี ได้หมดลงเมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2555

โดยมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มีมติเมื่อวันที่ 27 ธ.ค. 2554 ให้ รฟท.ทำหน้าที่บริหารจัดการตลาดนัดจตุจักรเอง เนื่องจาก ตลอดระยะเวลา 25 ปี ที่รฟท.มีสัญญาให้ กทม.เป็นผู้เช่าพื้นที่จตุจักรนั้น ทางรฟท.ได้รับค่าเช่าเพียง 147 ล้านาท เพราะค่าเช่าในช่วง 20 ปีแรกที่ต่ำมาก โดยปีแรกได้ค่าเช่าเพียง 1.6 ล้านบาท และปรับเพิ่มเป็นปีละ 3.4 ล้านบาทในปีที่ 20 ส่วนช่วง 5 ปีสุดท้ายของสัญญาเช่าแบ่งเป็น 2 ระยะ คือปี 2551-2553 ได้ค่าเช่าปีละ 20.8 ล้านบาท และ 2 ปีสุดท้ายได้ค่าเช่าสูงสุดปีละ 24.2 ล้านบาท ซึ่งหากบวกลบคูณหารกันดีๆ แล้วจะเท่ากับว่า รฟท.ได้ค่าเช่าเฉลี่ยตารางเมตรละประมาณ 220 บาทเท่านั้น
นับ จากวันที่มีข่าวการเข้าบริหารพื้นที่จาก กทม.เป็น รฟท.ก็มีปัญหามาโดยตลอดว่าสัญญาจะเป็นอย่างไร ค่าเช่าพื้นที่จะเป็นเท่าไหร่ และปัญหาอื่นๆ อีกมากมาย นับเป็นสิ่งที่สร้างความปวดหัวให้กับผู้ที่จะเดินเข้ามาบริหาร รวมถึงตัวผู้ค้า จน รฟท.ต้องแต่งตั้งคณะทำงานบริหารพื้นที่ตลาดนัดจตุจักร คือ นายประเสริฐ อัตตะนันท์ รองผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย เข้ามาเป็นประธานคณะทำงานดังกล่าว และได้เปิดโอกาสให้ผู้ค้ามาลงทะเบียน ซึ่งในครั้งแรกมีผู้มาลงทะเบียนทั้งสิ้น 8,000 ราย จากทั้งหมด 8,807 ราย ใน 27 โครงการ และสิ่งแรกที่ทาง รฟท.เข้ามามอบเป็นของขวัญให้กับผู้ค้าคือการเปิดขายฟรี 2 เดือน คือ ต้นเดือน ม.ค.- สิ้นเดือน ก.พ. ในระหว่างนั้นทางคณะทำงานและ รฟท.ก็มิได้นิ่งนอนใจ ได้ประชุมกันอย่างหนักว่าจะเคาะราคาค่าเช่าแผงเท่าไร และทุกโครงการในพื้นที่จะเท่ากันหมดหรือไม่

เมื่อวันที่ 22 ก.พ. 2555 นายยุทธนา ทัพเจริญ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้เปิดเผยถึงผลการประชุมคณะกรรมการบอร์ด รฟท. ว่าได้เคาะค่าเช่าแผงตลาดนัดจตุจักรแผงละ 3,175 บาทต่อเดือน และค่าธรรมเนียมอีก 50,000 บาท มีอายุสัญญา 3 ปี และต่อสัญญาได้อีกคราวละ 2 ปี โดยจะเรียกผู้ค้ามาทำความเข้าใจและรับทราบอัตราค่าเช่าใหม่ รวมถึงการทำสัญญาสมุดคู่มือในการเช่า ส่วนผู้ค้าที่มีปัญหาด้านการเงิน รฟท.ก็ยังมีความเป็นธรรมเพราะได้ประสานกับธนาคารออมสินเพื่อปล่อยกู้เงินใน ครั้งนี้ ไม่ได้ปล่อยผู้ค้าลอยแพหรือต้องการเพียงเงินโดยไม่คิดถึงที่ทำมาหากินของผู้ เช่าที่อยู่มานมนาน
แต่ มติบอร์ดในครั้งนั้นกลับทำให้เหตุการณ์กลับมาร้อนระอุอีกครั้ง เนื่องจากมีผู้ค้ากลุ่มหนึ่งที่แสดงความไม่พอใจค่าเช่าดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่าค่าเช่าดังกล่าวแพงเกินไปจนกระทั่งลุกลามมา

เมื่อวัน ที่ 27 ก.พ. 2555 กลุ่มพ่อค้าแม่ค้าได้นัดรวมตัวกันประท้วงบริเวณหน้าประตู 3 ทางเข้าตลาดนัดจตุจักร ริมถนนพหลโยธิน ฝั่งขาออก การประท้วงครั้งนี้ นายสงวน ดำรงไทย แกนนำกลุ่มผู้ค้าฯ ได้เข้ายื่นหนังสือต่อ พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมในฐานะกำกับดูแล รฟท.โดยเรียกร้องทั้งหมด 3 ข้อ ได้แก่ 1. ให้เลือกคณะกรรมการที่มาจากกลุ่มผู้ค้าเข้าร่วมประชุมกับ รฟท. 2. ให้ยกเลิกค่าธรรมเนียม 50,000 บาทต่อสัญญา 5 ปี ยกเลิกค่าเช่ารายเดือน 3,157 บาทต่อ 1 แผงค้า และ 3. กำหนดให้สัญญาเช่ามีอายุ 30 ปีต่อครั้งไม่ใช่ 5 ปีต่อครั้ง

การเจรจาในครั้งนั้น พล.ต.ท.ชัจจ์ ได้ส่ง นายสมบัติ รัตโน เลขานุการเข้ามาพูดคุยและตกลงกับผู้ค้าแทน ซึ่งเบื้องต้นได้ตกลงกันว่า ยินดีที่จะให้ผู้ค้าเข้ามาร่วมพิจารณา ส่วนเรื่องอัตราการเช่าและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ตามข้อเรียกร้องของทางกลุ่มผู้ชุมนุมในข้อที่ 1 โดยมอบหมายให้นายจรัสพันธ์ วัชโรทัย ผอ.บริหารพื้นที่ตลาดนัดจตุจักรเป็นคนดูแล โดยเร่งให้มีการสรรหาคณะกรรมการภายใน 2 อาทิตย์ ข้อ 2. ทางรมช.คมนาคม ยินดีที่จะให้มีการระงับหนังสืออัตราการเช่าฉบับดังกล่าวออกไปก่อน จนกว่าจะได้ข้อสรุปในการประชุมจากทางคณะกรรมการที่จะสรรหา และ 3. ในการต่ออายุสัญญานั้นให้พิจารณาระงับไปก่อน ตามที่ได้ระงับอัตราค่าเช่า ค่าธรรมเนียมและอายุสัญญา หลังจากนั้นทางกลุ่มผู้ชุมนุมพอใจ และต่างทยอยเดินทางกันกลับ
จน วันที่ 3 มี.ค. 2555 ทาง รฟท.ได้เปิดตั้งโต๊ะให้ผู้ค้าตลาดนัดจตุจักรมาลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิทำ สัญญากับ รฟท.ในการขายสินค้าภายใต้การบริหารงาน และสัญญาของรฟท. ตั้งแต่ช่วงเช้า ได้มีผู้ค้าในตลาดนัดจตุจักรหลายรายที่พอใจ และทยอยมาลงนามในสัญญา และได้รับมอบสมุดเล่มแสดงสิทธิการเป็นเจ้าของแผงค้าหน้าปกแดง เพื่อแสดงสิทธิของผู้ค้าจำนวนมาก

นายยุทธนา ผู้ว่าการ รฟท. กล่าวว่า หลังจากสัปดาห์ที่ผ่านมามีผู้ค้าบางกลุ่มไม่เห็นด้วยแนวทางการกำหนดค่าเช่า ที่คณะกรรมการ รฟท.มีมติคิดค่าเช่า 3,157 บาทต่อเดือน และต้องเสียค่าธรรมเนียมแรกเข้าอีก 50,000 บาท และเงินค้ำประกันสัญญาอีก 20,000 บาท แต่หลังจากกระทรวงคมนาคมมีนโยบายให้ปรับหลักเกณฑ์ใหม่ ล่าสุด รฟท.ปรับเงื่อนไขใหม่ให้ผู้ค้าเสียเพียงค่าเช่า เพียง 3,157 บาทต่อเดือนเท่านั้น โดยไม่จ่ายค่าธรรมเนียมและค่าค้ำประกันสัญญาแต่อย่างใด แต่จะเสียเพิ่มเติมในด้านภาษีโรงเรือนอีก 395 บาท และค่าบัตรชำระเงินกับทางธนาคารอีก 10 บาท นอกจากนี้ สัญญาของผู้ค้าที่มาลงทะเบียนหลังจากนี้จะมีอายุ 2 ปี สาเหตุที่ปรับลดระยะเวลาการเช่าจาก 5 ปีเหลือ 2 ปี นั้นเพื่อให้ระยะเวลานี้ การรถไฟฯจะได้เข้ามาทำการปรับปรุงพื้นที่ ปรับปรุงระบบสาธารณโภคต่างๆ ภายในตลาดให้ดีขึ้นและมีความทันสมัยและความสะดวกยิ่งขึ้น แต่หลังครบ 2 ปีแล้ว กลุ่มผู้ค้ารายเดิมยังมีสิทธิ์ตามเดิม ซึ่ง รฟท.เชื่อว่าการปรับหลักเกณฑ์ดังกล่าวผู้ค้าน่าจะรับเงื่อนไขนี้ได้

ส่วน ผู้ค้าที่ยังไม่เห็นด้วยการกำหนดค่าเช่านี้ คงต้องเดินหน้าเจรจากันต่อไป โดยกำหนดให้ผู้ค้าลงทะเบียนตามทาง รฟท กำหนดมาให้ลงทะเบียนภายในบริเวณ กองอำนวยการภายในวันที่ 3-4 มี.ค.นี้ หรือที่อาคารสำนักงานใหญ่ รฟท. ไปจนถึงวันที่ 13 มี.ค.นี้ หากผู้ค้ารายใดไม่แสดงความจำนงการต่อสัญญาก็จะเสียสิทธิการเป็นผู้ค้าได้
ด้าน นายเกษม โฆษานุธรรม ผู้ค้าของตกแต่งจากภาคเหนือ กล่าวว่า หลังจากรฟท. ได้ยกเลิกเก็บค่าธรรมเนียมแรกเข้า ก็เห็นว่าน่าจะรับได้ แต่หลังจากนี้ไปกลุ่มผู้ค้าส่วนใหญ่ คาดหวังทาง รฟท. น่าจะปรับพื้นที่เป็นตลาดให้มีความทันสมัยและความสะดวกสบายมากขึ้น เพื่อสร้างชื่อเสียงตลาดนัดจัตุจักรให้ดังระดับโลก ขณะเดียวกันอยากให้ รฟท. จัดระเบียบผู้ค้าหาบเร่ใหม่เพื่อให้เป็นผู้ค้าที่ถูกต้องไม่กระทบกับผู้ค้า ที่ได้ลงทะเบียนไว้แต่อย่างใด

นอกจากจะมีการลงทะเบียนแล้ว ธนาคารกรุงไทยและธนาคารออมสินมาตั้งบูธ เพื่อให้บริการผู้ค้าที่ใช้สิทธิ์ลงทะเบียนสามารถมาทำสัญญาเงินกู้ค้าขายได้ เช่น ธนาคารกรุงไทยให้สินเชื่อขั้นต่ำ 50,000 บาท โดยไม่ต้องมีผู้ค้ำประกัน หากมีผู้ค้ำประกัน 2 รายก็จะให้สินเชื่อวงเงินสูงสุดถึง 2 แสนบาท

เหมือนทุกอย่างจะจบลง อย่างดี เพราะทาง รฟท.ก็ได้พยายามประนีประนอมอย่างยิ่ง แต่พอเวลา 13.00 น. ทำให้รู้ว่าไม่เป็นอย่างที่คาดไว้ เพราะมีกลุ่มบุคคลที่อ้างสิทธิว่าเป็นผู้ค้าในตลาดนัดจตุจักรหลายรายไม่พอใจ ราคาค่าเช่า และสัญญา ที่รฟท.ได้สรุปเงื่อนไข ประมาณ 100 คน ได้มาชุมนุมรวมตัวบริเวณหอนาฬิกา ก่อนที่จะเคลื่อนย้ายไปยังบริเวณทางเข้าประตู 3 หน้าตลาดนัดจตุจักร หน้ากรมการขนส่งทางบก ถนนพหลโยธิน ขาออกและพยายามที่จะเข้ามาปิดประตู 3 และถนนพหลโยธินเพื่อไม่ให้มีการจราจร โดยบุคคลกลุ่มที่คัดค้านนี้ ได้กล่าวโจมตีถึงเหตุผลที่ไม่เห็นด้วยกับ รฟท. ในประเด็น 1. การที่ รฟท. ให้ผู้ค้าในตลาดนัดทำสัญญากับ รฟท. 3 ปี และสามารถต่อสัญญาครั้งละ 2 ปี ขอให้มีการเปลี่ยนแปลงเป็น ผู้ค้าทำสัญญากับ รฟท. ในอายุสัญญา 30 ปี 2. ให้กลุ่มผู้ค้าเข้ามาเป็นผู้บริหารตลาดนัดจตุจักรร่วมกับ รฟท. และ 3. ให้ รฟท.ยกเลิกการจัดเก็บค่าเช่าที่ 3,157 บาทต่อเดือน ให้มาจัดเก็บเพียงไม่เกิน 1,000 บาทต่อเดือนเท่านั้น หาก รฟท. ไม่ทำตามเงื่อนไขกลุ่มบุคคลที่อ้างว่าเป็นผู้ค้าในตลาดนัดจตุจักรก็จะยังคง ชุมนุมคัดค้านอยู่ต่อไป และหากจะเจรจาเพื่อยุติการชุมนุม กลุ่มบุคคลดังกล่าวอ้างว่าจะขอเจรจากับนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เท่านั้น
ขณะ ที่ รมช.คมนาคม ได้ให้สัมภาษณ์ถึงเหตุการณ์ดังกล่าวว่า ในวันที่ 13 มี.ค. นี้ หากผู้ค้ารายใดไม่มาลงทะเบียนต่อสัญญากับ รฟท. จะถือว่าสละสิทธิ์ และจะให้รฟท. หาผู้ค้ารายใหม่มาเช่าแผงต่อแทน ซึ่งราคาค่าเช่า 3,157 บาท ถือว่า อยู่ในระดับที่เหมาะสม และผู้ค้าส่วนใหญ่รับได้ หาก รฟท.ไม่เก็บค่าเช่าในอัตราใหม่ ก็จะไม่มีเงินมาปรับปรุงตลาดจตุจักร นอกจากนี้ได้ให้ รฟท. ตั้งกรรมการขึ้นมาดูแลช่วยเหลือกลุ่มผู้ค้าที่มีปัญหาในการขายสินค้า เช่น อยู่ในพื้นที่ไม่ดี หรือเป็นสินค้าที่ขายไม่ค่อยได้ เช่น หมาก พลู เพื่อให้กลุ่มกลุ่มนี้อยู่ได้

“ตอนนี้มีเพียงบางกลุ่มที่ยังไม่รับ ราคานี้ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มสหกรณ์ เช่น นายสงวน นายโต้ง เจ๊พร ถ้ายังไม่รับราคา ยังอยากจ่ายค่าเช่า 1,000 บาท จะไปฝากให้อยู่กับตลาดนัดจตุจักร ของกรุงเทพมหานคร ส่วนใครที่อยากเช่า 30 ปี ก็จะหาตลาดนัดใหม่ให้ เพราะอายุสัญญาเช่า 2 ปี เป็นเสียงส่วนใหญ่ เพื่อให้ รฟท.มีโอกาสปรับปรุงตลาดนัดได้ และภายใน 1 ปีนี้ จะปราบมาเฟียในตลาดนัดให้หมดทุกกลุ่ม”
เรื่อง ต่างๆ จึงยังไม่จบและร่ายยาวมาจนถึงวานนี้ (5 มี.ค.) กลุ่มผู้ค้านำโดยนายสงวน ดำรงไทย ประธานสหกรณ์บริหารผู้ค้าตลาดนัดจตุจักร ได้นัดรวมตัวกันที่ทำเนียบรัฐบาล ฝั่ง ถ.พิษณุโลก ยืนยันข้อเรียกร้องให้ รฟท.ปรับค่าเช่าแผงเหลือไม่เกินเดือนละ 1,000 บาท จากที่มีการปรับเพิ่มขึ้นถึง 3,562 บาท ถือเป็นการเอาเปรียบผู้ค้าและเสนอให้ต่ออายุสัญญาออกไปอีกอย่างน้อย 30 ปี รวมถึงการให้ผู้ค้าเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ และขู่ว่าการยื่นเรื่องต่อนายกรัฐมนตรีในครั้งนี้ หากไม่ได้รับการดูแลแก้ไขปัญหาจะไปยื่นเรื่องต่อศาลปกครองในวันพุธที่ 7 มี.ค. หากยังไม่ได้รับความเป็นธรรม เตรียมยื่นถวายฎีกาเป็นขั้นตอนสุดท้าย  แกนนำผู้ค้ายืนยันว่าไม่มีเรื่องการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่เป็นความเดือดร้อนของผู้ค้าอย่างแท้จริง โดยได้นำตารางเปรียบเทียบค่าเช่ากับตลาดใกล้เคียงพบว่าตลาดนัดจตุจักรมีราคา สูงกว่าทุกตลาด 

ที่สุดของปัญหาแล้วจะมีจุดจบเช่นไร คงไม่มีใครตอบได้ ณ ขณะนี้ แต่ที่น่าจับตาคือหากผู้ค้าเดือดร้อนเรื่องค่าเช่าที่ใหม่จริงว่าแพงแสนแพง แต่กลับมีผู้ค้าส่วนใหญ่ยอมลงให้กับสัญญาและค่าเช่าที่ดังกล่าว มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่ออกมาเรียกร้องใช่หรือไม่.


ไทยรัฐ

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง