วันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2555
พระราชดำรัสของพระมหากษัตริย์กับประชาธิปไตย
The King 's speech of Democracy
กระแสพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 5-7 ที่เกี่ยวกับการปกครองแบบประชาธิปไตย
โดย เทพมนตรี ลิมปพยอม
ตอน1
ในระยะนี้มีคณะบุคคลคณะหนึ่งนามว่า “คณะนิติราษฎร์” พยายามเสนอให้รัฐสภาแก้ไขกฎหมายอาญามาตรา 112 เพื่อลดทอนพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์และเกิดการต่อต้านจากประชาชนกลุ่มต่างๆ เป็นอันมาก ในบทความของผมนี้ไม่ต้องการจะกล่าวถึงพวก “คณะนิติราษฎร์” ในประเด็นอื่นๆ เกี่ยวกับข้อเสนอของพวกเขา หรือให้ความสำคัญต่อสิ่งที่พวกเขาได้นำเสนอเพราะผมเห็นว่าข้อเสนอของพวกเขาไม่สนใจต่อความทุกข์ร้อนของประชาชน หากแต่พวกเขาทำเพื่อตัวพวกเขาเอง
ในบทความของผมต้องการเสนอข้อมูลสำคัญที่พวกคณะนิติราษฎร์ไม่เคยสนใจ หรือไม่เคยรับรู้หรือนำไปคิดพิจารณาถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตริย์ที่พวกเขาอาศัยแผ่นดินเกิดอยู่
พวกเขาทำตัวเหมือนทารกน้อยที่ลืมตาดูโลกโดยไม่รู้ว่าใครเป็นผู้ให้ที่อยู่ที่อาศัยที่ทำมาหากิน ด้วยเหตุดังกล่าวนี้ ผมจึงขออัญเชิญกระแสพระราชดำรัสของพระมหากษัตริย์ที่แสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถในเรื่องสิทธิเสรีภาพและความเป็นประชาธิปไตยที่มีมานับร้อยปีแล้ว
1. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในหลวงรัชกาลที่ 5 ได้มีกระแสพระราชดำรัสดังนี้
บทวิเคราะห์
จากกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานตามวาระและโอกาสต่างๆ สามารถแยกแยะประเด็นได้ว่า
1. เมื่อร้อยกว่าปีที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ทรงมีความเข้าใจเรื่องระบอบประชาธิปไตยการจัดตั้งพรรคการเมือง และคณะรัฐบาลอย่างไม่ต้องเคลือบแคลงสงสัย
2. ทรงมีความกังวลต่อเรื่องที่ประชาชนหรือราษฎรยังไม่มีความพร้อม
3. ทรงแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างราษฎรกับสถาบัน
4. ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานระบอบประชาธิปไตยให้กับราษฎรเมื่อในหลวงรัชกาลที่ 6 ได้ขึ้นครองราชย์แล้วและพระองค์ท่าน (ในหลวงรัชกาลที่ 5) จะทรงอยู่เบื้องหลังเพื่อถวายคำแนะนำ
--------------------------------
ตอน2
อันที่จริงแล้วรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ยังมีพระราชกระแสรับสั่งที่เกี่ยวกับการจัดการปกครองแบบประชาธิปไตยและในส่วนที่เกี่ยวกับ “คณะรัฐมนตรีและรัฐบาล” อีกจำนวนหนึ่งซึ่งจะนำเสนอในบทสรุปต่อไป
ในบทความครั้งนี้ ผมจึงขอนำเสนอกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงสืบสานพระราชปณิธานของรัชกาลที่ 5 ที่ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งเอาไว้ตอนปลายรัชกาลดังที่ผมได้นำเสนอไปแล้วในตอนที่ 1
ในหลวงรัชกาลที่ 6 ทรงทดลองการปกครองแบบประชาธิปไตยด้วยการสร้างเมือง “ดุสิตธานี” ขึ้นอย่างเสร็จสมบูรณ์ ณ บริเวณพระราชวังพญาไท โดยให้มีคณะรัฐบาล มีพรรคการเมือง มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎร (เรียกว่า เชษฐบุรุษ) มีการออกหนังสือพิมพ์ดุสิตสมิต เพื่อเผยแพร่แนวความคิดในการปกครองแบบประชาธิปไตย ดังความว่าในจดหมายเหตุรายวัน รัตนโกสินทร์ศก 130 เล่ม 2 วันที่ 13 มกราคมถึงวันที่ 31 มีนาคม หน้า 49-50
นอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงมีพระราชหัตถเลขาที่ตอบไปยังพระยาราชไมตรี เรื่องควรจัดให้สมาชิกรัฐมนตรีได้มีการทำและออกพระราชบัญญัติกำหนดหน้าที่ของสภาใหม่ เมื่อวันที่ 21-30 เษายน 2460 (หอจดหมายเหตุแห่งชาติ สบ.001/6) ความว่า
พระราชปรารภในช่วงระยะเวลาที่มีพระราชบัญญัติประถมศึกษา พ.ศ. 2464 ซึ่งปรากฏอยู่ในหนังสือ “ศุกรหัศน์” หน้า 327 ใจความว่า
------------------------
ตอน3
หลักฐานประวัติศาสตร์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลวงรัชกาลที่ 7 ทรงเตรียมการที่จะพระราชทานอำนาจอธิปไตยให้กับปวงชนชาวไทยด้วยการเริ่มจัดตั้ง “อภิรัฐมนตรีสภา” ขึ้นเป็นที่ปรึกษาราชการแผ่นดินของพระองค์ ทรงตราพระราชบัญญัติองคมนตรี พ.ศ. 2470 ขึ้น มีจัดระเบียบวิธีการประชุมคล้ายกับรัฐสภา ให้มีสภาเสนาบดีทำหน้าที่คล้ายกับคณะรัฐมนตรี เตรียมการให้มีการปกครองท้องถิ่นแบบ “เทศบาล” ขึ้น เพื่อสอนให้ประชาชนรู้จักการใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง พระราชดำรัสของพระองค์ท่านปรากฏอยู่ดังความว่า
นอกจากนี้ทรงปรึกษานายเรมอนด์ บี. สตีเฟนส์ ชาวอเมริกัน ที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศ และพระยาศรีวิสารวาจา ปลัดทูลฉลองกระทรวงการต่างประเทศในการร่างรัฐธรรมนูญ และทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานให้แก่ราษฎรในวันที่ 6 เมษายน 2475 วันที่ราชวงศ์จักรีครบ 150 ปี
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นภาษาอังกฤษชื่อว่า “An Outline of Changes in the Form of Government” ซึ่งกำหนดให้มี 4 สถาบัน คือ พระมหากษัตริย์, อภิรัฐมนตรีสภา, นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี, และสถาบันนิติบัญญัติ ให้พระมหากษัตริย์ยังทรงดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายบริหาร
แต่ผู้ยกร่างทั้งสองก็ยังไม่ค่อยเห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าวเพราะความไม่พร้อมในเรื่องการศึกษาและความไม่พร้อมของประชาชนส่วนใหญ่ ที่ประชุมอภิรัฐมนตรีสภาก็คัดค้านเช่นกัน จึงทรงระงับการผลักดันรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไว้ก่อน ประกอบกับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศในขณะนั้นตกต่ำ
แต่ในที่สุดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 คณะราษฎรได้ดำเนินการยึดอำนาจเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์อยู่ใต้รัฐธรรมนูญ (Constitutional Monarchy) โดยที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ แปรพระราชฐานประทับอยู่ที่วังไกลกังวล มีผู้ถวายความแนะนำให้จัดการกับพวกคณะราษฎรแต่พระองค์ท่านไม่ต้องการให้เสียเลือดเนื้อ ไม่มีการต่อสู้ขัดขวาง
คณะราษฎรได้ขอร้องให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอยู่ใต้ธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามเพื่อบ้านเมืองจะได้เจริญขึ้น ได้ทรงยอมรับตามคำขอร้องและให้ตราพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ. 2475 และต่อมาก็มีการพระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับแรกขึ้นในวันที่ 10 ธันวาคม 2475 ดังมีพระราชดำริ ตอนหนึ่งว่า
ในเวลาต่อมาพระองค์ท่านยังมีลายพระราชหัตถเลขาถึงนายกรัฐมนตรีความว่า
ในตอนปลายรัชกาลมีความขัดแย้งขึ้นหลายประการระหว่างพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับคณะราษฎร โดยเฉพาะเมื่อพระราชทานคำแนะนำแก่นายกรัฐมนตรี ทรงเสนอให้มีการแก้ไขพระราชอำนาจในการแต่งตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประเภทที่ 2 ซึ่งพระองค์ทรงเห็นว่าเป็นอำนาจในส่วนของพระองค์โดยแท้ แต่รัฐบาลเป็นผู้คัดเลือกเอาแล้วนำมาถวายให้ทรงลงพระนามในช่วงเวลาที่จำกัด ต้องทรงลงพระนามตามข้อเสนอของรัฐบาลเท่านั้น
พระองค์ประสงค์จะให้ใช้วิธีเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน หรือโดยอ้อมจากบุคคลที่มีความรู้เป็นผู้เลือกหรือเลือกจากบุคคลที่เป็นข้าราชการหรือเคยเป็นข้าราชการชั้นสัญญาบัตร มีอายุไม่ต่ำกว่า 35 ปี พระองค์ทรงคาดหวังว่า สมาชิกสภาประเภทที่ 2 ที่จะทรงตั้งนั้น จะได้คัดเลือกจากบุคคลที่มีความรู้ และความชำนาญในการปกครองทั่วๆ ไป แต่คณะราษฎรและคณะรัฐบาลไม่เห็นด้วย
ต่อมาเมื่อทรงมีพระราชดำริเห็นว่าสภาผู้แทนราษฎรในขณะนั้นยังมิได้เป็นผู้แทนของราษฎรอย่างแท้จริง กรณีที่พระมหากษัตริย์ทรงยับยั้งร่างกฎหมายซึ่งจะต้องเป็นเรื่องสำคัญและเกี่ยวข้องกับประชาชน ควรจะได้สอบถามประชาชนหรือต้องใช้เสียงข้างมากถึง 2 ใน 3 หรือ 3 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกสภาทั้งหมดหรือต้องยุบสภาแต่รัฐบาลก็ไม่เห็นด้วย รวมไปถึงทรงมีพระราชดำริว่าการพระราชทานอภัยโทษ ควรให้สิทธิถวายฎีกาถึงพระองค์โดยตรง ซึ่งเรื่องทั้งหมดนี้กลายเป็นความขัดแย้งอย่างมาก จนในที่สุด พระองค์ทรงประกาศสละราชสมบัติ
----------------------------
ตอน4
จากกระแสพระราชดำรัสและพระราชกระแสรับสั่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ 5-7 จะเห็นได้ว่าทรงระมัดระวังการจัดให้มีรูปแบบการปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นอย่างมาก ทรงแสดงให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถและพระอัจฉริยภาพของแต่ละพระองค์
เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อปี พ.ศ. 2475 อำนาจอธิปไตยที่ประชาชนได้รับก็เนื่องด้วยเป็นมรดกตกทอดมาจากอำนาจ แม้พูดกันตรงๆ ก็คือการลดทอนพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ที่เราเรียกว่าอาชญาสิทธิ์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ได้แก่พระเจ้าแผ่นดิน เจ้าของแผ่นดินและเจ้าชีวิต มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข พระมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้รัฐธรรมนูญและใช้พระราชอำนาจโดยผ่านฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ
ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าก่อนมีการปฏิวัติ พ.ศ. 2475 พระมหากษัตริย์ทั้ง 3 พระองค์ได้ทรงวางรากฐานการพระราชทานการปกครองแบบประชาธิปไตยอยู่แล้วด้วย อย่างไรก็ตามเราต้องไม่ลืมว่าเมื่อมีการปฏิวัติ พ.ศ. 2475 ของคณะราษฎร เราได้เห็นพระมหากรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ 7 ที่มีแก่ประชาชนโดยทรงยอมตามความประสงค์ของคณะราษฎรเพื่อไม่ให้มีการสูญเสียชีวิตเลือดเนื้อของคนไทย ไม่มีการต่อสู้หรือขัดขวางแต่ประการใด ทรงยอมประกาศใช้รัฐธรรมนูญการปกครองฉบับชั่วคราวและฉบับถาวร
เมื่อประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยมาจนถึงปัจจุบันกลับปรากฏว่า อำนาจนั้นตกอยู่ในมือของข้าราชการและนักการเมือง เกิดมีการปฏิวัติรัฐประหาร ฉีกรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ร่างขึ้นใหม่ แล้วฉีกกันอีก ร่างใหม่กันอีก เป็นวัฏจักรวนเวียนเช่นนี้ จนมีรัฐธรรมนูญใช้ถึง 17 ฉบับ ตามที่เราได้ทราบกัน
รัฐธรรมนูญของไทยทั้ง 17 ฉบับ บัญญัติให้ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ผ่านร้อนผ่านหนาวมาสารพัด ส่วนใหญ่มาจากนักการเมืองและข้าราชการที่ลุแก่อำนาจ ทุจริตคอร์รัปชัน ปัญหาที่ตามมาจึงเป็นเหตุให้มีการพึ่งพระบารมีเพื่อยุติปัญหาทางการเมืองอยู่หลายครั้ง จนทำให้ภาระการปกครองประเทศแทนที่จะเป็นหน้าที่ของประชาชน กลับไปทำให้ “ในหลวง” ทรงหนักพระทัย และทรงห่วงใยบ้านเมือง
จนถึงทุกวันนี้ดังที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้พระราชทานสัมภาษณ์แก่ผู้แทนของนิตยสาร National Geographic เมื่อหลายปีก่อน ตอนหนึ่งว่า
เนื่องจากพระมหากษัตริย์ของไทยทรงเป็นประมุขของประเทศ จะต้องวางพระองค์ไว้ให้เป็นกลางทางการเมือง ดังคำพระราชทานสัมภาษณ์แก่ผู้สื่อข่าววิทยุ โทรทัศน์ บีบีซี หลายสิบปีที่ผ่านมาว่า
บทพระราชทานสัมภาษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่องค์ปัจจุบันของเรา แสดงให้เห็นถึงน้ำพระราชหฤทัยของพระองค์ท่านที่มีต่อประชาชน และคงไม่จำเป็นที่จะต้องไปตอบปัญหาของ “พวกนิติราษฎร์” คนพวกนี้ล้วนแล้วแต่มีปัญญาคิดแต่ไม่เคยใส่ใจต่อประโยชน์ของส่วนรวม อยากสานต่อความคิดของคณะราษฎรที่เคยบังคับพระบรมราชวงศ์จนฉุดให้ตกต่ำดุจสามัญชน จึงอยู่ด้วยบุญญาธิการของพระมหากษัตริย์ และพระบรมราชวงศ์จักรีในเวลานั้น ทำให้บุคคลในคณะราษฎรหลายคนได้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ จึงปรับเปลี่ยนแนวความคิดใหม่
แต่คณะนิติราษฎร์คณะนี้ไปหยิบเอาบางประเด็นขึ้นมาใช้ เป็นการตลบตะแลงปลิ้นปล้อนไปเท่านั้น ผมจึงคิดว่าเป็นเรื่องกฎแห่งกรรม “กรรมใครก็กรรมมัน”
ผมจึงสันนิษฐานว่าคณะของบุคคลเหล่านี้ก็คงพบจุดจบอีกไม่นานเกินรอ
“ด้วยเหตุว่าคนในเมืองไทยเคยรวบรวมกันเป็นความคิดอันหนึ่งอันเดียว คือ เอากระแสพระราชดำริพระเจ้าแผ่นดินเป็นประมาณ เมื่อกระแสพระราชดำริเป็นไปอย่างไร คนทั้งปวงเห็นตามโดยจริง เป็นตกลงไปได้โดยง่าย เป็นธรรมยั่งยืนเคยฝึกมาหลายชั่วคนแล้ว…อาศัยพระเมตตากรุณาต่อประชาราษฎรอันแรงกล้า เป็นที่นิยมยินดีชอบใจของราษฎรทั้งหลายทั้งปวง จึงได้เป็นที่เชื่อใจวางใจของคนทั้งปวง เคยออมชอมยอมตามมาไม่มีผู้ใดจะคิดฝ่าฝืน ไม่เหมือนในประเทศยุโรปซึ่งมีพระเจ้าแผ่นดินประพฤติต่างๆ รุนแรงไปตามอัธยาศัย มีบังคับเรื่องศาสนา เป็นต้น จนคนทั้งปวงมีความเบื่อหน่าย คิดอ่านต่อสู้ลดหย่อนอำนาจพระเจ้าแผ่นดิน”
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
รีโมท
ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น