สถาบันจัดอันดับเมืองผู้ดี ทำไทยวุ่นอีก
‘เมเปิ้ลครอฟท์’ จัดอันดับไทยเสี่ยงก่อการร้ายอันดับ 12 ของโลก อันดับ 1
ของเอเชีย จาก 197 ประเทศทั่วโลก ขณะที่ ‘โซมาเลีย-ปากีสถาน-อิรัก’
อยู่ในอันดับต้นๆ ระบุประเมินโดยรวมจากเหตุการณ์ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย
‘ปณิธาน วัฒนายากร’ ชี้ ผลการจัดอันดับยังไม่สะท้อนภาพรวมทั้งประเทศ
แนะ ‘นักลงทุน’ วิเคราะห์ข้อมูลด้านอื่นๆ ด้วย
โดย เหมือนแพร ศรีสุวรรณ ศูนย์ข่าว TCIJ
ทันทีที่มีการประกาศแจ้งเตือนนักท่องเที่ยวสหรัฐฯ ผ่านทางเว็บไซต์ของสถานทูตอเมริกา เมื่อวันที่ 13 ม.ค.ที่ผ่านมา ให้เฝ้าระวังการก่อการร้ายในแหล่งท่องเที่ยวจุดสำคัญๆของกรุงเทพมหานคร โดยนางคริสตี้ เคนนีย์ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย กอปรกับเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมนายอาทริส ฮุสเซน ชาวสวีเดน พร้อมปุ๋ยเคมีที่ใช้ในการผลิตวัตถุระเบิดที่โกดัง ในจ.สมุทรสาคร โดยเจ้าหน้าที่ตั้งข้อกล่าวหาว่า มีส่วนพัวพันกับการก่อการร้ายของกลุ่มเฮชบอลเลาะห์ ทำให้ประเทศไทยถูกจับตาจากนานาชาติเกี่ยวกับประเด็นการก่อการร้ายทันที
อย่างไรก็ตามก่อนหน้าในช่วงเดือนสิงหาคม 2554 ทางเว็บไซต์ http://maplecroft.com ประเทศ อังกฤษได้จัดทำดัชนีความเสี่ยงจากการก่อการร้าย (Terrorist Risk Index-TRI) ในฐานะผู้ให้บริการข้อมูลกับนักลงทุนในการตัดสินใจ เกี่ยวกับความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ โดยสำรวจจาก 197 ประเทศ โดยประมวลผลจากข้อมูลด้านความรุนแรงและความถี่ของการก่อการร้ายในแต่ละ ประเทศนับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2553 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2554 พบว่า ไทยมีความเสี่ยงจากการก่อการร้ายอยู่ในอันดับที่ 12 ของโลก เป็นอันดับที่ 1 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่ในปี 2553 ไทยติดอันดับ 7 ซึ่งทีอาร์ไอ ระบุถึงสาเหตุของเหตุการณ์การก่อการร้ายส่วนใหญ่เกิดขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
นายปณิธาน วัฒนายากร นักวิชาการด้านความมั่นคง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ดัชนีความเสี่ยงการก่อการร้ายส่วนใหญ่จะเป็นเหตุการณ์ภาพรวมทั้งหมดของ ประเทศ ไม่ได้แบ่งพื้นที่ หรือภูมิภาคที่ชัดเจน แต่ในกรณีที่สถาบันเมเปิ้ลครอฟท์ (Maplecroft) จัดทำดัชนีความเสี่ยงจากการก่อการร้าย โดยจัดอันดับให้ไทยเป็นอับดับ 1 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยนับจากเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มาเป็นเกณฑ์ในการจัดอันดับถือว่ายังไม่สะท้อนภาพรวมของ ทั้งประเทศ การจัดอันดับแบบนี้ยังไม่สะท้อนภาพความเป็นจริงของประเทศเท่าไหร่นัก
นายปณิธานกล่าวว่า การจัดอันดับเป็นภาพรวมของความสูญเสียในภาคใต้เป็นหลัก ต้องยอมรับว่าสูง 3,000 กว่าคน แต่หากเทียบกับดัชนีความเสี่ยงจากการก่อการร้ายกับประเทศโซมาเลียหรือ ประเทศซูดาน เรื่องการค้าการลงทุนยังไม่มีความพร้อมหากเทียบกับประเทศไทย ซึ่งจะเห็นได้ว่าความเสี่ยงต่อการก่อการร้ายมีการจำกัดพื้นที่ และต้องพิจารณาเรื่องอื่นๆด้วย หรือแม้แต่การพิจารณาเปรียบเทียบความเสี่ยงกับประเทศบูรุนดี ประเทศซูดาน และประเทศอิหร่าน ถือว่าศักยภาพทางเศรษฐกิจไทยสูงกว่ามาก แต่ไทยถูกจัดอันดับในเรื่องของความเสี่ยง เป็นต้น ดังนั้นการใช้ดัชนีดังกล่าวต้องพิจารณาถึงวิธีการสำรวจ และวิเคราะห์ ขอให้ใช้ดัชนีอย่างถูกต้อง รวมถึงดัชนีด้านอื่นๆ ถ้าจะทำธุรกิจในภาคใต้ต้องระมัดระวังมาก ขณะเดียวกันต้องทราบว่าเหตุการณ์ความไม่สงบภาคใต้ไม่ได้กระทบต่อภาพรวมของ ประเทศ หรือภูมิภาคอื่นๆ
นายปณิธานกล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ความเสี่ยงต่อการลงทุนหากพิจารณาแล้วจะมีประเด็นอื่นๆที่เกี่ยว ข้อง อาทิ ประเด็นความขัดแย้งทางการเมือง นอกจากนี้การบริหารสถานการณ์น้ำท่วมที่ไม่มีประสิทธิภาพก็อาจจะเป็นประเด็น ที่ทำให้ถูกจัดอันดับอยู่ในความเสียงต่อการลงทุนด้วยก็ได้
เมื่อถามว่า ดัชนีความเสี่ยงที่หน่วยงานดังกล่าวจัดทำ นักลงทุนต้องพิจารณาเป็นพิเศษเชื่อถือได้หรือไม่ นายปณิธานกล่าวว่า ควรต้องรู้ว่าเป็นภาพรวมเฉลี่ยของพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งโดยเฉพาะในพื้นที่ ภาคใต้มากกว่าพื้นที่อื่นๆ เหมือนในสหรัฐฯ ที่มีความเสี่ยงต่อการถูกจี้ ปล้นในรัฐนิวยอร์ก จะมากกว่าความเสี่ยงต่อการถูกจี้ ปล้นในรัฐไอโอวา หรือรัฐอิลินอยด์ เป็นต้น หากบอกว่าเสี่ยงมันก็ไม่ตรงกับความเป็นจริงเสมอไป
เมื่อถามว่า การออกแจ้งเตือนของสหรัฐฯ ทำให้นักลงทุนหวาดวิตกต่อเหตุการณ์ในไทยหรือไม่ นายปณิธานกล่าวว่า คงต้องติดตาม เฝ้าระวังสถานการณ์มากขึ้น
รายงานของสถาบันเมเปิ้ลครอฟท์ (Maplecroft) ปี 2554 ระบุว่า จำนวนการก่อการร้ายในรอบปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้น 15 % ประเทศที่เสี่ยงต่อการก่อการร้ายมากที่สุดคือ ประเทศโซมาเลีย อันดับสองคือปากีสถาน อันดับสาม ประเทศอิรัก อันดับสี่ ประเทศอัฟกานิสถาน และอันดับ 5 ประเทศซูดานใต้ ซึ่งติดอันดับเป็นปีแรกจากจำนวนกลุ่มผู้ก่อการร้าย จำนวนเหตุร้าย และจำนวนคนที่เสียชีวิตที่เพิ่มสูงขึ้น
ขณะที่ประเทศในโลกตะวันตกที่ถูกระบุว่า มีความเสี่ยงต่อภัยก่อการร้ายมากที่สุดในปีนี้ คือ กรีซ ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 27 ของโลก ตามมาด้วยสหราชอาณาจักรในอันดับที่ 38 และสหรัฐอเมริกาในอันดับที่ 61 ขณะที่นอร์เวย์ ซึ่งมีเหตุระเบิดในกรุงออสโล และการยิงสังหารหมู่บนเกาะอูโทย่าที่มีผู้เสียชีวิตรวม 76 ศพ ถูกจัดอยู่อันดับที่ 112
สำหรับผู้เสียชีวิตจากเหตุก่อการร้ายในประเทศ 4 อันดับแรก รวมกันถึง 13,492 ราย คิดเป็นร้อยละ 75 จากผู้เสียชีวิตจากการก่อการร้ายทั่วโลก โดยในโซมาเลียมีผู้เสียชีวิต 1,385 คน,ปากีสถาน 2,163 คน อิรัก 3,456 คน และอัฟกานิสถาน 3,423 คน อย่างไรก็ตามจำนวนการก่อการร้ายเพิ่มขึ้นเป็น 11,954 ครั้งในรอบ 1ปี แต่เมื่อเทียบกับปี 2553จำนวนผู้เสียชีวิตกลับลดลง โดยในปี 2553 มีผู้เสียชีวิต 14,478 คน ขณะที่ปี 2554มีผู้เสียชีวิต 13,492 คน
สำหรับประเทศไทยมีความเสี่ยงจากการก่อการร้ายเป็น อันดับที่ 12 ของโลก และเป็นอันดับที่ 1 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่ในปี 2553ไทยติดอันดับ 7 โดยเหตุร้ายส่วนใหญ่เกิดขึ้นบริเวณ 3จังหวัดชายแดนภาคใต้
ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง
ทันทีที่มีการประกาศแจ้งเตือนนักท่องเที่ยวสหรัฐฯ ผ่านทางเว็บไซต์ของสถานทูตอเมริกา เมื่อวันที่ 13 ม.ค.ที่ผ่านมา ให้เฝ้าระวังการก่อการร้ายในแหล่งท่องเที่ยวจุดสำคัญๆของกรุงเทพมหานคร โดยนางคริสตี้ เคนนีย์ เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย กอปรกับเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมนายอาทริส ฮุสเซน ชาวสวีเดน พร้อมปุ๋ยเคมีที่ใช้ในการผลิตวัตถุระเบิดที่โกดัง ในจ.สมุทรสาคร โดยเจ้าหน้าที่ตั้งข้อกล่าวหาว่า มีส่วนพัวพันกับการก่อการร้ายของกลุ่มเฮชบอลเลาะห์ ทำให้ประเทศไทยถูกจับตาจากนานาชาติเกี่ยวกับประเด็นการก่อการร้ายทันที
อย่างไรก็ตามก่อนหน้าในช่วงเดือนสิงหาคม 2554 ทางเว็บไซต์ http://maplecroft.com ประเทศ อังกฤษได้จัดทำดัชนีความเสี่ยงจากการก่อการร้าย (Terrorist Risk Index-TRI) ในฐานะผู้ให้บริการข้อมูลกับนักลงทุนในการตัดสินใจ เกี่ยวกับความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ ในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ โดยสำรวจจาก 197 ประเทศ โดยประมวลผลจากข้อมูลด้านความรุนแรงและความถี่ของการก่อการร้ายในแต่ละ ประเทศนับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2553 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2554 พบว่า ไทยมีความเสี่ยงจากการก่อการร้ายอยู่ในอันดับที่ 12 ของโลก เป็นอันดับที่ 1 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่ในปี 2553 ไทยติดอันดับ 7 ซึ่งทีอาร์ไอ ระบุถึงสาเหตุของเหตุการณ์การก่อการร้ายส่วนใหญ่เกิดขึ้นในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้
นายปณิธาน วัฒนายากร นักวิชาการด้านความมั่นคง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ดัชนีความเสี่ยงการก่อการร้ายส่วนใหญ่จะเป็นเหตุการณ์ภาพรวมทั้งหมดของ ประเทศ ไม่ได้แบ่งพื้นที่ หรือภูมิภาคที่ชัดเจน แต่ในกรณีที่สถาบันเมเปิ้ลครอฟท์ (Maplecroft) จัดทำดัชนีความเสี่ยงจากการก่อการร้าย โดยจัดอันดับให้ไทยเป็นอับดับ 1 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยนับจากเหตุการณ์ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มาเป็นเกณฑ์ในการจัดอันดับถือว่ายังไม่สะท้อนภาพรวมของ ทั้งประเทศ การจัดอันดับแบบนี้ยังไม่สะท้อนภาพความเป็นจริงของประเทศเท่าไหร่นัก
นายปณิธานกล่าวว่า การจัดอันดับเป็นภาพรวมของความสูญเสียในภาคใต้เป็นหลัก ต้องยอมรับว่าสูง 3,000 กว่าคน แต่หากเทียบกับดัชนีความเสี่ยงจากการก่อการร้ายกับประเทศโซมาเลียหรือ ประเทศซูดาน เรื่องการค้าการลงทุนยังไม่มีความพร้อมหากเทียบกับประเทศไทย ซึ่งจะเห็นได้ว่าความเสี่ยงต่อการก่อการร้ายมีการจำกัดพื้นที่ และต้องพิจารณาเรื่องอื่นๆด้วย หรือแม้แต่การพิจารณาเปรียบเทียบความเสี่ยงกับประเทศบูรุนดี ประเทศซูดาน และประเทศอิหร่าน ถือว่าศักยภาพทางเศรษฐกิจไทยสูงกว่ามาก แต่ไทยถูกจัดอันดับในเรื่องของความเสี่ยง เป็นต้น ดังนั้นการใช้ดัชนีดังกล่าวต้องพิจารณาถึงวิธีการสำรวจ และวิเคราะห์ ขอให้ใช้ดัชนีอย่างถูกต้อง รวมถึงดัชนีด้านอื่นๆ ถ้าจะทำธุรกิจในภาคใต้ต้องระมัดระวังมาก ขณะเดียวกันต้องทราบว่าเหตุการณ์ความไม่สงบภาคใต้ไม่ได้กระทบต่อภาพรวมของ ประเทศ หรือภูมิภาคอื่นๆ
นายปณิธานกล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ความเสี่ยงต่อการลงทุนหากพิจารณาแล้วจะมีประเด็นอื่นๆที่เกี่ยว ข้อง อาทิ ประเด็นความขัดแย้งทางการเมือง นอกจากนี้การบริหารสถานการณ์น้ำท่วมที่ไม่มีประสิทธิภาพก็อาจจะเป็นประเด็น ที่ทำให้ถูกจัดอันดับอยู่ในความเสียงต่อการลงทุนด้วยก็ได้
เมื่อถามว่า ดัชนีความเสี่ยงที่หน่วยงานดังกล่าวจัดทำ นักลงทุนต้องพิจารณาเป็นพิเศษเชื่อถือได้หรือไม่ นายปณิธานกล่าวว่า ควรต้องรู้ว่าเป็นภาพรวมเฉลี่ยของพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งโดยเฉพาะในพื้นที่ ภาคใต้มากกว่าพื้นที่อื่นๆ เหมือนในสหรัฐฯ ที่มีความเสี่ยงต่อการถูกจี้ ปล้นในรัฐนิวยอร์ก จะมากกว่าความเสี่ยงต่อการถูกจี้ ปล้นในรัฐไอโอวา หรือรัฐอิลินอยด์ เป็นต้น หากบอกว่าเสี่ยงมันก็ไม่ตรงกับความเป็นจริงเสมอไป
เมื่อถามว่า การออกแจ้งเตือนของสหรัฐฯ ทำให้นักลงทุนหวาดวิตกต่อเหตุการณ์ในไทยหรือไม่ นายปณิธานกล่าวว่า คงต้องติดตาม เฝ้าระวังสถานการณ์มากขึ้น
รายงานของสถาบันเมเปิ้ลครอฟท์ (Maplecroft) ปี 2554 ระบุว่า จำนวนการก่อการร้ายในรอบปีที่ผ่านมาเพิ่มขึ้น 15 % ประเทศที่เสี่ยงต่อการก่อการร้ายมากที่สุดคือ ประเทศโซมาเลีย อันดับสองคือปากีสถาน อันดับสาม ประเทศอิรัก อันดับสี่ ประเทศอัฟกานิสถาน และอันดับ 5 ประเทศซูดานใต้ ซึ่งติดอันดับเป็นปีแรกจากจำนวนกลุ่มผู้ก่อการร้าย จำนวนเหตุร้าย และจำนวนคนที่เสียชีวิตที่เพิ่มสูงขึ้น
ขณะที่ประเทศในโลกตะวันตกที่ถูกระบุว่า มีความเสี่ยงต่อภัยก่อการร้ายมากที่สุดในปีนี้ คือ กรีซ ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 27 ของโลก ตามมาด้วยสหราชอาณาจักรในอันดับที่ 38 และสหรัฐอเมริกาในอันดับที่ 61 ขณะที่นอร์เวย์ ซึ่งมีเหตุระเบิดในกรุงออสโล และการยิงสังหารหมู่บนเกาะอูโทย่าที่มีผู้เสียชีวิตรวม 76 ศพ ถูกจัดอยู่อันดับที่ 112
สำหรับผู้เสียชีวิตจากเหตุก่อการร้ายในประเทศ 4 อันดับแรก รวมกันถึง 13,492 ราย คิดเป็นร้อยละ 75 จากผู้เสียชีวิตจากการก่อการร้ายทั่วโลก โดยในโซมาเลียมีผู้เสียชีวิต 1,385 คน,ปากีสถาน 2,163 คน อิรัก 3,456 คน และอัฟกานิสถาน 3,423 คน อย่างไรก็ตามจำนวนการก่อการร้ายเพิ่มขึ้นเป็น 11,954 ครั้งในรอบ 1ปี แต่เมื่อเทียบกับปี 2553จำนวนผู้เสียชีวิตกลับลดลง โดยในปี 2553 มีผู้เสียชีวิต 14,478 คน ขณะที่ปี 2554มีผู้เสียชีวิต 13,492 คน
สำหรับประเทศไทยมีความเสี่ยงจากการก่อการร้ายเป็น อันดับที่ 12 ของโลก และเป็นอันดับที่ 1 ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ขณะที่ในปี 2553ไทยติดอันดับ 7 โดยเหตุร้ายส่วนใหญ่เกิดขึ้นบริเวณ 3จังหวัดชายแดนภาคใต้
ศูนย์ข้อมูลและข่าวสืบสวนเพื่อสิทธิพลเมือง
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น