มาตรา 291/1 ให้มี ส.ส.ร.ทำหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามหมวดนี้ประกอบด้วยสมาชิก ดังต่อไปนี้
(1) สมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งจากผู้สมัครรับเลือกตั้งให้ได้จังหวัดละหนึ่งคน
(2) สมาชิกซึ่ง ส.ส.ร.คัดเลือกจากผู้ที่มีผลงานหรือมีความรู้ และมีความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ จำนวน 24 คน ดังต่อไปนี้
(ก) ด้านสาขากฎหมายมหาชน จำนวน 8 คน
(ข) ด้านสาขารัฐศาสตร์หรือรัฐประศาสนศาสตร์ จำนวน 8 คน
(ค) ด้านการเมือง การบริหารราชการแผ่นดินหรือการร่างรัฐธรรมนูญ ตามหลักเกณฑ์ที่ประธานรัฐสภาประกาศกำหนด จำนวน 8 คน
มาตรา 291/2 บุคคลมีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ร.ตามมาตรา 291/1 (1) ต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
(1) มีสัญชาติไทยโดยการเกิด
(2) มีอายุไม่ต่ำกว่าสามสิบห้าปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้ง
(3) มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้งมาแล้วเป็นเวลาติดต่อ กันไม่น้อยกว่า 1 ปี นับถึงวันที่สมัครรับเลือกตั้ง หรือเกิดในจังหวัดที่สมัครรับเลือกตั้ง
มาตรา 291/3 บุคคลซึ่งมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ร.ตามมาตรา 291/1(1) ได้แก่บุคคลซึ่งมีลักษณะดังต่อไปนี้
(1) เป็นบุคคลซึ่งมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ตามมาตรา 102(1)(2)(4)(5)(6)(7)(9)(10)(12)(13) และ (14)
(2) เป็น ส.ว.หรือ ส.ส.หรือข้าราชการการเมือง
(3) เป็นพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือของราชการส่วนท้องถิ่น
(4) เป็นบุคคลที่มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง ส.ส. ตามมาตรา 100(2) หรือ (4)
มาตรา 291/5 ให้มีการเลือกตั้ง ส.ส.ร.ตามมาตรา 291/1(1) ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่มีเหตุแห่งการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามหมวดนี้
การ เลือกตั้ง ส.ส.ร.ในแต่ละจังหวัด ให้ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง และให้มี ส.ส.ร.จังหวัดละหนึ่งคน โดยให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส.ส.ออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้งผู้สมัครรับเลือกตั้งได้ 1 เสียง และให้ใช้วิธีออกเสียงลงคะแนนโดยตรงและลับ
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเลือกตั้งและการหาเสียงเลือกตั้งของ ส.ส.ร.ให้เป็นไปตามประกาศกำหนดของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
มาตรา 291/8 เมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาตามมาตรา 291/7 แล้ว ให้สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จัดให้ผู้สมัครรับคัดเลือกทั้งหมดมาประชุมร่วมกันเพื่อคัดเลือกกันเองตาม วิธีการดังต่อไปนี้
(1) ผู้สมัครคัดเลือกตามมาตรา 291/1(2)(ก) คัดเลือกกันเองให้เหลือผู้ที่สมควรเป็น ส.ส.ร.จำนวน 30 คน
(2) ผู้สมัครรับคัดเลือกตามมาตรา 291/1(2)(ข) คัดเลือกกันเองให้เหลือผู้ที่สมควรเป็น ส.ส.ร.จำนวน 30 คน
(3) ผู้สมัครรับคัดเลือกตามมาตรา 291/1(2)(ค) คัดเลือกกันเองให้เหลือผู้ที่สมควรเป็น ส.ส.ร.จำนวน 30 คน
การ ลงคะแนนคัดเลือกตามวรรคหนึ่ง ให้ผู้สมัครรับคัดเลือกมีสิทธิเลือกได้คนละไม่เกิน 3 รายชื่อ และให้ผู้ได้รับคะแนนสูงสุดเรียงลงไปตามลำดับเป็นผู้ได้รับการคัดเลือก ในกรณีที่มีคะแนนเสียงเท่ากันในลำดับใดอันจะทำให้มีผู้ได้รับเลือกเกินจำนวน ให้ใช้วิธีจับสลาก
เมื่อได้คัดเลือกบุคคลตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง แล้ว ให้ถือว่าผู้ที่ได้รับการคัดเลือกตาม (1)(2)และ(3) เป็นผู้ที่มีคุณสมบัติตามมาตรา 291/1(2)(ก)(ข) หรือ (ค) และให้เป็นที่สุดทั้งนี้ การดำเนินการคัดเลือกดังกล่าวต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาไม่ เกิน 45 วัน นับแต่วันที่ได้ประกาศการเปิดรับสมัคร
มาตรา 291/11 ให้ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.ร.ตามมาตรา 291/5 และผู้ที่ได้รับคัดเลือกให้เป็น ส.ส.ร.ตามมาตรา 291/10 ประชุมร่างร่วมกันภายใน 10 วัน นับแต่วันที่มีผู้ได้รับเลือกเป็น ส.ส.ร.ครบจำนวนแล้ว เพื่อคัดเลือกผู้สมควรเป็นประธาน 1 คน และรองประธาน 2 คน แล้วแจ้งผลให้ประธานรัฐสภาทราบ และให้ประธานรัฐสภานำความขึ้นกราบบังคมทูลฯ เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งต่อไป
มาตรา 291/17 ส.ส.ร.จะต้องจัดทำร่างรัฐธรรมนูญให้แล้วเสร็จ ภายในกำหนดเวลา 240 วัน นับแต่วันที่มี ส.ส.ร.ครบจำนวนตามมาตรา 291/1
การที่สภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุ หรือมีการยุบสภาผู้แทนราษฎร ไม่เป็นเหตุกระทบกระเทือนการปฏิบัติหน้าที่ของ ส.ส.ร.
ในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ส.ส.ร.ต้องคำนึงถึงความคิดเห็นของประชาชนเป็นสำคัญ
ร่าง รัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐจะกระทำมิได้
ในกรณีที่รัฐสภาวินิจฉัยว่าร่างรัฐธรรมนูญมีลักษณะตามวรรคสี่ ให้ร่างรัฐธรรมนูญเป็นอันตกไป
มาตรา 291/19 ในการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ให้ ส.ส.ร.แต่งตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นหรือมิได้เป็น ส.ส.ร.ที่ได้รับการคัดเลือกตามมติของสภาจำนวน 25 คน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่สภาร่างรัฐธรรมนูญประกาศกำหนด
มาตรา 291/20 เมื่อ กมธ.จัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ให้จัดทำคำชี้แจงว่าร่างรัฐธรรมนูญที่จัดทำขึ้นใหม่นั้น มีความแตกต่างกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 ในเรื่องใด พร้อมด้วยเหตุผลในการแก้ไขไปยัง ส.ส.ร. องค์กรและบุคคล ดังต่อไปนี้ เพื่อพิจารณาและเสนอความคิดเห็น
(1) สภาผู้แทนราษฎร
(2) วุฒิสภา
(3) คณะรัฐมนตรี
(4) ศาลฎีกา
(5) ศาลปกครองสูงสุด
(6) คณะกรรมการการเลือกตั้ง
(7) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
(8) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน
(9) ผู้ตรวจการแผ่นดิน
(10) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
(11) สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
(12) สถาบันอุดมศึกษา
ให้ กมธ.เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญ และเอกสารชี้แจงตามวรรคหนึ่งให้ประชาชนทั่วไปทราบ ตลอดจนส่งเสริมและจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนประกอบด้วย
มาตรา 291/21 เมื่อ ส.ส.ร.ได้รับร่างรัฐธรรมนูญ และเอกสารตามมาตรา 291/20 แล้ว หากประสงค์จะแปรญัตติแก้ไขเพิ่มเติม ให้กระทำได้เมื่อมี ส.ส.ร.ลงชื่อรับรองไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวน ส.ส.ร.ที่มีอยู่ และต้องยื่นคำขอแปรญัตติพร้อมทั้งเหตุผลก่อนวันนัดประชุม ส.ส.ร. ตามมาตรา 291/20 และคำขอแปรญัตติตามมาตรา 291/22
สมาชิกที่ยื่นคำขอแปรญัตติ หรือที่ให้คำรับรองคำแปรญัตติของสมาชิกอื่นแล้ว จะยื่นคำขอแปรญัตติหรือรับรองคำขอแปรญัตติของสมาชิกอื่นใดอีกไม่ได้
มาตรา 291/23 ให้ ส.ส.ร.จัดทำร่างรัฐธรรมนูญ และพิจารณาให้แล้วเสร็จตามมาตรา 291/22 ภายใน 240 วัน นับแต่วันที่มี ส.ส.ร.ครบจำนวนตามมาตรา 291/1
เมื่อ จัดทำร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว ให้เผยแพร่ให้ประชาชนทราบและจัดให้มีการออกเสียงประชามติว่าจะให้ความเห็น ชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ซึ่งต้องจัดทำไม่เร็วกว่า 15 วัน และไม่ช้ากว่า 30 วันนับแต่วันที่เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ ส.ส.ร. ประกาศกำหนด
การออกเสียงประชามติต้องกระทำภายในวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร
บุคคลผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติ
มาตรา 291/25 ในการออกเสียงประชามติ ถ้าประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติเห็น ชอบ ให้นำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่มาบังคับใช้แล้ว ให้ประธานรัฐสภานำร่างรัฐธรรมนูญขึ้นทูลเกล้าทูลฯ และเมื่อทรงลงพระปรมาภิไธยแล้ว ให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาและบังคับใช้ได้ แต่ถ้าเสียงข้างมากไม่เห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญนั้น หรือมีผู้มาใช้สิทธิออกเสียงประชามติเป็นจำนวนไม่ถึง 1 ใน 5 ของจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติให้ร่างรัฐธรรมนูญนั้นเป็นอันตกไป
ที่มา:มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 30 ธันวาคม 2554
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น