"การเมืองทั้ง 2 ฝ่าย เอาอารมณ์และความคิดเห็นมาต่อสู้กัน
ที่ผ่านมาการเมืองไทยก็ถือว่าเลวร้ายมากอยู่แล้ว
ผมยังเคยคิดถ้าสถานการณ์การเมืองยังเป็นอยู่อย่างนี้ ไปๆ มาๆ
ชั่วชีวิตที่เราดำรงอยู่จะมีความสุขไม่ได้จนกว่าเราจะตายหรือไม่?
ชีวิตคนเราต้องการความสุข สงบ ดังนั้น
ต้องมาช่วยกันคิดว่าจะทำอย่างไรให้มันดีขึ้น
ตอนนี้เหมือนเอารัฐธรรมนูญที่ความจริงควรเป็นกฎหมายหลักที่ทำให้ประเทศมี
ความสุข กลับมาสู้กันทางการเมือง แล้วใครล่ะจะได้ประโยชน์
ถ้าต่อไปหากคนรุ่นพวกเราตายกันไปแล้วลูกหลานเราโตขึ้น
เราจะบอกกับลูกหลานเราอย่างไร เหตุที่คนไทยแตกแยกกัน"
ดร.เสรี สุวรรณภานนท์ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 2540 (ส.ส.ร.) และอดีตสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) กล่าวกับทีมข่าว "ไทยรัฐออนไลน์" กรณีพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ออกมาดักคอรัฐบาลเพื่อไทย กรณีการล็อกสเปก ผู้ที่จะมาเป็น ส.ส.ร.3 ในการยกร่างแก้กฎหมายรัฐธรรมนูญ ว่า ส่วนตัวเห็นว่า ต้องขึ้นอยู่กับวิธีการและการกำหนดที่มาของ ส.ส.ร.มากกว่า แต่หากถามว่าเป็นห่วงเรื่องการล็อกสเปก ส.ส.ร. ที่อาจเกิดขึ้นตามที่ฝ่ายค้านออกมาชิงดักคอรัฐบาลหรือไม่นั้น ยอมรับว่าก็มีความเป็นห่วงอย่างแน่นอน ทิศทางเป็นไปได้สูง เพราะรัฐบาลมีเสียงในสภามากกว่าฝ่ายค้านอยู่แล้ว เพราะความจริงแล้ว ที่ผ่านมารัฐสภาเองก็พยายามคิดวิธีการหลายวิธีในการคัดเลือก ส.ส.ร.มาโดยตลอด แต่ต้องยอมรับว่าไม่ว่าจะใช้วิธีไหนก็มีช่องโหว่ให้เห็น
อย่าง
ตนเองเคยเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ส.ส.ร.ปี 2540
กฎหมายก็กำหนดให้การสรรหา ส.ส.ร.
ให้มาจากการที่ประชาชนเลือกกันเองได้จังหวัดละ 10 คน
แล้วส่งเข้ามาให้สภาผู้แทนราษฎรเลือกเหลือเพียง 1 คน ประเทศไทยมี 76
จังหวัด ก็จะได้ ส.ส.ร. 76 คน
ขณะที่จะมีการเสนอรายชื่อนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญสาขาด้านต่างๆ
ให้รัฐสภาเลือกให้ได้อีก 23 คน รวมเป็น 99 คน เมื่อวิธีการเลือกเป็นเช่นนี้
ก็แน่นอนใครสามารถล็อบบี้เสียงในสภา หรือมีพวกมากกว่า
ก็มีโอกาสมากที่จะล็อกสเปกได้
หรืออย่างตอนเลือก ส.ส.ร. 2 ยกร่าง รธน.ปี
2550 ก็เช่นกัน
วิธีการก็ต้องกำหนดให้มีการเลือกบุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมโดยสมัครเสนอตัว
ผ่านทางสมัชชาแห่งชาติิ ซึ่งในตอนนั้นมีผู้สนใจลงสมัคร จำนวนกว่า 2,000 คน
และทุกคนก็ต้องมาเลือกกันเอง
แน่นอนว่าก็ไม่มีใครเลือกคนอื่นนอกจากเลือกพวกตัวเอง ขณะที่จะมี
ส.ส.ร.อีกส่วน ที่จะได้รับเลือกจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติอีก 100 คน
ซึ่งความเป็นจริงแล้ววิธีการเลือก ส.ส.ร.แบบนี้ ผู้ที่สมัครลงเลือกตั้ง
ส.ส.ร.ทุกคนก็มีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์
สามารถเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญได้ทุกคน
เพียงแต่จะเลือกเอาคนไหนก็เท่านั้น
ดร.เสรี กล่าวอีกว่า ดังนั้น หากมาดูเรื่องวิธีการเลือก ส.ส.ร.แล้ว ยอมรับว่าไม่ว่าวิธีไหนก็ดูจะมีช่องโหว่ที่จะเอื้อกับการล็อกสเปกได้ทั้ง นั้น หากจะให้เสนอวิธีการสรรหา ส.ส.ร.3 แบบที่เชื่อว่าจะสามารถป้องกันข้อครหาการล็อกสเปกได้อย่างชงัด 100% หรืออย่างน้อยก็ป้องกันได้มากที่สุดนั้น ตนก็ยังคิดไม่ออกว่าจะแนะให้ใช้วิธีการใด นอกจากวิธีการจับสลากเท่านั้น อย่างไรก็ตาม มองการที่รัฐบาลเตรียมแก้กฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อเปิดทางให้มีการตั้ง ส.ส.ร.3 จะสำเร็จหรือไม่ว่าหลักการทำงาน ก็คือฝ่ายรัฐบาลก็ต้องทำหน้าที่ไปตามนโยบายตัวเอง ส่วนฝ่ายค้านก็มีหน้าที่ต้องตรวจสอบหรือจับผิดในสภา ว่า เสียงข้างมากทำอะไรถูกต้องหรือไม่ หากพบว่าไม่ถูกก็ต้องเสนอให้ประชาชนได้รับทราบว่า ทำอย่างไรก็ไม่ทำให้เกิดการล็อกสเปก ส.ส.ร.3 อย่างที่ฝ่ายค้านตั้งข้อสังเกตไว้่ก่อนหน้า
"ก็ไม่รู้ว่าจะสำเร็จหรือ ไม่ อย่างไร แต่หลักการทำงานต้องตอบคำถามก่อนว่าทำเพื่ออะไร ทั้งการออกนิรโทษ หรืออภัยโทษ ต้องรู้ก่อนว่าทำเพื่ออะไร เพื่อใคร หากทำเพื่อคนคนเดียวจริง สมควรหรือไม่ ขณะที่ถ้าถึงขนาดต้องมีการแก้รัฐธรรมนูญให้ยกเลิกมาตรา 309 ซึ่งเป็นบทเฉพาะกาลไปนั้น ส่วนตัวเห็นว่าก็ไม่รู้จะทำได้อย่างไร เพราะหลักการแก้กฎหมาย อะไรก็ตามที่กลายเป็นสิ่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว การที่จะกลับไปยกเลิกให้เหมือนกับไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้นเลย เป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าเป็นกฎหมายที่เป็นคุณเขียนแล้วให้ประโยชน์เป็นคุณกับคนกระทำความผิดก็ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ทั้งหมดต้องไม่ผิดหลักทุจริต แสวงอำนาจโดยมิชอบ หรือดูหมิ่นสถาบัน ซึ่งเป็นที่เคารพรััก" ดร.เสรี กล่าว
แต่ กับปรากฏการณ์การเมืองที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี รับบทออกมาเป็นหัวหมู่ทะลวงฟัน เร่งเครื่องยื่นแก้กฎหมายมาตรา 291 เพื่อเปิดทางให้มีการตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ส.ส.ร.3 โดยมีการตั้งโมเดล ให้กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งหมด จะต้องให้เสร็จสิ้นประมาณเดือน มิ.ย. 2556 ซึ่งหากนับไปจากนี้ก็จะมีเวลาอีกประมาณ 1 ปี 6 เดือน โดยกำหนดให้รัฐบาลจะต้องยื่นขอแก้กฎหมาย รธน. มาตรา 291 ภายในสิ้นเดือน ธ.ค. 2554 ทีเดียวจะเรียกได้ว่า รัฐบาลเร่งเครื่องเดินเต็มลูกสูบเหมือนกลัวอาจอยู่ไม่ถึง ประกอบกับพรรคร่วมรัฐบาลที่ถือว่าเป็นลูกคู่อย่างชาติไทยพัฒนาก็ออกมาขานรับ ไล่รวมไปถึงพรรคการเมืองที่อยู่ฝั่งตรงกันข้ามอย่างประชาธิปัตย์ ยังออกอาการเห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่เป็นเฉพาะมาตรา 237 ที่เกี่ยวข้องกับกรณีการยุบพรรค ส่วนมาตราอื่นๆ ยังขอคัดค้านสุดลิ่มทิ่มประตู โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการนิรโทษกรรม "นายใหญ่" ของพรรคเพื่อไทย ที่อยู่ ณ เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ ทุกฝ่ายเห็นฟ้องต้องกันว่า อย่างไรเสียก็ต้องเห็นการเดินหน้ากระบวนการแก้ไข รธน.แน่
มอง ดูแล้วการเมืองไทยในปีหน้า (งูใหญ่) 2555 คงหนีไม่พ้นการตั้ง ส.ส.ร.3 เพื่อพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ เป็นบางรายมาตรา เพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น รัฐจะสามารถดำเนินการได้ดังที่คาดหวังไปตามแผน หรือจะเกิดอุปสรรคระหว่างทาง อาทิ มีกลุ่มบางกลุ่มก่อม็อบออกมาต่อต้านอย่างที่กลัวเกรงกัน ทุกอย่างคงขึ้นอยู่กับตัวรัฐบาล และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเอง จะเป็นผู้กำหนด หากการแก้ รธน.มีการสอดไส้แก้ในมาตราที่ถือว่าเป็นปัญหา โดยเฉพาะมาตราที่ต้องขีดเส้นแดงเอาไว้ตรงนี้เลยคือ มาตรา 309 (ลบล้างผลพวงที่มาจากการรัฐประหารเมื่อปี 2549) แน่นอนกลุ่มต่อต้านที่จับจ้องอยู่ คงออกมาประท้วงสร้างความวุ่นวายอีกแน่
ทั้ง นี้ นับรวมไปถึงกฎหมายอาญามาตรา 112 เรื่องการหมิ่นสถาบันอันเป็นที่เคารพรักของปวงชนชาวไทย ต้องขอย้ำก่อนว่า เป็นการวิเคราะห์ดูตามหน้าเสื่อที่ออกมาเท่านั้น แต่ไม่ขอออกความคิดเห็นใดๆ ส่วน รธน.ในมาตราอื่น ทั้งมาตรา 190 หรือ 237 หรือจะให้เอา รธน. ปี 2540 กลับมาปรับปรุงใหม่ ก็เห็นว่าไม่น่าเป็นปัญหาแต่อย่างใด แต่นายกรัฐมนตรีจะต้องกล้าออกมาส่งสัญญาณให้ชัดเจนด้วยว่า รัฐบาลมีความเห็นและจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ไม่ใช่หนูไม่รู้...อย่างเดียว ทั้งหมดมันก็เป็นประการฉะนี้.
ดร.เสรี สุวรรณภานนท์ อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ 2540 (ส.ส.ร.) และอดีตสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) กล่าวกับทีมข่าว "ไทยรัฐออนไลน์" กรณีพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ออกมาดักคอรัฐบาลเพื่อไทย กรณีการล็อกสเปก ผู้ที่จะมาเป็น ส.ส.ร.3 ในการยกร่างแก้กฎหมายรัฐธรรมนูญ ว่า ส่วนตัวเห็นว่า ต้องขึ้นอยู่กับวิธีการและการกำหนดที่มาของ ส.ส.ร.มากกว่า แต่หากถามว่าเป็นห่วงเรื่องการล็อกสเปก ส.ส.ร. ที่อาจเกิดขึ้นตามที่ฝ่ายค้านออกมาชิงดักคอรัฐบาลหรือไม่นั้น ยอมรับว่าก็มีความเป็นห่วงอย่างแน่นอน ทิศทางเป็นไปได้สูง เพราะรัฐบาลมีเสียงในสภามากกว่าฝ่ายค้านอยู่แล้ว เพราะความจริงแล้ว ที่ผ่านมารัฐสภาเองก็พยายามคิดวิธีการหลายวิธีในการคัดเลือก ส.ส.ร.มาโดยตลอด แต่ต้องยอมรับว่าไม่ว่าจะใช้วิธีไหนก็มีช่องโหว่ให้เห็น
ดร.เสรี กล่าวอีกว่า ดังนั้น หากมาดูเรื่องวิธีการเลือก ส.ส.ร.แล้ว ยอมรับว่าไม่ว่าวิธีไหนก็ดูจะมีช่องโหว่ที่จะเอื้อกับการล็อกสเปกได้ทั้ง นั้น หากจะให้เสนอวิธีการสรรหา ส.ส.ร.3 แบบที่เชื่อว่าจะสามารถป้องกันข้อครหาการล็อกสเปกได้อย่างชงัด 100% หรืออย่างน้อยก็ป้องกันได้มากที่สุดนั้น ตนก็ยังคิดไม่ออกว่าจะแนะให้ใช้วิธีการใด นอกจากวิธีการจับสลากเท่านั้น อย่างไรก็ตาม มองการที่รัฐบาลเตรียมแก้กฎหมายรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เพื่อเปิดทางให้มีการตั้ง ส.ส.ร.3 จะสำเร็จหรือไม่ว่าหลักการทำงาน ก็คือฝ่ายรัฐบาลก็ต้องทำหน้าที่ไปตามนโยบายตัวเอง ส่วนฝ่ายค้านก็มีหน้าที่ต้องตรวจสอบหรือจับผิดในสภา ว่า เสียงข้างมากทำอะไรถูกต้องหรือไม่ หากพบว่าไม่ถูกก็ต้องเสนอให้ประชาชนได้รับทราบว่า ทำอย่างไรก็ไม่ทำให้เกิดการล็อกสเปก ส.ส.ร.3 อย่างที่ฝ่ายค้านตั้งข้อสังเกตไว้่ก่อนหน้า
"ก็ไม่รู้ว่าจะสำเร็จหรือ ไม่ อย่างไร แต่หลักการทำงานต้องตอบคำถามก่อนว่าทำเพื่ออะไร ทั้งการออกนิรโทษ หรืออภัยโทษ ต้องรู้ก่อนว่าทำเพื่ออะไร เพื่อใคร หากทำเพื่อคนคนเดียวจริง สมควรหรือไม่ ขณะที่ถ้าถึงขนาดต้องมีการแก้รัฐธรรมนูญให้ยกเลิกมาตรา 309 ซึ่งเป็นบทเฉพาะกาลไปนั้น ส่วนตัวเห็นว่าก็ไม่รู้จะทำได้อย่างไร เพราะหลักการแก้กฎหมาย อะไรก็ตามที่กลายเป็นสิ่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว การที่จะกลับไปยกเลิกให้เหมือนกับไม่เคยมีอะไรเกิดขึ้นเลย เป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าเป็นกฎหมายที่เป็นคุณเขียนแล้วให้ประโยชน์เป็นคุณกับคนกระทำความผิดก็ เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ทั้งหมดต้องไม่ผิดหลักทุจริต แสวงอำนาจโดยมิชอบ หรือดูหมิ่นสถาบัน ซึ่งเป็นที่เคารพรััก" ดร.เสรี กล่าว
แต่ กับปรากฏการณ์การเมืองที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี รับบทออกมาเป็นหัวหมู่ทะลวงฟัน เร่งเครื่องยื่นแก้กฎหมายมาตรา 291 เพื่อเปิดทางให้มีการตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ส.ส.ร.3 โดยมีการตั้งโมเดล ให้กระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งหมด จะต้องให้เสร็จสิ้นประมาณเดือน มิ.ย. 2556 ซึ่งหากนับไปจากนี้ก็จะมีเวลาอีกประมาณ 1 ปี 6 เดือน โดยกำหนดให้รัฐบาลจะต้องยื่นขอแก้กฎหมาย รธน. มาตรา 291 ภายในสิ้นเดือน ธ.ค. 2554 ทีเดียวจะเรียกได้ว่า รัฐบาลเร่งเครื่องเดินเต็มลูกสูบเหมือนกลัวอาจอยู่ไม่ถึง ประกอบกับพรรคร่วมรัฐบาลที่ถือว่าเป็นลูกคู่อย่างชาติไทยพัฒนาก็ออกมาขานรับ ไล่รวมไปถึงพรรคการเมืองที่อยู่ฝั่งตรงกันข้ามอย่างประชาธิปัตย์ ยังออกอาการเห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่เป็นเฉพาะมาตรา 237 ที่เกี่ยวข้องกับกรณีการยุบพรรค ส่วนมาตราอื่นๆ ยังขอคัดค้านสุดลิ่มทิ่มประตู โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการนิรโทษกรรม "นายใหญ่" ของพรรคเพื่อไทย ที่อยู่ ณ เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ ทุกฝ่ายเห็นฟ้องต้องกันว่า อย่างไรเสียก็ต้องเห็นการเดินหน้ากระบวนการแก้ไข รธน.แน่
มอง ดูแล้วการเมืองไทยในปีหน้า (งูใหญ่) 2555 คงหนีไม่พ้นการตั้ง ส.ส.ร.3 เพื่อพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญใหม่ เป็นบางรายมาตรา เพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น รัฐจะสามารถดำเนินการได้ดังที่คาดหวังไปตามแผน หรือจะเกิดอุปสรรคระหว่างทาง อาทิ มีกลุ่มบางกลุ่มก่อม็อบออกมาต่อต้านอย่างที่กลัวเกรงกัน ทุกอย่างคงขึ้นอยู่กับตัวรัฐบาล และ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีเอง จะเป็นผู้กำหนด หากการแก้ รธน.มีการสอดไส้แก้ในมาตราที่ถือว่าเป็นปัญหา โดยเฉพาะมาตราที่ต้องขีดเส้นแดงเอาไว้ตรงนี้เลยคือ มาตรา 309 (ลบล้างผลพวงที่มาจากการรัฐประหารเมื่อปี 2549) แน่นอนกลุ่มต่อต้านที่จับจ้องอยู่ คงออกมาประท้วงสร้างความวุ่นวายอีกแน่
ทั้ง นี้ นับรวมไปถึงกฎหมายอาญามาตรา 112 เรื่องการหมิ่นสถาบันอันเป็นที่เคารพรักของปวงชนชาวไทย ต้องขอย้ำก่อนว่า เป็นการวิเคราะห์ดูตามหน้าเสื่อที่ออกมาเท่านั้น แต่ไม่ขอออกความคิดเห็นใดๆ ส่วน รธน.ในมาตราอื่น ทั้งมาตรา 190 หรือ 237 หรือจะให้เอา รธน. ปี 2540 กลับมาปรับปรุงใหม่ ก็เห็นว่าไม่น่าเป็นปัญหาแต่อย่างใด แต่นายกรัฐมนตรีจะต้องกล้าออกมาส่งสัญญาณให้ชัดเจนด้วยว่า รัฐบาลมีความเห็นและจะดำเนินการอย่างไรต่อไป ไม่ใช่หนูไม่รู้...อย่างเดียว ทั้งหมดมันก็เป็นประการฉะนี้.
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น