ประเด็นแรก หนีไม่พ้นเนื้อหาในร่างพรฎ.ซึ่งถ่างกว้างด้วยการเล่นคำ คล้ายคลึงกับการนำพรฎ.อภัยโทษมาผนวกกับ พรฎ.ล้างมลทิน จากการอภัยโทษให้"ผู้ต้องราชทัณฑ์" ซึ่งจำกัดวงอยู่กับนักโทษเด็ดขาดหรือผู้ต้องกักขังแทนค่าปรับ ก็เพิ่มคำว่า "ผู้ต้องคำพิพากษาจำคุกไม่เกิน 3 ปี" ซึ่งยังไม่เคยรับโทษจำคุกเข้าไปด้วย ( พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ต้องคำพิพากษาจำคุก 2 ปี แล้วหนีคดีไป ไม่เคยรับโทษ)จึงถือเป็นการเปลี่ยนหลักเกณฑ์ไปจากเดิมที่เคยปฏิบัติสืบต่อ กันมา เพราะละทิ้งเรื่องความสำนึกในความผิดที่ได้กระทำมา
ประเด็นที่สอง เป็นการขยายเงื่อนไขของผู้ต้องราชทัณฑ์และผู้ต้องคำพิพากษาโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ซึ่งขยายจากพรฎ.อภัยโทษปี 53 ซึ่งจำกัดวงให้กับผู้ต้องขังอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปที่คงเหลือโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี
ประเด็นที่สาม มีการพิจารณาให้ตัดทิ้ง ข้อยกเว้นไม่สมควรอภัยโทษให้กับผู้ต้องโทษในคดีนโยบาย ซึ่งเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของชาติ ทั้งคดียาเสพติดและคดีทุจริตคอรัปชั่น ( พ.ต.ท. ทักษิณ ถูกจำคุก 2 ปี ในคดีที่ดินรัชดา ฐานกระทำผิดตาม พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯ) แต่ทิ้งติ่งไว้ว่าในคดียาเสพติดในส่วนของผู้ค้าซึ่งต้องโทษประหารไม่สมควร ได้รับการอภัยโทษ
ประเด็นที่สี่ ซึ่งถูกกอ สซิปกันว่า คณะกรรมการพิจารณาการอภัยโทษที่มี กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็นประธาน ซึ่งนั่งร่วมวงพิจารณายกร่างพรฎ.แล้วเสร็จไปแล้ว เริ่มฉงนสงสัยว่าร่างพรฎ.ที่ออกจากคณะกรรมการเนื้อหาไม่ตรงกับที่เป็นข่าว อย่างนี้แสดงว่ามีชุดเฉพาะกิจเข้ามาเสริมเติมแต่ง ก่อนชงให้"บิ๊กผิว" พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก รมว.ยุติธรรม พิจารณาตามขั้นตอน
ประเด็นที่ห้า การเสนอ ร่าง พรฎ.เข้าสู่การพิจารณาในที่ประชุมครม.ที่ผ่านมากระทรวงยุติธรรมมักเป็นต้น เรื่อง เนื่องจากเป็นหน่วยงานต้นสังกัดของกรมราชทัณฑ์
แต่รอบนี้ต้นเรื่องกลับหลบฉาก ปล่อยผ่าน ให้นำเสนอเป็นวาระปนๆไปกับโครงการเฉลิมฉลอง และเทอดพระเกียรติ 5 ธันวาคม โดย ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกฯกำกับดูแลกระทรวงยุติธรรม ยืดอกรับว่ามีการถกเป็นวาระลับเฉพาะ
ประเด็นที่หก การปิดห้องเชิญข้าราชการฝ่ายประจำออกจากห้องประชุมครม.เพื่อพิจารณาร่างพร ฎ.อภัยโทษก็ยิ่งแปลก เพราะปกติในวโรกาสมิ่งมงคลย่อมต้องมีการทำบุญครั้งใหญ่เพื่อเป็นพระมหากุศล และแผ่พระมหากรุณาธิคุณถึงพสกนิกรถ้วนหน้า แต่จะยังไม่เปิดเผยหลัเกณฑ์และคุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับการพระราช ทานอภัยโทษหรือลดวันต้องโทษเนื่องจากเป็นพระราชอำนาจ
ประเด็นที่เจ็ด การฉากหลบ ของ"ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" พร้อมๆกับยงยุทธ วิชัยดิษฐ์ ซึ่งอ้างว่าติดภารกิจตรวจน้ำท่วมในจ.สิงห์บุรี เพื่อเปิดทางให้ร.ต.อ.เฉลิม. ด็อกเตอร์กฎหมาย รับหน้าเสื่อ ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อเลี่ยงไม่ให้ถูกถอดถอนเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนจาก ภารกิจ "สู้เพื่อพี่"
ประเด็นที่แปด เริ่มมี ความพยายามเบี่ยงเบนประเด็นว่าคดีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปีเป็นคดีลหุโทษหรือคดีมโนสาเร่ จึงควรได้รับโอกาสในการอภัยโทษเพื่อให้ผู้ต้องโทษตามคำพิพากษากลับตัว แต่คดีมโนสาเร่นั้นศาลจะพิจารณาจากพฤติการณ์แห่งคดี หากจำเลยไม่ได้มีเจตนาหรือกระทำผิดเล็กน้อยหรือกระทำผิดเป็นครั้งแรก ศาลมักให้โอกาสจำเลยได้สำนึกกลับตัว โดยจะสั่งรอลงอาญาโทษจำคุกไม่ถึง3ปีอยู่แล้ว นอกจากนี้ยังตะแบงต่อด้วยว่า คดีที่ดินรัชดาของพ.ต.ท.ทักษิณไม่ใช่คดีทุจริต
โดย : ปิยะนุช ทำนุเกษตรไชย สำนักข่าวเนชั่น
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น