คะแนนจัดตั้ง
มีคำถามตามมามาก มายสำหรับแคมเปญโหวตโน (VOTE NO) หรือการเลือกทำเครื่องหมายใน “ช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน” ลงบนบัตรเลือกตั้ง ซึ่งพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ออกมาเคลื่อนไหวอยู่ในขณะนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสั่งสอนว่ามีประชาชนจำนวนมากรังเกียจนักการเมืองใน ระบบที่เป็นอยู่ปัจจุบันนี้ และเพื่อผลักดัน “พลังบริสุทธิ์” ที่ออกเสียงในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน ให้เกิดการปฏิรูปการเมืองโดยประชาชน
ไม่ ว่าจะมาจากฝั่งพรรคประชาธิปัตย์ ที่มองว่าการรณรงค์โหวตโนของพันธมิตรฯ ไม่สามารถตอบโจทย์ให้กับบ้านเมืองได้ ทำให้ประเทศเสียโอกาส โดยอ้างว่าระหว่างพรรคการเมืองหลักคะแนนแตกต่างกันไม่มากนัก ประมาณสิบที่นั่งหรือแสนกว่าเสียง ผมเห็นเจตนาเป็นแบบนี้ ก็น่าจะสะท้อนให้เห็นว่าพรรคนี้มุ่งแต่ต้องการเอาชนะทางการเมือง โดยเฉพาะการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว ถึงกระนั้นแกนนำพรรคถึงกับยอมรับกลายๆ ว่า การเลือกตั้งครั้งนี้เฉพาะ กระแสพรรคไม่สามารถชนะการเลือกตั้งได้ และพบว่า ส.ส.ของพรรคหลายเขตที่ไม่ได้ทำพื้นที่และเสี่ยงไม่ชนะการเลือกตั้ง
หรือ จะเป็นพรรคเพื่อไทย ในฐานะที่เป็นไม้เบื่อไม้เมาของพันธมิตรฯ ซึ่งขับไล่ผู้นำระบอบทักษิณที่ขายชาติ-โกงแผ่นดินมาอย่างยาวนาน ก็ออกมาโจมตีว่าการโหวตโนเป็นการขัดขวางกระบวนการเลือกตั้ง เปิดทางให้มีการทำรัฐประหาร หรือขอพระราชทาน นายกรัฐมนตรีตามมาตรา 7 ไม่เป็นประชาธิปไตย ผมฟังดูแล้วไม่เห็นว่าการโหวตโนจะขัดขวางการเลือกตั้งแต่อย่างใดเลย ไปเลือกตั้งแต่กาช่องไม่ลงคะแนน ให้เลือกพรรคเพื่อไทยนะสิถึงจะได้ ส.ส.ที่ชอบโดดประชุม ด่าพ่อล่อแม่ แจกกล้วยแล้ววางมวยในสภา
อีก ทั้งผมเชื่อว่าในเวลานี้บรรดานายทหารทั้งหลายคงไม่คิดที่จะปฏิวัติรัฐประหาร เพราะนอกจากผู้นำเหล่าทัพจะออกมาพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่คิดจะปฏิวัติ รัฐบาลกับกองทัพยังมีความสัมพันธ์กันดีจากผู้จัดการรัฐบาลที่ชื่อ “สุเทพ เทือกสุบรรณ” รวมทั้ง “พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ” รมว.กลาโหม ที่มีความสัมพันธ์อันดีกับกองทัพ โดยเฉพาะ “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” ผบ.ทบ.จะมีก็แต่เสื้อแดงที่ออกอาการหลอน แค่ดาวเทียมไทยคม 5 ขัดข้อง ทำทีวีจอดำไป 4-5 ชั่วโมงก็ปล่อยข่าวลือไปทั่วว่ามีปฏิวัติ...
ส่วนบรรดานักวิชาการทั้งหลายก็มีมุมมองแตกต่างกันไป ทั้งไม่เห็นด้วยอย่างสุดโต่ง และเห็นด้วยแบบน่ากังขา อย่าง รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ที่เคยฉีกบัตรในการเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 ก็มองว่าที่พันธมิตรฯ รณรงค์ให้โหวตโนนั้นไม่ผิดกฎหมายและไม่ได้ขัดกับระบอบประชาธิปไตย เพียงแต่อาจจะเกิดคำถามว่าพันธมิตรฯ ตั้งพรรคการเมืองใหม่ แล้ว ไม่พร้อมจะลงแข่งขันในการเลือกตั้งหรืออย่างไร จึงรณรงค์ให้ผู้คนไปกาช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนนให้ผู้สมัครคนใดเลยเท่านั้น
ผม เห็นว่าอาจารย์ไชยันต์อาจจะเข้าใจผิดก็ได้ เพราะพันธมิตรฯ กับพรรคการเมืองใหม่ เดี๋ยวนี้เหมือนจะเป็นคนละเรื่องเดียวกันไปแล้ว ที่ชัดเจนที่สุดคือการประชุมใหญ่สามัญประจำปีของพรรคการเมืองใหม่ เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2554 ที่ผ่านมา เสียงสนับสนุนเกือบเต็มห้องประชุมเห็นว่าไม่ควรส่งผู้สมัคร ตามมาด้วยท่าทีของแกนนำพันธมิตรฯ ออกมาโจมตีถึงความชอบธรรมในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยเฉพาะข้อกล่าวหาว่ากระสันต์อยากเป็น ส.ส. รวมทั้งการที่สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) มีมติให้ “สมศักดิ์ โกศัยสุข” และ “สาวิทย์ แก้วหวาน” ประธานสหภาพแรงงานการรถไฟฯ ออกจากการเป็นแกนนำพันธมิตรฯ
ได้ ยินได้ฟังอย่างนี้ บรรดาผู้สนับสนุนพันธมิตรฯ และพรรคการเมืองใหม่ทั้งสองฝ่ายอาจจะรู้สึกไม่ดีนัก แต่ผมเห็นว่าไม่ใช่เรื่องแปลก มันก็เหมือนกับที่ นพ.เหวง โตจิราการ ที่วันนี้เดินบนเส้นทางการเมืองคนละแนวทางกับ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แม้ ทั้งคู่จะเคยออกมาเคลื่อนไหวในช่วงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬปี 2535 ก็ตาม ผู้ใหญ่ท่านหนึ่งก็เคยสอนเอาไว้ว่า มนุษย์มันเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อมันเปลี่ยนก็เปลี่ยน เมื่อมันเป็นอย่างนี้ต้องยอมรับว่ามันเป็นอย่างนี้นี่เอง อย่าไปฟูมฟายกับมัน...
อีกมุมมองหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องโหวตโนก็คือ รศ.วิทยากร เชียงกูล คณบดี วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ที่มองว่าการโหวตโนเป็นเรื่องเพ้อฝัน ทำให้เสียของ เพราะนักการเมืองหน้าเดิมๆ ก็จะเข้ามาอยู่ดี ถ้าเปลี่ยนแนวคิดไปใช้สิทธิเลือก พรรคการเมืองใหม่ หรือพรรคเล็กอื่นๆ เรายังจะมีโอกาสได้ ส.ส.หน้าใหม่ โดยเฉพาะจากระบบบัญชีรายชื่อเข้าไปเป็นฝ่ายค้านได้ดีกว่า ผมฟังอย่างนี้แล้วดูเหมือนว่า อ.วิทยากรคงจะคิดแบบคนที่เห็นแก่ตัวไปหน่อยหรือไม่ ถ้าอย่างนั้นคนที่ซื้อหวย ซื้อสลากกินแบ่งเป็นประจำทุกงวดเพื่อเสี่ยงโชคลุ้นรางวัลที่ 1 หรืออย่างน้อยรางวัลเลขท้าย ก็เท่ากับอาจารย์วิทยากรดูถูกคนเหล่านั้นเช่นเดียวกัน
อาจารย์วิทยากร ผู้ที่เคยเป็นเจ้าของบทกลอนที่ขึ้นต้นว่า “ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง” คงไม่เข้าใจถึงนิยามของการแสดงออกในเชิงสัญลักษณ์ ที่จะจุดประกายให้สังคมได้มองเห็นว่า ประชาชนไม่พอใจนักการเมืองในระบบที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้มากน้อยขนาดไหน แม้จะมีความแตกต่างในส่วนของการเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 ที่มีจำนวนโหวตโนมากกว่า 10 ล้านใบ เทียบกับการเลือกตั้งครั้งล่าสุด 23 ธันวาคม 2550 ที่มีจำนวนโหวตโนเพียงแค่ 1.4 ล้านใบในระบบสัดส่วน (ระบบแบ่งเขต 9.3 แสนใบ) แต่อย่างน้อยก็เป็นการจุดประกายให้ช่องไม่ประสงค์ลงคะแนนเป็นที่รับรู้ และเป็นทางเลือกแก่ประชาชนที่ไม่ต้องการแม้แต่นักการเมืองที่เลวน้อยที่สุด เข้าสภา
ในเมื่อทุกวันนี้ต้องยอมรับความจริงว่า ไม่ว่าพรรคไหนเป็นรัฐบาลก็มีการทุจริตไม่แพ้กัน ทั้งที่ทุกคนรู้อยู่แล้วว่ามีแต่นักการเมืองโกงชาติ ทำไมตัวเลือกถึงหยุดอยู่แค่เพียงว่า ต้องเลือกนักการเมืองที่เลวน้อยที่สุด เพราะคำว่าเลวไม่ว่าจะมากหรือน้อยมันก็ย่อมสร้างความเสียหายให้แก่ประเทศ ชาติ และประชาชนเสียโอกาสเหมือนกันมิใช่หรือ และอันที่จริงการที่อาจารย์วิทยากรเสนอว่าให้ไปเลือกพรรคการเมืองขนาดเล็ก ซึ่งไม่มี “คะแนนจัดตั้ง” เหมือนพรรคการเมืองขนาดใหญ่ ทำเช่นนี้ไม่เสียของไปกว่ากันหรือ
ถ้าคุณผู้อ่านยังไม่ทราบว่า “คะแนนจัดตั้ง” หมายถึงอะไร ฐานข้อมูลการเมืองการปกครองของสถาบันพระปกเกล้า ได้ให้ความหมายเอาไว้ว่า หมายถึงคะแนนเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ที่ผู้ลงคะแนนเสียงมาลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง โดยการชักนําของหัวคะแนนของผูสมัครรับเลือกตั้ง คะแนนจัดตั้งจึงถือเป็นคะแนนที่ผู้สมัครจะได้รับค่อนข้างแน่นอน โดยคะแนนเหล่านี้จะผ่านการจัดวางอย่างเป็นระบบของหัวคะแนนที่พร้อมจะสนับ สนุนผู้สมัครับเลือกตั้ง คะแนนดังกล่าวจะเป็นฐานในการประเมินของผู้สมัครรับเลือกตั้งและหัวคะแนนใน การวางยุทธวิธีหาเสียงเพื่อให้ชัยชนะในการเลือกตั้ง การมีคะแนนจัดตั้งเป็นฐานประเมินคะแนนเสียงจะทำให้ผู้สมัครรู้ว่าจะต้องหา คะแนนเสียงอีกแค่ไหนจึงจะได้รับเลือกตั้ง
อธิบายเป็นภาษาชาว บ้าน คะแนนจัดตั้งก็คือการซื้อเสียงแบบกลายๆ ผ่านบรรดาหัวคะแนนที่มีมวลชนอยู่ในมือ แต่ที่ไม่พูดคำว่าซื้อเสียงโดยตรง เพราะสุ่มเสี่ยงทั้งผิดกฎหมายเลือกตั้ง หากผู้สมัครรับเลือกตั้งและหัวคะแนนกระทำเช่นนั้นจริง หรืออาจถูกฟ้องร้องข้อหาหมิ่นประมาทในกรณีที่เป็นการกล่าวหาผู้สมัครอีกฝ่าย หนึ่ง คะแนนจัดตั้งนี้แหละสามารถรู้ได้เลยว่า ส.ส.คนนี้จะแพ้หรือชนะกันตั้งแต่ยังไม่หย่อนบัตร แทนที่ผู้สมัคร ส.ส.ที่มีภาพลักษณ์ดีหรือเป็นที่ชื่นชอบของประชาชน ที่ไม่อาจวัดผลได้ว่าจะชนะหรือแพ้
กระบวนการของคะแนนจัดตั้ง เริ่มต้นขึ้นที่พรรคการเมือง ไปถามนักเลือกตั้ง ซึ่งเป็น ส.ส.หรือผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งว่า คะแนนจัดตั้งของคุณมีเท่าไหร่ เกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งหรือไม่ ทีนี้นักเลือกตั้งก็จะมีหัวคะแนนจากหมู่บ้านต่างๆ ได้นำรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่สามารถนำมาลงคะแนนเสียงให้กับนักเลือก ตั้งคนนี้ ตามจำนวนที่ระบุไว้เตรียมเอาไว้แล้ว
ถ้ามีคะแนนจัด ตั้งเกินกึ่งหนึ่ง นักเลือกตั้งคนนี้ก็จะดูดีมีราคาค่างวด เป็นที่ต้องการตัวของพรรคการเมือง ถึงขนาดยอมที่จะจ่ายเงินแบบไม่อั้นให้ไปซื้อเสียงกับชาวบ้านในรายชื่อที่ว่า นี้ โดยจะต้องแข่งกับผู้สมัครอีกฝ่ายหนึ่งที่ไม่รู้ว่าจะเกทับมาอีกเท่าไหร่ จากนั้น นักเลือกตั้งเหล่านี้ก็จะลงพื้นที่พบกับคนที่ควบคุมคะแนนเสียง ซึ่งเป็นนักการเมืองท้องถิ่นที่เป็นพวกกัน ตั้งแต่สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.) นายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาล นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) สมาชิกสภา อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำชุมชน เพื่อขอคะแนนที่พวกเขาคุมอยู่มาไม่น้อยกว่า 60 % ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในแต่ละหมู่
ทีนี้ เวลาที่ขอคะแนนเขาไม่ได้ขอกันเปล่าๆ แต่ต้องส่งมอบเงินให้ไปจัดซื้อเสียง ซึ่งคนที่ควบคุมคะแนนเสียงก็จะได้เงินค่าตอบแทนพร้อมกับค่าหัวที่แล้วแต่ ตกลงกันเป็นหลักสิบ เมื่อหัวคะแนนพวกนี้ตอบตกลงแบ่งคะแนนให้นักเลือกตั้งฝ่ายไหนมากกว่า ฝ่ายนั้นก็จะชนะ ส่วนฝ่ายที่แบ่งให้น้อยกว่าก็จะแพ้ คะแนนจัดตั้งจะเป็นตัวช่วยให้นักเลือกตั้งเหล่านี้สามารถรู้ได้ทันทีว่า อนาคตทางการเมืองเขาจะเป็นอย่างไร แม้กระแสพรรคจะเป็นส่วนหนึ่งให้ประสบความสำเร็จแต่ไม่ยั่งยืนเท่ากระแสนัก เลือกตั้งคนนั้น
อันที่จริงคะแนนจัดตั้งมีทั้งแบบใช้เงิน ใช้ชื่อเสียงหรืออิทธิพล หรืออาจจะมีทั้งสองอย่างก็ได้ วิธีการนี้หากนักเลือกตั้งคนไหนลงเลือกตั้งบ่อยครั้ง และมีอิทธิพลในพื้นที่ คะแนนจัดตั้งก็จะยังอยู่ตามความจงรักภักดีของชาวบ้านที่ลงคะแนนให้ เมื่อมีความสัมพันธ์ระหว่างชาวบ้านกับ ส.ส. ประเภทที่ว่าชาวบ้านลงคะแนนให้ ส.ส.ก็ออกไปช่วยชาวบ้าน ทั้งช่วยประกันลูกชายที่ติดคุก ช่วยงานศพ งานบวช งานแต่ง งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ทำถนน ทำสะพานให้ใช้ ให้เงินทำกิจกรรม ฯลฯ
ผล ประโยชน์ต่างตอบแทนเหล่านี้ก็กำเนิดมาเป็น “ระบบอุปถัมภ์” ซึ่งทำลายประชาธิปไตยที่บริสุทธิ์ ยุติธรรม เพราะประชาชนถูกซื้อ และเป็นต้นกำเนิดสำคัญที่ทำให้กลุ่มคนเสื้อแดงถูกนักการเมืองปลุกระดมลงมา ชุมนุมที่กรุงเทพฯ เพื่อเอาทักษิณกลับมาโดยใช้คำว่าประชาธิปไตยบังหน้า กดดันให้รัฐบาลยุบสภาแล้ว พอไม่ได้ดังใจก็เผาบ้านเผาเมือง ปล้นสะดม แล้วยังปลุกระดมให้ศาลากลางจังหวัด 4 แห่งถูกเผาเหลือแต่ซาก ไม่ใช่เพราะนักเลือกตั้งหรอกหรือ?
ผมเชื่อว่าการ เลือกตั้งที่จะมาถึงครั้งนี้คงเป็นการเลือกตั้งที่สกปรกที่สุด พอๆ กับการเลือกตั้งวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ที่ซื้อเสียงกันทุกพรรค ไม่เว้นแม้แต่กรรมการบริหารพรรค และเมื่อมีปัจจัยที่มีนักเลือกตั้งจากพรรคการเมืองที่ถูกยุบ แตกออกมารวมกันเป็นพรรคใหม่ ถ้านักเลือกตั้งคนนั้นเป็นคนใหม่ หรือนักเลือกตั้งคนเดิมแต่อยู่พรรคใหม่ จะปล่อยให้กระแสสีเสื้อเอาเปรียบโดยมัวแต่นั่งตีขิม ไม่สนใจที่จะทำคะแนนจัดตั้งเหมือนคนอื่นก็ไม่ได้ ดังนั้นไม่ว่านักเลือกตั้งหรือพรรคการเมืองพรรคไหนจะเข้ามาก็หนีไม่พ้นระบบ นี้
และในเมื่อนักเลือกตั้งบางคนย้ายพรรค ย้ายสังกัด ก็ต้องดึงข้าราชการ นักการเมืองท้องถิ่น และหัวคะแนนเข้ามาเป็นพวก นักเลือกตั้งบางคนเลือกที่จะย้ายพรรคก็เพื่อดึงงบประมาณจากสภาให้มาลงใน พื้นที่ นักเลือกตั้งบางคนก็ใช้กระแสสีเสื้อและนโยบายประชานิยมเข้ามาหาเสียง ผมเชื่อว่าปัญหาคะแนนจัดตั้งเนี่ยแหละจะเป็นต้นเหตุให้การซื้อเสียงเป็นไป อย่างรุนแรง และถ้าผลการเลือกตั้งออกมาแตกต่างจากคะแนนที่จัดตั้งมากๆ เข้า งานเข้าก็ตกอยู่กับหัวคะแนนถึงขั้นเลือดตกยางออกก็เป็นได้
วัน ก่อนผมคุยกับนักการเมืองคนหนึ่งที่รู้จักกันมานานในพื้นที่อีสานใต้ ซึ่งในอีกไม่กี่วันเขาก็จะกลับมาลงสมัคร ส.ส.ในพรรคการเมืองพรรคหนึ่งอีกครั้ง ทราบมาว่าเดี๋ยวนี้ ส.ส.บางคนที่เป็นถึงรัฐมนตรี ขนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และชาวบ้านไปทัศนศึกษาดูงาน (ซึ่งจริงๆ ก็คือพาไปเที่ยวนั่นแหละ) กันเป็นว่าเล่น และขณะนี้ธนบัตรย่อยตั้งแต่ใบละ 20 ถึง 100 บาทเริ่มขาดตลาด ซึ่งเขาคาดว่าเป็นเพราะนักเลือกตั้งในพื้นที่แลกธนบัตรย่อยตุนเอาไว้ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับซื้อเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะในคืนหมาหอน
ความ ตกต่ำที่เกิดขึ้นในสภาผู้แทนราษฎรยุคนี้ ต้นตอที่สำคัญคือคะแนนจัดตั้ง นำไปสู่ระบบอุปถัมภ์ กระทั่งเราได้นักการเมืองที่เข้ามาเพื่อซื้อเสียงเลือกตั้ง กลายมาเป็นรัฐบาลที่โกงบ้านกินเมืองแทบทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าพรรคการเมืองไหนหรือใครจะเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล เพราะฉะนั้นผมเชื่อว่าการออกมาสั่งสอนนักการเมืองด้วยการโหวตโนในการเลือก ตั้งที่จะถึงนี้ จึงเป็นการแสดงพลังโดยบริสุทธิ์ใจและคะแนนไม่ตกไปอยู่กับคนใดคนหนึ่งที่จะ สร้างความชอบธรรมในการเข้าไปสังฆกรรมโกงบ้านกินเมืองในสภา
ส่วน ใครที่คิดว่าการเลือกโหวตโนนั้นเสียของ จะเลือกพรรคการเมืองทางเลือก นักการเมืองหน้าใหม่ หรือนักเลือกตั้งที่คิดว่าเลวน้อยกว่าก็เป็นสิทธิ์ของท่าน แต่ได้โปรดทำใจล่วงหน้าหากคนที่คุณคิดว่าเป็นทางเลือกใหม่ หรือคนที่เลวน้อยกว่าเขาไม่ซื่อสัตย์กับหนึ่งเสียงคุณ ถูกเมินเฉยเวลาที่จะทวงบุญคุณจากผู้แทน และทำประเทศชาติเสียหาย ก็อย่ามานั่งเสียใจภายหลัง แทนที่เราจะไม่ต้องผูกมัดกับนักการเมืองคนไหน แถมยังช่วยกดดันจิตสำนึกแก่บรรดานักการเมืองหน้าเดิมๆ ให้รู้จักเปลี่ยนแปลงตัวเองด้วยการลงคะแนนในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน แบบตัดไฟแต่ต้นลมเสียแต่วันนี้
(ตีพิมพ์ครั้งแรก หนังสือพิมพ์โคราชคนอีสาน ฉบับที่ 2012 ประจำวันที่ 30 เมษายน - 4 พฤษภาคม 2554)
มีคำถามตามมามาก มายสำหรับแคมเปญโหวตโน (VOTE NO) หรือการเลือกทำเครื่องหมายใน “ช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน” ลงบนบัตรเลือกตั้ง ซึ่งพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ออกมาเคลื่อนไหวอยู่ในขณะนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสั่งสอนว่ามีประชาชนจำนวนมากรังเกียจนักการเมืองใน ระบบที่เป็นอยู่ปัจจุบันนี้ และเพื่อผลักดัน “พลังบริสุทธิ์” ที่ออกเสียงในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน ให้เกิดการปฏิรูปการเมืองโดยประชาชน
ไม่ ว่าจะมาจากฝั่งพรรคประชาธิปัตย์ ที่มองว่าการรณรงค์โหวตโนของพันธมิตรฯ ไม่สามารถตอบโจทย์ให้กับบ้านเมืองได้ ทำให้ประเทศเสียโอกาส โดยอ้างว่าระหว่างพรรคการเมืองหลักคะแนนแตกต่างกันไม่มากนัก ประมาณสิบที่นั่งหรือแสนกว่าเสียง ผมเห็นเจตนาเป็นแบบนี้ ก็น่าจะสะท้อนให้เห็นว่าพรรคนี้มุ่งแต่ต้องการเอาชนะทางการเมือง โดยเฉพาะการเลือกตั้งเพียงอย่างเดียว ถึงกระนั้นแกนนำพรรคถึงกับยอมรับกลายๆ ว่า การเลือกตั้งครั้งนี้เฉพาะ กระแสพรรคไม่สามารถชนะการเลือกตั้งได้ และพบว่า ส.ส.ของพรรคหลายเขตที่ไม่ได้ทำพื้นที่และเสี่ยงไม่ชนะการเลือกตั้ง
หรือ จะเป็นพรรคเพื่อไทย ในฐานะที่เป็นไม้เบื่อไม้เมาของพันธมิตรฯ ซึ่งขับไล่ผู้นำระบอบทักษิณที่ขายชาติ-โกงแผ่นดินมาอย่างยาวนาน ก็ออกมาโจมตีว่าการโหวตโนเป็นการขัดขวางกระบวนการเลือกตั้ง เปิดทางให้มีการทำรัฐประหาร หรือขอพระราชทาน นายกรัฐมนตรีตามมาตรา 7 ไม่เป็นประชาธิปไตย ผมฟังดูแล้วไม่เห็นว่าการโหวตโนจะขัดขวางการเลือกตั้งแต่อย่างใดเลย ไปเลือกตั้งแต่กาช่องไม่ลงคะแนน ให้เลือกพรรคเพื่อไทยนะสิถึงจะได้ ส.ส.ที่ชอบโดดประชุม ด่าพ่อล่อแม่ แจกกล้วยแล้ววางมวยในสภา
อีก ทั้งผมเชื่อว่าในเวลานี้บรรดานายทหารทั้งหลายคงไม่คิดที่จะปฏิวัติรัฐประหาร เพราะนอกจากผู้นำเหล่าทัพจะออกมาพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ไม่คิดจะปฏิวัติ รัฐบาลกับกองทัพยังมีความสัมพันธ์กันดีจากผู้จัดการรัฐบาลที่ชื่อ “สุเทพ เทือกสุบรรณ” รวมทั้ง “พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ” รมว.กลาโหม ที่มีความสัมพันธ์อันดีกับกองทัพ โดยเฉพาะ “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” ผบ.ทบ.จะมีก็แต่เสื้อแดงที่ออกอาการหลอน แค่ดาวเทียมไทยคม 5 ขัดข้อง ทำทีวีจอดำไป 4-5 ชั่วโมงก็ปล่อยข่าวลือไปทั่วว่ามีปฏิวัติ...
ส่วนบรรดานักวิชาการทั้งหลายก็มีมุมมองแตกต่างกันไป ทั้งไม่เห็นด้วยอย่างสุดโต่ง และเห็นด้วยแบบน่ากังขา อย่าง รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร อาจารย์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ที่เคยฉีกบัตรในการเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 ก็มองว่าที่พันธมิตรฯ รณรงค์ให้โหวตโนนั้นไม่ผิดกฎหมายและไม่ได้ขัดกับระบอบประชาธิปไตย เพียงแต่อาจจะเกิดคำถามว่าพันธมิตรฯ ตั้งพรรคการเมืองใหม่ แล้ว ไม่พร้อมจะลงแข่งขันในการเลือกตั้งหรืออย่างไร จึงรณรงค์ให้ผู้คนไปกาช่องไม่ประสงค์จะลงคะแนนให้ผู้สมัครคนใดเลยเท่านั้น
ผม เห็นว่าอาจารย์ไชยันต์อาจจะเข้าใจผิดก็ได้ เพราะพันธมิตรฯ กับพรรคการเมืองใหม่ เดี๋ยวนี้เหมือนจะเป็นคนละเรื่องเดียวกันไปแล้ว ที่ชัดเจนที่สุดคือการประชุมใหญ่สามัญประจำปีของพรรคการเมืองใหม่ เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2554 ที่ผ่านมา เสียงสนับสนุนเกือบเต็มห้องประชุมเห็นว่าไม่ควรส่งผู้สมัคร ตามมาด้วยท่าทีของแกนนำพันธมิตรฯ ออกมาโจมตีถึงความชอบธรรมในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยเฉพาะข้อกล่าวหาว่ากระสันต์อยากเป็น ส.ส. รวมทั้งการที่สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) มีมติให้ “สมศักดิ์ โกศัยสุข” และ “สาวิทย์ แก้วหวาน” ประธานสหภาพแรงงานการรถไฟฯ ออกจากการเป็นแกนนำพันธมิตรฯ
ได้ ยินได้ฟังอย่างนี้ บรรดาผู้สนับสนุนพันธมิตรฯ และพรรคการเมืองใหม่ทั้งสองฝ่ายอาจจะรู้สึกไม่ดีนัก แต่ผมเห็นว่าไม่ใช่เรื่องแปลก มันก็เหมือนกับที่ นพ.เหวง โตจิราการ ที่วันนี้เดินบนเส้นทางการเมืองคนละแนวทางกับ พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แม้ ทั้งคู่จะเคยออกมาเคลื่อนไหวในช่วงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬปี 2535 ก็ตาม ผู้ใหญ่ท่านหนึ่งก็เคยสอนเอาไว้ว่า มนุษย์มันเปลี่ยนแปลงได้ เมื่อมันเปลี่ยนก็เปลี่ยน เมื่อมันเป็นอย่างนี้ต้องยอมรับว่ามันเป็นอย่างนี้นี่เอง อย่าไปฟูมฟายกับมัน...
อีกมุมมองหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องโหวตโนก็คือ รศ.วิทยากร เชียงกูล คณบดี วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ที่มองว่าการโหวตโนเป็นเรื่องเพ้อฝัน ทำให้เสียของ เพราะนักการเมืองหน้าเดิมๆ ก็จะเข้ามาอยู่ดี ถ้าเปลี่ยนแนวคิดไปใช้สิทธิเลือก พรรคการเมืองใหม่ หรือพรรคเล็กอื่นๆ เรายังจะมีโอกาสได้ ส.ส.หน้าใหม่ โดยเฉพาะจากระบบบัญชีรายชื่อเข้าไปเป็นฝ่ายค้านได้ดีกว่า ผมฟังอย่างนี้แล้วดูเหมือนว่า อ.วิทยากรคงจะคิดแบบคนที่เห็นแก่ตัวไปหน่อยหรือไม่ ถ้าอย่างนั้นคนที่ซื้อหวย ซื้อสลากกินแบ่งเป็นประจำทุกงวดเพื่อเสี่ยงโชคลุ้นรางวัลที่ 1 หรืออย่างน้อยรางวัลเลขท้าย ก็เท่ากับอาจารย์วิทยากรดูถูกคนเหล่านั้นเช่นเดียวกัน
อาจารย์วิทยากร ผู้ที่เคยเป็นเจ้าของบทกลอนที่ขึ้นต้นว่า “ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง” คงไม่เข้าใจถึงนิยามของการแสดงออกในเชิงสัญลักษณ์ ที่จะจุดประกายให้สังคมได้มองเห็นว่า ประชาชนไม่พอใจนักการเมืองในระบบที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้มากน้อยขนาดไหน แม้จะมีความแตกต่างในส่วนของการเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 ที่มีจำนวนโหวตโนมากกว่า 10 ล้านใบ เทียบกับการเลือกตั้งครั้งล่าสุด 23 ธันวาคม 2550 ที่มีจำนวนโหวตโนเพียงแค่ 1.4 ล้านใบในระบบสัดส่วน (ระบบแบ่งเขต 9.3 แสนใบ) แต่อย่างน้อยก็เป็นการจุดประกายให้ช่องไม่ประสงค์ลงคะแนนเป็นที่รับรู้ และเป็นทางเลือกแก่ประชาชนที่ไม่ต้องการแม้แต่นักการเมืองที่เลวน้อยที่สุด เข้าสภา
ในเมื่อทุกวันนี้ต้องยอมรับความจริงว่า ไม่ว่าพรรคไหนเป็นรัฐบาลก็มีการทุจริตไม่แพ้กัน ทั้งที่ทุกคนรู้อยู่แล้วว่ามีแต่นักการเมืองโกงชาติ ทำไมตัวเลือกถึงหยุดอยู่แค่เพียงว่า ต้องเลือกนักการเมืองที่เลวน้อยที่สุด เพราะคำว่าเลวไม่ว่าจะมากหรือน้อยมันก็ย่อมสร้างความเสียหายให้แก่ประเทศ ชาติ และประชาชนเสียโอกาสเหมือนกันมิใช่หรือ และอันที่จริงการที่อาจารย์วิทยากรเสนอว่าให้ไปเลือกพรรคการเมืองขนาดเล็ก ซึ่งไม่มี “คะแนนจัดตั้ง” เหมือนพรรคการเมืองขนาดใหญ่ ทำเช่นนี้ไม่เสียของไปกว่ากันหรือ
ถ้าคุณผู้อ่านยังไม่ทราบว่า “คะแนนจัดตั้ง” หมายถึงอะไร ฐานข้อมูลการเมืองการปกครองของสถาบันพระปกเกล้า ได้ให้ความหมายเอาไว้ว่า หมายถึงคะแนนเสียงของผู้สมัครรับเลือกตั้ง ที่ผู้ลงคะแนนเสียงมาลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง โดยการชักนําของหัวคะแนนของผูสมัครรับเลือกตั้ง คะแนนจัดตั้งจึงถือเป็นคะแนนที่ผู้สมัครจะได้รับค่อนข้างแน่นอน โดยคะแนนเหล่านี้จะผ่านการจัดวางอย่างเป็นระบบของหัวคะแนนที่พร้อมจะสนับ สนุนผู้สมัครับเลือกตั้ง คะแนนดังกล่าวจะเป็นฐานในการประเมินของผู้สมัครรับเลือกตั้งและหัวคะแนนใน การวางยุทธวิธีหาเสียงเพื่อให้ชัยชนะในการเลือกตั้ง การมีคะแนนจัดตั้งเป็นฐานประเมินคะแนนเสียงจะทำให้ผู้สมัครรู้ว่าจะต้องหา คะแนนเสียงอีกแค่ไหนจึงจะได้รับเลือกตั้ง
อธิบายเป็นภาษาชาว บ้าน คะแนนจัดตั้งก็คือการซื้อเสียงแบบกลายๆ ผ่านบรรดาหัวคะแนนที่มีมวลชนอยู่ในมือ แต่ที่ไม่พูดคำว่าซื้อเสียงโดยตรง เพราะสุ่มเสี่ยงทั้งผิดกฎหมายเลือกตั้ง หากผู้สมัครรับเลือกตั้งและหัวคะแนนกระทำเช่นนั้นจริง หรืออาจถูกฟ้องร้องข้อหาหมิ่นประมาทในกรณีที่เป็นการกล่าวหาผู้สมัครอีกฝ่าย หนึ่ง คะแนนจัดตั้งนี้แหละสามารถรู้ได้เลยว่า ส.ส.คนนี้จะแพ้หรือชนะกันตั้งแต่ยังไม่หย่อนบัตร แทนที่ผู้สมัคร ส.ส.ที่มีภาพลักษณ์ดีหรือเป็นที่ชื่นชอบของประชาชน ที่ไม่อาจวัดผลได้ว่าจะชนะหรือแพ้
กระบวนการของคะแนนจัดตั้ง เริ่มต้นขึ้นที่พรรคการเมือง ไปถามนักเลือกตั้ง ซึ่งเป็น ส.ส.หรือผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งว่า คะแนนจัดตั้งของคุณมีเท่าไหร่ เกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตที่จะลงสมัครรับเลือกตั้งหรือไม่ ทีนี้นักเลือกตั้งก็จะมีหัวคะแนนจากหมู่บ้านต่างๆ ได้นำรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่สามารถนำมาลงคะแนนเสียงให้กับนักเลือก ตั้งคนนี้ ตามจำนวนที่ระบุไว้เตรียมเอาไว้แล้ว
ถ้ามีคะแนนจัด ตั้งเกินกึ่งหนึ่ง นักเลือกตั้งคนนี้ก็จะดูดีมีราคาค่างวด เป็นที่ต้องการตัวของพรรคการเมือง ถึงขนาดยอมที่จะจ่ายเงินแบบไม่อั้นให้ไปซื้อเสียงกับชาวบ้านในรายชื่อที่ว่า นี้ โดยจะต้องแข่งกับผู้สมัครอีกฝ่ายหนึ่งที่ไม่รู้ว่าจะเกทับมาอีกเท่าไหร่ จากนั้น นักเลือกตั้งเหล่านี้ก็จะลงพื้นที่พบกับคนที่ควบคุมคะแนนเสียง ซึ่งเป็นนักการเมืองท้องถิ่นที่เป็นพวกกัน ตั้งแต่สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.) นายกเทศมนตรี สมาชิกสภาเทศบาล นายกองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) สมาชิกสภา อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และผู้นำชุมชน เพื่อขอคะแนนที่พวกเขาคุมอยู่มาไม่น้อยกว่า 60 % ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในแต่ละหมู่
ทีนี้ เวลาที่ขอคะแนนเขาไม่ได้ขอกันเปล่าๆ แต่ต้องส่งมอบเงินให้ไปจัดซื้อเสียง ซึ่งคนที่ควบคุมคะแนนเสียงก็จะได้เงินค่าตอบแทนพร้อมกับค่าหัวที่แล้วแต่ ตกลงกันเป็นหลักสิบ เมื่อหัวคะแนนพวกนี้ตอบตกลงแบ่งคะแนนให้นักเลือกตั้งฝ่ายไหนมากกว่า ฝ่ายนั้นก็จะชนะ ส่วนฝ่ายที่แบ่งให้น้อยกว่าก็จะแพ้ คะแนนจัดตั้งจะเป็นตัวช่วยให้นักเลือกตั้งเหล่านี้สามารถรู้ได้ทันทีว่า อนาคตทางการเมืองเขาจะเป็นอย่างไร แม้กระแสพรรคจะเป็นส่วนหนึ่งให้ประสบความสำเร็จแต่ไม่ยั่งยืนเท่ากระแสนัก เลือกตั้งคนนั้น
อันที่จริงคะแนนจัดตั้งมีทั้งแบบใช้เงิน ใช้ชื่อเสียงหรืออิทธิพล หรืออาจจะมีทั้งสองอย่างก็ได้ วิธีการนี้หากนักเลือกตั้งคนไหนลงเลือกตั้งบ่อยครั้ง และมีอิทธิพลในพื้นที่ คะแนนจัดตั้งก็จะยังอยู่ตามความจงรักภักดีของชาวบ้านที่ลงคะแนนให้ เมื่อมีความสัมพันธ์ระหว่างชาวบ้านกับ ส.ส. ประเภทที่ว่าชาวบ้านลงคะแนนให้ ส.ส.ก็ออกไปช่วยชาวบ้าน ทั้งช่วยประกันลูกชายที่ติดคุก ช่วยงานศพ งานบวช งานแต่ง งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ ทำถนน ทำสะพานให้ใช้ ให้เงินทำกิจกรรม ฯลฯ
ผล ประโยชน์ต่างตอบแทนเหล่านี้ก็กำเนิดมาเป็น “ระบบอุปถัมภ์” ซึ่งทำลายประชาธิปไตยที่บริสุทธิ์ ยุติธรรม เพราะประชาชนถูกซื้อ และเป็นต้นกำเนิดสำคัญที่ทำให้กลุ่มคนเสื้อแดงถูกนักการเมืองปลุกระดมลงมา ชุมนุมที่กรุงเทพฯ เพื่อเอาทักษิณกลับมาโดยใช้คำว่าประชาธิปไตยบังหน้า กดดันให้รัฐบาลยุบสภาแล้ว พอไม่ได้ดังใจก็เผาบ้านเผาเมือง ปล้นสะดม แล้วยังปลุกระดมให้ศาลากลางจังหวัด 4 แห่งถูกเผาเหลือแต่ซาก ไม่ใช่เพราะนักเลือกตั้งหรอกหรือ?
ผมเชื่อว่าการ เลือกตั้งที่จะมาถึงครั้งนี้คงเป็นการเลือกตั้งที่สกปรกที่สุด พอๆ กับการเลือกตั้งวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ที่ซื้อเสียงกันทุกพรรค ไม่เว้นแม้แต่กรรมการบริหารพรรค และเมื่อมีปัจจัยที่มีนักเลือกตั้งจากพรรคการเมืองที่ถูกยุบ แตกออกมารวมกันเป็นพรรคใหม่ ถ้านักเลือกตั้งคนนั้นเป็นคนใหม่ หรือนักเลือกตั้งคนเดิมแต่อยู่พรรคใหม่ จะปล่อยให้กระแสสีเสื้อเอาเปรียบโดยมัวแต่นั่งตีขิม ไม่สนใจที่จะทำคะแนนจัดตั้งเหมือนคนอื่นก็ไม่ได้ ดังนั้นไม่ว่านักเลือกตั้งหรือพรรคการเมืองพรรคไหนจะเข้ามาก็หนีไม่พ้นระบบ นี้
และในเมื่อนักเลือกตั้งบางคนย้ายพรรค ย้ายสังกัด ก็ต้องดึงข้าราชการ นักการเมืองท้องถิ่น และหัวคะแนนเข้ามาเป็นพวก นักเลือกตั้งบางคนเลือกที่จะย้ายพรรคก็เพื่อดึงงบประมาณจากสภาให้มาลงใน พื้นที่ นักเลือกตั้งบางคนก็ใช้กระแสสีเสื้อและนโยบายประชานิยมเข้ามาหาเสียง ผมเชื่อว่าปัญหาคะแนนจัดตั้งเนี่ยแหละจะเป็นต้นเหตุให้การซื้อเสียงเป็นไป อย่างรุนแรง และถ้าผลการเลือกตั้งออกมาแตกต่างจากคะแนนที่จัดตั้งมากๆ เข้า งานเข้าก็ตกอยู่กับหัวคะแนนถึงขั้นเลือดตกยางออกก็เป็นได้
วัน ก่อนผมคุยกับนักการเมืองคนหนึ่งที่รู้จักกันมานานในพื้นที่อีสานใต้ ซึ่งในอีกไม่กี่วันเขาก็จะกลับมาลงสมัคร ส.ส.ในพรรคการเมืองพรรคหนึ่งอีกครั้ง ทราบมาว่าเดี๋ยวนี้ ส.ส.บางคนที่เป็นถึงรัฐมนตรี ขนกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และชาวบ้านไปทัศนศึกษาดูงาน (ซึ่งจริงๆ ก็คือพาไปเที่ยวนั่นแหละ) กันเป็นว่าเล่น และขณะนี้ธนบัตรย่อยตั้งแต่ใบละ 20 ถึง 100 บาทเริ่มขาดตลาด ซึ่งเขาคาดว่าเป็นเพราะนักเลือกตั้งในพื้นที่แลกธนบัตรย่อยตุนเอาไว้ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับซื้อเสียงเลือกตั้ง โดยเฉพาะในคืนหมาหอน
ความ ตกต่ำที่เกิดขึ้นในสภาผู้แทนราษฎรยุคนี้ ต้นตอที่สำคัญคือคะแนนจัดตั้ง นำไปสู่ระบบอุปถัมภ์ กระทั่งเราได้นักการเมืองที่เข้ามาเพื่อซื้อเสียงเลือกตั้ง กลายมาเป็นรัฐบาลที่โกงบ้านกินเมืองแทบทุกยุคทุกสมัย ไม่ว่าพรรคการเมืองไหนหรือใครจะเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล เพราะฉะนั้นผมเชื่อว่าการออกมาสั่งสอนนักการเมืองด้วยการโหวตโนในการเลือก ตั้งที่จะถึงนี้ จึงเป็นการแสดงพลังโดยบริสุทธิ์ใจและคะแนนไม่ตกไปอยู่กับคนใดคนหนึ่งที่จะ สร้างความชอบธรรมในการเข้าไปสังฆกรรมโกงบ้านกินเมืองในสภา
ส่วน ใครที่คิดว่าการเลือกโหวตโนนั้นเสียของ จะเลือกพรรคการเมืองทางเลือก นักการเมืองหน้าใหม่ หรือนักเลือกตั้งที่คิดว่าเลวน้อยกว่าก็เป็นสิทธิ์ของท่าน แต่ได้โปรดทำใจล่วงหน้าหากคนที่คุณคิดว่าเป็นทางเลือกใหม่ หรือคนที่เลวน้อยกว่าเขาไม่ซื่อสัตย์กับหนึ่งเสียงคุณ ถูกเมินเฉยเวลาที่จะทวงบุญคุณจากผู้แทน และทำประเทศชาติเสียหาย ก็อย่ามานั่งเสียใจภายหลัง แทนที่เราจะไม่ต้องผูกมัดกับนักการเมืองคนไหน แถมยังช่วยกดดันจิตสำนึกแก่บรรดานักการเมืองหน้าเดิมๆ ให้รู้จักเปลี่ยนแปลงตัวเองด้วยการลงคะแนนในช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน แบบตัดไฟแต่ต้นลมเสียแต่วันนี้
(ตีพิมพ์ครั้งแรก หนังสือพิมพ์โคราชคนอีสาน ฉบับที่ 2012 ประจำวันที่ 30 เมษายน - 4 พฤษภาคม 2554)
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น