บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

เล็งออกภาษีที่ดิน

เร่งออกกฏหมายภาษีทรัพย์สิน ภาษีที่ดิน ภาษีมรดกอัตราก้าวหน้า มันถึงเวลาแล้ว.

โดย Metha matkhow  จากกลุ่ม OCCUPY-THAILAND

ปัจจุบันเราเสียภาษีทางอ้อมกว่า 70% และเสียภาษีทางตรงเพียง 30% ภาษีทางอ้อมนั้นเก็บผ่านฐานการบริโภค คือ ภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มต่างๆ ซึ่งเป็นการเก็บภาษีทางอ้อมที่ผลักภาระให้คนจนส่วนใหญ่เป็นผู้แบกรับภาษี ท่ามกลางความเหลื่อมล้ำทางสังคมมหาศาลและการกระจายรายได้ที่แย่มากที่สุดประเทศหนึ่งในโลกนี้ เรามีมนุษยน์ผู้จิบไวน์ขวดละแสน และชาวนาที่ต้องขายควายกว่า 10 ตัวกว่าจะเทียบเท่าน้ำทิพย์สีแดงขวดนั้น ไม่ผิดที่เราเกิดมาต่างกัน แต่นั่น มันไม่เป็นธรรมเลยสักนิด!!

ไม่ผิด ถ้าคนส่วนใหญ่ไม่ได้แบกรับการพัฒนา ไม่ผิด ถ้ามูลค่านั้นมาจากส่วนเกินทางสังคม ไม่ผิด ถ้ารายได้ที่มากขึ้นนั้นมาจากหยาดเหงื่อแรงงานและการลงทุนที่ใช้ความสามารถ หากแต่ภายใต้การคุ้มครองของรัฐ ทรัพย์สินที่สั่งสมเพิ่มขึ้นจากการรีดมูลค่าจากคนสังคม สมควรแบ่งปันคืนสู่สังคม โดยให้รัฐจัดการในส่วนเสี้ยวหนึ่ง เพื่อการพัฒนาสังคม สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน และความสะดวกปลอดภัยของชีวิต.. แน่นอน รายได้ที่เพิ่มขึ้น ย่อมมาจากการกอบโกยจากสังคมส่วนหนึ่ง การคืนบางส่วนเพื่อไปพัฒนาแก้ไขปัญหาย่อมเป็นหน้าที่พลเมืองที่ดีมีคุณภาพของรัฐ และรัฐต้องเป็นรัฐที่ดีด้วยเช่นกัน ในการใช้ส่วนนั้นกลับไปพัฒนาสังคม ตลอดจนคุณภาพชีวิตและสวัสดิการที่ดีจากรัฐ
พลเมืองในยุโรป โดยเฉพาะประเทศแถบสแกนดิเนเวีย ยินดีจ่ายภาษีส่วนเกินนี้คืนให้รัฐแน่นอน ในอัตราก้าวหน้าจากทรัพย์สินและรายได้ที่งอกเงย เพราะแต่ละคนก็เอาประโยชน์ที่งอกเงยนั้นมาจากสังคมไม่เท่ากัน ความเป็นธรรมจึงเกิดขึ้นจากโครงสร้างภาษีที่เป็นธรรมนี้ และรัฐบาลก็นำภาษีที่เก็บได้มาพัฒนาสังคม จนผลิตผลของทรัพย์สิน ที่ดินและมูลค่าของการลงทุนต่างๆ งอกเงยขึ้นมาเป็นดอกผลตอบแทนคืนสูพลเมืองอีกระลอกหนึ่ง แน่นอน ผลพวงนี้เชื่อมต่อกันและทุกคนก็ยินดีที่จะจ่ายภาษีเหล่านี้ หลายครอบครัวยินดีที่จะจ่ายเงินมากกว่าอีกครอบครัวหนึ่งซึ่งมีรายได้น้อยกว่า เพียงเพื่อจะให้ลูกของตนเข้าโรงเรียนที่เดียวกัน เหตุผลเดียวก็คือเพื่อให้ลูกหลานของตนได้เรียนรู้และอยู่ใน “สังคม”

ในอเมริกา อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ จอร์จ บุช ผู้พ่อ เคยเสนอให้ยกเลิกเก็บภาษีมรดก เพื่อเดินทางเสรีนิยมสุดขั้ว ให้การแข่งขันและการผลิตของทุนมุ่งกำไรเต็มที่โดยไม่ต้องเอาสังคมเป็นภาระ ปรากฏว่านายทุนชั้นนำของสหรัฐฯ ต่างออกมาคัดค้าน หลายคนเห็นว่าพวกเขากอบโกยมาจากคนกว่า 200 ล้านคนในสหรัฐฯ ย่อมสมควรคืนกลับให้สังคมบ้างไม่มากก็น้อย อย่างน้อยก็เพื่อให้สังคมที่เขาอยู่ดีขึ้น และมันทำให้คุณภาพชีวิตของพวกเราดีขึ้นด้วย เข้าทำนองภาษิตที่ว่า “หากคนอ้วนแบ่งอาหารให้คนผอม ชีวิตเขาจะยืนยาวทั้งคู่”

ระหว่างที่ทรัพย์สินงอกเงยขึ้น มาจากการคุ้มครองจากรัฐในรูปแบบนิติบุคคล แน่นอน เราจ่ายภาษีเพียงบางส่วนให้แก่รัฐ แต่สังคมที่โอบอุ้มดูแลอยู่ล่ะ เราได้เสียภาษีสังคมหรือไม่ สิ่งแวดล้อมที่เสื่อมสลายลงทีละน้อยๆ ล่ะ เราได้จ่ายภาษีสิ่งแวดล้อมที่เสียไปอย่างคุ้มค่าหรือไม่ มีใครเคยคิดบ้างว่า เรายังคงหายใจในอากาศร่วมกัน เรายังคงหายใจบนพื้นที่ส่วนรวมอยู่ ไม่น้อยก็มากชีวิตเรากึ่งหนึ่งยังเป็นของส่วนรวม

ภาษีทรัพย์สิน คือภาษีทางตรงที่เราจ่ายให้แก่รัฐและสังคมระหว่างที่มีชีวิตอยู่และแน่นอน ภาษีมรดก คือการจ่ายส่วนเกินที่ปลายทางนั่นเอง ส่วนเกินที่เราสะสมมาจากมูลค่าที่สังคมโอบอุ้ม เราไม่ได้มันมาจากสุญญากาศ ดังนั้น เราจ่ายภาษีคืนสังคมเผื่อเหลือเผื่อขาดแน่นอน มันจึงพอกพูนงอกเงยขึ้นเป็นกองมรดกให้แก่ลูกหลาน การจ่ายคืนส่วนเกินบางส่วนให้แก่สังคมปลายทางนี้ จึงเป็นอัตราก้าวหน้าเช่นกันเพื่อความเป็นธรรมทางสังคม

ในสหภาพยุโรปเกือบทุกประเทศเก็บภาษีมรดกอัตราก้าวหน้า รวมถึงญี่ปุ่นและอเมริกาด้วย มีทั้งปันส่วนหนึ่งเข้ารัฐบาลกลางและส่วนหนึ่งเข้าท้องถิ่น มีทั้งภาษีการให้และการรับ จากกองมรดกและหรือจากการรับมรดกก็ตามรูปแบบที่แต่ท้องที่ไป

ในประเทศไทย ซึ่งมีปัญหาความเหลื่อมล้ำมหาศาล คนรวยพากันคัดค้านการปฏิรูปภาษีเพื่อความเป็นธรรมทางสังคมมาโดยตลอด แต่ก็เป็นที่น่ายินดี ที่กระทรวงการคลังดำริว่าจะผลักดันภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในเร็วๆ นี้ เพราะมันถึงเวลาแล้ว!!! และในอนาคตภาษีมรดกจะตามมาเยียวยาบาดแผลและรอยร้าวของความยากจน ที่เกิดจากโครงสร้างทางเศรษฐกิจและนโยบายที่ไม่เป็นธรรมมาตลอดกว่า 50 ปี

กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้เก็บนี้ นอกจากเป็นมาตรการสำคัญในการปฏิรูประบบภาษีที่ดิน และสามารถพัฒนาโครงสร้างทางการคลังเพื่อนำไปสู่ภาวการณ์กระจายรายได้ที่ดีขึ้นได้ ยังเป็นการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นและเป็นการพัฒนาประชาธิปไตยในระยะยาวอีกขั้นหนึ่ง เพราะเป็นรายได้ให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถจัดสรรทรัพยากรและกระจายการพัฒนาสาธารณูปโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามหลักการกระจายอำนาจและการมีส่วนร่วมของประชาชน เนื่องเพราะประเทศไทยยังไม่มีภาษีที่จัดเก็บจากฐานทรัพย์สินที่แท้จริงเช่นนี้ นอกจากฐานรายได้ คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล และฐานการบริโภค คือ ภาษีสรรพสามิตและภาษีมูลค่าเพิ่มต่างๆ ซึ่งเป็นการเก็บภาษีทางอ้อมที่ผลักภาระให้คนจนส่วนใหญ่เป็นผู้แบกรับภาษีดังกล่าว ซึ่งเป็นโครงสร้างภาษีที่ไม่มีความเป็นธรรม

แม้ว่าในอดีตถึงปัจจุบัน เราจะมีการเก็บภาษีโรงเรียนและที่ดิน และภาษีบำรุงท้องที่ แต่ก็ไม่ได้เก็บจากมูลค่าของทรัพย์สินอย่างแท้จริง เพราะเป็นการคำนวณภาษีบนฐานรายได้ โดยคำนวณจาก “ค่ารายปี” หรือค่าเช่าที่เจ้าของได้รับในแต่ละปี ถ้ามีการออกกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จะเป็นภาษีทางตรงที่เก็บจากฐานทรัพย์สินที่แท้จริง

อย่างไรก็ตาม แม้จะไม่ได้เป็นอัตราก้าวหน้าในเชิงการถือครองมูลค่า แต่ก็เป็นอัตราก้าวหน้าในเชิงการใช้ประโยชน์ หากมีการปล่อยที่ดินไว้รกร้างว่างเปล่าก็จะเก็บภาษีมากขึ้น หากเป็นที่ดินที่ทำประโยชน์เชิงพาณิชย์ก็จะมีอัตรามากกว่าพื้นที่เกษตรกรรมทั่วไป อย่างไรก็ตาม ร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ไม่ได้เน้นในเรื่องของการกระจายการถือครองที่ดินโดยตรง และคนจนจำนวนมากไม่มีที่ดินทำกิน ดังนั้น กระทรวงการคลัง ควรมีนโยบายที่จะป้องกันไม่ไห้ที่ดินหลุดมือจากเกษตรกรไปสู่นายทุน โดยเพิ่มมาตรการการเก็บภาษีอัตราก้าวหน้าที่มากขึ้น

โดยเฉพาะพื้นที่รกร้างไม่ใช้ประโยชน์ทางการเกษตร และนโยบาย “โฉนดชุมชน” เพื่อเป็นการสร้างการยอมรับการครอบครองที่ดินทำกินและที่ดินอยู่อาศัยของผู้ที่ใช้ประโยชน์ในที่ดินที่แท้จริง และเป็นมาตรการในการให้ชุมชนมาจัดการที่ดินร่วมกัน เพื่อให้ที่ดินสามารถคงอยู่กับคนในชุมชนได้อย่างยั่งยืนต่อไป รวมถึงควรมีมาตรการกันรายได้ของภาษีที่ดินส่วนหนึ่งตั้งเป็น “ธนาคารที่ดิน” เพื่อเป็นหลักประกันให้คนจนที่ไม่มีที่ดินทำกิน มีโอกาสในการเข้าถึงที่ดิน

นอกจากนี้ หากเป็นไปได้ในระยะอันใกล้ หรืออาจเป็นนโยบายสังคมระยะยาว ควรมีนโยบายการปฏิรูปที่ดินทั้ง ระบบ เพื่อการกระจายการถือครองที่ดิน อย่างจริงจัง โดยการรื้อฟื้นปรับปรุง พระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมา ยที่ดิน พ.ศ.2497 ในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ซึ่งมีการจำกัดการถือครองที่ดิน ไม่เกิน 50 ไร่ และห้ามคนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ ที่ดิน แต่มายกเลิกในสมัยรัฐบาลจอมพลสฤ ษดิ์ ธนะรัชต์ ในประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 19 เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2503 ยกเลิกการจำกัดการถือครองที่ดิน เพื่อส่งเสริมให้เอกชนได้แสวงปร ะโยชน์จากทรัพยากรโดยไม่มีมาตรก ารรองรับ จนโครงสร้างการจัดการทรัพยากรโด ยเฉพาะที่ดินเปลี่ยนแปลงไปจนเกิ ดปัญหาการสะสมที่ดินขึ้น โดยรัฐบาลและกระทรวงการคลังอาจร่วมกันปฏิรูปกฎหมายดังกล่าวให้ทันสมัยขึ้น โดยมีมาตรการจำกัดการถือครองเพิ่มขึ้นไม่เกิน 200 ไร่ ตามความจำเป็น เป็นต้น ซึ่งจะสนับสนุนนโยบายการเก็บภาษีที่ดินฯ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น หรืออาจจะปรับปรุงร่างพระราชบัญ ญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ให้ครอบคลุมมาตรการดังกล่าว เพราะหากรัฐบาลไม่มีนโยบายเรื่อ งนี้ เกษตรและชาวนาไทยอาจจะกลายเป็นเ พียงแรงงานในท้องไร่ที่เป็นฟาร์ มขนาดใหญ่ของนายทุนข้ามชาติในอน าคต

ทั้งนี้ มาตรการดังกล่าว ยังเป็นไปตามเจตนารมณ์แห่งรัฐธรรมนูญไทย พ.ศ. 2552 มาตรา 85 ที่บัญญัติว่า รัฐมีหน้าที่กระจายการถือครองอย่างเป็นธรรม และดำเนินการให้เกษตรกรมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมอย่างทั่วถึงโดยการปฏิรูปที่ดินหรือวิธีอื่น

อย่างไรก็ดี ประเทศไทย ควรมีนโยบายการเก็บภาษีทรัพย์สิ นอัตราก้าวหน้า ทั้งจากสังหาริมทรัพย์และอสังหา ริมทรัพย์เหมือนภาษีทรัพย์สินใน ต่างประเทศ ไม่ใช่จากอสังหาริมทรัพย์อย่างเ ดียวตามที่บัญญัติไว้ในร่างพระร าชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูก สร้าง ซึ่งจะเป็นมาตรการแก้ไขปัญหาควา มเหลื่อมล้ำทางสังคมในระยะยาว รวมถึงการเก็บภาษีมรดกอัตราก้าว หน้า เพื่อแก้ไขปัญหาความไม่เป็นธรรม ทางสังคม และเป็นหลักประกันด้านสิทธิมนุษ ยชนในประเทศไทย ตามสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (ICESCR) ที่ประเทศไทยเป็นภาคีอยู่ เพื่อให้รัฐและท้องถิ่นนำมาใช้ใ นการพัฒนาสาธารณูปโภคและสวัสดิก ารทางสังคม เช่น การขนส่งมวลชนสาธารณะ การศึกษาและการสาธารณสุข เป็นต้น เพื่อให้ประชาชนมีเสรีภาพปลอดพ้ นจากความอดอยากแร้นแค้น โดยเฉพาะชนชั้นล่างทางสังคม ซึ่งหากภาษีที่รัฐเก็บมาใช้จ่าย ไปในกลุ่มที่เป็นกลุ่มรายได้ระดับล่างมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งจะทำให้เกิดการกระจายรายไ ด้ที่เท่าเทียมกันมากขึ้น ซึ่งจะสามารถลดช่องว่างของคนในสังคมได้มากยิ่งขึ้น

มันถึงเวลาแล้วที่คนรวยจะต้องไม่เห็นแก่ตัว แล้วมัวแต่อ้างอิงว่าตนเองและสังคมจะเสียประโยชน์จากนโยบายเหล่านี้ การแข่งขันเสรีจะสะดุด หรือวิกฤตเศรษฐกิจจะตามมา นอกจากเป็นอวิชชาของพ่อค้าคนธรรพ์จอมปลอมแล้ว ทุกคำที่ท่านอาจคัดค้าน ก็ล้วนแต่ส่งสาส์นของความเห็นแก่ได้ไม่รู้จบ

หากคนอ้วนไม่สนใจคนผอม ความขัดแย้งก็ไม่มีวันสิ้นสุดแล ะสะดุดเสรีนิยมสุดขั้วลงทุกครั้ งด้วยความรุนแรงทางสังคม ความมั่นคงของมนุษย์ไม่อาจละเลย ลืมเลือนต่อส่วนรวม สังคมจะขับเคลื่อนกงล้อไปสู่อาร ยธรรมใหม่ได้ ก็เมื่อเราสละไวน์รสดีขวดละแสน เป็นน้ำทิพย์ชุบชีวิตเพื่อนมนุษ ย์ที่แร้นแค้นใกล้ตาย จากโครงสร้างที่เขาไม่สามารถเข้ าถึงมาเป็นสังคมเศรษฐกิจที่เราร่วมกันออกแบบได้ เพื่อมาร่วมใช้ชีวิตร่วมกันและพัฒนาสังคมต่อไป

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง