บล็อกนี้เป็นเพียงช่องทางรวบรวมข้อมูลข่าวสารจากที่ต่างๆ ผู้จัดทำไม่ได้มีเจตนาบิดเบือนข้อมูลข่าวสารหรือต้องการให้ร้าย องกรณ์ หน่วยงานและบุคคลใดๆทั้งสิ้น+++++ หากบทความใดผิดพลาดหรือกระทบต่อ องกรณ์ หน่วยงาน หรือบุคคลใด ผู้จัดทำก็กราบขออภัยไว้ล่วงหน้า +++++ ผู้อ่านท่านใดมีข้อมูลหักล้าง ชี้แนะ หรือมีความเห็นใดๆเพิ่มเติมก็ขอความกรุณาแสดงความเห็นเพื่อให้เป็นความรู้สำหรับผู้อ่านท่านต่อๆไปได้ตามแต่จะเห็นสมควร ------------- ขอขอบคุณเจ้าของบทความทุกๆท่านมา ณ. ที่นี้ด้วยครับ *******ช.ช้าง *******

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

ตีแสกหน้าใส่'นิติราษฎร์' ฉะอ้าปากก็เห็นริดสีดวง

ตีแสกหน้าใส่'นิติราษฎร์' ฉะอ้าปากก็เห็นริดสีดวง แนวคิดเฉดแดงที่สุดขั้ว! จะทำ'สังคมวุ่น-ยุ่งเหยิง'
คำนูณ สิทธิสมาน
แถลงการณ์ของ คณะนิติราษฎร์ เนื่องในโอกาสครบรอบ 1 ปีการก่อตั้งนิติราษฎร์และครบรอบ 5 ปีการรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 นอกจากจะก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างต่อเนื่องทั้งในแง่สนับสนุน และคัดค้าน ยังเป็นการจุดชนวนความขัดแย้งทางความคิดระลอกใหม่ เพราะในแถลงการณ์สรุปว่า การรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ทำลายนิติรัฐ-ประชาธิปไตย ทั้งยังเป็นต้นเหตุของปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน จึงเสนอให้มีการลบล้างผลพวงของรัฐประหารเมื่อ 5 ปีก่อน ถือว่าไม่เคยเกิดขึ้น และไม่มีผลในทางกฎหมาย รวมทั้งประกาศให้คำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ และศาลรัฐธรรมนูญ รวมถึงคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ที่เป็นผลต่อเนื่องจากรัฐประหารโดยเฉพาะที่เกิดจากคณะกรรมการตรวจสอบการ กระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ถือว่าไม่เคยเกิดขึ้นและไม่เคยมีผลในทางกฎหมาย
เมื่อหันมาดูตัวบุคคลใน "คณะนิติราษฎร์" ก็ประกอบด้วยอาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แก่ นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ นางจันทจิรา เอี่ยมมยุรา นายฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล นายธีระ สุธีวรางกูร น.ส.สาวตรี สุขศรี นายปิยบุตร แสงกนกกุล และนายปูนเทพ ศิรินุพงศ์ ก็ทำให้หลายคนพอจะคาดเดาได้ว่า "ทำไมแนวคิด" ถึงออกมาสุดโต่งเช่นนี้
และแน่นอน หากจะหาคนมาวิพากษ์วิจารณ์ได้แบบ “รู้ทันเล่ห์กล” กัน ก็ต้องเป็นบุคคลที่คิดคนละขั้ว อย่าง “คำนูณ สิทธิสมาน” ส.ว.สรรหา ที่รับรู้กันดีว่า “เขา” คือ “คนสนิท” ของ “สนธิ ลิ้มทองกุล” แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
แต้มที่ซ่อนสำหรับ “แถลงการณ์ของนิติราษฎร์” ถูกตีแสกหน้าแบบ “อ้าปากก็เห็นถึงริดสีดวงทวาร” ถือเป็นคำเปรียบเปรยที่ “เห็นภาพ” ได้เลย...โปรดติดตาม
Q : มีการตั้งข้อสังเกตถึงการออกมาเคลื่อนไหวของกลุ่มนิติราษฎร์ ที่ออกแถลงการณ์ล้มล้างรัฐประหาร เป็นขั้นตอนหนึ่งของขบวนการที่มีการวางไว้เพื่อไปสู่เป้าหมายบางอย่าง
A : ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะมองได้ ต้องยอมรับว่าแถลงการณ์ของคณะนิติราษฎร์ ถ้าลำพังเป็นเพียงความเห็นของนักกฎหมายกลุ่มหนึ่ง-คณะหนึ่ง ท่านก็มีสิทธิ์มีความเห็นได้ แล้วคนในสังคมมีสิทธิ์ที่จะเห็นต่างกับท่านได้ แต่ว่าคนของรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นส.ส.ของพรรคเพื่อไทย โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ออกมาแสดงความเห็นด้วย แสดงความชื่นชมว่า “ถูกต้องด้วยหลักกฎหมาย” ก็มีสิทธิ์ที่ผู้เฝ้าติดตามสถานการณ์เขาจะมีสิทธิ์คิดไปได้ว่า “อ๋อ...นี่เป็นเรื่องที่รู้กัน” หรือว่า “นี่เป็นเรื่องที่รัฐบาลจะเดินตามแนวทางนี้” เพราะว่าเป็นที่รู้กันอยู่ว่า ในขณะนี้กระบวนการที่จะทำให้พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร (อดีตนายกรัฐมนตรี) พ้นจากโทษ พ้นจากความผิด ก็มีการดำเนินการกันหลายทาง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องขอพระราชทานอภัยโทษส่วนบุคคลที่อยู่ระหว่างกระทรวง ยุติธรรม กำลังทำความเห็นไปยังสำนักราชเลขาธิการอยู่ อีกทางหนึ่งก็กรณีที่จะมีพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษหมู่ เป็นการทั่วไปตามประเพณีในวันที่ 5 ธ.ค. เนื่องในวโรกาสครบ 84 พรรษา นี่ก็เป็นทางหนึ่งที่ผู้คนจับตากันอยู่ หรือรวมถึงกฎหมายนิรโทษกรรม เรื่องการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ยกเลิกมาตรา 309 อันนี้เป็นเรื่องที่ทางพรรคเพื่อไทยพูดมาโดยตลอด ถือว่าเป็นจุดยืนของท่าน...ไม่ว่ากัน
แต่แถลงการณ์ของคณะนิติราษฎร์ เขาไปไกลมาก คือว่าใน 3-4 ข้อแรก ให้ทุกอย่างที่เกิดจากการรัฐประหาร 19 ก.ย.2549 ทั้งหมด “ให้เสียเปล่า” และ “ถือว่าไม่เคยเกิดขึ้น” และ “ไม่เคยมีผลทางกฎหมาย” คำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญ ของศาลรัฐธรรมนูญ ของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทั้งหมดที่เกิดสืบเนื่องมาจาก 19 ก.ย.2549 ให้ถือว่าเสียเปล่าและไม่เคยเกิดขึ้น และไม่เคยมีผลในทางกฎหมาย และเรื่องที่อยู่ในการพิจารณาในชั้นเจ้าหน้าที่ ในชั้นศาลที่เริ่มต้นมาจากคตส. (คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ) ให้เป็นอันยุติลงทั้งหมดเลย คืออัน นี้มันไปไกลกว่าเรื่องนิรโทษกรรมหรืออภัยโทษเสียอีก คือเขาบอกว่าให้ถือว่าไม่เคยเกิดขึ้นและไม่มีผลทางกฎหมายเลย ซึ่งอันนี้ถ้าวิพากษ์วิจารณ์กันในเชิงวิชาการ ก็ต้องถามว่ามันไม่มีหลักกฎหมายในโลกนี้ ที่จะทำให้เกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้นได้ แล้วถ้ายึดถือตามหลักนี้ ต่อไปประเทศไทยก็คงไม่ต้องคบหาสมาคมกับชาติใดในโลก นักลงทุนต่างชาติเขาจะมาลงทุน เขาก็ไม่รู้ว่าวันหนึ่งข้างหน้าเกิดรัฐบาลใดมา ประกาศให้การกระทำบางอย่างถือว่าไม่เคยเกิดขึ้นเลย ไม่มีผลทางกฎหมายเลย แล้วมันจะอยู่กันอย่างไร
Q : ความเป็นไปของการที่จะทำให้ทุกอย่างให้เป็นไปอย่างที่คณะนิติราษฎร์ต้องการ มีหนทางใดตามกฎหมายที่สามารถรองรับได้หรือไม่
A : จริงๆ ถ้าออกเป็นรัฐธรรมนูญ มันก็ทำได้ เพราะรัฐธรรมนูญใหญ่ที่สุด แล้วทีนี้ในแถลงการณ์ของคณะนิติราษฎร์ที่จะต้องขีดเส้นใต้ไว้ก็คือ ในประเด็นที่ 1 ข้อ 6 ของเขา เขาเขียนไว้ชัดเจนว่า “เพื่อความชอบธรรมทางประชาธิปไตย” คณะนิติราษฎร์เสนอให้นำข้อเสนอดังกล่าวข้างต้นไปจัดทำเป็นร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติม แล้วนำไปให้ประชาชนออกเสียงประชามติ อันนี้ก็ชัดเจนว่าที่ผมไล่มา 4-5 ประการแรก มันอยู่ในข้อที่ 1 ถึงข้อที่ 5 แล้วข้อ 6 เขาย้ำเลยว่า “ให้เอาไปอยู่ในรัฐธรรมนูญที่จะจัดทำขึ้น ใหม่” โดยส.ส.ร.ที่มาจากการเลือกตั้ง 77 คน บวกกับนักวิชาการอีก 22 คน ซึ่งก็ต้องจับตาดูต่อไปว่าในนักวิชาการ 22 คนจะมีคณะนิติราษฎร์สักกี่คน หรือว่าในคณะกรรมการอิสระว่าด้วยหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) ที่มีอาจารย์อุกฤษ มงคลนาวิน เป็นประธาน จะมีนักวิชาการจากคณะนิติราษฎร์สักกี่คน
เพราะฉะนั้นไอ้แถลงการณ์อย่างนี้ การจัดตั้ง คอ.นธ. ของอาจารย์อุกฤษ และการประกาศจะทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มันก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่ผู้ที่ติดตามการเมือง หรือมีประสบการณ์ เขาก็จะคาดการณ์ว่า “อ๋อ....นี่คุณเตรียมร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่กันไว้แล้วใช่มั๊ย” จะเหมือนในอดีตที่ประเทศไทยเคยมี เขาเรียกว่า “รัฐธรรมนูญฉบับใต้ตุ่ม” หรือเปล่า อันนี้คุณแอบทำ “รัฐธรรมนูญฉบับนิติราษฎร์” ขึ้นไว้หรือเปล่า แล้ว ก็ใช้รูปแบบของส.ส.ร.เป็นเพียงแบบพิธี เป็นเพียงพิธีกรรมเท่านั้น แต่ความจริงก็คือเตรียมเอาไว้แล้ว มันก็มีความเป็นไปได้ที่จะชวนให้ผู้คนเขาคิด
Q : เท่าที่วิเคราะห์มา การใช้ส.ส.ร.บังหน้าเพื่อให้ดูเหมือนว่ากระบวนการในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ให้มันถูกต้อง แปลว่าเนื้อหาในรัฐธรรมนูญหรือบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ มีการจัดทำไว้หมดแล้ว
A : ผมคงไม่ยืนยันข้อเท็จจริงตรงนั้น แต่บอกว่ามันชวนให้คิดได้ มันมีที่มา-ที่ไป ว่ากันเฉพาะนโยบายรัฐบาลที่บอกว่าจะให้มีส.ส.ร.ที่เป็นอิสระ โดยตัวอักษรมันไม่มีใครคัดค้านได้หรอก แล้วมิหนำซ้ำยังบอกว่าเมื่อจัดทำเสร็จแล้วให้ไปผ่านการประชามติ อันนี้มันก็ปิดปากคนที่อยากจะคัดค้าน  เพราะว่าทุกคนก็ถือว่าเมื่อเป็นประชามติ ก็น่าจะเป็นประชาธิปไตย ถ้ามีส.ส.ร.ที่เป็นอิสระ เขาก็บอกว่ามาจากการเลือกตั้ง 77 จังหวัดๆ ละคน  จะเอาหลักการอะไรไปค้านเขาละ คือบ้านเรามันอยู่ภายใต้มายาคติว่าประชาธิปไตยคือการเลือกตั้ง
แต่ทีนี้ถ้าเราดูตามความเป็นจริงๆ แล้วเราก็คาดการณ์ได้ว่า 77 คนเนี่ย ผมว่า 80% ก็จะมาจากฐานเสียงของพรรคการเมือง ของนักการเมือง อาจจะมีสัก 10% หรืออย่างสูง 20% ที่อาจจะเป็นผู้ที่มีความคิดอิสระจริงๆ และที่สำคัญก็คือถ้าเผื่อเอาคน 77 คน มาเลือกนักวิชาการ 22 คน แล้วเมื่อใน 80%  มีความเชื่อมโยงกับพรรคการเมือง กับนักการเมืองอยู่แล้ว ซึ่งนาทีนี้ก็ต้องบอกว่าเป็นพรรคการเมือง เป็นนักการเมืองที่น่าจะเป็นของพรรคที่ครองเสียงข้างมากในสภาฯอยู่ มันก็จะทำให้นักวิชาการที่จะเข้ามา ซึ่งก็ต้องยอมรับว่านักวิชาการก็มีความคิดแตกต่างหลากหลาย เราอาจจะได้นักวิชาการระดับนิติราษฎร์เข้ามา แล้วถามว่าคนอย่างอาจารย์แก้วสรร อติโพธิ จะมีโอกาสหลุดเข้ามาเป็น 1 ใน 22 นักวิชาการมั๊ย คนอย่างอาจารย์บวรศักดิ์ อุวรรโณ จะมีโอกาสหลุดเข้ามาเป็น 1 ใน 22 นักวิชาการในส่วนที่จะเป็นส.ส.ร.มั๊ย เพราะฉะนั้นก็คือเสียงข้างมากในส.ส.ร.ที่จะมี 99 คน ใน 100 คน มัน ก็พอจะคาดหมายได้ว่า น่าจะเป็นเสียงข้างมากที่สอดคล้องกับความต้องการหรือความประสงค์ของนักการ เมืองที่ครองเสียงข้างมากในสภาฯอยู่ แต่พอพูดว่าทำโดยส.ส.ร.ที่เป็นอิสระ นักการเมืองไม่เข้าไปยุ่ง รัฐบาลไม่เข้าไปยุ่งแล้ว ฟังมันดูดี แต่เมื่อคุณไปผูกโยงกับฐานการเลือกตั้งอย่างนี้แล้ว ความเป็นจริงในสังคมที่ใครๆก็ตอบได้ มันจะออกมายังไงก็พอเห็นอยู่ แต่สังคมก็คงคัดค้านได้ไม่เต็มปากเต็มคำ เพราะสังคมก็ไปรับเอาซะแล้วว่าประชาธิปไตยคือการเลือกตั้ง ยอมรับผลเลือกตั้ง แล้วเขาจะใช้ฐานนี้มาร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ การคัดค้านจึงไม่เต็มปากเต็มคำนัก
“เพราะว่าเราก็ติดในมายาคตินี้ คือประชาธิปไตยแน่นอนมันต้องมีการเลือกตั้ง เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด แต่มันไม่ใช่การเลือกตั้งอย่างเดียวที่จะเป็นองค์ประกอบเดียวของความเป็น ประชาธิปไตย พรรคเพื่อไทยมีคนเลือกมา 15 ล้านเสียง เยอะครับ แต่ก็มีคนไม่เลือกพรรคเพื่อไทยอย่างน้อยก็ 10 ล้านเสียง เมื่อคุณได้มาเป็นรัฐบาลแล้ว คุณไม่ได้เป็นรัฐบาลของคนแค่ 15 ล้านคน คุณเป็นรัฐบาลของคน 10 ล้านคนที่ไม่เลือกคุณด้วย แล้วคุณยังเป็นรัฐบาลของคนอีกจำนวนมากที่เขายังไม่มีสิทธิ์เลือกตั้ง แต่เขาก็เป็นเจ้าของประเทศด้วย เพราะฉะนั้นถ้าคิดว่ามีเสียงข้างมากแล้วอยากจะทำอะไรก็ได้ ผมว่าจะเป็นปัญหาตามมาในอนาคต”
Q : ถ้าการร่างรัฐธรรมนูญมีการซ่อนเรื่องการนิรโทษกรรม การปลดล็อกทางคดีให้คุณทักษิณไว้ รัฐบาลจะใช้ข้ออ้างอย่างไรเพื่อลดกระแสสังคมได้
A : รัฐบาล...เขาก็บอกว่าเขาไม่เกี่ยวไง เป็นเรื่องของส.ส.ร. ส.ส.ร.ไม่ใช่พรรคเพื่อไทย ส.ส.ร.มาจากประชาชนทุกจังหวัดเลือกมาจังหวัดละคน แล้วก็มาจากนักวิชาการที่อิสระ เขาบอกเขาไม่เกี่ยว แล้วรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะผ่านการลงประชามติจากประชาชนอีก พอเราไปผูกไว้กับฐานการเลือกตั้ง มันก็จะเป็นอย่างนี้
Q : ภาคประชาชนสามารถท้วงติงในเนื้อหารัฐธรรมนูญได้หรือไม่ หากเอื้อประโยชน์ให้คนๆหนึ่ง
A : ผมกำลังเฝ้าจับตาดูว่า สมมตินะเขาเอาเนื้อหาอย่างนิติราษฎร์เข้าไปบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ แล้วสังคมไทยจะว่ายังไง ถ้าสังคมไทยทั้งหมดยอมให้เป็นไปอย่างนี้ โดยที่ไม่มีอะไรเกิดขึ้น เราก็ต้องทำใจยอมรับ แต่ผมมีความเชื่ออยู่ลึกๆว่า “มันเกินไป-มันเกินไป” คือสิ่งที่นิติราษฎร์เสนอมามันไม่มีหลักอะไรรองรับ สำหรับคนที่รู้ ติดตามศึกษามา รู้อยู่ว่าคุณคิดอะไรอยู่ อย่าว่า “อ้าปากเห็นลิ้นไก่” เลย เรียกว่า “อ้าปากก็เห็นถึงริดสีดวงทวาร” เพราะว่าในแถลงการณ์ของนิติราษฎร์มันไม่ใช่แค่เรื่องทำให้ทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เกิดจากการรัฐประหารถือว่าไม่เคยเกิดขึ้น ไม่มีผลทางกฎหมายเลยเท่านั้น ประเด็นที่สองที่เขาพูดถึงก็คือ การแก้ไขหรือการยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 แล้วประเด็นที่สำคัญที่ผมเห็นว่ายังมีการพูดกันน้อยก็คือ ก่อนหน้านี้ทางพรรคเพื่อไทย เวลาเขาพูดถึงการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เขาจะบอกว่าเอารัฐธรรมนูญปี 2540 เป็นเกณฑ์ แต่ว่าในแถลงการณ์ของนิติราษฎร์ ในประเด็นที่ 4 ข้อ 2 เขาบอกว่า “คณะนิติราษฎร์เห็นว่ารัฐธรรมนูญที่จะนำมาใช้เป็นต้นแบบในการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ สมควรเป็น”...ตรงนี้คุณดูให้ดีนะ “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475” ขีดเส้นใต้สีแดงหลายเส้นตรงนี้ แล้วต่อไปคือ “รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักสยาม พุทธศักราช 2475 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 และอาจนำรัฐ ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ในส่วนของการประกันสิทธิและเสรีภาพ ตลอดจนโครงสร้างสถาบันการเมืองและองค์กรทางรัฐธรรมนูญเท่าที่สอดคล้องกับ พัฒนาการในยุคร่วมสมัยมาเป็นแนวทางในการยกร่าง”
คุณเห็นมั๊ยครับว่า รัฐธรรมนูญปี 2540 ถูกลดความสำคัญลงไปเพียง “และอาจนำ” แล้วก็เอาเฉพาะส่วนของการประกันสิทธิและเสรีภาพ และความทันสมัย แต่ว่าฉบับแรกที่เขาบอกว่า จะให้เป็นต้นแบบก็คือ “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475” ซึ่งประกาศใช้ 3 วัน หลังการปฏิวัติ 2475 คือวันที่ 27 มิ.ย.2475 แล้วก็ใช้อยู่เพียง 4-5 เดือนเท่านั้น พอถึง 10 ธ.ค.2475 ก็เปลี่ยนเป็นอีกฉบับหนึ่ง รัฐธรรมนูญฉบับนี้สาระสำคัญก็คือ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไม่สู้จะทรงเห็นด้วยนัก เมื่อคณะราษฎร์นำมาให้ท่านทอดพระเนตร ท่านก็ลงพระราชหัตถเลขาไปตรงหัวพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยาม ว่า “ฉบับชั่วคราว” เป็นพระองค์ท่านทรงพระราชหัตถเลขาไว้ แล้วรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ได้คำว่า “พระมหากษัตริย์” ใช้คำว่า “กษัตริย์” หมด แล้วรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะไม่มีหลักการเหมือนรัฐธรรมนูญทุกฉบับที่บรรจุไว้ใน มาตรา 8 ที่ว่า “พระมหากษัตริย์ทรงเป็นที่เคารพสักการะสูงสุดที่ผู้ใดจะละเมิดมิได้” (หมวด 2 พระมหากษัตริย์ มาตรา 8 องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้ ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใดๆ มิได้) รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีเพียงในมาตรา 6 ที่ระบุว่า “กษัตริย์จะถูกฟ้องร้องคดีอาชญายังโรงศาลไม่ได้ เป็นหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรจะวินิจฉัย” อันนี้เป็นหลักที่แตกต่างออกไป แล้วก็ยังมีเรื่องตามการสืบราชสมบัติอีก ในมาตรา 4
มันก็คงจะ...คือท่านคิดอะไรอยู่ละ ท่านถึงจะให้“พระ ราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475” มาเป็นต้นแบบ แล้วรัฐธรรมนูญปี 2540 ที่ท่านพูด พรรคเพื่อไทยพูดมาตลอดว่าจะต้องเป็นหลัก นิติราษฎร์กลับเขียนเพียงว่า “อาจนำเอาเฉพาะบางส่วนมา” อันนี้มันก็เป็นเรื่องชวนคิด
Q : การเสนอ“พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475” มาเป็นต้นแบบ เพื่อพุ่งเป้าไปแก้ไขเรื่องเกี่ยวกับสถาบันใช่หรือไม่
A : ผมว่าทางนิติราษฎร์คงไปไกลเกินกว่าที่พรรคเพื่อไทยคิด ถ้าพูดกันจริงๆผมว่าคนสีแดงมันก็มีแดงหลายเฉด เฉดของนิติราษฎร์เป็นเฉดที่สุดๆ เลย ท่านตั้งชื่อ “คณะนิติราษฎร์” ท่านก็จงใจชวนให้คิดว่า จงใจจะให้คล้ายกับ “คณะราษฎร์” ทำ นำปฏิวัติเมื่อปี 2475 อันนี้ก็ไม่ว่ากัน ม.ธรรมศาสตร์ก็...ท่านผู้ประศาสน์การ ท่านอาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ท่านก็เป็นหนึ่งในผู้ก่อการของคณะราษฎร์ ก็ไม่ว่ากัน แต่ว่าแต่ละยุคแต่ละสมัย มันก็มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ต่างกัน ท่านมาพูดถึงเรื่องยกเลิกมาตรา 112 ท่านมาพูดถึงเอารัฐธรรมนูญ 2475 ที่ไม่มีบทบัญญัติมาตรา 8 เหมือนรัฐธรรมนูญฉบับต่อๆ มา เอามาพูดถึง ผมเชื่อว่าในที่สุดทางส.ส.ร.ก็ดี ทางพรรคเพื่อไทยก็ดี เขาก็คงไม่อาจที่จะเห็นด้วยหรือเอาตามอย่างนี้ทั้งหมดหรอก แต่ แน่นอนอาจจะมีคนจำนวนหนึ่งที่มีความคิด มีความเชื่ออย่างนี้ แต่ว่าเราดูจากแถลงการณ์ของเขา ดูจากข้อมูลต่างๆรอบด้านแล้ว ถามว่าพวกเรามีสิทธิ์ที่จะคิดได้มั๊ยว่าเขาคิดอะไรกันอยู่...ก็มีสิทธิ์คิด ได้ แต่ผมเชื่อว่าถ้าเอาอย่างนี้มาทั้งดุ้น คนไทยคงรับไม่ได้
Q : แถลงการณ์นิติราษฎร์ การตั้งคอ.นธ. รวมถึงการแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการในกระทรวง กรมกองสำคัญอย่างกรมราชทัณฑ์ มีส่วนเชื่อมโยงกันเพื่อนำไปสู่จุดมุ่งหมายเดียวกัน
A : อันนี้น่าจะมีส่วนเกี่ยวพันกันบ้าง ผมว่าเพื่อไทย รวมทั้งคุณทักษิณก็ดี เขาก็คงต้องมีหลายแผน มีหลายด้าน มีหลายมุมที่สุดแท้จะเลือกใช้ตามสถานการณ์ที่แตกต่างกันไป แต่ทางนี้เป็นทางที่ถ้าเผื่อสามารถจะลบล้างโทษ ลบล้างความผิดได้โดยรัฐธรรมนูญมันถือว่ามันเป็นทางที่เบ็ดเสร็จที่สุด ใหญ่ที่สุด เพราะรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด แต่ก่อนหน้านี้เวลามีการพูดกันถึงว่าถ้าเผื่อร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่แล้วไม่ มีมาตรา 309 มันจะเหมือนจะเป็นการนิรโทษกรรม อันนั้นจริงๆมันยังมีปัญหาทางข้อกฎหมายอยู่เยอะนะ คือมาตรา 309 มันมีผลไปแล้ว ต่อให้มีรัฐธรรมนูญใหม่แล้วไม่มีเนื้อความแบบมาตรา 309 มันก็ไม่ได้แปลว่าจะไปลบล้างผลที่เกิดขึ้นได้ แต่คราวนี้แนวโน้มที่เราเห็นในแถลงการณ์ของคณะนิติราษฎร์เขาคิดไปไกล ก็คือจะถึงขนาดจะทำให้...คือเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญเลย 4-5 ข้อให้ผลอะไรที่เกิดขึ้นหลังรัฐประหาร 19 ก.ย.2549 การสอบสวนใดๆของคตส. องค์อะไรที่เกิดขึ้นจากคมช.ถือว่าไม่มีผลทางกฎหมาย ทางกฎหมายไม่เคยเกิดขึ้นเลย องค์อื่นก็มี ป.ป.ช. กกต. ตุลาการรัฐธรรมนูญ คือแสดงว่ามีความคิดที่จะเอากันแบบนี้เลย แต่ว่าเวลาทำจริงจะสามารถทำความคิดนี้ไปแปลเป็นบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญได้ หรือไม่ ผมว่าก็ต้องให้ความเป็นธรรมกับเขาว่า มันขึ้นอยู่กับสถานการณ์ขณะนั้น ว่าประชาชนชาวไทยทั้งหมด ทั้งที่เลือกเขาและไม่เลือกเขา เมื่อถึงเวลานั้นจะแสดงความรู้สึก จะแสดงความเห็นของตัวเองออกมาอย่างไร ถ้าเผื่อแหย่ออกมาแล้วไม่มีใครพูด ไม่มีใครทัดทาน โอกาสที่จะเป็นอย่างนั้นมันก็มีความเป็นไปได้
Q : ถ้ามีการดำเนินการได้จริง จะมีผลเอาผิดย้อนหลังกับคนที่ทำปฏิวัติรัฐประหารได้หรือไม่
A : มันขึ้นอยู่กับเนื้อหาว่า เขาจะเขียนรัฐธรรมนูญออกมายังไงมากกว่า แต่แนวคิดนี้ที่ออกมาอย่างนี้ คือแปลว่าทำได้ทุกอย่าง ทีนี้สังคมมันจะวุ่น คือมันจะยุ่งเหยิงกันไปหมด คือ ถ้าเอาหลักคิดนี้มาใช้นะ ถือว่ากกต.ไม่เคยเกิดขึ้นใช่มั๊ย เพราะกกต.มาจากคมช.แต่งตั้ง แล้วบรรดาส.ส. ส.ว.ที่กกต.จัดการเข้ามา มันจะถือว่าเคยเกิดขึ้นมั๊ย มันจะยุ่งกันไปหมด คดีความต่างๆที่ศาลรัฐธรรมนูญ มันไม่ได้มีแต่คดีคุณทักษิณนะ มันมีหลายคดีจะทำยังไง จะถือว่าไม่มีผลไปหมดเลยเหรอ แล้วทำไมคุณมาเลือกแต่การรัฐประหารครั้งนี้ รัฐประหารก่อนหน้านี้ 11-12 ครั้งทำไมไม่ประกาศให้มันไม่มีผลทางกฎหมาย หรือแม้แต่การปฏิวัติ 2475 มันก็เป็นการรัฐประหาร ทำไมมาเลือกปฏิบัติแต่รัฐประหาร 2549
Q : จุดประสงค์การนำรัฐธรรมนูญ 2475 มาเป็นต้นแบบการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อหวังช่วยคุณทักษิณเพื่อพ่วงไปสู่การแก้ไขเกี่ยวกับสถาบัน หรือมุ่งไปแก้ที่สถาบันแล้วใช้เรื่องคุณทักษิณบังหน้า
วรเจตน์ ภาคีรัตน์
A : ผม ว่า “นิติราษฎร์” เป็นแนวความคิดที่เป็นเฉดของแดงที่ไปสุดขั้วเลย คือเขามองว่าการปกครองในปัจจุบันไม่เป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง ประชาธิปไตยที่แท้จริงจะต้อง....ต้องอย่างนั้น-อย่างนี้ ไม่มีประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 มีกลิ่นไอ มีเชื้อ มีหลักตามที่จัดทำไว้ใน “พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475” อันนี้ผมมีสิทธิ์จะคิด เพราะเขาบอกให้เอาพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราวฉบับ นั้นมาใช้เป็นหลัก ทำไมคุณไม่พูดแค่รัฐธรรมนูญ 2540 ล่ะ เพราะคุณก็พูดมาโดยตลอด เพื่อไทย คนเสื้อแดงทั้งหลายแหล่ก็พูดมาโดยตลอด ซึ่งก็เป็นที่เข้าใจได้ว่ารัฐธรรมนูญ 2540 เป็นรัฐธรรมนูญที่ใกล้กับยุคสมัยปัจจุบันมากที่สุด และประชาชนก็มีส่วนร่วมมาก แต่ทำไมคราวนี้คุณบอกว่า “และ อาจนำ” รัฐ ธรรมนูญ 2540 เฉพาะส่วนที่มันทันสมัยมาใช้ คุณทำไมต้องย้อนไปพูดถึงฉบับ 2475 คุณประทับใจหรือคุณอยากให้สังคมไทยที่คุณวาดฝันไว้ไปมีหลักการรัฐธรรมนูญ ฉบับนั้น ฉบับ 2475 ข้อใด มาตราใด คุณประกาศมาให้ชัดดีกว่า เราก็ได้รู้ว่าคุณคิดยังไง Q : เท่าที่มีการประเมินผลตอนนี้ การเคลื่อนขบวนการสู่การร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไปได้มากน้อยแค่ไหนแล้ว
A : ก็ยังอีกพอสมควร เพราะว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ตามที่เขาพูดออกมาก็คงจะอย่างเร็วก็ปลายปีนี้ เห็นบอกว่าจะเป็นสมัยประชุมนิติบัญญัติ ก็น่าจะเปิดเดือนมกราคม แต่เห็นหลายท่านบอกว่าจะยื่นตั้งแต่เดือนธันวาคม ก็อาจจะเป็นไปได้ว่ายื่นธันวาคม พิจารณาคือเดือนมกราคม แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 291 ให้เกิดหมวดใหม่ หมวดการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ ใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือนในรัฐสภา หลังจากนั้นก็จะมีกระบวนการเลือกตั้งส.ส.ร. แล้วก็ใช้เวลาการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ผ่านกระบวนการต่างๆ ผมว่าอย่างเร็วที่สุดก็น่าจะปลายปีหน้า ถ้าได้ตัวรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งมันคงยังเร็วเกินไปกว่าที่เราจะวิพากษ์วิจารณ์หรือคาดการณ์ไปได้ เพราะกว่าจะถึงวันนั้น เหตุการณ์ต่างๆมีโอกาสเกิดขึ้นและเปลี่ยนแปลงได้มาก
Q : อย่างอายุรัฐบาลชุดนี้ที่หลายฝ่ายคาดการณ์ว่าจะอยู่แค่ 6 เดือนหรือ 1 ปี โอกาสที่จะดำเนินการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ได้สำเร็จ มีมากน้อยแค่ไหน
A : กระบวนการตรงนี้ ถ้าแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 แล้ว ก่อให้เกิดส.ส.ร.แล้ว กระบวนการนี้มันจะแยกออกจากรัฐบาล ถึงรัฐบาลเปลี่ยน ต่อให้มีการยุบสภา กระบวนการนี้มันยังคงอยู่ต่อไป แล้วผมเชื่อว่าภายใต้บริบททางการเมืองปัจจุบัน ถึงเปลี่ยนรัฐบาลมันก็ยังเป็นรัฐบาลเพื่อไทยอยู่ ถึงปรับครม.มันก็ยังเป็นเพื่อไทยอยู่ หรือถ้าไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงจริงๆ ต่อให้มีการยุบสภา การเลือกตั้งใหม่เข้ามาก็...จนถึงวันนี้ยังมองไม่เห็นสัญญาณใหม่ๆว่าจะไม่ ใช่พรรคเพื่อไทยเป็นเสียงข้างมาก แต่อย่างที่บอกการที่พัฒนาไปแต่ละวันมันก็อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ อะไรที่ไม่แน่มันอาจจะแน่ขึ้นมาก็ได้ เพราะว่า...คือพรรคเพื่อไทยเข้ามาครั้งนี้สัญญาไว้เยอะ แล้วเป็นการสัญญาในเรื่องที่ประชาชนคิดโดยผิวเผินแล้วพอใจ-ถูกใจ แต่ว่าจนถึงวันนี้มันยังเป็นเพียงช่วงต้นเท่านั้น หลายสิ่งหลายอย่างที่เริ่มออกมา มันก็ยังมีปัญหาอยู่ เขาอาจจะโชคไม่ดีนิดนึงที่เข้ามาหลังน้ำท่วม แล้วสถานะของเศรษฐกิจก็ใช่ว่าดี ฐานะของเศรษฐกิจโลกก็มีโอกาสที่มีปัญหาได้ตลอดเวลา นโยบายต่างๆของรัฐบาลใช้เงินเพิ่มขึ้น เก็บภาษีได้น้อยลง จะไปเอาเงินจากตรงไหน จะไปเอาทุนสำรองระหว่างประเทศมา ทางแบงก์ชาติก็ไม่เห็นด้วย ทางกลุ่มหลวงตาบัวก็ไม่เห็นด้วย ผมก็ไม่เห็นด้วย พอสังคมเริ่มลุกขึ้นมาเขาก็ถอย เขาก็บอกไม่เอาแล้ว ก็ยังเป็นปัญหาอยู่พอสมควร
และที่สำคัญคือความรู้สึกลึกๆที่อยู่ในใจของคนไทยจำนวนมาก คนไทยจำนวนมากที่อาจจะไม่ใช่ 15 ล้านเสียงที่เลือกเพื่อไทย แต่คนไทยจำนวนนี้ ไม่จำเป็นว่าเป็นเสื้อเหลือง ไม่จำเป็นว่าเป็นเสื้อหลากสี หรือจะเป็นเฉพาะคนที่เคยมีการเคลื่อนไหวที่ต่อต้านรัฐบาลทักษิณในอดีตเท่า นั้น แต่เป็นความรู้สึกของคนทั่วๆไปที่เขาเห็นหลายอย่างที่ออกมาจากรัฐบาลชุดนี้ แล้ว เขาอาจมีความรู้สึกไม่สบาย อาจรู้สึกอึดอัด เพราะดูเหมือนว่า 60-70% ที่เป็นเรื่องวิพากษ์วิจารณ์กันอยู่ มันกลายเป็นเรื่องของคุณทักษิณมากกว่า ผมกลับคิดว่าถ้าเพื่อไทยเขาพยายามทำตามนโยบายให้เกิดดอกออกผลจริงๆ ให้ประสบความสำเร็จจริงๆหลังจาก 1 ปี 2 ปีไปแล้วเนี่ย แล้วค่อยมาพูดเรื่องคุณทักษิณ ผลที่ได้มาอาจจะต่างออกไป แต่ทีนี้พอมาเริ่มต้นด้วยแบบนี้ เป็นประเด็นทางสังคมอยู่ที่นี่ทุกวัน ขณะที่การทำงานมันยังไม่เห็นผลที่ชัดเจน งบประมาณรายจ่ายประจำปีก็ยังไม่เสร็จ แล้วก็ต้องล่าช้าออกไป มันก็ทำให้สถานการณ์ที่ถึงแม้เขาได้เสียงเข้ามาข้างมาก แต่ทุกสิ่งทุกอย่างก็มีโอกาสเปลี่ยนแปลงได้ เพราะฉะนั้นมันก็จะกระทบต่อภาพรวมของร่างรัฐธรรมนูญใหม่ได้
Q : เป็นไปได้หรือไม่ว่า รัฐบาลอาจจะไม่คำนึงว่าจะอยู่ได้นาน-ไม่นาน แต่ขอประคองสถานการณ์เพื่อที่จะนำไปสู่กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพื่อให้เกิดส.ส.ร.ให้ได้
A : อันนั้นเป็นสิ่งที่แน่นอน ก็คือก่อให้เกิดส.ส.ร. เกิดกระบวนการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งมันจะเป็นองค์กรที่แยกต่างหากออกไป แล้วเป็นส่วนที่ไม่เกี่ยวกับการเมือง ในส่วนของการเมืองอาจจะปรับครม. อาจจะเปลี่ยนรัฐบาล อาจจะมีการยุบสภา แต่กระบวนการตัวนั้นจะเดินหน้าต่อไป แล้วจะกลับมาสู่ประชาชนอีกทีตอนลงประชามติ ซึ่งน่าจะเป็นช่วงปลายๆปีหน้า ก็เป็นไปได้ครับ
Q : ความอยู่รอดของรัฐบาลตอนนี้ เริ่มมีการพูดถึงรัฐประหาร เงื่อนไขความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นมีแค่ไหนอย่างไร
A : ผมว่าไม่มีใครยากทำรัฐประหาร ไม่มีใครอยากทำหรอก แต่ว่าประเทศไทยมันก็มีมาตลอด คงไม่มีใครรับประกันอะไรได้ แต่ ว่าอย่างหนึ่งอย่างคำว่า “รัฐประหาร” มันก็ผุดขึ้นมาจากคนของรัฐบาลเองที่ออก มาพูดว่าเดือนธันวาคม แล้วก็พูดว่าให้เตรียมการอะไรต่ออะไร คือผมว่า สิ่งหนึ่ง ที่เครือข่ายของรัฐบาลเขาต้องพูดสิ่งเหล่านี้ไว้ กึ่งๆการปลุกผีรัฐประหาร ก็เพื่อดำรงการหล่อเลี้ยงมวลชน หล่อเลี้ยงกระแสมวลชน หล่อเลี้ยงการจัดตั้งมวลชน หล่อเลี้ยงการเตรียมการมวลชนของเขา เพราะว่าเขาจะเป็นคณะที่ไม่ได้ต่อสู้การเมืองในระบบอย่างเดียว แต่ว่ามีการเมืองนอกระบบ การเมืองภาคประชาชน การจัดตั้งมวลชน ดำเนินการคู่ขนาน แล้วตอนนี้ก็เข้ามาหล่อรวมเป็นเนื้อเดียวกัน มีผู้นำมวลชนเข้ามาสู่ตำแหน่งในภาครัฐ มีผู้นำมวลชนก้าวเข้าสู่การเมืองท้องถิ่น แล้วไปอยู่ทุกจุด ภายใต้ข้ออ้างว่า “เตรียมการต่อต้านการรัฐประหาร” ภายใต้ข้ออ้างว่า “ต้องเป็นผนังทองแดงกำแพงเหล็กให้กับรัฐบาล” หรือภายใต้ข้ออ้างที่คนเสื้อแดงเขาก็พูดชัดเจนว่า “ชัยชนะในการเลือกตั้งมั เป็นเพียงชัยชนะขั้นต้นเท่านั้น มันยังมีขั้นต่อไป” เพราะว่า รากฐานของอำมาตย์ยังอยู่ เขาก็ต้องชูการต่อต้านรัฐประหารไว้เพื่อหล่อเลี้ยงมวลชนไว้ตลอดไป
Q : เมื่อพูดถึงเสื้อแดง มีบางฝ่ายมองจุดประสงค์เสื้อแดงว่า ถึงขั้นล้มล้างสถาบัน เป็นไปได้หรือไม่ที่ปลายทางในขั้นสุดท้ายของคณะนิติราษฎร์จะมาบรรจบกับคน เสื้อแดง
A : เป็นไปได้แต่คงไม่ง่าย เพราะว่าผมเชื่อว่าเสื้อแดงเขาก็มีหลากหลาย คือเป้าหมายรวมๆอาจจะเหมือนกัน...ประชาธิปไตยสมบูรณ์ แต่สมบูรณ์ของแต่ละคน แต่ละความคิดมันต่างกัน อย่างที่บอกสีแดงมีหลายเฉดสี มันก็เป็นดาบสองคมสำหรับเบอร์ของเขา คือคุณทักษิณเหมือนกัน เพราะว่าในการที่จะหล่อเลี้ยงหลายเฉดสีเข้าไว้ด้วยกัน หล่อเลี้ยงเป้าหมายความต้องการของแต่ละส่วนแต่ละกลุ่มที่อาจจะมีต่างระดับ กันไป ให้เป็นพลังอยู่ด้วยกัน มันไม่ใช่เรื่องง่าย ที่ผ่านมาเขาก็ทำได้ดีพอสมควร แต่ว่าไอ้เฉดสีแรงๆ เฉดสีจัดๆของเสื้อแดงที่แสดงออกมามัน...บางทีมันเกินไป แล้วมันจะทำให้คนไทยที่อาจจะไม่ได้ใส่เสื้อสีอะไรเลย หรืออาจจะเป็นเสื้อแดงอีกเฉดหนึ่ง หรือเป็นคนที่ไม่อยากยุ่งกับการเมืองมาก่อนเลย พอเขาเห็นมากขึ้น เห็นภาพต่างๆเหล่านี้แล้วเขาอาจจะรับไม่ได้ ทนไม่ได้ เขาก็ต้องแสดงออกบางสิ่งบางอย่างถึงความไม่เห็นด้วยอะไรออกมา มันก็อาจจะทำให้สิ่งที่ดูเหมือนจะราบรื่นของทางเพื่อไทย ในที่สุดก็อาจจะไม่ราบรื่นก็ได้
…………………….

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

รีโมท ซื้อ รีโมท จากผู้ค้าส่งโดยตรง ที่มีหน้าร้านจริง ที่ บ้านหม้อ และ คลองถม ราคาถูกกว่าใคร ปลอดภัย มีรับประกัน

คนไทยกู้แผ่นดิน บนเฟชบุ๊ค

บทความย้อนหลัง