บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

น้ำลดตอผุด?ทหารปูดรบ.”ยิ่งลักษณ์” ถังแตกหมดงบแก้ปัญหาบ่อขยะล้านไร่


พิเชษฐ วิสัยจร-ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร โยนอีเอ็มบอล
ขณะที่รัฐบาลน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ประกาศว่า จะเร่งฟื้นฟูสภาพพื้นที่น้ำท่วมให้กลับสู่ภาวะปกติโดยเร็วหลังน้ำลด แต่กลับปรากฏข่าวว่า  รัฐบาลไม่ยอมให้งบประมาณแก่กระทรวงกลาโหมและกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่ง แวดล้อม(ทส.)ทั้งๆที่มอบหมายให้ทั้งสองหน่วยงานเป็นเจ้าภาพแก้ปัญหาน้ำเน่า เสียโดยใช้ “อีเอ็ม” ทั้งนี้ทั้งสองหน่วยงานมีแผนการเข้าจัดการบ่อขยะขนาดยักษ์ 12 บ่อใน 8 จังหวัดพื้นที่กว่าล้านไร่ โดยเริ่มแห่งแรกไปแล้วที่พิษณุโลก แต่สุดท้ายต้องยกเลิก
แหล่งข่าวระดับสูงจากกระทรวงกลาโหม เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาทางกระทรวงโดย พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ ปลัดกระทรวงกลาโหม ได้เรียกประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และได้วางแผนการฟื้นฟูหลังน้ำลด โดยมีงานหลักๆ ที่ต้องดำเนินการ 3 เรื่องด้วยกัน คือ 1.ซ่อมแซมหรือปลูกสร้างที่อยู่อาศัยใหม่ให้กับประชาชน 2.ซ่อมแซมเส้นทางคมนาคม และ 3.แก้ปัญหามลภาวะโดยเฉพาะเรื่องน้ำเน่าเสีย
สำหรับเรื่องมลภาวะทั้งขยะและน้ำเน่านั้น น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้กระทรวงกลาโหมเป็นเจ้าภาพร่วมกับ ทส. โดยนำจุลินทรีย์หรืออีเอ็มไปบำบัด ซึ่งในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมาทหารได้เข้าไปดำเนินการในบางพื้นที่ที่น้ำลดแล้ว แต่ ล่าสุดรัฐบาลยังไม่อนุมัติงบประมาณมา ทุกอย่างจึงต้องหยุดชะงัก เพราะทหารก็ไม่มีงบประมาณไปดำเนินการเนื่องจากที่ผ่านมาใช้งบไปมากมายสำหรับ การช่วยเหลือและอพยพผู้ประสบอุทกภัย
จากการสำรวจ 8 จังหวัดที่ประสบอุทกภัยในความรับผิดชอบของกระทรวงกลาโหม พบว่า มีบ่อขยะขนาดใหญ่ทั้งหมด 12 บ่อ และมีพื้นที่กว่าล้านไร่ที่ถูกน้ำท่วมขังจนเกิดน้ำเน่าเสีย ซึ่งเราได้เริ่มดำเนินการในพื้นที่ที่น้ำลดแล้ว โดยเมื่อวันที่ 29 ตุลาคมที่ผ่านมา ได้เข้าไปแก้ปัญหาจุดแรกที่บ่อขยะของ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก ซึ่งเป็นบ่อขยะขนาดใหญ่ เนื้อที่ราว 30 ไร่ ได้นำหัวเชื้ออีเอ็ม (เชื้อจุลินทรีย์ที่ใช้บำบัดน้ำเสีย) ทั้งที่เป็นน้ำและอีเอ็มบอลเข้าไปโยน ซึ่งก็ช่วยได้มาก”
อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวบอกว่า เมื่อรัฐบาลไม่อุดหนุนงบประมาณก็ไม่รู้จะทำอย่างไร จึงต้องหยุดการดำเนินการเอาไว้ก่อน เพื่อดูท่าทีของรัฐบาลต่อไป
ด้าน พล.อ.พิเชษฐ์ วิสัยจร อดีตผู้ช่วยผู้บัญชาการทหารบก ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการใช้อีเอ็มบำบัดน้ำเสียและแก้ไขปัญหาขยะ จนได้รับฉายา “นายพลอีเอ็ม” กล่าวว่า ทราบมาว่าโครงการแก้ปัญหาขยะกับน้ำเน่าเสียของกองทัพต้องหยุดชะงักไปเพราะ ไม่ได้รับงบประมาณ ซึ่งเขาไม่ทราบสาเหตุ เพราะเกษียณอายุราชการออกมาแล้ว แต่ถ้าเป็นเหตุผลที่มีนักวิชาการกลุ่มหนึ่งออกมาคัดค้านการใช้อีเอ็มนั้น ขอฝากบอกไปยังรัฐบาลว่าอย่าไปฟังคนที่ไม่มีประสบการณ์ตรง
“จุลินทรีย์ที่พวกเราใช้ทำอีเอ็ม เป็นสูตรของ ดร.เทริโอะ ฮิกะ จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งใช้ใน 150 ประเทศทั่วโลก สมัยที่ผมเป็นรองแม่ทัพภาคที่ 4 เมื่อปี 2549 ก็เคยร่วมกับการเคหะแห่งชาติเอาไปใช้แก้ไขปัญหาน้ำเสียที่อ่างเก็บน้ำแม่มาน จ.แพร่ จนประสบความสำเร็จมาแล้ว ทำให้ค่าดีโอ (ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ) จาก 0.25 เพิ่มเป็น 7 ในเวลาอันรวดเร็ว”
“อีกครั้งหนึ่งที่เห็นผลชัดเจน คือการนำอีเอ็มบอลและอีเอ็มน้ำไปโยนและฉีดที่อ่าวปัตตานี ตอนนั้นผมเป็นแม่ทัพภาคที่ 4 ทำให้น้ำในอ่าวปัตตานีที่เคยเหม็นใกล้เน่ากลับใสขึ้น และสัตว์น้ำที่เคยหายไปก็กลับมา”
พล.อ.พิเชษฐ์ กล่าวต่อว่า กลุ่มจุลินทรีย์ที่นำมาใช้ทำอีเอ็ม เป็นกลุ่มสังเคราะห์แสง ยีสต์ และราบางชนิด ซึ่งมีส่วนช่วยเพิ่มออกซิเจน ส่วนที่นักวิชาการแค่ 2 คนออกมาพูดนั้น อาจจะเป็นจุลินทรีย์คนละกลุ่มกัน และอาจจะไม่เคยปฏิบัติจริง คือไม่มีประสบการณ์ รู้แต่ในตำราเท่านั้น
“จุลินทรีย์มี 3 กลุ่ม คือกลุ่มดี 10% กลุ่มไม่ดีที่เป็นเชื้อโรค 10% ส่วนอีก 80% เป็นกลุ่มกลางๆ หลักการก็คือเราให้จุลินทรีย์กลุ่มดีไปสู้กับกลุ่มไม่ดี เพื่อให้กลายเป็นกลุ่มกลาง ผมทำมาหมดแล้ว มีประสบการณ์ตรง ศึกษามาด้วยตัวเอง และทำจริง ไม่ใช่รู้แต่ในตำรา”
“ที่อ่างเก็บน้ำแม่มาน เราใช้จุลินทรีย์ 18,000 ล้านลิตร และทำถึง 6 ครั้ง ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำก็เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่เร็วมาก นอกจากนั้นยังเคยทำที่บ่อบำบัดน้ำเสียของการเคหะฯที่ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี พื้นที่ 1 ไร่ เทอีเอ็มน้ำลงไป 4 พันลิตร แค่ 1 ชั่วโมงน้ำก็ใสขึ้นทันที ส่วนที่อ่าวปัตตานีเราใช้อีเอ็มบอล 1 ล้านลูก ให้ชาวบ้านช่วยกันปั้นและออกเรือไปโยน รวมทั้งนำหัวเชื้อที่เป็นน้ำไปฉีดอีกจำนวนหนึ่ง”
พล.อ.พิเชษฐ์ กล่าวด้วยว่า อยากให้รัฐบาลพิจารณาเรื่องนี้อย่างรอบคอบ และที่ออกมาพูดไม่ได้มีผลประโยชน์อะไร เพราะไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับกองทัพแล้ว แต่อีเอ็มน้ำที่กองทัพนำไปแจกจ่ายประชาชนที่สนามกีฬากองทัพบก เป็นจุลินทรีย์กลุ่มดีตรงกับที่เคยใช้และประสบความสำเร็จ จึงอยากให้สังคมเข้าใจ หากไม่ใช้อีเอ็มจัดการปัญหาน้ำเน่าและขยะ จะเกิดสงครามเชื้อโรคอย่างแน่นอน
————————-
ภาพจาก อินเตอร์เน็ต-กรุงเทพธุรกิจออนไลน์


.prasong.com

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง